รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วิธีการทำเทียน อุบลราชธานี

สารบัญ

วิธีการทำเทียน
การทำเทียนมัดรวมติดลาย

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

วัสดุอุปกรณ์
๑. เทียนแท่งสีขาว หรือเหลือง
๒. ลำต้นหมาก ปล้องไม้ไผ่ หรือแก่นไม้ ปัจจุบันใช้ท่อพลาสติก pvc หรือท่อซีเมนต์ หรือท่อกระดาษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หรือตามการออกแบบของช่างทำเทียนเพื่อทำเป็นแกนหรือยอด
๓. เชือกปอ
๔. วัสดุที่ใช้สำหรับตกแต่งตามการออกแบบของช่างทำเทียน ได้แก่ กระดาษสีต่าง ๆ เช่น กระดาษตังโก (กระดาษเงิน กระดาษทอง) หรือกระดาษแก้ว เป็นต้น รวมทั้งดอกผึ้ง และใบตอง

ขั้นตอนการทำเทียนมัดรวมติดลาย
๑. ตั้งแกน และฐานตามแบบที่ร่างไว้
๒. นำแท่งเทียนมาเรียงรอบแกนและฐาน ใช้เชือกหรือฝ้ายมัดรอบเพื่อยึดแท่งเทียนไว้ด้วยกัน เพื่อป้องกันมิให้เทียนที่เรียงไว้นั้นหลุด ช่วงรอยต่อของเทียนใช้กระดาษสี หรือวัสดุตกแต่งอื่น ๆ เช่น กระดาษสี ใบตอง เชือกปอ ตามที่ออกแบบไว้ตกแต่งปิดรอยต่อของเเท่งเทียนแต่ละชั้น จากนั้นทำการตกแต่งฐานโดยรอบให้สวยงาม

การทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์

วิธีการทำเทียน
การทำเทียนมัดรวมติดลาย

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani
ขั้นตอนการทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์
ออกแบบ
หล่อต้๋นเทียน
กลึงต้๋นเทียน
ทำผึ้งแผ่น
ทำดอกผึ๋งติดพิมพ์
ติดดอกผึ้ง

การออกแบบต้นเทียนประเภทติดพิมพ์

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani
โดยการร่างแบบที่จะจัดทำลงบนกระดาษแล้วนำดอกผึ้งไปติดตามโครงสร้างของต้นเทียนที่ได้จัดทำขึ้นตามแบบ โดยช่างเทียนจะเป็นผู้กำหนดว่าดอกผึ้งลายใดจะใช้กับส่วนใดของต้นเทียน

ช่างพิมพ์และช่างตัดดอกผึ้ง

ช่างพิมพ์ดอกผึ้ง ส่วนมากมักจะเป็นช่างผู้มีประสบการณ์และมีความชำนาญ เพราะงานพิมพ์ดอกผึ้งเป็นงานที่ละเอียดอ่อน เป็นการผลิตงานจำนวนหลายร้อยหลายพันชิ้น โดยใช้ฝีมือของคน ไม่ได้ใช้เครื่องจักร การพิมพ์ดอกผึ้งให้สวยงาม บางครั้งดูจะเป็นงานที่น่าเบื่่อ ดังนั้นช่างจึงต้องเป็นผู้มีใจรักในงาน
ส่วนช่างตัดดอกผึ้ง อาจแบ่งตามฝีมือได้เป็น ๓ ระดับ คือ

๑) ระดับงานง่าย เป็นช่างที่ตัดดอกง่าย ๆ เช่นดอกสี่เหลี่ยมหลี่ยม ได้แก่ ลายกระจังตาอ้อย ลายประจำยาม ลายรักร้อยที่ไม่ต้องฉลุลวดลายและไม่ต้องควักเนื้อขี้ผึ้งที่อยู่ในดอกผึ้งออก

๒) ระดับงานปานกลาง เป็นช่างที่ตัดลายยากขึ้น เช่น ลายใบเทศ ลายเทพพนม ฯลฯ

๓) ระดับงานยาก เป็นช่างฝีมือ เคยตัดดอกผึ้งจนมีความชำนาญถนัดตัดดอกที่มีลายซับซ้อน สามารถฉลุลายตรงกลาง และควักเนื้อขี้ผึ้งออกได้ หรือดัดแปลงลวดลายของดอกผึ้งได้ ช่างระดับนี้สามารถตัดดอกผึ้งที่เป็นลายกนกก้านขด กนกเปลว หรือลายใบเทศที่ซับซ้อนได้ ช่างส่วนมากที่ทำงานตัดดอกผึ้ง มักทำด้วยความสมัครใจ คือเป็นช่างอาสาและอยากแสดงฝีมือ โดยที่ในใจเชื่อว่า การช่วยทำเทียนพรรษาจะทำให้ได้บุญ ช่างตัดดอกผึ้งสำหรับต้นเทียนต้นหนึ่ง ๆ จำเป็นจะต้องใช้ประมาณ ๑๐ คน และช่วยกันทำงานประมาณ ๓๐ - ๔๐ วัน ช่างเหล่านั้นต้องทำงานตลอดเวลา มีการประสานงานกัน และประสานงานกับช่างติดดอกด้วย เพราะช่างติดดอกจะกำหนดว่าให้ช่างพิมพ์ พิมพ์ดอกอะไร จำนวนมากน้อยเท่าใด ช่างตัดต้องตัดดอกอะไร จำนวนเท่าใด โดยปกติช่างพิมพ์จะใช้อย่างน้อย ๒ คนส่วนช่างตัดดอกมีจำนวนมากเท่าใดก็ยิ่งดี ช่างตัดดอกเหล่านี้ไม่ค่อยคิดค่าแรงเพียงแต่ช่างใหญ่ผู้ทำต้นเทียนเลี้ยงอาหารก็พอ ส่วนจะมีการให้รางวัลหรือไม่อยู่ในดุลพินิจของช่างทำต้นเทียน แต่โดยปกติแล้ว ถ้าต้นเทียนชนะการประกวดและได้รับรางวัล ช่างผู้ทำต้นเทียนมักจะตกรางวัลให้ช่างอาสาเหล่านี้ เพื่อเป็นสินน้ำใจ

ในการตัดดอกผึ้ง ขี้ผึ้งที่เหลือเศษจากการตัดจะทิ้งไม่ได้เพราะเป็นขี้ผึ้งคุณภาพดี มีราคาแพง ดังนั้นจึงมักนำขี้ผึ้งที่เหลือเศษไปต้มใหม่เพื่อพิมพ์และตัดดอกต่อไปอีก จนได้ดอกผึ้งที่มีลวดลายต่าง ๆและจำนวนตามต้องการ วัฏจักรของการใช้ขี้ผึ้ง คือ ต้ม พิมพ์ ตัด และติด

ในส่วนของขั้นตอนนี้ เคยมีการคิดเหมือนกันว่า ควรหาวิธีการผลิตดอกผึ้งที่รวดเร็วและใช้แรงงานคนให้น้อยลงกว่านี้ โดยการใช้เครื่องจักรในการผลิตดอกผึ้ง หรือ ใช้วิธีการปั้ม แต่ด้วยความที่ช่างทำเทียนแต่ละคนจะมีการคิดลวดลายในการติดพิมพ์ในแต่ละปีไม่ซ้ำรูปแบบ และลวดลายที่ใช้ก็เป็นลวดลายที่เหมาะกับงานเทียนแต่ละต้น แต่ละปีไป จึงไม่เหมาะหากจะใช้เครื่องจักรในการทำดอกผึ้ง หรืออีกประการหนึ่ง การใช้กำลังคนร่วมกันทำถือเป็นเรื่องของความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน เป็นการร่วมแรงร่วมใจ และแสดงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธ ซึ่งเชื่อว่าการถวายเทียน หรือการมีส่วนร่วมในการจัดทำเทียนในโอกาสวันเข้าพรรษานั้นจะทำให้ได้บุญได้กุศลทั้งแก่ตนเองและครอบครัว จึงได้มาร่วมกันทำในเวลาว่าง หรือหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจประจำวันของแต่ละคน ที่จะได้มาร่วมแรงร่วมใจกันปีละครั้งก่อนงานวันเข้าพรรษา

การทำดอกผึ้งติดพิมพ์

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มีส่วนประกอบที่เป็นส่วนประดับและตกแต่งที่สำคัญคือ ดอกผึ้งติดพิมพ์ ความสวยงามของต้นเทียนประเภทติดพิมพ์นี้ ในการประกวดการให้คะแนนขึ้นอยู่กับความงามความประณีตของดอกผึ้งติดพิมพ์เป็นอย่างมาก การทำดอกผึ้งติดพิมพ์เป็นงานที่ละเอียดอ่อน และเป็นงานที่ทำได้ยากกว่างานส่วนอื่น ๆทั้งต้องอาศัยช่างผู้ชำนาญ และต้องมีลูกมือช่วยประมาณ ๑๐ - ๒๐ คน

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำดอกผึ้งติดพิมพ์

วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำดอกผึ้งติดพิมพ์ ประกอบด้วย

๑) แม่พิมพ์หินและไม้ สำหรับการทำดอกผึ้ง หรือทำดอกลายประดับตามลำต้นของเทียนประเภทติดพิมพ์ แม่พิมพ์หินที่ใช้มักทำมาจากหินอ่อนหรือหินสบู่ หรือหินลับมีดโกน ซึ่งหินชนิดนี้ส่วนใหญ่จะนำมาจากภาคกลาง เช่น นครนายก สระบุรี เป็นต้น นอกจากหินอ่อนแล้ว บางครั้งอาจใช้ปูนซิเมนต์หรือปูนปลาสเตอร์มาทำแบบพิมพ์ดอกผึ้ง แต่แม่พิมพ์ทั้งสองประเภทนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะนอกจากจะไม่ทนทานแล้ว ยังให้ลวดลายของดอกผึ้งยังไม่คมชัด และลึกกร่อนได้ง่าย ส่วนแม่พิมพ์ที่ทำจากไม้ ในยุคแรก นิยมใช้ไม้ที่มีอยู่ตามท้องถิ่น เช่น ไม้เขวา ซึ่งเป็นไม้ที่มีเนื้อละเอียดสีขาวนวล สามารถใช้ทำงาช้างตั้งโชว์แทนงาช้างจริงได้และเป็นไม้ที่อยู่ตามท้องถิ่นทั่วไปของภาคอีสาน นอกจากไม้เขวา แล้วยังใช้ไม้ฝรั่ง ไม้มะตูม ไม้ส้มโอแทนก็ได้ ระยะหลังนิยมใช้ไม้สักเพราะมีเนื้ออ่อนนุ่มทำเป็นลวดลายได้ดีและหาซื้อได้ง่าย แต่ความนิยมค่อยๆหายไปในที่สุด เพราะการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์จากไม้เหล่านี้ ทำให้ลวดลายไม่คมชัดเท่าแม่พิมพ์จากหินอ่อน ซึ่งเป็นหินอ่อนก้อนเล็ก หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์การก่อสร้างหรือร้านขายเครื่องไทยทาน โดยจะมีขนาดกว้างประมาณ ๒ - ๓ นิ้ว ความยาวประมาณ ๕ นิ้ว หรือขนาดเดียวกันกับหินลับมีดโกน หรือจะใช้ขนาดยาวกว่ากันก็ได้

๒) ขี้ผึ้งแท้ ปริมาณมากน้อยแล้วแต่ขนาดของต้นเทียน ถ้าต้นเทียนขนาดใหญ่ ปริมาณของขื้ผึ้งชนิดดีที่นำมาทำดอกผึ้งจะต้องใช้ประมาณ ๕๐ - ๖๐ กิโลกรัม ส่วนต้นเทียนขนาดเล็กจะต้องใช้ขี้ผึ้งแท้อย่างน้อย ๒๕ กิโลกรัม

๓) อุปกรณ์อื่น ๆ ได้แก่
- ๑) เตาอั้งโล่
- ๒) ชามอ่างขนาดใหญ่ ๒ ใบ ขนาดกลาง ๔ใบ ขนาดเล็ก ๔ใบ
- ๓) ถ่านไม้ ๓ - ๕ กระสอบ
- ๔) ผ้ากรอง (ผ้าขาวบาง หรือผ้ามุ้ง) ขนาดความกว้าง ๙๐ เชนติเมตร ยาว ๒ เมตรมาเย็บใส่ขอบเหล็กเส้นขนาดเล็ก ใช้เป็นตะแกรงกรองขี้ผึ้ง
- ๕) กระบวย หรือขันพลาสติกทนความร้อน
- ๖) มีดโต้และขวาน
- ๗) ช้อนสังกะสี หรือช้อนโลหะ
- ๘) ผ้าเช็ดมือ
- ๙) ขวดแก้วที่มีลักษณะกลม
- ๑๐) ถาดสังกะสีเคลือบหรือภาชนะอื่นที่คล้ายกัน ควรเป็นถาดขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐ - ๔๐ เชนติเมตร จำนวน ๑๐ ถึง ๒๐ ใบ
- ๑๑) แผ่นกระจกใส กว้าง ๖ นิ้ว ยาว ๑๐ นิ้ว จำนวน ๑๐ แผ่น
- ๑๒) น้ำมันพืชชนิดขวดใหญ่ ๑ ขวด
- ๑๓) ใบมีดตัดดอกผึ้ง ใบมีดชนิดนี้ช่างได้ดัดแปลงจาก ซี่ลวดวงล้อรถจักรยานสามล้อ หรือซี่ลวดล้อรถจักรยานยนต์ จำนวน ๒๐ ซี่ ซี่หนึ่ง ๆ นำมาดัดเป็น ๒ ท่อน ปลายด้านหนึ่งของแต่ละท่อนใช้ค้อนเหล็กทุบให้แบน ใช้ตะไบถูให้คมทั้งสองด้าน มีปลายเรียวแหลมเหมือนหอกใบข้าว
- ๑๔) สบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจาน
- ๑๔) น้ำสะอาดมีความจำเป็นต้องใช้ทุกโอกาส
- ๑๖) เสื่อสำหรับนั่งทำงานพิมพ์ดอกผึ้ง จะใช้โต๊ะพร้อมเก้าอี้แทนก็ได้
- ๑๗) ไฟจากตะเกียง หรือไฟฟ้า

 

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1106 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์