รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วิธีการทำเทียน อุบลราชธานี

สารบัญ

 

๔.๒ การทำส่วนที่เป็นเบ้าหลอมของเทียน โดยใช้สังกะสีแผ่นเรียบชนิดหนาโดยม้วนปลายทั้งสองเข้าเป็นรูปทรงกระบอกซ้อนริมทั้งสองข้างงอซ้อนทับกันเป็นตะเข็บแล้วบัดกรีทับด้วยตะกั่วอย่างดี เบ้าหลอมนี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางในส่วนยอด ๓๔ นิ้ว และส่วนฐานราว ๓๕ นิ้ว

๔.๓ ตั้งแกนกลางของต้นเทียนลงในฐาน กรณีที่ใช้ไม้เป็นแกน โดยให้แกนโผล่ออกมาจากฐานประมาณ ๑.๘๐ ถึง ๒ เมตร หรือหากเป็นแกนที่ทำด้วยกระบอกสังกะสี ท่อเหล็ก ให้นำแกนนั้นตั้งลงบนพื้นที่มีความเรียบแน่น เช่น พื้นปูนซิเมนต์หรือแผ่นไม้ หรืออาจขุดหลุมดินให้ลึกประมาณ ๑ เมตร กว้าง ๔๐ เซนติเมตร แล้วตั้งแกนลงไปในหลุมแล้วตรึงให้แกนติดแน่นกับฐานด้วยปูนปลาสเตอร์หรือตะปู

๔.๔ ทำเบ้าหลอมสวมทับส่วนแกนลงไปแล้วยึดทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน โดยยึดให้ส่วนแกนอยู่ตรงกลางให้มากที่สุด ยึดส่วนฐานของเบ้าหลอมให้แน่นแล้วพันด้วยปูนปลาสเตอร์และตะปู

๔.๕ ต้มขี้ผึ้งเทียมหรือขี้ผึ้งวิทยาศาสตร์ จนหลอมละลายเข้ากันดีแล้วนำไปกรองด้วยผ้ามุ้ง หรือผ้าด้ายดิบจนได้ปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งในการจัดเตรียมขี้ผึ้งต้องเตรียมให้พอสำหรับการหล่อให้แล้วเสร็จในครั้งเดียว เพราะหากขณะทำการหล่อขี้ผึ้งไม่พอต้องเสียเวลาทำการหล่อใหม่ และขี้ผึ้งจะเย็นตัวไม่เท่ากัน เมื่อนำไปเทลงภายหลังลำต้นเทียนจะต่อกันได้ไม่สนิท อาจเกิดปัญหาการหักโค่นของต้นเทียนในภายหลังได้ ทิ้งขี้ผึ้งไว้ในโอ่งนานประมาณ ๑๕ - ๒๐ นาที ประโยชน์ที่ได้จากการเทขี้ผึ้งไว้ในโอ่งหรือถังคือขี้ผึ้งเก่าและขี้ผึ้งใหม่ ขี้ผึ้งแท้และขี้ผึ้งเทียม จะผสมจนเป็นเนื้อและสีกลมกลืนกัน เพราะสีของผึ้งเก่าซึ่งค่อนข้างคล้ำจะถูกเจือจางลงด้วยสีของขี้ผึ้งใหม่ ซึ่งจะแดงสดใสกว่า เพื่อความคงทนและความคมของลวดลายที่จะแกะลงไปบนลำต้น จะใช้อัตราส่วนของผึ้งเทียม ๑๐๐ กิโลกรัมต่อผึ้งแท้ ๘ กิโลกรัม ซึ่งอัตราส่วนนี้อาจแตกต่างกันออกไปตามความถนัดของช่างและช่วงเวลาที่จะแกะสลัก แต่ไม่ควรใช้อัตราส่วน ๕๐ ต่อ ๕๐ เพราะเทียนจะแข็งมากไม่สามารถแกะสลักได้

การตรวจสอบความร้อนของขี้ผึ้งที่จะนำไปเทลงในเบ้าหล่อ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ตักใส่ปี๊บตั้งทิ้งไว้ให้ขี้ผึ้งบริเวณผิวหน้ามีความแข็งตัวแต่ภายในยังคงร้อนอยู่ ใช้นิ้วจิ้มทะลุผ่านผิวหน้าของขี้ผึ้งลงไปสู่ภายในปี๊บ ซึ่งภายในจะมีขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้วอยู่ดูความหนาของขี้ผึ้งที่ผิวหน้าโดยใช้นิ้วมือจิ้มทะลุผ่านลงไป หากขี้ผึ้งที่ผิวหน้าแห้งและแข็งตัวราว ๑ นิ้ว ถือว่าขี้ผึ้งปี๊บนั้นสามารถนำไปเทหล่อได้ หรืออาจวัดโดยการใช้นิ้วมือจุ่มลงไปในขี้ผึ้งที่ละลายอยู่ในโอ่ง ถัง หรือปี๊บ หากขี้ผึ้งติดนิ้วมือขึ้นมาบาง ๆ แสดงว่าอุณหภูมิของขี้ผึ้งปี๊บนั้นกำลังพอดี เหมาะแก่การนำไปเทหล่อลำต้นต่อไป

๔.๖ การเทขี้ผึ้งลงในเบ้าหล่อลำต้นเทียน มีหลักการเทง่าย ๆ คือ ใช้ภาชนะที่เดรียมไว้คือ ขัน หรือกระป๋อง ตักเททีละน้อยอย่างเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน ไม่ควรเทเป็นปี๊บ เพราะการเทขี้ผึ้งเร็ว ๆจะทำให้ขี้ผึ้งไล่อากาศออกไม่ทัน ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นฟองอากาศตามผิวของลำต้้น และในลำต้นเทียน ซึ่งลำต้นเทียนที่มีฟองอากาศจะเป็นปัญหามากในขั้นตอนการแกะสลัก และการเทขี้ผึ้งทีละมาก ๆ อาจทำให้เบ้าสังกะสีทนความร้อนไม่ทัน จะเกิดการแตกขึ้นได้กลางคันได้

ช่วงเวลาที่ถือว่ามีความเหมาะสมในการเทขี้ผึ้งเพื่อหล่อลำต้น ซึ่งจะทำให้เขียนที่หล่อออกมามีสีสันที่สวยงามและผิวมันดีคือ เวลาเช้าตรู่ เวลาประมาณ ๐๕.๓๐ น. หรือหากเป็นเวลาหัวค่ำควรเป็นเวลา ๑๙.๐๐ น. เรื่อยไปจนถึงเวลา ๐๕.๓๐ น.

หลังจากที่เทขี้ผึ้งใส่เบ้าหล่อจนเต็มดีแล้ว ปล่อยทิ้งไว้สักครู่แล้วจึงตรวจตามตะเข็บของเบ้าหล่อหากมีการแตก ฉีกขาด หรือซึม ควรรีบอุดทันที โดยการใช้ผ้าพันมัดไว้ ใช้ดินเหนียวหรือปูนปลาสเตอร์ผสมอุดไว้ และคอยตรวจดูการยุบตัวของขี้ผึ้งที่ส่วนปลายของเบ้าหล่อ หากขี้ผึ้งยุบตัวลงไปก็ให้เติมขี้ผึ้งได้อีกตามความเหมาะสมจนเต็ม แล้วปล่อยเบ้าหล่อทิ้งไว้ประmณ ๓ - ๔ วัน ขี้ผึ้งจะแห้งตัวเองตามธรรมชาติจนแข็งตัวในที่สุด ในกรณีที่มีการเร่งด่วนสามารถเร่งความแข็งตัวของขี้ผึ้ง หลังจากการเทได้ โดยการใช้ผ้าชุบน้ำพันรอบตลอดเบ้าหล่อภายนอกและคอยเดิมน้ำให้ผ้าที่พันชุ่มตัวอยู่เสมอ ขึ้ผึ้งในเบ้าหล่อจะแข็งตัวอย่างเร็วที่สุด ๒ วัน

๔.๗ การถอดแบบพิมพ์หรือเบ้าหล่อลำต้นเทียน ควรเริ่มด้วยการเลาะตะเข็บสังกะสีออก หรืออาจใช้วิธีการใข้กรรไกรปลายเล็กๆ ค่อย ๆ ตัดออกดามแนวยาวทีละช่วงก็ได้ หลังจากนั้นจึงนำลำต้นทำการกลึง ในยุคแรก ๆ ของการทำต้นเทียนนิยมกลึงลำต้น ทั้งเทียนประเภทแกะสลักและประเภทติดพิมพ์ สำหรับต้นเทียนประเภทติดพิมพ์วัตถุประสงค์ของการกลึงลำต้น เพื่อให้ลำต้นเกิดรูปทรงคอดกิ่ว การกลึงทำเพื่อให้ลำำต้นมีขนาดเล็กลง เพราะลำต้นของเทียนประเภทติดพิมพ์ต้องมีการเพิ่มลวดลายของดอกผึ้ง ซึ่งการเพิ่มดอกลายดอกผึ้งนี้จะทำให้ลำต้นมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ส่วนต้นเทียนประเภทแกะสลักคงเป็นเพียงการใช้กบไสไม้ถากผิวออกเล็กน้อย ให้โครงสร้างภายนอกได้รูปทรงตามต้องการเท่านั้น ก็สามารถแกะสลักที่ผิวของลำต้นเทียนได้ทันที หลังจากนั้นจึงนำไปตั้งลงในส่วนฐาน ซึ่งฐานนี้จะสูงมากน้อยเพียงใดก็ตามลักษณะการออกแบบของช่าง และประเภทของเทียนนั้น ๆ

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

การแกะสลักต้นเทียน
การแกะสลักต้นเทียนทำได้หลังจากหล่อและกลึงต้นเทียนแล้ว โดยดำเนินการ ๓ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

๑. ออกแบบลายที่จะแกะสลัก โดยการร่างคร่าว ๆ ก่อน ทั้งส่วนฐานต้นเทียน ลำต้นเทียน และยอดต้นเทียน

๒. ใช้เครื่องมือทำการแกะสลัก ซึ่งจะมีการเซาะ เจาะ ขีด ขุด และขูด ให้เป็นรูป ๓ มิติ มีส่วนกว้าง ยาว และลึกเหมือนของจริง หรือรูปร่างตามจินตนาการ

๓. แก้ไข ส่วนที่บกพร่อง ในระหว่างแกะสลักอาจเกิดความผิดพลาด หรือบกพร่องขึ้นได้ เช่นรูปที่ต้องการเล็กหรือใหญ่เกินไป หรือส่วนหนึ่งส่วนใดแตกหักออกไป จำเป็นที่ช่างจะต้องแก้ไขปรับปรุง ทางที่จะแก้ไขปรับปรุงอาจเป็นดังนี้

๓.๑ ในกรณีที่รูปที่แกะสลักได้เล็กกว่าที่ต้องการ ต้องหาขี้ผึ้งมาติดเพิ่มเติม โดยเอาขี้ผึ้งที่จะติดเพิ่มเติมไปลนไฟ หรือผึ่งแดดให้ขี้ผึ้งอ่อนตัวแล้วจึงนำมาติดกับของเดิมให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว เพื่อที่จะแกะสลักใหม่ จนเป็นรูปที่มีลวดลายและขนาดตามต้องการ

๓.๒ ในกรณีที่แกะสลักแล้ว ส่วนหนึ่งส่วนใดแตกหักออกไป อาจใช้วิธีแกะสลักเนื้อขี้ผึ้งจากข้างนอก แล้วเอามาติดเชื่อมเข้าก็ได้

๓.๓ ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขลายใหม่ ถ้าหากลายที่ร่างไว้ไม่ลึกก็ให้เปลี่ยนแปลงได้ทันที แต่ถ้าหากเซาะ เจาะ หรือขุดเป็นลายลึกแล้ว ต้องหาขี้ผึ้งจากข้างนอกมาอุดให้แน่น และเป็นเนื้อเดียวกันแล้วจึงร่างลายและแกะสลักใหม่

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

เครื่องมือที่ใช้สำหรับแกะสลักต้นเทียน
เครื่องมือที่ใช้สำหรับแกะสลักต้นเทียน ส่วนใหญ่เป็นโลหะแหลมคม มีดด้ามสำหรับจับ ซึ่งอาจแบ่งเป็น ๔ จำพวก คือ
๑. มีด เป็นมีดที่รูปร่างและขนาดต่างกันตามลักษณะการใช้งาน มีดที่นิยม ได้แก่

๑.๑ มีดชนิดคมเดียว ปลายแหลม ที่ปลายคมเป็นพิเศษ
๑.๒ มีดชนิด ๒ คม ปลายแหลม ที่ปลายคมทั้งสองข้าง
๑.๓ มีดชนิดคมเดียว ปลายแหลมและโค้งงอนที่ปลายคมเป็น่พิเศษด้านเดียว
๑.๔ มีดใต้คมเดียว ปลายแหลม

๒. สิ่ว เป็นสิ่วที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันตามลักษณะการใช้งาน สิ่วที่นิยมใช้ ได้แก่
๒.๑ สิ่วใบใหญ่ ปลายตัดตรง
๒.๒ สิ่วใบใหญ่ ปลายตัดเฉียง
๒.๓ สิ่วใบใหญ่ ปลายปากโค้ง
๒.๔ สิ่วใบเล็ก ปลายตัดตรง
๒.๕ สิ่วใบเล็ก ปลายตัดเฉียง
๒.๖ สิ่วใบเล็ก ปลายปากโค้ง

๓. ตะขอเหล็กและเหล็กขูด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเกี่ยว ขูด และเซาะขี้ผึ้ง ตะขอเหล้าที่นิยมใช้มี ๒ แบบหลายขนาด เหล็กขูดมีแบบเดียว แต่หลายขนาดเช่นกัน

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1094 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์