วิธีการทำเทียน อุบลราชธานี
สารบัญ
๒). ลายนารี คือ ลายภาพคนหรือภาพมนุษย์ ภาพเทวดา หรือภาพนางฟ้า ในการเขียนภาพมนุษย์นั้นจะมีทั้งภาพพระและภาพนางเป็นหลัก โดยมีการแบ่งแยกความสำคัญตามลักษณะพิเศษเฉพาะของตัวเรื่อง เช่น การแต่งกาย เครื่องประดับ ท่าทาง หรืออาวุธ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถบ่งบอกฐานะ และตำแหน่งความสำคัญของตัวละครเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ลายนารีโดยทั่วไปมีลักษณะท่าทางมาจากการแสดงนาฏศิลป์เสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น ท่ารบกัน มีชื่อเรียกอกอย่างหนึ่งว่า ท่าลอยหรือท่าจับ เป็นต้น
๓). ลายกระบี่ เป็นภาพที่กล่าวถึงวานร หรือภาพอมนุษย์ ซึ่งรวมถึงภาพอสูรพงศ์ หรือพานรพงศ์ ซึ่งภาพเหล่านี้ส่วนมากจะอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ การสร้างภาพเหล่านี้มักเริ่มต้นจากเค้าโครงของใบหน้าก่อนแล้วตามด้วยส่วนที่เป็นลายละเอียดที่บ่งบอกอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ตาเบิกโพรง ปากแสยะ ตาหรี่ ปากเม้ม หรือ ตาพองโต เป็นต้น บางตนก็มีลักษณะเค้าโครงเหมือนมนุษย์ เช่น ใบหู หรือปาก เป็นต้น ส่วนอาวุธ ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น ครุฑ ดาบ กระบี่ เป็นต้น
๔). ลายคชะ หมายถึง ลวดลายของสัตว์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เกิดขึ้นมาจากจินตนาการ หรือเป็นสัตว์จากหิมพานต์ ดังนั้น สัตว์เหล่านี้จึงไม่มีตัวตนที่แน่นอน ผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ บางครั้ง อาจนำลักษณะของมนุษย์และสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์มาผสมผสานกัน เช่น ยักษ์ปนช้าง โดยมีท่อนบนเป็นยักษ์มีส่วนล่างเป็นช้าง หรือส่วนบนเป็นมนุษย์แต่มีส่วนล่างเป็นสิงห์ เป็นต้น
การเขียนลายคชะนิยมแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑). ภาพสัตว์ธรรมดา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น ภาพเหล่านี้จะเขียนหรือทำให้มีลักษณะคล้ายสัตว์ตามธรรมชาติ แต่ประยุกต์ให้เกิดเป็นลวดลายและความอ่อนช้อย
๒). ภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ ครุฑ หรือ พญานาค เหล่านี้ประดิษฐ์ขึ้นจากสัตว์ที่มีอยู่ทางธรรมชาติและสลักลวดลายตามลำต้นด้วยลายกนกให้วิจิตรพิศดารเพิ่มมากขึ้น
การนำลวดลายไทยไปใช้
ในการนำลวดลายไทยไปใช้ในการทำเทียนพรรษา นิยมนำไปใช้ใน ๒ ลักษณะ คือ
๑. ประกอบลายตามแนวนอน นิยมใช้ลายหน้ากระดานได้แก่ ลายขื่อ ลายท้องไม้ ส่วนฐานนิมใช้ลายประจำยาม ลายกนก หรือลายประจำยามผสมกับลายกนก แต่ที่นิยมลูกฟักก้ามปู เหตุที่นิยมใช้ลายลูกฟักก้ามปูประกอบในส่วนฐาน หรือบางส่วนในลำต้น สันนิษฐานว่าเกิดจากความหมายอันมุ่งไปในทางที่ดีเป็นมงคล เป็นลูกฟักหมายถึง พรหมลูกฟัก อันเป็นพรหมชั้นหนึ่งในคัมภีร์ไตรภูมิ ลายลูกฟักมีลักษณะคล้ายผลฟัก ส่วนลายก้ามปู คือการนำลายกนก ๒ ตัวมาประกอบต่อกับลายประจำยาม ทำให้ลายที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายก้ามปู
๒. ประกอบลายตามแนวตั้ง อาจสอดแทรกลายเหล่านี้ตามลักษณะเหลี่ยมที่เกิดจากการย่อมุมทั้งในส่วนฐาน ลำต้น และยอด ซึ่งบางครั้งนิยมทำต้นเทียนในลักษณะรูปเหลี่ยมย่อมุม เช่น เทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ลวดลายที่นิยมใช้ประกอบตามแนวตั้ง คือ
๒.๑ ลายก้านแหย่ง คือ การนำลายมาแตกออกเป็นสองข้างเท่า ๆ กัน
๒.๒ ลายแข้งสิงห์ คือ การนำลายมาแตกออกข้างเดียว ทำให้เกิดมีลักษณะคล้ายแข้งสิงห์
๒.๓ ลายรักร้อย มีลักษณะคล้ายลายที่ร้อยของพวงมาลัยดอกรัก
๒.๔ ลายกนกเปลว เป็นลายที่ละบัดคล้ายเปลวไฟพุ่งสู่เบื้องบน ลายกนกเปลวนี้บางครั้งนิยมสะบัดขึ้นจากโคนของลำต้นสู่ยอดทั้งต้น โดยจะมีการแทรกเรื่องราวที่มีลักษณะเด่นตามร่องของลายนั้น ๆ
๒.๕ ลายเครือเถา เป็นลายที่นำมาจากลักษณะการเลื้อยของไม้หรือเถาไม้ตามแนวตั้ง
๒.๖ ลายก้านขด นำมาจากลักษณะการขดตัวของเถาไม้
ซึ่งลายทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้อาจประดิษฐ์มาจากลายกนก หรือลายอื่น ๆ เช่น ลายใบเทศ ลายผักกูด ลายช่อ หรือจะประกอบกับลายเทพพนม หรือสัตว์ต่าง ๆ กัได้ทั้งสิ้น
การผสมขี้ผึ้งสำหรับการหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลัก
โดยปกติต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ ๒๐๐๐ – ๓,๐๐๐ กิโลกรัม (รวมองค์ประกอบของต้นเทียน) ถ้าต้องการต้นเทียนขนาดใหญ่กว่านี้ ก็จะใช้ขี้ผึ้งมากขึ้นตามขนาดของต้นเทียน ถ้ามีงบประมาญมาก ควรใช้ขี้ผึ้งแท้ทั้งหมต ซึ่งจะเป็นผลดีต่อคุณภาพของงานและช่วยลดปัญหาในการจัดทำ ช่างผู้จัดทำมีความคล่องตัว แต่ถ้ามีงบประมาณจำกัด อาจใช้ขี้ผึ้งผสม โดยใช้ขี้ผึ้งแท้ผสมกับขี้ผึ้งเทียม หรือขี้ผึ้งตลาดในอัตราส่วน ๓ ต่อ ๑๐ แต่ในการทำส่วนฐานหรือองค์ประกอบของต้นเทียนอาจใช้ในอัตรส่วน ๑ ต่อ ๑๐ การต้มขี้ผึ้งจะต้องทุบหรีอสับขี้ผึ้งแท้ให้มีขนาดเล็กลงเสียก่อน ส่วนขี้ผี้งเทียมมีขนาดเล็กอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทุบหรือสับ ในการต้มขี้ผึ้งทั้ง ๒ ชนิดให้ต้มผสมกัน เนื้อขี้ผึ้งจะละลายเข้าหากันเป็นเนื้อเดียว วิธีนี้ช่วยประหยัดเงินได้มาก แต่คุณภาพของขี้ผึ้งผสมที่ได้จะน้อยกว่าใช้ขี้ผึ้งแท้
ความรู้เรี่องขี้ผึ้ง
ขี้ผึ้งนับเป็นวัสดุหลักของการทำต้นเทียนทุกประเภท การใช้ขี้ผึ้งมากน้อยเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นเทียนและองค์ประกอบของต้นเทียนแต่ละต้น ซึ่งบางครั้งมีมากถึง ๑๕๐๐ กิโลกรัม ขี้ผึ้งที่ใช้ทำต้นเทียนแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ ๒ ประเภท คือ ขี้ผึ้งแท้ และขี้ผึ้งเทียม
ขี้ผึ้งแท้
เป็นขี้ผึ้งที่ได้จากรังผึ้งแท้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มีสีขาวอมเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีความเหนียว มีแรงยึดเหนี่ยวกันสูงมา ไม่แตกหรือเปราะง่าย นิยมใช้ผสมกับขี้ผึ้งวิทยาศาสตร์ในการทำลำต้นของต้นเทียนประเภทแกะสลัก ในอัตราส่วน ๕๐ ต่อ ๕๐ และนิยมใช้ขี้ผึ้งแท้อย่างเดียว ในการทำลวดลายดอกผึ้งรูปแบบต่าง ๆ ติดตามลำต้นของเทียนประเภทติดพิมพ์ ขี้ผึ้งแท้จะมีราคาถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดในขณะนั้น ราคาในตลาดปกติจะมีราคากิโลกรัมละ ๒๐๐ - ๓๐๐ บาท ปัจจุบันขึ้ผึ้งแท้ส่วนมากทำมาจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกเจือปนด้วยขี้ผึ้งน้ำมันส่วนหนึ่ง เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง แต่มีปริมาณที่มากขึ้น บางวัดนิยมทำขี้ผึ้งแท้ขึ้นมาเอง โดยการเลือกเชื้อรังผึ้งจากตลาดราคากิโลกรัมละ ๒๐ บาท มาทำการต้มกลั่นเอง เป็นการลดรายจ่ายลงได้มาก สมัยก่อนการทำเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ขี้ผึ้งแท้ทั้งหมด เพราะมีราคาถูกหาซื้อได้ง่าย และชาวบ้านทุกคุ้มวัด ถือเป็นการทำเพื่อเป็นพุทธบูชาจึงนิยมทำด้วยลงที่ดี และมีคุณค่าสูงทั้งสิ้น
ขี้ผึ้งเทียม
ขี้ผึ้งเทียมหรือขี้ผึ้งวิทยาศาสตร์ บางแห่งจะเรียกว่า ผึ้งด้วง ผึ้งน้ำมัน หรือผึ้งขี้ซี เป็นต้น ขี้ผึ้งชนิดนี้แต่เดิม ทำมาจากไขมันของสัตว์ แต่ในศวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา นักเคมีที่ได้ค้นพบวิธีการทำกรดสเตียริค (Stearic Acid) จากไขมันสัตว์ให้กลายเป็นของแข็งที่มีสีขาวคล้ายขี้ผึ้ง จึงนิยมใช้สารชนิดนี้ในการทำเทียนเพราะมีราคาถูกและสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ขึ้ผึ้งชนิดดังกล่าว ยังนิยมทำมาจากผลิตผลของปิโตรเลี่ยม (Petrolium) หรือขี้ผึ้งพาราฟิน (Parafin Wax) ขี้ผึ้งชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นถ้วยรูปครึ่งวงกลมเล็ก ๆมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว ๑ นิ้ว ไม่มีกลิ่นหอมเนื้อเปราะหรือแดกหักได้ง่ายมีสีส้มแต่จะมีความเข้มหรือจางแตกต่างกันไป โดยแยกออกได้เป็น ๓ เบอร์ ตามน้ำหนักความเข้มของสีได้ดังนี้ เบอร์ที่หนึ่งมีสีเข้มส้มอมแดงเไjrา)ทส่องมีสีจางลงเล็กน้อย เบอร์ที่สามมีสีส้มอมเหลือง
แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ขี้ผึ้งเทียมเบอร์ที่สอง เพราะมีสีจางแต่เมื่อนำไปต้มและผสมกับผึ้งเก่าจะได้สีที่มีน้ำหนักของสีที่พอเหมาะแก่การหล่อลำต้น ผึ้งชนิดนี้ราคากิโลกรัมละ ๕๐ - ๗๐ บาท ในการทำเทียนพรรษานิยมใช้ผึ้งชนิดนี้ ในการหล่อลำต้นของเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ และนิยมใช้ผึ้งชนิดนี้ในการหล่อหุ่นประกอบของต้นเทียน ทั้งหุ่นประกอบต้นเทียนประเภทติดพิมพ์และหุ่นประกอบต้นเทียนประเภทแกะสลัก
ในการทำเทียนพรรษาในแต่ละปีจะใช้ขี้ผี้งในการหล่อลำต้นติดลายและทำหุ่นประกอบ ทั้งขี้ผึ้งแท้และขี้ผึ้งเทียมประมาณ 70-100 กิโลกรัม ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดและลักษณะของต้นเทียน รวมทั้งหุ่นที่ใช้ประกอบต้นเทียนและปริมาณของขี้ผี้งเก่าที่มีอยู่แต่เดิมผสมด้วย การหล่อลำต้นและหุ่นประกอบในการทำเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์นั้น นิยมใช้ขี้ผึ้งเทียมในการทำทั้งหมด และจะใช้ขี้ผึ้งแท้ทำในส่วนของลวดลายหรือดอกผึ้งติดประกอบตามส่วนต่าง ๆ เท่านั้น
การทำเทียนพรรษาประเภทแกะสลักจะใช้ขี้ผึ้งในการทำลำต้นและส่วนของรากฐานใหญ่ทั้งหมด ตามขนาดและรูปทรงมาตรฐาน คือไม่มีองค์ประกอบอื่น ๆ ประดับที่ฐาน จะใช้ขี้ผึ้งเทียมประมาณ ๕๐ ลัง หรือ ๑,๒๕๐ กิโลกรัม (ผึ้งเทียม ๑ ลัง มีน้ำหนัก ๒๕ กิโลกรัม) ในการทำเทียนประเภทแกะสลักนิยมใช้ขี้ผึ้งแท้และเทียมผสมกันในการหล่อ ทำลำต้น ยอด ฐาน และองค์ประกอบอื่นๆ ประมาณ ๑๐๐ กิโลกรัม จะทำให้ได้ความคมชัดของลวดลายที่เด่นชัด และมีความแข็งที่เหมาะกับการใช้เครื่องมือแกะสลัก และขี้ผึ้งที่เกิดจากการผสมระหวางขี้ผึ้งแท้และขี้ผึ้งเทียมนี้ จะมีความคงทนต่อความร้อนจากแสงแดดในขณะทำการแห่เทียนพรรษา เราสามารถเปรียบเทียบลักษณะและคุณสมบัติของขี้ผึ้งแท้และขี้ผึ้งเทียมได้ดังตารางต่อไปนี้