รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วิธีการทำเทียน อุบลราชธานี

สารบัญ

 

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำขี้ผึ้งแผ่น ประกอบด้วย
๑) ปี๊บ
๒) ขี้ผึ้งคุณภาพพอใช้ได้
๓) เตาอั้งโล่
๔) ถ่านไม้
๕) แบบพิมพ์ทำจากแผ่นเหล็ก หรือสังกะสีแผ่นเรียบ
๖) มะขามเปียก
๗) น้ำ
๘) ชามอ่างขนาดใหญ่
๙) มีดปลายแหลม และมีดปลายตัด
๑๐) กระบวย หรือกระบวยโลหะ สำหรับตักขี้ผึ้ง
๑๑) ลิ่มไม้

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

วิธีทำผึ้งแผ่นมีขั้นตอนดังนี้
๑. จัดหาขี้ผึ้งคุณภาพพอใช้ได้มาจำนวนหนึ่ง ในปริมาณที่เพียงพอสำหรับทำขี้ผึ้งแผ่นตามที่ต้องการใช้งาน หากไม่เพียงพออาจจะหามาเพิ่มเติมภายหลังได้ ขี้ผึ้งที่หามาถ้าเป็นก้อนโตควรทำให้เป็นก้อนเล็ก โดยทุบหรือสับก่อน ซึ่งเมื่อต้มจะทำให้ละลายเร็วขึ้น

๒. นำขี้ผึ้งที่สับเป็นก้อนเล็กแล้วบรรจุลงในปี๊บ แล้วยกขึ้นตั้งบนเตาอั้งโล่ ต้มขี้ผึ้งจนละลายเป็นของเหลว

๓. ตั้งวางแบบพิมพ์ไว้บนพื้นราบ อย่าให้ข้างใดข้างหนึ่งเอียง เพราะถ้าเทขี้ผึ้งเหลวลงไปจนเต็มแบบพิมพ์ ขี้ผึ้งจะไหลทะลักออกมาจากแบบพิมพ์

๔. นำมะขามเปียกที่เตรียมไว้มาผสมกับน้ำเล็กน้อยถูมะขามเปียกกับพื้นผิวทุกส่วนที่อยู่ด้านในของแบบพิมพ์ให้ทั่ว เมื่อถูจนทั่วดแล้วเก็บเศษเนื้อมะขามเปืยกออกให้หมด อย่าทิ้งเศษเอาไว้บนพื้นผิวแบบพิมพ์แม้จะเป็นเศษชิ้นเล็ก ๆ ก็ตาม การเอามะขามเปียกถูพื้นผิวแบบพิมพ์ก็เพื่อทำให้เกิดความลื่น วัสดุที่ใช้เพื่อให้พื้นผิวลื่นนี้ให้ใช้มะขามเปียกเท่านั้น จะใช้น้ำมันหรือวัสดุอื่นใดไม่ได้

๕. เมื่อตั้งวางแบบพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ใช้กระบวยตักขี้ผึ้งที่ต้มละลายจนเหลวเทลงไปในแบบพิมพ์ จะเทลงไปมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความหนาของผึ้งแผ่นที่ต้องการ ระหว่างที่เทขี้ผึ้งหากสังเกตุเห็นว่าพื้นผิวด้านหน้าของขี้ผึ้งไม่อยู่ในแนวระนาบ ควรใช้ลิ่มไม้สอดหนุนด้านที่ต่ำให้สูงขึ้นทันทีี

๖. หลังจากเทขี้ผึ้งลงไปในแบบพิมพ์ประมาณ ๕ นาที ขี้ผึ้งเหลวจะเริ่มแข็งตัว ถ้าต้องการเร่งให้แข็งตัวเร็วขึ้นและแกะออกได้ง่าย เมื่อเห็นว่าขี้ผึ้งแข็งตัวจนไม่ไหลไปมาไหลมาแล้ว ให้ยกแบบพิมพ์ไปแช่น้ำในชามอ่างหรือในภาชนะอื่น ขี้ผึ้งที่กำลังแข็งตัวจะแข็งตัวเร็วขึ้น และลอกออกจากแบบพิมพ์ได้ง่ายขึ้น

๗. การลอกผึ้งแผ่นออกจากแบบพิมพ์ ควรใช้มีดปลายแหลม หรือมีดปลายตัดช่วยในการงัดแงะ แล้วดึงผึ้งแผ่นออกจากแบบพิมพ์ด้วยมือ ถ้าผึ้งแผ่นโค้งหรืองอ ก็เอามือดัดให้ราบเรียบเหมือนที่อยู่ในแบบพิมพ์

๘. ถ้าต้องการผึ้งแผ่นจำนวนมาก ควรใช้แบบพิมพ์หลายอัน เพราะการหล่อผึ้งแผ่นแต่ละแผ่นใช้เวลานาน ผึ้งแผ่นที่ทำเสร็จแล้ว สามารถนำไปติดกับส่วนต่าง ๆ ของต้นเทียนเพื่อใช้เป็นบริเวณสำหรับติดลายดอกต่อไป

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

ความแตกตางระหว่างต้นเทียนประเภทติดพิมพ์และต้นเทียนประเภทแกะสลัก
เนื่องจากถ้าหากดูจากภาพถ่าย จะเห็นได้ว่าต้นเทียนประเภทติดพิมพ์เเละต้นเทียนประเภทแกะสลักมีความคล้ายคลึงกันมาก แทบแยกประเภทไม่ออก และแม้จะเห็นด้วยตา ก็ไม่สามารถแยกได้ว่า ต้นเทียนทั้ง ๒ ประเภทนี้มีิความแตกต่างกันอย่างไร นายประดับ ก้อนแก้ว จึงได้้อธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่างต้นเทียน ๒ ประเภทนี้ ดังตอไปนี้

ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์
ลำต้นเทียนที่เห็นจะไม่ใช่ขนาดที่แท้จริงของลำต้นเทียน เพราะเวลาหล่อช่างจะทำให้มีขนาดเล็กกว่าขนาดที่ต้องการ เมื่อมีการเอาผึ้งแผ่นและดอกผึ้งมาติดเสริมเข้าจะเป็นขนาดที่ต้องการ

ลำต้้นจะต้องกลึงให้เป็นรูปร่างที่ต้องการ ทั้งส่วนโค้ง ส่วนนูน และส่วนคอด เมื่อเวลาติดพิมพ์จะไม่ต้องตกแต่งแเก้ไข คือ ติดแผ่นผึ้งและติดดอกผึ่งตามรูปทรงที่กลึงไว้

สีของลำต้นที่อยู่ภายในกับสีของแผนผี้งและดอกผึ้งจะเป็นคนละสี กล่าวคือ สีของลำต้นกับสีของแผนผี้งมักุจะเป็นสีเดียวกัน คือ สีเหลือ สีแดง หรือสีส้ม ส่วนดอกผึ้งจะเป็นสขาวเหลือง หรือสีเหลืองอ่อน ทั้งนี้เพราะใช้ขี้ผึ้งคนละชนิด ลำต้นและแผ่นผึ้งใช้ขี้ผึ้ื้งชนิดไม่ดี ส่วนดอกผึ้งใช้ขี้ผึ้งชนิดดี

ดอกผึ้งพิมพ์จากแบบพิมพ์ แล้วจึงนามาติดบนแผ่นผึ้ง ซึ่งติดอยู่กับลำต้นอยู่แล้ว หรือนำดอกผึ้งมาติดบนลำต้นโดยตรง ทั้งนี้แล้วแต่ช่างจะเห็นเหมาะสม

ดอกผึ้งที่เป็นลวดลายต่าง ๆ อาจหลุดง่าย เพราะเพียงแต่นำมาติดไว้เท่านั้น ซึ่งบางครั้งอาจติดไม่สนิท

ดอกผึ้งที่ทำเป็นลวดลายต่าง ๆ จะเป็นดอกเล็ก ๆ บาง ๆ ไม่นูน ไม่หนา เพื่อให้มีความละเอียด

ดอกผึ้งที่นำมาติดเป็นลวดลาย แต่ละดอกเป็นลายอิสระที่ตัดขาดจากกันแล้วเอามาติดให้ต่อกัน การติดอาจจะไม่เชื่อมกันสนิท เพราะไม่ได้ทำดอกผึ้งเป็นลวดลายติดต่อกันเป็นพืด

ลวดลายส่วนมากไม่ค่อยเป็นเรื่องราว เพราะการพิมพ์ลวดลายต้องพิมพ์ในแบบพิมพ์ที่เป็นหิน หรือเป็นปูน หรือเป็นไม้ ซึ่งการแกะสลักแบบพิมพ์ทำได้ยากกว่าการแกะสลักขี้ผึ้งตามวิธีการของต้นเทียนประเภทแกะสลัก

รอยต่อระหว่างดอกและระหว่างลวดลายมีมาก เพราะใช้ดอกผึ้งมาติดเรียงต่อกันไป

เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้พิมพ์ดอกผึ้งมีหลายอย่าง และการพิมพ์มีขั้นตอนสลับซับซ้อน และละเอียดอ่อน

ต้นเทียนประเภทแกะสลัก
ลำต้นเทียนประเภทแกะสลักจะมีขนาตใหญ่กว่าต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ เนื่องจากต้องเผื่อการเกลาเทียนออกในขั้นตอนของการแกะสลัก

ลำต้นเทียนที่หล่อเสร็จแล้ว บางต้นแกะสลักได้เลยโดยไม่ต้องกลึง ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความประณีตของช่างหล่อเทียน

สีของลำต้นและสีของดอกหรือลวดลายจะเป็นสีเดียวกัน เพราะใช้ขี้ผึ้งชนิดเดียวกัน คือขี้ผึ้งชนิดดี หรือขี้ผื้งผสม

การแกะดอกหรือลวดลายจะแกะจากลำต้น

ดอกหรือลวดลายไม่หลุดง่าย เว้นแต่จะแตกหักออกไป ที่ไม่หลุดง่ายเพราะไม่ได้นำดอกผึ้งหรือลวดลายจากที่อื่นมาติด ดอกหรือลายจะเ่กิดจากการแกะสลักจากลำต้น

ดอกและลายมีขนาดตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่ มีส่วนหนา นูน เส้นลายลึกสลับซับซ้อน ดูแล้วมีมิติ

ดอกและลายจะต่อเนื่องกันทั้งหมด

ลวดลายส่วนมากจะเป็นเรื่องราว ซึ่งมีการแกะสลักลวดลายอย่างละเมียดละไม แฝงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม และแง่คิดปริศนาต่าง ๆ บางต้นเก็แกะเป็นรูปพระเวสสันดร บางต้นก็แกะเป็นรูปพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ ้บ้างก็เป็นปางออกบวช บางต้นก็แกะเป็นรูปปัญจวัคคีย์กำลังสดับเทศนา บางต้นแกะเป็นรูปสัตว์ หรือลวดลายอย่างอื่น

ทุกส่วนของต้นเทียน คือ ส่วนฐาน ส่วนลำต้น และส่วนยอดไม่มีรอยต่อ

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักเป็นเครื่องมือง่าย ๆ วิธีการใช้ไม่สลับซับซ่อน

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

กลุ่มของช่างเทียน
ช่างเทียนนั้นทำคนเดียวไม่ได้ต้องมีการรวมเป็นกลุ่มมี ช่างใหญ่เป็นหัวหน้ากลุ่ม และมีผู้ช่วยที่มีความสามารถแตกต่างกันตามลักษณะงาน ที่ความยากง่ายต่างกัน ซึ่งกลุ่มหนึ่งอาจจะมี ๗ - ๘ คนหรือ ๑๐ - ๑๕ คน แล้วแต่การลงทุนมากน้อย แต่สำหรับการทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์จะใช้คนประมาณ ๒๐ - ๓๐ คน ในการตัดแต่งลวดลาย และติดพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านของคุ้มวัดที่ทำเทียนนั้นอาสาสมัครมาช่วยงาน

ช่างเทียนมีเทคนิคในการสร้างสรรค์งานแตกต่างกันตามประสบการณ์ที่ได้รับตามความรู้ที่ได้เรียน แม้กระทั่งสิ่งที่ค้นพบใหม่ การแบ่งกลุ่มของช่างเทียนอาจแบ่งได้ดังนี้

๑. กลุ่มช่างเทียนอาชีพ ปกติการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จะมีปีละ ๑ ครั้ง อาชีพหลักก่อนเป็นช่างเทียนอาชีพคือ เป็นช่างก่อสร้าง ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนา เช่น โบสถ์ ศาลาการเปรียญ เป็นต้น ช่างกลุ่มนี้ประกอบด้วยหัวหน้าช่างเป็นผู้รับเหมากับลูกน้องที่มีค่าแรงรายวัน

๒. กลุ่มช่างอาชีพเสริม ช่างในกลุ่มนี้มีอาชีพอื่นเป็นหลักอยู่แล้ว ได้แก่ ข้าราชการ ผู้เรียนศิลปะ หรือผู้ประกอบอาชีพศิลปะอิสระ ซึ่งก็จะมีผู้นำเป็นหัวหน้าประกอบกับลูกน้องที่อาจจะเป็นข้าราชการด้วยกัน หรือนักเรียนมาร่วมทำ ซึ่งจะนำเอารูปแบบศิลปะใหม่ ๆ มาใช้ในการทำต้นเทียน และมีการพัฒนารูปแบบแปลกใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ

๓. กลุ่มช่างโดยศรัทธาอาสาสมัคร ช่างในกลุุ่มนี้ค่อนข้างจะมีน้อยและหาได้ยาก ซึ่งโดยมากมักไม่รับค่าจ้างรับเพียงสวัสดิการอาหารในขณะทำงาน ซึ่งจะมีช่างเป็นหลักเพียงหนึ่งถึงสองคน และมีพระเณรในวัดเป็นลูกน้อง ทำด้วยความจริงใจถ่ายทอดไปตามความคิดที่อิสระไม่หวังรางวัล แต่จะทำเพื่อความศรัทธาและความชอบจริง ๆ

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1081 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์