รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วิธีการทำเทียน อุบลราชธานี

สารบัญ

การทำต้นเทียนประเภทแกะสลัก

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

การออกแบบต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก

การออกแบบต้นเทียนประเภทนี้ จะแตกต่างจากประเภทติดพิมพ์กล่าวคือ ช่างเทียนจะออกแบบโดยร่างเป็นภาพ หรือลวดลายลงบนกระดาษแล้วต้องร่างแบบลงบนต้นเทียนอีกครั้งเพื่อทำการแกะสลักการออกแบบทำได้ ๒ ลักษณะ คือ

๑. ร่างเป็นภาพหรือลวดลายลงในกระดาษ เมื่อได้เป็นเนื้อหาหรือลวดลายตามต้องการแล้วจึงนำกระดาษนั้นไปพันรอบลำต้นเทียนแล้วขูดหรือเจาะลงบนกระดาษให้เป็นรูปแบบหรือเนื้อหาตามภาพที่ร่างไว้ ซึ่งวิธีการนี้จะสะดวกและจะได้ลวดลายที่ถูกด้องชัดเจน

๒. ร่างเป็นภาพหรือลวดลายลงในต้นเทียน วิธีการนี้เหมาะสำหรับช่างที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ จึงจะทำให้เกิดลวดลายหรือเนื้อหาที่เหมาะสมและสวยงาม

นอกจากการออกแบบลำต้นเทียนด้วยวิธีการทั้ง ๒ แล้ว การออกแบบต้นเทียนประเภทแกะสลักควรให้มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน และมีความเหมาะสมกับลวดลายที่จะปรากฏอยู่ในหุ่นเทียน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของต้นเทียนด้วย

การออกแบบเทียนพรรษา นับเป็นขั้นตอนแรกของการทำต้นเทียนทั้งประเภทติดพิมพ์และประเภทแกะสลัก ก่อนการจัดทำเทียนทุกประเภท ช่างผู้ทำเทียนจะต้องออกแบบเนื้อหาและเรื่องราวที่จะนำเสนอ หลังจากนั้นร่างเป็นโครงเรื่อง กำหนดวัสดุอุปกรณ์ และผู้ช่วยช่าง การทำเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการกำหนดขนาดและสัดส่วนโดยรวมไว้เป็นมาตรฐาน และถือปฏิบัติติดต่อกันมาทุกปี โดยเน้นกำหนดในเรื่องความสูงเป็นหลัก คือ ต้องมีความสูงอย่างน้อย ๒ เมตร และไม่เกิน ๓ เมตร ทั้งนี้ใ้ห้วัดจากส่วนฐานของต้นเทียนไปถึงส่วนปลายยอดสุดของต้นเทียน และเมื่อวัดรวมจากความสูงของรถยนต์ที่ใช้บรรทุกกับความสูงของต้นเทียน ต้องมีความสูงโดยรวมไม่เกิน ๕ เมตร ดังนั้นการทำต้นเทียนพรรษา จึงมักมีการกำหนดสัดส่วนออกเป็น ๓ ส่วน ดังนี้ คือ

๑. ส่วนฐาน มีความสูงประมาณ ๑ เมตร
๒. ส่วนลำต้นและยอด มีความสูงประมาณ ๒.๕ เมตร
๓. ส่วนยอด มีความสูงประมาณ ๕๐-๗๐ เชนติเมตร

๑) ส่วนฐาน
ส่วนใหญ่จะใช้เนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่ปรากฏในพุทธประวัติเป็นหลักรวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ของช่างผู้ทำเอง เช่น เป็นตัวสัตว์ก็มักจะใช้สัตว์ในศิลปะไทย ได้แก่ ครุฑ นาค พญา้นาค เป็นต้น หรือภาพสัตว์ตามเดือนปีตามหลักจันทรคติ หรือภาพที่เ่กี่ยวกับสมมุติิเิทพต่าง ๆ เช่น พระแม่ธรณีบีบมวยผม พราหมณ์ พระพุทธเจ้าปางต่าง ๆ อาจมีการสร้างหรือทำเป็นรูปสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาประกอบ เช่น ป่าหิมพานต์ ป่าอิสปตนมฤคทายวัน ปราสาทราชวัง เป็นต้น หรือ อาจเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ที่สำคัญในยุคสมัยนั้นประกอบตามเหมาะสม เช่น วันรัชมังคลาภิเษก อาจใช้การปั้นหรือแกะเป็นพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๙ ประทับนั่งมาด้วย รูปทรงที่ใช้ในการทำฐานอาจเป็นสี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือหลายเหลี่ยมย่อมุม หรือแบ่งเป็นหลายชั้น หรือเป็นรูปสัตว์ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องที่นำเสนอในแต่ละปี

๒) ส่วนลำต้น
ในยุคแรกนิยมแกะเป็นลวดลายกนก หรือลายกระจังต่าง ๆ ต่อมามีการพัฒนารูปแบบในการทำต้นเทียน จึงมีการแทรกเนื้อหา ซึ่งเป็นคดิสอนใจแก่ผู้คน ส่วนมากเป็นเนื้อหา หรือเรื่องราวทางพุทธศาสนา บาปบุญคุณโทษเป็นการสอนหลักศาสนาไปในตัว บางแห่งอาจแทรกสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ ลงไปด้วยก็ได้

๓) ส่วนยอด
เป็นจุดสูงสุด เป็นการสร้างภาพให้รู้สึกถึงความสง่างาม ความยิ่งใหญ่จะต้องทำให้มีลักษณะเด่น สะดุดตา หรือ อาจมีความหมายที่มุ่งไปในทางสัญลักษณของพุทธศาสนา เช่น เสมาธรรมจักร เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป หรือดอกบัวอันเป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ในส่วนปลายของยอดมีไส้เทียนติดอยู่ ซึ่งจะทำด้วยฝ้ายหรือป่านมัดรวมติดอยู่ ทั้งนี้เพื่อความสวยงาม และทำให้ต้นเทียนมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

การทำต้นเทียนประเภทแกะสลัก แบ่งขั้นตอนออกเป็น ๒ ขั้นตอน คือ

๑.การออกแบบ สิ่งที่ต้องออกแบบในการแกะสลักมี ๒ ประเภท คือ

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

๑.๑ ลวดลาย
ลวดลายที่ใช้ประกอบในการทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ลวดลายไทยเป็นหลัก ที่นิยมคือ ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายกนก และลายผักกูด ซึ่งลวดลายไทยนี้ได้รับอิทธิพลทางทรง (Form) มาจากรูปทรงของดอกบัวตูม ทั้งนี้เพราะศิลปินไทยมีวิถีชีวิตและความเชื่อที่ผูกพันกับพุทธศาสนามาก ดังปรากฏในบุคลาธิษฐานที่เกี่ยวข้องมากมายกับพุทธประวัติ เช่น เมื่อตอนพระองค์ประสูติทรงเสด็จดำเนินได้ ๗ ก้าว โดยมีดอกบัวมาเป็นฐานรองรับทั้ง ๗ ก้าว และเมื่อพระองค์เสด็จประทับ ณ ที่สุดก็จะมีดอกบัวรองรับที่ประทับนั้น แม้แต่การจำแนกบุคคลตามภูมิปัญญา ตามคำเปรียบเทียบของพระพุทรองค์ ก็จะเปรียบเทียบให้สัมพันธ์กับดอกบัว ๔ เหล่า ด้วยเหตุนี้ดอกบัวจึงเป็นดอกไม้พุทธบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจะเห็นได้ว่ารูปทรงของศิลปกรรมไทยไม่ว่าจะเป็นลวดลายหรือรูปทรงอาคาร มักจะเกี่ยวพันกับรูปทรงของดอกบัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ศิลปินก็มิได้ติดอยู่กับรูปทรงของดอกบัวตามธรรมชาติ หากแต่พยายามนำรูปทรงนั้นมาทำการประยุกต์ กลั่นกรองจนเกิดเป็นรูปแบบใหม่ ในลักษณะอุดมคติ (ldealism)

นอกจากลวดลายที่มีแนวคิดจากดอกบัวแล้ว ยังมีลวดลายอื่น ๆ อีก เช่น ลายตาอ้อย หรือ กระจังตาอ้อย เป็นรูปทรงที่มีแนวเดียวกันกับดอกบัว แต่เหตุที่เรียกว่าลายตาอ้อย เพราะลักษณะคล้ายกับตาของข้ออ้อย ลายตาอ้อยนี้นิยมนำมาประดับตามส่วนท้องของงาน เช่น ส่วนขวาง ส่วนรัดลาย หรือส่วนของเล่นฐาน ซึ่งลายตาอ้อย หากนำมาประกอบรวมกัน ๔ มุม จะเกิดเป็นลวดลายใหม่เรียกว่า ลายประจายาม และหากกระจังตาอ้อยที่มีขนาดใหญ่ขึ้นใช้ประดับตามส่วนฐานเราเรียกกระจังที่มีขนาดใหญ่นี้ว่า กระจังปฏิญาณ ซึ่งมีความละเอียดประณีตมากกว่ากระจังตาอ้อย และหากนำลายกระจังตาอ้อยไปใช้เพียงครึ่งซีกก็จะเรียกว่า ลายกนก และมีลวดลายที่ได้แนวคิดจากสิ่งที่พบเห็นตามธรรมขาติ เช่น รางข้าว เปลวไฟ กาบใบ ใบไม้ ฟันปลา ดอกไม้ และเครือเถา ของพืชบางขนิด เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติเหล่านี้ได้ถูกนำมาพิจารณาให้กลายเป็น ลายก้างปลา ลายกนก ลายกนกเปลว เป็นต้น

ลวดลายที่ได้จากลายไทย ซึ่งช่างพื้นบ้านได้นำมาดัดแปลงเพื่อนำมาทำเป็นแม่พิมพ์ พิมพ์ลาย หรือแกะลงไปบนลำต้น หรือฐานของต้นเทียน แบ่งออกเป็น ๔ ลวดลายด้วยกัน ได้แก่ ลายกนก ลายนารี ลายกระบี่ และลายคชะ

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

๑) ลายกนก ลายกนกที่นิยมใช้ได้แก่ กนกสามตัว กนกใบเทศ กนกเปลว เป็นต้น ลักษณะของลายกนกจะเขียนในรูปแบบเดียวกัน แต่จะมีการแบ่งตัวเขียนแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความสามารถของศิลปิน หรือผู้ออกแบบลายนั่นเอง เพราะลักษณะการเขียนลายกนกจะเป็นการแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะของผู้เขียนเหมือนกับลายมือในการเขียนหนังสือ ผู้ออกแบบลายจะต้องมีความสามารถในการเขียนลายเส้นต่าง ๆ ได้อย่างชำนาญจึงจะผูกลายได้อย่างสวยงามและสัมพันธ์กัน การฝึกหัดเขียนลายเส้นให้สวยงามนี้เองทำให้ช่างเขียนเกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้น จึงมีช่างเขียนที่เก่งน้อยมาก

ลายกนก แบ่งออกได้เป็น ๔ แบบ คือ
๑.๑) กนกสามตัว หรือกนกนาง เป็นแม่บทลายไทยที่บรรจุลายต้นเถา กาบใหญ่ กาบเล็ก กลีบเลี้ยง ตัวกนก และยอดกนกไว้อย่างครบครัน ทั้งยังรวมเอาลายกนกทุกแบบเอาไว้ด้วย เช่น กนกก้านขด กนกเปลว และกนกใบเทศ เป็นต้น

๑.๒) กนกเปลว เป็นลายต่อที่มาจากกนกลามตัว แต่เอาช่อข้างหน้าของกนกสามตัวออก แล้วเปลี่ยนเป็นกลีบเลี้ยงบาง ๆ ใส่แทน กนกเปลว เป็นชื่อลายที่ได้รับการดัดแปลงมาจากเปลวของไฟที่กำลังกำลังครุกรุ่น การเขียนต้องเขียนให้สะบัดพริ้ว เหมือนเปลวของเพลิงที่กำลังลุกไหม้จริง ๆ กนกเปลวได้รับความนิยมแพร่หลาย ในการทำประดับสิ่งก่อสร้างหน้าบันไดโบสถ์ วิหาร ประตูหน้าต่าง พลับพลา ปราสาท ฯลฯ ซึ่งลายกนกเปลวนี้มีความสำคัญในการทำลายตามลำต้นของเทียนพรรษาป่ระเภทแกะสลักมาก นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการนำไปใช้ประดับตามยอดเศียรพระพุทธรูปอีกด้วย

๑.๓) กนกใบเทศ เป็นกนกที่ได้รับการดัดแปลงมาจากต้นใบเงิน ใบทองและต้นดอกฝ้ายเทศ กนกใบเทศเป็นลายที่เหมาะสมมาก สำหรับการประดับตามสิ่งก่อสร้าง เช่น ลายปูนปั้น และงานแกะสลักต่าง ๆ เพราะมีลักษณะของกนกแข็งสิงห์ผสมกับกระจังตาอ้อย นอกจากนี้ ยังใช้ลายกนกใบเทศ มาเขียนเป็นลายรดน้ำลงรักปิดทอง หรือประดับฝ้งมุก

๑.๔) กนกเทศหางโต เป็นลายที่ได้รับการดัดแปลงมาจากหางสิงห์ มีลักษณะปลายเรียวเรียบ โคนลายจะโตจะเป็นขนเฉพาะส่วนที่เป็นปลายหางเท่านั้น ลักษณะโดยส่วนรวมคล้ายกับกนกใบเทศมาก

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1101 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์