เทียนพรรษาเมืองอุบลกับจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมไท-ลาว อุบลราชธานี
สารบัญ
เทียนพรรษาเมืองอุบลกับจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมไท-ลาว สู่วัฒนธรรมหลวงกรุงเทพฯ
วันเข้าพรรษาชาวอีสานนิยมเรียกว่า “บุญเดือนแปด” เป็นช่วงเวลาที่พระสงฆ์ต้องอยู่จำอาวาสแห่งเดียวตลอด ๓ เดือน ในช่างฤดูฝน โดยอุบาสก อุบาสิกาจะนำต้นเทียนมารวมกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ สำหรับเทียนมีรูปสัญลักษณ์เป็นเล่มหรือมัดรวมกันเป็นต้น หรือหล่อต้นเทียนด้วยขี้ผึ้ง เรียกว่า เทียนเล่มหรือเทียนต้น ถวายแด่พระสงฆ์ในวันเข้าพรรษาเพื่อให้พระสงฆ์นำไปจุดบุชาพระรัตนตรัยตลอดพรรษาจึงก่อเกิดงานบุญประเพณีเทียนพรรษา ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์พิธีบุญเข้าพรรษาเท่านั้น โดยยังมีกิจกรรมสำคัญอื่นๆ เช่น การทำบุญตักบาตร การบวชนาค ฟังพระธรรมเทศนา ถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ในส่วนของพระภิกษุสามเณร จะใช้ช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฎิบัติศาสนกิจอย่างเต็มที่ทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน อุปสรรคอย่างหนึ่งของการศึกษาพระธรรมวินัยก็คือ แสงสว่างในเวลากลางคืน จึงเป็นปฐมเหตุหนึ่งอันสำคัญที่เป็นที่มาของการนำเทียนไปถวายวัดในเทศกาลเข้าพรรษา ความนิยมดังกล่าวคงมีมาแต่ครั้งโบราณสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
รูปลายเส้นวาดจากรูปถ่ายของหอจดหมายเหตุแสดงประเพณีการแห่เทียนโบราณ สันนิษฐานว่า เป็นแบบเทียนมัดรวมติดลาย โดยมีต้นเทียนเป็นองค์ประธาน ตกแต่งด้วยซุ้มมลฑป เครื่องยอดแบบศิลปะพื้นถินไท-ลาว แบบอย่างลักษณะเดียวกับมลฑปนกหัสดีลิงค์ มีคุณค่าทาง ศิลปะที่สะท้อนรากเหง้าของวัฒนธรรมพื้นถิ่น บนพื้นฐานแห่งความพอเพียงภายใต้กรอบแห่งบริบทแวดล้อม
เทียนพรรษาเมืองอบลกับคุณค่าทางศิลปะพื้นถิ่น
ศิลปะพื้นถิ่น ตามกรอบแนวคิดทางมนุษยวิทยาที่อธิบายเชืงโครงสร้างทางสังคมประกอบด้วย ศิลปะสองระดับ คือ “ระดับพื้นเมือง” กับ “ระดับพื้นบ้าน” โดยคำว่า “พื้นเมือง” หมายถึง ศิลปะที่มีรูปนบบแพร่หลายอย่างกว้างๆ จนเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของหลายๆ ท้องถิ่น จะเห็นได้ชัดเจนว่า การปรับเปลี่ยนสถานภาพจากศิลปะพื้นบ้านมาเป็นศิลปะพื้นเมืองต้องสอดคล้อง กับ การผลิตแบบมวลรวม(Mass production) เเละ การได้ร้บอิทธิพลจากประเพณีหลวง สำหรับคำว่า “พื้นบ้าน” หมายถึีง ศิลปะอื่นที่มีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มในวงแคบกว่าศิลปะแบบพื้นเมืองจะอาศัยแรงงานวัสดุที่มีอยู่ในทัองถิ่นเป็นหลัก อีกทั้งฝีมือช่างก็เป็นคนท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า ช่างราษฎร์ ก็คือชาวบ้านนั้นเอง ซึ่งอาจจะได้รับอิหธิพลรูปแบบจากประเพณีหลวงบ้าง แต่ช่างได้รังสรรค์เป็นผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นศิลปะพี้นบ้านบริสุทธิ์ ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑ ทรัพยากรทางด้านวัตถุดิบหรึอวัสดุและเทคโนโลยีที่มีอยู่ในท้องถิ่น
๒ สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ การขนส่งและการคมนาคม
๓ ลักษณะคติความเชื่อและวิถีการดำเนินชีวิตแต่ละกลุ่มชาติพันธ์
๔ สภาพทางเศรษฐกิจเเละระบบโครงสร้างทางส้งคม
๕ ป้จจัยทางดัานประวัติศาสตร์และอิทธิพลทางการเมือง การปกครอง ทั้งจากภายในและภายนอก
ภูมิหลังเทียนพรรษาเมืองอุบล
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งเป็นสมัยที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้หลวงต่างพระองค์ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาวในยุคนั้น ซึ่งแต่เดิมในระยะแรกของการสร้างบ้านแปงเมืองนั้น ใช้ระบบการปกครองแบบล้านช้าง คือ การกำหนดผู้ปกครองบ้านเมืองเป็นคณะอาญาสี่หรืออาชญาส่u ซึ่งมีอยู่ ๔ ตำแหน่งคือ ๑.เจ้าเมือง ๒.อุปฮาด ๓.ราชวงศ์ ๔.ราชบุตร ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นปกครองสายสกุลเจ้าเมืองเก่าในอดีตที่มีความเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น แต่จุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ ในช่วงเป่ลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบเจ้าเมืองมาเป็นการแต่งตั้งข้าหลวงใหญ่จากราชสำนักกรุงเทพฯ โดยเริ่มต้นจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร และสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้มีการปรับปรุงการปกครองให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ร.ศ. ๑๑๖ โดยการตั้งทำเนียบข้าราชการมลฑลลาวกาวใหม่ ให้เหมือนกับทำเนียบข้าราชการมลทลชั้นในอื่น ๆ กล่าวคือ ให้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร โดยให้เรียกชืื่อตำแหน่งใหม่ของเจ้าเมืองว่า “ผู้ว่าราชการเมือง” อุปฮาด เรียกใหม่ว่า “ปลัดเมือง” ราชวงศ์ เรียกว่า “ยกกระบัตรเมือง” และราชบุตร เรียกว่า “ผูช่วยราชการเมือง” ทั้งนี้ มีท้าวโพธิสาร (เสือ ณ อุบล) เป็นพระอุบลเดชประชารักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองคนแรก (อุบลราชธานี ๒๐๐ ปี ๒๕๓๕)
จุดเปลี่ยนโดยเฉพาะช่วงสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาได้มีการจัดงานบุญบั้งไฟ (อันเป็นประเพณีดั้งเดิมท้องถิ่นของผู้คนในสายวัฒนธรรมไทย-ลาว) ทุกคุ้มบ้านจะนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวงริมแม่น้ำมูล ภายในงานได้มีการดื่มสุรายาเมาและขบวนพิธีที่แสดงการละเล่นเรื่องเพศ ที่แลดูจะเป็นเรื่องบัดสีบัดเถลิง อีกทั้งรูปแบบการละเล่นที่แลดูรุนแรงสกปรกในสายตาผู้ปกครองจากราชสำนักกรุงเทพฯ ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พระองค์จึงสั่งห้ามมิให้จัดงานบุญบั้งไฟในเขตเมืองอุบล (เฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอุบล) และได้เปลี่ยนจากงานบุญบั้งไฟมาเป็นการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาแทน ซึ่งจุดนี้เองที่เป็นจุดเปลี่ยนจากประเพณีพื้นถิ่นบุญบั้งไฟที่เคารพนับถือผี (พญาแถน) ของวัฒนธรรมชาวบ้านที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อ ทั้งในเรื่องสวัสดิภาพของหมู่บ้าน และการทำมาหากินของชาวบ้าน
ภาพงานประเพณีบุญบั้งไฟอันเป็นประเพณีที่ผสมผสานระหว่างลัทธิพราหมณ์ ลัทธิิการเซ่นไหว้ถือผี และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของผู้คนในแถบนี้ โดยเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมไท-ลาว อยู่ในฮีีตสิบสองที่เรียกว่าบุญเดือนหก โดยเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณเตือนให้พญาแถนได้รู้ว่าถึงฤดูทำนาแล้ว ให้พญาแถน บันดาลให้ฝนตก และให้มืปริมาณพอเพียงแก่การปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร
นอกกจากนี้ ประเพณีดังกล่าวคือภาพสะท้อนความเชื่อที่สัมพันธ์กับสังคมและชุมชนอย่างแนบแน่น เช่นความสนุกสนาน การร้องรำทำเพลง กินดื่ม และการละเล่นทางเพศ ดังนั้นในงานบุญบั้งไฟจึงเป็นศช่วงเวลาแห่งการปลดปล่อย ภายใต้บรรยากาศแห่งประเพณีพิธีกรรมอันเป็นการละลายพฤติกรรมที่ถอกกดดันหวงห้ามในช่วงเวลาปกติ โดยจะไม่มีการถือสาหาความ เฉกเช่นงานคาร์นิวัลของหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ซึ่งคนต่ำต้อยจะแสดงเป็นเจ้านายในรูปแบบของการล้อเลียน ร้องเพลงเหยียดเสียดสี และการแสดงที่ไม่เหมาะสมทางเพศกับเจ้านาย หรือสา์มารถแสดงตนเป็นกษัตริย์หรือปีศาจได้หนึ่งวัน ประเพณีบุญบั้งไฟของกล่มลาวเวียงจันทร์ และกลุ่มลาวอีสานของไทย สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ที่แสดงผ่านสัญลักษณ์ทางเพศอย่างชัดเจน และหลากหลาย นอกจากการจะจำลองอวัยวะเพศชายแล้วยังมีตุ๊กตา ชายหญิงในท่าร่วมเพศ ยายแก้ว หรือรูปท้าวผาแดงนางไอ่ ตุ๊กตาสัตว์ในท่าร่วมเพศ “ลิงเด้าไม้” และการใช้สัญลักษณ์ทางวาทะ คือคำเซิ้งที่ว่าด้วยเรื่องเพศอย่างหยาบคาย เพื่อให้เทวดาโกรธจะได้ส่งฝนลงมา อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ คือกรอบประเพณีความเชื่อของท้องถิ่นที่ผู้ปกครองมองคนละด้าน โดยเอามาตรฐานจากส่วนกลางมาเป็นกรอบแนวคิด และปรับเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้กลายมาเป็นประเพณีหลวงแบบอย่างกรุงเทพฯ อันเป็นพิธีของพุทธ ซึ่งวิวัฒนาการมาสู่งานประเพณีแห่เทียนของเมืองอุบล