เทียนพรรษาเมืองอุบลกับจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมไท-ลาว อุบลราชธานี
สารบัญ
ขบวนแหฟ้อน เซิ้งของงานบุญบั้งไฟอีสาน บ้านแมต จังหวัดร้อยเอ็ด มีพิธีบวชควาย โดยการละเล่นทีแฝงความเชื่อท้องถิ่นเชิงสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมการทำนาะ ซึ่งในทางมานุษยวิทยาถือว่าเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับเพศชาย (Phllic Symbal) ที่มีควาึ ายเพื่อความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะวิถีแห่งชาวนาอีสาน นั่นก็คือ ข้าว เพราะบุญบั้งไฟจัดขึ้นในช่วงสำคัญของการทำนา ดังนั้น การละเล่นกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ พฤติกรรมการแสดงออกภาษาและคำพูดที่ใช้เป็น “วิธีการทางสัญญลัักษณ์” เพื่อขอให้มีน้ำฝนอย่าป็พอเพียงในการทำนาแต่ละปี ในเชิงโครงสร้างทางสังคม พญาแถน นาค ปลัดขิก บั้งไฟและน้ำฝน เป็นสัญลัักษณ์ตัวแทนของเพศชาย ส่วนผู้หญิงจะมีบทบาทในสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะบทบาทในทางเศรษฐกิจ และการจัดการในครอบครัว เฉกเช่น การสืบผ่านมรดก ที่นา ที่ไร่ วัวควาย บ้านเรือนและทรัพย์อื่น ๆ ผ่านทางฝ่ายหญิง
ระยะแรกเริ่ม จากที่นำเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายต้นกล้วย แล้วนำมาติดตั้งกับฐาน และใช้กระดาษตกแต่งเรียกว่า เทียนมัดรวมติดลาย ต่อมาพัฒนามาเป็นแบบติดพิมพ์ และแบบแกะสลัก มีการประกวดประชันฝีมือในเชิงช่าง จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ต้องการยกระดับประเพณีพื้นถิ่นสู่ความเป็นสากลจึงได้เชิญช่างต่างชาติมาร่วมแสดงงานแกะสลักโดยในปีแรกเป็นการแกะสลักน้ำแข็ง ต่อมาพัฒนามาเป็นประติมากรรมเทียน
เทียนพรรษาเมืองอุบลกับคุณค่าทางศิลปะงานช่าง
เทียนพรรษาเมืองอุบล แม้ในทางประวัติศาสตร์ศิลปะจะสะท้อนให้เห็นได้ว่า้เป็นศิลปะงา้นช่างที่ไีด้รับมาจากราชสำนักกรุงเัทพฯ ผ่านระบบปกครองในกระแสวัฒนธรนหลวง ซึ่งส่งอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปวัฒนธรรมท้องถินอีสาน ภายใต้กรอบแนวคิดนิยามความหมายของผู้ปกครอง การเปลี่ยนแปลงดังกลาว ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญทีแสดงให้เห็นถึงการครอบงำของชนชั้นปกครองที่มีต่อวัฒนธรรมพื้นถิ่น (ชาวบ้าน) แม้ใช่วงแรกจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในบทต้น ๆ จะเห็นได้ว่าประเพณีแห่เทียนนี้ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ โดยเฉพาะในเขตตัวเมือง ซึ่งเป็นที่นิยมของพ่อค้า คหบดีที่มีความใกล้ชิดกับชนชั้นปกครอง ก่อนจะ์ขยายวงกว้างออกไปสูู่สังคมภายนอก โดยการทำเทียนพรรษาเมืองอุบลมีพัฒนาการทางศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละช่วงที่นาสนใจ ดังนี้
ยุคต้น
มีลักษณะต้นเทียนแบบใช้เทียนเล่มเล็ก ๆ มามัดยึดติดกัน ด้วยรูปทรงแบบลำต้นกล้้วย และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ส่วนฐานรองรับลำต้นเทียน และตกแต่งด้วยกระดาษสี ซึ่งเทียนรูปแบบดังกล่าวนี้ คงคุณค่าเรื่องของประโยชน์ใช้สอย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นหลักสำคัญมากกว่าความสวยงาม ความงามและคุณค่าทางศิลปะจึงเป็นความเรียบง่ายตามพุทธปรัชญาแห่งวิถีสังคมในยุคนั้น ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น คุณค่าทางศิลปะตามนิยามความหมายของสังคมในวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะแวดวงวิชาการทางศิลปะ อาจตีค่าศิลปะในยุคนี้อยู่เพียงแค่ศิลปะในขั้นปฐม (Primitive Art) ซึ่งในทางทฤษฎีสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นศิลปะขั้นสูงต่อไปได้้ หรืออาจจะเป็นศิลปะที่เรียกว่าศิลปะพื้นบ้าน (Folk Art) ซึ่งเป็นศิลปะที่มีความเป็นธรรมชาติ แต่มีพัฒนาการเพียงช่วงระยะเวลาสัน ๆ ดังที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบเทียนประเภทมัดรวมติดลาย เป็นต้น
ดังนั้น คณค่าทางศิลปะในช่วงยุคนึ้ จึงเป็นส่วนผสมระหว่างรูปแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะแบบแผนลวดลายตกแต่งองค์ประกอบเทียน มีกลิ่นไอของรากเหง้าเดิมอยู่ค่อนข้างมาก เช่น ส่วนซุ้มต้นเทียนทรงมลฑป เครื่องยอดเเบบศิลปะอีสานมีลักษณะเดียวกันกับส่วนเครื่องยอดเมรุนกหัสดีิลิงค์ เป็นต้น
ตัวอย่างเทียนที่สืบสานพัฒนามาจากรูปแบบเทียนในยุคแรกที่พัฒนามาจากเทียนเวียนหัว โดยการนำเทียนเล่มเล็กเหล่านั้นมามัดรวมกันเป็นต้นเทียนประธาน และตกแต่งโดยเพิ่มนัยสำคัญด้วยการตกแต่งซุ้มมลฑปคลุมลำต้นเทียน เป็นรูปแบบของศิลปะพื้นบ้าน (Folk Art) และในขณะเดียวกันก็เป็นศิลปะในขั้นปฐม (primitive Art) อยู่ในตัว
ยุคกลาง - ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เป็นช่วงที่ศิิลปะการทำเทียนพรรษามีการเปลี่ยนแปลง ทั้งแนวความคิดในการออกแบบ ตลอดจนการจัดวางองค์ประกอบ ในส่วนของการประดับตกแต่ง เทคนิควิธีการทำแต่ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างชัดเจนคือ จากในยุคต้นที่ใช้คานหาม หรือล้อเลื่อนและเกวียน ได้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้รถยนต์แทน ซึ่งการประดับประดารถ และขบวนแห่ก็สามารถทำให้เกิดความหลากหลายตื่นตาตื่นใจได้มากขึ้น จุดนี้เองที่เป็นเรื่องของสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลต่องานออกแบบ โดยเฉพาะศิลปวิทยาการ ของการทำแม่พิมพ์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย ซึ่งสามารถผลิตซ้ำทำได้จำนวนมาก ๆ ซึ่งวิธีการนี้คือจุดเปลียนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ก้าวหลุดพ้นจากสกุลช่างพื้นบ้าน สู่การเป็นช่างพื้นเมือง ซึ่งหมายถึงการมีศิลปะ ที่มีรูปแบบแพร่หลายอย่างกว้าง ๆ จนเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของหลาย ๆ ท้องถิ่น
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการปรับเปลี่ยนสถานภาพ จากศิลปะพื้นบ้านมาเป็นศิลปะพื้นเมือง ต้องสอดรับกับการผลิตแบบมวล (Mass production) และจากปฐมเหตุเหล่านี้ย่อมส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบของลาย ซึ่งทำซ้ำได้จำนวนมากขึ้นสามารถที่จะขยายขนาดของเทียนพรรษาให้ใหญ่โต อีกทั้งตกแต่งองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปในอดีต ลวดลายอีสานโบราณนั้นจัดได้ว่าแปลกไปจากลายไทยในภาคกลาง และดูออกจะมีเค้าลายผักกูดของขอมอยู่บ้าง แต่แม้จะมีเค้าลายขอม ก็ยังคงมีแบบแผนเป็นของตนเอง เป็นอิสระจากอิทธิพลใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ในยุคนี้เองที่กลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ด้านรูปแบบทางศิลปะท้องถิ่นที่ถูกครอบงำจากปัจจัยแวดล้อม โดยมีตัวแปรสำคัญอยู่ที่การปกครอง ตลอดจนระบบการศึกษาและความเจริญทางเทดโนโลยี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนทำให้ “เทียนพรรษาเมืองอุบล” เปลี่ยนแปลงทั้งในแง่สร้างสรรค์และทำลายอยู่ในตัว
จะเห็นได้ว่า วัฒนธรรมเทียนพรรษาเมืองอบลเองก็คือ ผลิตผลหนึ่งของการเคลื่อนตัวของว้ฒนธรรมหลวง โดยได้ส่งอิทธิพลต่อรูปแบบประเพณีท้องถิ่นเมืองอุบลและถือได้้ว่าเป็นจุตเปลี่ยนที่สำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึีงการครอบงำทางการเมืองของชนชั้นปกครองที่มีต่อวัฒนธรรมพื้ันถิ่น (ชาวบ้าน) เเม้ในช่วงแรกจะเห็นได้ว่าประเพณีแห่เทียนนี้ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบๆ โดยเฉพาะในเขตตัวเมือง ซี่งเป็นที่นิยมของพ่อค้าคหบดีที่มีความใกล้ชิดกับชนชั้นปกครอง ก่อนจะขยายวงกว้างออกไปสู่สังคมภายนอกตามโครงสร้างใหม่ทางสังคมที่ัมีความซับซ้อนมากกว่าในอดีต โดยการนำเหียนพรรษาเมืองอุบลมีพัฒนาการทางศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละช่วงที่นาสนใจ