เทียนพรรษาเมืองอุบลกับจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมไท-ลาว อุบลราชธานี
สารบัญ
เทียนพรรษาเมืองอุบลกับจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมไท-ลาว สู่วัฒนธรรมหลวงกรุงเทพฯ
วันเข้าพรรษาชาวอีสานนิยมเรียกว่า “บุญเดือนแปด” เป็นช่วงเวลาที่พระสงฆ์ต้องอยู่จำอาวาสแห่งเดียวตลอด ๓ เดือน ในช่างฤดูฝน โดยอุบาสก อุบาสิกาจะนำต้นเทียนมารวมกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ สำหรับเทียนมีรูปสัญลักษณ์เป็นเล่มหรือมัดรวมกันเป็นต้น หรือหล่อต้นเทียนด้วยขี้ผึ้ง เรียกว่า เทียนเล่มหรือเทียนต้น ถวายแด่พระสงฆ์ในวันเข้าพรรษาเพื่อให้พระสงฆ์นำไปจุดบุชาพระรัตนตรัยตลอดพรรษาจึงก่อเกิดงานบุญประเพณีเทียนพรรษา ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งขององค์พิธีบุญเข้าพรรษาเท่านั้น โดยยังมีกิจกรรมสำคัญอื่นๆ เช่น การทำบุญตักบาตร การบวชนาค ฟังพระธรรมเทศนา ถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ในส่วนของพระภิกษุสามเณร จะใช้ช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฎิบัติศาสนกิจอย่างเต็มที่ทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน อุปสรรคอย่างหนึ่งของการศึกษาพระธรรมวินัยก็คือ แสงสว่างในเวลากลางคืน จึงเป็นปฐมเหตุหนึ่งอันสำคัญที่เป็นที่มาของการนำเทียนไปถวายวัดในเทศกาลเข้าพรรษา ความนิยมดังกล่าวคงมีมาแต่ครั้งโบราณสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
รูปลายเส้นวาดจากรูปถ่ายของหอจดหมายเหตุแสดงประเพณีการแห่เทียนโบราณ สันนิษฐานว่า เป็นแบบเทียนมัดรวมติดลาย โดยมีต้นเทียนเป็นองค์ประธาน ตกแต่งด้วยซุ้มมลฑป เครื่องยอดแบบศิลปะพื้นถินไท-ลาว แบบอย่างลักษณะเดียวกับมลฑปนกหัสดีลิงค์ มีคุณค่าทาง ศิลปะที่สะท้อนรากเหง้าของวัฒนธรรมพื้นถิ่น บนพื้นฐานแห่งความพอเพียงภายใต้กรอบแห่งบริบทแวดล้อม
เทียนพรรษาเมืองอบลกับคุณค่าทางศิลปะพื้นถิ่น
ศิลปะพื้นถิ่น ตามกรอบแนวคิดทางมนุษยวิทยาที่อธิบายเชืงโครงสร้างทางสังคมประกอบด้วย ศิลปะสองระดับ คือ “ระดับพื้นเมือง” กับ “ระดับพื้นบ้าน” โดยคำว่า “พื้นเมือง” หมายถึง ศิลปะที่มีรูปนบบแพร่หลายอย่างกว้างๆ จนเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของหลายๆ ท้องถิ่น จะเห็นได้ชัดเจนว่า การปรับเปลี่ยนสถานภาพจากศิลปะพื้นบ้านมาเป็นศิลปะพื้นเมืองต้องสอดคล้อง กับ การผลิตแบบมวลรวม(Mass production) เเละ การได้ร้บอิทธิพลจากประเพณีหลวง สำหรับคำว่า “พื้นบ้าน” หมายถึีง ศิลปะอื่นที่มีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มในวงแคบกว่าศิลปะแบบพื้นเมืองจะอาศัยแรงงานวัสดุที่มีอยู่ในทัองถิ่นเป็นหลัก อีกทั้งฝีมือช่างก็เป็นคนท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า ช่างราษฎร์ ก็คือชาวบ้านนั้นเอง ซึ่งอาจจะได้รับอิหธิพลรูปแบบจากประเพณีหลวงบ้าง แต่ช่างได้รังสรรค์เป็นผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นศิลปะพี้นบ้านบริสุทธิ์ ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑ ทรัพยากรทางด้านวัตถุดิบหรึอวัสดุและเทคโนโลยีที่มีอยู่ในท้องถิ่น
๒ สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ การขนส่งและการคมนาคม
๓ ลักษณะคติความเชื่อและวิถีการดำเนินชีวิตแต่ละกลุ่มชาติพันธ์
๔ สภาพทางเศรษฐกิจเเละระบบโครงสร้างทางส้งคม
๕ ป้จจัยทางดัานประวัติศาสตร์และอิทธิพลทางการเมือง การปกครอง ทั้งจากภายในและภายนอก
ภูมิหลังเทียนพรรษาเมืองอุบล
เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งเป็นสมัยที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้หลวงต่างพระองค์ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาวในยุคนั้น ซึ่งแต่เดิมในระยะแรกของการสร้างบ้านแปงเมืองนั้น ใช้ระบบการปกครองแบบล้านช้าง คือ การกำหนดผู้ปกครองบ้านเมืองเป็นคณะอาญาสี่หรืออาชญาส่u ซึ่งมีอยู่ ๔ ตำแหน่งคือ ๑.เจ้าเมือง ๒.อุปฮาด ๓.ราชวงศ์ ๔.ราชบุตร ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นปกครองสายสกุลเจ้าเมืองเก่าในอดีตที่มีความเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น แต่จุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ ในช่วงเป่ลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบเจ้าเมืองมาเป็นการแต่งตั้งข้าหลวงใหญ่จากราชสำนักกรุงเทพฯ โดยเริ่มต้นจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร และสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้มีการปรับปรุงการปกครองให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ร.ศ. ๑๑๖ โดยการตั้งทำเนียบข้าราชการมลฑลลาวกาวใหม่ ให้เหมือนกับทำเนียบข้าราชการมลทลชั้นในอื่น ๆ กล่าวคือ ให้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร โดยให้เรียกชืื่อตำแหน่งใหม่ของเจ้าเมืองว่า “ผู้ว่าราชการเมือง” อุปฮาด เรียกใหม่ว่า “ปลัดเมือง” ราชวงศ์ เรียกว่า “ยกกระบัตรเมือง” และราชบุตร เรียกว่า “ผูช่วยราชการเมือง” ทั้งนี้ มีท้าวโพธิสาร (เสือ ณ อุบล) เป็นพระอุบลเดชประชารักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองคนแรก (อุบลราชธานี ๒๐๐ ปี ๒๕๓๕)
จุดเปลี่ยนโดยเฉพาะช่วงสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาได้มีการจัดงานบุญบั้งไฟ (อันเป็นประเพณีดั้งเดิมท้องถิ่นของผู้คนในสายวัฒนธรรมไทย-ลาว) ทุกคุ้มบ้านจะนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวงริมแม่น้ำมูล ภายในงานได้มีการดื่มสุรายาเมาและขบวนพิธีที่แสดงการละเล่นเรื่องเพศ ที่แลดูจะเป็นเรื่องบัดสีบัดเถลิง อีกทั้งรูปแบบการละเล่นที่แลดูรุนแรงสกปรกในสายตาผู้ปกครองจากราชสำนักกรุงเทพฯ ซึ่งมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พระองค์จึงสั่งห้ามมิให้จัดงานบุญบั้งไฟในเขตเมืองอุบล (เฉพาะในเขตพื้นที่อำเภอเมืองอุบล) และได้เปลี่ยนจากงานบุญบั้งไฟมาเป็นการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาแทน ซึ่งจุดนี้เองที่เป็นจุดเปลี่ยนจากประเพณีพื้นถิ่นบุญบั้งไฟที่เคารพนับถือผี (พญาแถน) ของวัฒนธรรมชาวบ้านที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อ ทั้งในเรื่องสวัสดิภาพของหมู่บ้าน และการทำมาหากินของชาวบ้าน
ภาพงานประเพณีบุญบั้งไฟอันเป็นประเพณีที่ผสมผสานระหว่างลัทธิพราหมณ์ ลัทธิิการเซ่นไหว้ถือผี และพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของผู้คนในแถบนี้ โดยเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมไท-ลาว อยู่ในฮีีตสิบสองที่เรียกว่าบุญเดือนหก โดยเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณเตือนให้พญาแถนได้รู้ว่าถึงฤดูทำนาแล้ว ให้พญาแถน บันดาลให้ฝนตก และให้มืปริมาณพอเพียงแก่การปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร
นอกกจากนี้ ประเพณีดังกล่าวคือภาพสะท้อนความเชื่อที่สัมพันธ์กับสังคมและชุมชนอย่างแนบแน่น เช่นความสนุกสนาน การร้องรำทำเพลง กินดื่ม และการละเล่นทางเพศ ดังนั้นในงานบุญบั้งไฟจึงเป็นศช่วงเวลาแห่งการปลดปล่อย ภายใต้บรรยากาศแห่งประเพณีพิธีกรรมอันเป็นการละลายพฤติกรรมที่ถอกกดดันหวงห้ามในช่วงเวลาปกติ โดยจะไม่มีการถือสาหาความ เฉกเช่นงานคาร์นิวัลของหมู่เกาะอินเดียตะวันตก ซึ่งคนต่ำต้อยจะแสดงเป็นเจ้านายในรูปแบบของการล้อเลียน ร้องเพลงเหยียดเสียดสี และการแสดงที่ไม่เหมาะสมทางเพศกับเจ้านาย หรือสา์มารถแสดงตนเป็นกษัตริย์หรือปีศาจได้หนึ่งวัน ประเพณีบุญบั้งไฟของกล่มลาวเวียงจันทร์ และกลุ่มลาวอีสานของไทย สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ที่แสดงผ่านสัญลักษณ์ทางเพศอย่างชัดเจน และหลากหลาย นอกจากการจะจำลองอวัยวะเพศชายแล้วยังมีตุ๊กตา ชายหญิงในท่าร่วมเพศ ยายแก้ว หรือรูปท้าวผาแดงนางไอ่ ตุ๊กตาสัตว์ในท่าร่วมเพศ “ลิงเด้าไม้” และการใช้สัญลักษณ์ทางวาทะ คือคำเซิ้งที่ว่าด้วยเรื่องเพศอย่างหยาบคาย เพื่อให้เทวดาโกรธจะได้ส่งฝนลงมา อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ คือกรอบประเพณีความเชื่อของท้องถิ่นที่ผู้ปกครองมองคนละด้าน โดยเอามาตรฐานจากส่วนกลางมาเป็นกรอบแนวคิด และปรับเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้กลายมาเป็นประเพณีหลวงแบบอย่างกรุงเทพฯ อันเป็นพิธีของพุทธ ซึ่งวิวัฒนาการมาสู่งานประเพณีแห่เทียนของเมืองอุบล
ขบวนแหฟ้อน เซิ้งของงานบุญบั้งไฟอีสาน บ้านแมต จังหวัดร้อยเอ็ด มีพิธีบวชควาย โดยการละเล่นทีแฝงความเชื่อท้องถิ่นเชิงสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมการทำนาะ ซึ่งในทางมานุษยวิทยาถือว่าเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับเพศชาย (Phllic Symbal) ที่มีควาึ ายเพื่อความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะวิถีแห่งชาวนาอีสาน นั่นก็คือ ข้าว เพราะบุญบั้งไฟจัดขึ้นในช่วงสำคัญของการทำนา ดังนั้น การละเล่นกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ พฤติกรรมการแสดงออกภาษาและคำพูดที่ใช้เป็น “วิธีการทางสัญญลัักษณ์” เพื่อขอให้มีน้ำฝนอย่าป็พอเพียงในการทำนาแต่ละปี ในเชิงโครงสร้างทางสังคม พญาแถน นาค ปลัดขิก บั้งไฟและน้ำฝน เป็นสัญลัักษณ์ตัวแทนของเพศชาย ส่วนผู้หญิงจะมีบทบาทในสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะบทบาทในทางเศรษฐกิจ และการจัดการในครอบครัว เฉกเช่น การสืบผ่านมรดก ที่นา ที่ไร่ วัวควาย บ้านเรือนและทรัพย์อื่น ๆ ผ่านทางฝ่ายหญิง
ระยะแรกเริ่ม จากที่นำเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายต้นกล้วย แล้วนำมาติดตั้งกับฐาน และใช้กระดาษตกแต่งเรียกว่า เทียนมัดรวมติดลาย ต่อมาพัฒนามาเป็นแบบติดพิมพ์ และแบบแกะสลัก มีการประกวดประชันฝีมือในเชิงช่าง จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ต้องการยกระดับประเพณีพื้นถิ่นสู่ความเป็นสากลจึงได้เชิญช่างต่างชาติมาร่วมแสดงงานแกะสลักโดยในปีแรกเป็นการแกะสลักน้ำแข็ง ต่อมาพัฒนามาเป็นประติมากรรมเทียน
เทียนพรรษาเมืองอุบลกับคุณค่าทางศิลปะงานช่าง
เทียนพรรษาเมืองอุบล แม้ในทางประวัติศาสตร์ศิลปะจะสะท้อนให้เห็นได้ว่า้เป็นศิลปะงา้นช่างที่ไีด้รับมาจากราชสำนักกรุงเัทพฯ ผ่านระบบปกครองในกระแสวัฒนธรนหลวง ซึ่งส่งอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปวัฒนธรรมท้องถินอีสาน ภายใต้กรอบแนวคิดนิยามความหมายของผู้ปกครอง การเปลี่ยนแปลงดังกลาว ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญทีแสดงให้เห็นถึงการครอบงำของชนชั้นปกครองที่มีต่อวัฒนธรรมพื้นถิ่น (ชาวบ้าน) แม้ใช่วงแรกจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในบทต้น ๆ จะเห็นได้ว่าประเพณีแห่เทียนนี้ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ โดยเฉพาะในเขตตัวเมือง ซึ่งเป็นที่นิยมของพ่อค้า คหบดีที่มีความใกล้ชิดกับชนชั้นปกครอง ก่อนจะ์ขยายวงกว้างออกไปสูู่สังคมภายนอก โดยการทำเทียนพรรษาเมืองอุบลมีพัฒนาการทางศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละช่วงที่นาสนใจ ดังนี้
ยุคต้น
มีลักษณะต้นเทียนแบบใช้เทียนเล่มเล็ก ๆ มามัดยึดติดกัน ด้วยรูปทรงแบบลำต้นกล้้วย และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ส่วนฐานรองรับลำต้นเทียน และตกแต่งด้วยกระดาษสี ซึ่งเทียนรูปแบบดังกล่าวนี้ คงคุณค่าเรื่องของประโยชน์ใช้สอย และเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นหลักสำคัญมากกว่าความสวยงาม ความงามและคุณค่าทางศิลปะจึงเป็นความเรียบง่ายตามพุทธปรัชญาแห่งวิถีสังคมในยุคนั้น ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น คุณค่าทางศิลปะตามนิยามความหมายของสังคมในวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะแวดวงวิชาการทางศิลปะ อาจตีค่าศิลปะในยุคนี้อยู่เพียงแค่ศิลปะในขั้นปฐม (Primitive Art) ซึ่งในทางทฤษฎีสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การเป็นศิลปะขั้นสูงต่อไปได้้ หรืออาจจะเป็นศิลปะที่เรียกว่าศิลปะพื้นบ้าน (Folk Art) ซึ่งเป็นศิลปะที่มีความเป็นธรรมชาติ แต่มีพัฒนาการเพียงช่วงระยะเวลาสัน ๆ ดังที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบเทียนประเภทมัดรวมติดลาย เป็นต้น
ดังนั้น คณค่าทางศิลปะในช่วงยุคนึ้ จึงเป็นส่วนผสมระหว่างรูปแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะแบบแผนลวดลายตกแต่งองค์ประกอบเทียน มีกลิ่นไอของรากเหง้าเดิมอยู่ค่อนข้างมาก เช่น ส่วนซุ้มต้นเทียนทรงมลฑป เครื่องยอดเเบบศิลปะอีสานมีลักษณะเดียวกันกับส่วนเครื่องยอดเมรุนกหัสดีิลิงค์ เป็นต้น
ตัวอย่างเทียนที่สืบสานพัฒนามาจากรูปแบบเทียนในยุคแรกที่พัฒนามาจากเทียนเวียนหัว โดยการนำเทียนเล่มเล็กเหล่านั้นมามัดรวมกันเป็นต้นเทียนประธาน และตกแต่งโดยเพิ่มนัยสำคัญด้วยการตกแต่งซุ้มมลฑปคลุมลำต้นเทียน เป็นรูปแบบของศิลปะพื้นบ้าน (Folk Art) และในขณะเดียวกันก็เป็นศิลปะในขั้นปฐม (primitive Art) อยู่ในตัว
ยุคกลาง - ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เป็นช่วงที่ศิิลปะการทำเทียนพรรษามีการเปลี่ยนแปลง ทั้งแนวความคิดในการออกแบบ ตลอดจนการจัดวางองค์ประกอบ ในส่วนของการประดับตกแต่ง เทคนิควิธีการทำแต่ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างชัดเจนคือ จากในยุคต้นที่ใช้คานหาม หรือล้อเลื่อนและเกวียน ได้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้รถยนต์แทน ซึ่งการประดับประดารถ และขบวนแห่ก็สามารถทำให้เกิดความหลากหลายตื่นตาตื่นใจได้มากขึ้น จุดนี้เองที่เป็นเรื่องของสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลต่องานออกแบบ โดยเฉพาะศิลปวิทยาการ ของการทำแม่พิมพ์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย ซึ่งสามารถผลิตซ้ำทำได้จำนวนมาก ๆ ซึ่งวิธีการนี้คือจุดเปลียนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ก้าวหลุดพ้นจากสกุลช่างพื้นบ้าน สู่การเป็นช่างพื้นเมือง ซึ่งหมายถึงการมีศิลปะ ที่มีรูปแบบแพร่หลายอย่างกว้าง ๆ จนเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของหลาย ๆ ท้องถิ่น
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการปรับเปลี่ยนสถานภาพ จากศิลปะพื้นบ้านมาเป็นศิลปะพื้นเมือง ต้องสอดรับกับการผลิตแบบมวล (Mass production) และจากปฐมเหตุเหล่านี้ย่อมส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบของลาย ซึ่งทำซ้ำได้จำนวนมากขึ้นสามารถที่จะขยายขนาดของเทียนพรรษาให้ใหญ่โต อีกทั้งตกแต่งองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปในอดีต ลวดลายอีสานโบราณนั้นจัดได้ว่าแปลกไปจากลายไทยในภาคกลาง และดูออกจะมีเค้าลายผักกูดของขอมอยู่บ้าง แต่แม้จะมีเค้าลายขอม ก็ยังคงมีแบบแผนเป็นของตนเอง เป็นอิสระจากอิทธิพลใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ในยุคนี้เองที่กลับกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ด้านรูปแบบทางศิลปะท้องถิ่นที่ถูกครอบงำจากปัจจัยแวดล้อม โดยมีตัวแปรสำคัญอยู่ที่การปกครอง ตลอดจนระบบการศึกษาและความเจริญทางเทดโนโลยี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนทำให้ “เทียนพรรษาเมืองอุบล” เปลี่ยนแปลงทั้งในแง่สร้างสรรค์และทำลายอยู่ในตัว
จะเห็นได้ว่า วัฒนธรรมเทียนพรรษาเมืองอบลเองก็คือ ผลิตผลหนึ่งของการเคลื่อนตัวของว้ฒนธรรมหลวง โดยได้ส่งอิทธิพลต่อรูปแบบประเพณีท้องถิ่นเมืองอุบลและถือได้้ว่าเป็นจุตเปลี่ยนที่สำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึีงการครอบงำทางการเมืองของชนชั้นปกครองที่มีต่อวัฒนธรรมพื้ันถิ่น (ชาวบ้าน) เเม้ในช่วงแรกจะเห็นได้ว่าประเพณีแห่เทียนนี้ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบๆ โดยเฉพาะในเขตตัวเมือง ซี่งเป็นที่นิยมของพ่อค้าคหบดีที่มีความใกล้ชิดกับชนชั้นปกครอง ก่อนจะขยายวงกว้างออกไปสู่สังคมภายนอกตามโครงสร้างใหม่ทางสังคมที่ัมีความซับซ้อนมากกว่าในอดีต โดยการนำเหียนพรรษาเมืองอุบลมีพัฒนาการทางศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละช่วงที่นาสนใจ
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าศิลปะงานช่างเทียนพรรษาเมืองอุบลทั้ง ๓ ประเภท ได้แก่ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก มีลักษณะร่วมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน อันมีคุณสมบัติ ดังนี้
๑ ทักษะฝีมือ และความละเอียดปราณีต เป็นคุณสมบัติที่มีความโดดเด่น โดย เฉพาะในระดับช่างพื้นถิ่นที่ไม่ใช่ช่างหลวง ช่างพื้นเมืองอุบลถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตช่างฝีมือที่มีคณภาพ โดยเฉพาช่างเทียน เฉกเช่น พระครูวิโรจน์ รัตโนบล ช่างโพธิ์ ส่งศรี ช่างคำหมา แสงงาม ช่างล้วน มุขสมบัติ ช่างสวน คูณผล ช่างประดับ ก้อนเเก้ว ฯลฯ บรมครูช่างเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแบบแผนต้นฉบับด้านฝีมือในเชิงช่างหลายแขนง ทั้งในงานสถาปัตยกรรม และงานช่างแกะสลักอื่น ๆ แม้จะเป็นกลุ่มช่างพื้นถิ่น แต่ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลทางศิลปะงานช่างในแบบฉบับช่างหลวง หรือช่างราชสำนัก ทั้งทางตรง และทางอ้้อม ซึ่งกระบวนลายแม่บทจะมีลักษณะแบบบอย่างศิลปะกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสกุลช่างสายราชสำนักที่พัฒนามาจุากศิลปะสุโขทัย อยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็ใช่ว่าช่างพื้นถิ่นอุบลจะรับเอารูปแบบกระบวนลายจากราชสำนักมาทั้งหมด บางส่วนก็เป็นส่วนผสมระหว่างวัฒนธรรมพื้นถิ่ินกับวัฒนธรรมหลวง
เฉกเช่น ตัวอย่างของ หอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรืเมือง ทั้งนี้ได้มีผู้ให้คำจำกัดความของหอไตรวัดนีว่า วิญญาณคงเป็นอีสาน แต่สังขารยังเป็นบางกอก หรืือจะเป็นงาน ฮูปแต้ม ในหอพระบาทของวัดทุ่งศรีเมืองอีกเช่นกัน ภาพเขียนเหลานั้นล้วนได้รับอิทธิพลจากช่างราชสำนักกรุงเทพฯ อย่างชัดเจน แต่ในเนื้อหาภาพได้บอกเล่าเรื่องราวแห่งวิถพื้นถิ่นอย่างมีเอกลักษณ์ ดังนั้น ในประเด็นเรื่องของทักษะฝีมือช่างพื้นเมืองของอุบล (ช่างในเขตเมือง) ได้พัฒนาตนเองจนก้าวผ่าน ความเป็นช่างพื้นบ้าน (ช่างราษฏร์) สู่ช่างพื้นเมืองที่มีทักษะฝีมือระดับสูง ช่างในกลุ่มนี้ ได้เเก พระครูวิโรจน์ รัตโนบล ,ช่างคำหมา แสงงาม ช่างโพธิ์ ส่งศรี ซึ่งเราสามารถศึกษาไดุ้จากผลงานการออกแบบก่อสร้างที่ท่านได้ฝากผลงานเอาไว้ โดยเฉพาะในส่วนของฉันทลักษณ์ไวยกรณ์ด้านลวดลาย จะพบความจริงได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นลวดลายในสายสกุลราชสำนักของกรงเทพฯ อย่างชัดเจน แต่บางส่วนได้ผสมผสานความเป็น ท้องถิ่นบ้างแล้ว แต่ในภาพรวมยังไม่สามารถแสดงเอกลักษณ์ ความเป็นอีสาน เฉกเช่นในอดีตได้
๒ ความคิดสร้างสรรค์แบบขนบนิยม เป็บคุณสมบัติที่ช่างเมืองอุบลมีความพยายามรักษาเอาไว้เป็นแบบแผน ซึ่งปรากฏอยู่ใบกติกาการประกวดเทียนในทุกประเภทโดยคำว่า ขนบนิยม ตีความได้หลายมิติ ทางมมมอง เช่น รูปแบบลวดลายแกะสลัก หรือลายพิมพ์ อันเป็นแบบฉบับของช่างราชสำนัก ประกอบด้วยประเภทลายช่อ ประเภทดอกลาย ลักษณะลวยบัว ประเภทลายหน้์กระดาน ลายรักร้อย ลายก้านต่อดอก ลายกระจัง ลายกาบ ลายเครือเถา ลายก้านขด ลายเฟืองอุบะ ลายกรวยเชิง แม่บทลวดลายเหล่านี้แม้จะถูกคลี่คลายมาเป็นลวดลายในแบบฉบับพื้นเมืองแล้ว แต่ยังคงเค้าโครงคุณลักษณะที่บ่งบอกถึงรากเหง้าต้นแบบในสกุลช่างสายอยุธยา รัตนโกสินทร์มากกว่าจะเป็นแบบแผนลวดลายในแบบฉบับล้านช้าง ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นศิลปะลาวได้เข้ามามีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะอีสานโดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และเริ่มถึีงจุดเปลี่ยนเมื่ออีสานอยู่ภายใต้ระบบการปกครองของราชสำนักกรุงเทพฯ ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมาและปัจจุบันศิลปะอีสานได้ถูกครอบงำโดยศิลปะจากกรุงเทพฯ อีกทั้งยังแพร่หลายเข้าไปยังฝังลาวอีกด้วย
อนึ่ง หลักการของความคิดสร้างสรรค์แบบขนบนิยม เป็นแนวความคิดที่ต่างกับปรัชญาแนวทางการสร้างสรรค์ของช่างพื้นถิ่ินอีสาน ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างสรรค์ผลงานด้วยความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นอิสระ โดยเฉพาะสกุลช่างพื้นบ้านบริสุทธิ์ ดังเช่นการแกะสลักจะมีการเปลี่ยนแปลงภาพให้ความอ่อนไหวไม่เหมือนกัน อันเนื่องมาจากความเป็นอิสรเสรีขอ’8นอีสานที่มีมาแต่ในโบราณ ฉะนั้น การสร้างกรอบและกฏเกณฑ์ให้ึคนอีสานจึงเป็นไปได้ยาก ตรงกันข้ามกับแนวคิดสร้างสรรค์แบบขนบนิยม (แบบช่างหลวงราชสำนัก) ที่ยึดถือ “คตินิยมแบบแผน” กลุ่มนี้จะมีแนวความคิดหล้กในเรื่องความสมเหตุสมผล (rationality) และความพอดี (moderation) ดังนั้นผลงานการสร้างสรรค์ของเทียนเมืองอุบล จึงจัดอยู่ในกลุ่มนื้ ด้วยปรัชญาแนวทางการสร้างสรรค์ที่ปรากฏอยู่ เป็นรูปธรรมตามกรอบแนวคิดทฤษฏีที่อธิบายความไว้ในเบื้องต้นนี้ แม้จะได้มการผสมผสานกับบริบทของท้องถิ่นแล้วก็ตาม
๓ ความชำนาญด้านเทคนิค เอกลักษณ์รูปแบบเทียนพรรษาของเมืองอุบลหากไม่นำมารวมกับฝีมือในเรื่องของความละเอียดอ่อนปราณีตแล้ว เรื่องของความชำนาญในด้านเทคนิควิธีการถือเป็นจุดเด่น อีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของช่างพื้นเมือง ซึ่งคิดค้นเทคนิคการทำจากข้อมูลในบทต้้นๆจะเห็นได้ว่า ช่างพื้นเมืองต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่คิดค้นเทคนิควิธีการอยู่ตลอดเวลา ทั้งในส่วนที่เป็นการคิดประดิษฐ์ต่อยอดจากภูมิปัญญาเดิม หรือค้นพบใหม่ดังตัวอย่างช่างในยุคที่ ๓ (พ ศ ๒๔๘๐ ๒๕๐๑) ได้คิดค้นลวดลายที่มีความซับซ้อน โดยพิมพ์ลายดอกผึ้งบนแบบพิมพ์ที่แกะสลักจากต้นกล้วยหรือผลไม้เนื้อแน่น เช่น ฟักทอง เผือก มะละกอ ให้เป็นลวดลายที่ต้องการและใช้ไม้เสียบ เพื่อเอาไวุ้จับนำไปจุ่มลงในขี่ผึ้งที่ต้มจนหลอมละลาย และขี้ผึ้งนั้นก็จะติดอยู่ที่แบบพิมพ์ แล้วนำแบบพิมพ์นั้นไปจุ่มลงในน้ำเย็น เพื่อให้ขี้ผึ้งที่ติดพิมพ์หลุดออกเป็นนบบพิมพ์ที่ต้องการ จากนั้นนำไปติดประดับกับต้นเทียนในส่วนต่าง ๆ ทั้งนี้ต้องมีการตรีงด้วยไม้กลัดเพื่อไม่ให้ดอกผึ้งหลุด
ซึ่งวิธีการนี้เป็นภูมิปัญญาสร้างสรรค์ที่เป็นต้นแบบของเทียนประเภทติดพิมพ และจากเทคนิควิธีการนี้ได้พัฒนามาเป็นการแกะสลักลายแบบพิมพ์จากต้นฝรั่งโดยช่างผู้ที่มีชื่อเสียงจากเทคนิคนี้คือ ช่างโพธิ์ ส่งศรี และมีการพัฒนาวัสดุเเม่พิมพ์เป็็นหินสบู่ หรือหินลับมีด โดยใช้ขี้ผึ้งที่ตากแดดจนมีความนุ่มอ่อนแล้วจึงนามากดลงบนแม่พิมพ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นอีกเทคนิควิธีการหนึ่งของเทียนประเภทติดพิมพ์ และอีกเทคนิคหนึ่งอััน เป็นพัฒนาการในเวลาต่อมาคือการนำสีต้มผสมกับขี้ผึ้ง เพื่อให้สีของขี้ผึ้งที่นำมาทำดอกผึ้งมีสีสม่ำเสมอกัน โดยช่างที่เป็นผู้ริเริ่ม คือ นายสวน คูณผล ต่อมามีการพัฒนาใช้เทิคนิค โดยนำวััสดุปูนปลาสเตอร์แกะ พิมพ์เป็นลวดลายต่าง ๆ ซึ่งได้้ความหลากหลาย ช่างผู้ริเริ่มเทคนิควิธีการนี้ประกอบด้วย พระมหาบุญจันทร์ กิตติโสต วัดแจ้ง และนายอารี สินสวัสดิ์ โดยมีสานุศิษย์ที่สำคัญท่านต่อมา คือนายประดับ ก้อนแก้ว (นายช่างที่รวบรวมเรียบเรียงกรรมวิธีีการทำเทียนในเชิงวิชาการคนแรกที่นักวิชาการรุ่นต่อมาใช้เป็บหลักฐานข้อมูลอ้างอิงมากที่สุด)
พัฒนาการด้านเทคนิควิธีการทำในยุคที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งคือ ช่วง พ ศ ๒๕๐๒ - ๒๕๑๙ ได้มีเทคนิคใหม่ โดยการสลักเทียน สลักลาย ซึ่งเป็นเทคนิควิธีการใหม่ โดยมีนายคำหมา แสงงาม เป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญ ทั้งนี้หากสืบดูประวัติช่างบุกเบิกเหล่านั้นจะได้พบว่าส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นช่างผู้ออกแบบก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมประเภทศาสนาคาร ซึ่งได้้ปรับเปลี่ยน วัสดุเทคนิคให้มีความสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการด้านเทคโนโลยีภายใต้กรอบ แห่งบริบททางสังคม วัฒนธรรมนั้น ๆ เป็นสำคัญมิได้นิ่ง เฉยกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ปัจจุบันช่างุ่รนกลางถึงรุ่นใหม่ก็ยังคงพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านเทคนิคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นภูมิธรรมความรู้ของช่างเทียนเมืองอุบลอย่างแท้จริง