รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

งานประเพณีมหาสงกรานต์แก่งสะพือ อุบลราชธานี

งานประเพณีมหาสงกรานต์แก่งสะพือ

ในเดือนเมษายนของทุกปี ทางเทศบาลพิบูลมังสาหาร ก็ได้กำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์ แก่งสะพือขึ้นเป็นประจำ ซึ่งในงานนอกจากจะมีการประกวดธิดา สงกรานต์แล้ว ยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าของภาคเอกชน มีการละเล่นกีฬาพื้นเมือง และการประกวด การเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสานอีกด้วย

งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีทางพุทธศาสนา ของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา จัดให้มีขึ้นทุกปี

จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ความว่าชาวอุบลราชธานี ได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่ พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือ บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจัตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจาก หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน

กำหนดการจัดงาน
จัดขึ้นในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประมาณกลางเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

สถานที่จัดงาน
กิจกรรมหลักๆ จะจัดขึ้นบริเวณทุ่งศรีเมือง ส่วนกิจกรรมพิเศษอื่นๆ จะจัดขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ภายในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี

ข้อแนะนำในการท่องเที่ยว
งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี นอกจากจะเป็นงานที่แสดงออกถึง การยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดของชาวเมืองอุบลฯ แล้ว ยังเป็นงานที่แสดงออกถึงวิวัฒนาการด้านศิลปะของสกุลช่างเมืองอุบลฯ อีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบรรดาช่างศิลป์เมืองอุบลฯ ที่มีอยู่มากมายหลากหลายแขนง และผลิตงานด้านศิลปอย่างต่อเนื่องตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปร่วมสมัย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน และงานก่อสร้างตกแต่งโบสถ์วิหารต่างๆ จะใช้โอกาสในช่วงเทศกาลนี้กลับมาทดสอบ ทดลองและประลองฝีมีเชิงช่างโดยผ่านต้นเทียนพรรษา ดังนั้น ผู้ที่มาร่วมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี จึงสามารถชื่นชมและศึกษากิจกรรมของงาน ทั้งในด้านการสืบสานจารีตประเพณีพื้นเมือง และในด้านศิลปการตกแต่งต้นเทียนกิจกรรมภายในงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่

1. เยือนชุมชน ชมวิถีวัฒนธรรมการตกแต่งต้นเทียน
การไปเยือนชุมชน หรือ คุ้มวัดต่าง ๆ ในช่วงที่กำลังเตรียมการตกแต่งต้นเทียน คือในช่วงประมาณ 2-3 วัน ก่อนวันแห่นั้น นอกจากผู้มาเยือนจะได้ศึกษากรรมวิธีและขั้นตอน การตกแต่งเทียนอันเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นแล้ว ยังจะได้สัมผัสบรรยากาศการร่วมแรงร่วมใจ ของชุมชนในการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สำคัญของชาวอุบลฯ สำหรับคุ้มวัดที่น่าสนใจ เช่น วัดบูรพา วัดหนองบัว วัดสว่างอารมณ์ วัดศรีประดู่ทรงธรรม วัดสุทัศวนาราม วัดทุ่งศรีเมือง และวัดผาสุการาม เป็นต้น

2. การเวียนเทียนวันอาสาฬหบูชาที่วัดงามในเมืองอุบลฯ
การเวียนเทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาจัดขึ้นในช่วงค่ำของ ตามวัดต่างๆ โดยทั่วไปกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังเป็นโอกาสอันดีของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะได้ชื่นชมเอกลักษณ์ ทางสถาปัตยกรรมพื้นเมือง อันงดงามตามวัดต่างๆ ในอีกมิติหนึ่ง

3. การตั้งแสดงต้นเทียนรอบทุ่งศรีเมือง
การแสดงงานศิลปะตกแต่งเทียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ในช่วงค่ำของวันอาสาฬหบูชา จะเป็นเวลาที่ต้นเทียน พรรษาจากคุ้มวัดต่างๆ กว่า 30 ต้น จะถูกเคลื่อนย้ายมาตั้งไว้ ณ บริเวณถนนรอบๆ ทุ่งศรีเมือง เพื่อเตรียมการเข้าร่วมขบวนแห่ในเช้าวันรุ่งขึ้น ในช่วงนี้ต้นเทียนจะได้รับการตกแต่งอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับสถานที่ตั้งจะได้รับการจัดเตรียมไว้อย่างดี เช่น การเตรียมแสงไฟไว้สาดส่องต้นเทียนการประดับประดาบริเวณงาน อย่างเป็นระเบียบ ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็น ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการชื่นชมศิลปการตกแต่งเทียนอย่างละเอียดลออ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงศิลปะตกแต่งเทียนที่งดงาม และสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย

4. กิจกรรมขบวนแห่เทียนพรรษา
จะจัดขึ้นในวันรุ่งขึ้น คือวันเข้าพรรษา ตั้งแต่เวลา ประมาณ 08.00 น. เป็นต้นไป โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามถนนอุปราช ผ่านหน้าศาลากลาง ไปถนนชยางกูร เป็นระยะทางประมาณ 2-3 กม. จึงสลายขบวน รูปแบบของการจัดขบวนประกอบด้วย ขบวนเทียนหลวงพระราชทาน ขบวนต้นเทียนของคุ้มวัดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละขบวนจะประกอบด้วยการแสดง การละเล่น การฟ้อนรำ การบรรเลงดนตรีในรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง การเข้าชมขบวนแห่ ่คณะกรรมการจัดงานจะจัดเตรียมอัฒจันทร์นั่งชมไว้บริการ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด อัตราค่าบริการประมาณท่านละ200 บาท ส่วนการเข้าชมขบวนตามจุดอื่นๆ นั้นสามารถชมได้ตามอัธยาศัยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ขบวนดังกล่าวปกติจะเสร็จสิ้นในช่วงบ่าย

5. กิจกรรมทำบุญถวายเทียนพรรษา
เป็นกิจกรรมที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจของประเพณีบุญเข้าพรรษา โดยพุทธศาสนิกชนจะนำเทียนพรรษาผ้าอาบน้ำฝน และเครื่องใช้ที่จำเป็นอื่น ๆ ไปถวายพระสงฆ์ตามวัดใกล้บ้านเพื่อสืบสานงานบุญและเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง กิจกรรมนี้ผู้มาเยือนสามารถศึกษาชื่นชมและร่วมกิจกรรมได้ตามวัดทั่ว ๆ ไป

6. กิจกรรมอื่นๆ
นอกจากกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นแล้ว คณะกรรมการจัดงานยังได้จัดกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง การจัดงานพาแลง และการประกวดธิดาเทียนพรรษา ณ ลานเทียนเฉลิมพระเกียรติ ทุ่งศรีเมือง

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 969 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์