รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ดอนคอน ลาว

tour-don-khon-laos tour-don-khon-laos

ดอนคอน (Don Khon)
ที่ตั้ง อยู่ถัดจากดอนโขงลงมาตามลำน้ำระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร

การเดินทาง จากเมืองปากเซมาตามทางหลวงหมายเลข 13 ใต้ ระยะทางประมาณ 144 กิโลเมตร หรือจากท่าแพบ้านหาดลงมาทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร จากนั้นสามารถมาลงที่ท่าเรือนากะสงหรือท่าเรือบ้านม่วงที่อยู่ไม่ไกลกันได้ตามสะดวก เพื่อนั่งเรือล่องลำน้ำโขงมายังดอนคอนใช้เวลาประมาณ 30 นาที

tour-don-khon-laos tour-don-khon-laos

ดอนคอน เป็นดอนขนาดรองลงมา มีความกว้าง 4.5 กิโลเมตร ความยาว 5 กิโลเมตร เป็นดอนที่ทอดตัวตามยาวไปตามลำน้ำโขง ประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน มีที่พักทั้งวิลล่าเก่าสมัยอาณานิคม เรือนฝาไม้ไผ่ขัดแตะ หลังคามุงหญ้าฟางแบบหลังเดี่ยว และเรือนแถว ในสมัยฝรั่งเศสยึดครองอินโดจีนได้ก่อสร้างท่าเรือและทางรถไฟขึ้นที่ดอนคอน เพื่อขนถ่ายสินค้า จากเรือมาถึงรถไฟที่มีเส้นทางตัดจากหัวดอนไปท้ายดอน แล้วตัดข้ามแม่น้ำโขง จากดอนคอนไปอีกดอนหนึ่งชื่อ ดอนเด็ด ที่เป็นท่าเรือแล้วก็ส่งสินค้าลงเรือใหม่ เป็นการเอาชนะธรรมชาติและแก้ปัญหาเกาะแก่งต่างๆ ที่ขวางอยู่ในแม่น้ำโขง

tour-don-khon-laos tour-don-khon-laos

หลังจากขึ้นฝั่งที่ดอนคอนแล้ว คุณควรเลือกใช้บริการรถสองแถว หรือมอเตอร์ไซด์รับจ้างเพื่อเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ เริ่มตั้งแต่สะพานทางรถไฟของฝรั่งเศสที่สร้างขึ้นในสมัยยุคล่าอาณานิคม และหัวรถจักรไอน้ำเก่าของขบวนรถไฟที่เคยใช้วิ่งในอดีต จากนั้นมุ่งหน้าต่อมาอีก 1.5 กิโลเมตร จะถึงทางเข้าน้ำตกหลี่ผี

tour-don-khon-laos tour-don-khon-laos

แขวงบ่อแก้ว ลาว

tour-boo-keaw-laos

แขวงบ่อแก้ว
สถานที่ตั้ง
เป็นแขวงที่มีขนาดเล็กที่สุด อยู่ติดกับ อ.เชียงของ จ.เชียงราย
ประชากร : น้อยแต่มากเผ่าเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองลงมาจากแขวงเซกองและหลวงนํ้าทา

เมืองหลวง เมืองห้วยทราย
เดิมบริเวณนี้เรียกกันว่า หัวโขง ต่อมาเปลี่ยนเป็นบ่อแก้วเพราะบ่อพลอยแซฟไฟร์หรือไพลินที่ห้วยซาย แขวงบ่อแก้วมีพรมแดนติดกับไทยและพม่า ห่างจากชายแดนจีนเพียง 100 กิโลเมตร อยู่ในเขตสี่เหลี่ยมเศรฐกิจ ซึ่งรัฐบาลไทยและจีนกำลังผลักดันให้เป็นแหล่งการค้าและการท่องเที่ยวระหว่าง 4 ชาติ ได้แก่ ลาว ไทย พม่า และจีน

tour-boo-keaw-laos tour-boo-keaw-laos

ในขณะที่นครเวียงจันทน์เป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย เพราะจากจังหวัดหนองคายสามารถข้ามสะพานมิตรภาพไปยังฝั่งลาวได้สะดวก ทำให้หนองคายกลายเป็นจังหวัดท่องเที่ยวริมชายแดนของภาคอีสานที่ได้รับความนิยม เช่นเดียวกับทางภาคเหนือที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สามารถข้ามแม่น้ำโขงไปยังแขวงบ่อแก้วของประเทศลาวได้อีกด้วย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมไปเที่ยวที่บ่อแก้วแบบไปเช้า เย็นกลับ แต่ถ้านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มต้นโปรแกรมเที่ยวจากหลวงพระบาง ด้วยการล่องเรือตามแม่น้ำโขงจากท่าเรือห้วยทรายแขวงบ่อแก้ว ใช้เวลาเดินทาง 2 วัน 1 คืน โดยจะแวะพักที่ปากแบงก่อน 1 คืน

แขวงจำปาสัก ลาว

tour-champasak-laos

แขวงจำปาสัก (Champasak)
สถานที่ตั้ง : อยู่ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี

เมืองหลวง : เมืองปากเซ
ในบรรดาแขวงต่างๆ ของลาวตอนใต้ต้องยกให้แขวงจำปาสัก เป็นแขวงที่รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะภูมิศาสตร์ของแขวงนี้มีสภาพที่หลากหลาย ทั้งป่าใหญ่บนที่สูง และที่ราบลุ่มริมน้ำโขง เป็นแขวงที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางแขวง อยู่ติดกับพรมแดนไทยที่ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี สามารถนำรถเข้าไปเที่ยวได้สะดวกหรือจะใช้บริการแพ็กเก็จทัวร์ก็ได้ เมืองของแขวงจำปาสักคือ “ปากเซ” อยู่ห่างจากช่องเม็กเพียง 42 กิโลเมตร

แขวงจำปาสัก มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับชายแดนประเทศไทยทางด่านช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ทิศใต้ติดต่อกับเขตจังหวัดกัมปงทมของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 15,415 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ เมืองปากเซ ชนะสมบูรณ์ ปากช่อง ประทุมพร สุขุมา จำปาสัก โพนทอง เมืองโขง มุลละปาโมก ในอดีตแขวงจำปาสักมีชื่อเรียกว่า เขตแคว้นของนครกาละจำบากนาคะบูริสี เป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจของประเทศลาวตอนใต้ แต่ภายหลังที่ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมตั้งเมืองปากเซขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2448 เมืองจำปาสักซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของแขวงจำปาสักจึงถูกลดระดับความสำคัญลงไป

แขวงจำปาสัก ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สะมะพูปุระ เมื่ออาณาจักรฟูนันเสื่มอำนาจ คนลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนกลายเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานะคะบุลีสีหรือจำปานคร ถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทรงรวบรวมเมืองต่างๆของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่าล้านช้าง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน มีเมืองหลวงอยู่ที่หลวงพระบาง แต่เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและการก่อกบฏต่างๆนานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ และได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง มาอยู่ที่เวียงจันทน์เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม อาณาจักรล้านช้างเจริญมาได้ 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจำปาสัก ซึ่งตรงกับสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระแวงว่าลาวจะร่วมมือกับพม่ายกทัพมาตีไทย จึงโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักร ตกเป็นของไทยนาน 114 ปีจนถึงปี พ.ศ. 2436 ไทยต้องยกลาวให้กับฝรั่งเศส แต่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเริ่มอ่อนแอ ญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองแทน แต่ภายหลังสิ้นสงครามโลกญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสได้กลับมาปกครองลาวอีกครั้งหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามโลกที่เดียนเบียนฟู ลาวได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ แต่กลับถูกสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางการเมืองและการทหาร กลุ่มลาวรักชาติจึงได้ร่วมกันต่อสู้จนสหรัฐอเมริกาล่าถอย ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ยกเลิกสถาบันเจ้าชีวิตหรือสถาบันกษัตริย์ โดยเจ้าชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาสักคือเจ้าบุญอุ้ม

tour-champasak-laos tour-champasak-laos

เมืองจำปาสัก : อยู่ถัดจากเมืองปากเซลงมาทางใต้ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 13 ระยะทางประมาณ 30 กิโลเป็นศูนย์กลางการปกครองของแขวงเป็นที่ประทับของพระราชวงศ์ในสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันเหลือเพียงพระตำหนัก 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมือง คือ วังของเจ้าราชดนัย (บิดาของเจ้าบุญอุ้ม) เป็นตึกเก่าแก่สมัยอาณานิคมอยู่ตรงข้ามกับเรือนพักสุจิตรา ส่วนวังเจ้าบุญอ้อม (น้องชายของเจ้าบุญอุ้ม) เป็นตึกสีขาว 2 ชั้น แต่เมืองฝรั่งเศสตั้งเมืองหลวงใหญ่อยู่ที่ปากเซ จำปาสักจึงกลายเป็นเมืองริมน้ำโขงที่เงียบสงบ มีที่ทำการฯ เป็นศูนย์กลางตั้งอยู่บนถนนลาดยางสายเดียวในเมือง ส่วนถนนสายอื่นๆโดยมาเป็นทางลูกรัง สองข้างทางของถนนร่มรื่นไปด้วยทิวไม้น้อยใหญ่

อดีตคือศูนย์กลางการปกครองของแขวงและเป็นที่ประทับของราชวงศ์สายจำปาสัก เมื่อฝรั่งเศสตั้งปากเซเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ จำปาสักกลายเป็นเมืองเล็กที่เงียบสงบ ถนนหนทางในเมืองส่วนใหญ่เป็นลูกรัง ร่มรื่นด้วยทิวไม้ใหญ่สถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองมีเพียงวัดทอง ซึ่งเป็นวัดประจำราชวงศ์และเป็นที่ตั้งเจดีย์บรรจุพระอัฐิของพระเจ้ายุทธิธรรม เจ้าราชดนัย เจ้าบุญอุ้ม และเจ้าชายเจ้าหญิงสายราชวงศ์จำปาสักอีกหลายพระองค์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร มีวัดตั้งอยู่ริมแม่นํ้าโขงชื่อวัดพุทธวนาราม หรือวัดเมืองกาง เป็นวัดที่มีศิลปกรรมลาวไทย พม่า และฝรั่งเศสที่ผสมกันอย่างกลมกลืน

ในเมืองจำปาสักมีวัดสำคัญประจำเมือง คือ วัดทุ่ง เป็นวัดประจำราชวงศ์และใช้เป็นที่ฝังศพของเจ้านายหลายพระองค์ มีเกสต์เฮาส์ที่ดัดแปลงจากบ้านเรือนและร้านอาหารริมน้ำโขงบรรยากาศดีเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

การเดินทาง
ถ้าต้องการเดินทางไปยังเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ต้องเริ่มต้นที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 90 กิโลเมตร ซึ่งเป็นประตูสู่เมืองปากเซแขวงจำปาสัก จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 10 เป็นถนนลาดยาง ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร จะถึงสะพานมิตรภาพลาว-ญี่ปุ่น ข้ามแม่น้ำโขงมาเมืองปากเซ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง สำหรับการเดินทางจากพรมแดนช่องเม็กเข้าไปเมืองปากเซ สามารถใช้บริการของสถานีขนส่งลาว ที่อยู่ห่างจากด่านตรวจคนเข้าเมืองลาวระยะทาง 300 เมตร มีทั้งรถโดยสารประจำทาง รถสองแถว วันละหลายเที่ยว แต่ถ้ามีประมาณ 3-4 คน แนะนำให้ใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จะสะดวกและเร็วกว่า

จากชายแดนช่องเม็กในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านด่านวังเต่า ชายแดนลางที่ชาวบ้านจะนำสินค้ามาวางขาย นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมแวะซื้อได้ตามสะดวก จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 10 ซึ่งเป็นถนนลาดยางอย่างดี ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร ก็จะถึงสะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น มีความยาว 1,380 เมตร ข้ามแม่น้ำโขงมาถึงเมืองปากเซ เมืองหลวงของแขวงจำปาสักซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของลาว สมัยนั้นฝรั่งเศสตั้งเมืองจำปาสักขึ้นมาเพื่อคานอำนาจเมืองจำปาสัก (บ้านวัดทุ่ง) ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนไปถึงยุคก่อนเข้ามาตั้งรกรากของขอมโบราณ

เมืองปากเซไม่มีอารยธรรมเก่าแก่เหมือนกับเมืองจำปาสัก แต่กลับมีความหลากหลายของเชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม มีจำนวนประชากรประมาณ 70,000 คน นอกจากชาวลาวแล้วยังมีชาวจีนและเวียดนามเข้ามาตั้งรกรากเป็นจำนวนมาก บรรยากาศทั่วไปเมืองปากเซเงียบสงบเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตเรียบง่าย

tour-champasak-laos tour-champasak-laos

นครหลวงเวียงจันทน์ ลาว

tour-vientiane-laos
นครเวียงจันทน์
เวียงจันทน์ (Vientiane)
สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางสู่ สปป.ลาวทางจังหวัดหนองคาย ซึ่งมีด่านตรวจคนเข้าเมืองอยู่ที่สะพานมิตรภาพ แขวงเวียงจันทน์จะเป็นประตูด่านแรกที่ต้องผ่าน ซึ่งหากมีเวลาก็อาจแวะเที่ยวเวียงจันทน์ได้สักวัน หรือนักเดินทางที่ไม่ทันรถโดยสาร จำเป็นต้องพักที่เวียงจันทน์เพื่อรอเดินทางต่อขึ้นไปยังหลวงพระบางในวันรุ่งขึ้น ก็สามารถใช้เวลาครึ่งวันเที่ยวชมสถานที่สำคัญๆ ในเวียงจันทน์ได้เพียงพอ

เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงในปัจจุบันของ สปป.ลาว ตั้งอยู่ิริมน้ำโขง ตรงข้ามกับอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย บริเวณที่ตั้งเมืองเวียงจันทน์เคยเป็นเมืองเก่าแก่มาแต่สมัยกรุงสุโขทัย เดิมเรียกว่าเมืองเวียงจันเวียงคำ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๑๐๓ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างทรงย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาสร้างเมืองหลวงใหม่ที่เวียงจันทน์ เวียงจันทน์จงึกลายเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างมานับแต่บัดนั้น

tour-vientiane-laos-2

เป็นเมืองที่มีมาเก่าแก่ ตามตำนานการสร้างเมืองบางสำนวนกล่าวว่า มีฤๅษีสามพี่น้องมาปักหลักไม้จันทน์หมายเป็นเขตสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณนี้จึงได้ชื่อว่าเวียงจันทน์ พ.ศ 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง แทนเมืองเซียงดง - เซียงทอง(หลวงพระบาง) มีกษัตริย์ปกครองต่อเรื่อยมา จนกระทั่งลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นคอมมิวนิสต์นครเวียงจันทน์จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเมืองหลวงของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ 2518 นครเวียงจันทน์ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าโขง ตรงข้ามอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายเป็นเมืองที่ยังคงร่องรอยสมัยอาณานิคมอยู่มาก มีถนนล้านช้างเป็นถนนสายสำคัญที่สุดสองฟากถนนเรียงรายไปด้วยสถานที่ทำการของรัฐบาล ธนาคาร บริษัทท่องเที่ยว ฯลฯ โดยอาคารบางส่วนเป็นตึกแบบยุโรปจากสมัยที่ลาวเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

ปัจจุบันเวียงจันทน์เป็นเมืองใหญ่และเจริญที่สุดใน สปป.ลาว เป็นศูนย์กลางความเจริญทั้งหมดของประเทศ ในเวียงจันทน์มีสาขาธนาคารจากประเทศไทยถึงเจ็ดธนาคาร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บนถนนล้านช้าง ไม่ไกลจากย่านตลาดเช้ามากนัก

ในสายตานักท่องเที่ยวทั่วไปมักมองเวียงจันทน์เป็นเมืองผ่านสำหรับการเดินทางต่อไปยังวังเวียงหรือหลวงพระบาง แต่เวียงจันทน์ก็มีสถานที่น่าสนใจหลายแห่ง แม้โบราณสถานจำนวนมากจะถูกทำลายลงหลายครั้ง ทั้งโดยกองทัพไทยในสมัยรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ รวมทั้งจากกองทัพฮ่อที่เข้าปล้นเมืองเวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่โบราณสถานเหล่านั้นได้รับการบูรณะจนมีสภาพสมบูรณ์และสวยงาม

ในยุคที่ฝรั่งเศสปกครองลาวยาวนานกว่า ๑๐๐ ปี เวียงจันทน์ในฐานะเมืองหลวงของประเทศได้เจริญขึ้นมากจนกล่าวได้ว่าเป็นเมืองซึ่งสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียในยุคนั้น ปัจจุบันยังสามารถเห็นอาคารซึ่งมีสถาปัตยกรรมแบบยุโรปได้ทั่วไป แต่จะมากเป็นพิเศษแถวถนนเลียบแม่น้ำโขง ซึ่งหลายแห่งยังเป็นอาคารร้าง ผู้ที่สนใจเรื่องสถาปัตยกรรมจะสามารถเดินเที่ยวชมย่านนี้ได้อย่างเพลิดเพลิน

สำหรับแหล่งซื้อของฝากและของที่ระลึกในเวียงจันทน์นั้น แหล่งใหญ่อยู่ที่ตลาดเช้าใกล้กับประตูชัยซึ่งอยู่ด้านหน้าสถานีรถโดยสารที่จะไปภาคใต้ ตลาดนี้แม้จะชื่อตลาดเช้าแต่เปิดขายตลอดทั้งวัน มีสินค้าจิปาถะให้เลือกตั้งแต่ผ้าพื้นเมือง เครื่องเงิน เครื่องไม้ ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกจากประเทศจีน ส่วนอีกแหล่งเป็นร้านค้าของที่ระลึกในย่านถนนสามแสนไท ซึ่งเป็นย่านหรูหราทำนองเดียวกับย่านราชดำริของกรุงเทพฯ สินค้าที่น่าดูชมของย่านนี้เป็นพวกของเก่า ผ้าทอ และเครื่องเงิน แต่ราคาค่อนข้างสูง ร้านค้าส่วนใหญ่ตั้งราคาสินค้าไว้เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ

tour-vientiane-laos-3

ถนนคนเดิน หลวงพระบาง ลาว

tour-walking-street-luang-prabang-laos tour-walking-street-luang-prabang-laos-2

ถนนคนเดินหลวงพระบาง
ตั้งอยู่ที่ถนนสีสว่างวง ในเมืองหลวงพระบาง เป็นสถานที่จำหน่ายอยู่บนท้องถนนกลางเมืองหลวงพระบาง มีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร สินค้าที่นำมาจำหน่ายก็มีมากมาย อาทิ เสื้อผ้า ของที่ระลึก อาหาร ฯ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เป็นชาวต่างชาติ เดินจับจ่ายใช้สอยตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 17.00 น. ถึง เวลา 23.00 น. การเดินทางมาก็แสนสะดวก เพราะมีบริการรถรับจ้างบริการตลอดช่วงที่มีนักท่องเที่ยวเดินพุกพ่าน

tour-walking-street-luang-prabang-laos-3 tour-walking-street-luang-prabang-laos-4

tour-walking-street-luang-prabang-laos-5

พระธาตุจอมพูสี ลาว

tour-phra-thart-chom-poo-see-laos

tour-phra-thart-chom-poo-see-laos-2 tour-phra-thart-chom-poo-see-laos-3

พระธาตุจอมพูสี
เป็นภูเขากลางเมืองสูงประมาณ 150 เมตร บนยอดเขามีพระธาตุพูสีที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอนุรุท ประมาณพุทธศักราช 2337 โด่ดเด่นอยู่บนยอดเขากลางในเมืองหลวงพระบาง ในสมัยโบราณคือศูนย์กลางวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและเป็นมิ่งขวัญของชาวหลวงพระบาง ซึ่งคนส่วนมากที่ไปเที่ยวหลวงพระบางแล้ว แต่อยากไปเห็นพระธาตุจอมพูสีจนมีคำพูดติดปากกันว่า "ไปเที่ยวหลวงพระบางถ้าไม่ได้ขึ้นพระธาตุจอมพูสีก็เท่ากับว่าไปไม่ถึงหลวงพระบาง

พระธาตุจอมพูสีหรืธาตุพูสี เปรียบเสมือนหลักเมืองของหลวงพระบาง มีตำนานกล่าวว่า ฤๅษีสองพี่น้องคืออามะลาฤๅษีและโยทิกะฤๅษี ได้เดินทางเสาะหาสถานที่สำหรับตั้งบ้านเมือง เมื่อมาเห็นชัยภูมิที่นี่ดี เป็นที่ราบกว้างและมีเนินเขาอยู่กลาง จึงเลือกเนินเขานี้เป็น “ใจเมือง” กำหนดขอบเขตเมืองคือ “...ทิดเหนือเอากกทอง – สบคานเป็นเขด ทิดตาเว็นออกเอาพูช้างพูซวงเป็นเขด ทิดใต้เอาน้ำดงเป็นเขด และทิดตาเว็นตกเอาพูท้าวพูนางเป็นเขด...”

บนยอดพูสีเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุจอมพูสี ซึ่งเป็นองค์พระธาตุที่สำคัญที่สุดของเมืองหลวงพระบาง ตั้งแต่ยอดปลีขึ้นไปทาสีทองสุกปลั่ง ใครที่มาถึงหลวงพระบางจะได้เห็นพระธาตุพูสีนี้ตั้งแต่ไกล ถือเป็นมิ่งขวัญของชาวหลวงพระบางคนส่วนมากที่ไปเที่ยวหลวงพระบางก็มักอยากไปไหว้พระธาตุจอมพูสี จนมีคำพูดติดปากของชาวหลวงพระบางว่า “ไปหลวงพระบาง ถ้าบ่ได้ขึ้นพูสี ก็เท่ากับบ่ได้ไปหลวงพระบาง”

ประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับพูสี คือ การย่ำกลองบอกโมงยาม สมัยก่อนจะมีการตีกลองจากหอกลองบนยอดพูสีเพื่อบอกเวลากับชาวเมืองหลวงพระบาง โดยจะตีทุก ๑ ชั่วยาม (เท่ากับ ๓ ชั่วโมง) หรือหากมีเหตุการณ์ร้ายแรงฉุกเฉินเกิดขึ้นในเมือง เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือมีข้าศึกศัตรูบุกรุก ก็จะมีการตีกลองบนยอดพูสีเพื่อเตือนประชาชนด้วย ทว่าปัจจุบันประเพณีย่ำกลองพูสีได้เลิกนานแล้ว ที่ยังเหลืออยู่และเกี่ยวข้องกับพูสีคือประเพณี “ตักบาตรพูสี” ในช่วงบุญปีใหม่

พูสีมีความสูงราว ๑๐๐ เมตร สมัยก่อนสามารถขึ้นได้หลายด้าน แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงสองทาง เส้นทางที่นิยมใช้กันเป็นประจำคือ ทางทิศตะวันตก ตรงข้ามกับหอพิพิธภัณฑ์ โดยสร้างบันไดซึ่งไม่ลาดชันนักไว้ให้นักท่องเที่ยวและชาวลาวที่มาแสวงบุญเดินขึ้น มีทั้งสิ้น ๓๒๘ ขั้น เส้นทางนี้สะดวกกว่าเส้นทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งขึ้นมาจากริมแม่น้ำคานผ่านวัดถ้ำพูสี บนยอดพูสีเป็นจุดชมทิวทัศน์ตัวเมืองหลวงพระบางได้รอบด้าน

พูสี และพระธาตุจอมพูสี
เปรียบเสมือนหลักเมืองของหลวงพระบาง มีความสูงประมาณ 150 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง ด้านทิศ ตะวันตกติดกับพระราชวัง ด้านทิศตะวันออกติดกับแม่น้ำคาน บ้านวิชุน ซึ่งสมัยโบราณเรียกว่า “ทุ่งนาจ้าว” ทิศเหนือติดกับวัดแสน วัดคีรีและวัดปากคาน พูสี เดิมเรียกว่า “พูสวง” “พูชวง” และบริเวณพูสีแห่งนี้ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ ต่อมามีฤาษีสองพี่น้องขึ้นมาอาศัยเพื่อบำเพ็ญพรต ประชาชนจึงเรียกว่า “พูสี”ตั้งแต่นั้นมาพระธาตุจอมพูสี สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1804 หลังจากที่พระเจ้าอนุรุธราช ขึ้นครองราชได้ 8 ปี ในสมัยนั้นประชาชนนิยมเรียกกันว่า “พระธาตุหลักเมือง” ทั้งนี้ถือตามฤาษีที่ได้เอาเป็นนิมิตร สร้างเมืองแห่งนี้ พระธาตุจอมพูสีกว้างด้านละ 10 เมตร สูง 55 เมตร มีบันไดขึ้นด้านหน้าพระราชวัง 328 ขั้น สร้างเมื่อปี ค.ศ.1936-1937 สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และบริเวณรอบพูสีนี้ได้มีการก่อสร้าง พุทธสถานหลาย ๆอย่าง อาทิ
- วัดถ้ำพูสี
- รอยพระพุทธบาท
- วัดสีพุทธบาท
- วัดป่าแก้ว
- วัดป่ารวก
- วัดป่าฝาง
- วัดป่าแมว
- วัดธาตุเนิ้ง

tour-phra-thart-chom-poo-see-laos-4 tour-phra-thart-chom-poo-see-laos-5

รอบพระธาตุทำเป็นทางเดินให้ชมทัศนีภาพโดยรอบของหลวงพระบาง สองข้างบันได 328 ขั้นขึ้นสู่พระธาตุที่ปลูกลั่นทมเต็มไปหมด ได้กลิ่นหอมกรุ่น (ดอกลั่นทม ลาวเรียกว่า ดอกจำปาสัก เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ) พระธาตุนี้ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดของพูสีี บนความสูง 150 เมตรพระธาตุนี้มองเห็นได้แต่ไกลแทบจะทุกมุมเมืองของหลวงพระบาง ตัวพระธาตุเป็นทรงดอกบัวสี่เหลี่ยมทาสีทอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยอดประดับด้วยเศวตฉัตรทองสำริดเจ็ดชั้น สูงประมาณ 21 เมตร ช่วงที่พระธาตุนี้งดงามที่สุดคือช่วงตอนบ่ายแก่ๆแสงแดดจะกระทบองค์พระธาตุเป็นสีทองสุก รอบๆพระธาตุจะมีทางเดินให้ชมวิวทิวทัศน์ของเมืองหลวงพระบาง ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมองเห็นสนามบิน ส่วนด้านทิศตะวันตกจะมองเห็นแม่น้ำโขง ช่วงที่คดเคี้ยวเข้าหากันในกลีบเขาและจากยอดภูสียังมองเห็นพระราชวังเดิมที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พระธาตุจอมษีมิได้เป็นสิ่งก่อสร้างแห่งเดียวบนยอดภูษี ยังมีสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาอีกหลายแห่งเช่น วัดถ้ำพูสี วัดป่าแค วัดศรีพุทธบาท วัดป่ารวก

พระธาตุพูสีเปรียบเสมือนหลักเมืองของหลวงพระบาง จนมีคำกล่าวว่า ไปยามนครหลวงพระบาง ถ้าบ่ได้ขึ้นไปเบิ่งพูสีหรือขึ้นบันไดไปไหว้พะทาดจอมสี เปรียบเสมือนกับว่าบ่ได้เห็นนครหลวงพระบางอย่างแท้จริง

สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง
ค่าเข้าชม 20,000 กีบ (ประมาณ 80 บาท)
เปิดเวลา เปิดตลอดวัน ตั้งแต่ ๐๘.๐๐ น.

สิ่งน่าสนใจ
พระธาตุจอมพูสี
หรือพระธาตุพูสี สร้างในปี พ.ศ.๒๓๔๗ สมัยเจ้าอนุรุทธราช มาบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๕๗ โดยหุ้มองค์พระธาตุด้วยแผ่นทองเหลือฉาบทองคำ องค์พระธาตุกว้างด้านละ ๑๐.๕๕ เมตร สูง ๒๑ เมตร

ซุ้มจำปา
ทางขึ้นพระธาตุพูสีร่มรื่นด้วยซุ้มจำปาลาวหรือลั่นทม ดอกไม้ประจำชาติลาว ในช่วงเดือนเมษายนซึ่งตรงกับปีใหม่ลาว จำปาจะออกดอกบานสะพรั่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น

ทิวทัศน์จากพูสี
จากยอดพูสีจะมองเห็นตัวเมืองหลวงพระบางได้ทั่วทั้งหมด และทุกเย็นมักมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นมาชมอาทิตย์ลับฟ้าบนพูสี

ตักบาตรพูสี
วันสังขานขึ้นในช่วงบุญปีใหม่หรือสงกรานต์ของชาวลาว คนหลวงพระบางจะเดินขึ้นพูสีนำอาหารไปวางไว้ตามทางเดินและโยนขึ้นไปยังองค์พระธาตุ ถือเป็นการถวายทางและทำบุญรับปีใหม่ที่ชาวหลวงพระบางขาดมิได้

tour-phra-thart-chom-poo-see-laos-6

หอพระบาง ลาว

tour-hor-prabang-laos
หอพระบาง
เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ สมัยพระเจ้าศรีสว่างงัฒนา เพื่อฉลองปีกึ่งพุทธกาล ตามดำริของพระราชบิดา-พระเจ้าศรีสว่างวงศ์  เป็นที่ประดิษฐานพระบาง พระคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปศิลปะขอมสมัยหลังบายน ปางประธานอภัยหรือปางห้ามสมุทร หล่อขึ้นจากทองคำถึง 90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมี อนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่ด้วย ปัจจุบันหอพระบางนี้อยู่บริเวณพระราชวัง เราสามารถ กราบไหว้ และชมได้ แต่ห้ามถ่ายรูป

การก่อสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จ ประเทศลาวก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเริ่มต้นก่อสร้างใหม่ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ และยังแล้วสร็จจนกระทั่ง ปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์พระราชวัง ลาว

tour-palace-museum-laos

พิพิธภัณฑ์พระราชวังหลวงพระบาง
สร้างขึ้นปี ค.ศ.1904 ก่อนเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ขึ้นครองราชสมบัติ 1 ปี พระราชวังหลวงพระบางเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วังเจ้ามหาชีวิตแทน ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆ มากมาย เช่น ห้องท้องพระโรงซึ่งตกแต่งประดับประดากระจกบนผนัง และเพดาน สีแดงห้องรับแขกซึ่ง มีรูปของท่าน ในลักษณะ 3 มิติ ห้องบรรทม ฯลฯ ภายนอกนั้น โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสผสมผสานกับ สถาปัตยกรรมลาวอย่างลงตัว ด้านหน้ามีต้นตาล ซึ่งปลูกเป็นแถวนับเป็นมุมที่สวยที่สุดของวังนี้

ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง ศิลปกรรมแบบยุโรปผสมล้านช้าง ยกพื้นสูงแบบฝรั่งเศส แต่มีการผสมผสานระหว่างความเป็นฝรั่งเศสและลาว หลังคายอดปราสาทเป็นศิลปะลาวล้านช้าง ที่นี่จึงถูกเปรียบเปรยว่าเป็นลักษณะของ ฝรั่งสวมชฎา เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วังเจ้ามหาชีวิตแทน ภายในประกอบด้วย ห้องฟังธรรม จัดแสดงธรรมาสน์ไม้แกะสลักสกุลช่างหลวงพระบาง และพระพุทธรูปสำริดสกุลช่างลาวโบราณ ช่วงศตวรรษที่ 17-19 ห้องที่สองด้านขวามือเป็น ห้องพิธี หรือ ห้องรับแขก มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาวโดยช่างฝีมือชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1930 ห้องที่สามเป็น ท้องพระโรง ประดับกระจกหลากสีบนพื้นสีทอง เป็นห้องที่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมไว้เพื่อทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดงราชบัลลังก์ไม้แกะสลักหุ้มทองและเครื่องสูงทั้ง 5 ได้แก่ แส้, จามร, รองพระบาท, กระบี่หรือพระขรรค์ และพระแสงของ้าว ส่วนมหามงกุฏได้รับการเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยไม่ได้นำมาแสดงไว้รวมกัน ส่วนด้านหลังเป็น ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต เครื่องใช้ไม้สอยเป็นแบบฝรั่งดูเรียบง่ายไม่หรูหรา เตียงพระบรรทมเป็นไม้สักฝีมือช่างไทยในสยามในสมัยนั้น

tour-palace-museum-laos-2 tour-palace-museum-laos-3

 

พระราชวังหลวงพระบาง ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ลักษณะอาคารเป็นชั้นเดี่ยวยกพื้นสูง สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส แต่เป็นการผสมผสานระหว่างฝรั่งเศสและลาว

ด้านนอกอาคารเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2518 พระราชวังหลวงพระบางได้ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยห้องเด่นๆหลายห้องอยู่ฝั่งขวาของอาคาร เช่น ห้องฟังธรรม ภายในมีธรรมมาสน์ ห้องปูพรมและเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิติศรีสว่างวงศ์ในเวลาฟังธรรม

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองรัฐบาลลาวใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงโบราณวัตถุและของมีค่า อาทิ บัลลังก์ ธรรมาสน์ เครื่องสูงและราชูปโภคของเจ้าชีวิต พระพุทธรูปและวัตถุโบราณ ของขวัญจากประเทศต่างๆ และสำคัญที่สุดคือ พระบาง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ใน หอไตรทางปีกขวาของพระราชวังเป็นการชั่วคราวระหว่างบูรณะหอพระบางที่ด้านหน้าของพระราชวัง โดยภายในหอไตรนี้ยังมีพระไตรปิฎกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เคยพระราชทานให้กษัตริย์ลาวด้วย

ห้องรับแขกของพระมเหสี ภายในห้องจัดแสดงของขวัญจากประเทศต่างๆห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต ภายในห้องสวยงามด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาว ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพงานประเพณี และยังมีรูปหล่อครึ่งองค์ของเจ้ามหาชีวิตอุ่นคำ เจ้ามหาชีวิตสักรินทร์ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งทั้งหมดนี้หล่อมาจากประเทศฝรั่งเศษ

ห้องท้องพระโรง ห้องนี้ใช้ทำพีธีราชาภิเษก ซึ่งเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมห้องนี้ไว้ทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงปกครองเสียก่อน ภายในห้องติดประดับด้วยกระจกโมเสดสีแดงจากประเทศฝรั่งเศส

นอกจากห้องสำคัญเหล่านี้แล้วด้านหลังของท้องพระโรงยังเป็นที่ตั้งของตำหนักของเจ้ามหาชีวิต อีกจุดที่เด่นของพระราชวังคือ

หอพระบาง ภายในหอพระนี้เองเป็นที่ประดิษฐาน พระบาง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง พุทธลักษณะของพระบาง เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนปางประทานอภัย ทั้งสองพระหัตถ์ หรือปางห้ามสมุทร เป็นศิลปะสมัยขอมหลังบายน มีน้ำหนักประมาณ 54 กิโลกรัม ประกอบด้วยทองคำ 90 เปอร์เซ็นต์ และในหอพระนี้ยังมีพระพุทธนาคปรก สลักศิลาอีกสี่องค์และยังมีกลองโบราณอยู่ด้วย

ตรงข้ามกับบันไดทางขึ้นพูสีคือ หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง แต่เดิมเคยเป็นพระราชวังหลวงที่พำนักของเจ้ามหาชีวิต เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ในสมัยพระเจ้าสักกะริน และมาแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๕๒ ภายหลังเปลี่ยนระบบการปกครองในประเทศลาว เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘

รัฐบาลลาวได้ใช้้พระราชวังหลวงนี้เป็นหอพิพิธภัณฑ์ และเปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙

เมื่อผ่านประตูทางเข้าไปแล้ว จุดเด่นที่สุดคือแถวของต้นตาลขนาดใหญ่ที่ขนาบอยู่ทั้งซ้ายและขวา นำสายตาผู้มาเยือนตรงไปสู่อาคารพระราชวังเดิม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตก โดยโครงสร้างด้านล่างของอาคารเป็นการสร้างตามตึกฝรั่ง ส่วนด้านบนเป็นมณฑปตามแบบตะวันออก ทำให้มองดูคล้ายคลึงกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังของไทย

ด้า์นขวามือของประตูทางเข้าหอพิพิธภัณฑ์คือที่ตั้งของ “หอพระบาง” เป็นวิหารขนาดใหญ่ทรงล้านช้าง หลังคาปีกนกสามชั้น แต่ไม่ต่ำแบบสิมล้านช้างแท้ๆ หอนี้เดิมตั้งใจสร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบาง แต่จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ

ส่วนทางด้านซ้ายของประตูทางเข้าคือ อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประเทศลาว

เมื่อผ่านประตูหน้าของอาคารพิพิธภัณฑ์แล้ว ห้องประดิษฐานพระบางจะอยู่ปีกด้านขวาสุดของอาคาร ผู้เข้าชมสามารถกราบอยู่ด้านนอกได้ ข้าง ๆ มณฑปพระบางมีงาช้างคู่หนึ่งแกะสลักพระพุทธเจ้าหลายองค์ เป็นของเก่าโบราณที่นำมาจากวัดวิชุนพร้อมกับพระบางเมื่อครั้งย้ายพิพิธภัณฑ์มายังพระราชวังหลวงนี้

ห้องฮับต้อน เป็นห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต สำหรับรับมอบสาสน์ตราตั้งต่าง ๆ มีรูปปั้นบรอนซ์ครึ่งพระองค์ของเจ้ามหาชีวีต มหินทรเทพ (เจ้าอุ่นคำ), เจ้ามหาชีวิตสักกะริน (เจ้าคำสุก), และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ บนผนังเป็นภาพเขียนบนผ้าไปผืนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวลาว ภาพฮีตประเพณีลาวที่สำคัญ ลักษณะงานศิลปะแบบ impressionism ฝีมือของจิตรกรหญิงชาวฝรั่งเศสชื่อ อลิชเดอ โฟเตอโร (Alix de Fautereau) ซึ่งเขียนในปี พ.ศ.๒๔๗๓ นอกจากภาพฝาผนังรูปมหึมานี้แล้ว ผนังด้านหนึ่งยังมีภาพแกะไม้จากวรรณคดีรามเกียรติ์ฝีมือสกุลช่างหลวงพระบางสายเพี้ยตัน

ทั้งในห้องและตรงระเบียงข้างห้องนีมีกลองมโ่หระทึกสริดตั้งแสดงอยู่หลายใบ กลองแบบนี้ทางไทยเรียกว่า “กลองกบ” เพราะมักทำเป็นตัวกบเล็ก ๆ เกาะอยู่รอบหน้ากลอง ส่วนทางลาวเรียกว่า “ค้องบ้าง” กลองมโนระทึกเช่นนี้พบครั้งแรกที่ดองซอนในเวียดนามตอนเหนือ เรียกว่า “ยุควัฒนธรรมดองซอน” เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความสมบูรณ์ ตามความคิดความเชื่อของกลุ่มชนบนดินแดนอุษาคเนย์มาแต่โบราณ กลองที่แสดงอยู่ในหอพิพิธภัณฑ์นี้มิได้บอกประวัติว่าเจอที่ใด

ท้องพระโรงใหญ่ เป็นสถานที่ออกต้อนรับราชทูตจากประเทศต่าง ๆ  ที่เข้ามาถวายพระราชสาสน์ตราตั้ง ฝาผนังประดับกระจกสีหรืองานประดับดอกดวง แบบเดียวกับที่วัดเชียงทอง เป็นเรื่องนิทานพื้นบ้านของลาว เช่น เรื่องท้าวจันทะพานิด เรื่องขุนบรม เรื่องตำนานการแห่พระบางขึ้นมาจากเขมร รวมทั้งเื่รื่องงานประเพณีในรอบปีฮีตสิบสอง สุดท้องพระโรงเป็นพระราชบัลลังก์ทำด้วยไม้แกะสลักแล้วหุ้มทองคำอีกชั้น (มีเชือกกั้นห้ามนักท่องเที่ยวเข้า) บัลลังก์นี้เตรียมไว้สำหรับพิธีบรมราชาภิเษกเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ แต่ประเทศลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ตู้กระจกรอบท้องพระโรงนี้ก็จัดแสดงเครื่องราชกกุธภัณฑ์สำหรับใช้ในพิธีนี้เช่นกัน เช่น พระแสงขรรค์ ฉลองพระบาท พระแส้จามรี

ทางปีกซ้ายและขวาของห้องท้องพระโรงเป็นตู้จัดแสดงพระพุทธรูปทั้งทำด้วยทองคำ แก้ว สำริด หรือไม้ตีทองคำหุ้ม ส่วนใหญ่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ พระพุทธรูปเหล่านี้ส่วนมากพบใต้ฐานของพระธาตุหมากโมเมื่อบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พ.ศ.๒๔๕๗ ในสมัยพระเจ้าศรีสว่างวงศ์

ทางปีกขวายังมีแหย่งช้างซึ่งพระเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ส่งมาถวายพระเจ้ามันธาตุราชแห่งนครหลวงพระบางใน พ.ศ. ๒๓๗๐ เพื่อผูกสัมพันธ์พร้อมกับชักชวนให้หลวงพระบางร่วมมือกับกรุงเวียงจันทน์กอบกู้เอกราชจากสยาม

ห้องพิธีการ หรือท้องพระโรงหน้า เคยใช้เป็นห้องรับแขกภายในและคณะทูตานุทูตระหว่างเฝ้ารอรับเสด็จ สิ่งของที่จัดแสดงอยู่ในปัจจุบันมี “หอธรรมาสน์” เป็นไม้แกะสลักด้วยฝีมือสกุลช่างหลวงพระบาง “พระพุทธรูปสำริด” ศิลปะลาวโบราณ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙ “เศียรพระพุทธรูปมถุรา”ซึ่งได้รับมอบมาจากรัฐบาลอินเดีย

ในบางโอกาสห้องพิธีการยังใช้เป็นที่ฟังธรรมสำหรับเจ้ามหาชีวิตรวมทั้งใช้จัดงานสำคัญ เช่น งานอภิเษกสมรสของราชวงศ์ฝ่ายใน

ห้องรับแขกของมเหสี แบ่งเป็นสองตอน ห้องเล็กด้านในสุดมีรูปเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา รูปพระมเหสีคำผุย เเละรูปเจ้าชายวงศ์สว่างมกุฎราชกุมาร รูปทั้งหมดนี้วาดขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๑๐ โดย อิลิยา คาซูนอฟ (Iliya Kazunov) จิตรกรชาวรัสเซีย ซึ่งเขียนได้มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะรูปเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งไม่ว่าผู้ชมจะเิดินไปทางไหนในห้อง สายตาและปลายรองพระบาทของรูปก็เหมือนจะหันตามผู้ชมได้ ส่วนในห้องใหญ่ซึ่งเคยใช้เป็นห้องรับแขกของพระมเหสีนั้น มีตู้จัดแสดงของขวัญจากประเทศต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ส่งมาถวายเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาในวาระที่จะเข้าพิธีบรมราชาภิเษก

จากพระราชวังส่วนหน้ามีมุขยื่นต่อไปส่วนหลังด้านติดกับแม่น้ำโขง ส่วนนี้เดิมเป็นเขตส่วนพระองค์ ประกอบด้วยห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องพักผ่อน ห้องบรรทมสำหรับมเหสี ห้องบรรทมเจ้ามหาชีวิต ห้องบรรทมสำหรับเชื้อพระวงศ์ ปัจจุบันเป็นห้องแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่างๆ แล้เครื่องดนตรีของราชสำนัก และห้องเสวย

พระราชวังหลวงหรือหอพิพิธภัณฑ์นี้มีลักษณะเรียบง่าย เหมะสำหรับการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง หากดูองค์รวมตั้งแต่ภายนอกปัตยกรรมไปจนถึงการตกแต่งภายใน สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ จะเห็นว่ามีลักษณะบริสุทธิ์ เรียบง่าย สมถะ และสง่างามประกอบกันอยู่พร้อมมูลอย่างลงตัว

tour-palace-museum-laos-4 tour-palace-museum-laos-5

สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง ริมแม่น้ำโขง
ค่าเข้าชม 30,000 กีบ (ประมาณ 120 บาท)
เปิดเวลา 08.00 - 11.30 น. และ 13.30 - 16.30 น.
หมายเหตุ ภายในพระราชวังหลวง ห้ามการถ่ายรูปทุกชนิด

หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง(พระราชวังหลวงเดิม)
- เปิดวันพุธถึงวันจันทร์ เวลา ๐๘.๐๐-๑๐.๐๐ น. และ ๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น.ปิดวันอังคารและวันหยุดรัฐการ (บุญปีใหม่ลาว บุญซ่วงเฮือ วันชาติ ๒ ธันวาคม และวันปีใหม่สากล)
- บัตรเข้าชมราคา ๓๐,๐๐๐ กีบ
- ผู้เข้าชมต้องแต่งกายสุภาพ ไม่อนุญาตสำหรับกางเกงขาสั้น เสื้อยืดคอกลม เสื้อยืดไม่มีแขน
- ห้ามสูบบุหรี่ และห้ามถ่ายรูป/วิดีโอ

สิ่งน่าสนใจ
อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีสว่างวงศ์
เจ้า้มหาชีวิตผู้ครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๘-๒๕๐๒ และเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เขียนขึ้นโดยชาวลาวเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐

แถวต้นตาลหน้าพระราชวัง
จุดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของหอพิพิธภัณฑ์คือ แถวต้นตาลขนาดใหญ่ที่ขนาบสองข้างทางเดินเข้า ตามประวัติเล่ากันว่าพระเจ้าศรีสว่างวงศ์โปรดให้ปลูกขึ้น เพื่อให้สอดรับกับมุมมองจากท้องพระโรงไปยังพูสี

ยอดมณฑปทอง
แต่เดิมพระราชวังนี้ออกแบบโดย M.Servoise สถาปนิกชาวฝรั่งเศส โดยสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง รูปทรงโรปแบบโคโลเนียล ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๓ พระเจ้าศรีสว่างวงศ์โปรดให้สร้างหลังคาแบบมณฑปเพิ่มเติมขึ้น เพื่อให้มีรูปลักษณ์แบบศิลปะตะวันออก รูปช้างสามเศียร อันเป็นสัญลักษณ์ของ“ ราชอาณาจักรลาว” อยู่บนหน้าบันเหนือมุขทวารด้านหน้า

Normal 0 false false false MicrosoftInternetExplorer4 พระราชวังหลวงพระบาง
สร้างขึ้นปี ค.ศ.1904 ก่อนเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ขึ้นครองราชสมบัติ 1 ปี พระราชวังหลวงพระบางเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วังเจ้ามหาชีวิตแทน ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆ มากมาย เช่น ห้องท้องพระโรงซึ่งตกแต่งประดับประดากระจกบนผนัง และเพดาน สีแดงห้องรับแขกซึ่ง มีรูปของท่าน ในลักษณะ 3 มิติ ห้องบรรทม ฯลฯ ภายนอกนั้น โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสผสมผสานกับ สถาปัตยกรรมลาวอย่างลงตัว ด้านหน้ามีต้นตาล ซึ่งปลูกเป็นแถวนับเป็นมุมที่สวยที่สุดของวังนี้

ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง ศิลปกรรมแบบยุโรปผสมล้านช้าง ยกพื้นสูงแบบฝรั่งเศส แต่มีการผสมผสานระหว่างความเป็นฝรั่งเศสและลาว หลังคายอดปราสาทเป็นศิลปะลาวล้านช้าง ที่นี่จึงถูกเปรียบเปรยว่าเป็นลักษณะของ ฝรั่งสวมชฎา เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วังเจ้ามหาชีวิตแทน ภายในประกอบด้วย ห้องฟังธรรม จัดแสดงธรรมาสน์ไม้แกะสลักสกุลช่างหลวงพระบาง และพระพุทธรูปสำริดสกุลช่างลาวโบราณ ช่วงศตวรรษที่ 17-19 ห้องที่สองด้านขวามือเป็น ห้องพิธี หรือ ห้องรับแขก มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาวโดยช่างฝีมือชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1930 ห้องที่สามเป็น ท้องพระโรง ประดับกระจกหลากสีบนพื้นสีทอง เป็นห้องที่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมไว้เพื่อทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดงราชบัลลังก์ไม้แกะสลักหุ้มทองและเครื่องสูงทั้ง 5 ได้แก่ แส้, จามร, รองพระบาท, กระบี่หรือพระขรรค์ และพระแสงของ้าว ส่วนมหามงกุฏได้รับการเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยไม่ได้นำมาแสดงไว้รวมกัน ส่วนด้านหลังเป็น ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต เครื่องใช้ไม้สอยเป็นแบบฝรั่งดูเรียบง่ายไม่หรูหรา เตียงพระบรรทมเป็นไม้สักฝีมือช่างไทยในสยามในสมัยนั้น

วัดเชียงทอง ลาว

wat-chiang-thong-loas
วัดเชียงทอง
สำหรับผู้ที่ได้มาถึงเมืองหลวงพระบางจะพลาดการมาชมวัดเชียงทองมิได้เลย แม้จะเป็นวัดสุดท้ายบนเส้นทางการเดินชมเมือง เนื่องจากอยู่สุดถนนสีสะหว่างวงพอดีตรงบริเวณที่แม่น้ำคานไหลมารวมกับแม่น้ำโขงซึ่งเรียกว่า “ปากคาน” แต่ก็เป็นวัดที่ต้องใช้เวลาเที่ยวชมมากที่สุด

ตั้งอยู่บริเวณหัวแหลมที่แม่นํ้าคามไหลมาบรรจบกับแม่นํ้าโขง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองหลวงพระบาง ใกล้บริเวณที่แม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง มีถนนเล็กๆชื่อถนนโพธิสารราช ริมน้ำโขงคั่นอยู่ วัดเชียงทองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2102 –2103 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในบรรดาวัดวาอารามทั้งหมดต้องยกให้วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงามที่สุด และได้รับการมาเยี่ยมเยือนจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด "นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว" วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทน์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชาติศรีสว่างวงศ์ และเจ้ามหาชาติศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของประเทศลาว

เป็นวัดที่มีชื่อเสียงที่สุดและงดงามที่สุดในเมืองหลวงพระบาง เป็นวัดที่สำคัญ สวยงาม และเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมมากที่สุดนักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว สร้างขึ้นโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชราวปีพ.ศ 2102 - 2103 ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทน์ไม่นานนัก สิ่งที่โดดเด่นของวัด ได้แก่ โบสถ์หรือสิม สร้างตามแบบศิลปะล้านช้าง หลังคาสามชั้นลาดลดหลั่นลงมาเกือบจรดฐาน ผนังลงรักปิดทองเรื่องราวพุทธประวัติและทศชาดก พระประธานปางมารวิชัย ผนังด้านหลังของพระอุโบสถ ทำจากกระจกสีตัดต่อกันเป็นรูปต้นทองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เคยมีอยู่ในหลวงพระบาง คล้ายกับต้นโพธิ์ ด้านข้างเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี จุดเด่นที่น่าสนใจอีกจุดของวัดเชียงทองอยู่ที่โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถ ประตูด้านนอกแกะสลักเรื่องราวของรามเกียรติ์ โดยช่างแกะสลักชื่อ เพียตัน ช่างฝีมือดีประจำองค์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาซึ่งชาวพระบาง เรียกว่า พระพุทธทองสุก เป็นพระพุทธรูปโบราณอายุกว่า 400 ปี ด้านหลังโบสถ์มีหอเล็ก 2 หลัง ผนังทาสีชมพู ตกแต่งด้วยกระจกสีเป็นรูปคน สัตว์ บ้านเรือน ต้นไม้ เล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของชาวลาวในอดีต

วัดเชียงทองสร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๐๒-๒๑๐๓ ในรัชสมัยเจ้าไชยเชษฐาธิราช ถือเป็นวัดที่โดดเด่นที่สุดบนแผ่นดินลาวและนับเป็นตัวแทนอันสมบูรณ์ที่สุดของศิลปะสกุลช่างล้านช้าง

ปีพ.ศ.๒๔๒๘ เมื่อครั้งพวกฮ่อธงดำบุกปล้นเมืองหลวงพระบาง ทัพฮ่อซึ่งนำโดยคำฮุมลูกเจ้าเมืองไล ได้ตั้งค่ายอยู่ที่วัดเชียงทองคำฮุมนั้นเคยบวชเป็นจัวหรือเณรอยู่ที่วัดนี้ ดังนั้นจึงรู้ช่องทางในเมืองหลวงพระบางและรู้จักชัยภูมิแถบบ้านเชียงทองเป็นอย่างดี วัดเชียงเป็นวัดสำคัญแห่งเดียวของเมืองหลวงพระบางที่ไม่ถูกเผาในศึกครั้งนั้น ชาวลาวกล่าวว่าเป็นเพราะคำฮุมรู้บุญคุณวัดเชียงทองสมัยมาบวชเรียนอยู่ แต่บ้างก็ว่าเป็นเพราะทัพฮ่อใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งค่ายจึงไม่ได้เผาทิ้ง

wat-chiang-thong-loas-2 wat-chiang-thong-loas-3


พระอุโบสถ
อุโบสถวัดนี้มีจุดเด่นตรงที่มีหลังคาโค้ง และ ชายหลังคา ต่ำลงมา ซึ่งหลังคานี้จะซ้อนกัน 3 ชั้น สำหรับอุโบสถนี้ชาวลาว เรียกกันว่า "สิม" บริเวณกลางหลังคาจะมีช่อฟ้าอยู่ ซึ่งวัดที่พระมหากษัตริย์สร้างนั้นจะมีช่อฟ้า 17 ช่อ แต่ถ้าเป็นคนธรรมดา จะมีช่อฟ้า 1 - 7 ช่อเท่านั้น ด้านหลังของ พระอุโบสถ นี้ ภาพ มีสวยงาม โดยการนำกระจกสี ตัดแล้วประดับเป็นภาพ ในภาพเป็นต้นทอง ซึ่งเคยมีขึ้นอยู่มากมายในบริเวณหลวงพระบาง

พระอุโบสถ ภาษาลาวเรียกว่า สิม เป็นพระอุโบสถหลังไม่ใหญ่โตมากนักหลังคาพระอุโบสถมีหลังคาแอ่นโค้ง ลาดต่ำลงมาซ้อนกันอยู่สามชั้น กล่าวกันว่านี่คือศิลปะแห่งหลวงพระบาง ส่วนกลางของหลังคามีเครื่องยอดสีทองชาวลาวเรียกว่าช่อฟ้า ประกอบด้วย 17 ช่อเป็นข้อสังเกตุว่าวัดที่พระมหากษัตริย์สร้าง จะมีช่อฟ้า 17 ช่อ ส่วนคนสามัญสร้างจะมีช่อฟ้า 1- 7 ช่อเท่านั้น เชื่อว่าบริเวณช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆตรงกลางช่อฟ้าจะมีของมีค่าบรรจุอยู่ ส่วนที่ประดับที่ยอดหน้าบันชาวลาวเรียกว่าโหง่ มีรูปร่างเป็นเศียรนาคและมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับศาสนาพุทธ ประตูพระอุโบสถแกะสลักสวยงามเช่นเดียวกับหน้าต่างภายในพระอุโบสถมีภาพสวยงามที่ผนัง มีลักษณะลวดลายปิดทองฉลุบนพื้นรักสีดำ ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติเรื่องพระสุธน – มโนราห์ และเรื่องพระเจ้าสิบชาติ

wat-chiang-thong-loas-4

ลักษณะศิลปะและสถาปัดยกรรมส่วนผู้ใหญ่ในวัดเชีียงทองที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างขึ้นเมื่อมีการซ่อมบูรณะครั้งใหญ่่ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และต่อมาถึงเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาซ่งเป็นกษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาวที่ให้ความอุปถัมภ์วัดเชียงทองมากเป็นพิเศษ

ศิลปะล้ี้า้นช้างในวัดเชียงทองที่ปรากฏเด่นชัดได้แก่ สิม หรือ สอุโบสถ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมล้านช้างที่สมบูรณ์แบบ ถือเป็นตัวแทนศิลปะแบบล้านช้าง ทั้งภายนอกและภายในสิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนังลายรดน้ำ ภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา เช่น ไตรภูมิ ทศชาติ ส่วนภายในเป็นภาพนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องท้าวจันทะพานิด ภาพฝาผนังนี้ใช้เทคนิคการลงรักปิดทองซึ่งเรียกแบบชาวลาวว่า “พอกคำ”

เยื้องกับด้านหน้าของสิมเป็นโรงเก็บราชรถ หรือชาวลาวเรียกกันทั่วไปว่า โรงเมี้ยนโกศ เป็นที่เก็บพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.๒๕๐๔ สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ผนังด้านโรงตั้งแต่หน้าบันจดพื้นสามารถถอดออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำราชรถเก็บเข้าและเคลื่อนออกได้ ทั้งหมดนี้ออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์

ด้านหลังสิมมีวิหารน้อยที่สำคัญสองหลัง คือ หอพระม่านและหอพระพุทธไสยยาสน์ ทั้งสองหลังมีความงดงามในแบบศิลปะไร้มาย (naïve arts) คือ เป็นศิลปะที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา หลุดออกจากกรอบคิดทฤษฎีศิลป์ ศิลปะแบบนี้มักมีสีสดใส แม้จะไม่ประณีต ละเอียด แต่ก็มีความน่ารักอยู่ในตัว วิหารต่าง ๆ ในวัดเชียงทอง แม้จะมีอายุไม่เก่าแก่นัก เพราะสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๑ แต่ก็แสดงถึงงานศิลปะสกุลช่างล้านช้างที่พัฒนาการต่อเนื่องมาถึงขั้นสุดยอด ในขณะที่งานศิลปะพื้นถิ่นของดินแดนต่าง ๆ ในย่านนี้หยุดชะงักลง เนื่องจากอิทธิพลของศิลปะตะวันตก

หอพระม่าน อยู่ด้านหลังสิม ตัวหอตกแต่งด้วยกระจกสีเช่นเดียวกับหอพระพุทธไสยาสน์ “พระม่าน” ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญหนึ่งในสามองค์ของเมืองหลวงพระบาง (อีกสององค์ คือ พระบางและพระเจ้าองค์แสน) ชาวลาวเชื่อว่าหากใครมาบนบานขอลูกกับพระม่านก็จะได้ผลทุกรายไป

wat-chiang-thong-loas-5 wat-chiang-thong-loas-6

หอพระพุทธไสยาสน์ ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์อายุราว ๔๐๐ ปี ประดิษฐานอยู่ มีพุทธลักษณะงดงามตามแบบสกุลช่างหลวงพระบาง ครั้งหนึ่งฝรั่งเศสเคยนำพระพุทธรูปองค์นี้ไปแสดงที่ปารีสในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ภายหลังมหาอุปราชเจ้าเพชรราชรัตนวงศาได้ขอคืนมายังนครหลวงพระบางในปี พ.ศ.๒๕๐๗

ปกติหอพระม่านจะปิดใส่กุญแจไว้ตลอด ส่วนหอพระพุทธไสยาสน์นั้นเปิดให้ชมและทำบุญได้ตลอดทั้งวัน

wat-chiang-thong-loas-7 wat-chiang-thong-loas-8

ส่วนวิหารอีกหลังที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถคือ วิหารพระม่าน ผนังวิหารด้านนอกมีลักษณะคล้ายกับวิหารองค์แรก ภายในวิหารนี้ประดิษฐาน พระม่าน ในช่วงวันขึ้นปีใหม่จะมีการอันเชิญมาให้ประชาชนสรงน้ำและกราบไหว้เป็นประจำทุกปี ผนังด้านหลังวิหารทาด้วยสีชมพูประดับด้วยกระจกสีแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน สร้างขึ้นใน พ.ศ.2493 เพื่อเฉลิมฉลองที่โลกก้าวสู่ยุคกึ่งพระพุทธกาล ด้านหลังของวิหารพระม่านจะเป็นพระธาตุศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้ามหาศรีสว่างวงศ์และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นโขงเรือใกล้กับริมแม่น้ำโขง ส่วนด้านหน้าพระอุโบสถเป็นที่ตั้งหอกลองมีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม

ภายในวัดยังมีสถานที่น่าชมอีกแห่งคือ โรงพระราชรถ หรือโรงโกศเมี้ยน ที่เก็่บราชรถและพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์

สร้างเมื่อปีพ.ศ 2505 รูปแบบทรวดทรงทที่งดงามออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์ ส่วนลวดลายแกะสลักอ่อนช้อยประณีตฝีมือของเพี้ยตัน บรมครูด้านจิตรกรรมและประติมากรรมของลาว

สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง
ค่าเข้าชม คนละ 20000 กีบ (ประมาณ 80 บาท)
เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา06.00 - 17.30 น.

สิ่งน่าสนใจ
สิมวัดเชียงทอง
สิมหรืออุโบสถวัดเชียงทองมีหลังคาซ้อนกันสามชั้น เรียกว่า หลังคาปีกนก ป้านลมอ่อนช้อยโค้งยาวลงมาเกือบจดฐาน ทำให้มองดูเหมือนเตี้ย ถือเป็นรูปแบบศิลปะล้านช้างอันงดงามและสมบูรณ์ที่สุดในประเทศลาว

บานประตูสิม
ที่บานประตูสิมใหญ่ด้านหน้าประดับดอกดวงควักแกะสลัก ผนังลงรักปิดทองฉลุลายทั้งภายในและภายนอก ซึ่งเรียกวิธีการแบบนี้ว่า stencil technics งานปิดทองฉลุลายของศิลปะลาวเป็นศิลปะตกแต่ง (decorative arts) แบบหนึ่ง ลวดลายต่าง ๆ มักมีขนาดเล็กเท่ากันหมด

ลายต้นทอง ด้านหลังสิม
ด้านหลังสิมมีลายประดับกระจกสีเป็นรูปต้นไม้ใหญ่ มีนกและสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่ รูปลายนี้หมายถึงต้นทองหรือต้นงิ้วในภาษาไทย เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นป่าต้นทอง ชื่อเมืองเชียงทองและวัดเชียงทองก็ได้มาจากป่าต้นทองนี้ กล่าวกันว่าเมื่อร้อยปีที่ผ่านมายังมีต้นทองใหญ่ขนาดสามสี่คนโอบขึ้นอยู่ในบริเวณวัด เมื่อพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาได้ปฏิสังขรณ์วัดเชียงทอง จึงให้ช่างประดับดอกดวงติดแก้วสีเป็นรูปต้นทองไว้หลังสิม เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นนิมิตรหมายถึงชื่อ “เชียงทอง”

โรงเมี้ยนโกศ
ด้านหน้าของโรงเมี้ยนโกศเป็นงานแกะสลักไม้เรื่องรามเกียรติ์ตอนต่าง ๆ เช่น “สีดาลุยไฟ” “พระลักษมณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์” ฯลฯ ทั้งงานแกะสลักตัวราชรถและโรงเมี้ยนโกศเป็นฝีมือของเพี้ยตัน

อูบมุง
ปกติอูบมุงใช้เป็นที่เก็บพระพุทธรูปพบเห็นได้ตามวัดต่าง ๆ ในหลวงพระบางและวัดบางแห่งทางภาคเหนือของไทย ซึ่งเคยเป็นอาณาจักรล้านนามาก่อนก็ยังปรากฏอูบมุงหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง บางแห่งพระสงฆ์ก็ใช้เป็นที่ปฏิบัติกรรมฐาน ส่วนที่วัดเชียงทองเป็นที่เก็บพระพุทธรูปปางห้ามญาติทองคำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานแด่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์

เจดีย์แปดทิศ
อยู่ด้านหลังหอพระพุทธไสยาสน์ใกล้กับประตูด้านข้างของวัด องค์เจดีย์มีแปดเหลี่ยม มีงานประดับกระจกเป็นรูปสัตว์มงคล ได้แก่ เสือ สิงห์ แมว ครุฑ วัว ช้าง หนู และนาค ดูแลปกป้องทิศทั้งแปดตามคติความเชื่อคนตระกูลไทย-ลาวที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย

หอพระพุทธไสยาสน์
สร้างพร้อมกับสิมของวัดเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ภายในหอมีพระพุทธรูปอธิษฐานสำหรับให้อธิษฐานขอสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วลองยกดู

ลายประดับดอกดวงผนังหอพระม่านและหอพระพุทธไสยาสน์
เป็นภาพนิทานพื้นบ้านและวิถีชีวิตของชาวบ้านหลวงพระบางตกแต่งด้วยกระจกสีตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งทางลาวเรียกว่าการ “ปะดับดอกดวง” สร้างขึ้นเมื่อครั้งบูรณะวัดเชียงทองครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.๒๔๗๑

ปัจจุบันภาพหอพระพุทธไสยาสน์นี้ได้รับการเผยแพร่ไปทั่ว กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของหลวงพระบางไปแล้ว

wat-chiang-thong-loas-9 wat-chiang-thong-loas-10

 

วัดวิชุนราช ลาว

tour-wat-wi-chun-rath-laos
วัดวิชุนราช พระธาตุหมากโม และวัดอาฮาม
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงพระบาง ถนนวิชุนราช สร้างขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ. 2046 และตั้งชื่อวัดตามพระนามของพระองค์ วัดแห่งนี้ยังเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญอย่างพระบาง พระคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบางอีกด้วยเราเข้าไปไหว้พระประธานภายในสิม หลังจากกราบพระเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมเดินไปด้านหลังพระประธานเพื่อชมพระพุทธรูปไม้เก่าแก่ รวมทั้งศิลปวัตถุต่างๆ ที่รวบรวมจากวัดร้างต่างๆ ในหลวงพระบางมาเก็บรักษาไว้ที่นี่ นอกจากนี้ ในวัดวิชุนยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ "พระธาตุหมากโม" พระธาตุที่มีลักษณะคล้ายผลแตงโมคว่ำผ่าครึ่ง เป็นพระธาตุสำคัญของวัดและของเมืองหลวงพระบางอีกแห่งหนึ่งด้วย

ในสมัยพระเจ้าวิชุนราช ในบรรดาวัดทั้งหมดในเมืองหลวงพระบางเป็นต้องยกนิ้วให้วัดวิชุนในเรื่องมีความแปลกที่พระธาตุรูปร่างโค้งมนเหมือนผลแตงโม และเจดีย์รูปทรงแปลกตานี้เอง ที่กระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรมของให้มีความสำคัญและความโดดเด่นของวัดวิชุน

พระเจ้าวิชุลราชทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นในราวปีพ.ศ 2046 เพื่อประดิษฐานพระบาง ต่อมาพระมเหสีโปรดให้สร้างพระธาตุขึ้นในบริเวณวัดอีก 1 องค์ ลักษณะทรงโอควํ่า คล้ายผลแตงโมผ่าซีกวางคลํ่าลงบนฐาน จึงได้ชื่อว่าพระธาตุหมากโม

tour-wat-wi-chun-rath-laos-2 tour-wat-wi-chun-rath-laos-3

วัดวิชุนราชนี้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน พระบาง ซึ่งอาราธนามาจากเมืองเวียงคำ ภายในวัดวิชุนราชมีปทุมเจดีย์หรือพระธาตุดอกบัวใหญ่ ซึ่งพระนางพันตีนเชียง พระอัครมเหสีของพระเจ้าวิชุนราชโปรดฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2057 หลังจากสร้างวัดแล้ว 11 ปี ด้วยรูปทรงของเจดีย์มีลักษณะคล้ายแตงโมผ่าครึ่งทำให้ชาวเมืองหลวงพระบางเรียกว่า พระธาตุหมากโม เป็นทรงโอคว่ำ ยอดพระธาตุมีลักษณะคล้ายรัศมีแบบเปลวไฟของพระพุทธรูปแบบลังกาหรือสุโขทัย บริเวณมุมฐานชั้นกลางและชั้นบนมีเจดีย์ทิศทรงบัวตูมทั่งสี่มุม พระธาตุหมากโมนี้มีสีดำเก่าๆ แม้จะเคยผ่านการบูรณะปฎิสังขรมาแล้วสองครั้ง ในปีพ.ศ.2402 รัชสมัยของเจ้ามหาชีวิตสักรินทร์(คำสุก) ซึ่งเป็นพระราชบิดาของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ อีก 19 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2457 ในรัชสมัยของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์มีการปฎิสังขรอีกครั้ง ซึ่งการบูรณะครั้งนี้พบโบราณวัตถุมากมาย เช่น เจดีย์ทองคำ พระพุทธรูปหล่อสำริด พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่แกะสลักจากแก้วซึ่งคล้ายกับพระแก้วมรกต โบราณวัตถุเหล่านี้ได้นำถวายเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และเก็บรักษาไว้ในพระราชวังหลวงพระบางในปัจจุบัน

tour-wat-wi-chun-rath-laos-4 tour-wat-wi-chun-rath-laos-5

พระอุโบสถ หรือที่ชาวลาวเรียกว่าสิม เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบาง ตัวอุโบสถมีรูปทรงอาคารไทลื้อสิบสองปันนา ซึ่งมีจุดเด่นคือส่วนคอชั้นสองจะยกระดับสูงขึ้นไป ส่วนบนหลังคาประดับด้วยโหง่(หรือช่อฟ้าแบบไทย) ตรงกลางหลังคามีช่อฟ้า เป็นรูปปราสาทยอดฉัตรเล็กๆ ลดหลั่นหลายชั้น หน้าต่างพระอุโบสถประดับด้วยลูกมะหวด บานประตูด้านหน้าทั้งสามช่องแกะสลักลงรักปิดทอง มีรูปพระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม และพระอินทร์ ศิลปะแบบเชียงขวาง

พระประธาน หรือพระองค์หลวงในพระอุโบสถมีขนาดใหญ่ที่สุดในหลวงพระบาง ด้านหลังพระประธานมีโบราณวัตถุที่เก็บรวบรวมมาจากวัดร้างต่างๆ ในหลวงพระบาง เช่นพระพุทธรูปสำริด พวกไม้จำหลักลวดลายต่างๆ พระพุทธรูปไม้แกะสลักลงรักปิดทองสูงเท่าคนจริงจำนวนมาก

พระธาตุแห่งนี้ได้รับการบูรณะ ในสมัยเจ้าชีวิตจักรินทร์ และในสมัยเจ้ามหาชีวิตสว่างพัฒนาได้พบพระเจดีย์ทองคำพระพุทธรูปทำด้วยทองคำ เงิน สำริด และวัตถุโบราณอื่นๆ มากมาย สิ่งของที่พบใน พระธาตุนี้ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังหลวงพระบาง

ภายในสิมนอกจากพระประธานองค์ใหญ่แล้ว ด้านข้างและด้านหลังองค์พระมีพระพุทธรูปทั้งไม้และสำริด รวมทั้งศิลปวัตถุต่าง ๆ ซึ่งรวบรวมมาจากวัดร้างทั้งหลายในหลวงพระบาง เนื่องจากที่นี่เคเป็นหอพิพิธภัณฑ์มาก่อนที่จะย้ายหอพิพิธภัณฑ์ไปที่พระราชวังเดิมภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ด้านหน้าสิมคือ พระธาตุหมากโม ซึ่งเป็นจุดสนใจที่สำคัญของวัด เนื่องจากรูปทรงที่แตกต่างจากพระธาตุทั้งหลายในเมืองลาว

ด้านข้างสิมมีทางเดินเชื่อมระหว่างวัดวิชุนวัดอาฮาม ตรงรอยต่อของเขตพัทธสีมาเป็นซุ้มประตูโขง อันเป็นลักษณะของวัดแบบล้านนาและล้านช้างในอดีต ซุ้มประตูโขงที่วัดนี้เก่าแก่ที่สุดในบรรดาประตูโขงทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่เมืองหลวงพระบาง

ในสมัยฮ่อบุกปล้นเมืองหลวงพระบาง วัดวิชุนถูกพวกฮ่อเผาทำลาย จนรัชสมัยพระเจ้าสักกะรินะรินจึงได้บูรณะวัดนี้ขึ้นใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยมี อองรี มาร์แซล นายช่างฝรั่งเศสผู้เคยบูรณะนครวัดเป็นแม่งาน

สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง
ค่าเข้าชม 20,000 กีบ (ประมาณ 40 บาท)
เปิดเวลา 07.00 –17.30 น

วัดอาฮาม
เป็นวัดเล็ก ๆ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บชุด “ปู่เยอ – ย่าเยอ” อยู่ติดกับวัดวิชุน สร้างโดยพระเจ้ามันธาตุราชเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๑ ตรงบริเวณที่เจ้าฟ้างุ้มตั้งหอเสื้อเมืองเมื่อครั้งสถาปนานครศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว จุดที่ตั้งวัดจึงถือว่าเป็นสะดือเมืองของหลวงพระบาง เดิมชื่อว่าบ้านหอเสื้อเมือง มาสมัยพระเจ้าโพธิสะราชได้รื้อศาลผีทั้งหลายในเมืองหลวงพระบางจนหมดสิ้นเพื่อให้คนลาวเลิกนับถือผี ภายหลังจึงสร้างขึ้นใหม่ที่ด้านข้างสิมเพื่อเป็นที่เก็บชุดปู่เยอ – ย่าเยอ (จะนำออกมาเฉพาะช่วงงานบุญเดือน ๕ หรือปีใหม่ลาวเท่านั้น) เมื่อสร้างวัดอาฮามขึ้นแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านอาฮาม
ถ้าเข้าชมภายในสิมวัดอาฮาม เสียค่าบัตรราคา ๘,๐๐๐ กีบ

tour-wat-wi-chun-rath-laos-6

สิ่งน่าสนใจ
สิมวัดวิชุน
เป็นสถาปัตยกรรมสกุลช่างไทยลื้อ หลังคาลาดคลุมทั้งสี่ด้าน มีคันทวยหรือแขนนางรองรับโดยรอบ ระเบียงด้านหน้าที่หันออกสู่พระธาตุหมากโมมีชายคาใหญ่ยื่นลงมาคลุม ทำให้สิมแบบนี้ไม่มีหน้าบัน

พระธาตุหมากโม
เป็นเจดีย์ปทุมหรือพระธาตุดอกบัว แต่ชาวลาวทั่วไปเรียกว่า พระธาตุหมากโม เนื่องจากเห็นว่ามีรูปทรงคล้ายแตงโมผ่าครึ่งหรือทรงโอคว่ำ แตกต่างไปจากพระธาตุทั้งหลายในเมืองลาว พระนางพันตีนเซียงมเหสีของพระเจ้าวิชุนราช ซึ่งเป็นชาวพวนเมืองเชียงขวาง โปรดให้สร้างพระธาตุหมากโมขึ้นในปี พ.ศ.๒๐๕๗

tour-wat-wi-chun-rath-laos-7 tour-wat-wi-chun-rath-laos-8

 

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2924 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์