รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ถ้ำติ่ง ลาว

tour-ting-cave-laos
ถ้ำติ่ง
เป็นถ้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งฝั่งตรงข้ามบ้านปากอู ในภูเขาลูกใหญ่ที่ตระหง่านอยู่ริมแม่น้ำโขง ช่วงที่แม่น้ำอูไหลลงสู่แม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียกกันว่า ผาแอ่น ถ้ำติ่งประกอบ ด้วยถ้ำ 2 แห่ง ได้แก่ ถ้ำติ่งเทิง(ถ้ำติ่งบน)และถ้ำติ่งลุ่ม(ถ้ำติ่งล่าง)ในสมัยโบราณใช้เป็นที่สักการะบวงสรวงดวงวิญญาณผีฟ้า ผีแถน เทวดา ผาติ่ง แต่เมื่อศาสนาพุทธเข้ามาแทนที่ถ้ำติ่งจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา ของผู้แก่เฒ่าบอกว่าเจ้ามหาชีวิตแห่งหลวงพระบางต้องไปสักการะพระพุทธรูปในถ้ำเป็นประเพณีที่ขาดไม่ได้

เป็นถ้ำบนผาริมแม่น้ำโขงฝั่งขวาตรงข้ามกับปากอู ชื่อถ้ำติ่งมีที่มาจากการมีหินงอกหินย้อยอยู่มาก และเห็นได้ชัดเจนจากฝั่งแม่น้ำ ชาวลาวเรียกหินงอกหินย้อยตามถ้ำว่า “หินติ่ง” จึงเรียกว่า ถ้ำติ่ง

tour-ting-cave-laos-2

ถ้ำติ่งมีอยู่สองถ้ำ คือถ้ำติ่งล่างและถ้ำติ่งบน ถ้ำล่าง หรือ “ถ้ำลุ่ม” ในภาษาลาว อยู่เหนือจากท่าจอดเรือเล็กน้อย มีพระพุทธรูปตั้งแต่ขนาด ๑๐ เซนติเมตรจนถึง ๑ เมตรครึ่ง ประดิษฐานอยู่มากมายราว ๒,๕๐๐ องค์ ไม่มีใครบอกได้ว่าพระพุทธรูปเหล่านี้มาอยู่ที่ถ้ำติ่งเป็นเวลายาวนานเท่าใด มีทั้งพระพุทธรูปไม้และพระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนมากเป็นฝีมือของช่างพื้นบ้าน การนำพระพุทธรูปมาถวายเป็นพุทธบูชาตามถ้ำเพื่อทำบุญสืบต่ออายุพระพระศาสนานั้นเป็นความเชื่อซึ่งมีมาแต่โบราณ

โดยเฉพาะในช่วงปีใหม่หลังเสร็จงานบุญที่หลวงพระบางแล้วประมาณ 2-3 วัน พระองค์จะนำข้าราชบริพานชั้นผู้ใหญ่พระสงฆ์ และประชาชนขึ้นไปสรงน้ำพระพุทธรูปที่ถ้ำติ่งบนก่อนจึงลงมาทำพิธีที่ถ้ำติ่งล่าง

tour-ting-cave-laos-3 tour-ting-cave-laos-4

ภายในถ้ำมีการค้นพบพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 และ 19จำนวนหลายพันองค์ และมีบางส่วนที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 และ 20 ส่วนใหญ่ทำจากไม้ บางส่วนทำจากหินและโลหะ นอกจากนี้ยังมีการพบพระพุทธรูปที่ทำจากเงินและทองคำบุ แต่ถูกลอกเอาเงินและทองคำออกไปหมดเหลือไว้แต่ดินเผาที่เป็นแกนกลาง

ในช่วงสงกรานต์ชาวหลวงพระบางนิยมนั่งเรือทวนสายน้ำโขงเพื่อมาสรงน้ำพระพุทธรูปในถ้ำติ่งกัน และยังนำพระพุทธรูปทั้งที่หล่อด้วยโลหะหรือแกะสลักด้วยไม้มาถวายเพิ่มด้วย โดยถือเป็นโอกาสท่องเที่ยวปีใหม่ไปในตัว

จากถ้ำลุ่มมีทางเดินระยะทางราว ๓๐๐ เมตรขึ้นไปยังถ้ำบน หรือ “ถ้ำเทิง” ในภาษาลาว ถ้ำเทิงมีพระพุทธรปเก็บไว้น้อยกว่าถ้ำลุ่มโดยมีราว ๑,๕๐๐ องค์ เป็นถ้ำที่ลึกและมืดกว่าถ้ำลุ่ม ด้านหน้าถ้ำจึงมีไฟฉายบริการให้นักท่องเที่ยวเช่า โดยบริจาคเงินเป็นค่าบำรุงเพียงเล็ก

tour-ting-cave-laos-5 tour-ting-cave-laos-6

ปัจจุบันการเดินทางไปถ้ำติ่งมีให้เลือกหลายแบบ ต่างจากในอดีตที่ต้องนั่งเรือจากหลวงพระบางมาตามลำน้ำโขงเท่านั้น (ใช้เวลาไป-กลับกว่า ๔ ชั่วโมง) นักท่องเที่ยวสามารถลดเวลาการเดินทางโดยนั่งรถไปลงบ้านซ่างไหแล้วล่องเรือต่อไปยังถ้ำติ่ง หรือจะประหยัดเวลายิ่งขึ้นก็นั่งรถไปถึงบ้านปากอู แล้วนั่งเรือข้ามน้ำโขงเลย

- เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.
- บัตรเข้าชมถ้ำติ่ง ราคา ๒๐,๐๐๐ กีบ

สิ่งน่าสนใจ
ผาแอ่น-ภูโลง
จากปากถ้ำติ่งสามารถมองเห็นผาแอ่นและภูโลงซึ่งอยู่ริมปากแม่น้ำอูด้านตรงข้ามกับถ้ำ ผาแอ่น-ภูโลงเป็นสถานที่ซึ่งปรากฏนามอยู่ในตำนานเมืองหลวงพระบาง ผาแอ่นเพี้ยนชื่อมาจากผาแบ่น ตามตำนานกล่าวว่าเป็นที่ซึ่งชาวลาวแข่งขันยิงธนูเอาชนะชาวข่าเจ้าของถิ่นดั้งเดิม จึงได้ครอบครองแผ่นดินหลวงพระบางแทนชาวข่า ส่วนภูโลงนั้นเป็นโลงศพของนางอั้ว ตามนิทานพื้นบ้านเรื่องขุนลูนางอั้ว

ภาพเขียนสี
จากท่าเทียบเรือหน้าถ้ำติ่ง เลาะตามหน้าผาขึ้นไปทางเหนือน้ำสัก ๒๐ เมตร บนผนังผาสูงจากพื้นน้ำราว ๑๕ เมตร มีกลุ่มภาพเขียนสีบนหน้าผา เป็นรูปคน กลองมโหระทึก และลวดลายเรขาคณิต เขียนด้วยสนิมเหล็กสีแดงเข้ม คล้ายกับที่พบในมณฑลกวางซีของจีน

tour-ting-cave-laos-7 tour-ting-cave-laos-8

 

บ้านผานม ลาว

tour-ban-phanom-loas
บ้านผานม
เพียงไม่ถึง ๒ กิโลเมตร จากทางแยกบนถนนหมายเลข ๑๓ เหนือ ก็จะถึงหมู่บ้านผานมของชาวลื้อซึ่งมีชื่อเสียงในการทำผ้าทอมือด้วยกี่กระตุกแบบดั้งเดิม ผ้าทอบ้านผานมมีทั้งผ้าแพรเบี่ยงลวดลายแบบลื้อแท้ ๆ และผ้าที่ประยุกต์เป็นของใช้ในชีวิตปัจจุบัน เช่น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ผ้ารองแก้วรองจาน ฯลฯ เดี๋ยวนี้ชาวบ้านผานมนำผ้าทอมาวางขายให้นักท่องเที่ยวเลือกซื้ออยู่ที่ศูนย์หัตถกรรมกลางหมู่บ้าน

เป็นหมู่บ้านของชุมชนไทลื้อที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ชาวไทลื้อที่อพยพมาจากสิบสองปันนาเมื่อราวปีพ.ศ 1917 แรกเริ่มอยู่ที่เชิงพูว่าว ต่อมาจึงได้ขยับขยายมาอยู่ที่บ้านผานมในปัจจุบัน หมู่บ้านนี้มีชื่อเสียงเรื่องทอผ้า อยู่ห่างจากเมืองหลวงพระบางประมาณ 4 กิโลเมตร เลยวัดป่าโพนไปเล็กน้อย ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านเล่าว่า เจ้ามหาชีวิตแห่งล้านนา ได้สู่ขอเจ้านางผมหอมธิดาของกษัตริย์เมืองเชียงรุ้ง (สิบสองปันนา)บ้านผานมมีชื่อเสียงในเรื่องความปราณีตและสวยงามมาก จึงมีการตั้งศูนย์หัตถกรรมสินค้า รวมทั้งมีการสาธิตการทอผ้าด้วย ทั้งแบบย่าม กระเป๋า เสื้อแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมการเดินชมวิถีชีวิตของผู้คนในหมู่บ้านด้วย

tour-ban-phanom-loas-2

บรรพบุรุษของชาวลื้อบ้านผานมถูกกวาดต้อนมาจากดินแดนสิบสองปันนาครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๐ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นประเทศราชของไทยอยู่ ในครั้งนั้นกองทัพไทยยกทัพขึ้นไปปราบจลาจลซึ่งเกิดขึ้นในเมืองหลวงเชียงรุ้งของแคว้นสิบสองปันนา โดยเกณฑ์ทัพเมืองหลวงพระบางซึ่งพระเจ้าสุกเสิมเป็นเจ้าครองนครขึ้นไปช่วยด้วย หลังปราบจลาจลเรียบร้อยแล้วได้กวาดต้อนครอบครัวอุปราชเชียงรุ้งและบ่าวไพร่ชาวลื้อลงมาไว้ในเขตเมืองหลวงพระบาง

ครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๙๕ สมัยพระเจ้าจันทราชอนุชาของพระเจ้าสุกเสิมเป็นเจ้าครองนครหลวงพระบาง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปตีเมืองเชียงตุง พระเจ้าจันทราชโปรดให้เจ้าสิริสาโอรสของเจ้าอุ่นแก้ว อดีดเจ้าอุปราชในสมัยพระเจ้าสุกเสิม ยกกองทัพเมืองหลวงพระบางไปช่วยรบ โดยทัพหลวงพระบางเดินทัพผ่านเขตสิบสองปันนาเพื่อตีโอบเมืองเชียงตุงทางทิศตะวันออก การศึกคราวนี้แม้ทัพไทยและหลวงพระบางจะพ่ายแพ้กลับมา จนถึงขนาดเจ้าสิริสาแม่ทัพฝ่ายหลวงพระบางสิ้นพระชนม์ในการรบ แต่ในการเดินทัพกลับก็ได้้กวาดต้อนครอบครัวชาวลื้อจากเมืองล่าในเขตสิบสองปันนาลงมาด้วย ส่วนหนึ่งมาอยู่ในเขตลาวบริเวณเมืองเงิน แขวงไซยะบุรี บางส่วนเข้ามาถึงเมืองไทยตั้งบ้านเรือนอยู่แถบอำเภอปัว จังหวัดน่าน และอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

มีประชากรประมาณ 250 ครอบครัว ผู้หญิงชาวไทลื้อชำนาญในการทอผ้า ในอดีตบ้านผานมเป็นแหล่งทอผ้าถวายเจ้ามหาชีวิตและราชสำนัก ในปัจจุบันผ้าทอบ้านผานมมีชื่อเสียงมาก มีการรวมกลุ่มตั้งเป็นศูนย์หัตถกรรมแสดงสินค้า มีการสาธิตการทอผ้าและผ้าทอจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว อาทิ เสื้อ ย่าม ผ้าคลุมโต๊ะ ผ้าคลุมเตียง ส่วนภายในหมู่บ้านก็สามารถเที่ยวชมหมู่บ้านได้

tour-ban-phanom-loas-3

สำหรับชาวลื้อที่หลวงพระบาง ถูกให้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำคานนอกเมืองหลวงพระบาง และเรียกหมู่บ้านของตนว่าบ้านผานม ใช้ฝีมือทอผ้าซึ่งมีมาแต่ครั้งอยู่ในดินแดนสิบสองปันนารับใช้ราชสำนักหลวงพระบาง โดยเป็นผู้ทอผ้าส่งให้เจ้านายในราชสำนักใช้ใส่ในพิธีการต่าง ๆ

แม้ทุกวันนี้ชาวบ้านผานมจะมิได้ทอผ้ารับใช้ราชสำนักแล้วแต่หัตถกรรมผ้าทอจากบ้านผานมกลับมีชื่อเลื่องลือไกลในความงามของฝีมือและลวดลาย จนเป็นสินค้าซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของเมืองหลวงพระบางไปแล้ว

สถานที่ตั้ง
อยู่ห่างจากเมืองหลวงพระบางประมาณ 4 กิโลเมตร หมู่บ้านตั้งอยู่ริมแม่น้ำคาน

หมายเหต ุการเดินทางไปบ้านผานม ต้องเหมารถจากในเมืองหลวงพระบาง สำหรับราคาก็ต่อรองกันเอง ประมาณ 200 - 300 บาท

ใกล้ๆกับบ้านผานมมีจุดให้แวะชมอีกแห่งหนึ่งคือ สุสานหมูหด หรือหลุมฝังศพเของอองรี มูโอต์ (Henri Mouhot) นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ผู้ทำให้ชาวตะวันตกได้รู้จักนครวัดนครธม เสียชีวิตที่เพิงพักริมแม่นํ้าคานเมื่อปีพ.ศ 2404 ขณะเดินทางมาสำรวจเมืองหลวงพระบาง

การเดินทาง เรียกรถสองแถวหรือรถสามล้อจากตลาดในเมืองมาได้

ตักบาตรข้าวเหนียว ลาว

tour-tak-bart-kao-neao-laos tour-tak-bart-kao-neao-laos-2

ทำบุญตักบาตรข้าวเหนียว
ภาพพระสงฆ์จำนวนมากออกบิณฑบาตในตัวเมืองหลวงพระบางทุกๆเช้า คิดว่าหลายคนคงเคยเห็นภาพมาแล้ว รวมทั้งยังมีนิตยสารชั้นนำจากต่างประเทศก็เคยตีพิมพ์มาหลายฉบับ หลังจากได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก

นับว่าเป็นภาพที่สวยงาม น่าทึ่ง แสดงถึงแรงศรัทธาที่มีต่อพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สืบทอดมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้าง

ภาพพระที่มีมากถึงจำนวน 200 รูป ออกบิณฑบาตกลางเมืองหลวงพระบางในทุกๆเช้าของแต่ละวัน เป็นเรื่องน่าแปลกสำหรับเมืองเล็กๆของลาวที่มีประชากรไม่มากนัก กลายเป็นจุดเด่นที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาติอื่นๆ เดินทางมาสู่หลวงพระบางกันมากขึ้น

เมืองไทยอาจมีพระออกบิณฑบาตจำนวนเป็นร้อยๆรูป หรือ 99 รูป ตามที่นิยมกัน ก็เฉพาะในวันสำคัญๆทางศาสนา หรือวันที่เป็นมงคล เช่น วิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ เป็นต้น นอกนั้นก็ออกบิณฑบาตกันตามปกติ ซึ่งก็มีพระจำนวนไม่มากนัก

tour-tak-bart-kao-neao-laos-3 tour-tak-bart-kao-neao-laos-4

ทุกเช้าที่กลางเมืองหลวงพระบาง จึงเป็นศูนย์รวมนักท่องเที่ยวไทย นั่งเรียงรายบนเสื่อที่ปูไว้เป็นแนวยาวตลอดริมถนนที่ไปสู่ตลาดสดหลวงพระบาง พร้อมมีกระติ๊บข้าวใบใหญ่ตั้งไว้เป็นระยะๆ

ซึ่งเป็นการเตรียมการให้กับลูกทัวร์ของบริษัทนำเที่ยวต่างๆ โดยลูกทัวร์ไม่ต้องเตรียมอะไรอีก เพราะค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้รวมอยู่ในค่าทัวร์ทั้งหมดแล้ว แต่จริงๆแล้วก็ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรมากนัก เพราะการตักบาตรของชาวลาวมีแต่ข้าวเหนียวล้วนๆ ไม่มีกับข้าว หรือสิ่งของอื่นๆเหมือนในเมืองไทย เช่นอาหารแห้ง ขวดน้ำ หรือดอกไม้

การตักบาตรข้าวเหนียวเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาช้านาน นักท่องเที่ยวไทยที่มาหลวงพระบางก็ควรรู้ถึงธรรมเนียมเหล่านี้ด้วย การถวายสิ่งของอื่นๆ เช่นอาหารแห้ง ขนมคบเคี้ยว หรือาหารที่เป็นกล่อง เป็นกระป๋อง คนลาวเขาจะไม่นำมาใส่บาตรกัน

การตักบาตรจึงมีเพียงข้าวเหนียวอย่างเดียวล้วนๆ จึงเรียกว่า ตักบาตรข้าวเหนียว ซึ่งแตกต่างไปจากเมืองไทย ที่ใส่ทุกอย่างลงในบาตรพระ

tour-tak-bart-kao-neao-laos-5

ตลาดกลางคืน หลวงพระบาง ลาว

tour-night-market-luang-prabang-laos tour-night-market-luang-prabang-laos-2

ตลาดมืด
ที่ตั้ง ถนนศรีสว่างวงศ์ (ตรงสี่แยกที่ทำการไปรษณีย์แขวงหลวงพระบางไปจนสุดพิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง)
เวลาเปิด-ปิด 17.00 น. - 22.00 น.

tour-night-market-luang-prabang-laos-3 tour-night-market-luang-prabang-laos-4

ตลาดมืดหรือตลาดกลางคืนถือเป็นแหล่งช็อปปิ้งแหล่งใหญ่ของนักท่องเที่ยวเนื่องจากจะมีพ่อค้าแม่ค้าชาวหลวงพระบาง
นำสินค้าของตนมาวางจำหน่ายอาทิเช่น เสื้อยืดสกรีนภาษาลาว, เครื่องเงิน, ผ้าทอ, ผ้าห่ม, ปลอกหมอน, โคมไฟที่ทำจากกระดาษสา ฯลฯบางอย่างก็ผลิตเองขายเอง บางอย่างก็รับต่อมาขายอีกทอดหนึ่ง ราคาสามารถต่อรองกันได้ตามใจ

tour-night-market-luang-prabang-laos-5 tour-night-market-luang-prabang-laos-6

 

น้ำตกกวางซี ลาว

tour-kwang-see-waterfall-laos

tour-kwang-see-waterfall-laos-2 tour-kwang-see-waterfall-laos-3

น้ำตกตาดกวางสี
เป็นนํ้าตกตั้งอยู่บนที่สูงจากระดับนํ้าทะเล 560 เมตร เป็นน้ำตกหินปูน เกิดจากต้นนํ้าหลายสายรวมตัวเป็นนํ้าตกสูงราว 70 เมตรมีสองชั้น สภาพป่าร่มรื่นตั้งอยู่ห่างจากหลวงพระบางลงไปทางใต้ประมาณ 30 กิโลเมตรเหมาะสำหรับการพักผ่อน เพราะมีอากาศบริสุทธิ์และมีธรรมชาติอันสวยงามเขียวชอุ่มไปทั่วบางช่วงมีสายน้ำไหลตามผาคล้ายกับม่าน เนื่องจากเป็นน้ำตกหินปูนจึงทำให้น้ำของน้ำตกแห่งนี้ใสและมีสีเขียวมรกต มีสะพานและเส้นทางเดินชมรอบๆน้ำตกและสามารถเลาะข้างน้ำตกไปชมน้ำตกชั้นบนสามมารถเล่นน้ำบริเวณลำธารได้

เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของหลวงพระบาง น้ำตกแห่งนี้อยู่นอกเมืองหลวงพระบางไปทางทิศใต้ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร สภาพทางเป็นถนนลูกรังอัดแน่น หน้าแล้งเป็นฝุ่นพอสมควร

ชื่อของน้ำตกนี้หมายถึงกวางหนุ่มที่เขาเพิ่มงอกเป็นปีแรก (ภาษาไทยเรียกกวาวชีหรือกวางเขาชี) เป็นน้ำตกหินปูน มีแอ่งน้ำกว้างเบื้องล่าง แต่ไม่อนุญาตให้เล่นน้ำ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว

นอกจากจะชื่นชมความงามของน้ำตกแล้วยังหาซื้อของที่ระลึกที่ทางเข้าน้ำตก ซึ่งเป็นสินค้าพื้นเมืองที่ทำจากไม่ไผ่เป็นของใช้หลายชนิด และมีร้านอาหารตามสั่งให้บริการอยู่หลายร้าน น้ำตกกวางชีมีน้ำตลอดปี ในฤดูร้อนน้ำจะน้อย

บริเวณตัวนํ้าตกชั้นล่างทำเป็นสวนสาธารณะ มีลานพร้อมโต๊ะให้นั่งพักผ่อนและทานอาหาร ชั้นที่ 2 มีแอ่งนํ้ากว้างใหญ่สามารถว่ายนํ้าได้ จากชั้นที่สองมีทางให้ปีนชมถึงยอดแต่ต้องระวังเพราะลื่นมาก เมื่อปลายปีพ.ศ 2546 ชั้นบนของนํ้าตำที่ยื่นออกมาได้ถล่มลงมา ทำให้มีกองของหินปูนที่เกิดจากการถล่มครั้งนั้นอยู่ด้านหน้า แต่ทัศนียภาพของนํ้าตกก็ยังคงงดงาม

tour-kwang-see-waterfall-laos-6

น้ำตกกวางซีเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติใกล้เมือง ซึ่งชาวหลวงพระบางนิยมไปเที่ยวกัน ตามเส้นทางสู่น้ำตกกวางซียังจะได้พบกับวิถีชีวิตอันแท้จริงของบรรดาชนเผ่าในลาว โดยเฉพาะหมู่บ้านลาวเทิงเช่น หมู่บ้านท่าแป้น บ้านตาด บ้านอู้

การเดินทางไปน้ำตกกวางซี มีรถจัมโบ้ออกจากตลาดเช้าริมโขงแต่หากไปกันน้อยคนจะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารเต็ม รถจึงออก หรือ มิฉะนั้นก็ต้องเหมารถไปในราคาราว ๓๕-๔๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ (ทั้งวัน)

สถานที่ตั้ง อยู่ห่างจากหลวงพระบาง 30 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ค่าเข้าชม คนละ 10,000 กีบ
เปิดเวลา เปิดตลอดวันครับภาพที่คุ้นตานักท่องเที่ยวทั่วไปก็คือพระพุทธรูปนับร้อยนับพันที่ตั้งอยู่ภายใน

สิ่งน่าสนใจ
น้ำตกกวางซี
สายน้ำทิ้งตัวลงมาตามแผ่นผาหินปูนสูงกว่า ๖๐ เมตร ทำให้น้ำตกกวางซีเป็นน้ำตกสูงที่สุดในเมืองหลวงพระบาง ความงามทางธรรมชาตินี้เป็นสัญลักษณ์หนึ่งเคียงคู่เมืองหลวงพระบาง ไม่แพ้วัดวาอารามทั้งหลายในตัวเมือง ปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ชั้นหินปูนของน้ำตกกวางซีซึ่งทานน้ำหนักของแผ่นหินไม่ไหวได้ทลายลงมา ทำให้ลักษณะหน้าผาและสายน้ำของน้ำตกกวางซีเปลี่ยนรูปลักษณ์ไป

tour-kwang-see-waterfall-laos-4 tour-kwang-see-waterfall-laos-5


ปัจจุบันน้ำตกกวางซีได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ การไปเที่ยวน้ำตกจะต้องผ่านด่านตรวจซึ่งปิดในเวลา ๑๕.๐๐ น. นักท่องเที่ยวจึงควรไปถึงก่อนเวลา สำหรับชาวต่างประเทศต้องเสียค่าเข้าชมน้ำตกคนละ ๒๐,๐๐๐ กีบ

นอกจากน้ำตกกวางซีแล้ว ชาวหลวงพระบางยังนิยมไปเที่ยวหรือพาเพื่อนต่างเมืองไปชมน้ำตกตาดแส้ ซึ่งเป็นน้ำตกหินปูนที่ไม่สูงนัก แต่ลำธารกว้างและลดหลั่นกันหลายชั้น แต่ละชั้นเป็นอ่างซึ่งลงเล่นน้ำได้ น้ำตกชั้นสุดท้ายไหลลงสู่แม่น้ำคาน ป่าไม้รอบบริเวณร่มรื่นเย็นสบาย มีร้านอาหารประเภทปิ้งปลา ปิ้งไก่ ส้มตำ และเหล้าเบียร์ บริการอยู่ตรงทางขึ้นน้ำตก

หลวงพระบาง ลาว

tour-luang-prabang-laos
ที่ตั้ง :
หลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางเหนือของนครเวียงจันทน์ เป็นแขวงทางตอนเหนือของประเทศระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร เชื่อมต่อถึงกันด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางราว 8 – 10 ชั่วโมงด้วยกันด้วยถนนที่ไม่ดีนัก มีเครื่องบินจากนครเวียงจันทน์ถึงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที

สมัยโบราณดินแดนนี้เป็นถิ่นฐานของชาวข่าเชื้อสายเขมร ขุนลอแห่งเมืองแถง (เดียนเบียนฟู) ทรงเห็นว่ามีชัยภูมิเหมาะที่จะตั้งเป็นเมือง จึงขับไล่ชาวข่าออกไปแล้วตั้งเมืองเช่าขึ้น ต่อมาพบแหล่งแร่ทองคำในเมือง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเซียงดง - เซียงทอง ถึงสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมแผ่นดินตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างได้สถาปนาเซียงดง - เซียงทองเป็นเมืองหลวง ให้ชื่อว่าเมืองศรีสัตนาคนหุตมะราชธานี

ลาว...ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณห้าล้านคน แม้จะน้อยนักแต่หากว่าลาวมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่กว่า 236,800 ตารางกิโลเมตร เป็นอาณาจักรแห่งขุนเขาและสายน้ำที่ยังสมบูรณ์ดังเช่นครั้งหนึ่งไทยเราเคยมีนานมาแล้วที่นักเดินทาง นักท่องเที่ยวใฝ่ฝันถึงหลวงพระบางหรืออาณาจักรล้านช้าง ในอดีตเดิมทีหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของลาวมาก่อน เมื่อองค์การยูเนสโก้ยกให้หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ชื่อของหลวงพระบางจึงขจรขจายไปไกล การท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบางจึงมีชื่อเสียงมากที่สุดของลาวก็ว่าได้ ตัวเมืองอันสงบ อบอุ่นด้วยรอยยิ้มและมิตรไมตรี" ตัวเมืองหลวงพระบางนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขงช่วงที่คดโค้งสวยงาม หันไปทางไหนแลเห็นแต่สีเขียวจากป่าดงพงไพร

นานมาแล้วที่เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง พระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาวในเขตลุ่มน้ำโขง แม่น้ำคาน แม่น้ำอู ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ณ ดินแดนริมน้ำโขงซึ่งคือหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 1896 – 1916 โดยการช่วยเหลือของกษัตริย์ขอม (เพราะมเหสีของเจ้าฟ้างุ้มคือพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมในขณะนั้น) พร้อมๆกับการรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาแทนการนับถือผีลาว เป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวมีชนกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซนต์เท่านั้น ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ที่ราบริมน้ำโขง ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา

แรกทีเดียวอาณาจักรล้านช้างมีชื่อเรียกวาส “เมืองชวา” อันเนื่องมาจากมีชาวชวาอาศัยอยู่มากกว่ากลุ่มอื่น ในปี พ.ศ. 1900 เปลี่ยนมาเป็นชื่อ เมืองเชียงทอง กระทั่งกษัตริย์ขอมได้พระราชทานพระพุทธรูปองค์หนึ่ง มีชื่อว่า พระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหล เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “หลวงพระบาง”

เมื่อปีพ.ศ 1896 ในรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าแผ่นดินเขมรพระราชทานพระบางให้คณะธรรมทูตอัญเชิญมายังล้านช้าง แรกประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำเหนือ นครเวียงจันทน์ ครั้นพระเจ้าวิซุนนะลาด (วิชุลราช) เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้อัญเชิญมายังเมืองเซียงดง - เซียงทอง และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นหลวงพระบาง แปลว่า เมืองที่ประดิษฐานของพระบาง

ปี พ.ศ. 2088 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้า โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ แม้หลวงพระบางจะไม่ได้เป็นเมืองหลวงต่อไป แต่เจ้ามหาชีวิตยังคงประทับที่หลวงพระบาง

tour-luang-prabang-laos-2 tour-luang-prabang-laos-3

นับตั้งแต่นั้นมาหลวงพระบาง เป็นเมืองเอกของแขวง มีชื่อเป็นทางการว่า นครหลวงพระบาง แต่ประชาชนทั่วไป เรียกว่า เมืองหลวง เพราะเป็นอดีตราชธานีเก่าของอาณาจักรล้านช้าง และที่ประทับของเจ้าชีวิต (พระเจ้าแผ่นดิน) ก่อนที่ลาวงจะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ ตัวเมืองหลวงพระบางตั้งอยู่ระหว่างแม่นํ้าคานและแม่นํ้าโขง เต็มไปด้วยวัดวาอารา อาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่ยังคงรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างผสมยุโรป ผู้คนมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและพุทธศาสนา เป็นเหตุให้บ้านเมือง สงบร่มเย็นและงดงาม จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกเมื่อปีพ.ศ 2540

อาณาจักรล้านช้างแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ
1.อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
2.อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
3.อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง ยังคงสืบทอดราชบัลลังก์กระทั่งถึงยุคสิ้นสุดของราชวงศ์อันมีสาเหตุหลักมาจากตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม เวียตนามและฝรั่งเศส  เหตุนี้เองหลวงพระบางจึงมาความเป็นมายาวนาน เป็นราชธานีเก่าแก่ วัดวาอารามมากมาย และมีธรรมชาติที่วิเศษหลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือมีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรืออันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมือง ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเชียงใต้

tour-luang-prabang-laos-4 tour-luang-prabang-laos-5

ชาวลาวในเมืองหลวงพระบาง เป็นชนเผ่าที่เรียกว่า "กาว" เดิมเมืองนี้ชื่อ "ชวา" การที่เรียกว่า "หลวงพระบาง" นั้น เป็นเพราะเมืองดังกล่าวเป็นเมืองหลวงของลาวในยุคก่อน จึงได้ชื่อว่า"เมืองหลวง" และการที่มีพระพุทธรูปยืนชื่อ "พระบาง" เป็นสัญลักษณ์ของเมือง จึงรวมชื่อเป็น "เมืองหลวงพระบาง" ชนเผ่ากาวนี้ส่วนใหญ่ปัจจุบันอาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของลาว ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตามริมแม่น้ำโขงและหลายหมู่บ้านในเขตจังหวัด เชียงราย โดยรวมกันอยู่เป็นจำนวนมากที่อำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ และอพยพเข้ามาก่อนกรณีพิพาทอินโดจีนหลายสิบปี แต่เป็นจำนวนน้อย

การอพยพครั้งที่สองเมื่อกรณีพิพาทระหว่างไทย-อินโดจีน และครั้งหลังเมื่อประเทศลาวประกาศเป็นประเทศอิสระภาพและยกกำลังเข้าต่อสู้ ฝรั่งเศสแต่ปราชัยลง ชาวลาวดังกล่าวได้พากันอพยพเข้ามาเขตไทยเป็นจำนวนมาก  ถิ่นที่อยู่เดิม คือ บริเวณเมือง"ศรีสตนาคนหุต" หลวงพระบาง หรือ "แคว้นล้านช้างร่มขาว" เมืองหลวงพระบางเคยเป็นนครหลวงของลาว มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองมะม่วงรู้หาว มะนาวรู้โห่" ภูมิประเทศในแคว้นลาวเหนือนี้ เป็นภูเขาล้อมรอบ หาที่ราบได้ยากแม้แต่กลางเมืองหลวงพระบางเองก็มีภูเขาชื่อพูสีอยู่กลางเมือง เพราะฉะนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารที่นำมาบำรุงเลี้ยงชาวหลวงพระบาง จึงได้มาจากไร่ทั้งสิ้น ในอดีตมีผืนนาอยู่แห่งเดียวเป็นของพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางเรียกว่า "นาหลวง" ตามปรกติ ข้าว เกลือ เสื้อผ้า ไม้ขีดไฟ น้ำมัน เป็นสินค้าขาข้าวของเมืองนี้

ชาวเมืองหลวงพระบางขอบตั้งหมู่บ้าน อยู่ริมชายฝั่งแม่น้ำ เพราะชอบค้าขายทางน้ำ และหาสัตว์น้ำขาย เช่น ปลา เป็นพวกที่ชำนาญทางว่ายและดำน้ำทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เมืองหลวงพระบางมีจำนวนหมู่บ้านและหลังคาเรือนประมาณ ๘-๙ พันหลังคาเรือน ตัวเมืองล้อมรอบไปด้วยภูเขา ที่กลางใจเมือง มีภูเขาอยู่ลูกหนึ่งชื่อพูสี บนเขาลูกนั้นมีสถูปเจดีย์และรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ในศาลา มองซิเออร์ปาวี ชาวฝรั่งเศส คลุกคลีตีสนิทกับชาวหลวงพระบางเมื่อครั้งหลวงพระบาง ขึ้นกับไทย โดยการนุ่งผ้าโจงกระเบนและกินหมากเที่ยวแจกยาควินิน จนทำให้แคว้นหลวงพระบางตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ปัจจุบันยังมีรูปอนุสาวรีย์ของ ม.ปาวี หล่อด้วยทองแดงขนาดเท่าตัวจริง ตั้งไว้ริมถนนในย่านเจริญ ชาวลาวสูบบุหรี่กันแทบทุกคน และมีคนจำนวนไม่มากนักชอบสูบฝิ่น

tour-luang-prabang-laos-6 tour-luang-prabang-laos-7

ผู้หญิงชาวหลวงพระบางโดยมาก มีผิวขาว รูปร่างเพรียวระหง ในจำนวนหญิง ๘๐ % เป็นหญิงสวยงามจนได้ชื่อว่าเป็นเมืองนางเมรี ตามนิยายเรื่องพระรถนางเมรี ปัจจุบันยังมีสิ่งประกอบเรื่องนี้อยู่หลายอย่าง เช่น สวนพระรถ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ป่า มีผลไม้นานาชนิด ภูท้าว ภูนาง ถ้ำนางเมรี ฯลฯ ชาวหลวงพระบางรักความสนุกรื่นเริงอยู่เป็นนิตย์ จะได้ยินเสียงฆ้องดังไม่ขาดระยะจากเมืองหลวงพระบางในบางวัน ผู้หญิงทุกคนสวยงามตามธรรมชาติ มีความอิสระในเรื่องรักใคร่ ด้วยเหตุนี้ จึงมีนักท่องเที่ยวชาวไทยไปเที่ยวเมืองหลวงพระบางแล้วไม่อยากกลับบ้าน ที่เป็นพ่อค้าเร่ร่อนมีภรรยาตามรายทางก็มีอยู่หลายคน การเที่ยวสาวเที่ยวบนบ้านที่ระเบียง โดยมากชอบไปหาสาวเวลากลางคืน ถ้าพอใจกันทั้งสองฝ่ายก็ได้เสียกันก่อนแต่งงาน ถ้าสาวไม่พอใจหนุ่มมาเที่ยวบ้านจะหลบเข้าห้องโดยไม่โผล่หน้าออกมาให้หนุ่ม เห็น แต่หากชอบพอก็จะออกมานั่งสนทนาด้วย

ชาวหลวงพระบางนับถือศาสนาพุทธ ในระหว่างเข้าพรรษาทุกวันพระมีการไปวัดตักบาตร ตอนบ่ายฟังเทศน์ ถ้าคนเฒ่าคนแก่ที่ศรัทธาทางศาสนามาก ก็มีการนอนวัดด้วยกัน ขนบธรรมเนียมไม่ผิดทางไทยในเรื่องศาสนา เมืองหลวงพระบาง เป็นเมืองที่รักษาวัฒนธรรมของตนไวได้อย่างดียิ่ง ถ้าเราไปถึงถิ่นจะเห็นวัดวาอารามและขนบธรรมเนียมยังอยู่ในเมืองนี้อย่าง พร้อมมูล การศาสนาก็เคร่งครัด ผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธาทางพุทธศาสนามากไม่มีวัดหรือโบสถ์ศาสนาอื่น ทั้งนี้ มีชาวต่างประเทศเข้าไปเผยแพร่ศาสนาด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็หามีผู้นิยมนับถือศาสนาอื่นไม่

tour-luang-prabang-laos-8

เดินเที่ยวในหลวงพระบาง
ตัวเมืองหลวงพระบางนั้น หากมองจากเครื่องบินจะเห็นว่าเป็นแหลมแคบๆ ที่ขนาบด้วยแม่น้ำโขงทางทิศตะวันตก และแมน้ำคานทางทิศตะวันออก ส่วนกว้างอยู่ทางด้านทิศใต้ แถวสี่แยกกลางเมือง แล้วค่อยๆ สอบแคบเข้าไปจนถึงปากคาน ตรงกลางของแหลมนี้เป็นเนินเขาย่อมเรียกว่า จอมพูสี หรือภูสี แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งหลายแหล่นั้นล้วนอยู่บนแหลมนี้นี่เอง

หลวงพระบางจึงสมควรใช้การเดินเที่ยวเป็นดีที่สุด ก่อนเิ่ริ่มออกตระเวนชมวัดในเมืองหลวงพระบาง สิ่งสำคัญที่ควรรับรู้ไว้เป็นเบื้องต้นคือ วัดส่วนใหญ่ในหลวงพระบางนั้นถูกเผาทำลายในสมัยศึกฮ่อจนหมดสิ้น มีเพียงวัดเชียงทองแห่งเดียวที่ไม่ถูกเผาหรือทำลายเพื่อหาสมบัติ เนื่องจากพวกฮ่อใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งทัพ ดังนั้นบรรดาสิ่งก่อสร้างของวัด รวมถึงลวดลายประดับต่าง ๆ ทั้งรูปควักสลักหรือลายประดับดอกดวง ล้วนสร้างขึ้นในสมัยหลัง ตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าสักกะรินจนถึงพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา อย่างไรก็ตามตัวอุโบสถหรือสิมซึ่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ต่างก็สร้างอยู่บนโครงสร้างเก่า และพยายามสร้างให้เหมือนของเดิมตามความทรงจำของคนเฒ่าคนแก่ที่เคยเห็น วันในหลวงพระบางจึงมักมีศิลปะหลายแบบ ประกอบอยู่ด้วยกัน เช่น เราอาจพบศิลปะทั้งแบบไทยลื้อ เชียงขวาง และล้านช้าง ผสมอยู่ในสิมหลังเดียวกัน

หลวงพระบางมีวัดอยู่มากมาย เฉพาะในเขตชุมชนตัวเมืองอยู่ถึง ๒๖ วัด หลายแห่งเป็นสถานที่ซึ่งผู้มาเยือนเมืองมรดกโลกแห่งนี้ไม่ควรพลาด การเดินเที่ยวในหลวงพระบางให้สะดวก ควรวางแผนทีละส่วนเป็นย่าน ๆ ไป ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๕ ย่าน ได้แก่

ย่านที่ ๑ ย่านสี่แยกกลางเมืองถึงพูสี
ย่านที่ ๒ ย่านบ้านเจ๊ก
ย่านที่ ๓ ย่านวัดเชียงทอง
ย่านที่ ๔ ย่านวัดวิชุุนและตัวเมืองด้านใต้
ย่านที่ ๕ เมืองเชียงแมน ฝั่งตรงถ้ามนลวงพระบาง (ไม่มีแผนที่ื)

เที่ยวรอบนอกเมืองหลวงพระบาง
นอกจากในเขตตัวเมืองหลวงพระบางอันมีชื่อเสียงในด้านประวิตศาสตร์วัฒนธรรม และวิถีชีวิตผู้คนแล้ว รอบนอกเมืองหลวงพระบางยังมีแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้มาเยือนได้เดินทางไปสัมผัสอีกหลายแห่ง บางแห่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ผูกพันกับเมืองหลวงพระบางมาแต่โบราณ บางแห่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงาม ซึ่งนักเดินทางมักไม่พลาดไปเที่ยวชม แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ล้วนอยู่ในระยะทางที่สามารถเดินทางไป-กลับจากหลวงพระบางได้ภายในวันเดียวทั้งสิ้น

รถรับจ้างในหลวงพระบาง
หลวงพระบางเป็นเมืองเล็ก นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวเองได้ทั่วเมืองโดยไม่ต้องใช้รถ แต่ถ้าจะใช้บริการรถรับจ้างในหลวงพระบางก็มีให้เลือกสามแบบได้แก่ รถสี่ล้อเล็กเรียกว่า “จัมโบ้” รถสามล้อเครื่องดัดแปลงมาจากรถมอเตอรไซค์คล้ายรถสกายแลปของอีสาน แต่เล็กกว่าึ และสุดท้ายคือรถมอเตอร์ใชค์พ่วงข้าง เป็นรถสามล้อเครื่อง ซึ่งค่าโดยสารถูกที่สุด รถรับจ้างเหล่านี้หากวิ่งอยู่ในเมืองหลวงพระบางจะไปจุดใดก็แล้วแต่ค่าโดยสารเฉลี่ย ๓,๐๐๐ กีบต่อคน

หากจะเหมารถจัมโบ้ไปเที่ยวนอกเมือง เช่น เส้นทางบ้านช่างไฮ่-ปากอูตรงข้ามถ้ำติ่ง ราคาอยู่ประมาณ ๒ แสนกีบ (ทั้งวัน) โดยขากลับสามารถแวะบ้านผานมได้ด้วย ส่วนเส้นทางไปน้ำตกกวางซีราคาจะแพงกว่า เนื่องจากระยะทางไกลและสภาพถนนไม่สู้ดี ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามต่อรองราคาได้ตามสมควร แหล่งเช่ารถจัมโบ้อยู่เบริเวณตลาดเช้าริมแม่น้ำโขง

สำหรับรถจักรยานสามารถหาเช่าได้ตามเกสต์เฮาส์หลายแห่งในตัวเมืองส่วนรถตู้เช่าสามารถติดต่อผ่านบริษัททัวร์ต่าง ๆ ได้ ราคาค่าเช่าวันละ ๕๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ หากออกนอกเมืองต้องเพิ่มอีก ๑๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ

วังเวียง ลาว

tour-vang-vieng-laos

tour-vang-vieng-laos-2 tour-vang-vieng-laos-3

วังเวียง
เมืองเล็กๆ ห่างจากเวียงจันทน์ไปทางเหนือ 160 กิโลเมตร ได้ชื่อว่าเป็นเมืองรีสอร์ตของลาว เพราะมีแม่นํ้าไหลเลาะตามภูเขาหินปูนรูปทรงแปลกตา คล้ายเมืองกุ้ยหลินของจีน เมืองแห่งธรรมชาติ ทัศนียภาพอันงดงามตระการตาของทิวเขา ไร่นาแบบขั้นบันได และหมู่บ้านชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ของลาว เช่น ลาวสูง ลาวเทิง ลาวม้ง ไทลื้อ ชมความยิ่งใหญ่ของขุนเขาที่เต็มไปด้วยป่านานาพันธุ์ที่ขึ้นตามธรรมชาติ ระหว่างทางชมผาตั้ง ซึ่งเป็นภูเขาลูกเดียวที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว ด้านหน้าของภูเขามีน้ำซองไหลผ่าน ภูเขารูปร่างแปลกตา สลับซับซ้อนสวยงามยิ่ง นักท่องเที่ยวต่างขนานนามว่า “กุ้ยหลินเมืองลาว”

แม่น้ำซองไหลผ่านตัวเมือง เขาหินปูนที่รายรอบ และเถื่อนถ้ำมากมายในภูเขา ทำให้เกิดกิจกรรมท่องเที่ยวกึ่งผจญภัยและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเมืองวังเวียง เช่น แคนูและคายักให้พายเล่นในแม่น้ำซองโปรแกรมสำรวจถ้ำและ black water ที่ท้าทายนักท่องเที่ยว รวมทั้งกิจกรรมไต่หน้าผา เดี๋ยวนี้วังเวียงจึงมิใช่เป็นแค่เมืองแวะพักระหว่างทางอีกต่อไปแล้ว

ที่ตั้ง
ตัวเมืองวังเวียง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำซอง ห่างจากเมืองหลวงกรุงเวียงจันทน์ 154 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลวงพระบาง 210 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูง มองเห็นสายน้ำกว้างสลับเนินทราย โดยมีเทือกเขาหินปูนเป็นฉากหลัง และได้ฉายาว่า กุ้ยหลินแห่งเมืองลาว เป็นแหล่งท่องเที่ยงของประเทศลาว ท่านสามารถเพลิดเพลินกับธรรมชาติระหว่างทาง

tour-vang-vieng-laos-4 tour-vang-vieng-laos-5 tour-vang-vieng-laos-6

มีถํ้าให้เที่ยวชมหลายแห่งในเขตตัวเมืองมีวัดเก่าแก่อายุราว 400 - 500 ปีอยู่หลายแห่ง ได้แก่ วัดสีเวียงทอง หรือวัดธาตุ วัดคัง วัดหัวพัน วัดสีสุมาน และวัดพงเพ็ญ แต่สถานที่ ที่นักท่องเที่ยวนิยมคือ การชมถํ้า ล่องลำนํ้า และเยือนหมู่บ้านคนท้องถิ่น ถํ้าในวังเวียงมีมากมายที่ได้รับการพัฒนาบ้างแล้ว มีไฟนำทางในถํ้า ไกด์ท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กหนุ่มชาวบ้านจะประจำอยู่ตามหน้าถํ้า คอยเก็บค่าผ่านทางพร้องค่านำชม คนละประมาณ 3,000 กีบ นักท่องเที่ยวควรนำไฟฉายติดตัวไปเองด้วย ถํ้าที่เข้าชมได้คือ

ถํ้าจาง เป็นถํ้าขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงที่สุด ทางเข้าอยู่ในวังเวียงรีสอร์ต
ถํ้าผาเผือก อยู่ไม่ไกลจากถํ้าจาง ปากทางเข้าถํ้าอยู่บนหน้าผา ต้องออกแรงปีนป่ายบ้าง ทางไปถํ้าคือข้ามสะพานไม้ไผ่ข้างๆ โรงแรมนํ้าซอง แล้วเดินตัดทุ่งนาไปยังเชิงเขา
ถํ้าพูคำ อยู่ที่บ้านนาทอง ทางเข้าถํ้าต้องเดินผ่านป่าขึ้นไปประมาณ 200 เมตร ภายในประดิษฐานพระนอนสำริดจากประเทศไทย
ถํ้าผาเจ้า หมู่บ้านขันหมาก
ถํ้าช้าง บ้านนาดาว เป็นถํ้าเล็กๆ ภายในมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาท
ถํ้าหอย มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้า เป็นถํ้าลึกหลายกิโลเมตร

กิจกรรมที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การนั่งห่วงยางล่องนํ้าซอง จุดตั้งต้นอยู่แถว ฟาร์มออร์แกนิก ชื่อว่า วังเวียงออร์แกนิกฟาร์ม (Vangvieng Organic Farm) ห่างจากเมืองไปทางเหนือ 3 กิโลเมตร ตามเกสต์เฮาต์และโรงแรมในวังเวียงมีบริการจัดท่องเที่ยวถํ้าและล่องนํ้าซอง ทั้งแบบครึ่งวันและเต็มวัน

วัดสีสะเกด ลาว

tour-wat-si-sa-ket-laos-2
วัดสีสะเกด (Wat Sisaket) หรือวัดสะตะสะหัสสาราม (วัดแสน)
ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ ติดกับหอคำ พระราชวังหลวงของกษัตริย์ลาวสมัยก่อนสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2094 โดยพระเจ้าโพธิสารราช พระบิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในศตวรรษที่ 16 เป็นวัดที่สร้างขึ้นแห่งแรกในนครเวียงจันทน์ สตสหัสส แปลว่า 100,000, อาราม แปลว่า วัด, วัดสตสหัสสาราม จึงแปลว่า วัดแสน ในอดีตเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ลาว) ศักดิ์ของวัดนี้เทียบเท่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน ของไทย)

สร้างโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ หรือพระเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ.๒๓๖๑ ถือเป็นวัดประจำรัชกาล วัดนี้มีชื่อเต็มว่า “วัดศีรษะเกศสตสหัสสาราม” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดศีรษะเกศ เพราะเล่ากันว่ายามพระเจ้าอนุวงศ์บรรทมอยู่ในพระราชวังจะต้องหันพระเศียรมายังทิศที่ตั้งของวัดนี้เสมอ

เหตุที่ชื่อวัดแสนก็เพราะว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชและพุทธศาสนิกชนชาวลาวในอดีต ทรงสร้างพระพุทธรูปทั้งองค์เล็กและองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ทั่ววัด 100,000 องค์ ดังนั้นจึงมีชื่อเล่นว่าวัดแสน แต่ปัจจุบันมีเหลืออยู่ประมาณ 10,000 กว่าองค์เท่านั้น ไกด์บางคนบอกว่ามี 6,000 กว่าองค์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วัดนี้ก็มียังมีพระพุทธรูปมากที่สุดในนครเวียงจันทน์

tour-wat-si-sa-ket-laos-3 tour-wat-si-sa-ket-laos-4 tour-wat-si-sa-ket-laos-7


เจ้าอนุวงศ์โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ 2316 ในบริเวณวัดเก่าที่อยู่ติดกับพระราชวัง ที่มาของชื่อวัดเนื่องจากที่ตั้งอยู่ทาง ทิศหัวนอน เหตุที่วัดนี้หันหน้าเข้าหาพระราชวัง หรือทิศหัวนอนของเจ้าอนุวงศ์ ก็เพื่อว่าเมื่อทรงบรรทมตื่นหรือว่าเข้าบรรทมจะสามารถไหว้พระในวัดได้เลย ภายในวัดมีพระพุทธรูปมากมายเรียงรายอยู่ช่องกุดเล็กๆ ที่มีซุ้มโค้งแหลมจำนวนมาก  ภายในช่องกุดบรรจุพระพุทธรูปเล็กๆ หรือพระพิมพ์ช่องละ 2 องค์ในบริเวณพระอุโบสถ (ลาวเรียกว่า สิม) และระเบียงคดทั้งสี่ด้าน หอไตรที่งามแปลกตา รวมทั้งชมความงามของฮูปแต้มหรือจิตรกรรมฝาผนังอันอ่อนช้อยตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนเสดถาทิราดตัดกับถนนล้านช้าง

ใน พ.ศ. 2321 เจ้าพระยาจักรี (ร.๑) ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้ยกทัพไปทวงถามเครื่องบรรณาการจากลาว ลาวไม่ให้จึงสู้รบกัน ลาวรบแพ้เพราะไม่เจนศึกเท่าทหารสยาม ในฐานะที่เจ้าพระยาจักรีเป็นนักรบผู้ทรงธรรมและเคยบวชเรียนหลายพรรษา เมื่อชนะศึกแล้วจึงนำพาทหารสยามบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ก่อนเดินทางกลับประเทศใน พ.ศ.2322 เพื่อเป็นพุทธบูชาอุทิศส่วนกุศลให้ทหารทั้ง 2 ประเทศที่เสียชีวิต เนื่องจากรบกันโดยไม่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน สถาปัตยกรรมวัดนี้เกือบทั้งหมดจึงเป็นสถาปัตยกรรมไทย

เมื่อเจ้าอนุวงศ์ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ลาวเมื่อ พ.ศ. 2348 ก่อนหน้านั้นพระองค์เคยเสด็จมาช่วยไทยรบกับพม่า 2 ครั้ง ก็ได้โปรดให้บูรณะและสร้างวัดนี้ต่อด้วยสถาปัตยกรรมไทย วัดนี้จึงเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของทหารและชาวพุทธสองประเทศมาแต่โบราณ เพราะเป็นวัดที่ทหารของทั้งสองประเทศช่วยกันสร้าง

พ.ศ. 2369 เกิดกรณีพิพาทสยาม – ลาว (ไทยเรียกเหตุการณ์นี้ว่ากบถเจ้าอนุวงศ์) ศึกครั้งนั้นไทยแทนแค้นลาวมาก จึงทำลายเมืองเวียงจันทน์โดยการเผาเกือบหมด ยกเว้นวัดนี้กับวัดพระแก้ว เพราะเป็นวัดที่ตนสร้างมากับมือ

พ.ศ. 2370 ก่อนกองทัพสยามเดินทางกลับประเทศ ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและฌาปนกิจศพทหารที่เสียชีวิตที่วัดแห่งนี้

tour-wat-si-sa-ket-laos-5 tour-wat-si-sa-ket-laos-6


จากเหตุการณ์เผาเวียงจันทน์นี่แหละ ชาวลาวรุ่นใหม่ที่เรียนมาถึงประวัติศาสตร์ตอนนี้จึงแค้นไทยไม่หาย เมื่อไทยพูดว่า “บ้านพี่ – เมืองน้อง” ลาวรุ่นใหม่จึงไม่ยอมรับไทยเป็นญาติ เขามักจะถามกลับว่า “ใครเป็นพี่ – ใครเป็นน้อง” ไทยบางคน เกลียดพม่าไม่หายในเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่สอง อย่างไร ลาวบางคน ก็แค้นไทยไม่เลิกในเหตุการณ์เผาเวียงจันทน์ อย่างนั้น

สิ่งน่าชมในวัด ได้แก่ หอไตร ซึ่งยกคอสองเป็นชั้นคล้ายวัดไทยใหญ่ ส่วนอุโบสถผนังภายในเจาะเป็นซุ้มเล็กๆ สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปถึง ๖,๘๔๐ องค์ และมีวัตถุโบราณสำคัญคือ ราวเทียนไม้ แกะเป็นรูปนาคสองตัวด้วยฝีมือวิจิตรมาก

ศิลปะและสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของวัดนี้เป็นแบบสมัยต้นรัตนโกสินทร์ กล่าวกันว่าพระเจ้าอนุวงศ์ทรงโปรดปรานศิลปะเช่นนี้ตั้งแต่ครั้งได้มาศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงเทพฯ ภายใต้การอุปถัมภ์ชุบเลี้ยงโดยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นสาเหตุให้วัดศีรษะเกศเป็นวัดเดียวในเมืองเวียงจันทน์ที่ไม่ถูกเผาโดยกองทัพไทยเมื่อครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑

ปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษา ทางการลาวยึดที่ดินวัดไปเป็นสถานที่ราชการหมด เหลือเพียงตรงบริเวณพระอุโบสถนิดหน่อย วิญญาณทหารสยามที่สถิตอยู่ในวัดนี้จึงอาภัพเพราะไม่มีใครไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ชาวลาวก็ไม่ทำบุญกรวดน้ำให้ เพราะยังไม่หายแค้น ทำบุญจากประเทศไทยไปให้ก็ไม่ค่อยจะถึง เพราะอยู่ไกลและวิบากกรรมก็ยังไม่สิ้น (ซวยสองต่อ) หากอยากทำบุญให้ ต้องไปทำที่เวียงจันทน์เท่านั้น
เปิดทุกวัน เวลา 08.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น., บัตรเข้าชมราคา ๑๐๐๐๐ กีบ

tour-wat-si-sa-ket-laos

tour-wat-si-sa-ket-laos-8 tour-wat-si-sa-ket-laos-9

เขื่อนน้ำงึม ลาว

tour-nam-ngum-dam-laos-3

tour-nam-ngum-dam-laos-2 tour-nam-ngum-dam-laos-6


เขื่อนน้ำงึม
ตั้งอยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2515 มีลักษณะเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ กักเก็บน้ำในลำน้ำงึมเอาไว้ เขื่อนน้ำงึมแห่งนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่มากพอสำหรับใช้ในนครเวียงจันทน์ และยังมีเหลือพอส่งออกมาขายทางฝั่งไทย การสร้างเขื่อนน้ำงึมต้องเสียพื้นที่ป่าไปประมาณ 250 ตารางกิโลเมตร ภายในเขื่อนน้ำงึมมีเกาะเล็กเกาะน้อยกระจัดกระจายอยู่หลายร้อยเกาะ เหมือนอ่างเก็บน้ำทั่วๆ ไป และที่ท่าเรือบ้านนาคะนูนจะมีเรือของชาวบ้านให้เช่าออกไปเที่ยวตามเกาะแก่งต่างๆ ในอ่างเก็บน้ำพุร้อนชื่นชมธรรมชาติอันงดงามภายในอ่างเก็บน้ำ

tour-nam-ngum-dam-laos-4 tour-nam-ngum-dam-laos-5


บริเวณท่าเรือมีร้านจำหน่ายอาหารที่นำปลาสดๆ ที่จับได้ในอ่างเก็บน้ำมาปรุงเป็นอาหาร ทั้งปลาเผา ลาบปลา และต้มปลา ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในราคาที่ย่อมเยา

tour-nam-ngum-dam-laos

แม่น้ำซอง ลาว

tour-song-river-laos
แม่น้ำซอง
ชื่อนี้ได้มานานแล้วตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้างุ้ม พระองค์เกิดที่หลวงพระบาง เกิดมามีฟัน 33 ซี่ พระราชบิดาจึงเนรเทศออกนอกเมืองตั้งแต่ยังเด็ก พระองค์และไพร่พลได้ล่องตามลำน้ำโขงไปพึ่งบารมีกษัตริย์กัมพูชา ได้เรียนรู้ศิลปวิทยาการต่างๆจนเก่งกล้า เมื่อหลวงพระบางเกิดการสู้รบแย่งชิงราชบัลลังก์ พระองค์ได้ยกทัพเข้าปราบปรามจนได้ชัยชนะและสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์  พระองค์มีพระราชประสงค์จะรวบรวมล้านช้างให้เป็นหนึ่งเดียวจึงได้ยกทัพมาตีเวียงจันทน์ ครั้งนั้นโอรสของเจ้าเมืองเวียงจันทน์คือพญาเพายังครองเมืองอยู่แถบลุ่มน้ำงึม(ต่อมาเยกเมืองไผ่คำ) เมื่อมีศึกมาประชิดเวียงจันทน์พญาเพาได้ยกทัพไปช่วยพระราชบิดา แต่สายไปเสียแล้ว เมื่อไปถึงก็เห็นพระราชบิดาสังหารต่อหน้าต่อตาจึงสั่งให้ยกทัพกลับเข้าเมือง อันว่าเมืองของพญาเพานั้นล้อมรอบไปด้วยกอไผ่ที่หนาแน่น ไม่มีใครบุกรุกเข้าไปได้ เจ้าฟ้างุ้มที่ยกทัพติดตามไปจึงให้ไพร่พลเอาทองคำหลอมเป็นหัวธนูแล้วก็ยิงเข้าไปในป่าไผ่ แล้วก็ยกทัพกลับ  ฝ่ายชาวเมืองเมื่อเห็นทัพเจ้าฟ้างุ้มกลับไปแล้วก็กรูกันออกมาตัดกอไผ่เพื่อเก็บทองคำ จนกอไผ่เหี้ยนเตียนหมดสิ้น

tour-song-river-laos-2

ปีต่อมาเจ้าฟ้างุ้มได้ยกทัพกลับมาอีก คราวนี้สามารถเข้าตีเมืองได้อย่างสบาย เพราะไม่มีกอไผ่ล้อมรอบ จับพญาเพาเอาไว้ได้ เจ้าฟ้างุ้มตั้งใจจะให้พญาเพาขึ้นครองเมืองเวียงจันทน์ แต่พญาเพาก็หยิ่งในศักดิ์ศรีขอกลับไปอยู่กับญาติที่หลวงพระบาง ไม่ว่าจะเกลี้ยกล่อมอย่างไรพญาเพาก็ไม่ยอม ที่สุดเจ้าฟ้างุ้มก็ให้สานซอง (คล้ายๆที่เขาใส่หมู) แล้วให้ทหารหามพญาเพาไปที่หลวงพระบาง แต่พอไปถึงวังเวียงพญาเพาก็ขาดใจตาย ทหารจึงนำศพไปล้างที่แม่น้ำแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ แล้วเอาซองที่ใส่พระยาเพาทิ้งลงแม่น้ำไป ชาวบ้านจึงเรียกแม่น้ำแห่งนั้นว่าแม่น้ำซองจนถึงทุกวันนี้

tour-song-river-laos-3

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2256 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์