รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วัดใหม่สุวันนะพูมาราม ลาว

tour-wat-mai-sou-van-na-phou-maram-laos

วัดใหม่สุวันนะพูมาราม
จากตลาดม้งบริเวณสี่แยกกลางเมือง เดินขึ้นไปทางทิศเหนือจะพบอาคารสถานีวิทยุกระจายเสียง เยื้องกันเป็นธนาคารล้านช้าง บริเวณนี้เรียกว่าย่านลาชินี เลยสถานีวิทยุไปเป็นอาคารยุคฝรั่งเศสของสำนักงานห้องกานวัดทะนะทำ หรือสำนักงานของกระทรวงวัฒนธรรมประจำแขวงหลวงพระบางซึ่งร่มรื่นอยู่ใต้ร่มเงาหูกวาง ต่อมาทางซ้ายมือเป็นใต้ถุนสูง เรือนหลังนี้เป็นเรือนเก่าชุดแรก ๆ ซึ่งกำลังจะซ่อมแซมขึ้นใหม่ตามโครงการของห้องการมอระดก โดยร่วมมือกับองค์การยูเนสโก

tour-wat-mai-sou-van-na-phou-maram-laos

เป็นวัดเก่า วัดใหม่สุวันนะพูมาฮามหรือ วัดใหม่ ที่คนลาวเรียกกันแบบสั้นๆ สันนิษฐานว่าสร้างโดยพระเจ้าอนุรุทในปี พ.ศ. 2337 เดิมชื่อวัดสุวันพุมมาราม เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชของลาวสมัยหนึ่ง พระอุโบสถสร้างด้วยไม้ กำแพงระเบียงหน้าอร่ามงดงามด้วยงานรดนํ้าปิดทองเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก วัดนี้มีอุโบสถที่สวยงาม ด้วยศิลปะแบบอูบมุง อดีตเป็นวัดที่ประทับของพระสังฆราชตันแห่งอาณาจักรล้านช้าง วัดแห่งนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระบาง และใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต่อหน้าพระบางอีกด้วย ปัจจุบันนี้ก็ยังใช้เป็นที่ให้ประชาชนมาสรงน้ำพระบางในวันงานบุญปีใหม่ (วันสงกรานต์)

วัดใหม่สุวันนะพูมารามสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๗ ในรัชสมัยพระเจ้าอนุรุทธราช ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๔ ตรงกับสมัยพระเจ้ามันธาตุราชได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้ใหม่ พระธาตุ อูบมุง และหอขวางที่เห็นอยู่ในปัจจุบันก็สร้างขึ้นในสมัยนี้ เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดใหม่สุวันนะพูมาราม” แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดใหม่” ใน พ.ศ. ๒๔๓๗ สมัยพระเจ้าสักกะรินได้อัญเชิญพระบางจากวัดวิชุนมาประดิษฐานที่วัดใหม่ แล้วใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต่อหน้าองค์พระบาง

จุดเด่นของวัดคือ หลังคา 5 ชั้นที่ลดหลั่นกันอย่างสวยงามของทรงหลวงพระบาง ทรงเชียงขวาง ทรงไทลื้อ ผนังด้านในตกแต่งด้วยพระพิมพ์ปิดทององค์เล็กๆนับหมื่นองค์บนผนังสีแดงชาด วัดนี้มีโบสถ์งดงามด้วยศิลปะเครื่องไม้แบบหลวงพระบางเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก ฝีมือการแกะสลักไม้ของเพียตัน หนึ่งในสุดยอดช่างของลาวอันสวยงาม

สิมหรือพระอุโบสถสร้างด้วยไม้ กำแพงระเบียงด้านหน้าอร่ามงดงามด้วยงานรดน้ำปิดทอง เป็นเรื่องรามายณะและพระเวสสันดรชาดก ในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ลาว (สงกรานต์) ทางการจะอัญเชิญพระบางจากพระราชวังหลวงมาประดิษฐานที่วัดนี้เพื่อให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำ

วัดที่ใหญ่ที่สุดพระราชวัง ชมหอพระบาง เคยเป็นที่ประทับของพระสังฆราชลาว และเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบางมาก่อนด้วย

ในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ลาว (สงกรานต์) ทางการจะอัญเชิญพระบางจากพระราชวังหลวงมาประดิษฐานที่วัดนี้เพื่อให้ประชาชนได้สักการะและสรงนํ้า (ตั้งอยู่ใกล้โรงแรมพูสีและที่ทำการไปรษณีย์)

- วัดใหม่ฯ เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
- บัตรเข้าชมราคา ๑๐,๐๐๐ กีบ

วัดใหม่เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของหลวงพระบาง นอกจากจะเป็นวัดซึ่งสมเด็จพระยอดแก้ว พระสังฆราชพระองค์สุดท้ายของลาวเคยประทับแล้ว ในช่วงสงกรานต์จะอัญเชิญพระบางจากหอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบางมาไว้ที่วัดใหม่เป็นเวลา ๓ วัน เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ

เลยจากวัดไปด้านขวามือคือพูสี ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองหลวงพระบาง ตรงเชิงเขาทางขวามือของบันไดทางขึ้นมีสิมเล็ก ๆ อยู่หลังหนึ่ง คือสิมของวัดป่าฮวก

tour-wat-mai-sou-van-na-phou-maram-laos

สิ่งน่าสนใจ
บานประตูสิมวัดใหม่
สิมวัดใหม่ลักษณะคล้ายกับวัดวิชุน บานประตูเป็นฝีมือแกะสลักไม้แบบเชียงขวาง ด้านข้างเป็นลวดลายแกะสลักเรื่องพระเวสสันดร โดยฝีมือของเพี้ยตันศิลปินแห่งชาติของลาว ซึ่งมีฝีไม้ลายมือโดดเด่นด้านการแกะสลักไม้ รูปแบบงานแกะสลักของเพี้ยตันได้รับการยกย่องให้เป็นสกุลช่างสายหนึ่งของงานศิลปะลาว

วัดหัวเซียง วัดมะหาทาด และบริเวณน้ำพุ ลาว

tour-wat-hua-xiang-wat-ma-ha-tad-and-area-the-fountain-laos tour-wat-hua-xiang-wat-ma-ha-tad-and-area-the-fountain-laos

วัดหัวเซียง วัดมะหาทาด และบริเวณน้ำพุ
จากสี่แยกกลางเมือง หากมุ่งหน้าลงทางทิศใต้ตามถนนเส้นกลางเมือง ทางซ้ายมือมีวัดติดกันอยู่สองวัด วัดแรกคือวัดหัวเซียง ซึ่งสังเกตจดจำง่ายจากบันไดทางขึ้นวัดที่เป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรขนาบอยู่สองข้าง ถัดไปคือวัดมะหาทาด หรือชาวบ้านเรียกว่า วัดทาดน้อย วัดนี้สร้างในพ.ศ. ๒๐๙๑ สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ชื่อของวัดมีที่มาจากเจดีย์องค์ใหญ่หลังสิมซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งสร้างวัด เจดีย์องค์นี้เป็นที่เก็บอัฐิของพระนางยอดคำทิพย์ พระมารดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช

เลยจากวัดมะหาทาดไปจะถึงน้ำพุที่มีรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่กลางสระน้ำขนาดย่อม และอยู่เยื้องกับทางเข้าโรงแรมสุวันนะพูม บริเวณนี้เรียกว่าบ้านหัวเซียง ขวามือเป็นร้านขายของที่ระลึกหลายร้าน

tour-wat-hua-xiang-wat-ma-ha-tad-and-area-the-fountain-laos

สิ่งน่าสนใจ
ราวเทียน วัดมะหาทาด
วัดมะหาทาดปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.๒๔๕๓ โดยเจ้ามหาอุปราชบุญคง ภายในสิมแบบล้านช้างมีราวเทียนรูปนาค ๒๔ ตัว ฝีมือการแกะวิจิตรงดงาม เจ้ามหาอุปราชบุญคงมอบให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๐

ธาตุเจ้าเพชรราช
หน้าสิมของวัดมะหาทาดมีเจดีย์ใหญ่บรรจุอัฐิของเจ้าเพชรราชรัตนวงศา อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ และถือเป็นรัฐบุรุษของประเทศลาวยุคใหม่ด้วย

เจดีย์วัดมะหาทาด
ในจารึกวัดมะหาทาดกล่าวว่า “พระราชไอยกามหาเทวเจ้า” ยายของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มเหสีของพระเมืองเกษเกล้ากษัตริย์เชียงใหม่ เป็นผู้สร้างเจดีย์องค์นี้ ลักษณะของเจดีย์ต่างจากเจดีย์ศิลปะล้านช้างทั่วไป แต่กลับเหมือนกับเจดีย์วัดโลกโมฬีที่เมืองเชียงใหม่ ซึ่งบรรจุพระอัฐิของพระเมืองเกษเกล้า

วัดหนองสีคูนเมือง ลาว

tour-wat-nong-si-khun-muang-laos

วัดหนองสีคูนเมือง
อยู่ที่บ้านวัดหนอง แยกจากถนนสีสะหว่างวงสองด้านข้างของโรงแรมวิลล่าสันติ เดิมชื่อ “วัดสีคูนเมือง” สร้างแด่ปี พ.ศ. ๒๒๗๒ เป็นที่ประดิษฐาน “พระเจ้าองค์แสน” พระพุทธรูปสำคัญของเมือง ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องจากมีน้ำหนัก ๑ แสน (ประมาณ๗๒๐ กิโลกรัม) พระเจ้าองค์แสนเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบเชียงแสนตามตำนานกล่าวว่าลอยตามแม่น้ำโขงมาแต่เมืองเชียงแสน และมาขึ้นที่เมืองหลวงพระบาง ชาวหลวงพระบางเชื่อถือว่าพระเจ้าองค์แสนมีความศักดิ์สิทธิ์มาก เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ เกิดไฟไหม้สิมจนหมดสิ้น แต่องค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นทองสำริดมิได้ไหม้ไปด้วย ชาวบ้านนิยมมาบนบานขอสิ่งต่าง ๆ จากพระพุทธรูปนี้เสมอ

ในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ ชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่และได้รวมพื้นที่หนองน้ำใกล้ ๆ เข้ามาในเขตพัทธสีมาด้วย จึงเรียกชื่อใหม่ว่า “วัดหนอง” หรือ “วัดหนองสีคูนเมือง”

tour-wat-nong-si-khun-muang-laos

สิ่งน่าสนใจ
สิมวัดหนองสีคูนเมือง
วัดหนองได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ที่เป็นเชื้อพระวงศ์เก่า ที่มีความใหญ่โตโอ่อ่า สิมที่เห็นปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ด้วยรูแบบศิลปะเวียงจันทน์ ซึ่งชาวบ้านศรัทธาบูรณะขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หน้าต่างไม้แกะสลักมีความงดงามวิจิตรไม่น้อย ฝีมือสกุลช่าง

วัดแสน ลาว

tour-wat-saen-laos

วัดแสน หรือวัดแสนสุขาราม (Wat Saen)
ชาวหลวงพระบางมักเรียกกันสั้นๆว่า วัดแสน” อยู่บนถนนสีสะหว่างวง บนเส้นทางไปวัดเชียงทอง สร้างเมื่อปีพ.ศ. ๒๒๖๑ ในสมัยพระเจ้ากิ่งกิดสะราช ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของหลวงพระบาง วัดนี้บูรณะมาหลายครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ และครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ มีการประดับดอกดวงทำด้วยมุกประดับทองคำที่สวยสดงดงามตามระเบียงและพัทธสีมา ศิลปะการตกแต่งนี้เป็นหลวงพระบางในศตวรรษที่ ๒๐

เป็นวัดแบบศิลปกรรมไทย สร้างเมื่อปีพ.ศ 2261 ในแผ่นดินของเจ้ากิ่งกฤษราช ตามประวัติเล่าว่าชื่อของวัดมาจากเงินจำนวน 100,000 กีบ ที่มีผู้บริจาคให้เป็นทุนเริ่มสร้างวัดแสนแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ใกล้กับโรงแรมวิลล่าสันติบนถนนสักกะริน (ถนนสักรินทร์)

ด้านนอกสิมเป็นโรงเก็บเืรือแข่งหรือเรือซ่วงซึ่งมีอายุสุดของหลวงพระบาง และยังใช้้แข่งขันในงานบุญเดือน ๙ อยู่จนปัจจุบันติดกับโรงเก็บเรือแข่งเป็นหอพระพุทธรูปยืนปางเปิดโลก กับพระอัฏฐารสที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย คนหลวงพระบางเรียกพระพุทธรูปนี้ว่า “พะเจ้า ๑๘ สอก” เนื่องจากมีความสูงวัดได้ ๑๘ ศอก

สิ่งน่าสนใจ
สิมวัดแสนสุขาราม
สิมของวัดแสนตกแต่งลวดลายพอกคำอย่างวิจิตร ตัวสิมเป็นศิลปะหลวงพระบางตอนกลางศตวรรษที่ ๒๐ สังเกตได้จากสามเหลี่ยมและยอดเสารูปกลีบบัว

วัดมะโนลม ลาว

tour-wat-ma-no-lom-laos

วัดมะโนลม หรือวัดมโนรมย์ (Wat Manolom)
อยู่บริเวณบ้านมะโน เดินจากสี่แยกคอกวัวไปทางทิศใต้ผ่านที่ทำการของสายการบินลาว หรือมาจากถนนข้างโรงแรมสุวันนะพูมก็ได้ วัดมะโนรมเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดซึ่งยังเหลืออยู่ในหลวงพระบาง วัดนี้สร้างใน พ.ศ. ๑๙๑๕ โดยพระเจ้าสามแสนไท สร้างทับลงบนวัดเก่าชื่อว่า “วัดเชียงกลาง” ซึ่งคณะสังฆทูตจากกัมพูชาเป็นผู้สร้างไว้ตั้งแต่ครั้งเดินทางเข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาบนแผ่นดินล้านช้างในสมัยเจ้าฟ้างุ้ม ถือเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในหลวงพระบาง และเคยเป็นที่ประดิษฐานพระบางในระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๔๕-๒๐๕๖

สันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในหลวงพระบาง สร้างในราวปีพ.ศ 1918 พระประธานองค์ใหญ่ในโบสถ์ หล่อด้วยสำริด หนักประมาณ 2 ตัน ถูกทำลายเสียหายในสงครามแย่งชิงดินแดนระหว่างไทย - ฝรั่งเศส ต่อมาทางการลาวหล่อซีเมนต์ซ่อมแซม ส่วนแขนที่ชำรุด

สิ่งน่าสนใจ
พระประธานวัดมะโนรม
พระประธานภายในสิมวัดมะโนรมเป็นพระพุทธรูปสำริดซึ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในประเทศลาว องค์พระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด สูงประมาณ ๖ เมตร และหนักกว่า ๒ ตัน หล่อขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดพระพุทธรูปองค์นี้เป็นศิลปะสุโขทัย เชื่อว่าช่างที่ทำการหล่อเป็นช่างซึ่งมาจากกรุงสุโขทัย

ในสมัยทัพฮ่อเข้าปล้นเผาเมืองหลวงพระบาง วัดมะโนรมก็ถูกทำลายเช่นกัน พระประธานในสิมถูกพวกฮ่อตัดแขนทั้งสองข้างออก กล่าวกันว่าพวกฮ่อนึกว่าเป็นพระทองคำ แขนข้างหนึ่งถูกพวกฮ่อนำไป ส่วนอีกข้างพวกฮ่อขนไปไม่ทัน ด้วยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกกองทัพไทยมาถึงหลวงพระบางพอดีจึงทิ้งไว้ที่วัด ทุกวันนี่แขนข้างดังกล่าวก็ยังวางอยู่ข้างองค์พระประธาน

ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ชาวหลวงพระบางช่วยกันสมทบทุนก่อสร้างสิมขึ้นใหม่ พร้อมทั้งหล่อแขนทั้งสองข้างของพระพุทธรูปเติมต่อให้สมบูรณ์ดังที่เห็นในปัจจุบัน

เมื่อเข้ามาชมภายในสิมและกราบนมัสการพระประธานแล้ว ลองถามพระหรือเณรถึงเรื่อง “พะเจ้าแขนกุ๊ด” ท่านอาจไปนำรูปเก่าสมัยที่ยังไม่ได้ต่อแขนพระมาให้ดู

วัดป่าโพนเพา ลาว

tour-wat-pa-phon-pow-laos

วัดป่าโพนเพา
เป็นจุดท่องเที่ยวซึ่งผู้มาเยือนหลวงพระบางมักถูกกำชับว่า “พลาดไม่ได้” หมู่บ้านนี้อยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองหลวงพระบางเพียงแค่ ๕ กิโลเมตร โดยแยกจากเส้นทางหมายเลข ๑๓ เหนือก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำคานเพียงเล็กน้อย ตรงทางแยกนี้สามารถแวะเข้าไปชมวัดป่าโพนเพา ซึ่งถึงแม้จะเป็นวัดอายุไม่นานนัก แต่ก็เป็นจุดที่โดดเด่นสามารถมองเห็นได้จากตัวเมืองหลวงพระบาง เนื่องจากวัดนี้อยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ ซึ่งบนยอดเนินได้สร้างเจดีย์ีสีทองอร่ามชื่อ สันติเจดีย์ ไว้ เมื่อขึ้นไปอยู่บนพูสีแล้วมองมายังทิศตะวันออก จะเห็นสันติเจดีย์สีทองตัดกับฉากหลังสีเขียวของภูซวงได้อย่างชัดเจน

สิ่งน่าสนใจ
สันติเจดีย์ที่วัดป่าโพนเพา
อยู่ปากทางเข้าบ้านผานม เจดีย์นี้สร้างในปี พ.ศ.๒๕๓๑ วัดป่าโพนเพาสร้างโดยพระอาจารย์สายสมุทร ทุกวันนี้เป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งนักท่องเที่ยวมักแวะมาชม เนื่องจากสามารถมองเห็นเมืองหลวงพระบางในมุมที่สวยงาม

วัดป่าฝาง ลาว

tour-wat-pa-fang-laos

วัดป่าฝาง
หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัดเซียงงาม สร้างในสมัยพระเจ้าอนุรุทธราช (พ.ศ. ๒๓๒๒-๒๓๖๐) เป็นวัดศิลปะแบบล้านช้างที่ชัดเจนมาก ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นใหม่แล้วโดยห้องกานมอละดก เป็นโครงการที่ ๒ ต่อจากเฮือนมรดกเชียงม่วน

วัดป่าไผ่ ลาว

tour-wat-pa-phai-laos tour-wat-pa-phai-laos

วัดป่าไผ่
เดิมบริเวณวัดเป็นป่าไผ่ในเขตบ้านหอเจ้าฟ้าเหลือม ในสมัยพระเจ้าอนุรุทธราชมีการสร้างวัดขึ้นตรงป่าไผ่นี้ จึงเรียกชื่อว่าวัดป่าไผ่ และเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านป่าไผ่ตามไปด้วย สิมเป็นศิลปะแบบหลังพระบาง ด้านหน้ามีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวล้านช้าง

สิ่งน่าสนใจ
จิตรกรรมฝาผนังวัดปาไผ่
ภายในสิมวัดป่าไผ่มีงานจิตรกรรมฝาผนังที่ใช้้การลงรักปิดทองหรือพอกคำ เป็นเรื่องราวในชาดกต่าง ๆ งานลงรักปิดทองนี้นับว่าสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาวัดทั้งหลายของหลวงพระบาง น่าเสียดายที่หลังคาสิมรั่ว ยามฝนตกน้ำซึมลงมาจนทองคำเปลวที่ปิดไว้บางจุดหลุดล่อน แต่ยังไม่มีหน่วยงานใด ๆ มาให้การดูแล

วัดเซียงแมน ลาว

tour-wat-chiang-man-laos

วัดเซียงแมน หรือวัดเชียงแมน (Wat Chieng Man)
- เปิดทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น
- บัตรเข้าชมพระธาตุจอมเพชรและวัดร่องคูน ราคาแห่งละ ๑๐,๐๐๐ กีบ

จากตัวเมืองหลวงพระบาง หากข้ามฟากแม่น้ำโขงไปยังฝั่งตรงกันข้ามจะเป็นเมืองเชียงแมน ซึ่งเสมือนเมืองคู่แฝดของหลวงพระบาง เป็นแหล่งผลิตพืชผักอาหารส่งขายในตลาดเมืองหลวงพระบางมาแต่โบราณ เมื่อครั้งสมัยสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ กองทัพไทยยึดดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืนจากฝรั่งเศสแล้วได้เปลี่ยนชื่อแขวงไซยะบุรีเป็นจังหวัดล้านช้าง เมืองเชียงแมนขณะนั้นจึงมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดล้านช้างด้วย

สร้างโดยเจ้าหน่อแก้วกำมาน พระโอรสของพระเจ้าไชยเชษฐา มีซุ้มประตูตกแต่งด้วยงานปูนปั้นสวยงามมาก

สถานที่น่าสนใจทางฝั่งเชียงแมน ได้แก่ พระธาตุจอมเพชร อยู่บนไหล่เขาภูนาง สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับสมัยพระเจ้ามหินทรเทพ (เจ้าอุ่นคำ) เวลานั้นทางฝั่งเมืองเชียงแมนยังอยู่ในเขตพระราชอาณาจักรสยาม ชาวหลวงพระบางจะขึ้นไปทำบุญพระธาตุจอมเพชรกันในวันสิ้นปีหรือวันสังขานล่อง ภายหลังเสร็จจากก่อเจดีย์ทรายบนฝั่งน้ำโขงเรียบร้อยแล้ว

ในหมู่บ้านจอมเพชรซึ่งขึ้นกับเมืองเชียงแมนนั้น ยังมีวัดเชียงแมน ซึ่งบางคนก็นิยมเรียกว่า วัดจอมเพชร สร้างในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ สมัยเจ้าหน่อแก้วกุมาร ต่อมาทรุดโทรมลงจนชาวเมืองเชียงแมนได้ช่วยกันบูรณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ส่วนที่ยังเป็นของเก่าแก่ดั้งเดิมคือ บานประตู และมีโบราณวัตถุสำคัญคือ คานหาม (เสลี่ยง) ของเจ้าองค์นกหรือพระเจ้าบรรมขัตติยวงศา ผู้ครองหลวงพระบางระหว่างปี พ.ศ.๒๒๕๖-๒๒๖๖

สิ่งน่าสนใจ
พระธาตุจอมเพชร
บูรณะโดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เมื่อครั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือยกทัพมาปราบฮ่อ และตั้งทัพอยู่ริมฝั่งน้ำโขงฟากเมืองเชียงแมนทางทิศใต้ของสิมมีเจดีย์บรรจุอัฐิของเจ้าหญิงทองดีมเหสีของพระเจ้าสักกะริน

พระธาตุอิงฮัง ลาว

tour-phra-that-ing-hung-laos

พระธาตุอิงฮัง (Phra That lng - Hang)
เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นพระธาตุคู่แฝดของพระธาตุพนม สูง 25 เมตร มีภาพสลักนูนสูงออกแนวฮินดูประดับประดารอบพระธาตุ น่าจะเป็นศิลปะเขมร รอบผนังกำแพงพระธาตุด้านในเป็นศาลาวนรอบ มีพระพุทธรูปวางเรียงเป็นแถวยาวตลอดทั้งสี่ด้าน เห็นว่าเป็นการหล่อโดยพุทธศาสนิกชนทั้งชาวลาวและชาวไทยร่วมกัน มีซุ้มประตูทางเข้า 4 ด้าน ได้สืบทราบมาว่าทุกปีจะมีการจัดงานยิ่งใหญ่นมัสการพระธาตุอิงฮัง โดยจะมีขบวนแห่เทียน และฟ้อนรำถวายองค์พระธาตุ ในช่วงเดือนธันวาคม

พระธาตุอิงฮัง เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมศิลป์ที่สวยงาม ทั้งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่ง หนึ่งอยู่ สปป. ลาว ตั้งอยู่แขวงสะหวันนะเขต ภาคใต้ของลาว และประมาณ 15 กิโลเมตร ระหว่างเส้นทางสะหวันนะเขต-เซโน พระธาตุสูงกว้างด้านละ 9 เมตร มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ย่อมุมเหมือนหอปราสาท เป็นเจดีย์แบบผสมวิหาร คือใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ ้ เพราะมีประตูเข้าออกได้ องค์พระธาตุเจดีย์จัดเป็น 3 ฐานลดหลั่นกันเป็นลำดับ ฐานล่าง ฐานกลาง เป็นศิลปะดั้งเดิม ฐานบน และยอดเจดีย์ เป็นศิลปะสมัยล้านช้าง

tour-phra-that-ing-hung-laos tour-phra-that-ing-hung-laos

ตามหลักฐานประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 10 - 11 ตามตำนานพระอุรังคธาตุบอกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองล้านช้าง ได้ประทับยืนใต้ต้นรัง ทอดพระเนตรภูกำพร้ากลางแม่นํ้าโขง แล้วทรงพยากรณ์ว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในแดนนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระธาตุอิงฮังและพระธาตุพนมเป็นพระธาตุคู่แฝด พระธาตุอิงฮังได้รับการเคารพสักการะจากชาวลาวไม่น้อยกว่าพระธาตุหลวงในเวียงจันทน์

รอบ ๆ องค์พระธาตุ มีอาคารล้อมรอบ มีพระพุทธรูปเรียงราย น่าเลื่อมใสหลังคามุงด้วยเกล็ดไม้ หาดูได้ยากแล้วที่เมืองไทย

ทุกปีจะมีงานบุญนมัสการพระธาตุเป็นงานยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกันกับที่ชาวไทยจัดงานประเพณีนมัสการพระธาตุพนม งานทั้งสองมีขบวนแห่เทียนและการฟ้อนรำถวายองค์พระธาตุเช่นเดียวกัน แต่งานพระธาตุอิงฮังจัดขึ้นก่อนช่วงกลางเดือนธันวาคม ส่วนพระธาตุพนมจะจักในช่วงวันเพ็ญเดือนสาม (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์) ของทุกปี

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1187 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์