รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วัดเชียงทอง ลาว

wat-chiang-thong-loas
วัดเชียงทอง
สำหรับผู้ที่ได้มาถึงเมืองหลวงพระบางจะพลาดการมาชมวัดเชียงทองมิได้เลย แม้จะเป็นวัดสุดท้ายบนเส้นทางการเดินชมเมือง เนื่องจากอยู่สุดถนนสีสะหว่างวงพอดีตรงบริเวณที่แม่น้ำคานไหลมารวมกับแม่น้ำโขงซึ่งเรียกว่า “ปากคาน” แต่ก็เป็นวัดที่ต้องใช้เวลาเที่ยวชมมากที่สุด

ตั้งอยู่บริเวณหัวแหลมที่แม่นํ้าคามไหลมาบรรจบกับแม่นํ้าโขง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองหลวงพระบาง ใกล้บริเวณที่แม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง มีถนนเล็กๆชื่อถนนโพธิสารราช ริมน้ำโขงคั่นอยู่ วัดเชียงทองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2102 –2103 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในบรรดาวัดวาอารามทั้งหมดต้องยกให้วัดเชียงทองเป็นวัดที่สำคัญและสวยงามที่สุด และได้รับการมาเยี่ยมเยือนจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด "นักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว" วัดเชียงทองสร้างขึ้นก่อนหน้าที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทน์ไม่นานนัก และยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชาติศรีสว่างวงศ์ และเจ้ามหาชาติศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของประเทศลาว

เป็นวัดที่มีชื่อเสียงที่สุดและงดงามที่สุดในเมืองหลวงพระบาง เป็นวัดที่สำคัญ สวยงาม และเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมมากที่สุดนักโบราณคดียกย่องว่าวัดเชียงทองเป็นดั่งอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมลาว สร้างขึ้นโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชราวปีพ.ศ 2102 - 2103 ก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังนครเวียงจันทน์ไม่นานนัก สิ่งที่โดดเด่นของวัด ได้แก่ โบสถ์หรือสิม สร้างตามแบบศิลปะล้านช้าง หลังคาสามชั้นลาดลดหลั่นลงมาเกือบจรดฐาน ผนังลงรักปิดทองเรื่องราวพุทธประวัติและทศชาดก พระประธานปางมารวิชัย ผนังด้านหลังของพระอุโบสถ ทำจากกระจกสีตัดต่อกันเป็นรูปต้นทองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เคยมีอยู่ในหลวงพระบาง คล้ายกับต้นโพธิ์ ด้านข้างเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี จุดเด่นที่น่าสนใจอีกจุดของวัดเชียงทองอยู่ที่โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถ ประตูด้านนอกแกะสลักเรื่องราวของรามเกียรติ์ โดยช่างแกะสลักชื่อ เพียตัน ช่างฝีมือดีประจำองค์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาซึ่งชาวพระบาง เรียกว่า พระพุทธทองสุก เป็นพระพุทธรูปโบราณอายุกว่า 400 ปี ด้านหลังโบสถ์มีหอเล็ก 2 หลัง ผนังทาสีชมพู ตกแต่งด้วยกระจกสีเป็นรูปคน สัตว์ บ้านเรือน ต้นไม้ เล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของชาวลาวในอดีต

วัดเชียงทองสร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๐๒-๒๑๐๓ ในรัชสมัยเจ้าไชยเชษฐาธิราช ถือเป็นวัดที่โดดเด่นที่สุดบนแผ่นดินลาวและนับเป็นตัวแทนอันสมบูรณ์ที่สุดของศิลปะสกุลช่างล้านช้าง

ปีพ.ศ.๒๔๒๘ เมื่อครั้งพวกฮ่อธงดำบุกปล้นเมืองหลวงพระบาง ทัพฮ่อซึ่งนำโดยคำฮุมลูกเจ้าเมืองไล ได้ตั้งค่ายอยู่ที่วัดเชียงทองคำฮุมนั้นเคยบวชเป็นจัวหรือเณรอยู่ที่วัดนี้ ดังนั้นจึงรู้ช่องทางในเมืองหลวงพระบางและรู้จักชัยภูมิแถบบ้านเชียงทองเป็นอย่างดี วัดเชียงเป็นวัดสำคัญแห่งเดียวของเมืองหลวงพระบางที่ไม่ถูกเผาในศึกครั้งนั้น ชาวลาวกล่าวว่าเป็นเพราะคำฮุมรู้บุญคุณวัดเชียงทองสมัยมาบวชเรียนอยู่ แต่บ้างก็ว่าเป็นเพราะทัพฮ่อใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งค่ายจึงไม่ได้เผาทิ้ง

wat-chiang-thong-loas-2 wat-chiang-thong-loas-3


พระอุโบสถ
อุโบสถวัดนี้มีจุดเด่นตรงที่มีหลังคาโค้ง และ ชายหลังคา ต่ำลงมา ซึ่งหลังคานี้จะซ้อนกัน 3 ชั้น สำหรับอุโบสถนี้ชาวลาว เรียกกันว่า "สิม" บริเวณกลางหลังคาจะมีช่อฟ้าอยู่ ซึ่งวัดที่พระมหากษัตริย์สร้างนั้นจะมีช่อฟ้า 17 ช่อ แต่ถ้าเป็นคนธรรมดา จะมีช่อฟ้า 1 - 7 ช่อเท่านั้น ด้านหลังของ พระอุโบสถ นี้ ภาพ มีสวยงาม โดยการนำกระจกสี ตัดแล้วประดับเป็นภาพ ในภาพเป็นต้นทอง ซึ่งเคยมีขึ้นอยู่มากมายในบริเวณหลวงพระบาง

พระอุโบสถ ภาษาลาวเรียกว่า สิม เป็นพระอุโบสถหลังไม่ใหญ่โตมากนักหลังคาพระอุโบสถมีหลังคาแอ่นโค้ง ลาดต่ำลงมาซ้อนกันอยู่สามชั้น กล่าวกันว่านี่คือศิลปะแห่งหลวงพระบาง ส่วนกลางของหลังคามีเครื่องยอดสีทองชาวลาวเรียกว่าช่อฟ้า ประกอบด้วย 17 ช่อเป็นข้อสังเกตุว่าวัดที่พระมหากษัตริย์สร้าง จะมีช่อฟ้า 17 ช่อ ส่วนคนสามัญสร้างจะมีช่อฟ้า 1- 7 ช่อเท่านั้น เชื่อว่าบริเวณช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆตรงกลางช่อฟ้าจะมีของมีค่าบรรจุอยู่ ส่วนที่ประดับที่ยอดหน้าบันชาวลาวเรียกว่าโหง่ มีรูปร่างเป็นเศียรนาคและมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับศาสนาพุทธ ประตูพระอุโบสถแกะสลักสวยงามเช่นเดียวกับหน้าต่างภายในพระอุโบสถมีภาพสวยงามที่ผนัง มีลักษณะลวดลายปิดทองฉลุบนพื้นรักสีดำ ส่วนใหญ่เป็นภาพพุทธประวัติเรื่องพระสุธน – มโนราห์ และเรื่องพระเจ้าสิบชาติ

wat-chiang-thong-loas-4

ลักษณะศิลปะและสถาปัดยกรรมส่วนผู้ใหญ่ในวัดเชีียงทองที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างขึ้นเมื่อมีการซ่อมบูรณะครั้งใหญ่่ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และต่อมาถึงเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาซ่งเป็นกษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาวที่ให้ความอุปถัมภ์วัดเชียงทองมากเป็นพิเศษ

ศิลปะล้ี้า้นช้างในวัดเชียงทองที่ปรากฏเด่นชัดได้แก่ สิม หรือ สอุโบสถ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมล้านช้างที่สมบูรณ์แบบ ถือเป็นตัวแทนศิลปะแบบล้านช้าง ทั้งภายนอกและภายในสิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนังลายรดน้ำ ภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา เช่น ไตรภูมิ ทศชาติ ส่วนภายในเป็นภาพนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องท้าวจันทะพานิด ภาพฝาผนังนี้ใช้เทคนิคการลงรักปิดทองซึ่งเรียกแบบชาวลาวว่า “พอกคำ”

เยื้องกับด้านหน้าของสิมเป็นโรงเก็บราชรถ หรือชาวลาวเรียกกันทั่วไปว่า โรงเมี้ยนโกศ เป็นที่เก็บพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.๒๕๐๔ สมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ผนังด้านโรงตั้งแต่หน้าบันจดพื้นสามารถถอดออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำราชรถเก็บเข้าและเคลื่อนออกได้ ทั้งหมดนี้ออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์

ด้านหลังสิมมีวิหารน้อยที่สำคัญสองหลัง คือ หอพระม่านและหอพระพุทธไสยยาสน์ ทั้งสองหลังมีความงดงามในแบบศิลปะไร้มาย (naïve arts) คือ เป็นศิลปะที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา หลุดออกจากกรอบคิดทฤษฎีศิลป์ ศิลปะแบบนี้มักมีสีสดใส แม้จะไม่ประณีต ละเอียด แต่ก็มีความน่ารักอยู่ในตัว วิหารต่าง ๆ ในวัดเชียงทอง แม้จะมีอายุไม่เก่าแก่นัก เพราะสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๑ แต่ก็แสดงถึงงานศิลปะสกุลช่างล้านช้างที่พัฒนาการต่อเนื่องมาถึงขั้นสุดยอด ในขณะที่งานศิลปะพื้นถิ่นของดินแดนต่าง ๆ ในย่านนี้หยุดชะงักลง เนื่องจากอิทธิพลของศิลปะตะวันตก

หอพระม่าน อยู่ด้านหลังสิม ตัวหอตกแต่งด้วยกระจกสีเช่นเดียวกับหอพระพุทธไสยาสน์ “พระม่าน” ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญหนึ่งในสามองค์ของเมืองหลวงพระบาง (อีกสององค์ คือ พระบางและพระเจ้าองค์แสน) ชาวลาวเชื่อว่าหากใครมาบนบานขอลูกกับพระม่านก็จะได้ผลทุกรายไป

wat-chiang-thong-loas-5 wat-chiang-thong-loas-6

หอพระพุทธไสยาสน์ ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์อายุราว ๔๐๐ ปี ประดิษฐานอยู่ มีพุทธลักษณะงดงามตามแบบสกุลช่างหลวงพระบาง ครั้งหนึ่งฝรั่งเศสเคยนำพระพุทธรูปองค์นี้ไปแสดงที่ปารีสในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ภายหลังมหาอุปราชเจ้าเพชรราชรัตนวงศาได้ขอคืนมายังนครหลวงพระบางในปี พ.ศ.๒๕๐๗

ปกติหอพระม่านจะปิดใส่กุญแจไว้ตลอด ส่วนหอพระพุทธไสยาสน์นั้นเปิดให้ชมและทำบุญได้ตลอดทั้งวัน

wat-chiang-thong-loas-7 wat-chiang-thong-loas-8

ส่วนวิหารอีกหลังที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถคือ วิหารพระม่าน ผนังวิหารด้านนอกมีลักษณะคล้ายกับวิหารองค์แรก ภายในวิหารนี้ประดิษฐาน พระม่าน ในช่วงวันขึ้นปีใหม่จะมีการอันเชิญมาให้ประชาชนสรงน้ำและกราบไหว้เป็นประจำทุกปี ผนังด้านหลังวิหารทาด้วยสีชมพูประดับด้วยกระจกสีแสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน สร้างขึ้นใน พ.ศ.2493 เพื่อเฉลิมฉลองที่โลกก้าวสู่ยุคกึ่งพระพุทธกาล ด้านหลังของวิหารพระม่านจะเป็นพระธาตุศรีสว่างวงศ์ ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้ามหาศรีสว่างวงศ์และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นโขงเรือใกล้กับริมแม่น้ำโขง ส่วนด้านหน้าพระอุโบสถเป็นที่ตั้งหอกลองมีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม

ภายในวัดยังมีสถานที่น่าชมอีกแห่งคือ โรงพระราชรถ หรือโรงโกศเมี้ยน ที่เก็่บราชรถและพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์

สร้างเมื่อปีพ.ศ 2505 รูปแบบทรวดทรงทที่งดงามออกแบบโดยเจ้ามณีวงศ์ ส่วนลวดลายแกะสลักอ่อนช้อยประณีตฝีมือของเพี้ยตัน บรมครูด้านจิตรกรรมและประติมากรรมของลาว

สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง
ค่าเข้าชม คนละ 20000 กีบ (ประมาณ 80 บาท)
เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา06.00 - 17.30 น.

สิ่งน่าสนใจ
สิมวัดเชียงทอง
สิมหรืออุโบสถวัดเชียงทองมีหลังคาซ้อนกันสามชั้น เรียกว่า หลังคาปีกนก ป้านลมอ่อนช้อยโค้งยาวลงมาเกือบจดฐาน ทำให้มองดูเหมือนเตี้ย ถือเป็นรูปแบบศิลปะล้านช้างอันงดงามและสมบูรณ์ที่สุดในประเทศลาว

บานประตูสิม
ที่บานประตูสิมใหญ่ด้านหน้าประดับดอกดวงควักแกะสลัก ผนังลงรักปิดทองฉลุลายทั้งภายในและภายนอก ซึ่งเรียกวิธีการแบบนี้ว่า stencil technics งานปิดทองฉลุลายของศิลปะลาวเป็นศิลปะตกแต่ง (decorative arts) แบบหนึ่ง ลวดลายต่าง ๆ มักมีขนาดเล็กเท่ากันหมด

ลายต้นทอง ด้านหลังสิม
ด้านหลังสิมมีลายประดับกระจกสีเป็นรูปต้นไม้ใหญ่ มีนกและสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่ รูปลายนี้หมายถึงต้นทองหรือต้นงิ้วในภาษาไทย เนื่องจากในสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นป่าต้นทอง ชื่อเมืองเชียงทองและวัดเชียงทองก็ได้มาจากป่าต้นทองนี้ กล่าวกันว่าเมื่อร้อยปีที่ผ่านมายังมีต้นทองใหญ่ขนาดสามสี่คนโอบขึ้นอยู่ในบริเวณวัด เมื่อพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาได้ปฏิสังขรณ์วัดเชียงทอง จึงให้ช่างประดับดอกดวงติดแก้วสีเป็นรูปต้นทองไว้หลังสิม เพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นนิมิตรหมายถึงชื่อ “เชียงทอง”

โรงเมี้ยนโกศ
ด้านหน้าของโรงเมี้ยนโกศเป็นงานแกะสลักไม้เรื่องรามเกียรติ์ตอนต่าง ๆ เช่น “สีดาลุยไฟ” “พระลักษมณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์” ฯลฯ ทั้งงานแกะสลักตัวราชรถและโรงเมี้ยนโกศเป็นฝีมือของเพี้ยตัน

อูบมุง
ปกติอูบมุงใช้เป็นที่เก็บพระพุทธรูปพบเห็นได้ตามวัดต่าง ๆ ในหลวงพระบางและวัดบางแห่งทางภาคเหนือของไทย ซึ่งเคยเป็นอาณาจักรล้านนามาก่อนก็ยังปรากฏอูบมุงหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง บางแห่งพระสงฆ์ก็ใช้เป็นที่ปฏิบัติกรรมฐาน ส่วนที่วัดเชียงทองเป็นที่เก็บพระพุทธรูปปางห้ามญาติทองคำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานแด่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์

เจดีย์แปดทิศ
อยู่ด้านหลังหอพระพุทธไสยาสน์ใกล้กับประตูด้านข้างของวัด องค์เจดีย์มีแปดเหลี่ยม มีงานประดับกระจกเป็นรูปสัตว์มงคล ได้แก่ เสือ สิงห์ แมว ครุฑ วัว ช้าง หนู และนาค ดูแลปกป้องทิศทั้งแปดตามคติความเชื่อคนตระกูลไทย-ลาวที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย

หอพระพุทธไสยาสน์
สร้างพร้อมกับสิมของวัดเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ภายในหอมีพระพุทธรูปอธิษฐานสำหรับให้อธิษฐานขอสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วลองยกดู

ลายประดับดอกดวงผนังหอพระม่านและหอพระพุทธไสยาสน์
เป็นภาพนิทานพื้นบ้านและวิถีชีวิตของชาวบ้านหลวงพระบางตกแต่งด้วยกระจกสีตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งทางลาวเรียกว่าการ “ปะดับดอกดวง” สร้างขึ้นเมื่อครั้งบูรณะวัดเชียงทองครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.๒๔๗๑

ปัจจุบันภาพหอพระพุทธไสยาสน์นี้ได้รับการเผยแพร่ไปทั่ว กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของหลวงพระบางไปแล้ว

wat-chiang-thong-loas-9 wat-chiang-thong-loas-10

 

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 922 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์