เทียนพระราชทาน อุบลราชธานี
สารบัญ
เทียนพรรษาพระราชทานสำหรับจังหวัด อุบลราชธานี
การขอพระราชทานเทียนพรรษาสำหรับจังหวัดอุบลราชธานีมีจุดเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เมื่อคณะกรรมการจัดงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในเวลานั้น (นายประมูล จันทรจำนง) พิจารณาเห็นว่าการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาซึ่งเริ่มจัดขึ้นเป็นงานยิ่งใหญ่ระดับชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมานั้น มีการประชาสัมพันธ์ไปยังนานาชาติด้วย ดังนั้น จึงสมควรที่จะมีสิ่งที่เป็นมงคลหรือเป็นหลักชัย และเป็นสัญลักษณ์ของงานให้มีความยิ่งใหญ่และความสำคัญยิ่งขึ้น จึงพร้อมใจกันกราบบังคมทูลขอพระราชทานเทียนพรรษาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในเทศกาลเข้าพรรษาเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่่พระอารามหลวงอื่นในพระราชอาณาจักรตามปกติอยู่แล้ว เพื่ออัญเชิญเป็นเทียนชัยมิ่งมงคล นำขบวนแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี และนำไปจุดบูชาพระรัตนตรัยในพระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
ในปี พ.ศ.2522 คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ได้พิจารณาร่วมกันว่า การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี เป็นงานใหญ่ระดับชาติ และได้มีการประชาสัมพันธ์ไปยังนานาชาติอีกด้วย สมควรที่จะมีสิ่งที่เป็นมงคล หรือเป็นหลักชัย และสัญลักษณ์ของงาน ให้มีความยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งขึ้น จึงได้พร้อมใจกันกราบบังคมทูล ขอพระราชทานเทียนพรรษาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเทศกาลเข้าพรรษา เป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่พระอารามหลวงปกติ เพื่ออัญเชิญเป็นเทียนชัยมิ่งมงคล นำขบวนแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี และนำไปจุดบูชาพระรัตนตรัยในพระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป
เทียนพรรษาที่พระราชทานมาถวายยังพระอารามหลวงใ้นจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เป็นเทียนหล่อลำเร็จทรงแปดเหลี่ยมประดับลายไทย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔ นิ้ว สูงประมาณ ๑ เมตร ลำต้้นเทียนเป็นสีแดง โคนและยอดเทียนเป็นสีทอง มีฐานไม้ทรงแปดเหลี่ยมรองรับ องค์ประกอบสำคัญที่พระราชทานมาพร้อมกับต้นเทียนสามอย่าง ได้แก่ ไจฝ้ายสำหรับทำเป็นเส้นเทียน ๑ ไจ เทียนชนวนทำจากขี้ผึ้งแท้ ๑ เล่ม และไม้ขีดไฟ ๑ กลัก
ซึ่งก็นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาแก่จังหวัดอุบลราชธานีตามความประสงค์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น (นายประมูล จันทรจำนง) พร้อมคณะ ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการจัดงานฯ เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเทียนพรรษาจากพระองค์ท่าน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ก่อนวันเริ่มงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประมาณ 7 วัน
แล้วคณะผู้เข้าเฝ้าฯ ได้อัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานมาทางเครื่องบิน และมีพิธีรับอย่างสมพระเกียรติ พร้อมอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นเทียนชัยมิ่งมงคลในงานและนำในขบวนแห่เทียนพรรษา และก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคตลอดมา ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นที่ปลาบปลื้มปิติของหมู่พสกนิกรชาวอุบลราชธานีเป็นอย่างยิ่ง
เทียนพรรษาพระราชทานเป็นเทียนหล่อสำเร็จ ประดับด้วยลายไทย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว สูงประมาณ 1 เมตร ทรง 8 เหลี่ยม ลำต้นสีแดง ตรงโคนและยอดเป็นสีทอง มีฐานเป็นไม้ทรง 8 เหลี่ยมคล้ายพานรองรับ องค์ประกอบที่สำคัญ ที่พระราชทานพร้อมกับต้นเทียน 3 อย่าง ได้แก่
- ไจฝ้าย สำหรับทำไส้เทียน 1 ไจ
- เทียนชนวน ทำจากขี้ผึ้งแท้ 1 เล่ม
- และไม้ขีดไฟ 1 กลัก
เมื่อผู้เข้าเฝ้าฯ ได้รับพระราชทานเทียนพรรษาพระราชทานแล้ว จะอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานมาทางเครื่องบิน โดยทางบริษัทการบินไทย ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนในการอัญเชิญ ด้วยการอำนวยความสะดวกยกเว้นค่าโดยสารบางส่วน และคิดค่าโดยสารครึ่งหนึ่งสำหรับคณะผู้อัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานเป็นกรณีพิเศษอีกด้วย
ที่สนามบินนานาชาติอุบลราชธานี จะมีพิธีรับเทียนพรรษาพระราชทานอย่างสมพระเกียรติ โดยการจัดรูปขบวนอันประกอบด้วย วงโยธวาทิต กองเกียรติยศลูกเสือ เนตรนารี นักศึกษาวิชาทหาร บรรดาข้าราชการทุกหมู่เหล่า แต่งเครื่องแบบปกติขาว และกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ อันยาวเหยียด เคลื่อนไปพร้อมกับรถบุษบกอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทาน ไปยังจุดที่ตั้ง ที่ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี หรือสถานที่เหมาะสมอื่นๆ ซึ่งแล้วแต่กรรมการจัดงานจะเป็นผู้กำหนด เพื่อรอวันเปิดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจะเริ่มขึ้น จึงจะมีพิธีอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานไปประดิษฐานไว้เป็นเทียนชัยมิ่งมงคล ในบริเวณพิธีเปิดงานที่ลานจตุรมุขทุ่งศรีเมือง ในการอัญเชิญ ก็จะมีพิธีอย่างสมพระเกียรติ เช่นเดียวกับพิธีในวันรับที่สนามบินนานาชาติอุบลราชธานี
ขั้นตอนการขอพระราชทานเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีที่ปฏิบัติสืบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ มีดังนี้ก่อนงานประเพณีแห่เทียนพรรษาประมาณ ๒ เดือน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี (เดิมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของเรื่อง เสนอเรื่องราวเพื่อกราบบังคมทูลขอพระราชทานเทียนพรรษาไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีลงนามในหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการเพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานเทียนพรรษา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาแล้ว สำนักราชเลขาธิการจะแจ้งหมายกำหนดการให้เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานเทียนพรรษา โดยให้กำหนดตัวบุคคลที่จะเข้าเฝ้าด้วย ตามปกติจะกำหนดเวลาประมาณ ๕ - ๗ วันก่อน ถึงวันเข้าพรรษา ส่วนสถานที่เข้าเฝ้ารับพระราชทานเทียนพรรษานั้น จะเป็นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต หรือสถานที่อื่นใดนั้นสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่วนคณะผู้เข้ารับพระราชทานเทียนพรรษานั้น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีเมืองอุบลราชธานี หัวหน้าลำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี และบุคคลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรอีก ๒ - ๓ คน
เมื่อได้รับพระราชทานเทียนพรรษาแล้ว คณะผู้เข้าเฝ้าฯ จะอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานมาทางอากาศ ซึ่งบริษัทการบินไทยได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการอัญเชิญ โดยการยกเว้นค่าโดยสารบางส่วน และคิดด่าโดยสารครึ่งหนึ่ง สำหรับคณะผู้อัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทาน เป็็นกรณีพิเศษอีกด้วย เมี่อเครื่องบินเดินทางมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติจ้งหวัดอุบลราชธานี ก็จะมีการจัดพิธีรับอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ โดยการจัดรูปขบวนอันประกอบด้วย วงโยธวาทิต กองเกียรติยศลูกเสือเนตรนารี นักศึกษาวิชาทหาร พร้อมข้าราชการทุกหมู่เหล่า พสกนิกร และกลุ่มพลังมวลชนต่าง ๆ เคลื่อนไปพร้อมกับรถบุษบกอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานไปยังจุดที่ตั้ง ซึ่งจะเป็นศาลากลางจังหวัดหรือสถานที่อื่นที่มีความเหมาะสมตามที่คณะกรรมการจัดงานกำหนด เพื่อรอวันเปิดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจะเริ่มขึ้น จึงจะมีการอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานไปประดิษฐานไว้เป็นเทียนชัยมิ่งมงคลในบริเวณพิธีเปิดงานที่ลานหน้าศาลาจัตุรมุขทุ่งศรีเมือง โดยมีพิธีอัญเชิญที่จัดอย่างสมพระเกียรติเช่นเดียวกับพิธีในวันรับเทียนพรรษาพระราชทานที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดอุบลราชธานีทุกประการ
การกำหนดว่าในแต่ละปีจะนำเทียนพรรษาพระราชทานไปถวายยังพระอารามหลวงแห่งใดนั้น ใช้วิธีหมุนเวียนกันไปตามวัดพระอารามหลวงของจังหวัด ซึ่งมีด้วยกัน ๓ แห่ง ได้แก่ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร วัดมหาวนาราม และวัดศรีอุบลรัตนาราม โดยเรียงตามลำดับการได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงของวัดนั้น ๆ กล่าวคือ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร๋ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ วัดมหาวนารามได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ และวัดศรีอุบลรัตนาราม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนั้น วัดที่ได้รับพระราชทานเทียนพรรษาในสามปีแรก ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ จึงได้แก่ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร วัดมหาวนาราม และวัดศรีอุบลรัตนาราม ตามลำดับ
การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยมีพระราชปรารภว่า เดิมเทียนพรรษาหล่อด้วยขี้ผึ้ง ล้วนมีเกณฑ์การพระราชทานเทียนดังกล่าวอยู่กว้าง ๆ คือ วัดพระอารามหลวที่ได้รับพระราชทานนิตยภัตปีละสองสลึง ก็จะได้รับพระราชทานเทียนพรรษาวัดละ ๑ เล่ม หรือ มากกว่านั้นบ้างทุกวัด ปริมาณเทียนพรรษาที่จะต้องหล่อและพระราชทานไปยังพระอารามเหล่านั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกรัชกาล เมื่อนับตั้งแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนกระทั่งปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเทียนพรรษาที่ต้องพระราชทานในแต่ละปีถึงเกือบร้อยเล่ม โดยเทียนแต่ละเล่มนั้นใช้ขี้ผึ้งหนัก ๑๖ ชั่ง คิดเป็นปริมาณขี้ผึ้งจำนวนมหาศาล ดังนั้นการจะหล่อเทียนพรรษาในแต่ละปี จึงใช้วิธีการบอกกล่าวพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ตลอดจนเจ้าภาษี นายอากร ขอขี้ผึ้งมาช่วยเหลือทุกปี จะเริ่มลงมือหล่อเทียนพรรษาในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๗ หากปีใดมีอธิกมาส (ปีที่มีเดือนแปดสองหน) ก็จะเลื่อนการหล่อเทียนพรรษาออกไปเป็นวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๘ (แรก) ทั้งนี้เทียนพรรษาที่หล่อสำหรับถวายหอพระและพุทธมนเทียรนั้นทรงหล่อที่ฝ่ายใน ส่วนเทียนพรรษาสำหรับถวายที่อื่น ๆ นั้นหล่อที่ฝ่ายหน้าทั้งสิ้น
เมื่อลองคิดน้ำหนักเทียนพรรษาตามเกณฑ์ปัจจุบันที่ น้ำหนัก ๑ บาท เท่ากับ ๑๕.๒ กรัมแล้ว จะเห็นได้ว่าเทียนเล่มหนึ่ง ซึ่งมีน้ำหนัก ๑๖ ชั่ง (หนึ่งชั่งเท่ากับ ๘๐ บาท หรึอ ๑๒.๑๖ กิโลกรัม) จึงมีน้ำหนักถึง ๑๙๔.๕๖ กิโลกรัม