รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

เทียนพระราชทาน อุบลราชธานี

สารบัญ

เทียนพรรษาพระราชทาน

tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani

การพระราชทานเทียนพรรษาถือเป็นการพระราชกุศลอย่างหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดทำขึ้น เพื่อพระราชทานไปถวายเป็นพุทธบูชายังพระอารามหลวงต่างๆ เป็นประจำปี

หลักฐานสมัยรัตนโกสินทร์ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการพระราชทานเทียนพรรษาที่ควรกล่าวถึงเป็นชิ้นแรก คือ โคลงพระราชพิธีทวาทศมาศ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กราพระยาบำราบปรปักษ์ ผู้ทรงเป็นต้นราชสกุล “มาลากุล” โคลงพระราชพิธีดังกล่าว เป็นเอกสารสำคัญที่พรรณนาถึงแบบแผนการปฎิบัติพระราชพิธี ตลอดจนวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของราษฎรทั่วไปในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นักวิชาการในปัจจุบันสันนิษฐานว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงพระนิพนธ์โคลงทวาทศมาส ขึ้นมาระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๒๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เฉพาะในตอนที่กล่าวถึง การพระราชกุศลฉลองเทียนพรรษานั้น ทำให้ทราบว่ามีการเจริญพระพุทธมนต์ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดีอน ๘ และในวันรุ่งขึ้นก็จะมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์จำนวน ๒๐ รูป ส่วนในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าวั นอาสาฬหบูชา) เป็นวันที่กำหนดให้มีการนิมนต์พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายรามัญเข้ามารับพุ่มเทียนพระราชทานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ทรงเข้ารับจุดเทียนพรรษาพระราชทาน แล้วนำไปถวายยังพระอารามหลวงที่ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐิน ครั้นถึงวันแรมค่ำ ๑ เดือน ๘ (คือวันเข้าพรรษา) พระภิกษุสงฆ์จะเข้ามารับพระราชทานฉันภัตตาหารและสดับปกรณ์เพื่อเป็นการอุทิศพระราชกุศลแด่บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์

เทียนพรรษานั้นจัดตั้ง รวมถวาย
สวดสิบสามค่ำหมาย บอกไว้
ฉันวันสิบสี่ราย ยี่สิบ รูปเอย
ในพระที่นั่งไท้ ธเรศเจ้าจอมเมือง
วันสิบห้าค่ำนั้น วันนัด นิมนต์แฮ
ในวัดพระศรีรัตน์ มากล้วน
ราชาคณะปริยัติ อีก พระ ครูเฮย
ถวายพุ่มเทียนครบถ้วน ทั่วทั้งไทยมอญ
เกณฑ์พระวงษ์เยาวหนุ่มน้อย เนื่องมา
รับจุดเทียนพรรษา ทั่วทั้ง
วัดหลวงแต่บรรดา ได้พระ กฐินเฮย
จ่ายแจกเทียนไปตั้ง ทุกถ้วนอาราม
ฉันแรมค่ำหนึ่งได้ สัปดปกรณ์
ในพระที่นั่งอดิศร ผ่านเผ้า
ทุกนักขัตฤกษ์จร ฤาว่าง เว้นเฮย
อุทิศแด่พระร่มเกล้า ล่วงแล้วเสวยสวรรค์

ข้อความในโคลงพระราชพิธีทวาทศมาสที่ยกมาข้างต้นสอดคล้องกับเนื้อหาในหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ให้รายละเอียดส่วนใหญ่ เกี่ยวกับการพระราชทานเทียนพรรษาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงริเริ่มพระราชนิพนธ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ โดยกล่าวถึงการพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ อันเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ต้องการค้นคว้าเรื่องพระราชพิธีและวัฒนธรรมต่าง ๆ

tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani

การพระราชทานเทียนพรรษาเพื่อถวายยังพระอารามในหัวเมือง
หลักฐานที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการพระราชทานเทียนพรรษาเพื่อถวายยังพระอารามในหัวเมือง เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๐ หน้า ๑๙๕ ประจำวันที่ ๒๘ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ (คงการละกดการันต์ตามต้นฉบับ)

“...ด้วยเทียนพรรษาซึ่งทรงหล่อขึ้นสำหรับจุดในเวลาเข้าพรรษานั้น เมื่อ ณ วันที ๒๓ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๒ เจ้าพนักงานกรมพระคลังศุภรัตได้นำเทียนพรรษาที่ส่าหรับพระราชทานไปยังพระอารามต่าง ๆ ตามหัวเมือง มาตั้งถวายที่ห้องกลางพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมเทียนพรรษา ทรงพระราชอุทิศเปนพุทธบูชูา แล้วเจ้าพนักงานจะได้จัดส่งไปตามพระอารามต่าง ๆ ต่อไป มีจำนวนเทียนแจ้งต่อไปนี้ คือ...”

เทียนหล่อใหญ่

พระพุทธชินราข วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก
พระพุทธบาท
พระพุทธนฤมลธรรโมภาส วัดนิเวศธรรมบระวัติ เกาะบางปอิน
พระปฐมเจดีย์ เมืองนครไชยศรี
พระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช

เทียนหล่อเล็ก

พระพุทธบาท เกาะสีชัง

เทียนไม้สลัก

วัดศาลาปูน กรุงเก่า
วัดเสนาศนาราม กรุงเก่า
วัดสุวรรณดาราราม กรุงเก่า
วัดพนันเชิง กรุงเก่า
วัดบรมวงศ์อิศรวราราม กรุงเก่า
หอไตรวัดนิเวศธรรมประวัติ บางปะอิน
วัดชุมพลนิกายาราม บางปะอิน
วัดป่าโมกข์ เมืองอ่างทอง
วัดไชโย เมืองอ่างทอง
วัดพระนอนจักษี เมืองสิงหบุรี
วัดกระวิศราราม เมืองลพบุรี
วัดอัมพวันเจติยาราม เมีองสมุทสงคราม
วัดมหาสมณาราม เมืองเพ็ชรบุรี
วัดปรไมยิกาวาศ เมืองนนทบุรี
วัดจุฑาทิศน์ธรรมสภาราม เกาะสีชัง

รวมเทียนหล่อใหญ่ ๕ เทียนหล่อเล็ก ๑ เทียนไม้แกะสลัก ๑๕


tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani

เทียนพรรษาพระราชทานสำหรับจังหวัด อุบลราชธานี
การขอพระราชทานเทียนพรรษาสำหรับจังหวัดอุบลราชธานีมีจุดเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เมื่อคณะกรรมการจัดงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในเวลานั้น (นายประมูล จันทรจำนง) พิจารณาเห็นว่าการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาซึ่งเริ่มจัดขึ้นเป็นงานยิ่งใหญ่ระดับชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมานั้น มีการประชาสัมพันธ์ไปยังนานาชาติด้วย ดังนั้น จึงสมควรที่จะมีสิ่งที่เป็นมงคลหรือเป็นหลักชัย และเป็นสัญลักษณ์ของงานให้มีความยิ่งใหญ่และความสำคัญยิ่งขึ้น จึงพร้อมใจกันกราบบังคมทูลขอพระราชทานเทียนพรรษาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในเทศกาลเข้าพรรษาเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่่พระอารามหลวงอื่นในพระราชอาณาจักรตามปกติอยู่แล้ว เพื่ออัญเชิญเป็นเทียนชัยมิ่งมงคล นำขบวนแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี และนำไปจุดบูชาพระรัตนตรัยในพระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี

ในปี พ.ศ.2522 คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ได้พิจารณาร่วมกันว่า การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี เป็นงานใหญ่ระดับชาติ และได้มีการประชาสัมพันธ์ไปยังนานาชาติอีกด้วย สมควรที่จะมีสิ่งที่เป็นมงคล หรือเป็นหลักชัย และสัญลักษณ์ของงาน ให้มีความยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งขึ้น จึงได้พร้อมใจกันกราบบังคมทูล ขอพระราชทานเทียนพรรษาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเทศกาลเข้าพรรษา เป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่พระอารามหลวงปกติ เพื่ออัญเชิญเป็นเทียนชัยมิ่งมงคล นำขบวนแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี และนำไปจุดบูชาพระรัตนตรัยในพระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป

เทียนพรรษาที่พระราชทานมาถวายยังพระอารามหลวงใ้นจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เป็นเทียนหล่อลำเร็จทรงแปดเหลี่ยมประดับลายไทย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔ นิ้ว สูงประมาณ ๑ เมตร ลำต้้นเทียนเป็นสีแดง โคนและยอดเทียนเป็นสีทอง มีฐานไม้ทรงแปดเหลี่ยมรองรับ องค์ประกอบสำคัญที่พระราชทานมาพร้อมกับต้นเทียนสามอย่าง ได้แก่ ไจฝ้ายสำหรับทำเป็นเส้นเทียน ๑ ไจ เทียนชนวนทำจากขี้ผึ้งแท้ ๑ เล่ม และไม้ขีดไฟ ๑ กลัก

ซึ่งก็นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาแก่จังหวัดอุบลราชธานีตามความประสงค์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น (นายประมูล จันทรจำนง) พร้อมคณะ ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการจัดงานฯ เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเทียนพรรษาจากพระองค์ท่าน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ก่อนวันเริ่มงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ประมาณ 7 วัน

แล้วคณะผู้เข้าเฝ้าฯ ได้อัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานมาทางเครื่องบิน และมีพิธีรับอย่างสมพระเกียรติ พร้อมอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นเทียนชัยมิ่งมงคลในงานและนำในขบวนแห่เทียนพรรษา และก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคตลอดมา ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นที่ปลาบปลื้มปิติของหมู่พสกนิกรชาวอุบลราชธานีเป็นอย่างยิ่ง

เทียนพรรษาพระราชทานเป็นเทียนหล่อสำเร็จ ประดับด้วยลายไทย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว สูงประมาณ 1 เมตร ทรง 8 เหลี่ยม ลำต้นสีแดง ตรงโคนและยอดเป็นสีทอง มีฐานเป็นไม้ทรง 8 เหลี่ยมคล้ายพานรองรับ องค์ประกอบที่สำคัญ ที่พระราชทานพร้อมกับต้นเทียน 3 อย่าง ได้แก่
- ไจฝ้าย สำหรับทำไส้เทียน 1 ไจ
- เทียนชนวน ทำจากขี้ผึ้งแท้ 1 เล่ม
- และไม้ขีดไฟ 1 กลัก

เมื่อผู้เข้าเฝ้าฯ ได้รับพระราชทานเทียนพรรษาพระราชทานแล้ว จะอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานมาทางเครื่องบิน โดยทางบริษัทการบินไทย ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนในการอัญเชิญ ด้วยการอำนวยความสะดวกยกเว้นค่าโดยสารบางส่วน และคิดค่าโดยสารครึ่งหนึ่งสำหรับคณะผู้อัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานเป็นกรณีพิเศษอีกด้วย

ที่สนามบินนานาชาติอุบลราชธานี จะมีพิธีรับเทียนพรรษาพระราชทานอย่างสมพระเกียรติ โดยการจัดรูปขบวนอันประกอบด้วย วงโยธวาทิต กองเกียรติยศลูกเสือ เนตรนารี นักศึกษาวิชาทหาร บรรดาข้าราชการทุกหมู่เหล่า แต่งเครื่องแบบปกติขาว และกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ อันยาวเหยียด เคลื่อนไปพร้อมกับรถบุษบกอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทาน ไปยังจุดที่ตั้ง ที่ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี หรือสถานที่เหมาะสมอื่นๆ ซึ่งแล้วแต่กรรมการจัดงานจะเป็นผู้กำหนด เพื่อรอวันเปิดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจะเริ่มขึ้น จึงจะมีพิธีอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานไปประดิษฐานไว้เป็นเทียนชัยมิ่งมงคล ในบริเวณพิธีเปิดงานที่ลานจตุรมุขทุ่งศรีเมือง ในการอัญเชิญ ก็จะมีพิธีอย่างสมพระเกียรติ เช่นเดียวกับพิธีในวันรับที่สนามบินนานาชาติอุบลราชธานี

ขั้นตอนการขอพระราชทานเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีที่ปฏิบัติสืบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ มีดังนี้ก่อนงานประเพณีแห่เทียนพรรษาประมาณ ๒ เดือน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี (เดิมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของเรื่อง เสนอเรื่องราวเพื่อกราบบังคมทูลขอพระราชทานเทียนพรรษาไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีลงนามในหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการเพื่อขอให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานเทียนพรรษา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนพรรษาแล้ว สำนักราชเลขาธิการจะแจ้งหมายกำหนดการให้เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานเทียนพรรษา โดยให้กำหนดตัวบุคคลที่จะเข้าเฝ้าด้วย ตามปกติจะกำหนดเวลาประมาณ ๕ - ๗ วันก่อน ถึงวันเข้าพรรษา ส่วนสถานที่เข้าเฝ้ารับพระราชทานเทียนพรรษานั้น จะเป็นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต หรือสถานที่อื่นใดนั้นสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่วนคณะผู้เข้ารับพระราชทานเทียนพรรษานั้น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีเมืองอุบลราชธานี หัวหน้าลำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี และบุคคลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรอีก ๒ - ๓ คน

tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani

เมื่อได้รับพระราชทานเทียนพรรษาแล้ว คณะผู้เข้าเฝ้าฯ จะอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานมาทางอากาศ ซึ่งบริษัทการบินไทยได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการอัญเชิญ โดยการยกเว้นค่าโดยสารบางส่วน และคิดด่าโดยสารครึ่งหนึ่ง สำหรับคณะผู้อัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทาน เป็็นกรณีพิเศษอีกด้วย เมี่อเครื่องบินเดินทางมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติจ้งหวัดอุบลราชธานี ก็จะมีการจัดพิธีรับอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ โดยการจัดรูปขบวนอันประกอบด้วย วงโยธวาทิต กองเกียรติยศลูกเสือเนตรนารี นักศึกษาวิชาทหาร พร้อมข้าราชการทุกหมู่เหล่า พสกนิกร และกลุ่มพลังมวลชนต่าง ๆ เคลื่อนไปพร้อมกับรถบุษบกอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานไปยังจุดที่ตั้ง ซึ่งจะเป็นศาลากลางจังหวัดหรือสถานที่อื่นที่มีความเหมาะสมตามที่คณะกรรมการจัดงานกำหนด เพื่อรอวันเปิดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจะเริ่มขึ้น จึงจะมีการอัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานไปประดิษฐานไว้เป็นเทียนชัยมิ่งมงคลในบริเวณพิธีเปิดงานที่ลานหน้าศาลาจัตุรมุขทุ่งศรีเมือง โดยมีพิธีอัญเชิญที่จัดอย่างสมพระเกียรติเช่นเดียวกับพิธีในวันรับเทียนพรรษาพระราชทานที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดอุบลราชธานีทุกประการ

การกำหนดว่าในแต่ละปีจะนำเทียนพรรษาพระราชทานไปถวายยังพระอารามหลวงแห่งใดนั้น ใช้วิธีหมุนเวียนกันไปตามวัดพระอารามหลวงของจังหวัด ซึ่งมีด้วยกัน ๓ แห่ง ได้แก่ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร วัดมหาวนาราม และวัดศรีอุบลรัตนาราม โดยเรียงตามลำดับการได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงของวัดนั้น ๆ กล่าวคือ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร๋ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ วัดมหาวนารามได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ และวัดศรีอุบลรัตนาราม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนั้น วัดที่ได้รับพระราชทานเทียนพรรษาในสามปีแรก ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๔ จึงได้แก่ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร วัดมหาวนาราม และวัดศรีอุบลรัตนาราม ตามลำดับ

การพระราชกุศลหล่อเทียนพรรษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเคยมีพระราชปรารภว่า เดิมเทียนพรรษาหล่อด้วยขี้ผึ้ง ล้วนมีเกณฑ์การพระราชทานเทียนดังกล่าวอยู่กว้าง ๆ คือ วัดพระอารามหลวที่ได้รับพระราชทานนิตยภัตปีละสองสลึง ก็จะได้รับพระราชทานเทียนพรรษาวัดละ ๑ เล่ม หรือ มากกว่านั้นบ้างทุกวัด ปริมาณเทียนพรรษาที่จะต้องหล่อและพระราชทานไปยังพระอารามเหล่านั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกรัชกาล เมื่อนับตั้งแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนกระทั่งปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเทียนพรรษาที่ต้องพระราชทานในแต่ละปีถึงเกือบร้อยเล่ม โดยเทียนแต่ละเล่มนั้นใช้ขี้ผึ้งหนัก ๑๖ ชั่ง คิดเป็นปริมาณขี้ผึ้งจำนวนมหาศาล ดังนั้นการจะหล่อเทียนพรรษาในแต่ละปี จึงใช้วิธีการบอกกล่าวพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ตลอดจนเจ้าภาษี นายอากร ขอขี้ผึ้งมาช่วยเหลือทุกปี จะเริ่มลงมือหล่อเทียนพรรษาในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๗ หากปีใดมีอธิกมาส (ปีที่มีเดือนแปดสองหน) ก็จะเลื่อนการหล่อเทียนพรรษาออกไปเป็นวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๘ (แรก) ทั้งนี้เทียนพรรษาที่หล่อสำหรับถวายหอพระและพุทธมนเทียรนั้นทรงหล่อที่ฝ่ายใน ส่วนเทียนพรรษาสำหรับถวายที่อื่น ๆ นั้นหล่อที่ฝ่ายหน้าทั้งสิ้น

เมื่อลองคิดน้ำหนักเทียนพรรษาตามเกณฑ์ปัจจุบันที่ น้ำหนัก ๑ บาท เท่ากับ ๑๕.๒ กรัมแล้ว จะเห็นได้ว่าเทียนเล่มหนึ่ง ซึ่งมีน้ำหนัก ๑๖ ชั่ง (หนึ่งชั่งเท่ากับ ๘๐ บาท หรึอ ๑๒.๑๖ กิโลกรัม) จึงมีน้ำหนักถึง ๑๙๔.๕๖ กิโลกรัม


ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด ฯให้เลิกการหล่อเทียนพรรษา แล้วทำเทียนไม้ปั้นลายลงรักปิดทอง ด้านปลายทำเป็นลายขี้ผึ้งแทน จากนั้นเจ้าพนักงานจะทำกระบอกตะกั่วเป็นรูปถ้วยถวายให้ทรงหยอดขี้ผึ้ง พอเต็มด้วยแล้วนำไปตั้งลงในช่องปลายเทียนไม้ เทียนดังกล่าวจะจุดในวันแรกของการเข้าพรรษา จากนั้นเจ้าพนักงานจะจ่ายน้ำมันให้เติมเทียนดังกล่าวเหมือนอย่างตะเกียงไปเรื่อย ๆ กระนั้นเทียนขี้ผึ้งอย่างเก่าก็โปรดให้คงไว้แต่เฉพาะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตลอดจนพระอารามและปูชนียสถานต่าง ๆ รวม ๑๙ เล่ม

ในรัชกาลปัจจุบันเทียนพรรษาหล่อขึ้นที่โรงหล่อเทียนหลวงในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยมีการจัดทำพิมพ์เทียนพรรษาขึ้นใหม่ จากปูนปลาสเตอร์หินแทนแม่พิมพ์เดิมที่ใช้อยู่ที่แผนกศุภรัต พร้อมทั้งปรับปรุงวิธีการหล่อให้สามารถจัดทำได้รวดเร็วขึ้น ต่อมาก็พัฒนาแม่พิมพ์โดยใช้ยางซิลิโคนที่ทำให้ได้เทียนสลักที่มีลวดลายชัดเจนกว่าเดิม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจิมเทียนพรรษาก่อนวันเข้าพรรษาประมาณ ๗ วัน พร้อมกับพระราชทานเทียนชนวนและไม้ขีดไฟ ไปจุดเป็นพุทธบูชาตามพระอารามหลวงที่ได้รับพระราชทาน จำนวนเทียนหล่อใหญ่ ๓๑ เล่ม เทียนหล่อเล็ก ๒ เล่ม (เทียนเล็กสำหรับพระะพุทธบุษยรัตน์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต) และกระจุบเทียนสลัก ๕๐ เล่ม กระจุบเทียนสลักนี้ใช้ทั้งบนลำเทียน ซึ่งทำด้วยไม้แกะสลักลงรักปิดทอง มีกรวยกระบอกรูปถ้วยทำด้วยสังกะสี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหยอดขี้ผึ้งไว้แทนเทียนทั้งต้น และพระราชทานน้ำมันมะพร้าวไว้สำหรับเพิ่มเมื่อเทียนขี้ผึ้งหมด

การพระราชกุศลฉลองเทียนพรรษา
เทียนพรรษาพระราชทานแบ่งเป็นสองแบบ คือ แบบแรกเป็นเทียนพรรษาที่ทรงพระราชทานถวายยังพระอารามในหัวเมือง ซึ่งเมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าพนักงานจะนำเทียนเหล่านั้นมาถวายพระมหากษัตริย์ทรงจบพระหัตถ์ก่อนจะส่งไปให้ทันจุดในเวลา กลางคืน เทียนพรรษาแบบที่สองเป็นเทียนพรรษาที่จัดทำขึ้นเพื่อทรงถวายในพระอารามที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งเมื่อจัดทำเลร็จแล้วเจ้าพนักงานจะยกมาตั้งที่เฉลียงท้องพระโรง มีพระราชาคณะ จำนวน ๒๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ โดยตั้งพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นพระประธานตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๘ ครั้นวันรุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารตามปกติแต่ เพิ่มการที่เจ้าพนักงานกรมพระคลังศุภรัตจะทำหน้าที่ตะโกน ทูลจำนวนเทียนที่หน้าพระสงฆ์ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงอนุโมทนา เมื่อพระสงฆ์กลับจากการฉัน พระมหากษัตริย์จะทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมเทียนพรรษาทุกเล่ม แล้วเจ้าพนักงานจึงนำไปตั้งในพระอุโบสถต่าง ๆ ตามที่มีกำหนดไว้

ครั้นเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดึอน ๘ พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินออก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชทานเลี้ยงภัตตาหารพระสงฆ์จำนวน ๓๐ รูป แล้วทรงจุดเทียนพรรษาเล่มแรกถวายเป็นพุทธบูชา โดยใช้ไฟที่เกิดจากการล่องด้วยพระแว่นลงยาราชาวดี มีลักษณะคล้ายแว่นขยายทำด้วยแก้วหนา ซึ่งถือกันว่า ไฟที่ได้มาด้วยวิธีดังกล่าวเป็นไฟบริสุทธิ์ ซึ่งชาวอินเดียประพฤติมาแต่โบราณ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า

“...อีกส่วนหนึ่งเป็นเครื่องบูชาที่บริสุทธิ์ คือ จุดเทียนพรรษา จุดเทียนรุ่งในการวิสาขบูชา จุดเทียนพระมหามงคลเทียบเท่าพระองค์ในการเฉลิมพระชนมพรรษา นับว่าเป็นบูชาด้วยเพลิงบริสุทธิ์...”

เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงจุดเทียนพรรษาแล้ว ก็จะถวายเครื่องสักการะต่าง ๆ มีต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ธูปแพ เทียนแพ และดอกไม้รองพานทองสองชั้น เป็นอาทิ แด่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จากนั้นเสด็จไปถวายพุ่มเทียนและส่งของอื่น ๆ เช่น กระถางต้นไม้ กระทงเมี่ยง เทียนมัดหนึ่งร้อยเล่ม ไม้สีฟัน ไม้ขูดลิ้น ไม้ชำระ หมากพลู เป็นต้น แด่พระราชาคณะ พระครูราชาคณะทั้งในกรุงและหัวเมืองใกล้เคียง ตลอดจนพระราชวงศ์ที่ทรงผนวช และมหาดเล็กที่บวช บางองค์ก็เข้ามารับของถวายต่อพระหัตถ์ในพระอุโบสถบ้างก็มี

จากนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงแจกเทียนชนวนสำหรับจุดเทียนพรรษาแก่พระบรมวงศานุวงศ์ให้ไปทรงจุดเทียนพรรษาตามพระอารามต่าง ๆ เทียนชนวนนั้นจะนำไปใส่ไว้ในโคมไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพุ่มเครื่องนมัสการสำหรับพระอารามแต่ละแห่ง มหาดเล็กเป็นผู้รับจากเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบไปเท่ากับจำนวนเทียนพรรษาที่ตั้งถวายในพระอารามต่าง ๆ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หอพระเสถียรธรรมปริตร หอพระคันธารราษฎร์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ วัดราชประดิษฐ์ วัดราชบพิธ วัดมหาธาตุ วัดพระเชตุพน วัดบวรนิเวศ วัดสุวรรณาราม วัดสระเกศ วัดชัยพฤษมาลา วัดประยูรวงศาราม วัดนวลนรดิศ วัดปากน้ำ วัดอัปสรสวรรค์ วัดสัมพันธวงศ์ วัดราชคฤห์ วัดยานนาวา วัดทองนพคุณ วัดหิรัญรูจี วัดศรีสุดาราม วัดคูหาสวรรค์ วัดภคินีนาถ วัดเทวราชกุญชร วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดพระนามบัญญัติ วัดส้มเกลี้ยง วัดเวฬุราชิญ วัดปทุมวัน วัดบวรมงคล เป็นต้น จำนวนเทียนพรรษาที่พระราชทานถวายยังพระอารามและปูชนียสถานต่าง ๆ ที่กล่าวถึง ในพระราชนิพนธ์ดังกล่าวนั้น มีทั้งเทียนหล่อและเทียนสลักมีจำนวนรวมถึง ๑๑๗ เล่ม

tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani

พิธีถวายเทียนพรรษาพระราชทาน มีลำดับขั้นตอนดังนี้
เมื่ออัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานไปประดิษฐานในที่อันควรหน้าเครื่องสักการบูชาพระพุทธรูปประธานในพระอุโบลถ หรือพระวิหารแล้ว ผู้เป็นประธานในพิธีถวายเทียนพรรษาพระราชทานซึ่งตามปกติได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้กล่าวคำถวายตามที่กำหนดไว้ แล้วถวายเทียนพรรษาพระราชทานแด่พระผู้เป็นประธานสงฆ์ จากนั้นพระสงฆ์จะอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี

อนึ่ง เทียนพรรษาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถวายยังพระอารามหลวงต่าง ๆ นั้น ตามพระราชประสงค์แล้วก็เพื่อให้จุดบูชาพระรัตนตรัยตลอดช่วงเทศกาลเข้าพรรษา แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา พระสงฆ์ในพระอารามหลวงทั้งสามแห่งมิได้จุดเทียนพรรษาพระราชทานเพื่อบูชาแต่อย่างใด เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่ได้รับพระราชทานมา จึงควรเก็บรักษาไว้สักการบูชาและเป็นเทียนชัยมิ่งมงคลตลอดไป อันถือได้ว่าเป็นการบูชาที่สมควรแล้ว

เมื่อได้ทราบความเป็นมาของการพระราชกุศลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าพรรษา ทั้งการหล่อเทียนพรรษา การฉลองเทียนพรรษา ตลอดจนการพระราชทานเทียนพรรษาที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และมีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยอันเป็นที่เคารพรักยิ่งของปวงขนชาวไทยแล้ว จะเห็นได้ว่าพระประมุขของชาตินอกจากจะทรงเป็นพุทธมามกะแล้ว ยังทรงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติไว้อย่างมั่นคงสืบไป

งานประเพณีแห่เทียนพรรษาถือเป็นงานประเพณีที่สำคัญยิ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ดังนั้น เราจึงควรภาคภูมิใจในประวัติความเป็นมาอันยาวนานของการได้รับพระราชทานเทียนพรรษา และควรถวายความจงรักภักดีแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ผู้รักสามัคคี มีความสมานฉันท์ ให้สมกับที่ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับพระราชทานเทียนพรรษาจากองค์พระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นมิ่งขวัญตลอดมาเกือบสามทศวรรษ

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1260 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์