รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

เทียนพระราชทาน อุบลราชธานี

สารบัญ

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด ฯให้เลิกการหล่อเทียนพรรษา แล้วทำเทียนไม้ปั้นลายลงรักปิดทอง ด้านปลายทำเป็นลายขี้ผึ้งแทน จากนั้นเจ้าพนักงานจะทำกระบอกตะกั่วเป็นรูปถ้วยถวายให้ทรงหยอดขี้ผึ้ง พอเต็มด้วยแล้วนำไปตั้งลงในช่องปลายเทียนไม้ เทียนดังกล่าวจะจุดในวันแรกของการเข้าพรรษา จากนั้นเจ้าพนักงานจะจ่ายน้ำมันให้เติมเทียนดังกล่าวเหมือนอย่างตะเกียงไปเรื่อย ๆ กระนั้นเทียนขี้ผึ้งอย่างเก่าก็โปรดให้คงไว้แต่เฉพาะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตลอดจนพระอารามและปูชนียสถานต่าง ๆ รวม ๑๙ เล่ม

ในรัชกาลปัจจุบันเทียนพรรษาหล่อขึ้นที่โรงหล่อเทียนหลวงในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยมีการจัดทำพิมพ์เทียนพรรษาขึ้นใหม่ จากปูนปลาสเตอร์หินแทนแม่พิมพ์เดิมที่ใช้อยู่ที่แผนกศุภรัต พร้อมทั้งปรับปรุงวิธีการหล่อให้สามารถจัดทำได้รวดเร็วขึ้น ต่อมาก็พัฒนาแม่พิมพ์โดยใช้ยางซิลิโคนที่ทำให้ได้เทียนสลักที่มีลวดลายชัดเจนกว่าเดิม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจิมเทียนพรรษาก่อนวันเข้าพรรษาประมาณ ๗ วัน พร้อมกับพระราชทานเทียนชนวนและไม้ขีดไฟ ไปจุดเป็นพุทธบูชาตามพระอารามหลวงที่ได้รับพระราชทาน จำนวนเทียนหล่อใหญ่ ๓๑ เล่ม เทียนหล่อเล็ก ๒ เล่ม (เทียนเล็กสำหรับพระะพุทธบุษยรัตน์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต) และกระจุบเทียนสลัก ๕๐ เล่ม กระจุบเทียนสลักนี้ใช้ทั้งบนลำเทียน ซึ่งทำด้วยไม้แกะสลักลงรักปิดทอง มีกรวยกระบอกรูปถ้วยทำด้วยสังกะสี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหยอดขี้ผึ้งไว้แทนเทียนทั้งต้น และพระราชทานน้ำมันมะพร้าวไว้สำหรับเพิ่มเมื่อเทียนขี้ผึ้งหมด

การพระราชกุศลฉลองเทียนพรรษา
เทียนพรรษาพระราชทานแบ่งเป็นสองแบบ คือ แบบแรกเป็นเทียนพรรษาที่ทรงพระราชทานถวายยังพระอารามในหัวเมือง ซึ่งเมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าพนักงานจะนำเทียนเหล่านั้นมาถวายพระมหากษัตริย์ทรงจบพระหัตถ์ก่อนจะส่งไปให้ทันจุดในเวลา กลางคืน เทียนพรรษาแบบที่สองเป็นเทียนพรรษาที่จัดทำขึ้นเพื่อทรงถวายในพระอารามที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งเมื่อจัดทำเลร็จแล้วเจ้าพนักงานจะยกมาตั้งที่เฉลียงท้องพระโรง มีพระราชาคณะ จำนวน ๒๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์ โดยตั้งพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นพระประธานตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๘ ครั้นวันรุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารตามปกติแต่ เพิ่มการที่เจ้าพนักงานกรมพระคลังศุภรัตจะทำหน้าที่ตะโกน ทูลจำนวนเทียนที่หน้าพระสงฆ์ เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงอนุโมทนา เมื่อพระสงฆ์กลับจากการฉัน พระมหากษัตริย์จะทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมเทียนพรรษาทุกเล่ม แล้วเจ้าพนักงานจึงนำไปตั้งในพระอุโบสถต่าง ๆ ตามที่มีกำหนดไว้

ครั้นเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดึอน ๘ พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินออก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชทานเลี้ยงภัตตาหารพระสงฆ์จำนวน ๓๐ รูป แล้วทรงจุดเทียนพรรษาเล่มแรกถวายเป็นพุทธบูชา โดยใช้ไฟที่เกิดจากการล่องด้วยพระแว่นลงยาราชาวดี มีลักษณะคล้ายแว่นขยายทำด้วยแก้วหนา ซึ่งถือกันว่า ไฟที่ได้มาด้วยวิธีดังกล่าวเป็นไฟบริสุทธิ์ ซึ่งชาวอินเดียประพฤติมาแต่โบราณ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า

“...อีกส่วนหนึ่งเป็นเครื่องบูชาที่บริสุทธิ์ คือ จุดเทียนพรรษา จุดเทียนรุ่งในการวิสาขบูชา จุดเทียนพระมหามงคลเทียบเท่าพระองค์ในการเฉลิมพระชนมพรรษา นับว่าเป็นบูชาด้วยเพลิงบริสุทธิ์...”

เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงจุดเทียนพรรษาแล้ว ก็จะถวายเครื่องสักการะต่าง ๆ มีต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ธูปแพ เทียนแพ และดอกไม้รองพานทองสองชั้น เป็นอาทิ แด่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จากนั้นเสด็จไปถวายพุ่มเทียนและส่งของอื่น ๆ เช่น กระถางต้นไม้ กระทงเมี่ยง เทียนมัดหนึ่งร้อยเล่ม ไม้สีฟัน ไม้ขูดลิ้น ไม้ชำระ หมากพลู เป็นต้น แด่พระราชาคณะ พระครูราชาคณะทั้งในกรุงและหัวเมืองใกล้เคียง ตลอดจนพระราชวงศ์ที่ทรงผนวช และมหาดเล็กที่บวช บางองค์ก็เข้ามารับของถวายต่อพระหัตถ์ในพระอุโบสถบ้างก็มี

จากนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงแจกเทียนชนวนสำหรับจุดเทียนพรรษาแก่พระบรมวงศานุวงศ์ให้ไปทรงจุดเทียนพรรษาตามพระอารามต่าง ๆ เทียนชนวนนั้นจะนำไปใส่ไว้ในโคมไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพุ่มเครื่องนมัสการสำหรับพระอารามแต่ละแห่ง มหาดเล็กเป็นผู้รับจากเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบไปเท่ากับจำนวนเทียนพรรษาที่ตั้งถวายในพระอารามต่าง ๆ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หอพระเสถียรธรรมปริตร หอพระคันธารราษฎร์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ วัดราชประดิษฐ์ วัดราชบพิธ วัดมหาธาตุ วัดพระเชตุพน วัดบวรนิเวศ วัดสุวรรณาราม วัดสระเกศ วัดชัยพฤษมาลา วัดประยูรวงศาราม วัดนวลนรดิศ วัดปากน้ำ วัดอัปสรสวรรค์ วัดสัมพันธวงศ์ วัดราชคฤห์ วัดยานนาวา วัดทองนพคุณ วัดหิรัญรูจี วัดศรีสุดาราม วัดคูหาสวรรค์ วัดภคินีนาถ วัดเทวราชกุญชร วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดพระนามบัญญัติ วัดส้มเกลี้ยง วัดเวฬุราชิญ วัดปทุมวัน วัดบวรมงคล เป็นต้น จำนวนเทียนพรรษาที่พระราชทานถวายยังพระอารามและปูชนียสถานต่าง ๆ ที่กล่าวถึง ในพระราชนิพนธ์ดังกล่าวนั้น มีทั้งเทียนหล่อและเทียนสลักมีจำนวนรวมถึง ๑๑๗ เล่ม

tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani

พิธีถวายเทียนพรรษาพระราชทาน มีลำดับขั้นตอนดังนี้
เมื่ออัญเชิญเทียนพรรษาพระราชทานไปประดิษฐานในที่อันควรหน้าเครื่องสักการบูชาพระพุทธรูปประธานในพระอุโบลถ หรือพระวิหารแล้ว ผู้เป็นประธานในพิธีถวายเทียนพรรษาพระราชทานซึ่งตามปกติได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้รับมอบหมาย จะเป็นผู้กล่าวคำถวายตามที่กำหนดไว้ แล้วถวายเทียนพรรษาพระราชทานแด่พระผู้เป็นประธานสงฆ์ จากนั้นพระสงฆ์จะอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี

อนึ่ง เทียนพรรษาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถวายยังพระอารามหลวงต่าง ๆ นั้น ตามพระราชประสงค์แล้วก็เพื่อให้จุดบูชาพระรัตนตรัยตลอดช่วงเทศกาลเข้าพรรษา แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา พระสงฆ์ในพระอารามหลวงทั้งสามแห่งมิได้จุดเทียนพรรษาพระราชทานเพื่อบูชาแต่อย่างใด เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่ได้รับพระราชทานมา จึงควรเก็บรักษาไว้สักการบูชาและเป็นเทียนชัยมิ่งมงคลตลอดไป อันถือได้ว่าเป็นการบูชาที่สมควรแล้ว

เมื่อได้ทราบความเป็นมาของการพระราชกุศลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าพรรษา ทั้งการหล่อเทียนพรรษา การฉลองเทียนพรรษา ตลอดจนการพระราชทานเทียนพรรษาที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และมีความเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยอันเป็นที่เคารพรักยิ่งของปวงขนชาวไทยแล้ว จะเห็นได้ว่าพระประมุขของชาตินอกจากจะทรงเป็นพุทธมามกะแล้ว ยังทรงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติไว้อย่างมั่นคงสืบไป

งานประเพณีแห่เทียนพรรษาถือเป็นงานประเพณีที่สำคัญยิ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ดังนั้น เราจึงควรภาคภูมิใจในประวัติความเป็นมาอันยาวนานของการได้รับพระราชทานเทียนพรรษา และควรถวายความจงรักภักดีแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ผู้รักสามัคคี มีความสมานฉันท์ ให้สมกับที่ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับพระราชทานเทียนพรรษาจากองค์พระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นมิ่งขวัญตลอดมาเกือบสามทศวรรษ

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1230 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์