รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

วิธีการทำเทียน อุบลราชธานี

สารบัญ

 

๖. ผ้ากรอง (ผ้าขาวเนื้อละเอียด)
จำนวน ๒ เมตร กรองขี้ผึ้ง
หมายเหตุ จะขึงใส่ในโครงเหล็ก หรือโครงไม้วางเหนือภาชนะที่ใช้สำหรับใส่ขึ้ผึ้ง อาจเป็นโอ่ง หรือชามอ่างก็ได้ เป็นการกรองฝุ่นตะกอนที่เกิดจากขี้ผึ้ง แม้ว่าเป็นขี้ผึ้งบริสุทธิ์ก็อาจมีเศษฝุ่นละอองตกค้างอยู่ได้

๗. กระบวยโลหะ หรือกระบวยตักน้ำ หรือขันพลาสติกชนิดทนความร้อน
สำหรับตักขี้ผึ้ง
หมายเหตุ ไม่ควรมีขนาดใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้ตักลำบากและอาจเกิดอุบติเหตุได้

๘. โอ่งมังกร หรือ ถังน้ำมันเปล่า
จำนวน ๒ ใบ สำหรับใส่ขี้ผึ้งที่ต้มละลายแล้ว
หมายเหตุ สำหรับใส่ขี้ผึ้งที่กรองสะอาดแล้ว ก่อนนำไปกรอกลงในแบบหล่อ หรือแบบพิมพ์ลำต้น และยอดของต้นเทียน

๙. ท่อนไม้ หรือท่อพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔ x ๔ นิ้ว ยาว ๓ เมตร
จำนวน ๑ ท่อน สำหรับทำแกนลำต้น
หมายเหตุ หากไม่มีแกนของลำต้น อาจทำให้ต้นเทียนอ่อนตัวลง และเสียรูปทรงได้ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดขี้ผึ้ง โดยวัสดุที่ใช้ในการทำแกนลำต้นสามารถเลือกได้หลายรูปแบบ เช่น ไม้ ท่อพลาสติก ท่อเหล็ก เป็นต้น ซึ่งการเลือกใช้ท่อจะสะดวก เวลานำมากลึง แต่การใช้ท่อเหล็กจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักของต้นเทียน เมื่อนำมาประกอบเป็นต้นแล้ว ต้องหาลวด หรือสลิงยึดเอาไว้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันการล้ม หรือโอนเอนไปมา

๑๐. ท่อนไม้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔ x ๔ นิ้ว ยาว ๐.๖๐ เมตร
จำนวน ๑ ท่อน สำหรับทำแกนยอด
หมายเหตุ แกนสำหรับทำยอดให้เป็นแกนไม้ก็ได้ เพราะมีขนาดไม่ใหญ่ และน้ำหนักเบา

๑๑. ผ้าขี้ริ้วสะอาด
จำนวน ๕ ผืน สำหรับเช็ดมือ
หมายเหตุ เนื่องจากในการทำดอกผึ้ง ส่วนประกอบที่สำคัญในการตัดดอกผึ้ง คือ น้ำผสมผงซักฟอก หรือน้ำสบู่ เนื่องจากต้องใช้น้ำอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีผ้าไว้สำหรับเช็ดมือ

๑๒.สังกะสีแผ่นเรียบ (ชนิดหนา) ขนาดกว้าง ๖๐ เซ็นติเมตร ยาว ๑๐ ฟุต
จำนวน ๑ แผ่น สำหรับทำแบบหล่อลำต้น
หมายเหตุ การใช้สังกะสีแผ่นเรียบทำแบบหล่อ เพราะสามารถแกะต้นเทียนออกจากแบบได้ง่าย และได้ต้นเทียนที่มีผิวเรียบสวย

๑๓.สังกะสีแผ่นเรียบ (ชนิดหนา) ขนาดกว้าง ๖๐ เซ็นติเมตร ยาว ๒ ฟุต
จำนวน ๑ แผ่น สำหรับทำแบบหล่อยอดต้น
หมายเหตุ เหตุผลเดียวกับ ข้อ ๑๒.

๑๔.ถังตักน้ำ
จำนวน ๑ - ๒ ใบ สำหรับตักน้ำ

๑๕.ไม้ขนาดเท่าแขนยาว ๑.๕๐ เมตร
จำนวน ๒ ต้น สำหรับทำเสา
หมายเหตุ เสายึดแกนต้นเทียน

๑๖.ไม้ไผ่ส่างไพรผ่าครึ่งยาว ๑ เมตร หากไม่มีอาจใช้ไม้เบญจพรรณ ขนาดเท่ากับไม้ไผ่ไม่ต้องผ่าครึ่ง
จำนวน ๒ ซีก หรือ ๒ ท่อน สำหรับเป็นไม้ขนาน
หมายเหตุ ในการทำแบบหล่อลำต้น ต้องมีไม้สำหรับยึดโครงแบบให้ตั้งตรง

๑๗. เสียม หรือจอบ
จำนวน ๒ - ๓ อัน สำหรับขุดหลุม
หมายเหตุ ทำเบ้าหล่อต้นเทียน

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

การทำแบบพิมพ์สำหรับหล่อลำต้นเทียนและยอดเทียน
แบบพิมพ์สำหรับหล่อเทียน อีสานเรียกว่า “โฮง” หรือ“เบ้าหลอม” โฮงหรือเบ้า้หลอมทำจากสังกะสีแผ่นเรียบชนิดหนาถ้าหล่อลำต้นเทียนใช้สังกะสีขนาดกว้าง ๘๐ - ๑๒๐ เซนติเมตร ยาว ๘ - ๑๐ ฟุต ถ้าหล่อยอดเทียนให้ใช้สังกะสีแผ่นเรียบรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ ๘๐ เซนติเมตร หรือ ๒ ฟุต ขนาดของสังกะสีที่ใ่ช้ทำแบบหล่อลำต้น และยอดสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม นำสังกะสีแผ่นเรียบมาตัด ให้ส่วนที่จะเป็นปลายหรือส่วนยอดของต้นเทียนแคบเข้า โดยส่วนที่เป็นฐานจะมีขนาดใหญ่กว่า แล้วนำแผ่นสังกะสีที่ตัดไว้มาโค้งเป็นรูปทรงกระบอกค่อนไปทางรูปทรงกรวยเหมือนการทำหม้อนึ่งสังกะสี ขอบด้านข้างของสังกะสีพับโค้งงอเข้าเพื่อซ่อนขอบอีกด้านหนึ่ง เหมือนกับที่ช่างบัดกรีตีตะเข็บหม้อนึ่งสังกะสี การทำโฮงหรือเบ้าหลอมให้มีลักษณะดังกล่าว ใช้ได้ทั้งสำหรับต้นเทียนและยอดต้นเทียน

ในทางปฏิบัติ การทำแบบพิมพ์ต้นเทียน ช่างอาจดัดงอสังกะสีเข้าหากัน โดยให้ปลายทั้ง ๒ ข้างงอเป็นตะขอเกาะเกี่ยวกันเอาไว้ หรือทำเป็นตะเข็บ แล้วบัดกรีด้วยตะกั่วก็ได้ ทั้ง ๒ วิธีมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

๑. วิธีทำเป็นตะขอ
ข้อดี การดัดงอเช่นนี้ เมื่อหล่อต้นเทียนแล้วจะถอดแบบพิมพ์ออกก็ทำได้ง่าย
ข้อเสีย เมื่อสังกะสีถูกขี้ผึ้งที่ร้อน เนื้อสังกะสีจะขยายตัว ทำให้ตะขอแยกออกจากกัน และเป็นช่องให้ขี้ผึ้งไหลออกทำให้สิ้นเปลือง สร้างความวิตกกังวล

๒. วิธีทำเป็นตะเข็บ
ข้อดี วิธีนี้เมื่อบัดกรีด้วยตะกั่วแล้ว เนื้อตะกั่วจะเชื่อมให้สังกะสีแนบชิดติดกัน เวลาเทขี้ผึ้งลงไปตะเข็บก็จะไม่แยกออกจากกัน ขี้ผึ้งจะไม่ไหลออก ทำให้ไม่สิ้นเปลือง และมีความมั่นใจ
ข้อเสีย เวลาจะถอดแบบพิมพ์ ต้องใช้กรรไกรตัดสังกะสี และแบบพิมพ์ที่ถูกตัดแล้วจะนำมาใช้อีกเหมือนวิธีทำเป็นตะขอไม่ได้

การเตรียมไม้ทำแกนลำต้น
การเตรียมไม้ทำแกนลำต้น จะใช้ไม้ขนาด ๔ x ๔ นิ้ว ยาว ๓ เมตร นำไม้ไปกลึงด้วยเครื่องกลึงให้เป็นรูปทรงกระบอก ส่วนปลายทั้ง ๒ ข้าง ก็กลึงเช่นเดียวกัน โดยกลึงให้เล็กลงไม่เท่ากัน กล่าวคือ ปลายด้านหนึ่งกลึงให้เป็นเดือยยาว ๑๐ เซนติเมตร เหลือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว ปลายอีกด้านหนึ่งกลึงให้เดือยยาว ๕๐ เซนติเมตร เหลือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ นิ้ว เดือนที่ยาว ๑๐ เซนติเมตร เป็นเดือยสำหรับสวมยอดลำต้นเทียน เพื่อป้องกันมิให้ยอดล้มหรือหลุดออก เดือนที่ยาว ๕๐ เซนติเมตร เป็นเดือยสำหรับสวมลงไปในฐานต้นเทียน เพื่อมิให้ต้นเทียนเอนหรือล้ม

ปัจจุบันใช้แกนเป็นเหล็กกลวงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ เซนติเมตร แล้วพันโอบด้วยเชือกมะนิลาอีกครั้ง เพื่อให้แกนเทียนใหญ่ขึ้น และยังเป็นการประหยัดขี้ผึ้งอีกด้วย หรืออาจใช้ไม้อัดหนา ๑๐ เซนติเมตร มาทำเป็นต้นทรงเหลี่ยม อาจเป็นสี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยมหรือย่อมุมก็ได้ แล้วทาด้วยสีน้ำพลาสติกสีส้ม หรือสีแดงเพื่อเป็นการรองพื้น

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 772 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์