รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

วิธีการทำเทียน อุบลราชธานี

สารบัญ

 

ข้อมูลเปรียบเทียบลักษณะคุณสมบัติของขี้ผึ้งแท้และขี้ผึ้งเทียม

ขี้ผึ้งแท้
- ราคาแพง ประมาณกิโลกรัมละ ๓๐๐ - ๕๐๐ บาท
- มีกลิ่นหอมเย็น เหมือนกลิ่นของน้ำผึ้ง
- เนี้อขี้ผึ้งเหนียว เมื่อจับดูจะมีคราบติดมือเพียงเล็กน้อย
- ใช้เล็บมือจิกดูจะเป็นรอยลึก เนื้อขี้ผึ้งไม่ยุ่ย ไม่เปราะ
- สีครีม หรือเหลืองปนขาว หรือ เขียวอมเหลือง (ไม่ออกสีแดง หรือสีส้ม) มองดูจะเห็นเป็นสีขุ่นมัว ไม่สดใส ซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติ
- มักมีฝุ่นจับอยู่ตามก้อนขี้ผึ้ง เพราะเนื้อขึ้ผึ้งเหนียวแมลงต่าง ๆ เช่น แมลงภู่ ผึ้ง ชอบจับ เจาะ ไชกิน เนื้อขี้ผึ้ง
- ก้อนขี้ผึ้งมีขนาดโตเท่าขันตักน้ำ น้ำหนักก้อนละประมาณ ๑ กิโลกรัม หรือมากกว่านั้น

ขี้ผึ้งเทียม
- ราคาถูก ประมาณกิโลกรัมละ ๔๐ - ๕๐ บาท
- กลิ่นคล้ายน้ำมัน
- เนื้อขี้ผึ้งไม่เหนียว เมื่อจับดูจะติดมือบ้าง และมีคราบน้ำมัน ติดมือด้วย
- เปราะและแตกง่าย
- มีสีแดงหรือสีส้ม ลักษณะเป็นสีเข้มที่ได้มาจากการปรุงแต่ง
- ไม่มีฝุ่นติดอยู่ในก้อน หรือในแท่งขี้ผึ้ง แมลงไม่ชอบ เพราะเป็น ขี้ผึ้งเทียม หรือขี้ผึ้งผสม
- เป็นก้อนขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม ขนาดเท่าขนมครก น้ำหนักไม่มาก รวมกันหลายสิบก้อนจึงจะได้ ๑ กิโลกรัม

การหล่อและการกลึงต้นเทียนประเภทแกะสลัก
การหล่อและการกลึงต้นเทียนประเภทแกะสลัก จะมีขั้นตอนและวิธีการในการหล่อ การกลึง ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เหมือนกับการหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ เพียงแต่ต้นเทียนประเภทแกะสลักจะต้องหล่อให้มีขนาดใหญ่กว่าขนาดจริงที่ต้องการเอาไว้ เพราะว่์าเมื่อแกะสลักแล้วขนาดจะเล็กลงเป็นขนาดจริงที่ต้องการ เทคนิคการหล่อลำต้นเทียนประเภทแกะสลักจะแตกต่างกับต้นเทียนประเภทติดพิมพ์เล็กน้อย กล่าวคือ

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

การหล่อต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก
ประเพณีการทำเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นสิ่่งที่ในแต่ละชุมชนได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน มีการพัฒนาการดิดต่อกันอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหาและวิธีการ กระบวนการในการหล่อก็เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าขั้นตอนอื่น จึงขอกล่าวถึงขั้นตอนในการหล่อเทียนพรรษาเป็น ๔ วิธี ดังนี้

๑. การหล่อในราง
การทำเทียนด้วยวิธีการนี้เกิดขึ้นมาราวปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งเป็นระยะเวลาของการพัฒนารูปแบบของเทียนพรรษาจากประเภทมัดรวมจากแท่งเล็ก ๆ แล้วนำมาติดลายไปสู่รูปแบบของเทียนเล่มที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพียงเล่มเดียว เทียนพรรษาที่หล่อขึ้นมา ด้วยวิธีการนี้จะมีความสูงราว ๑ เมตร ถึง ๑.๒๐ เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำเทียนราว ๐.๒๐ เมตร มีวิธีการหรือขั้นตอนในการทำดังนี้ คือ

๑.๑. ทำรางจากไม้ หรือต้นไม้เป็นรูปครึ่งวงกลมมีความยาว ความกว้าง ตามรูปแบบ หรือลักษณะของต้นเทียนตามที่ต้องการ

๑.๒ ต้มขี้ผึ้งจนละลายแล้วเทลงใส่ในรางที่เตรียมไว้ จนเต็มราวปล่อยขี้ผึ้งอยู่ในรางจนความร้อนของขี้ผึ้งลดลงพอเหมาะวางเส้นฝ้ายหรือป่านที่ใ่ช้ทำไส้ของเทียนลงกึ่งกลางของลำต้นตามความยาวจนตลอด

๑.๓ เทขี้ผึ้งที่ต้มจนหลอมละลายดีลงในรางไม้ที่มีขนาดเดียวกันกับรางแรกจนเต็ม ปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งขี้ผึ้งในส่วนนี้เย็น (เริ่มเย็นตัว)

๑.๔ นำรางขี้ผึ้งที่เริ่มแข็งตัวในรางที่สอง คว่ำประกบลงบนขี้ผึ้งในรางแรกแล้วทิ้งวัตถุที่มีน้ำหนักกดหรือวางทับด้านหลังของร่างที่สองให้แนบสนิทกับรางส่วนแรกปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๑ วัน

๑.๕ แกะขี้ผึ้งที่แห้งสนิทออกจากรางไม้ทั้ง ๒ ส่วน แล้วตกแต่งผิวรอบนอก ทั้งส่วนยอดและฐานเป็นอันเสร็จตามขั้นตอนการหล่อเทียน เทียนยุคนี้นิยมใช้ผึ้งแท้ทั้งหมดในการหล่อ เพราะมีกลิ่นหอม หาง่ายและจุดได้เป็นเวลานาน

๒. การหล่อโดยใช้ใบหรือกาบของพืช
การหล่อโดยวิธีนี้ นิยมหล่อโดยใช้กาบ และใบของต้นกล้วยมามัดรวมกันเข้าเป็นรูปทรงกระบอกเป็นแม่พิมพ์ การหล่อด้วยวิธีนี้สามารถหล่อให้ต้นเทียนมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าวิธีแรกโดยมีขั้นตอนในการทำดังนี้

๒.๑ หากาบและใบของต้นกล้วยที่มีขนาดใหญ่ใบหนา และอวบมามัดรวมกันเข้าเป็นรูปทรงกระบอก โดยปล่อยช่องว่างของรูปทรงกระบอกในส่วนกลางให้ทะลุถึงกันและมีขนาดเท่ากันโดยตลอด มัดในแต่ละส่วนด้านนอกของรูปทรงในแต่ละช่องให้แน่นพอประมาณ ด้วยเชือกหรือลวด

๒.๒ ตั้งส่วนที่เป็นแม่พิมพ์หล่อนี้ขึ้นโดยหย่อนเส้นป่านหรือฝ้ายที่ใช้ในการทำไส้เทียนลงในส่วนกลางของแม่พิมพ์ตลอดแนว จนถึงฐาน ตรึงส่วนฐานลงกับพื้นที่เสียบด้วยดินเหนียวให้แน่นเพื่อป้องกันขี้ผึ้งไหลออกมา หรืออาจใช้วิธีตั้งแม่พิมพ์ลงในหลุมที่ขุดลงในดินลึกของลำต้นเทียนที่ต้องการ โดยมีความกว้างของหลุมเท่ากันกับขนาดของแม่พิมพ์เทียน กลบดินรอบ ๆ แม่พิมพ์ให้แน่น

๒.๓ ต้มขี้ผึ้งจนหลอมละลายทั่วดีแล้ว ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นตัวประมาณ ๑๐ - ๑๕ นาที แล้วจึงค่อย ๆ เทขี้ผึ้งนั้นลงในแม่พิมพ์กาบกล้วยที่เตรียมไว้จนเด็ม ในขณะเทควรตรวจดูตามผิวด้านข้างของแม่พิมพ์ หากมีการรั่วซึมของแม่พิมพ์ ควรรีบพันโดยรอบแม่พิมพ์ ด้วยกาบกล้วยหรือใบกล้วยซ้อนอีก ๑ ชั้น เมื่อขี้ผึ้งที่เทลงไปในกระบอกเต็มตามต้องการ ปล่อยทิ้งไว้ให้ขี้ผึ้งค่อย ๆ เย็นตัวเองตามธรรมชาติ

๒.๔ เมื่อขี้ผึ้งแห้งตัวแล้วค่อย ๆ แกะส่วนที่เป็นแม่พิมพ์ แล้วตกแต่งผิวด้านนอกของเทียบให้มีความเรียบ และกลมตามที่ต้องการ

๓. การหล่อด้วยแม่พิมพ์จากพืชชิ้นเดียว
การหล่อวิธีนี้ แม่พิมพ์หล่อนิยมทำจากลำต้นของพืชที่มีร่องกลางลำต้น ที่ไม่แข็งนักเช่น มะละกอ หรือไม้ไผ่ โดยเลือกจากต้นหรือลำที่มีขนาดโตเต็มที่ มีขนาดและเส้นผ่าศูนย์กลางราว ๕ – ๖ นิ้ว และลำต้นต้องเป็นลำต้น หรือลำไม้ไผ่ที่ตรงไม่โค้งงอ ตลอดความยาวของเทียนที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนในการทำ ดังนี้

๓.๑ หาไม้ไผ่หรือลำตัวของมะละกอที่มีส่วนตรงของลำต้นมากที่สุดมา ๑ ท่อน ทำการอุดรูรั่วต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามลำต้น หรือไม้ไผ่ แล้วตัดส่วนของลำหรือลำต้นออกมาเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ - ๑.๒๐ เมตร

๓.๒ ตั้งส่วนลำหรือลำต้นไว้บนพื้นที่ราบใช้เครื่องมือที่มีความคมเจาะส่วนกลางจากบนให้ทะลุลงสู่ส่วนล่างในแนวดิ่ง โดยความกว้างของรูเท่ากันโดยตลอด

๓.๓ หย่อนส่วนไส้ของเทียนที่ทำด้วยฝ้ายหรือป่าน ลงภายในแกนส่วนกลางของลำต้น แล้วเทขี้ผึ้งที่ต้มจนมีความร้อนพอเหมาะลงใส่รูนั้นจนเต็ม

๓.๔ เมื่อขี้ผึ้งเย็นตัวลง ก็เริ่มแกะส่วนที่เป็นเปลือกรอบนอกออกจนหมด แล้วตกแต่งผิวรอบนอกของเทียน

๔. การหล่อด้วยแม่พิมพ์สังกะสี
การหล่อเทียนด้วยแม่พิมพ์สังกะสี เริ่มมีมาราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และการหล่อด้วยวิธีการนี้ยังคงใช้อยู่อย่างแพร่หลายจนถึงยุคปัจจุบัน โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

๔.๑ การทำแกนลำต้น หากจะใช้ไม้เป็นแกน ต้องเป็นไม้เนื้อแข็งขนาด ๔ x ๔ นิ้ว ยาว ๒.๕๐ เมตร นำไปกลึงให้กลมตลอดท่อน ส่วนปลายจะเล็กกว่าส่วนฐานเล็กน้อย ซึ่งเมื่อกลึงเสร็จจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนไม้ราว ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร หรือหากจะใช้สังกะสีมาทำเป็นแกนจะต้องใช้สังกะสีชนิดแผ่นอย่างหนาที่มีความยาว ๑.๙๐ ถึง ๒ เมตร มาม้วนให้เป็นรูปทรงกระบอก ริมทั้ง ๒ ข้างงอซ้อนทับกันแล้วบัดกรีทับด้วยตะกั่วอย่างดีตลอดแนวตะเข็บ โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางส่วนฐานราว ๒๕ นิ้ว และส่วนที่เป็นปลายยอดประมาณ ๒๔ นิ้ว หรือหากจะใช้แกนที่ทำด้วยท่อน้ำประปาชนิดที่เป็นเหล็กหนามีเส้นผ่าศูนย์กลางราว ๕ นิ้ว สูง ๑.๙๐ ถึง ๒ เมตร วัสดุทีใช้ทำแกนทั้ง ๓ ชนิดนี้ จะใช้เชือกไนล่อนขนาด ๓ หุน สีแดง หรือสีส้มพันโดยรอบส่วนแกน เพื่อประโยชน์ในการยึดจับตัวกัน ระหว่างขี้ผึ้งกับแกนและขี้ผึ้งกับขี้ผึ้ง หรืออาจใช้ตะปูตอกลงไปในส่วนที่เป็นแกนไม้แทนการพันด้วยเชือกก็ได้ ซึ่งการพันรอบแกนด้วยเชือกหรือตอกด้วยตะปูนี้ นิยมใช้กับแกนของต้นเทียนประเภทแกะสลัก หากเป็นต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ นิยมปล่อยส่วนแกนของต้นเทียนไว้โดยไม่ต้องตอกตะปูหรือพันรอบด้วยเชือก

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 903 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์