รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

วิธีการทำเทียน อุบลราชธานี

สารบัญ


tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

๒). ลายนารี คือ ลายภาพคนหรือภาพมนุษย์ ภาพเทวดา หรือภาพนางฟ้า ในการเขียนภาพมนุษย์นั้นจะมีทั้งภาพพระและภาพนางเป็นหลัก โดยมีการแบ่งแยกความสำคัญตามลักษณะพิเศษเฉพาะของตัวเรื่อง เช่น การแต่งกาย เครื่องประดับ ท่าทาง หรืออาวุธ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถบ่งบอกฐานะ และตำแหน่งความสำคัญของตัวละครเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ลายนารีโดยทั่วไปมีลักษณะท่าทางมาจากการแสดงนาฏศิลป์เสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น ท่ารบกัน มีชื่อเรียกอกอย่างหนึ่งว่า ท่าลอยหรือท่าจับ เป็นต้น

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

๓). ลายกระบี่ เป็นภาพที่กล่าวถึงวานร หรือภาพอมนุษย์ ซึ่งรวมถึงภาพอสูรพงศ์ หรือพานรพงศ์ ซึ่งภาพเหล่านี้ส่วนมากจะอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ การสร้างภาพเหล่านี้มักเริ่มต้นจากเค้าโครงของใบหน้าก่อนแล้วตามด้วยส่วนที่เป็นลายละเอียดที่บ่งบอกอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ตาเบิกโพรง ปากแสยะ ตาหรี่ ปากเม้ม หรือ ตาพองโต เป็นต้น บางตนก็มีลักษณะเค้าโครงเหมือนมนุษย์ เช่น ใบหู หรือปาก เป็นต้น ส่วนอาวุธ ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น ครุฑ ดาบ กระบี่ เป็นต้น

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

๔). ลายคชะ หมายถึง ลวดลายของสัตว์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เกิดขึ้นมาจากจินตนาการ หรือเป็นสัตว์จากหิมพานต์ ดังนั้น สัตว์เหล่านี้จึงไม่มีตัวตนที่แน่นอน ผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ บางครั้ง อาจนำลักษณะของมนุษย์และสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์มาผสมผสานกัน เช่น ยักษ์ปนช้าง โดยมีท่อนบนเป็นยักษ์มีส่วนล่างเป็นช้าง หรือส่วนบนเป็นมนุษย์แต่มีส่วนล่างเป็นสิงห์ เป็นต้น

การเขียนลายคชะนิยมแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑). ภาพสัตว์ธรรมดา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น ภาพเหล่านี้จะเขียนหรือทำให้มีลักษณะคล้ายสัตว์ตามธรรมชาติ แต่ประยุกต์ให้เกิดเป็นลวดลายและความอ่อนช้อย

๒). ภาพสัตว์หิมพานต์ เช่น ราชสีห์ คชสีห์ ครุฑ หรือ พญานาค เหล่านี้ประดิษฐ์ขึ้นจากสัตว์ที่มีอยู่ทางธรรมชาติและสลักลวดลายตามลำต้นด้วยลายกนกให้วิจิตรพิศดารเพิ่มมากขึ้น

การนำลวดลายไทยไปใช้
ในการนำลวดลายไทยไปใช้ในการทำเทียนพรรษา นิยมนำไปใช้ใน ๒ ลักษณะ คือ
๑. ประกอบลายตามแนวนอน นิยมใช้ลายหน้ากระดานได้แก่ ลายขื่อ ลายท้องไม้ ส่วนฐานนิมใช้ลายประจำยาม ลายกนก หรือลายประจำยามผสมกับลายกนก แต่ที่นิยมลูกฟักก้ามปู เหตุที่นิยมใช้ลายลูกฟักก้ามปูประกอบในส่วนฐาน หรือบางส่วนในลำต้น สันนิษฐานว่าเกิดจากความหมายอันมุ่งไปในทางที่ดีเป็นมงคล เป็นลูกฟักหมายถึง พรหมลูกฟัก อันเป็นพรหมชั้นหนึ่งในคัมภีร์ไตรภูมิ ลายลูกฟักมีลักษณะคล้ายผลฟัก ส่วนลายก้ามปู คือการนำลายกนก ๒ ตัวมาประกอบต่อกับลายประจำยาม ทำให้ลายที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายก้ามปู

๒. ประกอบลายตามแนวตั้ง อาจสอดแทรกลายเหล่านี้ตามลักษณะเหลี่ยมที่เกิดจากการย่อมุมทั้งในส่วนฐาน ลำต้น และยอด ซึ่งบางครั้งนิยมทำต้นเทียนในลักษณะรูปเหลี่ยมย่อมุม เช่น เทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ลวดลายที่นิยมใช้ประกอบตามแนวตั้ง คือ
๒.๑ ลายก้านแหย่ง คือ การนำลายมาแตกออกเป็นสองข้างเท่า ๆ กัน
๒.๒ ลายแข้งสิงห์ คือ การนำลายมาแตกออกข้างเดียว ทำให้เกิดมีลักษณะคล้ายแข้งสิงห์
๒.๓ ลายรักร้อย มีลักษณะคล้ายลายที่ร้อยของพวงมาลัยดอกรัก
๒.๔ ลายกนกเปลว เป็นลายที่ละบัดคล้ายเปลวไฟพุ่งสู่เบื้องบน ลายกนกเปลวนี้บางครั้งนิยมสะบัดขึ้นจากโคนของลำต้นสู่ยอดทั้งต้น โดยจะมีการแทรกเรื่องราวที่มีลักษณะเด่นตามร่องของลายนั้น ๆ
๒.๕ ลายเครือเถา เป็นลายที่นำมาจากลักษณะการเลื้อยของไม้หรือเถาไม้ตามแนวตั้ง
๒.๖ ลายก้านขด นำมาจากลักษณะการขดตัวของเถาไม้

ซึ่งลายทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้อาจประดิษฐ์มาจากลายกนก หรือลายอื่น ๆ เช่น ลายใบเทศ ลายผักกูด ลายช่อ หรือจะประกอบกับลายเทพพนม หรือสัตว์ต่าง ๆ กัได้ทั้งสิ้น

การผสมขี้ผึ้งสำหรับการหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลัก
โดยปกติต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ ๒๐๐๐ – ๓,๐๐๐ กิโลกรัม (รวมองค์ประกอบของต้นเทียน) ถ้าต้องการต้นเทียนขนาดใหญ่กว่านี้ ก็จะใช้ขี้ผึ้งมากขึ้นตามขนาดของต้นเทียน ถ้ามีงบประมาญมาก ควรใช้ขี้ผึ้งแท้ทั้งหมต ซึ่งจะเป็นผลดีต่อคุณภาพของงานและช่วยลดปัญหาในการจัดทำ ช่างผู้จัดทำมีความคล่องตัว แต่ถ้ามีงบประมาณจำกัด อาจใช้ขี้ผึ้งผสม โดยใช้ขี้ผึ้งแท้ผสมกับขี้ผึ้งเทียม หรือขี้ผึ้งตลาดในอัตราส่วน ๓ ต่อ ๑๐ แต่ในการทำส่วนฐานหรือองค์ประกอบของต้นเทียนอาจใช้ในอัตรส่วน ๑ ต่อ ๑๐ การต้มขี้ผึ้งจะต้องทุบหรีอสับขี้ผึ้งแท้ให้มีขนาดเล็กลงเสียก่อน ส่วนขี้ผี้งเทียมมีขนาดเล็กอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทุบหรือสับ ในการต้มขี้ผึ้งทั้ง ๒ ชนิดให้ต้มผสมกัน เนื้อขี้ผึ้งจะละลายเข้าหากันเป็นเนื้อเดียว วิธีนี้ช่วยประหยัดเงินได้มาก แต่คุณภาพของขี้ผึ้งผสมที่ได้จะน้อยกว่าใช้ขี้ผึ้งแท้

ความรู้เรี่องขี้ผึ้ง
ขี้ผึ้งนับเป็นวัสดุหลักของการทำต้นเทียนทุกประเภท การใช้ขี้ผึ้งมากน้อยเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นเทียนและองค์ประกอบของต้นเทียนแต่ละต้น ซึ่งบางครั้งมีมากถึง ๑๕๐๐ กิโลกรัม ขี้ผึ้งที่ใช้ทำต้นเทียนแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ ๒ ประเภท คือ ขี้ผึ้งแท้ และขี้ผึ้งเทียม

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

ขี้ผึ้งแท้
เป็นขี้ผึ้งที่ได้จากรังผึ้งแท้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มีสีขาวอมเหลืองมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีความเหนียว มีแรงยึดเหนี่ยวกันสูงมา ไม่แตกหรือเปราะง่าย นิยมใช้ผสมกับขี้ผึ้งวิทยาศาสตร์ในการทำลำต้นของต้นเทียนประเภทแกะสลัก ในอัตราส่วน ๕๐ ต่อ ๕๐ และนิยมใช้ขี้ผึ้งแท้อย่างเดียว ในการทำลวดลายดอกผึ้งรูปแบบต่าง ๆ ติดตามลำต้นของเทียนประเภทติดพิมพ์ ขี้ผึ้งแท้จะมีราคาถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดในขณะนั้น ราคาในตลาดปกติจะมีราคากิโลกรัมละ ๒๐๐ - ๓๐๐ บาท ปัจจุบันขึ้ผึ้งแท้ส่วนมากทำมาจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกเจือปนด้วยขี้ผึ้งน้ำมันส่วนหนึ่ง เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง แต่มีปริมาณที่มากขึ้น บางวัดนิยมทำขี้ผึ้งแท้ขึ้นมาเอง โดยการเลือกเชื้อรังผึ้งจากตลาดราคากิโลกรัมละ ๒๐ บาท มาทำการต้มกลั่นเอง เป็นการลดรายจ่ายลงได้มาก สมัยก่อนการทำเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ขี้ผึ้งแท้ทั้งหมด เพราะมีราคาถูกหาซื้อได้ง่าย และชาวบ้านทุกคุ้มวัด ถือเป็นการทำเพื่อเป็นพุทธบูชาจึงนิยมทำด้วยลงที่ดี และมีคุณค่าสูงทั้งสิ้น

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

ขี้ผึ้งเทียม
ขี้ผึ้งเทียมหรือขี้ผึ้งวิทยาศาสตร์ บางแห่งจะเรียกว่า ผึ้งด้วง ผึ้งน้ำมัน หรือผึ้งขี้ซี เป็นต้น ขี้ผึ้งชนิดนี้แต่เดิม ทำมาจากไขมันของสัตว์ แต่ในศวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา นักเคมีที่ได้ค้นพบวิธีการทำกรดสเตียริค (Stearic Acid) จากไขมันสัตว์ให้กลายเป็นของแข็งที่มีสีขาวคล้ายขี้ผึ้ง จึงนิยมใช้สารชนิดนี้ในการทำเทียนเพราะมีราคาถูกและสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ขึ้ผึ้งชนิดดังกล่าว ยังนิยมทำมาจากผลิตผลของปิโตรเลี่ยม (Petrolium) หรือขี้ผึ้งพาราฟิน (Parafin Wax) ขี้ผึ้งชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นถ้วยรูปครึ่งวงกลมเล็ก ๆมีเส้นผ่าศูนย์กลางราว ๑ นิ้ว ไม่มีกลิ่นหอมเนื้อเปราะหรือแดกหักได้ง่ายมีสีส้มแต่จะมีความเข้มหรือจางแตกต่างกันไป โดยแยกออกได้เป็น ๓ เบอร์ ตามน้ำหนักความเข้มของสีได้ดังนี้ เบอร์ที่หนึ่งมีสีเข้มส้มอมแดงเไjrา)ทส่องมีสีจางลงเล็กน้อย เบอร์ที่สามมีสีส้มอมเหลือง

แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ขี้ผึ้งเทียมเบอร์ที่สอง เพราะมีสีจางแต่เมื่อนำไปต้มและผสมกับผึ้งเก่าจะได้สีที่มีน้ำหนักของสีที่พอเหมาะแก่การหล่อลำต้น ผึ้งชนิดนี้ราคากิโลกรัมละ ๕๐ - ๗๐ บาท ในการทำเทียนพรรษานิยมใช้ผึ้งชนิดนี้ ในการหล่อลำต้นของเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ และนิยมใช้ผึ้งชนิดนี้ในการหล่อหุ่นประกอบของต้นเทียน ทั้งหุ่นประกอบต้นเทียนประเภทติดพิมพ์และหุ่นประกอบต้นเทียนประเภทแกะสลัก

ในการทำเทียนพรรษาในแต่ละปีจะใช้ขี้ผี้งในการหล่อลำต้นติดลายและทำหุ่นประกอบ ทั้งขี้ผึ้งแท้และขี้ผึ้งเทียมประมาณ 70-100 กิโลกรัม ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดและลักษณะของต้นเทียน รวมทั้งหุ่นที่ใช้ประกอบต้นเทียนและปริมาณของขี้ผี้งเก่าที่มีอยู่แต่เดิมผสมด้วย การหล่อลำต้นและหุ่นประกอบในการทำเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์นั้น นิยมใช้ขี้ผึ้งเทียมในการทำทั้งหมด และจะใช้ขี้ผึ้งแท้ทำในส่วนของลวดลายหรือดอกผึ้งติดประกอบตามส่วนต่าง ๆ เท่านั้น

การทำเทียนพรรษาประเภทแกะสลักจะใช้ขี้ผึ้งในการทำลำต้นและส่วนของรากฐานใหญ่ทั้งหมด ตามขนาดและรูปทรงมาตรฐาน คือไม่มีองค์ประกอบอื่น ๆ ประดับที่ฐาน จะใช้ขี้ผึ้งเทียมประมาณ ๕๐ ลัง หรือ ๑,๒๕๐ กิโลกรัม (ผึ้งเทียม ๑ ลัง มีน้ำหนัก ๒๕ กิโลกรัม) ในการทำเทียนประเภทแกะสลักนิยมใช้ขี้ผึ้งแท้และเทียมผสมกันในการหล่อ ทำลำต้น ยอด ฐาน และองค์ประกอบอื่นๆ ประมาณ ๑๐๐ กิโลกรัม จะทำให้ได้ความคมชัดของลวดลายที่เด่นชัด และมีความแข็งที่เหมาะกับการใช้เครื่องมือแกะสลัก และขี้ผึ้งที่เกิดจากการผสมระหวางขี้ผึ้งแท้และขี้ผึ้งเทียมนี้ จะมีความคงทนต่อความร้อนจากแสงแดดในขณะทำการแห่เทียนพรรษา เราสามารถเปรียบเทียบลักษณะและคุณสมบัติของขี้ผึ้งแท้และขี้ผึ้งเทียมได้ดังตารางต่อไปนี้

 

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 890 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์