รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

วิธีการทำเทียน อุบลราชธานี

สารบัญ

 

๔. เอานิ้วมือจุ่มลงไปในขี้ผึ้งที่ละลายอยู่ในโอ่ง ถ้าขี้ผึ้งติดนิ้วมือขึ้นมาบาง ๆ แสดงว่าอุณหภูมิของขี้ผึ้งกำลังได้ที่พอดี พอที่จะนำไปเทลงไปในแบบพิมพ์ได้

๕. ใช้ภาชนะที่เตรียมไว้ (กระบวยโลหะ หรือกระบวยตักน้ำ หรือขันพลาสติกทนความร้อน) ตักขี้ผึ้งในโอ่งมังกรเทลงในแบบพิมพ์สังกะสีที่เตรียมไว้ในหลุมให้เต็ม การเทให้ค่อย ๆ เทลงไปทีละน้อย

๖. สังเกตุระดับขี้ผึ้งจะเห็นว่าค่อย ๆ ลดลง ให้ตักขี้ผึ้งในใอ่งมังกรเติมลงไปให้เต็มเหมือนเดิม ทำอยู่เช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง จนกว่าขี้ผึ้งจะเต็มแบบพิมพ์อย่างเต็มที่ จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง

งานเทขึ้ผึ้งเพื่อหล่อลำต้นเทียน เป็นงานเทคนิคที่มีขั้นตอนละเอียดอ่อน ต้องใช้ความชำนาญ และกระทำด้วยความระมัดระวัง มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของกระบวนการ
ข้อควรระวังในเรื่องนี้ มีดังูต่อไปนี้

๑) ขี้ผึ้งเป็นวัตถุอมความร้อนได้มาก ยิ่งมีปริมาณมาก ยิ่งอมความร้อนได้มากขึ้น การเทขี้ผึ้งต้องค่อยเป็นค่อยไป จะผลีผลามไม่ได้ นั่นคือ เมื่อขี้ผึ้งร้อน ๆ อย่ารีบเท เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศ ซึ่งเมื่อแห้งแล้วจะเกิดเป็นช่องหรือโพรงอากาศ หรือไม่ก็เป็นจุดขาว บางครั้งเนื้อขี้ผึ้งจะไม่เชื่อมต่อกันสนิท ทำให้ลำต้นเทียนไม่สวยเท่าที่ควร ซึ่งถ้าหากลำต้นเทียนไม่สวยแล้ว จะเป็นปัญหามากกับงานเขียนประเภทแกะสลัก สำหรับต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ไม่มีผลกระทบมากนัก

๒) การเทขี้ผึ้งลงไปในแบบพิมพ์ต้องเทติดต่อกัน อย่าทิ้งช่วงไว้นาน มิฉะนั้นจะทำให้ต้นเทียนเกิดเป็นรอยต่อ หรือรอยแยกเหมือนแตกระแหง

๓) ขี้ผึ้งที่ต้มจนละลายแล้ว จะตักจากปี๊บเทลงไปในแบบพิมพ์ทันทีไม่ได้ ต้องเทและกรองรวมกันไว้ในโอ่งเสียก่อน เพื่อให้ขี้ผึ้งเป็นเนื้อเดียวกัน สีของขี้ผึ้งกลมกลืนกัน ระดับความร้อนใกล้เคียงกัน ลำต้นเทียนจึงจะสวยและราบเรียบ

๔) อย่าใช้ภาชนะที่มีขนาดใหญ่ตักขึ้ผึ้งเทลงไปในแบบพิมพ์ เพราะจะเกิดผลเสียอย่างน้อย ๒ ประการ คือ ประการแรก จะทำให้เกิดฟองอากาศตามที่กล่าวแล้วในข้อ ๑) ข้างต้น ประการที่สอง จะทำให้ แบบพิมพ์ที่เป็นสังกะสีไม่อาจทนความร้อนได้ สังกะสีที่เป็นแบบพิมพ์อาจแตกกลางคัน ภาชนะที่ใช้ตักขี้ผึ้งควรเป็นภาชนะที่ได้เสนอแนะไว้แล้ว ข้างต้น

๕) ทุกครั้งที่เทขี้ผึ้ง ผู้เทจะต้องยืนให้สูงกว่าปากของแบบพิมพ์ มิฉะนั้นจะทำให้ขี้ผึ้งหก หรือกระฉอกออกนอกแบบพิมพ์ หรือกระเด็นมาถูกตัวผู้เท ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนได้

๖) ทุกระยะที่เทขี้ผึ้ง ต้องหมั่นตรวจดูแบบพิมพ์อยู่เสมอว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดหรือไม่ เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาตามเหตุที่เกิด

๗) ถ้าแบบพิมพ์มีรอยปริ หรือแตก ควรใช้ปูนปลาสเตอร์ หรือดินเหนียว หรือวัสดุอย่างอื่นอุดรอยรั่วไว้ให้ดี

๘) อย่าใช้เด็กเทขี้ผึ้ง อาจเกิดอันตรายได้

๙) อย่ารีบร้อนถอดแบบพิมพ์ออกก่อนเวลากำหนด ซึ่งโดยปกติกว่าขี้ผึ้งจะแข็งตัวเต็มที่จะใช้เวลาประมาณ ๖ วัน เมื่อจะถอดแบบพิมพ์ควรใช้ช่างที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ อาจจะเป็นช่างกลึงก็ได้ มิฉะนั้น ต้นเทียนอาจจะบีบหรือยุบ หรือเสียรูปทรงได้ ซึ่งเป็นการยากที่จะแก้ไขให้ดีเหมือนเดิม หากเสียหายรุนแรงอาจถึงขั้นกลับไปดำเนินการใหม่หมด ทำให้งานล้าช้ากว่าที่กำหนด

การเทขี้ผึ้งเพื่อหล่อยอดต้นเทียน
การเทขี้ผึ้งหล่อยอดต้นเทียน มีวิธีการและขั้นตอนคล้ายกับการเทขี้ผึ้งหล่อลำต้นเทียน แต่เนื่องจากมีขนาดสั้นกว่ามาก จึงทำได้ง่ายกว่า กล่าวคือ อาจจะไม่ต้องขุดหลุมดิน และไม่จำเป็นต้องฝังเสาสำหรับตรึงแกนไม้ก็ได้ ปริมาณขี้ผึ้งที่ใช้ก็น้อยกว่าประมาณ ๒๐ กิโลกรัมเท่านั้น

การถอดแบบพิมพ์
การถอดแบบพิมพ์ มีแบบพิมพ์ที่จะต้องถอดอยู่ ๒ อย่างคือ แบบพิมพ์ลำต้นเทียน และแบบพิมพ์ยอดต้นเทียน

๑. การถอดแบบพิมพ์ลำต้นเทียน
ก่อนถอดแบบพิมพ์สังกะสีออกจากลำต้นเทียนที่หล่อไว้แล้ว จะต้องค่อยแกะไม้ที่ขนาบแกนทั้ง ๒ ข้าง ออกจากต้นเสาและแกนลำต้นเทียน ยกเทียนที่ติดอยู่กับแบบพิมพ์ขึ้นมาจากหลุม หากช่างมีความชำนาญพอ อาจใช้กรรไกรตัดแบบพิมพ์สังกะสีให้หลุดออกจากลำต้นเทียนที่หล่อแล้วได้เลย หากช่างไม่มีความชำนาญพอหรือไม่มั่นใจ อาจนำไปให้ช่างกลึงช่วยถอดแบบพิมพ์ให้ก็ได้ วิธีหลังนี้สะดวกและดีกว่า

๒. การถอดแบบพิมพ์ยอดต้นเทียน
การถอดแบบพิมพ์ยอดต้นเทียน ทำวิธีเดียวกันกับการถอดแบบพิมพ์ลำต้นเทียน

การกลึงต้นเทียน
การกลึงต้นเทียน ๒ วิธี คือกลึงโดยช่างกลึง และ กลึงโดยเครื่องที่จัดทำขึ้นเอง การกลึงโดยวิธีแรกสะดวกและรวดเร็วกว่าวิธีที่ ๒ แต่ควรให้คำแนะนำแก่ช่างกลึงให้ชัดเจน การกลึงเทียน ทำได้ง่ายกว่าการกลึงเหล็กและกลึงไม้จึงมักไม่มีปัญหา ในกรณีที่ไม่มีโรงกลึง ช่างทำเทียนจำเป็นต้องทำเครื่องมือกลึงขึ้นเอง
เครื่องมือที่ทำขึ้นเองสำหรับใช้ในการกลึง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คือ

๑) เพลากลึง ทำด้วยเหล็กมี ๒ ช่วง แต่ละช่วงเป็นราวสอดทะลุเสาไม้ ซึ่งไม่ยากนักและตั้งอยู่บนแท่น แท่นไม้ทำหน้าที่เป็นฐานรองรับป้องกันการกระเทือนและกันมิให้เสาล้ม ด้านหนึ่งของเสาไม้และราวเหล็กจะต้องยาวออกไป ซึ่งจะมีไม้อีกท่อนหนึ่งตั้งไว้สำหรับหมุนได้ตรง กลางของราวเหล็กทั้ง ๒ ข้าง เป็นที่สำหรับวางลำต้นเทียนที่ถอดออกจากแบบพิมพ์แล้ว เมื่อนำต้นเทียนเข้าไปวางตรงกลางของราวเหล็ก จะต้องให้ราวเหล็กทั้ง ๒ ข้างตรึงลำต้นเทียนให้แน่นอยู่กึ่งกลาง และเมื่อหมุนตรงที่จับลำต้นเทียนก็จะหมุนตาม

๒) เหล็กกลึง เป็นแท่งเหล็กกลม ปลายด้านหนึ่งเป็นรูปต่าง ๆ อาจจะเป็นปลายแหลม หรือปลายแบนมีคม หรือปลายแบนแต่เฉียง หรือรูปทรงลักษณะอื่นตามที่ต้องการ เหล็กกลึงนี้ใช้สำหรับกลึงเทียนให้เป็นรปตามที่ต้องการ

๓) แท่นไม้รองรับเหล็กกลึง เป็นแผ่นไม้หนามี ๒ ชิ้นประกบกัน แผ่นแรกลักษณะเหมือนกรอบรูป แผ่นที่ ๒ ลักษณะเหมือนขาค้ำยันของกรอบรูป

ในการกลึงลำต้นเทียนมีข้อระวังคือ เมื่อกลึงเสร็จแล้วก่อนจะยกลำต้นเทียนออกจะต้องหาวัสดุมาไว้รองรับ และวัสดุนั้นจะต้องอ่อนนุ่ม มิฉะนั้นลำต้นเทียนอาจบุบสลาย ซึ่งนิยมใช้หมอนในการรองรับ การกลึงต้นเทียนที่กล่าวข้างต้นใช้สำหรับทั้งกลึงลำต้นเทียนและกลึงยอดต้นเทียน

tour-how-make-candles-ubon-ratchathani tour-how-make-candles-ubon-ratchathani

การทำขี้ผึ้งแผ่น
ต้นเทียนทั้ง ๒ ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์และประเภทแกะสลัก มีส่วนประกอบที่สำคัญ เหมือนกันอยู่ ๓ ส่วน คือ
๑. ฐาน
๒. ลำต้น
๓. ยอด

ทั้ง ๓ ส่วน จะต้องทำให้เกิดความสวยงาม วิจิตรพิสดาร สิ่งที่ช่วยเป็นพื้นฐานที่จะสร้างสรรค์ความสวยงามและวิจิตรพิสดาร คือ ผึ้งแผ่น หมายถึ็ง ขี้ผึ้งที่ทำขึ้นเป็นแผ่น เพื่อใช้สำหรับปิดทุกส่วนของทั้ง ๓ ส่วนข้างต้น เพื่อให้เป็นพื้นที่ซึ่งจะติดดอกหรือลวดลายที่ทำขึ้นต่อไป เมื่อประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมา ช่างทำต้นเทียนมักใช้กระดาษสีปิดส่วนต่าง ๆทั้ง ๓ ส่วน แล้วใช้กระดาษที่ทำเป็นลวดลายปิดทับอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นงานที่ทำได้ง่ายและดูเป็นของธรรมดา นายประดับ ก้อนแก้ว เป็นผู้ริเริ่มคิดหาวิธีที่แตกต่างกันออกไป คือ ไม่ต้องการใช้กระดาษ แต่ต้องการให้ทุกส่วนทำด้วยขี้ผึ้ง จึงหาวิธีทำขี้ผึ้งแผ่นขึ้นมาใช้ ทดลองทำอยู่หลายครั้งและหลายปี ในที่สุดก็สามารถทำผึ้งแผ่นได้สำเร็จ ต่อมาจึงมีผู้นิยมทำตามอย่างกว้างขวาง

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 849 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์