ยุคของงานแห่เทียนเข้าพรรษา อุบลราชธานี
สารบัญ
ระยะนี้เป็นยุคของการทำต้นเทียนด้วยวิธีการหล่อโดย ใช้ไม้ไผ่ลำใหญ่ทะลุปล้องตรงกลางออกแล้วเทขี้ผึ้งที่หลอมละลายใส่ลงไป ทำให้ได้ต้นเทียนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นิยมใช้ขี้ผึ้งแท้ในการหล่อต้นเทียน จึงมีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ และสามารถใช้จุดเพื่อให้แสงสว่างได้จริง แต่ต้นเทียนก็ยังมีขนาดเล็กอยู่ ในส่วนการตกแต่ง (ภาษาอีสานเรียกว่า การเอ้) จะใช้วัสดุจำพวกเชือกย้อมสีพันรอบต้นเทียนเป็นช่วง ๆ และใช้กระดาษสีต่าง ๆ ทำเป็นลวดลายพันประดับที่ต้นเทียนและทำฐานไว้เพื่อใช้แบกหรือหาม ต่อมาจึงมีผู้ทำด้นเทียนให้ใหญ่ขึ้นถึงขนาดเท่าลำต้นกล้วย และทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจนมีขนาดเท่าต้นเสาทรงกลม หรือทรงกระบอก แต่พื้นผิวเทียนยังกลมเกลี้ยง ถือได้ว่าเป็นงานที่ทำได้ยาก
ดังนั้น ชาวบ้านบางกลุ่มจึงนิยมทำต้นเทียนขนาดใหญ่ที่มีรูปทรงเป็นเหลี่ยม ซึ่งทำได้ง่ายกว่าทรงกลม ลำพังมีเฉพาะต้นเทียนทำให้มองเห็นไม่สวยงาม จึงทำฐานล่างของเทียนเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อรองรับต้นเทียนไว้มิให้ล้มหรือเอน เอียง โดยใช้ไม้ประกอบกันเข้าเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่นทรงกลม หรือทรงเหลี่ยม อาจทำเป็นชั้นเดียวหรือหลายชั้น แล้วแต่เห็นว่าสวยงาม ตรงกลางฐานล่างจะมีไม้ท่อนหนึ่งเป็นแกนปักไว้ ในเวลาหล่อต้นเทียนต้องให้เนื้อเทียนโอบโดยรอบแกนไม้นี้ เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายต้นเทียนและฐานล่างเพื่อความสะดวกและเบาแรง การหามใส่บ่าจะสะดวกกว่าการยกด้วยมือ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาไม้คานหามมาตีขนาบทั้ง ๒ ด้านของฐานล่าง ใช้เชือกผูกปลายไม้ด้านหามทั้ง ๒ ด้านให้อยู่ในลักษณะหย่อนเพื่อที่คนจะเข้าไปถามและจับไม้ที่ตีขนาบได้ต่อมา มีการประชันขันแข่งกันทำต้นเทียนในด้านความสวยงามและความใหญ่โตระหว่างกลุ่ม หรือคุ้มวัด กลุ่มไหนคุ้มวัดไหนจัดทำต้นเทียนได้ลวยงามก็มีการยกย่องสรรเสริญฝีมือช่าง จากเดิมที่มีการประดับตกแต่งด้วยวิธีการใช้กระดาษสีพันรอบต้นเทียน ก็เปลี่ยนเป็นการใช้กระดาษสีติดเป็นลวดลายแทน เช่น ลายดอกลำดวน ดอกพิกุล แต่ในด้านความวิจิตรพิสดารของต้นเทียนยังมีให้เห็นไม่มากนัก การจัดทำต้นเทียนในสมัยนั้น จึงเป็นต้นแบบของต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ในสมัยต่อมา
สมัยที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๕๐๑) แกะลายติดพิมพ์
เป็น ช่วงที่ศิลปะการทำเทียนพรรษา และงานช่างศิลปะต่าง ๆได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านแนวความคิด รูปแบบ และองค์ประกอบทางศิลปะ ในส่วนที่เกี่ยวกับการแห่เทียนพรรษาการใช้ล้อเลื่อนและเกวียนเข้าในขบวนแห่ เริ่มซบเซาลง มีการนำรถมาใช้เป็นพาหนะแทน การตกแต่งประดับประดารถและขบวนแห่ สามารถทำได้อย่างวิจิตรตระการตามากขึ้น การทำต้นเทียนก็เช่นกัน มีการคิดค้นวิธีการทำให้เกิดเป็นลวดลายที่สลับซับซ้อนสวยงามมากขึ้น โดยการพิมพ์ลายดอกผึ้งให้เป็นลายต่าง ๆ บนแบบพิมพ์ที่ทำขึ้นจากการแกะสลักต้นกล้วย หรือผลไม้บางชนิดที่มีเนื้อแน่น เช่น มะละกอ มะม่วง ฟักทอง มันเทศ เผือก ให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายดอกไม้ เป็นต้น แบบพิมพ์ ๑ อัน ใช้พิมพ์ดอกผึ้งได้เพียง ๑ ลาย แต่อาจพิมพ์ได้หลายดอก ถึงกระนั้นก็ตามจำเป็นต้องทำแบบพิมพ์ไว้ให้มากเมื่อทำแบบพิมพ์ลาย เสร็จแล้วใช้ไม้เสียบแบบพิมพ์เพื่อทำเป็นที่จับนำไปจุ่มลงในขี้ผึ้งที่ต้มจน หลอมละลาย ขี้ผึ้งก็จะติดอยู่ที่แบบพิมพ์ จากนั้นนำฉบับพิมพ์ไปจุ่มในน้ำเย็นอีกครั้ง เพื่อให้ขี้ผึ้งที่ติดแบบพิมพ์หลุดออกมา ก็จะได้ลายดอกผึ้งตามแบบพิมพ์ แล้วนำไปติดกับต้นเทียนที่หล่อไว้ตั้งแต่ส่วนของต้นเทียนจนกระทั่งถึงส่วน ของฐานและส่วนประกอบอื่น ๆ ให้มีลวดลายสวยงามตามรูปแบบที่คิดไว้การติดดอกผึ้งจะต้องใช้ไม้กลัดช่วย เลียบและตรัสไว้ เพื่อป้องกันมิให้ดอกผึ้งหลุดออก วิธีการเช่นนี้ นับได้ว่าเป็นต้นแบบของการจัดทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์
การพิมพ์ลาย ดอกผึ้งลงในแบบพิมพ์ที่ทำจากผลไม้ ก่อให้เกิดความยุ่งยาก และเสียเวลา เนื่องจากแบบและลวดลายไม่ต่อเนื่องจึงมีผู้คิดประดิษฐ์วิธีทำแบบพิมพ์ลายดอก ผึ้งขึ้นใหม่ ชื่อนายโพธิ์ ส่งศรี ลูกศิษย์ของญาถ่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นน.ตโร) ช่างทำต้นเทียนของวัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในเขตคุ้มบ้านของท่านเองท่านได้นำความรู้ความสามารถในการ เป็นช่างออกแบบก่อสร้างและแกะลายโบสถ์มาประยุกต์ใช้ โดยได้คิดวิธีแกะลายแบบพิมพ์ลงบนไม้ฝรั่ง ลวดลายที่แกะสลักเป็นลายง่าย ๆ แบบพื้นถิ่น ลักษณะของลายจะไม่พริ้วมากเหมือนกับลายของภาคกลาง เช่น ลายผักแว่น ดอกพุดตานดอกฝ้าย ประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู กรุยเชิง หน้าขบ เป็นต้น โดยการนำขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้ว เทลงบนแบบพิมพ์รอจนกว่าขี้ผึ้งเย็นจึงแกะออกจากแบบพิมพ์ แล้วนำไปติดที่ต้นเทียนหลังจากนั้นได้มีการคิดค้นวิธีแกะลายบนแบบพิมพ์เพิ่ม ขึ้น โดยการนำเอาหินสบู่ (อาจเรียกว่า หินชนวน หินอ่อน หรือหินลับมีดโกน) มาใช้ทำแบบพิมพ์เพื่อพิมพ์ลายดอกผึ้ง โดยใช้ขี้ผึ้งที่ตากแดดจนอ่อนมากดลงบนแผ่นหินที่เป็นแบบพิมพ์ ซึ่งลวดลายทีได้มีดวามคมชัด อ่อนช้อย และต่อเนื่องกันจากนั้นจึงนำลวดลายที่ได้ไปติดที่ต้นเทียน เรียกว่า เทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์
ต่อมาได้มีช่างฝีมือเกิดขึ้นใหม่อีกหลายคน เช่น นายสวน คูณผล อาชีพรับราชการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัดหนองยาง ปัจจุบัน คือโรงเรียนอุบลวิทยาคม ช่างฝีมือผู้เจริญรอยตามนายสวน คูณผล คือนางสงวนศักดิ์ คูณผล ผู้เป็นภรรยาซึ่งรับราชการครูโรงเรียนเดียวกันกับสามี เป็นผู้มีฝีมือด้านงานประดิษฐ์ศิลป์ที่มีคุณค่าทางศิลปหัตถกรรมการจัดดอกไม้ สดและดอกไม้ประดิษฐ์ ท่านได้นำสิ่งล้ำค่าเหล่านี้มาประดับตกแต่งเสริมต้นเทียนให้เกิดความสวยงาม ยิ่งขึ้น นายสวน คูณผล ได้ประยุกต์ลวดลาย และเพิ่มรายละเอียดของลวดลายที่นำมาติดให้มากยิ่งขึ้น มีการนำสี (ในสมัยนั้นใช้สีตราสตางค์) ต้มผสมกับขี้ผึ้งเพื่อให้สีของขี้ผึ้งที่นำมาทำดอกผึ้งสม่ำเสมอเป็นสีเดียว กัน เนื่องจากมีทั้งขี้ผึ้งเก่าและขี้ผึ้งใหม่ โดยปั้นเป็นรูปสัตว์ และฉลุไม้เป็นลวดลายประดับมากยิ่งขึ้น พร้อมกับสอดแทรกเนื้อหาเรื่องราวพุทธประวัติ มีการนำสัตว์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของปีนักษัตรมาประกอบเป็นฐานของต้นเทียน เช่น ปีมะโรงก็ใช้งูใหญ่ขดใต้ฐานต้นเทียนและแผ่แม่เบี้ยคุ้มครองต้นเทียน นอกจากนายสวนและนางสงวนศกดิ์ คูณผลแล้ว ยังมีพระบุญจันทร์ (วัดแจ้ง) พระสมพงษ์ อินทร์โสม (วัดทุ่งศรีเมือง) นายล้วน มุขสมบัติ และนายประดับ ก้อนแก้ว ซึ่งแต่ละคนล้วนเป็นช่างฝีมือนการจัดทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์
ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.๒๔๘๐ การหล่อเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการเพิ่มเติมลวดลายลงบนต้นเทียนจากเดิมเป็น การมัดเทียนเล่มเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน หรือเป็นการหล่อขี้ผึ้งรวมกันให้เป็นเทียนต้นใหญ่ แม้ว่าจะมีการกล่าวถึงรายละเอียดการทำลวดลายในระยะแรกที่เป็น แบบ “...ทำลวดลายขี้ผึ้งในตัวแล้วปิดทองคำเปลว..” ลวดลายที่พัฒนาในช่วงทศวรรษดังกล่าว เป็นลวดลายที่เรียกว่าลวดลายแบบติดพิมพ์ อันได้แก่ การนำขี้ผึ้งมาทำให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ต้นฉบับที่แกะสลักขึ้นจากต้นกล้วย มะละกอ ฟัก ฯลฯ ซึ่งวิธีการทำ ได้แก่ การนำแบบพิมพ์ไปชุบในขี้ผึ้งที่ต้มให้ละลาย แล้วนำมาถอดแบบพิมพ์ในน้ำเย็นอีกครั้งให้ขี้ผึ้งหลุดร่อนออกจากพิมพ์ ทั้งนี้เมื่อได้ขี้ผึ้งที่พิมพ์ลายตามจำนวนที่ต้องการแล้ว จึงนำไปติดกับต้นเทียน
อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการใช้แบบพิมพ์จากผลไม้ไม่คงทน ดังนั้นจึงได้มีการคิดประดิษฐ์การแกะสลักแบบพิมพ์บนไม้ที่ทำจากต้นฝรั่ง (หรือไม้สีดาตามภาษาอีสาน) เพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น ผู้คิดประดิษฐ์คนแรก ได้แก่ นายโพธิ์ ส่งศรี (ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. ๒๕๒๓) ซึ่งเป็นช่างออกแบบก่อสร้างมาก่อนและได้เป็นช่างทำเทียน พรรษาให้กับวัดทุ่งศรีเมือง การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้นถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือนายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ ไม่เพียงแต่ฆราวาสเท่านั้นที่เป็นช่างทำเทียนพรรษา ยังมีพระสงฆ์ที่เป็นช่างฝีมือในการทำเทียนพรรษาอีก ได้แก่ พระมหาบุญจันทร์ กิตติโสภโณ ( ยังมีชีวิตอยู่) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแจ้ง และ พระสมพงษ์ อินทร์โสม (ไม่มีข้อมูลระบุว่าปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่หรือไม่) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งต่อมาได้ลาสิกขาออกมารับราชการครูโรงเรียนอุบลวิทยากร และพบว่าภายหลังได้เลิกทำเทียนพรรษาไปแล้ว
ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๔ ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภทคือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น นายชอบ ชัยประภา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบล ราชธานีในขณะนั้น และเป็นประธานประกวดเทียนพรรษา เห็นชอบให้งานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบล ราชธานีเป็นงานประจำปีของจังหวัดอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ช่วงรอยต่อระหว่างต้นพุทธทศวรรษที่ ๒๔๘๐- กลางพุทธทศวรรษที่ ๒๔๙๐ เป็นช่วงที่ศิลปะการทำเทียนพรรษามีการเปลี่ยนแปลง ไม่เพียงแต่ด้านลวดลายบนต้นเทียนเท่านั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบอื่น ๆ ของขบวนแห่เทียนพรรษาอีกด้วย เช่น จากเดิมที่ใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนบรรทุกต้นเทียนพรรษา ได้กลายเป็นการใช้รถยนต์แทน เนื่องจากสามารถประดับประดารถยนต์และขบวนแห่ได้อย่างพิสดารมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการรื้อฟื้นการทำเทียนพรรษาแบบเดิม ซึ่งเป็นการมัดรวมเทียนเล่มเล็กเข้าด้วยกัน
ความนิยมการทำลวดลายบนเทียนพรรษาด้วยการติดพิมพ์ที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ก่อให้เกิดช่างทำเทียนที่มีฝีมือเป็นจำนวนมาก กล่าวได้ ว่าในช่วงพุทธทศวรรษที่ ๒๔๙๐นี้เอง การติดพิมพ์ของนายประดับ ก้อนแก้ว ซึ่งเป็นช่างทำเทียนที่ได้รับการศึกษาวิธีการติดพิมพ์จากพระมหาบุญจันทร์ กิตติโสภโณ พระสมพงษ์ อินทร์โสม และนายล้วน มุขสมบัติ ทำให้เทียนของวัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) ชนะเลิศการประกวดเทียนพรรษา และทำให้วัดที่มีนายประดับ ก้อนแก้ว เป็นช่างทำเทียนชนะเลิศทุกครั้งเช่นกัน
ใน พ.ศ.๒๔๙๕ ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภทคือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภทติดพิมพ์ การทำเทียนแต่ละคุ้มวัดช่างทำเทียนส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ที่มีความสนใจ และร่ำเรียนวิชาทางช่างมา พระช่างที่มีชื่อเสียงได้แก่ พระที่วัดแจ้ง วัดกลาง วัดทุ่งศรีเมือง และวัดพลแพน ช่างที่เป็นฆราวาสส่วนมากจะเป็นช่างระดับลูกมือมีหน้าที่ช่วยด้านแรงงาน และช่วยทำลวดลายตามแบบพิมพ์ ในบรรดาพระช่างทั้งหลายนั้น มีพระบุญจันทร์ หรือพระมหาบุญจันทร์ กิตติโสตโณ วัดแจ้ง เป็นช่างแกะสลักลวดลายที่มีฝีมือสูงมาก
ครั้น พ.ศ.๒๔๙๗ เทียนพรรษาได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำเเบบพิมพ์ดอกผึ้งขึ้นใหม่ โดยช่างฝีมือรุ่นหลัง ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายประดับ ก้อนแก้ว (อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนอุบลวิทยาคม) ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว และ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ ผู้เรียนวิชาทางด้านศิลปะโดยตรง ได้นำลายเครือเถาลายเส้น หรือลายกนก มาถ่ายทอดให้นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน ต่อมามีช่างฝีมือดีอีกคนหนึ่งคือ นายสงวน สุพรรณ ช่างทำเทียนวัดสารพัฒนึกผู้มีความสามารถในการต่อลายและซ้อนลายได้อย่างงดงามอ่อนช้อยมาก เทียนที่นายสงวนทำขึ้นมาจะมีสีสันที่สดใส ผิวเป็นมันสวยงาม นายประดับก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา พร้อมกับประกาศให้เป็นงานประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานีอย่างเป็นทางการ และจัดให้มีการประกวดต้นเทียนอย่าเต็มรูปแบบนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน
งานแห่เทียนพรรษาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕-ปัจจุบัน
การทำลวดลายลงบนต้นเทียนพรรษาได้มีการพัฒนามากขึ้น ในช่วงพุทธทศวรรษที่๒๕๐๐ จากเดิมที่มีแต่การติดพิมพ์ขี้ผึ้งลงบนต้นเทียนพรรษาอย่างเดียว เป็นการแกะสลักลงบนต้นเทียนพรรษาเพิ่มขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง โดยช่างทำเทียนชื่อ นายคำหมา แสงงาม (ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. ๒๕๓๓) ซึ่งเดิมประกอบอาชีพเกี่ยวกับการแกะสลักไม้และออกแบบลวดลายโบสถ์ วิหาร ให้กับวัดต่างๆ อยู่แล้ว
การริเริ่มการแกะสลักลงบนต้นเทียนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เทียนพรรษาแบบแกะสลัก” ทำให้การประกวดเทียนพรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นการประกวดในเขตเทศบาลอำเภอวารินชำราบที่ยังไม่แยกประเภทของการทำเทียน ซึ่งมีด้วยกัน ๓ แบบ คือ แบบมัดรวมต้นเทียน และแบบติดพิมพ์ ซึ่งเป็น ๒ ลวดลายที่ประกวดมาแต่เดิม กับลวดลายการแกะสลักซึ่งเป็นลวดลายใหม่ ทว่าลวดลายแกะสลักของนายคำหมา แสงงาม กลับได้รับรางวัลที่ ๑ และได้มีการนำเทียนพรรษาที่ได้รางวัลที่ ๑ นี้ไปประกวดในเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ในนามตัวแทนของอำเภอ ซึ่งได้รับรางวัลที่ ๑ อีกเช่นกัน ทำให้ขบวนแห่เทียนพรรษาของชาวบ้านในคุ้มวัดอื่นไม่พอใจ ส่งผลให้ในปีต่อไปมีการแยกการประกวดทำเทียนทั้ง ๓ประเภทอย่างเด่นชัดมากขึ้น
***(การประกวดเทียนพรรษา และขบวนแห่เทียนพรรษาในช่วงพุทธทศวรรษที่ ๒๕๐๐ สันนิษฐานว่า เป็นรูปแบบของการที่แต่ละอำเภอจะหาตัวแทนของอำเภอตน ส่งเข้าประกวดในระดับจังหวัด ดังนั้นจึงได้มีการประกวดในระดับอำเภอก่อน แล้วจึงนำเทียนที่ได้รางวัลส่งเข้าประกวดในระดับจังหวัดต่อไป ทั้งนี้รูปแบบดังกล่าว อาจยกเลิกในช่วงทีองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อสท.) เข้ามา เนื่องจากเริ่มมีการลงทุนในการทำเทียนมากขึ้บ จนแต่ละคุ้มวัดไม่สามารถส่งเทียนเข้าประกวดได้ นอกจากวัดในอำเภอเมืองเท่านั้น)
งานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีได้หยุดชะงักไป ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื่องจากได้มีการรวมกลุ่มของพระสงฆ์และ พุทธศาสนิกชนในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งเป็น “พุทธสมาคมจังหวัดอุบลราชธานี” นำโดยพระปริยัติโกศล (ถวัลย์) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง เพื่อคัดค้านการแห่เทียนพรรษาที่เป็นอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้นว่า การประกวดเทียนพรรษาจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของแต่ละคุ้มวัดที่ส่งเข้าประกวด กระทั่งอาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างคุ้มวัด ขณะเดียวกันการถวายเทียนพรรษาเป็นหน้าที่ของฆราวาส แต่วัดกลับเป็นผู้ทำเทียนพรรษาเอง แม้้ว่าจะเป็นฆราวาสทำ แต่เมื่อตั้งบนขบวนแห่เทียนพรรษาย่อมจะมีชื่อวัดต่าง ๆ เป็นเจ้าของขณะที่ยังไม่มีการถวาย ซึ่งถือว่าไม่เป็นการสมควร
นอกจากนี้การทำเทียนพรรษายังต้องใช้งบประมาณมาก ซึ่งทำให้เงินของวัดลดลง ดังนั้นพุทธสมาคมจังหวัดอุบลราชธานีจึงรณรงค์ให้ทุกวัดในเขตเทศบาลเมืองอบลราชธานีงดทำเทียนพรรษาส่งเข้าประกวด แต่ใช้ต้นเทียนlnรรษา ซึ่งทางพุทธสมาคมจัดทำขึ้นในแบบเดียวกันทั้งหมดแทน โดยไปรับที่กุ่ฏิพระปิรยัติโกศล ณ วัดทุ่งศรีเมือง ส่งผลให้งานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีปีนั้น ไม่มีการประกวดเทียนพรรษาและไม่มีมหรสพใด ๆ อีกด้วย ทำให้ชาวจังหวัดอุบลราชธานีส่วนใหญเกิดความไม่พอใจ ซึ่งในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น ได้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว กระทั่งในปีต่อมาชาวจังหวัดอุบลราชธานีก็มีงานแห่เทียนพรรษาเช่นเดิม
ความนิยมเทียนพรรษาแบบมีลวดลายทั้งแบบติดพิมพ์และแบบแกะสลักของชาวจังหวัดอุบลราชธานีที่เพิ่มมากขึ้น ทุกปีทำให้ในที่สุดเทียนพรรษาแบบมัดรวมเทียนเล่มเล็กอันเป็นแบบดั้งเดิม ไม่มีชาวคุ้มวัดใดทำส่งเข้าประกวดในช่วงกลางพุทธทศวรรษที่ ๒๕๐๐ จึงเป็นครั้งแรกที่มีการยกเลิกการประกวดเทียนพรรษาแบบมัดรวมเทียนเล่มเล็ก คงเหลือแต่เขียนแบบมีลวดลาย ๒ แบบเท่านั้น ในช่วงนี้ความนิยมเป็นช่างทำเทียนแบบแกะสลักขยายวงกว้างมากขึ้น ช่างทำเทียนแบบแกะสลักที่ได้รับความนิยม ได้แก่ นายอุส่าห์ และนายสมัย จันทรวิจิตรห (ยังมีชีวิตอยู่) ๒ พี่น้อง ซึ่งประกอบอาชีพออกแบบลวดลาย และก่อลร้าง่โบสถ์ วิหาร ตลอดจนศาสนสถานต่าง ๆ ทั้งนี้ปรากฏว่าเมื่อนายคำหมา๋ แสงงาม วางมือจากการเป็นช่างทำเทียนแกะลลักแล้ว ผลงานการแกะลลักของนายอุส่าห์ และนายสมัย จันทรวิจิตร ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศทุกครั้งที่ส่งเทียนพรรษาเข้าประกวด
การจัดงานแห่เทียนพรรษา ซึ่งรวมถึงการประกวดเทียนพรรษาและขบวนแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เนื่องจากได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง กระทั่งมีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัดให้ความสนใจมาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้องค์การส่งเลริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อสท.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จึงได้เข้ามาร่วมกิจกรรมและร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานแห่เทียนพรรษา ให้ถือเป็นงานประจำปีและงานระดับชาติของจังหวัดอุบลราชธานีโดยขยายการประชาสัมพันธ์ไปยังประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้น