รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

มิติใหม่แห่งการอนุรักษ์สืบสานเทียนพรรษา อุบลราชธานี

สารบัญ

ดังนั้นในวิถีสังคมปัจจุบันที่มีความซับซ้อน เราจึงไม่อาจเห็นอะไรที่สมบูรณ์แบบโดยเฉพาะประเด็นของแก่นแท้ของประเพณีแห่เทียนพรรษาในกระแสสังคมแบบทุนนิยม ที่เต็มไปด้วยการแข่งขันชิงดีชิงเด่น(เปลือกนอก) ภายใต้แรงขับเคลื่อนของระบบทุนนิยมสามานย์ ที่ผู้คส่วนใหญ่ได้ตกเป็นทาสทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มหัวก้าวหน้าที่ต้องเผชิญ กับความเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของสังคมใหม่ที่แตกต่างจากอดีตอย่างสินเชิง จะเห็นได้ว่าเมื่อ มูนมัง ที่เป็นตัวตนของท้องถิ่นถูกชี้นำจากคนนอกหรือคนในที่มีอำนาจ และให้ความหมายใหม่ตามกรอบแนวคิดอันคับแคบ เช่น วาทกรรมหรือการสร้างกรอบแนวคิดจากชนชั้นนำอุบลที่ไม่มีความรู้และความเข้าใจที่ดีพอแต่มีอำนาจ โดยเฉพาในกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่สร้างกรอบกติกาอันคับแคบ ที่มีผลโดยตรงต่อการสร้างสรรค์ของช่างเทียน เช่นว่า อุบลเป็นเมืองนักปราชญ์ ที่เน้นการเมืองเรื่องศาสนาเชิงอุดมคติ ตามแนวทางนำเข้าจากวัฒนธรรมส่วนกลาง ด้วยเหตุนี้เองที่ ทำให้ท้องถิ่นนั้นสูญเสียกระบวนการทัศน์หรือศักยภาพความสามารถด้านอื่นๆ ที่จะหยิบยืมปรัชญาทางธรรมและทางโลกในบริบทท้องถิ่นอีสานด้านอื่นๆในอดีต เช่นวรรณคดีพื้นบ้านอีสานอีกมากมายที่เป็นหลักธรรมคำสอน (รวมถึงศิลปะงานช่างพื้นบ้านแขนงต่างๆ) ที่เข้าถึงวิถีชีวิตได้ง่ายกว่าวัฒนธรรมนำเข้าจากภายนอกที่สนองแค่ความยิ่งใหญ่อลังการตื่นตาตื่นใจในทางโลกียะ มากกว่าคุณค่าแห่งตัวตนและสาระธรรมคำสอนที่จะสื่อสารให้ชาวบ้านได้เข้าใจ

tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani

งานแห่เทียนพรรษากับต้นทุนทางวัฒนธรรม
ต้นทุน (Input)
ของเทียนพรรษาประกอบไปด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ได้แก่ ต้นทุนทางธรรมชาติ อันเป็นต้นทุนที่สำคัญของการทำเทียนพรรษาและองค์ประกอบของเทียนพรรษา ต้นทุนทางเศรษฐกิจซึ่งมีความเกี่ยวพันกับรายรับและรายจ่ายในรูปตัวเงิน ซึ่งเป็นแกนหลัก กับรายรับที่มาในรูปของการบริจาค ต้นทุนทางสังคม ได้แก่ การทำงานอย่างสอดประสานของกลุ่มชนในสังคมเพื่อให้เกิดการลงทุนทางวัฒนธรรม ในรูปของงานแห่เทียนพรรษาได้อย่างดี และต้นทุนทางขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อที่อุดมการณ์ร่วมกันของทุกกลุ่มในสังคม รวมถึงมิติทางประวัติศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานสำคัญก่อให้เกิดวัฒนธรรมเฉพาะของชาวอุบลราชธานี กระทั่งส่งผลถึงการลงทุนทางวัฒนธรรมในงานแห่เทียนพรรษาในที่สุด

จากการศึกษาพบว่า โครงสร้างของสังคมในการจัดงานแห่เทียนพรรษาประกอบไปด้วย ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มราชการ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มการเมืองท้องถิ่น กลุ่มเอกชน ได้แก่ บริษัท ห้างร้าน รวมถึงองค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆในจังหวัดอุบลราชธานี และกลุ่มประชาชนที่รวมทั้งชาวคุ้มวัด ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรมของจังหวัด ช่างทำเทียนพรรษาและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมงานแห่เทียนพรรษา อย่างไรก็ดีผู้มีบทบาทในการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อการลงทุนทางวัฒนธรรมมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มราชการและกลุ่มเอกชน ซึ่งสอดประสานกันในระบบอุปถัมภ์ต่างๆ ทั้งนี้กลุ่มราชการและกลุ่มเอกชนได้รับสิทธิในการบริหารจัดการต้นทุนทางเศรษฐกิจ สังคม และขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ ขณะที่กลุ่มประชาชนมีความสามารถในการบริหารจัดการกับต้นทุนทางธรรมชาติภายใต้เงื่อนไขของการมีสิทธิเพียนผู้ร่วมกิจกรรมในการจัดงาน อันได้แก่ การทำเทียนพรรษาและองค์ประกอบของเทียนพรรษา ตลอดจนการร่วมขบวนแห่เทียนพรรษาเท่านั้น

กระบวนการ (Process)
ในการจัดงานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีนั้น อาจแบ่งกระบวนการจัดงานได้ออกเป็นสามส่วนใหญ่ ได้แก่ ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงาน ส่วนการดำเนินงานและส่วนการประเมินผลภายหลังงานสิ้นสุดลง อย่างไรก็ดีส่วนที่สำคัญที่สุดในการจัดงาน ได้แก่ ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงาน เนื่องจากในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่จะก่อให้เกิดงานแห่เทียนพรรษานั่นเอง กลุ่มซึ่งมีบทบาทในส่วนนี้มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มราชการ เนื่องจากเป็นผู้กำหนดนโยบายและมีส่วนสำคัญในการจัดงานในฝ่ายต่างๆ มากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มเอกชนซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้สนับสนุนด้านการเงิน ในงานแห่เทียนพรรษา ที่ชี้ให้เห็นถึงระบบอุปถัมภ์ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มราชการและกลุ่มเอกชน ขณะที่กลุ่มประชาชนไม่มีรายชื่อปรากฏเป็นคณะกรรมการจัดงานในฝ่ายต่างๆ มากนัก อีกทั้งบทบาทของกลุ่มประชาชนในคณะกรรมการจัดงาน เป็นเพียงผู้ร่วมหรือที่ปรึกษาฝ่ายต่างๆ ซึ่งไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าใดนัก

ในส่วนการดำเนินการจัดงานแห่เทียนพรรษานั้น รูปแบบของการจัดงานแห่เทียนพรรษา คณะกรรมการจัดงานได้สร้างให้งานแห่เทียนพรรษากลายเป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ การเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากขึ้น ขณะเดียวกันงานแห่เทียนพรรษาที่เกิดขึ้นยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่วัฒนธรรมใหม่ที่แยกความสัมพันธ์ระหว่างการทำบุญตามประเพณีแห่เทียนพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกับงานแห่เทียนพรรษาในปัจจุบัน

tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani

กระบวนการจัดงานในส่วนสุดท้ายก็คือ การประเมินผลการจัดงาน ซึ่งพบว่าการที่กลุ่มราชการประเมินการจัดงานด้วยตนเองนั้นไม่น่าที่จะประสบความสำเร็จต่อความเที่ยงตรงและการประสบปัญหาที่แท้จริง เพื่อการจัดงานที่ดีขึ้นในครั้งต่อไปเท่าใดนัก นอกจากนี้ภายหลังจากงานแห่เทียนพรรษาได้สิ้นสุดลง การทำงานตามหน้าที่เดิมของอนุระบบแต่ละกลุ่มจะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง พร้อมกับการรอที่จะต้องจัดงานอีกครั้งในปีต่อไป ภายใต้เงื่อนไขของการที่กลุ่มประชาชนไม่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดงานอยู่เช่นเดิม

ผลผลิต (Output) ที่เกิดขึ้นในงานแห่เทียนพรรษา
๑) การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อทดแทนต้นทุนทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันทดแทน อาทิ การใช้ขี้ผึ้งวิทยาศาสตร์แทนขี้ผึ้งแท้จากธรรมชาติ ตลอดจนการประยุกต์ใช้วัสดุอื่นทดแทนปูน อาทิ การใช้ปูนปลาสเตอร์หรือท่อพีวีซี เป็นแกนต้นเทียนพรรษานั่นเอง อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีทดแทนที่เกิดขึ้น กลุ่มประชาชนนับเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากที่สุด เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับการทำเทียนพรรษาของชาวคุ้มวัดมากที่สุด ซึ่งส่งผลดีในแง่ของการทำให้เกิดการเรียนรู้สร้างสรรค์ และการปรับตัวของกลุ่มประชาชนในการจัดงานแห่เทียนพรรษาได้ อันก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของชุมชนได้

๒) การเกิดส่วนต่างของรายรับและรายจ่ายในการจักงานเป็นจำนวนมาก อันเนื่องจากรายรับในการจัดงานที่ส่วนใหญ่มาจากงบประมาณประจำปีของหน่วยราชการ และงบประมาณที่มาจากการบริจาค ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วพบว่า เกิดส่วนต่างของรายรับมากกว่ารายจ่ายนับแสนบาท นอกจากนี้ยังมีเพียงกลุ่มราชการและเอกชนเท่านั้น ขณะที่กลุ่มประชาชนไม่มีส่วนรับรู้และทราบถึงส่วนต่างดังกล่าวนี้เลย

๓) การเกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ในงานแห่เทียนพรรษา ได้แก่ ธุรกิจแบบใหม่ที่เกิดจากพ่อค้ารายย่อย หรือพ่อค้าเร่ ซึ่งมักนิยมขายสินค้าตามเทศกาลประจำปีของแต่ละจังหวัด อาทิ การบริการรับฝากรถที่ปรากฏว่าค่าบริการแพงเกินไป รวมถึงร้านค้าภายในงานที่ขายสินค้าหรือบริการซึ่งมีราคาสูงมาก เช่น ร้านปืนอัดลมที่มีราคาสูงถึงชุดละ ๘๐ บาท เป็นต้น ตลอดจนธุรกิจรูปแบบใหม่ที่แอบแฝงอยู่กับธุรกิจที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจัดงาน อันได้แก่ การจำหน่ายบัตรนั่งชมขบวนแห่เทียนพรรษาบนอัฒจันทร์

๔) การเกิดสัญลักษณ์ใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี จากมิติทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลให้ในอดีตบัวอุบลหรือบัวสายเป็นสัญลักษณ์ที่คนภายนอกรู้จักจังหวัดอุบลราชธานี หากแต่การจัดงานแห่เทียนพรรษาในปัจจุบันทำให้เกิดสัญลักษณ์ใหม่ขึ้น เทียนพรรษาและงานแห่เทียนพรรษากลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักคนทั่วไปมากกว่าบัวอุบลอันเป็นสัญลักษณ์ที่มีมาแต่เดิมนั่นเอง

ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้นในงานแห่เทียนพรรษา
๑) แนวคิดเรื่องการลงทุนได้กลายเป็นส่วนสำคัญในงานแห่เทียนพรรษา เนื่องจากในงานแห่เทียนพรรษาได้เกี่ยวพันกับการนำประเพณีแห่เทียนพรรษามาเป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ดังนั้นความคาดหวังของคณะกรรมการจัดงานแห่เทียนพรรษาจึงมิได้จัดงานตามประเพณีเท่านั้น หากแต่มองงานแห่เทียนพรรษาเป็นสินค้าและบริการตามประเพณีสร้างผลประโยชน์หรือรายรับในแนวคิดการลงทุนให้แก่จังหวัดอุบลราชธานี ได้จำนวนมาก ความคาดหวังที่เกิดขึ้นนำไปสู่กิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวนั่นเอง ดังนั้นในการจัดงานแห่เทียนพรรษาสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้จึงอาจกล่าวได้ว่าล้วนมาจากอิทธิพลของแนวคิดการลงทุนทั้งสิ้น

๒) งานแห่เทียนพรรษาก่อให้เกิดการมีอุดมการณ์ร่วมกันในสังคมไม่ว่าจะเป็นระดับโครงสร้างทางสังคมในแนวตั้งหรือแนวราบก็ตาม อุดมการณ์ร่วมกันของชาวจังหวัดอุบลราชธานีในงานแห่เทียนพรรษาก็คือ การจัดงานแห่เทียนพรรษาให้ดีที่สุด กระทั่งเป็นที่รู้จักในระดับจังหวัดและระดับชาติ สาเหตุของการมีอุดมการณ์ร่วมกัน ในกลุ่มราชการและเอกชนก็คือ ความคาดหวัดผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในการจัดงาน ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการปรับวิธีคิดและอุดมการณ์เดิมของกลุ่มประชาชนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ใหม่ ซึ่งเทียนพรรษาที่มีความงดงามได้กลายเป็นคำตอบของความเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างดี แม้ว่าบางครั้งจะเกิดปัญหาขึ้นระหว่างกลุ่มหรือภายในกลุ่ม หากแต่ภายใต้อุดมการณ์เดียนกันก็สามารถทำให้งานแห่เทียนพรรษาสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างลุล่วง

๓) ความเชื่อของการทำบุญในประเพณีเข้าพรรษาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในอดีตที่ชาวอุบลราชธานี จะทำบุญในงานเข้าพรรษาตามประเพณีที่ระบุไว้ในฮีตสิบสองคองสิบสี่ ด้วยความเชื่อว่า การถวายขี้ผึ้งจะส่งผลให้เกิดในภพที่สูงขึ้นเมื่อเสียชีวิตลง อีกทั้งการถวายแสงสว่างแด่พระสงฆ์จะทำให้เป็นผู้มีปัญญามาก หากแต่เมื่องานแห่เทียนพรรษาเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ส่งผลให้ความเชื่อในการทำบุญตามประเพณีดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปสู่การบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อใช้ทำเทียนพรรษา อันจะนำความสุขอันเกิดจากความภาคภูมิใจที่คุ้มวัดของตนได้รับรางวัลจากการประกวดเทียนหรือการได้จัดแสดงเทียนพรรษาของคุ้มวัดที่ตนสนับสนุน อันเป็นความสุขในความเป็นปัจจุบันมากขึ้น

๔) เกิดความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในการจัดงานแห่เทียนพรรษา ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ตามโครงสร้างทางสังคมในแนวตั้ง ระหว่างกลุ่มราชการกับกลุ่มเอกชน ที่ต่างแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันในการจัดงาน อาทิ กลุ่มเอกชนบริจาคเงินให้กลุ่มราชการในการจัดงาน ขณะเดียวกันกลุ่มราชการได้ให้สิทธิพิเศษทางการค้าสำหรับธุรกิจเอกชนในงานแห่เทียนพรรษา แม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มราชการและกลุ่มเอกชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำในการจัดงานกับกลุ่มประชาชนที่กลุ่มผู้นำได้ให้ความสนับสนุนคุ้มวัดต่างๆ ในการทำเทียนพรรษาหรือจัดขบวนแห่เทียนพรรษา เพื่อแลกเปลี่ยนกับกลุ่มประชาชนที่จะทำเทียนพรรษาหรือจัดขบวนแห่เทียนพรรษาอย่างงดงามมากที่สุด ดังนั้นความสัมพันธ์ตามโครงสร้างทางสังคม ในแนวราบ สำหรับกลุ่มผู้นำในงานแห่เทียนพรรษาข้างต้นยังมีความคลุมเครือ เนื่องจากปัจจุบันสมาชิกของกลุ่มเอกชนหรือบางคนได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มราชการโดยการเลือกตั้งจากหน่วยราชการเอง นอกจากนี้ความสัมพันธ์ตามโครงสร้างทางสังคมในแนวราบ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มประชาชนก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นแบบอุปถัมภ์ เนื่องจาก การบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อทำเทียนพรรษาในแต่ละคุ้มวัดเป็นการแลกเปลี่ยนกับความสุขทางใจของกลุ่มประชาชนเอง ภายใต้อุดมการณ์เดียวกันภายในกลุ่มที่อยากให้คุ้มวัดเป็นที่รู้จัก ความสัมพันธ์ที่เกิดขั้นดังกล่าวจึงมีลักษณะพิเศษกว่าความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์อย่างยิ่ง

๕) เกิดค่านิยมใหม่ในงานแห่เทียนพรรษา ซึ่งได้แก่ ความพยายามสร้างจุดเด่นในแต่ละกิจกรรมต่างๆ ในงานแห่เทียนพรรษาที่มีความคล้ายคลึงกับงานประเพณีประจำปีของจังหวัดอื่น อาทิ การทำให้องค์ประกอบของเทียนพรรษาที่มีขนาดใหญ่ กระทั่งบดบังต้นเทียนในขบวนแห่เทียนพรรษา การจัดประกวดธิดาเทียนพรรษา ตลอดจนการจัดแสดง แสง เสียง ทั้งนี้ด้วยความคาดหวังถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการจัดแสดง อันเนื่องมาจากความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวพร้อมจะมาท่องเที่ยวในปีถัดไปนั่นเอง

tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 986 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์