รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

ยุคของงานแห่เทียนเข้าพรรษา อุบลราชธานี

สารบัญ

ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีชื่องานว่า "ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา เทิดไท้ ๗๒ พรรษา มหาราชินี" เนื่องจากเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ พระแม่-แม่พระ ของแผ่นดินชาวเมืองอุบลจึงได้จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษากันอย่างยิ่งใหญ่อีกปีหนึ่ง ในปีนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดเสวนาเรื่อง “เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี : อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต” ณ ห้องประชุมมิตรไมตรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาโดยมีสาระสำคัญ ๕ ประการ สรุปได้ว่า

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

๑. ส่งเสริมการทำเทียนโบราณให้แพร่หลาย เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มการประกวดเทียนพรรษาออกเป็น ๓ ประเภท
๒. จัดให้มีขบวนแห่เทียนโบราณต้นแบบ เพื่อคำนึงถึงแก่นแท้ของ ประเพณี
๓. จัดขบวนอัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองตามประเพณีโบราณเพื่อความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษที่ต่อสู้เพื่อกู้แผ่นดิน และเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี
๔. การใช้ดนตรีพื้นเมือง เช่น แคน ซุง โปงลาง บรรเลง ในพิธีเปิดเป็นการถูกต้องเหมาะสมกับอารมณ์ผู้ชม ผู้ฟัง ที่ต้องการบรรยากาศความเป็นพื้นบ้าน พึ้นเมืองแต่ละท้องถิ่น ไปท้องถิ่นใดก็ใคร่ฟังดนตรีท้องถิ่นนั้น
๕. การใช้ดนตรีไทย ปี่พาทย์ ประโคม ในขบวนแห่เทียนพระราชทาน เพื่อสุนทรียภาพคุณค่าความไพเราะ เหมาะกับศิลปวัฒนธรรมไทย จินตนาการย้อนอดีตไทยแท้แต่โบราณ แทนการใช้วงโยธวาฑิต ซึ่งเหมาะสมกับการสวนสนาม หรือการกีฬาโดยเฉพาะ เช่นทุกปีที่ผ่านมา

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีชื่องานว่า "น้อมรำลึก ๕๐ ปี พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ" เนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๖-๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จเยือนอุบลราชธานี ยังความปลาบปลื้มปิติแก่ชาวอุบลฯ เป็นล้นพ้น เพราะตั้งแต่สร้างบ้านเมืองมาเกือบ ๒๐๐ ปี ยังไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จเยี่ยม หรือทรงใกล้ชิดกับราษฎรอย่างไม่ถือพระองค์เช่นนี้ชาวอุบลฯ ทุกหมู่เหล่า ต่างพร้อมน้อมรำลึกด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเหล้าล้นกระหม่อม พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ ปิติล้นพ้น ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี ที่ผ่านมาและตลอดไป

ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มีชื่องานว่า "๖๐ ปี พระบารมีแผ่ไพศาล งามตระการเทียนพรรษา เทิดราชัน" เพื่อแสดงความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นับเป็นการครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประเทศไทย ซึ่งในศุภวาระมหามงคลนี้ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี และความลำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย ในปีนี้คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ระบุให้นำผลงานแกะสลักประติมากรรมเทียนนานาชาติเข้าร่วมในขบวนแห่เทียนพรรษาด้วย

ปี พ ศ ๒๕๕๐ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม เลิศล้ำ เทียนพรรษา ปวงประชาพอเพียง" เนื่องจากเป็นปีมหามงคล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย และการน้อมนำแนวพระราชดำรัสมาใช้ดำรงชีวิต คำว่า คือ “เมืองธรรม ” นายสุวิชช คูณผล ได้อธิบายความหมายไว้ ๓ ประการ ได้แก่

๑ พุทธธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนาที่บรรดาพทธศาสนิกชนน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อความอยู่ดีีมีสุข
๒ อารยธรรม จังหวัดอบลรวชธานีเป็นอู่อารยวัฒนธรรม อุดมอริยทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติของเมืองนักปราชญ์
๓ ธรรมชาติ พระบาทสมเด็็จพระพุทธยอดฟ้าจฬา์โลกทรงพระราชทานนามว่า อุบลราชธานีศรีวนาลัย คำว่า ศรีวนาลัย หมายถึง ดงอู่ผึ้ง เมื่อครั้งก่อตั้งสร้างเมือง ซึ่งประกอบด้วยธรรมชาติโดยทั่วไป มีอุทยานแห่งชาติิหลายแห่ง และสามเหลี่ิยมมรกตเขียวชอุ่มที่เลื่องชื่อ อุบลราชธานีจึงเป็น “ธานีแห่งราชะ ศรีสง่าแห่งไพรพฤกษ”

ซึ่งเป็นปีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายสุธี มากบุญ) ยังได้เพิ่มเติมกิจกรรมงานแห่เทียนพรรษาด้วยการ จัดให้มีขบวนแห่น้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อเฉลิมฉลองในปีมหามงคลอีกด้วย

ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มีชื่องานว่า "เมืองอุบลบุญล้นล้ำ บุญธรรม บุญทาน สืบสานตำนานเทียน" เนื่องจากอุบลราชธานี มีสมญานามว่า "เมืองแห่งดอกบัวงาม" ซึ่งดอกบัว เป็นพฤกษชาติที่มีคติธรรมทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง อุบลราชธานีจึงมีวัฒนธรรมประเพณี ทำบุญทุกๆ เดือน คือการยึดถือ ฮีตสิบสองคองสิบสี่ (ฮีตสิบสอง คือจารีตที่ปฏิบัติแต่ละเดือน ตลอดปี จนเป็นประเพณีสืบต่อมา) ประเพณีแต่ละอย่างในฮีตสิบสอง ล้วนมีแต่ชื่อ ขึ้นต้นว่าบุญ หมายถึง ประเพณีที่มุ่งการทำบุญเป็นสำคัญ อุบลราชธานีจึงมี บุญล้นล้ำ ทั้งบุญธรรม บุญทาน อีกทั้ง งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีมาแต่โบราณ โดยเริ่มจากในสมัยแรกๆ เป็นเทียนเวียนหัว มัดรวมติดลาย วิวัฒนาการมาจนเป็นหลอมเทียน หลอมใจ หลอมบุญ สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี ๒๕๕๑

ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม บุญล้ำเทียนพรรษา ประชาพอเพียง" เนื่องจากอุบลราชธานีเป็น "อู่อารยวัฒนธรรม อุดมอรียทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี" ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม จึงเป็นความรุ่งเรือง สว่างไสว อุดมสมบูรณ์ ในธรรมที่สำคัญยิ่ง ๓ ประการ คือ พุทธธรรม อารยธรรม และธรรมชาติ ประกอบกับ การทำบุญเข้าพรรษาที่อุบลราชธานี มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี จึงเป็นที่รวมทำบุญเข้าพรรษาของประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก ท่านที่มาทำบุญเดือนแปดที่เมืองอุบลฯ จึงเป็นการบำเพ็ญกุศล ได้รับ "บุญล้ำเทียนพรรษา" โดยทั่วหน้ากันพร้อมกันนี้ยังได้เสนอเน้นคำขวัญ ประชาพอเพียง ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ประชาชนพลเมือง จะมีความ พอเพียง ได้ ก็ด้วยคุณธรรมความพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำชีวิตให้อยู่ดีมีสุข ไม่มีความฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยาน ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มีเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี ๒๕๕๒

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล"

จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่าชาวอุบลราชธานีได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษาให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือบริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจัตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียนจะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามไปตามถนนมาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีมีชื่องานแต่ละปี

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ดังนั้น เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี จึงมีความเลิิศล้ำเลอค่ามาโดยลำดับนับ ๑๐๐ ปี ด้วยเหตุผลสำคัญ ๖ ประการ คือ
๑. จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองพุทธศาสนาที่มีวัดมากที่สุดในประเทศไทย มีพระสงฆ์ชั้นสมเด็จถึง ๔ องค์ คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติส โส อ้วน) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธม.มธโร) สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จน.ทปช.โชโต) และ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) มีพระอริยสงฆ์ที่มีีชื่อเสียงทั้งในสายคันถธุระ อาทิ พระอริยวงศาจารย์ (สุ้ย) ท่านพน.ธุโล (ดี) ท่านเทวธม.มี (ม้าว) พระอริยกวี (อ่อน) พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นน.ตโร) พระอุบาลีคุณูปมาจารย (จันทร์ สิริจน.โท) และสายวิปัสสนากรรมฐาน อาทิ พระอาจารย์สีทา ชยเสโน พระอาจารย์เสาร์ กน.ตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระอาจารย์สิงห์ ขน.ตยาคโม พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระโพธิญาณเถร (ชา สุภท.โท) เป็นต้น

๒ ชาวจังหวัตอุบลราชธานี เป็นผู้มีใจุเป็นกุศล ใฝ่ธรรม มีความเชื่อว่า การถวายเทียนพรรษาเป็นผลให้บังเกิดปัญญาเฉียบแหลม มีความเฉลียวฉลาด สมกับเป็นพลเมือง เมืองนักปราชญ์

๓ จังหวัดอุบลราชธานี มีดงอู่ผึ้ง ซึ่งเป็นสถานที่ ที่มีทรัพยากรสำคัญในการทำเทียนพรรษา นั่นก็คือ รวงผึ้งอันอุดมสมบูรณ์ มาจนปัจจุบัน สำนักพระราชวังได้นำขี้ผึ้งจากจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปใช้ในการจัดทำเทียนพระราชทาน เพราะที่อุทยานแห่งชาติ ภูจองนายอย ซึ่งอยู่ติดกับพรมแดนประเทศไทย ลาว และเขมร เป็นดงอู่ผึ้งแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี

๔.ชาวจังหวััดอุบล ให้ความใส่ใจ และ พิถีพิถันในการถวายสิ่งใด ๆ แด่พระรัตนตรัย จะต้องสวยสดงดงามเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธึ่ผ่องใส จะได้งดงามทั้งร่างกายและจิตใจ ดังผญา (สุภาษิต) ได้กล่าวไว้ว่า “แนวได๋ถวย (ถวาย) เจ้าหัวต้องให้งาม เฮาสิได้งามนำเผิ่น” แปลความหมายได้ว่้า สิ่งใด ๆ ที่นำถวายให้พระสงฆ์ ต้องเป็นสิ่งที่งามที่สุด เราจะได้งามทั้งกายและใจ บรรพชนได้อบรมสั่งสอนเรื่องนี้มาแต่ดีตกาล ลูกหลานสืบสานจนเป็นธรรมเนียมต่อมาจนถีงปัจจุบับ

๕ จังหวัดอุบลราชธานีมีสกุลช่างทกสา์ขาวิชาช่างศิลปะจึงสามารถรังสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างวิจิตรบรรจงตามจินตนาการ เพื่อสนองเจตนาและสอดคล้องกับความเชื่อของบรรพชน ตามข้อ ๔

๖. ประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีเจตนาส่งเสริมพระพุทธศาสนา บูชาพระรัตนตรัย ตามเป้าหมายดั้งเดิม อีกประการหนึ่งเป็นการถวายสักการะพระมหากษัตริย์ในวโรกาสพระราชพิธีสำคัญแต่ละปีโดยลำดับตลอดมา ชาวจังหวัดอุบลราชธานีได้น้อมเกล้าฯถวายความจงรักภักดีโดยทั่วกัน เนื่องจากประเพณีแห่เทียนพรรษาเกิดจาก “ภูมิปัญญาชาวบ้าน”สืบสานเป็น “ภูมิปัญญาท้องถิน” ก่อให้เกิด “ภูมิพลังเมือง” สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาชนเป็นปึกแผ่นมั่นคง แก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ โดยการร่วมเป็น “ภูมิพลังแผ่นดิน”ดังนั้นประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีจึงเทิดทูน ๓ สถาบันสำคัญสูงสุด คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดำรงจิรัฐิติกาล

 

หลอมใจทำเทียนพรรษา น้อมบูชาพระรัตนตรัย
ศรัทธาธรรมนำชาติไทย ถวายไท้มหาราชัน

ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ต้องนึกคิดไว้ ตลอดเวลา ว่าประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นทุนทางสังคม ที่บรรพบุรุษสั่งสมนับร้อยปีมีจิตวิญญาณ และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี การนำงานประเพณีแห่เทียนพรรษาสูู่สากล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น จำเป็นต้องยึดมั่นแก่นแท้ของเทียนพรรษาเป็นสิ่งสำคัญ แล้วผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมให้กลมกลืนกันอย่างลงตัว ไม่ขัดเขินในลักษณะอนุรักษ์ของเดิมก่อนส่งเสริมของใหม่ จึงเป็นหน้าที่ของลูกหลานชาวเมืองอุบลที่ต้องอนุรักษ์ และสืบสานให้ประเพณีแห่เทียนพรรษายืนยงคงอยู่คู่จังหวัดอุบลราชธานีตลอดไป

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ลำดับ เหตุการณ์สำคัญในงานแห่เทียนพรรษาเมืองอุบล
ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ชาวบ้านเมืองอุบลแต่ละบ้าน ยังทำเทียนพรรษาถวายพระสงฆ์เป็นของตน เริ่มตั้งแต่เป็นเทียนเล่มเล็กขนาดยาวรอบศีรษะ ต่อมาพัฒนาเป็นการมัดรวมเทียนเล่มเล็กแล้วพันด้วยกระดาษสี

กลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๔
พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ โปรด ฯ ให้มีการแห่เทียนพรรษาเป็นครั้งแรก แ่ละ์จัดให้มีการประกวดขบวนแห่เทียนพรรษาเป็นครั้งแรก

ก่อนพุทธทศวรรษที่ ๒๔๗๐(พ.ศ. ๒๔๗๐- ๒๔๗๙)
ได้มีการริเริ่มการหล่อเทียนพรรษาด้วยรางไม้เป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๔๘๐
ริเริ่มการทำลวดลายลงบนเทียนพรรษาเป็นครั้งแรก โดยนายโพธิ์ ส่งศรี (ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. ๒๕๒๒) เป็นการติดพิมพ์ขี้ผี้ง

พ.ศ. ๒๔๙๔
นายชอบ ชัยประภา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีสนับสนุนให้งานแห่เทียนพรรษาเป็นงานประจำปีของจังหวัดเป็นครั้งแรก นายสวน คูณผล ได้ริเริ่มการทำองค์ประกอบเทียนพรรษาเป็นรูปสัตว์ และิใช้ไม้ฉลุเป็นลวดลายประดับเทียนพรรษา

พ.ศ. ๒๔๙๕
มีการเปลี่ยนแปลงรถแห่เทียนพรรษา จากเกวียนเป็นรถยนต์ และมีการรื้อฟื้นการประกวดเทียนพรรษาแบบดั้งเดิม (แบบมัดรวมเทียน) และแบบติดพิมพ์

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ต้นพุทธทศวรรษที่ ๒๕๐๐(พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๙)
ริเริ่มการหล่อเทียนพรรษาด้วยแบบพิมพ์สังกะสีเป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๕๐๒
มีการคิดค้นการทำลวดลายเทียนพรรษาแบบแกะสลักจากต้นเทียน โดยนายคำหมา แสงง าม (ถึงแก่กรรมปี พ.ศ.๒๕๓๓) มีการแบ่งประเภทการประกวดเทียนพรรษาออกเป็น ๓ ประเภท คือ แบบดั้งเดิม (มัดรวมเทียน) แบบติดพิมพ์ และแบบแกะลลัก ซึ่งในที่สุดแบบดั้งเดิมก็เสื่อมความนิยมและหายไป

พ.ศ. ๒๕๑๐
งานแห่เทียนพรรษาหยุดชะงักไป ๑ ปี ซึ่งมีการคัดค้านการประกวดเทียนพรรษาจาก “พุทธสมาคมจังหวัดอุบลราชธานี” เนื่องจากการประกวดเทียนพรรษาในปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันกันสูง โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันบางส่วนไม่พอใจผลการตัดสิน ก่อให้เกิดความรุนแรงภายในงานเกิดขึ้น ส่งผลให้ไม่มีการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาในจังหวัดอุบลราชธานี ในปีดังกล่าว ซึ่งทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจ จนกระทั่งมีการทบทวนและจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาขึ้นมาอีกครั้งในปี ต่อมา

พ.ศ. ๒๕๑๑
ทำต้นเทียนที่มีขนาดใหญ่โตและสูงมากขึ้น โดยเป็นครั้งแรกที่ริเริ่มแกะสลักลวดลายเป็นพุทธประวัติหรือชาดก

พ ศ ๒๕๑๒
เทศบาลเมืองอบลราชธานี (ปัจจบับเป็นเทศบาลเมืเงนครอบลราขธานี) ได้จัดให้มีการปรขักวดเทียนพรรษาบริเวณหอเดิม บริเวณข้างศาลหลักเมือง ซึ่งส่งผลให้มีการส่งเทียนพรรษาเข้าประกวดเพิ่มมากขึ้นตามลาดับ

พ ศ ๒๕๑๖
แต่ละคุ้มวัดให้ความสนใจส่งขบวนแห่เทียนพรรฑเข้าประกวตมากขึ้น ทำให้เทศบาลเมืองอุบลราชธานิ ต้องย้ายสถานที่จัดงานเป็นบริเวณทุ่งศรีเมืองตราบจนปัจจุบัน

พ ศ ๒๕๑๙
จังหวัดอบลราชธานีและเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ได้เชิญให้องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อสท.) สังเกตการณ์งานแห่เทียนพรรษาเพื่อยกระดับให้เป็นงานระดับชาติ

พ ศ ๒๕๒๐
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย( อสท.) เริ่มเข้ามาสนับสนุนงานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีให้เป็นงานประจำปีและระดับชาติเป็นครั้งแรก ที่เพิ่มระยะเวลาการจัดงานแห่เทียนพรรษาเป็น ๓ วัน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีชื่องานว่า "ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา เทิดไท้ ๗๒ พรรษา มหาราชินี" เนื่องจากเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ พระแม่-แม่พระ ของแผ่นดินชาวเมืองอุบลจึงได้จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษากันอย่างยิ่งใหญ่อีกปีหนึ่ง ในปีนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดเสวนาเรื่อง “เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี : อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต” ณ ห้องประชุมมิตรไมตรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาโดยมีสาระสำคัญ ๕ ประการ สรุปได้ว่า
๑. ส่งเสริมการทำเทียนโบราณให้แพร่หลาย เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มการประกวดเทียนพรรษาออกเป็น ๓ ประเภท
๒. จัดให้มีขบวนแห่เทียนโบราณต้นแบบ เพื่อคำนึงถึงแก่นแท้ของ ประเพณี
๓. จัดขบวนอัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองตามประเพณีโบราณเพื่อความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษที่ต่อสู้เพื่อกู้แผ่นดิน และเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี
๔. การใช้ดนตรีพื้นเมือง เช่น แคน ซุง โปงลาง บรรเลง ในพิธีเปิดเป็นการถูกต้องเหมาะสมกับอารมณ์ผู้ชม ผู้ฟัง ที่ต้องการบรรยากาศความเป็นพื้นบ้าน พึ้นเมืองแต่ละท้องถิ่น ไปท้องถิ่นใดก็ใคร่ฟังดนตรีท้องถิ่นนั้น
๕. การใช้ดนตรีไทย ปี่พาทย์ ประโคม ในขบวนแห่เทียนพระราชทาน เพื่อสุนทรียภาพคุณค่าความไพเราะ เหมาะกับศิลปวัฒนธรรมไทย จินตนาการย้อนอดีตไทยแท้แต่โบราณ แทนการใช้วงโยธวาฑิต ซึ่งเหมาะสมกับการสวนสนาม หรือการกีฬาโดยเฉพาะ เช่นทุกปีที่ผ่านมา

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีชื่องานว่า "น้อมรำลึก ๕๐ ปี พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ" เนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๖-๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จเยือนอุบลราชธานี ยังความปลาบปลื้มปิติแก่ชาวอุบลฯ เป็นล้นพ้น เพราะตั้งแต่สร้างบ้านเมืองมาเกือบ ๒๐๐ ปี ยังไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จเยี่ยม หรือทรงใกล้ชิดกับราษฎรอย่างไม่ถือพระองค์เช่นนี้ชาวอุบลฯ ทุกหมู่เหล่า ต่างพร้อมน้อมรำลึกด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเหล้าล้นกระหม่อม พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ ปิติล้นพ้น ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี ที่ผ่านมาและตลอดไป

ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มีชื่องานว่า "๖๐ ปี พระบารมีแผ่ไพศาล งามตระการเทียนพรรษา เทิดราชัน" เพื่อแสดงความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นับเป็นการครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประเทศไทย ซึ่งในศุภวาระมหามงคลนี้ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี และความลำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย ในปีนี้คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ระบุให้นำผลงานแกะสลักประติมากรรมเทียนนานาชาติเข้าร่วมในขบวนแห่เทียนพรรษาด้วย

ปี พ ศ ๒๕๕๐มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม เลิศล้ำ เทียนพรรษา ปวงประชาพอเพียง" เนื่องจากเป็นปีมหามงคล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย และการน้อมนำแนวพระราชดำรัสมาใช้ดำรงชีวิต คำว่า คือ “เมืองธรรม ” นายสุวิชช คูณผล ได้อธิบายความหมายไว้ ๓ ประการ ได้แก่
๑ พุทธธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนาที่บรรดาพทธศาสนิกชนน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อความอยู่ดีีมีสุข
๒ อารยธรรม จังหวัดอบลรวชธานีเป็นอู่อารยวัฒนธรรม อุดมอริยทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติของเมืองนักปราชญ์
๓ ธรรมชาติ พระบาทสมเด็็จพระพุทธยอดฟ้าจฬา์โลกทรงพระราชทานนามว่า อุบลราชธานีศรีวนาลัย คำว่า ศรีวนาลัย หมายถึง ดงอู่ผึ้ง เมื่อครั้งก่อตั้งสร้างเมือง ซึ่งประกอบด้วยธรรมชาติโดยทั่วไป มีอุทยานแห่งชาติิหลายแห่ง และสามเหลี่ิยมมรกตเขียวชอุ่มที่เลื่องชื่อ อุบลราชธานีจึงเป็น “ธานีแห่งราชะ ศรีสง่าแห่งไพรพฤกษ”

ซึ่งเป็นปีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายสุธี มากบุญ) ยังได้เพิ่มเติมกิจกรรมงานแห่เทียนพรรษาด้วยการ จัดให้มีขบวนแห่น้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อเฉลิมฉลองในปีมหามงคลอีกด้วย

ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มีชื่องานว่า "เมืองอุบลบุญล้นล้ำ บุญธรรม บุญทาน สืบสานตำนานเทียน" เนื่องจากอุบลราชธานี มีสมญานามว่า "เมืองแห่งดอกบัวงาม" ซึ่งดอกบัว เป็นพฤกษชาติที่มีคติธรรมทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง อุบลราชธานีจึงมีวัฒนธรรมประเพณี ทำบุญทุกๆ เดือน คือการยึดถือ ฮีตสิบสองคองสิบสี่ (ฮีตสิบสอง คือจารีตที่ปฏิบัติแต่ละเดือน ตลอดปี จนเป็นประเพณีสืบต่อมา) ประเพณีแต่ละอย่างในฮีตสิบสอง ล้วนมีแต่ชื่อ ขึ้นต้นว่าบุญ หมายถึง ประเพณีที่มุ่งการทำบุญเป็นสำคัญ อุบลราชธานีจึงมี บุญล้นล้ำ ทั้งบุญธรรม บุญทาน อีกทั้ง งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีมาแต่โบราณ โดยเริ่มจากในสมัยแรกๆ เป็นเทียนเวียนหัว มัดรวมติดลาย วิวัฒนาการมาจนเป็นหลอมเทียน หลอมใจ หลอมบุญ สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี ๒๕๕๑

ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม บุญล้ำเทียนพรรษา ประชาพอเพียง" เนื่องจากอุบลราชธานีเป็น "อู่อารยวัฒนธรรม อุดมอรียทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี" ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม จึงเป็นความรุ่งเรือง สว่างไสว อุดมสมบูรณ์ ในธรรมที่สำคัญยิ่ง ๓ ประการ คือ พุทธธรรม อารยธรรม และธรรมชาติ ประกอบกับ การทำบุญเข้าพรรษาที่อุบลราชธานี มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี จึงเป็นที่รวมทำบุญเข้าพรรษาของประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก ท่านที่มาทำบุญเดือนแปดที่เมืองอุบลฯ จึงเป็นการบำเพ็ญกุศล ได้รับ "บุญล้ำเทียนพรรษา" โดยทั่วหน้ากันพร้อมกันนี้ยังได้เสนอเน้นคำขวัญ ประชาพอเพียง ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ประชาชนพลเมือง จะมีความ พอเพียง ได้ ก็ด้วยคุณธรรมความพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำชีวิตให้อยู่ดีมีสุข ไม่มีความฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยาน ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มีเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี ๒๕๕๒

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล"

จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่าชาวอุบลราชธานีได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษาให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือบริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจัตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียนจะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามไปตามถนนมาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีมีชื่องานแต่ละปี

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 850 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์