รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

ยุคของงานแห่เทียนเข้าพรรษา อุบลราชธานี

สารบัญ

ยุคต่างๆ ของงานแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
ความเชื่อที่ว่า เทียน คือ แสงสว่าง เพราะแสงสว่างในทางนามธรรมก่อให้เกิดปัญญา ในทางรูปธรรมแสงสว่างขจัดความมืด ดังนั้น การให้แสงสว่างเป็นทานนับว่ามีประโยชน์ ทั้งให้แสงสว่างที่เป็นแสงสว่างจริงๆ และการให้แสงสว่างทางปัญญา ดังนิทานชาดกเมื่อครั้งพุทธกาล เรื่องวานรถวายรวงผึ้งแด่พระพุทธองค์ที่ป่าชายเมืองโกสัมพี ทำให้วานรได้รับผลานิสงส์ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรเป็นบริวารนับพัน และเรื่องพระอนุรุทธะพุทธสาวก ผู้มีปัญญาเฉียบแหลมเฉลียวฉลาด รู้อรรถ รู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน เป็นที่เลื่องลือในหมู่พระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย พระพุทธองค์ตรัสว่า ในชาติปางก่อน พระอนุรุทธะนั้น ได้ถวายแสงสว่าง (แสงประทีป) เป้นทาน จึงเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด หลักแหลม คนโบราณโดยเฉพาะคนภาคอีสาน มีความเชื่อตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า อานิสงส์ของการถวายเทียนนั้นหากมิได้ไปเกิดในสรวงสวรรค์แต่เกิดในโลกมนุษย์ ผู้นั้นจะมีความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญาไหวพริบเลอเลิศประดุจแสงเทียนอันสว่างไสวเฉกเช่นพระอนุรุทธะ ดังนั้น จึงมีการถวายน้ำผึ้ง ประทีปโคมไฟ และเทียน เพื่อให้เกิดแสงสว่างเป็นพุทธบูชาปฏิบัติ สืบต่อกันมาแต่ครั้งพุทธกาล

ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดีจึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป็นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยมใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ชาวเมืองอุบล นอกจากยึดมั่นศรัทธาพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแล้ว ยังมีความเชื่อถือตามศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอยู่แต่เดิม ดังนั้นจึงเชื่อถือทั้งสิ่งที่มีเหตุผลตามหลักศาสนาพุทธ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ มีการจัดทำเทียนขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลตามเความเชื่อถือของตน เรียกว่า เทียนมงคล อาจจำแนกเทียนมงคลตามลักษณะต่างๆ ดังนี้

๑. จำแนกเทียนมงคลตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นเทียนเวียนหัว มีขนาดความยาวของเทียบเท่ากับความยาวที่ได้จากการวัดโดยรอบศรีษระ (เวียน เป็นภาษาอีสาน แปลว่า รอบ) เทียบค่าคืบมีขนาดความยาวของเทียบเท่ากับปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วกลางที่เหยียดตรง (ค่า เป็นภาษาอีลาน แปลว่า เท่ากับ) เทียบค่าศอก มีขนาดความยาวของเทียนเท่ากับความยาวจากปลายนิ้วกลางที่เหยียดตรงถึงข้อศอก และเทียนค่าคีง มีขนาดความยาวของเทียบเท่ากับความยาวที่วัดจากซอกคอตรงใต้คางถึงสะดือ (คีง เป็นภาษาอีลาน แปลว่า ตัวหรือร่างกาย)

๒. จำแนกเทียนมงคลตามส่วนประกอบของชีวิตคือเทียนขันธ์ ๕ จัดทำขึ้นตามคติทางพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าชีวิตเป็นกระบวนการทางกายและจิต ส่วนประกอบของชีวิตที่สำคัญมี ๕ ประการเรียกว่า ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ เทียนขันธ์ ๕ จะมีขนาดเท่ากับเทียนค่าคืบ จำนวน๕ คู่ หรือ ๑๐ เล่มเท่านั้น และเทียนขันธ์ ๘ เข้าใจว่า จะเป็นการขยายความขันธ์ ๕ ให้เพิ่มมากขึ้นเป็น ๘ เพื่อให้ตรงกับมรรค ๘ ในทางพุทธศาสนาเทียนขันธ์ ๘ จะมีขนาดเท่ากับเทียนค่าคืบเช่นเดียวกัน จำนวน ๘ คู่ หรือ ๑๖ เล่มเท่านั้น

๓. จำแนกเทียนมงคลตามลักษณะเฉพาะ เขียนประเภทนี้แบ่งตามรูปลักษณะหรือโอกาสที่ใช้งานที่สำคัญ มี ๔ อย่าง คือ
- เทียนชัยใช้ในพิธีสมโภชพระพุทธรูป หรือพิธีพุทธาภิเษกเพื่อให้ผู้เป็นประธานในพิธีจุดเทียนชัยแสดงถึงการรวมจิตใจของบุคคลในที่ประชุม นั้น

- เทียนแพใช้ในพิธีใหญ่ ๆ หรือลำคัญ ๆ เพื่อแสดงถึงความเคารพ หรือสักการะบูชา จึงไม่นิยมใช้จุดไฟ อาจใช้ในการไหว้ผู้ใหญ่ก็ได้

- เทียนพุ่มใช้ในพิธีทางพุทธศาสนาเช่น พุ่มเทียนเข้าพรรษา ซึ่งคนสมัยก่อนนิยมทำกันมาก หรือจะใช้ในพิธีพราหมณ์เพื่อสักการะดวงวิญญาณผู้ตายก็ได้

- ต้นเทียนมีลักษณะเป็นลำต้นคล้ายต้นไม้ หรือต้นเสาจึงมักมีขนาดใหญ่นิยมจัดทำขึ้นในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ชาวเมืองอุบลจัดเป็นเทียนมงคลที่สำคัญยิ่ง ได้มีการคิดประดิษฐ์สร้างต้นเทียนพรรษาให้มีความสวยงามวิจิตรบรรจง จนเป็นมูนมังภูมิปัญญาให้ลูกหลาน สืบสานงานประเพณีอันดีงามที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติในปัจจุบัน

 


ชาวอุบล พลเมือง เมืองนักปราชญ์ เป็นผู้มีปัญญาฉลาด เฉียบแหลม เชื่อว่าเป็นมรรคผลที่เกิดจากการถวายเทียนพรรษา ดังนั้น ในฮีตสิบสองของคนอีสาน หนึ่งในสิบสองฮีตนั้น เรียกว่า บุญเดือน ๘ หรือบุญเข้าพรรษา เนื่องจากในช่วงฤดูฝน ๓ เดือน ซึ่งเป็นช่วงแห่งฤดูกาลของการทำนา พระพุทธองค์ทรงเกรงว่าภิกษุสงฆ์จะจาริกไปตามท้องทุ่งนา อันเป็นที่เพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารของชาวบ้าน ก่อให้เกิดดวามเสียหาย และเป็นภาระแก่ญาติโยมที่จะติดตามอุปัฏฐาก (อุปถัมภ์) ประกอบกับการเดินทางลำบาก จึงทรงบัญญ้ติพระวินัยให้ภิกษุสงฆ์ต้องอยู่จำพรรษาที่วัดของตนเอง เพื่อศึกษาพระไตรปิฎก บำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์จนครบไดรมาส ห้ามภิกษุสงฆ์เดินทางและรอนแรมค้างคืนที่อื่น แต่เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีตะเกียง หรือไฟฟ้า ในยามค่ำคืนจำต้องอาศัยไต้ หรือกะบองจุด เพื่อให้แสงสว่าง ซึ่งมักจะดับง่าย มีควันและเขม่าดำเป็นจำนวนมากจับผนังหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ อีกทั้งได้มักมีกลิ่นเหม็นของน้ำมันยาง รบกวนสมาธิในการศึกษาพระธรรมวินัย ญาติโยมผู้อุปัฏฐากเห็นความจำเป็นของภิกษุสงฆ์ ประกอบกับเมืองอุบลมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิด รวมถึงผึ้งจำนวนมาก จนได้รับการกล่าวขานว่า “ดงอูผึ้ง”

จึงได้คิดทำเทียนจากขี้ผึ้งถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อจุดไฟให้แสงสว่างแทนไต้ หรือกะบอง โดยนำรังผึ้งที่ไม่มีตัวผึ้งและเอาน้ำผึ้งออกหมดแล้ว นำมาต้มหรือนึ่งจนได้น้ำมันผึ้ง คนอีสานเรียกวิธีการนี้ว่า “เรียงเผิ่ง” นำมาทำเป็นงบผึ้ง ลักษณะเป็นก้อนครึ่งวงกลมคล้ายขนมครก หรืองบน้ำอ้อย คนอีสานเรียกว่า “เปี่ยงเผิ่ง” จากนั้นใช้เส้นฝ้ายซึ่งมีอยู่ตามบ้านต่าง ๆ จำนวนเส้นเท่ากับอายุ พันรวมกันเป็นเส้นใหญ่ ทำเป็นไส้เทียน นำเวียนรอบหัวของทุกคนในครอบครัว โดยเริ่มจากหว่างคิ้วเวียนไปทางด้านขวามือ และวนไปด้านหลังจนมาบรรจบจุดเดิม ใช้น้ำหมากแต้มทำเป็นเครื่องหมายไว้ที่ไส้เทียน เหตุที่ใช้น้ำหมากเนื่องจากผู้คนสมัยก่อนนิยมเคี้ยวหมากเป็นประจำทำให้สะดวกไม่ต้องยุ่งยากหาสีมาทำเครื่องหมาย จากนั้นนำขี้ผึ้งที่ลนไฟหรือตากแดดจนอ่อนตัวมาฟั่นรอบไจฝ้ายที่มีน้ำหมากแต้มไว้ให้พอดี จะได้เทียนเป็นเล่มเรียกว่า เทียนเวียนหัว

เมื่อเวลาจุดไฟแล้วจะลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง มีควันไม่มากเท่าไต้ สะดวกแก่การนำไปถวายวัดอาจทำเป็นเล่มเทียนขนาดเล็ก ใหญ่ สั้น ยาว ต่าง ๆ กัน ตามต้องการ จากนั้นนำเทียนแต่ละเล่มของทุกคนในครอบครัวมาพันรวมกันพร้อมกับสิ่งของอื่น ๆ เช่น ผ้าอาบน้ำฝน เครื่องไทยทาน อาหารแห้ง จำพวกข้าวสาร พริก เกลือ และอื่น ๆเรียกว่า เครื่องถวายประจำพรรษา แต่ละครอบครัวนำไป ถวายเป็นพุทธบูชาที่วัดใกล้บ้าน คำว่า “เวียนหัว” มีบทสักการะอยู่บทหนึ่ง ซึ่งแปลความหมายได้ว่า “ขอน้อมสักการะกราบพระรัตนตรัยดวยเศียรเกล้า” ดังนั้นการที่ใช้เทียนเวียนหัว จึงเป็นการแสดงออกด้วยการ ก้มลงกราบ

นายบำเพ็ญ ณ อุบล เล่าว่า ในสมัยโบราณ นอกจากเทียนฟั่นหรือเทียนเวียนหัว ซึ่งชาวบ้านทำขึ้นสำหรับนำไปถวายพระสงฆ์ ทั่วไปแล้วยังมีเทียนพิเศษอีกชนิดหนึ่ง คือ เทียนกาบ หรือเทียนสี ที่ชาวบ้านโดยทั่วไปในภาคอีสานนิยมทำให้ผู้ที่จะบวชนำไปถวายพระอุปัชฌาย์ ๑ ต้น พระคู่สวด ๑ ต้น และพระอนุศาสน์ ๑ ต้น รวมเป็น ๓ ต้น พร้อมกับเครื่องไทยทาน ภายหลังจากเสร็จพิธีกรรมทางสงฆ์ เทียบกับภาคกลางก็คือ กรวยอุปัชฌาย์นั่นเอง ลักษณะของเทียนกาบ หรือเทียนสี จะประกอบด้วยเทียนที่ทำเป็นกาบ มีลวดลายนำไปติดเข้ากับแกนที่ทำจากไม้ไผ่ ปักอยู่บนลูกมะพร้าวอ่อนที่ตกแต่งให้สวยงามแล้ว โดยนำเทียนซึ่งพิมพ์จากแบบที่ทำด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปใบขนุนติดรอบแกนไม้ไผ่ บริเวณโคน ๔กาบ และที่ยอด ๔ กาบ แล้วประดับด้วยเส้นเทียนฟั่น ๔ เล้น ที่โค้งปลายออกคล้ายเส้นเกสรดอกไม้

***ป้จจุบันอยู่ที่อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย สามเหลี่ยมมรกตครอบคลุม พื้นที่อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวยท และอำเภอบุณฑริก เนื่องจากทีดงอู่ผี้งแห่งนี้มีน้ำผึ้งที่ดีทีสุดในประเทศไทย สำนักพระราชวังโดยกองพระราชพิธีได้มีหนังสือถึงเรือตรีดนัย เกตุศิริ ผู้ว่าราชการจังmัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น ขอให้อำนวยความสะดวกแก่ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังในการตั้งค่ายพักแรมนำรวงผึ้งจากอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยไปทำงบผึ้งเพื่อ ทำเทียนพระราชทานให้กับพระอารามหลวง และเป็นที่มาของเทียนหลวงพระราชทานเพื่อเป็นเทียนชัยมิ่งมงคล นำขบวนแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราขธานีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒เป็นต้น มาจนกระทั่งป้จจุบัน

การเกิดงานแห่เทียนพรรษาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดหนึ่ง ในภาค อีสานที่ได้รับอิทธิพลคติความเชื่อเรื่องอานิสงส์ของการถวายขี้ผึ้ง และ การถวายแสงสว่างเป็นทาน ซึ่งเมื่อผนวกกับความเชื่อเรื่องฮีตสิบสองคองสิบสี่ในงานบุญเดือนแปดหรืองานบุญเข้าพรรษา ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของรวงผึ้งจนมีชื่อเรียกว่า“ดงอู่ผึ้ง”เข้าด้วยกันแล้ว ส่งผลให้พิธีการถวายเทียนที่ทำมาจากขี้ผึ้งเพื่อให้ความสว่างแด่พระสงฆ์ถือกำเนิดขึ้น

แม้ไม่มีหลักฐานที่จะระบุว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีการถวายเทียนพรรษาในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเมื่อ ปีพ.ศ.ใด หากแต่เชื่อว่าอย่างน้อยที่สุด อิทธิพลของคติความเชื่อเรื่องฮีตคอง ดังกล่าวน่าจะชี้ให้เห็นได้ว่ามีงานแห่เทียนพรรษาเกิดขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานีและได้มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานมาแล้ว นั่นเอง


มีความเชื่อต่อกันมาว่าในสมัยที่จังหวัดอุบลราชธานียังเป็นเมืองประเทศราช อยู่นั้น ยังไม่มีงานแห่เทียนพรรษาเกิดขึ้น การถวายเทียนในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาจะทำขึ้นแบบแต่ละบ้านนั่น คือทุกครัวเรือนจะ มีการฟั่นเทียน (หรือที่เรียกว่าการสีเทียน) จากขี้ผึ้งเป็นของตนเอง ซึ่งหาได้ไม่ยากในสมัยนั้น อีกทั้งการใช้เทียนไขยังไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีราคาสูง

ด้าม ยาวของการฟั่นเทียนจะ ยึดถือตามความยาวเวียนรอบศรีษะของสมาชิกทุกคนในบ้าน หรีอฟั่นเทียนตามความสามารถของตนเอง ซึ่งโดยมากมักจะเป็นเทียนที่มีขนาดเล็กและยาว จากนั้นจะนำไปถวายพระสงฆ์ในช่วงวันเข้าพรรษาพร้อมกับเครื่องไทยธรรมอี่น ๆ ต่อมาแต่ละ บ้านจึงได้มีความคิดที่จะต่อเทียนให้มีขนาดสูงและใหญ่ตามความต้องการ จึงได้มีการทำแกนเทียนจากลำต้นไม้ของ หมาก หรือบ้องไม้ไผ่ แล้วนำเชือกปอ หรือป่านมามัดเทียนเล่มเล็กๆที่ทำไว้หลายเล่มเข้าด้วยกัน และใช้กระดาษสีทองหรือเงิน ( กระดาษตังโกหรือ กระดาษจังโก) พันโดยรอบเพื่อให้บังเกิดความสวยงาม

ทั้งนี้มีการทำขาตั้งเทียนมิให้ ล้มและเพื่อความสะดวกในการขนย้ายไปยังที่ต่าง ๆได้อย่างไรก็ดีเทียนพรรษาที่มัดรวมกันดังกล่าว ยังไม่มีการแกะลลักลวดลายแต่อย่างใดอีกทั้งการถวายเทียนแด่พระสงฆ์ก็ยังคง เป็นแบบบ้านใครบ้านมันเช่นเดิม โดยมิได้มีการรวมกันจัดเป็นขบวนแห่เทียนพรรษาแต่อย่างใด

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

การริเริ่ม ในการจัดขบวนแห่เทียนพรรษาตามที่ปรากฏในหลักฐาน“ประวัติศาสตร์อีสาน”เขียน โดย เติม วิภาคย์พจนกิจ ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้ระบุถึงความเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมของการถวายเทียนพรรษาของชาวบ้านจังหวัด อุบลราชธานี ว่าเกิดขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ขณะเป็นข้าหลวงมณฑลลาวกาว ซึ่งทรงว่าราขการที่เมืองอุบลราชธานี และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งมณฑล หาใช่เปลี่ยนแปลงเพียงจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งไม่ ดังข้อความที่ระบุว่า
“..ด้วยเหตุการณ์หล่อเทียนพรรษาและมีขบวนแห่ดังนี้จึงมีประเพณีแต่ครั้งพระ เจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรพสิทธิประสงค์ ทรงเป็นผู้ริเริ่มส่งเสริมดัดแปลงให้เป็นงานใหญ่สืบมาเท่าทุกหัวเมืองในภาค อีสานกระทั่งบัดนี้...”

นอกจากนี้ยังได้มีการกล่าวถึงการจัดงานแห่ เทียนในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งจัดเป็นครั้งแรก ดังรายละเอียด ต่อไปนี้ “...เวลาเข้าปุริมพรรษาไม่เคยทำเทียนใหญ่รวมกันเลย เพียงแต่หาธูปเทียนได้ตามกำลังแล้วก็นำไปถวายพระ เท่านั้น แต่ถ้าเป็นหัวเมืองใหญ่เช่น เมืองอุบล นครราชสีมา ฯลฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ข้าหลวงต่างพระองค์ ได้ทรงจัดให้ชาวเมืองมารวมกันหล่อ ทรงมีต้นเทียนใหญ่ทำในวันข้างขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ทรงมีต้นเทียนใหญ่ถวายเข้าพรรษาในเมืองอุบลทุก ๆ วัด เวลากลางคืนของวันนี้ก็ ให้มีเฒ่าแก่ หนุ่มสาวชาวพื้นเมืองมารวมกันเสพงัน มีหมอขับ หมอลำพิณพาทย์ ฆ้องวง แคน วง สนุกสนานไปตลอดคืน รุ่งเช้าของวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันพรรษาทรงให้มีตักบาตรเลี้ยงพระรวมกันใหญ่ ทั้งบรรดาข้าราชการ พ่อค้า คฤหบดี โปรดฯชาวเมืองบรรดาพ่อค้า ข้าราชการ ผู้ที่มีเกวียนวิ่งหรือรถม้า ประดับตกแต่งโค เกวียน ม้าลาเพื่อเข้าพิธีขบวนแห่ ไปรวมกันที่หน้าศาลากลางมณฑลเวลาเทียง...”

ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นภาพของการจัดงานแห่เทียนพรรษาในยุคแรกเริ่มว่าเกิด ขึ้นจากพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสทธิประสงค์ ทรงโปรดฯให้เมืองใหญ่ต่างๆในมณฑลลาวกาว จัดงานแห่เทียนพรรษาขึ้นและนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเทียนพรรษาจาก เล่มเล็กมัดรวมกันในแต่ละบ้า เป็นการหลอมรวมเทียนเพื่อให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งจะได้เทียนต้นเดียวที่มีขนาดความสูงราว ๑.๐๐ เมตรถึง ๑.๒๐ เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเทียนประมาณ ๐.๒๐ เมตร รูปทรงทั้งแบบกลมและ แบบเหลี่ยม และมีฐานของเทียนเพื่อรองรับมิให้เทียนเอนล้มไป รวมถึงการทำไม้คานหามตีขนาบททั้งสองข้างของฐานเพื่อความสะดวกในการหาม และ การติดตั้งบนล้อเลื่อน หรือเกวียนในขบวนแห่เทียนพรรษาได้ นอกจากนี้ขบวนแห่เทียนพรรษาในยุคแรกยังจัดโดยบรรดาพ่อค้า ข้าราชการทั้งหลาย ทั้งนี้เป็นการใช้เกวียนเป็นพาหนะในการจัดขบวนแห่ นั่นเอง

นอกจากนี้เติม วิภาคย์พจนกิจ ยังได้ระบุว่า นอกจากจะมีขบวนแห่เทียนพรรษาแล้ว พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค ยังทรงจัดให้มีการประกวดต้นเทียนและขบวนแห่เทียนขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
“...ทรงประทานรางวัลแก่ผู้ที่ทำต้นเทียนได้สวย งาม โดยมีคณะกรรมการตัดสินความสวยงามรองกันลงไป เมื่อพร้อมกันแล้วก็ทรงให้จับสลาก ถ้าต้นเทียนของคณะใดจับสลากถูกวัดไหน ต้นเทียนของคณะ นั้น แผนกนั้นก็แห่ไปถวายวัดนั้น แต่ก่อนที่จะนำไปถวาย ต้นเทียนของผู้ใดก็ให้นำขึ้นเกวียนหรือรถม้าประดับให้สวยงามหรูหราให้หญิง สาวและพวกเพี่อนหญิงที่จัดกันมาเป็นผู้ถือต้นเทียนทุก ๆ ต้น มีเครื่องประโคมพิณพาทย์ แตรวง แห่เป็นขบวน หากต้นเทียนของคณะใดมีการละเล่นแสดงตำนานต่าง ๆหรือจำอวดขบขันก็นำมา แสดงตาม ถนนสายที่สำคัญของเมือง ตามที่กรรมการกำหนดให้ แห่ด้วยความรื่นเริงครึกครื้นเป็นขบวนอันยืดยาว ปวงชนก็พร้อมเพรียงกันออกมาชมขบวนแห่ตามถนนสายต่างๆที่ผ่านไปอย่างล้นหลาม แน่นขนัด วัดในเมืองอุบลเวลานั้นมีถึง ๒๔ วัด ส่วนพิธีการของพระสงฆ์สามเณรนั้น ได้ทำไม้เจีย (ไม้สีฟัน) ไม้ชำระ ธูปเทียนไว้ก่อนวันเข้าพรรษา เพราะเมื่อได้เข้าพรรษาแล้วจะ ได้เป็นเครื่องสักการะสำหรับทำวัต ขอขมาลาโทษแก่กันและ กัน...”

จาก การศึกษาของเติม วิภาคย์พจนกิจ ได้ให้ภาพของการประกวดการจัดขบวนแห่เทียนพรรษา ซึ่งกำหนดให้มีคุณสมบัติต่างๆไม่ว่าจะเป็น การมีหญิงสาวและเพื่อนคอยถือต้นเทียนอยู่บนเกวียน ตลอดจนมีการบรรเลงดนตรีและการแสดงต่าง ๆในขบวนแห นอกจากนี้สิ่งที่เติม วิภาคย์พจนกิจ ได้กล่าวถึง อีกประการหนึ่งก็ คือ การแห่เทียนพรรษาจะมีการจับฉลากเพื่อนำเทียนพรรษาของแต่ละขบวนไปถวายยังวัด ต่าง ๆ และเมื่อจับฉลากแล้วจึงค่อยนำขบวนแห่แห่ไปยังวัดที่ตนจับฉลากได้นั่นเอง ในส่วนธรรมเนียมปฏิบัติของพระสงฆ์อีสานเองนั้น เติม วิภาคย์พจนกิจ ได้ระบุว่าพระสงฆ์มีการเตรียมไม้สีฟันและไม้ชำระ เพื่อเป็นเครื่องสักการะพระสงฆ์ผู้ใหญ่และขอขมากัน

ซึ่งประเพณีการ ถวายไม้สีฟันนี้กล้ายกับประเพณีเข้าพรรษาของภาคกลาง ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทว่าต่างกันตรงที่ในภาดกลางนั้นชาวบ้านจะเป็นผู้จัดถวายพระสงฆ์เอง อย่างไรก็ดีเอกสารของเติม วิภาคย์พจนกิจ มิได ระบุถึงที่มาของขี้ผึ้งที่จะนำมาหลอมเป็นเทียนตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ การตกแต่งลวดลายของเกวียนในขบวนแห่ ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับรางวัลที่ได้

หลักฐานเอกสารที่มีอายุใกล้ เคียงกับช่วงการเริ่มต้นของงานแห่เทียนพรรษาและได้ระบุรายละเอียดซึ่งสามารถ ให้ภาพของงานแห่เทียนพรรษาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อีกฉบับหนึ่งได้แก่หนังสือเรื่อง “ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาล (บางเรื่อง)” ซึ่งเขียนโดยพระยาอนุมาน ราชธน หรือเสถียร โกเศศ ที่ระบุว่า เป็นการจดบันทึกการจัดงานแห่เทียน พรรษาในภาคอีสานจากคำบอกเล่าของพระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
“...ก่อนถึงเข้าพรรษาประมาณเดือนหนึ่ง คือในเดือนที่ ๗ ทายกของวัดในละแวกหมู่บ้านจัดการเรี่ยไรขี้ผึ้ง เมื่อได้พอแล้วชาวบ้านก็ช่วยกันทำพิธีหล่อเป็นเทียน ในบริเวณวัดมี ขนาดแล้วแต่จำนวนขี้ผึ้งที่หาได้ บางทีมีขนาดใหญ่ วัดผ่าศูนย์กลางอยู่ในราว ๒๕ เซนต์ สูงตั้ง ๒ เมตรก็เคยมี จุดได้ตลอดไปตั้ง ๓ เดือน ก็ไม่หมด รูปเทียนนั้นเป็น ๘ เหลี่ยมบ้าง เป็นรูปกลมบ้าง หล่อเสร็จแล้วช่วยกันประดับประดาเทียนให้งดงามด้วย ลวดลายกระดาษทองลางเล่มทำลวดลายขี้ผึ้งในตัวแล้วปิดทองคำเปลว มีเชิงรองทำด้วยไม้จริง ส่วนมากมักทำแล้วเสร็จในวันแห่นั้นเอง ถึงวันเพ็ญเดือนแปดก่อนเข้าพรรษาวัน ๑ เวลากลางคืนนำเทียนมาตั้งในปะรำ ซึ่งปลูกขึ้นโดยเฉพาะในบริเวณวัดทำการฉลองเทียนมีสวดมนต์เย็น ฉันเช้ากันตามธรรมเนียม กลางคืนมีมหรสพแล้วแต่จะมีหามาถึงเที่ยงคืน เลิกงานกลางคืนอย่างนี้ที่เขาใช้จุดไต้ช้าง...”

รายละเอียดจากคำ บอกเล่าของพระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) ทำให้ทราบว่าขี้ผึ้งซึ่งนำมาหล่อเทียนนั้น ได้มาจากการเรี่ยไรชาวบ้านในละแวกหมู่บ้าน หรือ “คุ้มวัด”ของตนเอง ซึ่งเมื่อนำมาหล่อเทียนก็จะเป็นไปตามขนาดของขี้ผึ้งที่เรี่ยไรมาได้ ในแต่ละปีและเมื่อได้ต้นเทียนเป็นที่เรียบร้อย ก็จะมีการตกแต่งโดยใช้กระดาษสีหรือการแกะสลักบนต้นเทียนแล้วปิดทองคำเปลว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเทียนแบบติดพิมพ์จึงน่าจะเกิดขึ้นในช่วงต้นพุทธ ศตวรรษที่ ๒๔ ก่อนการทำลวดลายเทียนแบบแกะสลัก นอกจากนี้ช่วงวันเวลาของการฉลองเทียนในเวลากลางคืนยังสอดคล้องกับสิ่งที่ เติม วิภาคย์พจนกิจ กล่าวไว้ว่า จัดขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แต่จะมีรายละเอียดมากขึ้นตรงที่ การฉลองเทียนพรรษาจะเกิดขึ้นในบริเวณวัดของแต่ละคุ้มวัด หรือละแวกบ้า ซึ่งมีมหรสพต่าง ๆอีกด้วย อย่างไรก็ตามคำบอกเล่าของพระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) ยังได้ให้ภาพของขบวนแห่เทียนพรรษาและรายละเอียดรางวัลจากการประกวดขบวนแห่ เทียนพรรษา ดังนี้
“...รุ่งเช้าวันแรมค่ำเข้าพรรษา เลี้ยงพระที่สวดมนต์ตอนเย็น ฉันเช้าแล้วชาวบ้านก็เตรียมเทียนออกแห่ เอาบรรทุกขึ้นรถ ซึ่งใช้ล้อ เกวียนแทนล้อรถมีแคร่วางบนล้อต่อแทนราชรถเครื่องตกแต่งเเล้วแต่ความคิดของ นายช่าง เป็นบุษบกก็มี เป็นราชรถโถงก็มีเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือ รูปนักกษัตรก็มี ส่วนมากเป็นรูปเกียวกับเรื่องในชาดกรถคันนี้ใช้คนลากอย่างชักพระเพราะถือว่า ได้บุญ มีดนตรีปี่พาทย์หรืออย่างอื่น ๆครึกครื้นไปในขบวนแห่ การแห่เทียนนั้นขบวนหนึ่ง ๆ ก็เป็นของหมู่บ้านหนึ่ง ๆ เป็นแห่ประกวดชิงรางวัลกัน แห่ไปรวมที่สนามชุมนุมชนในที่ซึ่งแล้วแต่จะ นัดหมายกัน ถึงที่แล้ว มีเจ้าหน้าที่เป็นกรรมการมาตัดสินให้รางวัล

รางวัล ที่ ๑ ไตรแพรเต็ม ๑ ไตร รางวัลที่ ๒ ไตรผ้าเต็ม ๑ ไตร รางวัลที่ ๓ ไตรผ้าแบ่ง ๑ ไตร ระหว่างนั้นมหรสพต่าง ๆของใครมีไปก็ไปเล่นฉลองที่หน้าเทียนของตน อยู่จนถึงเวลา ๑๓.๐๐ น. ต่างก็แยกย้ายแห่กลับนำเทียนไปยังวัดของตน ถึงวัดแล้วนำเทียนเข้าไปในโบสถ์ทีเดียวตั้งไว้หน้าพรประธานเป็นอันเสร็จพิธี แห่เทียนกลับบ้านกัน...”ข้อแตกต่าง ระหว่างเอกสารของเติม วิภาคย์พจนกิจกับ คำบอกเล่าของพระเทวาภินิมมิต(ฉาย เทวาภินิมมิต) ก็คือในหนังสือ ประวัติศาสตร์อีสาน ระบุว่าเมื่อขบวนแห่เทียนไปรวมกันที่ศาลากลางมณฑลแล้ว จะมีการจับฉลากเพื่อนำเทียนไปถวายยังวัดต่าง ๆขณะที่พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) กล่าวว่าเมื่อเสร็จสิ้นการรวมขบวนแห่ ณ สนามชุมนุมชนแล้ว ขบวนแห่เทียนก็จะนำเทียนพรรษาของตนกลับไปถวายยังวัดในละแวกบ้านของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการสัมภาษณ์ที่ระบุว่าก่อน ปีพ.ศ. ๒๔๗๐ ขบวนแห่เทียนพรรษาที่เสร็จจากการประกวดแล้วจะนำเทียนของตนกลับไปถวายยังวัดในละแวกบ้านของตนเอง

ทั้งนี้อาจพิจารณาได้ว่าในเอกสารของเติม วิภาคย์พจนกิจ เป็นการกล่าวถึงช่วงระยะเวลาที่พระเจ้าน้องยาเธอกรม หลวงสรรพสิทธิประสงค์ ครั้งทรงเป็นข้าหลวงมณฑลลาวกาว ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าในครั้งแรกของการมีขบวนแห่เทียนพรรษาและ การประกวดเทียนพรรษาการจับฉลากเพื่อถวายเทียนตามวัดที่ระบุในฉลากอาจเกิดขึ้น แต่จะด้วยเหตุผลใดนั้น ในชั้นนี้ยังไม่พบหลักฐานที่จะ สามารถระบุได้ชัดเจน ทั้งนี้ในเวลาต่อมาเป็นไปได้ว่าได้มีการยกเลิกการจับฉลากดังกล่าวออกไป เป็นการถวายตามคุ้มวัดที่เป็นที่หล่อเทียนพรรษา

นอกจากนี้จากคำบอกเล่าของพระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) ยังได้ให้ภาพของขบวนแห่นับตั้งแต่การตกแต่งรถที่ตั้งเทียนพรรษา ซึ่งระบุว่าเป็นลวดลายต่างๆ กันไปตามแต่ช่างจะเป็นผู้คิดค้น อย่างไรก็ดีสิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่งก็คือ ในช่วงที่พระเจ้าน้องยาเธอกรม หลวงสรรพสิทธิประสงค์ ยังทรงเป็นข้าหลวงอยู่นั้น เอกสารของเติม วิภาคย์พจนกิจ ได้ระบุว่าขบวนแห่โดยเฉพาะ เกวียนนั้นจะเป็นของพ่อค้า ข้าราชการ หรือคหบดี ที่จะจัดขบวนแห่เทียน แล้วนำมาประกวดกัน ขณะที่คำบอกเล่าของพระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต )ระบุว่า“...ก็เป็นของหมู่บ้านหนึ่ง ๆ...”

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นไปได้ที่ในเวลาต่อมา การจัดขบวนแห่เทียนพรรษาเริ่มขยายสู่วงกว้างมากขึ้นและชาวบ้านในภาคอีสาน ซึ่งหมายรวมถึงชาวบ้านจังหวัดอุบลราชธานีก็มีส่วนร่วมในการจัดขบวนแห่เทียนพรรษามากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ดีสิ่งหนึ่งที่เติม วิภาคย์พจนกิจ และพระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) กล่าวไว้อย่างตรงกันก็คือ การบรรยายภาพขบวนแห่เทียนพรรษาที่พรั่งพร้อมไปด้วยขบวนแห่ที่ประกอบไปด้วย เครื่องดนตรีปี่พาทย์ (หรือพิณพาทย์) แม้ว่าความแตกต่างจะอยู่ที่การเทียมที่ระบุในเอกสารของเติม ระบุว่าใช้เกวียนหรือรถม้า ส่ วนคำบอกเล่าของพระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) ระบุว่าใช้คนลากรถขบวนแห่ แต่ก็อาจเข้าใจได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงตามความนิยมเพราะ พบว่านอกจากจะมีการใช้คนลากหรือขึ้นเกวียนและรถม้าแล้ว ในเวลาต่อมายังมีผู้นำวัวมาเทียมเกวียนตั้งเทียนพรรษาอีกด้วย โดยต้องเป็นวัวที่ฝึกมาดีไม่ตื่นตกใจเวลาได้ยินเสียงอึกทึกของขบวนแห่ และ ยังสามารถประดับประดาวัวให้มีความสวยงามและ ฟังเสียงไพเราะจากการผูกเกราะหรือกระพรวนให้กับวัวได้อีกด้วย

รายละเอียดประการหนึ่งที่เติม วิภาคย์พจนกิจ มิได้ระบุไว้ในหนังสือประวัติศาส ตร์ อีสานแต่พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) กล่าวไว้ก็คือ รางวัลที่ได้จากการประกวดขบวนแห่เทียนพรรษา ซึ่งพระเทวาภินิมมิต ระบุว่ามีอยู่ ๓ รางวัลโดยแต่ละ รางวัลที่ต่างชนิดกัน อย่างไรก็ดีเอกสารของเติม วิภาคย์พจนกิจ ได้ระบุถึงจำนวนวัดที่มีการถวายเทียนพรรษาว่ามีอยู่ ๒๔ วัด แต่ไม่ได้มีการลงรายชื่อวัดต่าง ๆว่า ชื่ออะไรและตั้งอยู่ ณ เมืองใดอีกด้วย

คำบอกเล่าของพระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) ยังได้ให้ภาพของวันถวายเทียนพรรษาในช่วงเทศกาล พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ถึงลักษณะเครื่องไทยธรรมที่ชาวบ้านในภาคอีสาน อันหมายรวมถึงจังหวัดอุบล ราชธานีต้องตระเตรียมถวายพระสงฆ์ตลอดจน บรรยากาศครึกครื้นในตอนกลางคืนของวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ดังต่อไปนี้

“...ตกเวลาระหว่าง ๑๕ นาฬิกา ถึง ๑๖ นาฬิกา ชาวบ้านเตรียมเครื่องไทยธรรมเป็นกรวยใบตองก้นแหลมก็มี เป็นอย่างซองพลูก็มี ในกรวยบรรจุหมากหน่อย พลูใบ และ ยา พร้อมทั้งดอกไม้ ธูปเทียนสำหรับถวายพระ แล้วจัดแจงอาบน้ำ แต่งตัวกันอย่างประกวดประขันเท่าที่จะมีหามาแต่งได้ การแต่งอย่างนี้อยู่ในพวกสาว ๆและเด็ก ๆ ส่วนผู้ใหญ่ก็แต่งกันตามธรรมดา แต่งตัวเสร็จนำของไทยธรรมใส่ภาชนะต่าง ๆ แล้วแต่จะหาได้นำไปที่ลานวัด ชาววัดจัดปูเสื่อให้นั่งเป็นสองแถวเว้นระยะกลางราว ๒ เมตร เป็นทางสู่อุโบสถ พระในวัดเดินมาตามทางระหว่างนั้นเดินเรียงสอง ชาวบ้านก็ถวายเครื่องไทยธรรม พระรับแล้วเดินเข้าโบสถ์ ผู้ใหญ่ซึ่งมีอาวุโสหรือสมภารเจ้าวัดจุดเทียน เข้าพรรษาและ ทำพิธีเข้าพรรษากันตามธรรมเนียม พิธีนี้เรียกว่าใส่บาตร กรวย เป็นตอนที่หนุ่มๆ สาว ๆ ชอบนัก เพราะว่าหญิงสาวจะมากันถ้วนหน้าทุกครัวเรือน เป็นโอกาสพวกหนุ่ม ๆได้ดูพวกสาว ๆ ไม่ใช่แต่แห่งเดียว อาจไปดูได้หลาย ๆ แห่งส่วนพวกสาว ๆ ก็มีช่องจะแต่งตัวสวย ๆ อวดพวกหนุ่ม ๆ ส่วนพระที่รับกรวยไว้ รุ่งขึ้นจะแบ่งและนำไปบูชาสักการะสถานที่ศักดิ์์สิทธิ์หรือคู่สวดอุปัชณาย์ ...”

รายละเอียดของเครื่องไทยธรรม ซึ่งชาวบ้านภาค อีสานใช้ถวายพระสงฆ์ในวันเข้าพรรษาที่พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทวาภินิมมิต) ระบุนั้น มีการเพิ่มเติมกรวยใบตองก้นแหลมที่บรรจุหมากพลู บุหรี่ ซึ่งเป็นของขบฉันของพระสงฆ์ ตลอดจนธูปเทียน เพื่อที่จะ นำไปตักบาตร กรวยในตอ นกลางคืน ทั้งนี้พระเทวาภินิมมิตได้บรรยายบรรยากาศของงานตักบาตรกรวยตอนกลางคืนว่า มีความสนุกสนานครึกครื้นไม่แพ้ตอนกลางวัน นอกจากนี้ยังได้บรรยายภาพหลังจากเลร็จการตักบาตรกรวยในวันรุ่งขึ้นว่า พระสงฆ์จะนำกรวยนั้นไปบูชาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรือพระ อุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เติม วิภาคย์พจนกิจ ไม่ได้กล่าวถึง แต่นับว่ามีส่วนในการเติมเต็มข้อมูล ระหว่างเติม วิภาคย์พจนกิจ และพระเทวาภินิมมิต ให้เห็นภาพงานแห่เทียนพรรษาช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ได้ชัดเจนมากขึ้น

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

สมัยที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๓๕ - ๒๔๔๓) เทียนเวียนหัวมัดรวมติดลาย
การทำเทียนในสมัยแรกจะทำในลักษณะง่าย ๆ คือ ฟั่นเทียนยาวเวียนรอบศีรษะของทุกคนในบ้าน แต่ละบ้านนำไปถวายพระสงฆ์ในวัดใกล้หมู่บ้าน ต่อมาได้นำเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่มมาเรียงและมัดด้วยเชือก ผูกรวมติดเข้าด้วยกันกับแกนไม้ที่ทำมาจากลำต้นของด้นหมาก ปล้องไม้ไผ่ หรือไม้แก่น โดยเรียงเทียนเป็นแท่งเป็นชั้นจากฐานจนถึงยอดของแกนไม้นั้น การตกแต่งเทียนนิยมใช้ กระดาษตังโก (กระดาษเงิน กระดาษทอง) หรือกระดาษแก้วทีมีสีสันพันโดยรอบห่อหุ้มรอยต่อของเทียนแต่ละรอบจนถึงยอดเป็นช่วง ๆ หรือติดกระดาษเป็นลวดลายต่าง ๆ ตามชนิดให้สวยงาม ทำขาตั้งยึดแกนลำต้นไว้เพื่อให้สามารถยกเคลื่อนย้ายไปตั้งในที่ต่าง ๆ ได้ อาจใช้ปี๊บทำเป็นฐาน และนำข้าวสาร หรือทรายใส่ลงในปึ๊บให้มีน้ำหนักเพื่อรองรับต้นเทียน ซึ่งก็ถือว่าสวยงามเพียงพอแล้ว การทำต้นเทียนในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า การมัดรวมติดลาย แต่ละคุ้มบ้านต่างคนต่างทำแล้วนำไปถวายวัดของตนเอง เทียนชนิดนี้เมื่อนำไปถวายพระที่วัดแล้วพระลงฆ์สามารถแกะออกมาใช้ประโยชน์ หรือนำมาจุดเพื่อให้แสงสว่างได้เรื่อย ๆ ทีละเล่มจนหมด

สมัยที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๔๗๙) หลอมเทียน หลอมบุญ หลอมใจ
เมื่อครั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์พระเจ้าน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลอีสานประทับที่เมืองอุบล ทรงเห็นการแห่บุญบั้งไฟที่วัดหลวง ริมแม่น้ำมูลเกิดเหตุบั้งไฟตกลงมาถูกชาวบ้านตาย อีกทั้งชาวบ้านที่มาร่วมงานต่างกินเหล้าเมามาย เกิดการทะเลาะวิวาทชกต่อย ตีรันฟันแทงกันถึงแก่ล้มตาย จนมีคำกล่าวเป็นผญาภาษาอีสานว่า “ปีได๋บ่มีตีรันฟ้นแทงกัน มันเสียดายแป้งขาวหม่า” มีความหมายว่า หากปีใดที่ไม่มีการทะเลาะวิวาทกัน จะรู้สึกเสียดายแป้งที่ใช้หมักสุรา เสด็จในกรมทรงเห็นว่าเป็นเรื่องไม่ดี อีกทั้งประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่นับถือเทพเจ้า (แถน) ตามธรรมเนียมของศาสนาฮินดู พระองค์จึงทรงสั่งให้งดเว้นการจัดงานบุญบั้งไฟอีกต่อไป และให้ใช้ประเพณีถวายเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชาตามธรรมเนียมของชาวพุทธโดยแท้จริง เมืองอุบลจึงมีประเพณีแห่เทียนพรรษานับแต่นั้นสืบมา

ในสมัยนี้มีการหล่อเทียนต้นใหญ่ เนื่องจากเห็นว่าการมัดเทียนขนาดเล็กรวมเข้าด้วยกันเป็นงานที่ทำได้ง่าย ประกอบกับพระองค์ทรงเห็นการถวายเทียนต่างคนต่างทำ จึงทรงเป็นผู้เริ่มให้ชาวเมืองอุบลร่วมกันหล่อเทียนด้นใหญ่ มอบให้ชาวบ้านทำเป็นกลุ่มใหญ่ หรือทำเป็นคุ้มวัด มีกรมการเมืองคอยดูแลแต่ละคุ้มวัด การจัดทำต้นเทียนถือเป็นงานใหญ่ใช้แรงคนมาก ใช้เวลามาก และสิ้นเปลืองทุนทรัพย์อีกทั้งชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการทำบุญอยู่แล้ว จึงทรงมีกุศโลบาย “หลอมเทียน หลอมบุญ หลอมใจ” ลดช่องว่างระหว่างชนชั้น ลดช่องว่างระหว่างฐานะ ไม่ว่าจะยากดีมีจน นำขี้ผึ้งเล็กใหญ่มาปลอมในกระทะทองเหลืองอันเดียวกัน ได้ต้นเทียนต้นเดียวกัน มีส่วนเป็นเจ้าของด้วยกันได้บุญได้กุศลเท่าเทียมกัน ก่อให้เกิดความรักสมัครสมานสามัคคี ถือว่าเป็นการทำบุญร่วมกัน ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เมื่อร่วมแรงร่วมใจกันทำต้นเทียนเสร็จแล้ว ให้นำต้นเทียนทุกต้นมารวมกันที่วังของพระองค์(วังสงัด) กลางคึนมีมหรสพสมโภชตลอดคืน รุ่งเช้าวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เป็็นวันเข้าพรรษา ทรงให้มีการตักบาตรเลี้ยงพระร่วมกัน เสร็จแล้วก็โปรด ฯให้ชาวเมืองที่มีเกวียนได้ประดับตกแต่งโค เกวียน ม้า ลา นำมาเข้าขบวนแห่โดยไปรวมกันที่หน้าศาลากลางมณฑลในเวลาเที่ยงวัน ทรงประทานรางวัลแก่ผู้ทำต้นเทียนสวยงาม เมื่อพร้อมกันแล้วก็ทรงให้จับสลาก หากต้นเทียนของคณะใดจับสลากถูกวัดไหน ต้นเทียนของคณะนั้นก็จะแห่ไปถวายวัดนั้น ๆ


ระยะนี้เป็นยุคของการทำต้นเทียนด้วยวิธีการหล่อโดย ใช้ไม้ไผ่ลำใหญ่ทะลุปล้องตรงกลางออกแล้วเทขี้ผึ้งที่หลอมละลายใส่ลงไป ทำให้ได้ต้นเทียนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นิยมใช้ขี้ผึ้งแท้ในการหล่อต้นเทียน จึงมีสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ และสามารถใช้จุดเพื่อให้แสงสว่างได้จริง แต่ต้นเทียนก็ยังมีขนาดเล็กอยู่ ในส่วนการตกแต่ง (ภาษาอีสานเรียกว่า การเอ้) จะใช้วัสดุจำพวกเชือกย้อมสีพันรอบต้นเทียนเป็นช่วง ๆ และใช้กระดาษสีต่าง ๆ ทำเป็นลวดลายพันประดับที่ต้นเทียนและทำฐานไว้เพื่อใช้แบกหรือหาม ต่อมาจึงมีผู้ทำด้นเทียนให้ใหญ่ขึ้นถึงขนาดเท่าลำต้นกล้วย และทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจนมีขนาดเท่าต้นเสาทรงกลม หรือทรงกระบอก แต่พื้นผิวเทียนยังกลมเกลี้ยง ถือได้ว่าเป็นงานที่ทำได้ยาก

ดังนั้น ชาวบ้านบางกลุ่มจึงนิยมทำต้นเทียนขนาดใหญ่ที่มีรูปทรงเป็นเหลี่ยม ซึ่งทำได้ง่ายกว่าทรงกลม ลำพังมีเฉพาะต้นเทียนทำให้มองเห็นไม่สวยงาม จึงทำฐานล่างของเทียนเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อรองรับต้นเทียนไว้มิให้ล้มหรือเอน เอียง โดยใช้ไม้ประกอบกันเข้าเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่นทรงกลม หรือทรงเหลี่ยม อาจทำเป็นชั้นเดียวหรือหลายชั้น แล้วแต่เห็นว่าสวยงาม ตรงกลางฐานล่างจะมีไม้ท่อนหนึ่งเป็นแกนปักไว้ ในเวลาหล่อต้นเทียนต้องให้เนื้อเทียนโอบโดยรอบแกนไม้นี้ เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายต้นเทียนและฐานล่างเพื่อความสะดวกและเบาแรง การหามใส่บ่าจะสะดวกกว่าการยกด้วยมือ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาไม้คานหามมาตีขนาบทั้ง ๒ ด้านของฐานล่าง ใช้เชือกผูกปลายไม้ด้านหามทั้ง ๒ ด้านให้อยู่ในลักษณะหย่อนเพื่อที่คนจะเข้าไปถามและจับไม้ที่ตีขนาบได้ต่อมา มีการประชันขันแข่งกันทำต้นเทียนในด้านความสวยงามและความใหญ่โตระหว่างกลุ่ม หรือคุ้มวัด กลุ่มไหนคุ้มวัดไหนจัดทำต้นเทียนได้ลวยงามก็มีการยกย่องสรรเสริญฝีมือช่าง จากเดิมที่มีการประดับตกแต่งด้วยวิธีการใช้กระดาษสีพันรอบต้นเทียน ก็เปลี่ยนเป็นการใช้กระดาษสีติดเป็นลวดลายแทน เช่น ลายดอกลำดวน ดอกพิกุล แต่ในด้านความวิจิตรพิสดารของต้นเทียนยังมีให้เห็นไม่มากนัก การจัดทำต้นเทียนในสมัยนั้น จึงเป็นต้นแบบของต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ในสมัยต่อมา

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

สมัยที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๘๐ - ๒๕๐๑) แกะลายติดพิมพ์
เป็น ช่วงที่ศิลปะการทำเทียนพรรษา และงานช่างศิลปะต่าง ๆได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านแนวความคิด รูปแบบ และองค์ประกอบทางศิลปะ ในส่วนที่เกี่ยวกับการแห่เทียนพรรษาการใช้ล้อเลื่อนและเกวียนเข้าในขบวนแห่ เริ่มซบเซาลง มีการนำรถมาใช้เป็นพาหนะแทน การตกแต่งประดับประดารถและขบวนแห่ สามารถทำได้อย่างวิจิตรตระการตามากขึ้น การทำต้นเทียนก็เช่นกัน มีการคิดค้นวิธีการทำให้เกิดเป็นลวดลายที่สลับซับซ้อนสวยงามมากขึ้น โดยการพิมพ์ลายดอกผึ้งให้เป็นลายต่าง ๆ บนแบบพิมพ์ที่ทำขึ้นจากการแกะสลักต้นกล้วย หรือผลไม้บางชนิดที่มีเนื้อแน่น เช่น มะละกอ มะม่วง ฟักทอง มันเทศ เผือก ให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายดอกไม้ เป็นต้น แบบพิมพ์ ๑ อัน ใช้พิมพ์ดอกผึ้งได้เพียง ๑ ลาย แต่อาจพิมพ์ได้หลายดอก ถึงกระนั้นก็ตามจำเป็นต้องทำแบบพิมพ์ไว้ให้มากเมื่อทำแบบพิมพ์ลาย เสร็จแล้วใช้ไม้เสียบแบบพิมพ์เพื่อทำเป็นที่จับนำไปจุ่มลงในขี้ผึ้งที่ต้มจน หลอมละลาย ขี้ผึ้งก็จะติดอยู่ที่แบบพิมพ์ จากนั้นนำฉบับพิมพ์ไปจุ่มในน้ำเย็นอีกครั้ง เพื่อให้ขี้ผึ้งที่ติดแบบพิมพ์หลุดออกมา ก็จะได้ลายดอกผึ้งตามแบบพิมพ์ แล้วนำไปติดกับต้นเทียนที่หล่อไว้ตั้งแต่ส่วนของต้นเทียนจนกระทั่งถึงส่วน ของฐานและส่วนประกอบอื่น ๆ ให้มีลวดลายสวยงามตามรูปแบบที่คิดไว้การติดดอกผึ้งจะต้องใช้ไม้กลัดช่วย เลียบและตรัสไว้ เพื่อป้องกันมิให้ดอกผึ้งหลุดออก วิธีการเช่นนี้ นับได้ว่าเป็นต้นแบบของการจัดทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์

การพิมพ์ลาย ดอกผึ้งลงในแบบพิมพ์ที่ทำจากผลไม้ ก่อให้เกิดความยุ่งยาก และเสียเวลา เนื่องจากแบบและลวดลายไม่ต่อเนื่องจึงมีผู้คิดประดิษฐ์วิธีทำแบบพิมพ์ลายดอก ผึ้งขึ้นใหม่ ชื่อนายโพธิ์ ส่งศรี ลูกศิษย์ของญาถ่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นน.ตโร) ช่างทำต้นเทียนของวัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในเขตคุ้มบ้านของท่านเองท่านได้นำความรู้ความสามารถในการ เป็นช่างออกแบบก่อสร้างและแกะลายโบสถ์มาประยุกต์ใช้ โดยได้คิดวิธีแกะลายแบบพิมพ์ลงบนไม้ฝรั่ง ลวดลายที่แกะสลักเป็นลายง่าย ๆ แบบพื้นถิ่น ลักษณะของลายจะไม่พริ้วมากเหมือนกับลายของภาคกลาง เช่น ลายผักแว่น ดอกพุดตานดอกฝ้าย ประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู กรุยเชิง หน้าขบ เป็นต้น โดยการนำขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้ว เทลงบนแบบพิมพ์รอจนกว่าขี้ผึ้งเย็นจึงแกะออกจากแบบพิมพ์ แล้วนำไปติดที่ต้นเทียนหลังจากนั้นได้มีการคิดค้นวิธีแกะลายบนแบบพิมพ์เพิ่ม ขึ้น โดยการนำเอาหินสบู่ (อาจเรียกว่า หินชนวน หินอ่อน หรือหินลับมีดโกน) มาใช้ทำแบบพิมพ์เพื่อพิมพ์ลายดอกผึ้ง โดยใช้ขี้ผึ้งที่ตากแดดจนอ่อนมากดลงบนแผ่นหินที่เป็นแบบพิมพ์ ซึ่งลวดลายทีได้มีดวามคมชัด อ่อนช้อย และต่อเนื่องกันจากนั้นจึงนำลวดลายที่ได้ไปติดที่ต้นเทียน เรียกว่า เทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์

ต่อมาได้มีช่างฝีมือเกิดขึ้นใหม่อีกหลายคน เช่น นายสวน คูณผล อาชีพรับราชการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัดหนองยาง ปัจจุบัน คือโรงเรียนอุบลวิทยาคม ช่างฝีมือผู้เจริญรอยตามนายสวน คูณผล คือนางสงวนศักดิ์ คูณผล ผู้เป็นภรรยาซึ่งรับราชการครูโรงเรียนเดียวกันกับสามี เป็นผู้มีฝีมือด้านงานประดิษฐ์ศิลป์ที่มีคุณค่าทางศิลปหัตถกรรมการจัดดอกไม้ สดและดอกไม้ประดิษฐ์ ท่านได้นำสิ่งล้ำค่าเหล่านี้มาประดับตกแต่งเสริมต้นเทียนให้เกิดความสวยงาม ยิ่งขึ้น นายสวน คูณผล ได้ประยุกต์ลวดลาย และเพิ่มรายละเอียดของลวดลายที่นำมาติดให้มากยิ่งขึ้น มีการนำสี (ในสมัยนั้นใช้สีตราสตางค์) ต้มผสมกับขี้ผึ้งเพื่อให้สีของขี้ผึ้งที่นำมาทำดอกผึ้งสม่ำเสมอเป็นสีเดียว กัน เนื่องจากมีทั้งขี้ผึ้งเก่าและขี้ผึ้งใหม่ โดยปั้นเป็นรูปสัตว์ และฉลุไม้เป็นลวดลายประดับมากยิ่งขึ้น พร้อมกับสอดแทรกเนื้อหาเรื่องราวพุทธประวัติ มีการนำสัตว์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของปีนักษัตรมาประกอบเป็นฐานของต้นเทียน เช่น ปีมะโรงก็ใช้งูใหญ่ขดใต้ฐานต้นเทียนและแผ่แม่เบี้ยคุ้มครองต้นเทียน นอกจากนายสวนและนางสงวนศกดิ์ คูณผลแล้ว ยังมีพระบุญจันทร์ (วัดแจ้ง) พระสมพงษ์ อินทร์โสม (วัดทุ่งศรีเมือง) นายล้วน มุขสมบัติ และนายประดับ ก้อนแก้ว ซึ่งแต่ละคนล้วนเป็นช่างฝีมือนการจัดทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์

ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.๒๔๘๐ การหล่อเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการเพิ่มเติมลวดลายลงบนต้นเทียนจากเดิมเป็น การมัดเทียนเล่มเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน หรือเป็นการหล่อขี้ผึ้งรวมกันให้เป็นเทียนต้นใหญ่ แม้ว่าจะมีการกล่าวถึงรายละเอียดการทำลวดลายในระยะแรกที่เป็น แบบ “...ทำลวดลายขี้ผึ้งในตัวแล้วปิดทองคำเปลว..” ลวดลายที่พัฒนาในช่วงทศวรรษดังกล่าว เป็นลวดลายที่เรียกว่าลวดลายแบบติดพิมพ์ อันได้แก่ การนำขี้ผึ้งมาทำให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ต้นฉบับที่แกะสลักขึ้นจากต้นกล้วย มะละกอ ฟัก ฯลฯ ซึ่งวิธีการทำ ได้แก่ การนำแบบพิมพ์ไปชุบในขี้ผึ้งที่ต้มให้ละลาย แล้วนำมาถอดแบบพิมพ์ในน้ำเย็นอีกครั้งให้ขี้ผึ้งหลุดร่อนออกจากพิมพ์ ทั้งนี้เมื่อได้ขี้ผึ้งที่พิมพ์ลายตามจำนวนที่ต้องการแล้ว จึงนำไปติดกับต้นเทียน

อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยการใช้แบบพิมพ์จากผลไม้ไม่คงทน ดังนั้นจึงได้มีการคิดประดิษฐ์การแกะสลักแบบพิมพ์บนไม้ที่ทำจากต้นฝรั่ง (หรือไม้สีดาตามภาษาอีสาน) เพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น ผู้คิดประดิษฐ์คนแรก ได้แก่ นายโพธิ์ ส่งศรี (ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. ๒๕๒๓) ซึ่งเป็นช่างออกแบบก่อสร้างมาก่อนและได้เป็นช่างทำเทียน พรรษาให้กับวัดทุ่งศรีเมือง การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้นถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือนายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ ไม่เพียงแต่ฆราวาสเท่านั้นที่เป็นช่างทำเทียนพรรษา ยังมีพระสงฆ์ที่เป็นช่างฝีมือในการทำเทียนพรรษาอีก ได้แก่ พระมหาบุญจันทร์ กิตติโสภโณ ( ยังมีชีวิตอยู่) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแจ้ง และ พระสมพงษ์ อินทร์โสม (ไม่มีข้อมูลระบุว่าปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่หรือไม่) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งต่อมาได้ลาสิกขาออกมารับราชการครูโรงเรียนอุบลวิทยากร และพบว่าภายหลังได้เลิกทำเทียนพรรษาไปแล้ว

ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๔ ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภทคือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น นายชอบ ชัยประภา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบล ราชธานีในขณะนั้น และเป็นประธานประกวดเทียนพรรษา เห็นชอบให้งานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบล ราชธานีเป็นงานประจำปีของจังหวัดอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ช่วงรอยต่อระหว่างต้นพุทธทศวรรษที่ ๒๔๘๐- กลางพุทธทศวรรษที่ ๒๔๙๐ เป็นช่วงที่ศิลปะการทำเทียนพรรษามีการเปลี่ยนแปลง ไม่เพียงแต่ด้านลวดลายบนต้นเทียนเท่านั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบอื่น ๆ ของขบวนแห่เทียนพรรษาอีกด้วย เช่น จากเดิมที่ใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนบรรทุกต้นเทียนพรรษา ได้กลายเป็นการใช้รถยนต์แทน เนื่องจากสามารถประดับประดารถยนต์และขบวนแห่ได้อย่างพิสดารมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการรื้อฟื้นการทำเทียนพรรษาแบบเดิม ซึ่งเป็นการมัดรวมเทียนเล่มเล็กเข้าด้วยกัน

ความนิยมการทำลวดลายบนเทียนพรรษาด้วยการติดพิมพ์ที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ก่อให้เกิดช่างทำเทียนที่มีฝีมือเป็นจำนวนมาก กล่าวได้ ว่าในช่วงพุทธทศวรรษที่ ๒๔๙๐นี้เอง การติดพิมพ์ของนายประดับ ก้อนแก้ว ซึ่งเป็นช่างทำเทียนที่ได้รับการศึกษาวิธีการติดพิมพ์จากพระมหาบุญจันทร์ กิตติโสภโณ พระสมพงษ์ อินทร์โสม และนายล้วน มุขสมบัติ ทำให้เทียนของวัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) ชนะเลิศการประกวดเทียนพรรษา และทำให้วัดที่มีนายประดับ ก้อนแก้ว เป็นช่างทำเทียนชนะเลิศทุกครั้งเช่นกัน

ใน พ.ศ.๒๔๙๕ ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภทคือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภทติดพิมพ์ การทำเทียนแต่ละคุ้มวัดช่างทำเทียนส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ที่มีความสนใจ และร่ำเรียนวิชาทางช่างมา พระช่างที่มีชื่อเสียงได้แก่ พระที่วัดแจ้ง วัดกลาง วัดทุ่งศรีเมือง และวัดพลแพน ช่างที่เป็นฆราวาสส่วนมากจะเป็นช่างระดับลูกมือมีหน้าที่ช่วยด้านแรงงาน และช่วยทำลวดลายตามแบบพิมพ์ ในบรรดาพระช่างทั้งหลายนั้น มีพระบุญจันทร์ หรือพระมหาบุญจันทร์ กิตติโสตโณ วัดแจ้ง เป็นช่างแกะสลักลวดลายที่มีฝีมือสูงมาก

ครั้น พ.ศ.๒๔๙๗ เทียนพรรษาได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำเเบบพิมพ์ดอกผึ้งขึ้นใหม่ โดยช่างฝีมือรุ่นหลัง ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายประดับ ก้อนแก้ว (อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนอุบลวิทยาคม) ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว และ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ ผู้เรียนวิชาทางด้านศิลปะโดยตรง ได้นำลายเครือเถาลายเส้น หรือลายกนก มาถ่ายทอดให้นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน ต่อมามีช่างฝีมือดีอีกคนหนึ่งคือ นายสงวน สุพรรณ ช่างทำเทียนวัดสารพัฒนึกผู้มีความสามารถในการต่อลายและซ้อนลายได้อย่างงดงามอ่อนช้อยมาก เทียนที่นายสงวนทำขึ้นมาจะมีสีสันที่สดใส ผิวเป็นมันสวยงาม นายประดับก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา พร้อมกับประกาศให้เป็นงานประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานีอย่างเป็นทางการ และจัดให้มีการประกวดต้นเทียนอย่าเต็มรูปแบบนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

งานแห่เทียนพรรษาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕-ปัจจุบัน
การทำลวดลายลงบนต้นเทียนพรรษาได้มีการพัฒนามากขึ้น ในช่วงพุทธทศวรรษที่๒๕๐๐ จากเดิมที่มีแต่การติดพิมพ์ขี้ผึ้งลงบนต้นเทียนพรรษาอย่างเดียว เป็นการแกะสลักลงบนต้นเทียนพรรษาเพิ่มขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง โดยช่างทำเทียนชื่อ นายคำหมา แสงงาม (ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. ๒๕๓๓) ซึ่งเดิมประกอบอาชีพเกี่ยวกับการแกะสลักไม้และออกแบบลวดลายโบสถ์ วิหาร ให้กับวัดต่างๆ อยู่แล้ว

การริเริ่มการแกะสลักลงบนต้นเทียนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เทียนพรรษาแบบแกะสลัก” ทำให้การประกวดเทียนพรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นการประกวดในเขตเทศบาลอำเภอวารินชำราบที่ยังไม่แยกประเภทของการทำเทียน ซึ่งมีด้วยกัน ๓ แบบ คือ แบบมัดรวมต้นเทียน และแบบติดพิมพ์ ซึ่งเป็น ๒ ลวดลายที่ประกวดมาแต่เดิม กับลวดลายการแกะสลักซึ่งเป็นลวดลายใหม่ ทว่าลวดลายแกะสลักของนายคำหมา แสงงาม กลับได้รับรางวัลที่ ๑ และได้มีการนำเทียนพรรษาที่ได้รางวัลที่ ๑ นี้ไปประกวดในเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ในนามตัวแทนของอำเภอ ซึ่งได้รับรางวัลที่ ๑ อีกเช่นกัน ทำให้ขบวนแห่เทียนพรรษาของชาวบ้านในคุ้มวัดอื่นไม่พอใจ ส่งผลให้ในปีต่อไปมีการแยกการประกวดทำเทียนทั้ง ๓ประเภทอย่างเด่นชัดมากขึ้น

***(การประกวดเทียนพรรษา และขบวนแห่เทียนพรรษาในช่วงพุทธทศวรรษที่ ๒๕๐๐ สันนิษฐานว่า เป็นรูปแบบของการที่แต่ละอำเภอจะหาตัวแทนของอำเภอตน ส่งเข้าประกวดในระดับจังหวัด ดังนั้นจึงได้มีการประกวดในระดับอำเภอก่อน แล้วจึงนำเทียนที่ได้รางวัลส่งเข้าประกวดในระดับจังหวัดต่อไป ทั้งนี้รูปแบบดังกล่าว อาจยกเลิกในช่วงทีองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อสท.) เข้ามา เนื่องจากเริ่มมีการลงทุนในการทำเทียนมากขึ้บ จนแต่ละคุ้มวัดไม่สามารถส่งเทียนเข้าประกวดได้ นอกจากวัดในอำเภอเมืองเท่านั้น)

งานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีได้หยุดชะงักไป ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื่องจากได้มีการรวมกลุ่มของพระสงฆ์และ พุทธศาสนิกชนในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งเป็น “พุทธสมาคมจังหวัดอุบลราชธานี” นำโดยพระปริยัติโกศล (ถวัลย์) แห่งวัดทุ่งศรีเมือง เพื่อคัดค้านการแห่เทียนพรรษาที่เป็นอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้นว่า การประกวดเทียนพรรษาจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของแต่ละคุ้มวัดที่ส่งเข้าประกวด กระทั่งอาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างคุ้มวัด ขณะเดียวกันการถวายเทียนพรรษาเป็นหน้าที่ของฆราวาส แต่วัดกลับเป็นผู้ทำเทียนพรรษาเอง แม้้ว่าจะเป็นฆราวาสทำ แต่เมื่อตั้งบนขบวนแห่เทียนพรรษาย่อมจะมีชื่อวัดต่าง ๆ เป็นเจ้าของขณะที่ยังไม่มีการถวาย ซึ่งถือว่าไม่เป็นการสมควร

นอกจากนี้การทำเทียนพรรษายังต้องใช้งบประมาณมาก ซึ่งทำให้เงินของวัดลดลง ดังนั้นพุทธสมาคมจังหวัดอุบลราชธานีจึงรณรงค์ให้ทุกวัดในเขตเทศบาลเมืองอบลราชธานีงดทำเทียนพรรษาส่งเข้าประกวด แต่ใช้ต้นเทียนlnรรษา ซึ่งทางพุทธสมาคมจัดทำขึ้นในแบบเดียวกันทั้งหมดแทน โดยไปรับที่กุ่ฏิพระปิรยัติโกศล ณ วัดทุ่งศรีเมือง ส่งผลให้งานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีปีนั้น ไม่มีการประกวดเทียนพรรษาและไม่มีมหรสพใด ๆ อีกด้วย ทำให้ชาวจังหวัดอุบลราชธานีส่วนใหญเกิดความไม่พอใจ ซึ่งในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น ได้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว กระทั่งในปีต่อมาชาวจังหวัดอุบลราชธานีก็มีงานแห่เทียนพรรษาเช่นเดิม

ความนิยมเทียนพรรษาแบบมีลวดลายทั้งแบบติดพิมพ์และแบบแกะสลักของชาวจังหวัดอุบลราชธานีที่เพิ่มมากขึ้น ทุกปีทำให้ในที่สุดเทียนพรรษาแบบมัดรวมเทียนเล่มเล็กอันเป็นแบบดั้งเดิม ไม่มีชาวคุ้มวัดใดทำส่งเข้าประกวดในช่วงกลางพุทธทศวรรษที่ ๒๕๐๐ จึงเป็นครั้งแรกที่มีการยกเลิกการประกวดเทียนพรรษาแบบมัดรวมเทียนเล่มเล็ก คงเหลือแต่เขียนแบบมีลวดลาย ๒ แบบเท่านั้น ในช่วงนี้ความนิยมเป็นช่างทำเทียนแบบแกะสลักขยายวงกว้างมากขึ้น ช่างทำเทียนแบบแกะสลักที่ได้รับความนิยม ได้แก่ นายอุส่าห์ และนายสมัย จันทรวิจิตรห (ยังมีชีวิตอยู่) ๒ พี่น้อง ซึ่งประกอบอาชีพออกแบบลวดลาย และก่อลร้าง่โบสถ์ วิหาร ตลอดจนศาสนสถานต่าง ๆ ทั้งนี้ปรากฏว่าเมื่อนายคำหมา๋ แสงงาม วางมือจากการเป็นช่างทำเทียนแกะลลักแล้ว ผลงานการแกะลลักของนายอุส่าห์ และนายสมัย จันทรวิจิตร ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศทุกครั้งที่ส่งเทียนพรรษาเข้าประกวด

การจัดงานแห่เทียนพรรษา ซึ่งรวมถึงการประกวดเทียนพรรษาและขบวนแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เนื่องจากได้มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง กระทั่งมีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างจังหวัดให้ความสนใจมาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้องค์การส่งเลริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อสท.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จึงได้เข้ามาร่วมกิจกรรมและร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานแห่เทียนพรรษา ให้ถือเป็นงานประจำปีและงานระดับชาติของจังหวัดอุบลราชธานีโดยขยายการประชาสัมพันธ์ไปยังประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้น


สมัยที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๑๙) สลักเทียน สลักลาย
พ.ศ.๒๕๐๒ หลังจากได้มีการจัดทำต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ติดต่อกันมานาน นายคำหมา แสงงาม ผู้ซึ่งเคยศึกษางานศิลปะมาตั้งแต่สมัยบวชเป็นพระภิกษุ เคยเป็นลูกมือพระครูวิโรจน์รัตนโนบล บูรณะองค์พระธาตุพนมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ เมื่อลาสิกขาบทเป็นฆราวาสแล้ว ท่านก็ยังปฏิบัติงานด้านศิลปะเป็นประจำ จนมีความรู้ความสามารถด้านศิลปะหลายแขนง เข่น การเขียนลาย การแกะสลักไม้ การออกแบบลวดลายประกอบส่วนต่าง ๆ ของศาสนาคาร ได้แก่โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เมรุ ซุ้มประตู เป็นต้น ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา โดยแกะสลักลวดลายลงบนต้นเทียนเป็นลายกนกเปลวทั้งต้น ส่วนฐานมีการแกะสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติปางต่าง ๆ รวมถึงเรื่องราวและสาเหตุของการทำเทียนพรรษาได้อย่างสวยงามวิจิตรตระการตา ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ผลงานทุกชิ้นของท่านเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ฝีมือประณีตมาก คณะกรรมการประกวดต้นเทียนเห็นว่า ต้นเทียนแกะสลักของชาวคุ้มวัดบ้านกุดเป่งมีความแปลกใหม่และสวยงาม จึงตัดสินก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

แต่เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ นั้น การประกวดต้นเทียนยังมิได้แยกรางวัลออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่นทุกวันนี้ จึงนับว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ยังไม่เคยมีในวงการช่างทำเทียนพรรษา ถือได้ว่าผลงานแกะสลักต้นเทียนของนายคำหมา แสงงาม เป็นต้นแบบของเทียนพรรษาประเภทแกะสลักในปัจจุบัน นายสุวิชช คูณผล อดีตปลัดเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว เล่าว่า “ชาวบ้านกุดเป่ง และชาววารินขำราบต่างตืนเต้นดีใจกันยกใหญ่ เพราะเป็นรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด ได้ถามนายคำหมา แสงงามว่า ส่งต้นเทียนพรรษาเข้าประกวดเป็นครั้งแรกก็ชนะเลิศมีความรู้สึกอย่างไร จารย์ครูหมาหัวเราะ ตอบแบบติดตลกว่าขนาดหมดทำ ยังชนะเลิศ ถ้าคนทำจะขนาดไหน ชาวบ้าน ก็ได้เฮฮากันลั่น”

ดังนั้น ในปีต่อมาประชาชนคุ้มวัดต่าง ๆ ไม่พอใจการตัดสินของคณะกรรมการที่ตัดสินต้นเทียนโดยไม่มีการแยกประเภท จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมาจึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด นายคำหมา แสงงามได้กลายเป็นช่างแกะสลักเทียนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม

ต่อมา ต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลาย ซึ่งเป็นต้นเทียนแบบเก่าแก่ของจังหวัดอุบลราชธานี คุ้มวัดต่าง ๆ ไม่นิยมจัดทำเข้าประกวดเนื่องจากไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ประชาชนไม่นิยมชมชอบ คณะกรรมการจึงตัดออกจากการประกวด ในปีถัด ๆ มาการประกวดต้นเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีจึงเหลืออยู่เพียง ๒ ประเภท คือ

๑) ประเภทติดพิมพ์
๒) ประเภทแกะสลัก

ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมาได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกันร่วมบิดามารดา

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จังหวัดและเทศบาลเมืองอุบลราชธานี พิจารณาเห็นว่างานแห่เทียนพรรษาเป็นงานที่ได้รับความร่วมมือจากข้าราซการ พ่อค้า และชาวบ้านเป็นจำนวนมาก สมควรที่จะจัดเป็นงานใหญ่ระดับชาติได้ ดังนั้นจึงได้เชิญองค์การส่งเสริมการท่องเทียวแห่งประเทศไทย (อสท.) มาสังเกตการณ์ในงานแห่เทียนพรรษา ส่งผลให้ไนปี พ.ศ. ๒๕๒๐ งานแห่เทียนพรรษาซึ่งได้รับการส่งเสริมการท่องเทียว(อสท.) หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไ่ทย (ททท.) กระทั่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี

ด้วยเหตุนี้ตั้งแต่ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมา จึงนับ เป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งสำคัญของงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี เห็นได้จากในปีเดียวกันคณะกรรมการจัดงานมีการเพิ่มเติมการประกวดขบวนแห่นางฟ้าประจำต้นเทียน ตลอดจนการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนในการประกวดทั้งนางฟ้าและต้นเทียน นอกจากนี้ยังมีการกำหนดระยะเวลาการจัดงานเพิ่มขึ้นเป็น ๓ วันคือ ระหว่างวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ โดยในวันแรกถือเป็นวันเปิดงาน วันที่สองเวลากลางวันเป็นการประกวดต้นเทียนพรรษา

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

สมัยที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๐ - ปัจจุบัน) โรจน์ศาสตร์ เรืองศิลป์
นับเป็นยุคทองของการทำต้นเทียนพรรษากิตติศัพท์ความยิ่งใหญ่ตระการตาของต้นเทียน การประกวดต้นเทียน และขบวนแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการเผยแพร่ขจรไกลให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในหมู่ประชาชนคนไทย และชาวต่างประเทศ ซึ่งต่างหลั่งไหลมาชมงานบุญประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีกันอย่างมากมายล้นหลาม เป็นเหตุให้งานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีกลายเป็นเทศกาลงานบุญที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร จากการลงทุนด้านแรงงาน เวลา กำลังความคิด กำลังทรัพย์ ซึ่งทุ่มเทกันอย่างมากมายอยู่แล้ว ก็ได้เพิ่มทวีคูณมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์ โรจน์ศาสตร์ เรืองศิลป์ เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีจึงงดงามด้วยความร่วมมือรวมใจ แฝงไว้ด้วยพลังแห่งศรัทธา วิจิตรตระการตาด้วยฝีมือ

ดังนั้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อสท.) หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปัจจุบัน ได้ให้การสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรม และร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ถือเป็นงานประจำปีและงานระดับชาติ ตั้งแตป พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมา การจัดทำต้นเทียนพรรษาพร้อมบริวาร เริ่มจัดทำใหญ่โตเรื่อยมา ต่อมานายสุวัฒน์ สุทธิประภา ช่างเทียนประเภทแกะสลัก ได้จัดทำต้นเทียนให้กับวัดเมืองเดชอำเภอเดชอุดม ส่งเข้าประกวดในงานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นต้นเทียนที่ตื่นตาตื่นใจผู้มาร่วมงานเป็นอย่างยิ่งปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศ ดังนั้น ในปีต่อ ๆ มาช่างคุ้มวัดต่าง ๆก็ได้พัฒนาการทำต้นเทียนให้สวยงามยิ่งใหญ่อลังการเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน หากมองย้อนอดีตนับเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสบสานงานประเพณีนี้มานับ ๑๐๐ ปี ชาวคุ้มวัด ทุกวัดต่างมีส่วนร่วมในการจัดทำต้นเทียนตั้งแต่เด็กจนแก่ จนถือเป็นความรับผิดชอบและหวงแหน พร้อม ๆ กับการทุ่มเทพลังทางความคิด ในการศึกษาและคิดค้นเทคนิควิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนา์การจัดทำเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีให้มีวิวัฒนาการยิ่ง ๆ ขึ้นไป

เมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เข้ามามีบทบาทสนับสนุนงานประเพณีแห่เทียนพรรษา คณะกรรมการจัดงานได้จัดให้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร มีการทบทวนและพัฒนาการประกวด อาทิ ให้แยกประเภทของการจัดประกวดโดยแบ่งเป็น การประกวดขบวนแห่ การประกวดนางฟ้าประจำต้นเทียน และการประกวดต้นเทียน มีการกำหนดเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนในการประกวดไว้อย่างรัดกุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกำหนดระยะเวลาในการจัดงานเป็น ๓ วัน คือ วันขึ้น ๑๔ - ๑๕ ค่ำ และแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ วันแรกเป็นวันเปิดงาน วันที่สองเป็นวันรวมต้นเทียน ประกวดต้นเทียน และประกวดนางฟ้าประจำต้นเทียนในช่วงเวลากลางคืน และวันที่ ๓ เป็นพิธีแห่เทียนพรรษาและประกวดขบวนแห่ไปพร้อมกัน

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษาให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวดขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก

งานประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาของชาวอุบลฯ ซึ่งมีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้กำหนดจัดงานขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 และแรม 1 ค่ำเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาจัดให้มีขึ้นทุกปี

นอกจากนั้นทางจังหวัดอุบลราชธานียังกำหนดประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้สอดคล้องกับงานพิธีสำคัญของจังหวัดและของชาติในแต่ละปี ดังนี้

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ คณะกรรมการจัดงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเทียนพรรษาจำนวน ๑ เล่ม จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อนำไปจุดบูชาพระอารามหลวงของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้ตามคำกราบบังคมทูล และกลายเป็นธรรมเนียมที่การจัดงานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีจะต้องขอพระราชทานเทียนพรรษาเพื่อความเป็นลิริมงคล ตลอดจนมีการจัดงานสมโภชเทียนพรรษาพระราชทานเพิ่มขึ้นจากงานแห่เทียนพรรษาทุกปีตราบจนปัจจุบัน

ในปีเดียวกันนั้นเอง ไม่เพียงแต่จังหวัดอุบลราชธานีจะได้รับพระราชทานเทียนพรรษาเท่านั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น (นายประมูล จันทรจำนง) ได้หารือกับนายบำเพ็ญ ณ อุบล ซึ่งดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดประจำศาลเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาในขณะนั้น อีกทั้งยังเป็นผู้สืบเชื้อสายเจ้าเมืองอุบลราชธานี ดำริให้มีการอัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองอุบลราชธานีและ เป็นตัวแทนของมเหศักดิ์หลักเมืองอุบล เพื่อนำขบวนแห่เทียนพรรษา โดยมีการนำเสนอเหตุผลว่า เนื่องจากเทียนพรรษาพระราชทานจังหวัดอุบลราชธานีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเสมือนหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาจังหวัดอุบลราชธานีด้วยพระองค์เอง ดังนั้นเจ้าเมืองและผู้สืบเชื้อสายเจ้าเมืองจึงต้องนำขบวนเสด็จ เพื่อถวายความจงรักภักดีและป้องกันภยันตรายที่อาจจะมาถึงพระองค์


ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ภายหลังจากที่งานแห่เทียนพรรษา ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลถึงความเปลี่ยนแปลงการจัดงานที่ตอบสนองต่อการเที่ยวชมของนักท่อง เที่ยวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เห็นได้จากบทความที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ คอลัมน์ซอยสวนพลู เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อการจัดงานแห่เทียนพรรษจังหวัดอุบลราชธานี ในลักษณะของการที่ชาวจังหวัดอุบลราชธานีให้ความสำคัญ ทำให้สรรหาสิ่งแปลกใหม่มาเสริมงานแห่เทียนพรรษา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งผลให้สาระสำคัญของงานแห่เทียนพรรษาเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ดีผลจากบทความดังกล่าว นำไปสู่การที่ผู้เกี่ยวข้องในการจัดงานได้หันกลับมาทบทวนบทบาทของตนในการจัด งานแห่เทียนพรรษาอีกครั้งหนึ่ง

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ การจัดทำเทียนพรรษาในปีนั้นพิถีพิถันเป็นพิเศษช่างทำต้นเทียนได้อัญเชิญพระ บรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯขนาดเท่าพระองค์จริงประดิษฐาน บนรถต้นเทียน เบื้องหน้ามีดวงตราสัญลักษณ์ เจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ และตราพระราชลัญจกรฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงสายสร้อยมหาจักรี สายสะพายจักรี และพระสังวาลปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ประดิษฐ์ด้วยเทียนอย่างวิจิตรบรรจงเหมือนจริงทุกประการ ผู้ชมจากทุกสารทิศต่างชื่นชมอย่างไม่เชื่อสายตาว่าจะพบภาพที่ประณีตงดงาม เช่นนี้ที่จังหวัดอุบลราชธานี

ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ งานเฉลิมฉลองอุบลราชธานี ๒๐๐ ปี มีการขยายเวลาการจัดงานเป็น ๕ วันเป็นครั้งแรก โดยจัดกิจกรรมอื่น ๆ เข้ามาเสริม เช่น วันแรกจะเป็นพิธีเปิดงาน และสมโภชเทียนพรรษาพระราชทาน วันที่สองจัดงานพาแลง การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านการประกวดธิดาเทียนพรรษา วันที่สาม การรวมเทียน สาธิตการจัดทำต้นเทียนทั้งสองประเภท และประกวดต้นเทียน วันที่สี่พิธีเปิดงานแห่เทียนพรรษา ประกวดขบวนแห่ ประกาศผลการตัดสินการประกวดต้นเทียนและขบวนแห่ และพิธีมอบรางวัล วันที่ห้านำต้นเทียนที่ชนะเลิศและรองชนะเลิศมาตั้งแสดงที่บริเวณทุ่งศรี เมือง เพื่อให้นักท่องเทึ่ยวและประชาชนได้ชื่นชมความงดงาม สำหรับการถวายเทียนพรรษานั้น มอบให้คุ้มวัดจัดพิธีถวายกันเองในวันเวลาแล้วแต่เห็นสมควรงานแห่เทียนพรรษา เกิดความจำเป็นบางประการ จึงทำให้ยกเลิกขบวนแห่ผู้สืบเชื้อสายเจ้าเมืองอุบลราชธานีนำหน้าเทียนพรรษา พระราชทานจนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบล ราชธานีในขณะนั้น ได้มีโครงการจัดทำวัตถุสัญลักษณ์ตัวแทนเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี อันได้แก่ “หอเทียนดอกบัว” ซึ่งมีแนวคิดผสมผสานระหว่าง ดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานีเดิม กับ เทียนพรรษา ซึ่งเป็นลัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานีที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นการสร้างหอเทียนดอกบัวที่สามารถเป็นสถานที่พักผ่อน แสดงนิทรรศการ ศูนย์นิเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว และได้มีการส่งนักศึกษาระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ไปสำรวจความคิดเห็นของชาวบ้านจังหวัดอุบล ราชธานี ในแต่ละอำเภอ ทว่าเรื่องดังกล่าวได้เงียบหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ

อย่างไรก็ดี ยังคงมีความพยายามที่จะนำเทียนพรรษาให้เป็นสัญลักษณ์ถาวรของจังหวัด อุบลราชธานีอยู่ เห็นได้จากในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายชาติสง่า โมฬีชาติ) ได้มีโครงการจัดสร้างเทียนพรรษาใหญ่ที่สุดในโลก ส่งผลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดคนต่อมา (นายศิวะ แสงมณี) พัฒนาเป็นเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นการก่ออิฐถือปูนบริเวณทุ่งศรีเมืองสูง ๒๒ เมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสครบรอบ พระชนมายุ ๗๒ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานีด้านการทำเทียน ซึ่งเป็นการเชิดชูศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของเรา อีกทั้งเป็นการปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ของทุ่งศรีเมืองให้เป็นสวนสาธารณะ อเนกประสงค์ สามารถใช้พักผ่อน ท่องเที่ยว หรือใช้ประกอบพิธีการต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ตลอดจนสื่อมวลชนในจังหวัดและกรุงเทพฯมีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งเห็นด้วยและคัดค้าน การก่อสร้างอย่างกว้างขวาง ทว่า ในที่สุดเทียนเฉลิมพระเกียรติดังกล่าวได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ ทุกประการ

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ปี พ ศ. ๒๕๓๙ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปีกาญจนาภิเษกทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี

ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จังหวัดอบลราชธานีโด้มีการยกเลิกการประกวดขบวนแห่เทียนพรรษา แต่ได้ประสานขอความร่วมมือให้อำเภอต่าง ๆหรือโรงเรียนต่าง ๆ จัดขบวนแห่ รวมทั้งจัดการแสดง โดยจังหวัดเป็นผู้กำหนดให้จึงทำให้ผู้ชมได้รับทั้งสาระและความสนุกสนานตื่น ตาตื่นใจ นอกจากนั้นแล้ว คณะกรรมการยังได้เพิ่มกิจกรรมการแสดงแสง-สี-เสียงการประกวดธิดาเทียนพรรษา และงานพาแลง ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบล ราชธานี (นายชาติสง่า โมฬีชาติ) ยังได้เพิ่มกิจกรรมขบวนแห่อัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองอุบลราชธานีแต่ครั้ง โบราณ นำหน้าเทียนพรรษาพระราชทานพร้อมทั้งได้เชิญนายบำเพ็ญ ณ อุบล ร่วมขบวนแห่เทียนพรรษาอีกครั้ง อันเป็นที่มาของกิจกรรมขบวนแห่อัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองอุบลราชธานี จนถึง ปัจจุบัน การจัดงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีได้มีการเพิ่มกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับวาระสำคัญของจังหวัดและประเทศอีกด้วย อาทิ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ งานเฉลิมฉลองอุบลรฯธานี ๒๐๐ ปี
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙งานเฉลิมฉลองปีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐งานครบรอบ ๖๐ ปีประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี

วาระสำคัญดังกล่าวนี้ ได้มีการเพิ่มจำนวนวันจัดงานขึ้นเป็น ๕วัน ซึ่งมีกิจกรรมเพิ่มเติมได้แก่ การสมโภชเทียนพรรษาพระราชทาน งานพาแลง งานแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง การสาธิตการจัดทำต้นเทียนทั้งแบบติดพิมพ์และแบบแกะสลัก และการจัดแสดงต้นเทียนที่ได้รับรางวัล การจัดขบวนแห่เทียนพรรษาที่เกิดขึ้นแต่ละคุ้มวัดพยายามจัดให้ดูดีที่สุด แปลกใหม่ที่สุด และสวยที่สุด ทำให้บางขบวนแห่มีการแสดงซ้ำกัน หรือใช้เวลานาน ตลอดจนบางขบวนแห่นอกจากจะแสดงตามจุดที่กำหนดแล้ว ยังมีการแสดงตามสถานที่ที่มีผู้ขมจำนวนมาก ทำให้เกิดความล่าช้าและควบคุมได้ยาก

ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ มีชื่องานว่า "งานแห่เทียนพรรษา เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชา" เนื่องในวโรกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ในอดีตที่ผ่านมางานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวััดอุบลราชธานี ไม่มีการกำหนด ชื่อเรียกแต่เป็นที่รู้จักกันในนาม “งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี” เท่านั้น ภายหลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เข้ามาร่วมจัดงาน จึงได้มีการกำหนดชื่อเรียกเพื่อประชาสัมพันธ์งานให้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ และเป็นที่มาของเทียนเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ทุ่งศรีเมือง ดังนั้น การจัดทำเทียนพรรษาของบรรดาช่างฝีมือต่างทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ในการทำต้นเทียนเข้าประกวดอย่างสุดฝีมือ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายด้วยความจงรักภักดี เป็นที่ประทับใจในความยิ่งใหญ่อลังการ ซึ่งหาชมที่ไหนไม่ได้อีก นอกจากที่จังหวัดอุบลราชธานีและมีการขยายเวลาการจัดงานเป็น ๑๐ วันเป็นครั้งแรก สำหรับกิจกรรมภายในงานช่วงกลางคืน นอกจากจะมีกิจกรรมการแสดงแสง-สี-เสียงแล้วคณะกรรมการ ได้เพิ่มกิจกรรมการแห่เทียนพรรษาช่วงกลางคืน ทำให้งานประเพณีการแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ และเป็นงานประเพณีที่สร้างชื่อเสียงให้จังหวัดอุบลราชธานีจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก และ เป็นที่มาของ "เทียนเฉลิมพระเกียรติฯ" ที่ทุ่งศรีเมือง

งานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีได้มีการขยายระยะเวลาการจัดงานเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เป็นจำนวน ๑๐ วัน เพึ่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบรอบ และเป็นปีอะเมชิ่งไทยแลนด์ โดยมีการเพิ่มกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ การก่อสร้างเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ สูง ๗๒ ฟุต การแสดงประกอบแสง-สี-เสียง และการประกวดภาพถ่ายจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น กระทั่งมีการปรับปรุงการจัดงานแห่เทียนพรรษาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มีชื่องานว่า "หลอมบุญบูชา ถวายไท้นวมินทร์" มีความหมายว่า การหล่อเทียนพรรษาของชาวอุบลฯ เพื่อบำเพ็ญกุศลร่วมกัน การหล่อหลอมจิตศรัทธาให้เป็นหนึ่งเดียว เปรียบประดุจการหลอมบุญบูชา เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองปีกาญจนาราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งในปีนี้ได้มีการเสนอขอให้สังคายนางานประเพณีแห่เทียนพรรษาในเรื่องเกี่ยวกับการแยกประกวดต้นเทียนตามขนาดใหญ่ เล็ก และกติกาในการให้คะแนนต้นเทียนใหม่ โดยนายบำเพ็ญ ณ อุบล นายสุวิชช คูณผล นายประดับ ก้อนแก้ว นายอุส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมคิด สอนอาจ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ณ ห้องโกมุท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี(ในการเตรียมงานสดุดีวีรกรรมเจ้าคำผง)

สรุปได้ว่า การทำเทียนพรรษาในปัจจุบัน ได้มีการทำอย่างใหญ่โตเทอะทะสิ้นเปลืองงบประมาณมาก คุ้มวัดที่ไม่เคยได้รับรางวัลเกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายไม่อยากเข้าร่วม จึงเห็นควรให้แยกขนาดต้นเทียน ซึ่งปัจจุบันมีการประกวดอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์และประเภทแกะสลักเป็นขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก โดยขอให้กรรมการตัดสินการประกวดกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อลดต้นทุนในการทำต้นเทียนให้น้อยลง วัดที่มีงบประมาณน้อยก็สามารถส่งเข้าประกวดได้ เป็นการประกวดแข่งขันกันแบบกัลยาณมิตร เพื่อความสมัครสมานสามัคคี ไม่ใช่แข่งขันกันจนเกินงาม ประเด็นสำคัญก็คือ ส่วนประกอบบนรถที่ประดิษฐานต้นเทียน เช่น เทวดา นางฟ้า และชาดกต่าง ๆ บดบังต้นเทียน ซึ่งเป็นองค์หลักสาเหตุเนื่องมาจากคณะกรรมการตัดสินการประกวดได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินให้มีคติธรรมทางศาสนาปรากฏบนรถที่ประดิษฐานต้นเทียนเพื่อให้ประชาชนทั่วไปนำไปประพฤติปฏิบัติตามเพื่อเป็นสิริมงคล โดยให้คะแนนในส่วนนี้สูงกว่าต้นเทียน กล่าวคือ คะแนนในส่วนประกอบซึ่งเป็นคติธรรม ๖๐ คะแนน : ต้นเทียน ๔๐ คะแนน ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการวางหลักเกณฑ์ได้มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การให้คะแนนใหม่ เป็นต้นเทียน ๖๐ คะแนน : ส่วนประกอบซึ่งเป็นคติธรรม ๔๐ คะแนน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ มีชื่องานว่า "งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบลฯ" เนื่องจากเทียนพรรษาได้วิวัฒนาการไปจาก "ภูมิปัญญาดั้งเดิม" จนแทบจะจำเค้าโครงแต่โบราณไม่ได้ จึงได้มีการหันกลับมาทบทวนการจัดงานแห่เทียนพรรษา ตามภูมิปัญญาของชาวอุบลฯ ตั้งแต่เดิมมา

ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ มีชื่องานว่า "โรจน์เรือง เมืองศิลป์ เป็นคำย่อมาจากคำเต็มที่ว่า "อุบลฯ เมืองนักปราชญ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี” ด้วยสาเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เลือกงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานที่โดดเด่นที่สุดของประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม ตามโครงการ “เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน” จึงจัดให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดเดือน โดยมีแนวคิดในการให้ชาวต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวออกไปทั่วโลก อาทิ เชิญช่างศิลป์นานาชาติประมาณ ๑๕ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นิวชีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น มาร่วมแข่งขันแกะสลักขี้ผี้งตามสไตล์งานศิลปะต่างชาติ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาชมงานตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม

ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ มีชื่องานว่า "สืบศาสตร์ สานศิลป์" เนื่องจากงานประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นการ "สืบทอดศาสนาและสืบสานงานศิลปะ" ดังคำกล่าวที่ว่า "เทียนพรรษา คือ ภูมิศิลปะแห่งศรัทธา" เพื่อความกระชับ จึงใช้ ชื่อว่า "สืบศาสน์ สานศิลป์" แต่โดยเหตุที่มีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า คำว่า "ศาสตร์" มีความหมายกว้างกว่า ชื่องานจึงเป็น "สืบศาสตร์ สานศิลป์" ด้วยเหตุนี้


ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีชื่องานว่า "ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา เทิดไท้ ๗๒ พรรษา มหาราชินี" เนื่องจากเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ พระแม่-แม่พระ ของแผ่นดินชาวเมืองอุบลจึงได้จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษากันอย่างยิ่งใหญ่อีกปีหนึ่ง ในปีนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดเสวนาเรื่อง “เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี : อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต” ณ ห้องประชุมมิตรไมตรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาโดยมีสาระสำคัญ ๕ ประการ สรุปได้ว่า

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

๑. ส่งเสริมการทำเทียนโบราณให้แพร่หลาย เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มการประกวดเทียนพรรษาออกเป็น ๓ ประเภท
๒. จัดให้มีขบวนแห่เทียนโบราณต้นแบบ เพื่อคำนึงถึงแก่นแท้ของ ประเพณี
๓. จัดขบวนอัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองตามประเพณีโบราณเพื่อความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษที่ต่อสู้เพื่อกู้แผ่นดิน และเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี
๔. การใช้ดนตรีพื้นเมือง เช่น แคน ซุง โปงลาง บรรเลง ในพิธีเปิดเป็นการถูกต้องเหมาะสมกับอารมณ์ผู้ชม ผู้ฟัง ที่ต้องการบรรยากาศความเป็นพื้นบ้าน พึ้นเมืองแต่ละท้องถิ่น ไปท้องถิ่นใดก็ใคร่ฟังดนตรีท้องถิ่นนั้น
๕. การใช้ดนตรีไทย ปี่พาทย์ ประโคม ในขบวนแห่เทียนพระราชทาน เพื่อสุนทรียภาพคุณค่าความไพเราะ เหมาะกับศิลปวัฒนธรรมไทย จินตนาการย้อนอดีตไทยแท้แต่โบราณ แทนการใช้วงโยธวาฑิต ซึ่งเหมาะสมกับการสวนสนาม หรือการกีฬาโดยเฉพาะ เช่นทุกปีที่ผ่านมา

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีชื่องานว่า "น้อมรำลึก ๕๐ ปี พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ" เนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๖-๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จเยือนอุบลราชธานี ยังความปลาบปลื้มปิติแก่ชาวอุบลฯ เป็นล้นพ้น เพราะตั้งแต่สร้างบ้านเมืองมาเกือบ ๒๐๐ ปี ยังไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จเยี่ยม หรือทรงใกล้ชิดกับราษฎรอย่างไม่ถือพระองค์เช่นนี้ชาวอุบลฯ ทุกหมู่เหล่า ต่างพร้อมน้อมรำลึกด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเหล้าล้นกระหม่อม พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ ปิติล้นพ้น ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี ที่ผ่านมาและตลอดไป

ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มีชื่องานว่า "๖๐ ปี พระบารมีแผ่ไพศาล งามตระการเทียนพรรษา เทิดราชัน" เพื่อแสดงความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นับเป็นการครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประเทศไทย ซึ่งในศุภวาระมหามงคลนี้ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี และความลำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย ในปีนี้คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ระบุให้นำผลงานแกะสลักประติมากรรมเทียนนานาชาติเข้าร่วมในขบวนแห่เทียนพรรษาด้วย

ปี พ ศ ๒๕๕๐ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม เลิศล้ำ เทียนพรรษา ปวงประชาพอเพียง" เนื่องจากเป็นปีมหามงคล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย และการน้อมนำแนวพระราชดำรัสมาใช้ดำรงชีวิต คำว่า คือ “เมืองธรรม ” นายสุวิชช คูณผล ได้อธิบายความหมายไว้ ๓ ประการ ได้แก่

๑ พุทธธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนาที่บรรดาพทธศาสนิกชนน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อความอยู่ดีีมีสุข
๒ อารยธรรม จังหวัดอบลรวชธานีเป็นอู่อารยวัฒนธรรม อุดมอริยทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติของเมืองนักปราชญ์
๓ ธรรมชาติ พระบาทสมเด็็จพระพุทธยอดฟ้าจฬา์โลกทรงพระราชทานนามว่า อุบลราชธานีศรีวนาลัย คำว่า ศรีวนาลัย หมายถึง ดงอู่ผึ้ง เมื่อครั้งก่อตั้งสร้างเมือง ซึ่งประกอบด้วยธรรมชาติโดยทั่วไป มีอุทยานแห่งชาติิหลายแห่ง และสามเหลี่ิยมมรกตเขียวชอุ่มที่เลื่องชื่อ อุบลราชธานีจึงเป็น “ธานีแห่งราชะ ศรีสง่าแห่งไพรพฤกษ”

ซึ่งเป็นปีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายสุธี มากบุญ) ยังได้เพิ่มเติมกิจกรรมงานแห่เทียนพรรษาด้วยการ จัดให้มีขบวนแห่น้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อเฉลิมฉลองในปีมหามงคลอีกด้วย

ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มีชื่องานว่า "เมืองอุบลบุญล้นล้ำ บุญธรรม บุญทาน สืบสานตำนานเทียน" เนื่องจากอุบลราชธานี มีสมญานามว่า "เมืองแห่งดอกบัวงาม" ซึ่งดอกบัว เป็นพฤกษชาติที่มีคติธรรมทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง อุบลราชธานีจึงมีวัฒนธรรมประเพณี ทำบุญทุกๆ เดือน คือการยึดถือ ฮีตสิบสองคองสิบสี่ (ฮีตสิบสอง คือจารีตที่ปฏิบัติแต่ละเดือน ตลอดปี จนเป็นประเพณีสืบต่อมา) ประเพณีแต่ละอย่างในฮีตสิบสอง ล้วนมีแต่ชื่อ ขึ้นต้นว่าบุญ หมายถึง ประเพณีที่มุ่งการทำบุญเป็นสำคัญ อุบลราชธานีจึงมี บุญล้นล้ำ ทั้งบุญธรรม บุญทาน อีกทั้ง งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีมาแต่โบราณ โดยเริ่มจากในสมัยแรกๆ เป็นเทียนเวียนหัว มัดรวมติดลาย วิวัฒนาการมาจนเป็นหลอมเทียน หลอมใจ หลอมบุญ สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี ๒๕๕๑

ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม บุญล้ำเทียนพรรษา ประชาพอเพียง" เนื่องจากอุบลราชธานีเป็น "อู่อารยวัฒนธรรม อุดมอรียทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี" ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม จึงเป็นความรุ่งเรือง สว่างไสว อุดมสมบูรณ์ ในธรรมที่สำคัญยิ่ง ๓ ประการ คือ พุทธธรรม อารยธรรม และธรรมชาติ ประกอบกับ การทำบุญเข้าพรรษาที่อุบลราชธานี มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี จึงเป็นที่รวมทำบุญเข้าพรรษาของประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก ท่านที่มาทำบุญเดือนแปดที่เมืองอุบลฯ จึงเป็นการบำเพ็ญกุศล ได้รับ "บุญล้ำเทียนพรรษา" โดยทั่วหน้ากันพร้อมกันนี้ยังได้เสนอเน้นคำขวัญ ประชาพอเพียง ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ประชาชนพลเมือง จะมีความ พอเพียง ได้ ก็ด้วยคุณธรรมความพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำชีวิตให้อยู่ดีมีสุข ไม่มีความฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยาน ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มีเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี ๒๕๕๒

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล"

จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่าชาวอุบลราชธานีได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษาให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือบริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจัตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียนจะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามไปตามถนนมาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีมีชื่องานแต่ละปี

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ดังนั้น เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี จึงมีความเลิิศล้ำเลอค่ามาโดยลำดับนับ ๑๐๐ ปี ด้วยเหตุผลสำคัญ ๖ ประการ คือ
๑. จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองพุทธศาสนาที่มีวัดมากที่สุดในประเทศไทย มีพระสงฆ์ชั้นสมเด็จถึง ๔ องค์ คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติส โส อ้วน) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธม.มธโร) สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จน.ทปช.โชโต) และ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) มีพระอริยสงฆ์ที่มีีชื่อเสียงทั้งในสายคันถธุระ อาทิ พระอริยวงศาจารย์ (สุ้ย) ท่านพน.ธุโล (ดี) ท่านเทวธม.มี (ม้าว) พระอริยกวี (อ่อน) พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นน.ตโร) พระอุบาลีคุณูปมาจารย (จันทร์ สิริจน.โท) และสายวิปัสสนากรรมฐาน อาทิ พระอาจารย์สีทา ชยเสโน พระอาจารย์เสาร์ กน.ตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระอาจารย์สิงห์ ขน.ตยาคโม พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระโพธิญาณเถร (ชา สุภท.โท) เป็นต้น

๒ ชาวจังหวัตอุบลราชธานี เป็นผู้มีใจุเป็นกุศล ใฝ่ธรรม มีความเชื่อว่า การถวายเทียนพรรษาเป็นผลให้บังเกิดปัญญาเฉียบแหลม มีความเฉลียวฉลาด สมกับเป็นพลเมือง เมืองนักปราชญ์

๓ จังหวัดอุบลราชธานี มีดงอู่ผึ้ง ซึ่งเป็นสถานที่ ที่มีทรัพยากรสำคัญในการทำเทียนพรรษา นั่นก็คือ รวงผึ้งอันอุดมสมบูรณ์ มาจนปัจจุบัน สำนักพระราชวังได้นำขี้ผึ้งจากจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อไปใช้ในการจัดทำเทียนพระราชทาน เพราะที่อุทยานแห่งชาติ ภูจองนายอย ซึ่งอยู่ติดกับพรมแดนประเทศไทย ลาว และเขมร เป็นดงอู่ผึ้งแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี

๔.ชาวจังหวััดอุบล ให้ความใส่ใจ และ พิถีพิถันในการถวายสิ่งใด ๆ แด่พระรัตนตรัย จะต้องสวยสดงดงามเป็นพิเศษ เพราะถือว่าเป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธึ่ผ่องใส จะได้งดงามทั้งร่างกายและจิตใจ ดังผญา (สุภาษิต) ได้กล่าวไว้ว่า “แนวได๋ถวย (ถวาย) เจ้าหัวต้องให้งาม เฮาสิได้งามนำเผิ่น” แปลความหมายได้ว่้า สิ่งใด ๆ ที่นำถวายให้พระสงฆ์ ต้องเป็นสิ่งที่งามที่สุด เราจะได้งามทั้งกายและใจ บรรพชนได้อบรมสั่งสอนเรื่องนี้มาแต่ดีตกาล ลูกหลานสืบสานจนเป็นธรรมเนียมต่อมาจนถีงปัจจุบับ

๕ จังหวัดอุบลราชธานีมีสกุลช่างทกสา์ขาวิชาช่างศิลปะจึงสามารถรังสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างวิจิตรบรรจงตามจินตนาการ เพื่อสนองเจตนาและสอดคล้องกับความเชื่อของบรรพชน ตามข้อ ๔

๖. ประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี มีเจตนาส่งเสริมพระพุทธศาสนา บูชาพระรัตนตรัย ตามเป้าหมายดั้งเดิม อีกประการหนึ่งเป็นการถวายสักการะพระมหากษัตริย์ในวโรกาสพระราชพิธีสำคัญแต่ละปีโดยลำดับตลอดมา ชาวจังหวัดอุบลราชธานีได้น้อมเกล้าฯถวายความจงรักภักดีโดยทั่วกัน เนื่องจากประเพณีแห่เทียนพรรษาเกิดจาก “ภูมิปัญญาชาวบ้าน”สืบสานเป็น “ภูมิปัญญาท้องถิน” ก่อให้เกิด “ภูมิพลังเมือง” สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ประชาชนเป็นปึกแผ่นมั่นคง แก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ โดยการร่วมเป็น “ภูมิพลังแผ่นดิน”ดังนั้นประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีจึงเทิดทูน ๓ สถาบันสำคัญสูงสุด คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดำรงจิรัฐิติกาล

 

หลอมใจทำเทียนพรรษา น้อมบูชาพระรัตนตรัย
ศรัทธาธรรมนำชาติไทย ถวายไท้มหาราชัน

ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ต้องนึกคิดไว้ ตลอดเวลา ว่าประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นทุนทางสังคม ที่บรรพบุรุษสั่งสมนับร้อยปีมีจิตวิญญาณ และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี การนำงานประเพณีแห่เทียนพรรษาสูู่สากล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น จำเป็นต้องยึดมั่นแก่นแท้ของเทียนพรรษาเป็นสิ่งสำคัญ แล้วผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมให้กลมกลืนกันอย่างลงตัว ไม่ขัดเขินในลักษณะอนุรักษ์ของเดิมก่อนส่งเสริมของใหม่ จึงเป็นหน้าที่ของลูกหลานชาวเมืองอุบลที่ต้องอนุรักษ์ และสืบสานให้ประเพณีแห่เทียนพรรษายืนยงคงอยู่คู่จังหวัดอุบลราชธานีตลอดไป

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ลำดับ เหตุการณ์สำคัญในงานแห่เทียนพรรษาเมืองอุบล
ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๔
ชาวบ้านเมืองอุบลแต่ละบ้าน ยังทำเทียนพรรษาถวายพระสงฆ์เป็นของตน เริ่มตั้งแต่เป็นเทียนเล่มเล็กขนาดยาวรอบศีรษะ ต่อมาพัฒนาเป็นการมัดรวมเทียนเล่มเล็กแล้วพันด้วยกระดาษสี

กลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๔
พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ โปรด ฯ ให้มีการแห่เทียนพรรษาเป็นครั้งแรก แ่ละ์จัดให้มีการประกวดขบวนแห่เทียนพรรษาเป็นครั้งแรก

ก่อนพุทธทศวรรษที่ ๒๔๗๐(พ.ศ. ๒๔๗๐- ๒๔๗๙)
ได้มีการริเริ่มการหล่อเทียนพรรษาด้วยรางไม้เป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๔๘๐
ริเริ่มการทำลวดลายลงบนเทียนพรรษาเป็นครั้งแรก โดยนายโพธิ์ ส่งศรี (ถึงแก่กรรมปี พ.ศ. ๒๕๒๒) เป็นการติดพิมพ์ขี้ผี้ง

พ.ศ. ๒๔๙๔
นายชอบ ชัยประภา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีสนับสนุนให้งานแห่เทียนพรรษาเป็นงานประจำปีของจังหวัดเป็นครั้งแรก นายสวน คูณผล ได้ริเริ่มการทำองค์ประกอบเทียนพรรษาเป็นรูปสัตว์ และิใช้ไม้ฉลุเป็นลวดลายประดับเทียนพรรษา

พ.ศ. ๒๔๙๕
มีการเปลี่ยนแปลงรถแห่เทียนพรรษา จากเกวียนเป็นรถยนต์ และมีการรื้อฟื้นการประกวดเทียนพรรษาแบบดั้งเดิม (แบบมัดรวมเทียน) และแบบติดพิมพ์

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ต้นพุทธทศวรรษที่ ๒๕๐๐(พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๙)
ริเริ่มการหล่อเทียนพรรษาด้วยแบบพิมพ์สังกะสีเป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๕๐๒
มีการคิดค้นการทำลวดลายเทียนพรรษาแบบแกะสลักจากต้นเทียน โดยนายคำหมา แสงง าม (ถึงแก่กรรมปี พ.ศ.๒๕๓๓) มีการแบ่งประเภทการประกวดเทียนพรรษาออกเป็น ๓ ประเภท คือ แบบดั้งเดิม (มัดรวมเทียน) แบบติดพิมพ์ และแบบแกะลลัก ซึ่งในที่สุดแบบดั้งเดิมก็เสื่อมความนิยมและหายไป

พ.ศ. ๒๕๑๐
งานแห่เทียนพรรษาหยุดชะงักไป ๑ ปี ซึ่งมีการคัดค้านการประกวดเทียนพรรษาจาก “พุทธสมาคมจังหวัดอุบลราชธานี” เนื่องจากการประกวดเทียนพรรษาในปีที่ผ่านมา มีการแข่งขันกันสูง โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันบางส่วนไม่พอใจผลการตัดสิน ก่อให้เกิดความรุนแรงภายในงานเกิดขึ้น ส่งผลให้ไม่มีการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาในจังหวัดอุบลราชธานี ในปีดังกล่าว ซึ่งทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจ จนกระทั่งมีการทบทวนและจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาขึ้นมาอีกครั้งในปี ต่อมา

พ.ศ. ๒๕๑๑
ทำต้นเทียนที่มีขนาดใหญ่โตและสูงมากขึ้น โดยเป็นครั้งแรกที่ริเริ่มแกะสลักลวดลายเป็นพุทธประวัติหรือชาดก

พ ศ ๒๕๑๒
เทศบาลเมืองอบลราชธานี (ปัจจบับเป็นเทศบาลเมืเงนครอบลราขธานี) ได้จัดให้มีการปรขักวดเทียนพรรษาบริเวณหอเดิม บริเวณข้างศาลหลักเมือง ซึ่งส่งผลให้มีการส่งเทียนพรรษาเข้าประกวดเพิ่มมากขึ้นตามลาดับ

พ ศ ๒๕๑๖
แต่ละคุ้มวัดให้ความสนใจส่งขบวนแห่เทียนพรรฑเข้าประกวตมากขึ้น ทำให้เทศบาลเมืองอุบลราชธานิ ต้องย้ายสถานที่จัดงานเป็นบริเวณทุ่งศรีเมืองตราบจนปัจจุบัน

พ ศ ๒๕๑๙
จังหวัดอบลราชธานีและเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ได้เชิญให้องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อสท.) สังเกตการณ์งานแห่เทียนพรรษาเพื่อยกระดับให้เป็นงานระดับชาติ

พ ศ ๒๕๒๐
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย( อสท.) เริ่มเข้ามาสนับสนุนงานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีให้เป็นงานประจำปีและระดับชาติเป็นครั้งแรก ที่เพิ่มระยะเวลาการจัดงานแห่เทียนพรรษาเป็น ๓ วัน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีชื่องานว่า "ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา เทิดไท้ ๗๒ พรรษา มหาราชินี" เนื่องจากเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ พระแม่-แม่พระ ของแผ่นดินชาวเมืองอุบลจึงได้จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษากันอย่างยิ่งใหญ่อีกปีหนึ่ง ในปีนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้จัดเสวนาเรื่อง “เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี : อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต” ณ ห้องประชุมมิตรไมตรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาโดยมีสาระสำคัญ ๕ ประการ สรุปได้ว่า
๑. ส่งเสริมการทำเทียนโบราณให้แพร่หลาย เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มการประกวดเทียนพรรษาออกเป็น ๓ ประเภท
๒. จัดให้มีขบวนแห่เทียนโบราณต้นแบบ เพื่อคำนึงถึงแก่นแท้ของ ประเพณี
๓. จัดขบวนอัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองตามประเพณีโบราณเพื่อความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษที่ต่อสู้เพื่อกู้แผ่นดิน และเป็นการถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี
๔. การใช้ดนตรีพื้นเมือง เช่น แคน ซุง โปงลาง บรรเลง ในพิธีเปิดเป็นการถูกต้องเหมาะสมกับอารมณ์ผู้ชม ผู้ฟัง ที่ต้องการบรรยากาศความเป็นพื้นบ้าน พึ้นเมืองแต่ละท้องถิ่น ไปท้องถิ่นใดก็ใคร่ฟังดนตรีท้องถิ่นนั้น
๕. การใช้ดนตรีไทย ปี่พาทย์ ประโคม ในขบวนแห่เทียนพระราชทาน เพื่อสุนทรียภาพคุณค่าความไพเราะ เหมาะกับศิลปวัฒนธรรมไทย จินตนาการย้อนอดีตไทยแท้แต่โบราณ แทนการใช้วงโยธวาฑิต ซึ่งเหมาะสมกับการสวนสนาม หรือการกีฬาโดยเฉพาะ เช่นทุกปีที่ผ่านมา

ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีชื่องานว่า "น้อมรำลึก ๕๐ ปี พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ" เนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๖-๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จเยือนอุบลราชธานี ยังความปลาบปลื้มปิติแก่ชาวอุบลฯ เป็นล้นพ้น เพราะตั้งแต่สร้างบ้านเมืองมาเกือบ ๒๐๐ ปี ยังไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จเยี่ยม หรือทรงใกล้ชิดกับราษฎรอย่างไม่ถือพระองค์เช่นนี้ชาวอุบลฯ ทุกหมู่เหล่า ต่างพร้อมน้อมรำลึกด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเหล้าล้นกระหม่อม พระบารมีแผ่คุ้มเกล้าฯ ชาวอุบลฯ ปิติล้นพ้น ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี ที่ผ่านมาและตลอดไป

ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ มีชื่องานว่า "๖๐ ปี พระบารมีแผ่ไพศาล งามตระการเทียนพรรษา เทิดราชัน" เพื่อแสดงความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ นับเป็นการครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประเทศไทย ซึ่งในศุภวาระมหามงคลนี้ เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี และความลำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย ในปีนี้คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ระบุให้นำผลงานแกะสลักประติมากรรมเทียนนานาชาติเข้าร่วมในขบวนแห่เทียนพรรษาด้วย

ปี พ ศ ๒๕๕๐มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม เลิศล้ำ เทียนพรรษา ปวงประชาพอเพียง" เนื่องจากเป็นปีมหามงคล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรปวงชนชาวไทย และการน้อมนำแนวพระราชดำรัสมาใช้ดำรงชีวิต คำว่า คือ “เมืองธรรม ” นายสุวิชช คูณผล ได้อธิบายความหมายไว้ ๓ ประการ ได้แก่
๑ พุทธธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนาที่บรรดาพทธศาสนิกชนน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อความอยู่ดีีมีสุข
๒ อารยธรรม จังหวัดอบลรวชธานีเป็นอู่อารยวัฒนธรรม อุดมอริยทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติของเมืองนักปราชญ์
๓ ธรรมชาติ พระบาทสมเด็็จพระพุทธยอดฟ้าจฬา์โลกทรงพระราชทานนามว่า อุบลราชธานีศรีวนาลัย คำว่า ศรีวนาลัย หมายถึง ดงอู่ผึ้ง เมื่อครั้งก่อตั้งสร้างเมือง ซึ่งประกอบด้วยธรรมชาติโดยทั่วไป มีอุทยานแห่งชาติิหลายแห่ง และสามเหลี่ิยมมรกตเขียวชอุ่มที่เลื่องชื่อ อุบลราชธานีจึงเป็น “ธานีแห่งราชะ ศรีสง่าแห่งไพรพฤกษ”

ซึ่งเป็นปีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายสุธี มากบุญ) ยังได้เพิ่มเติมกิจกรรมงานแห่เทียนพรรษาด้วยการ จัดให้มีขบวนแห่น้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อเฉลิมฉลองในปีมหามงคลอีกด้วย

ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มีชื่องานว่า "เมืองอุบลบุญล้นล้ำ บุญธรรม บุญทาน สืบสานตำนานเทียน" เนื่องจากอุบลราชธานี มีสมญานามว่า "เมืองแห่งดอกบัวงาม" ซึ่งดอกบัว เป็นพฤกษชาติที่มีคติธรรมทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง อุบลราชธานีจึงมีวัฒนธรรมประเพณี ทำบุญทุกๆ เดือน คือการยึดถือ ฮีตสิบสองคองสิบสี่ (ฮีตสิบสอง คือจารีตที่ปฏิบัติแต่ละเดือน ตลอดปี จนเป็นประเพณีสืบต่อมา) ประเพณีแต่ละอย่างในฮีตสิบสอง ล้วนมีแต่ชื่อ ขึ้นต้นว่าบุญ หมายถึง ประเพณีที่มุ่งการทำบุญเป็นสำคัญ อุบลราชธานีจึงมี บุญล้นล้ำ ทั้งบุญธรรม บุญทาน อีกทั้ง งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีมาแต่โบราณ โดยเริ่มจากในสมัยแรกๆ เป็นเทียนเวียนหัว มัดรวมติดลาย วิวัฒนาการมาจนเป็นหลอมเทียน หลอมใจ หลอมบุญ สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี ๒๕๕๑

ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม บุญล้ำเทียนพรรษา ประชาพอเพียง" เนื่องจากอุบลราชธานีเป็น "อู่อารยวัฒนธรรม อุดมอรียทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี" ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม จึงเป็นความรุ่งเรือง สว่างไสว อุดมสมบูรณ์ ในธรรมที่สำคัญยิ่ง ๓ ประการ คือ พุทธธรรม อารยธรรม และธรรมชาติ ประกอบกับ การทำบุญเข้าพรรษาที่อุบลราชธานี มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี จึงเป็นที่รวมทำบุญเข้าพรรษาของประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก ท่านที่มาทำบุญเดือนแปดที่เมืองอุบลฯ จึงเป็นการบำเพ็ญกุศล ได้รับ "บุญล้ำเทียนพรรษา" โดยทั่วหน้ากันพร้อมกันนี้ยังได้เสนอเน้นคำขวัญ ประชาพอเพียง ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ประชาชนพลเมือง จะมีความ พอเพียง ได้ ก็ด้วยคุณธรรมความพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำชีวิตให้อยู่ดีมีสุข ไม่มีความฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยาน ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มีเป็นที่มาของชื่องานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี ๒๕๕๒

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มีชื่องานว่า "ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบล"

จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ได้ความว่าชาวอุบลราชธานีได้ทำต้นเทียนประกวดประชันความวิจิตรบรรจงกัน ตั้งแต่พ.ศ.2470 จนเมื่อปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานีได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษาให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร สถานที่จัดงานคือบริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจัตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียนจะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามไปตามถนนมาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง และการแสดงสมโภชต้นเทียน แลเป็นแสงไฟต้องลำเทียนงามอร่ามไปทั้งงาน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นต้นมา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีมีชื่องานแต่ละปี

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 757 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์