รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

ยุคของงานแห่เทียนเข้าพรรษา อุบลราชธานี

สารบัญ

ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ภายหลังจากที่งานแห่เทียนพรรษา ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลถึงความเปลี่ยนแปลงการจัดงานที่ตอบสนองต่อการเที่ยวชมของนักท่อง เที่ยวมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เห็นได้จากบทความที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ คอลัมน์ซอยสวนพลู เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อการจัดงานแห่เทียนพรรษจังหวัดอุบลราชธานี ในลักษณะของการที่ชาวจังหวัดอุบลราชธานีให้ความสำคัญ ทำให้สรรหาสิ่งแปลกใหม่มาเสริมงานแห่เทียนพรรษา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งผลให้สาระสำคัญของงานแห่เทียนพรรษาเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ดีผลจากบทความดังกล่าว นำไปสู่การที่ผู้เกี่ยวข้องในการจัดงานได้หันกลับมาทบทวนบทบาทของตนในการจัด งานแห่เทียนพรรษาอีกครั้งหนึ่ง

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ การจัดทำเทียนพรรษาในปีนั้นพิถีพิถันเป็นพิเศษช่างทำต้นเทียนได้อัญเชิญพระ บรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯขนาดเท่าพระองค์จริงประดิษฐาน บนรถต้นเทียน เบื้องหน้ามีดวงตราสัญลักษณ์ เจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ และตราพระราชลัญจกรฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงสายสร้อยมหาจักรี สายสะพายจักรี และพระสังวาลปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ประดิษฐ์ด้วยเทียนอย่างวิจิตรบรรจงเหมือนจริงทุกประการ ผู้ชมจากทุกสารทิศต่างชื่นชมอย่างไม่เชื่อสายตาว่าจะพบภาพที่ประณีตงดงาม เช่นนี้ที่จังหวัดอุบลราชธานี

ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ งานเฉลิมฉลองอุบลราชธานี ๒๐๐ ปี มีการขยายเวลาการจัดงานเป็น ๕ วันเป็นครั้งแรก โดยจัดกิจกรรมอื่น ๆ เข้ามาเสริม เช่น วันแรกจะเป็นพิธีเปิดงาน และสมโภชเทียนพรรษาพระราชทาน วันที่สองจัดงานพาแลง การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านการประกวดธิดาเทียนพรรษา วันที่สาม การรวมเทียน สาธิตการจัดทำต้นเทียนทั้งสองประเภท และประกวดต้นเทียน วันที่สี่พิธีเปิดงานแห่เทียนพรรษา ประกวดขบวนแห่ ประกาศผลการตัดสินการประกวดต้นเทียนและขบวนแห่ และพิธีมอบรางวัล วันที่ห้านำต้นเทียนที่ชนะเลิศและรองชนะเลิศมาตั้งแสดงที่บริเวณทุ่งศรี เมือง เพื่อให้นักท่องเทึ่ยวและประชาชนได้ชื่นชมความงดงาม สำหรับการถวายเทียนพรรษานั้น มอบให้คุ้มวัดจัดพิธีถวายกันเองในวันเวลาแล้วแต่เห็นสมควรงานแห่เทียนพรรษา เกิดความจำเป็นบางประการ จึงทำให้ยกเลิกขบวนแห่ผู้สืบเชื้อสายเจ้าเมืองอุบลราชธานีนำหน้าเทียนพรรษา พระราชทานจนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบล ราชธานีในขณะนั้น ได้มีโครงการจัดทำวัตถุสัญลักษณ์ตัวแทนเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี อันได้แก่ “หอเทียนดอกบัว” ซึ่งมีแนวคิดผสมผสานระหว่าง ดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานีเดิม กับ เทียนพรรษา ซึ่งเป็นลัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานีที่เกิดขึ้นใหม่ เป็นการสร้างหอเทียนดอกบัวที่สามารถเป็นสถานที่พักผ่อน แสดงนิทรรศการ ศูนย์นิเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว และได้มีการส่งนักศึกษาระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ไปสำรวจความคิดเห็นของชาวบ้านจังหวัดอุบล ราชธานี ในแต่ละอำเภอ ทว่าเรื่องดังกล่าวได้เงียบหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ

อย่างไรก็ดี ยังคงมีความพยายามที่จะนำเทียนพรรษาให้เป็นสัญลักษณ์ถาวรของจังหวัด อุบลราชธานีอยู่ เห็นได้จากในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายชาติสง่า โมฬีชาติ) ได้มีโครงการจัดสร้างเทียนพรรษาใหญ่ที่สุดในโลก ส่งผลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดคนต่อมา (นายศิวะ แสงมณี) พัฒนาเป็นเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นการก่ออิฐถือปูนบริเวณทุ่งศรีเมืองสูง ๒๒ เมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสครบรอบ พระชนมายุ ๗๒ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานีด้านการทำเทียน ซึ่งเป็นการเชิดชูศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของเรา อีกทั้งเป็นการปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ของทุ่งศรีเมืองให้เป็นสวนสาธารณะ อเนกประสงค์ สามารถใช้พักผ่อน ท่องเที่ยว หรือใช้ประกอบพิธีการต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ตลอดจนสื่อมวลชนในจังหวัดและกรุงเทพฯมีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งเห็นด้วยและคัดค้าน การก่อสร้างอย่างกว้างขวาง ทว่า ในที่สุดเทียนเฉลิมพระเกียรติดังกล่าวได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ ทุกประการ

tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani tour-candle-festival-generation-ubon-ratchathani

ปี พ ศ. ๒๕๓๙ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปีกาญจนาภิเษกทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี

ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จังหวัดอบลราชธานีโด้มีการยกเลิกการประกวดขบวนแห่เทียนพรรษา แต่ได้ประสานขอความร่วมมือให้อำเภอต่าง ๆหรือโรงเรียนต่าง ๆ จัดขบวนแห่ รวมทั้งจัดการแสดง โดยจังหวัดเป็นผู้กำหนดให้จึงทำให้ผู้ชมได้รับทั้งสาระและความสนุกสนานตื่น ตาตื่นใจ นอกจากนั้นแล้ว คณะกรรมการยังได้เพิ่มกิจกรรมการแสดงแสง-สี-เสียงการประกวดธิดาเทียนพรรษา และงานพาแลง ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบล ราชธานี (นายชาติสง่า โมฬีชาติ) ยังได้เพิ่มกิจกรรมขบวนแห่อัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองอุบลราชธานีแต่ครั้ง โบราณ นำหน้าเทียนพรรษาพระราชทานพร้อมทั้งได้เชิญนายบำเพ็ญ ณ อุบล ร่วมขบวนแห่เทียนพรรษาอีกครั้ง อันเป็นที่มาของกิจกรรมขบวนแห่อัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองอุบลราชธานี จนถึง ปัจจุบัน การจัดงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีได้มีการเพิ่มกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับวาระสำคัญของจังหวัดและประเทศอีกด้วย อาทิ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ งานเฉลิมฉลองอุบลรฯธานี ๒๐๐ ปี
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙งานเฉลิมฉลองปีกาญจนาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐งานครบรอบ ๖๐ ปีประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี

วาระสำคัญดังกล่าวนี้ ได้มีการเพิ่มจำนวนวันจัดงานขึ้นเป็น ๕วัน ซึ่งมีกิจกรรมเพิ่มเติมได้แก่ การสมโภชเทียนพรรษาพระราชทาน งานพาแลง งานแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง การสาธิตการจัดทำต้นเทียนทั้งแบบติดพิมพ์และแบบแกะสลัก และการจัดแสดงต้นเทียนที่ได้รับรางวัล การจัดขบวนแห่เทียนพรรษาที่เกิดขึ้นแต่ละคุ้มวัดพยายามจัดให้ดูดีที่สุด แปลกใหม่ที่สุด และสวยที่สุด ทำให้บางขบวนแห่มีการแสดงซ้ำกัน หรือใช้เวลานาน ตลอดจนบางขบวนแห่นอกจากจะแสดงตามจุดที่กำหนดแล้ว ยังมีการแสดงตามสถานที่ที่มีผู้ขมจำนวนมาก ทำให้เกิดความล่าช้าและควบคุมได้ยาก

ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ มีชื่องานว่า "งานแห่เทียนพรรษา เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชา" เนื่องในวโรกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ในอดีตที่ผ่านมางานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวััดอุบลราชธานี ไม่มีการกำหนด ชื่อเรียกแต่เป็นที่รู้จักกันในนาม “งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี” เท่านั้น ภายหลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เข้ามาร่วมจัดงาน จึงได้มีการกำหนดชื่อเรียกเพื่อประชาสัมพันธ์งานให้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ และเป็นที่มาของเทียนเฉลิมพระเกียรติฯ ที่ทุ่งศรีเมือง ดังนั้น การจัดทำเทียนพรรษาของบรรดาช่างฝีมือต่างทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ในการทำต้นเทียนเข้าประกวดอย่างสุดฝีมือ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายด้วยความจงรักภักดี เป็นที่ประทับใจในความยิ่งใหญ่อลังการ ซึ่งหาชมที่ไหนไม่ได้อีก นอกจากที่จังหวัดอุบลราชธานีและมีการขยายเวลาการจัดงานเป็น ๑๐ วันเป็นครั้งแรก สำหรับกิจกรรมภายในงานช่วงกลางคืน นอกจากจะมีกิจกรรมการแสดงแสง-สี-เสียงแล้วคณะกรรมการ ได้เพิ่มกิจกรรมการแห่เทียนพรรษาช่วงกลางคืน ทำให้งานประเพณีการแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ และเป็นงานประเพณีที่สร้างชื่อเสียงให้จังหวัดอุบลราชธานีจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก และ เป็นที่มาของ "เทียนเฉลิมพระเกียรติฯ" ที่ทุ่งศรีเมือง

งานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีได้มีการขยายระยะเวลาการจัดงานเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เป็นจำนวน ๑๐ วัน เพึ่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบรอบ และเป็นปีอะเมชิ่งไทยแลนด์ โดยมีการเพิ่มกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ การก่อสร้างเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ สูง ๗๒ ฟุต การแสดงประกอบแสง-สี-เสียง และการประกวดภาพถ่ายจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น กระทั่งมีการปรับปรุงการจัดงานแห่เทียนพรรษาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ มีชื่องานว่า "หลอมบุญบูชา ถวายไท้นวมินทร์" มีความหมายว่า การหล่อเทียนพรรษาของชาวอุบลฯ เพื่อบำเพ็ญกุศลร่วมกัน การหล่อหลอมจิตศรัทธาให้เป็นหนึ่งเดียว เปรียบประดุจการหลอมบุญบูชา เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระมหากษัตริย์ เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองปีกาญจนาราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งในปีนี้ได้มีการเสนอขอให้สังคายนางานประเพณีแห่เทียนพรรษาในเรื่องเกี่ยวกับการแยกประกวดต้นเทียนตามขนาดใหญ่ เล็ก และกติกาในการให้คะแนนต้นเทียนใหม่ โดยนายบำเพ็ญ ณ อุบล นายสุวิชช คูณผล นายประดับ ก้อนแก้ว นายอุส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมคิด สอนอาจ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ณ ห้องโกมุท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี(ในการเตรียมงานสดุดีวีรกรรมเจ้าคำผง)

สรุปได้ว่า การทำเทียนพรรษาในปัจจุบัน ได้มีการทำอย่างใหญ่โตเทอะทะสิ้นเปลืองงบประมาณมาก คุ้มวัดที่ไม่เคยได้รับรางวัลเกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายไม่อยากเข้าร่วม จึงเห็นควรให้แยกขนาดต้นเทียน ซึ่งปัจจุบันมีการประกวดอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์และประเภทแกะสลักเป็นขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก โดยขอให้กรรมการตัดสินการประกวดกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อลดต้นทุนในการทำต้นเทียนให้น้อยลง วัดที่มีงบประมาณน้อยก็สามารถส่งเข้าประกวดได้ เป็นการประกวดแข่งขันกันแบบกัลยาณมิตร เพื่อความสมัครสมานสามัคคี ไม่ใช่แข่งขันกันจนเกินงาม ประเด็นสำคัญก็คือ ส่วนประกอบบนรถที่ประดิษฐานต้นเทียน เช่น เทวดา นางฟ้า และชาดกต่าง ๆ บดบังต้นเทียน ซึ่งเป็นองค์หลักสาเหตุเนื่องมาจากคณะกรรมการตัดสินการประกวดได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินให้มีคติธรรมทางศาสนาปรากฏบนรถที่ประดิษฐานต้นเทียนเพื่อให้ประชาชนทั่วไปนำไปประพฤติปฏิบัติตามเพื่อเป็นสิริมงคล โดยให้คะแนนในส่วนนี้สูงกว่าต้นเทียน กล่าวคือ คะแนนในส่วนประกอบซึ่งเป็นคติธรรม ๖๐ คะแนน : ต้นเทียน ๔๐ คะแนน ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการวางหลักเกณฑ์ได้มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การให้คะแนนใหม่ เป็นต้นเทียน ๖๐ คะแนน : ส่วนประกอบซึ่งเป็นคติธรรม ๔๐ คะแนน

ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ มีชื่องานว่า "งามล้ำเทียนพรรษา ภูมิปัญญาชาวอุบลฯ" เนื่องจากเทียนพรรษาได้วิวัฒนาการไปจาก "ภูมิปัญญาดั้งเดิม" จนแทบจะจำเค้าโครงแต่โบราณไม่ได้ จึงได้มีการหันกลับมาทบทวนการจัดงานแห่เทียนพรรษา ตามภูมิปัญญาของชาวอุบลฯ ตั้งแต่เดิมมา

ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ มีชื่องานว่า "โรจน์เรือง เมืองศิลป์ เป็นคำย่อมาจากคำเต็มที่ว่า "อุบลฯ เมืองนักปราชญ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี” ด้วยสาเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้เลือกงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานที่โดดเด่นที่สุดของประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม ตามโครงการ “เที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกเดือน” จึงจัดให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดเดือน โดยมีแนวคิดในการให้ชาวต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวออกไปทั่วโลก อาทิ เชิญช่างศิลป์นานาชาติประมาณ ๑๕ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นิวชีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น มาร่วมแข่งขันแกะสลักขี้ผี้งตามสไตล์งานศิลปะต่างชาติ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาชมงานตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม

ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ มีชื่องานว่า "สืบศาสตร์ สานศิลป์" เนื่องจากงานประเพณีแห่เทียนพรรษาเป็นการ "สืบทอดศาสนาและสืบสานงานศิลปะ" ดังคำกล่าวที่ว่า "เทียนพรรษา คือ ภูมิศิลปะแห่งศรัทธา" เพื่อความกระชับ จึงใช้ ชื่อว่า "สืบศาสน์ สานศิลป์" แต่โดยเหตุที่มีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า คำว่า "ศาสตร์" มีความหมายกว้างกว่า ชื่องานจึงเป็น "สืบศาสตร์ สานศิลป์" ด้วยเหตุนี้

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 900 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์