วัดพระเจ้าทองทิพย์ เชียงราย
วัดพระเจ้าทองทิพย์
แต่เดิมเป็นวัดร้าง อยู่ในเขตบ้านป่าหวาย ซึ่งในอดีตเป็นป่าหวาย ทั้งหมู่บ้านชาวบ้าน จึงเรียกว่า ป่าหวาย จนถึงปัจจุบันนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2089 พระเจ้าไชยเชษฐาของกรุงศรีสัตนาคนหุต เมืองหลวงพระบาง (นครเชียงทอง) จะไปครองนครเชียงใหม่ ตามคำทูลของเสนาอำมาตย์ของเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ลงเรือมาด้วยเพื่อจะนำไปสักการะบูชาที่นคร เชียงใหม่ พระองค์จึงทรงประทับเรือพระที่นั่ง ตามลำน้ำโขงเข้ามาแม่น้ำกก และแม่น้ำลาว ตามลำดับ ครั้นมาถึงที่ตั้งของวัดพระเจ้าทองทิพย์ในปัจจุบัน เรือพระที่นั่งก็มาติดทั้งๆที่ไม่มีสิ่งกีดขวางแต่อย่างใด เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาทรงเห็นว่าเหล่าเสนานอำมาตย์ นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ขึ้นทางทิศตะวันตก และโปรดให้สร้างมณฑปไว้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์แล้วพระองค์ก็เสด็จ ไปครองนครเชียงใหม่ต่อไป และต่อมาชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดตามพระพุทธรูปว่าวัดพระเจ้าทองทิพย์สืบต่อ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้
อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายตามถนนสายเชียงใหม่-เชียงราย เลี้ยวขวากิโลเมตรที่ ๑๒๑ ที่บ้านห้วยส้ม ผ่านตำบลศรีถ้อย เข้าไปประมาณ ๖ กิโลเมตร ตามประวัติกล่าวว่า ประมาณ พ.ศ. ๒๐๗๖ พระเจ้าเชียงใหม่ได้ยกพระธิดาให้กับพระเจ้าโพธิสารกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตตนาคณหุต (สปป.ลาว) แต่ไม่มีโอรสจึงไปบนขอจากพระเจ้าทองทิพย์ พระมเหสีทรงประสูติพระโอรส พระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา พระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาได้สวรรคตไม่มีราชบุตรสืบราชบัลลังก์ ข้าราชบริพารได้ทูลขอพระไชยเชษฐาไปครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าโพธิสารก็ทรงอนุญาตและขอให้อัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ไปด้วย โดยล่องเรือมาตามลำน้ำโขง ลำน้ำกก และลำน้ำลาว เมื่อเดินทางถึงที่ตั้งวัดในปัจจุบัน เรือก็เกยตื้นไม่สามารถเดินทางต่อไปได้จึงได้นิมนต์พระเจ้าทองทิพย์ประดิษฐานไว้ ณ ที่นั่นเอง
พระเจ้าไชยเชษฐาครองเมืองเชียงใหม่ได้ ๒ ปี พระบิดาก็สวรรคตจึงเสด็จกลับมาหลวงพระบาง พระองค์ได้นำพระพุทธรูปสำคัญของเมืองเชียงใหม่ไปด้วย เช่น พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว และอีกหลายองค์ ซึ่งต่อมาพระพุทธรูปทุกองค์ได้คืนกลับมาเมืองไทยหมด แต่พระเจ้าทองทิพย์ได้ค้างอยู่ในป่าเป็นเวลานานหลายร้อยปี พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๘๐ เซนติเมตร สูง ๑๒๐ เซนติเมตร เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ว่า ถ้าใครต้องการมีบุตรให้มาบนขอ ในเส้นทางผ่านไปวัดมีโรงงานผลิตไวน์รสดีชื่อเชียงรายไวน์เนอรี่ ผลิตไวน์ขาวลิ้นจี่ “ ลาซองเต้” ที่ใช้เลี้ยงรับรองในการประชุมเอเปค และไวน์อื่น ๆ อีกหลายชนิด โทร. ๐ ๕๓๙๕ ๐๒๕๗-๘ นอกจากนี้ในเส้นทางผ่านไปยังมีสถานที่น่าสนใจ เช่น เขื่อนแม่สรวย หัตถกรรมของเล่นเด็กทำจากไม้ไผ่ ที่หมู่บ้านป่าแดด โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
วัดพระเจ้าทองทิพย์ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2368 โดยท่าน ครูบาญาโณ พร้อมด้วย อุบาสก 3 คน คือ ท้าวสงคราม แสนขวาง และหมื่นขันธ์ได้มาริเริ่มสร้างประตูโขง พ.ศ. 2397 ท่านครูบายะ ครูบาถา และครูบาพรหม ตลอดจนถึงเจ้าหลวงผู้ครองนครเชียงราย และพระยาไชยวงค์ ผู้รักษาเมืองหนองขวาง (อำเภอแม่สรวยปัจจุบัน) ร่วมกันสร้างพรเวิหาร พ.ศ. 2420 ท่านครูบาชัยวุฒิวริปัญญาได้รื้อวิหารหลังเก่าบูรณะขึ้นใหม่ โดยได้รับทุนทรัพย์จากเจ้าดารารัศมี พระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าหลวงเชียงใหม่ และบูรณะเสร็จในปีนั้น และได้บูรณะวิหารอีกครั้ง พ.ศ. 2539 โดยพระอธิการประยุทธ ติกขวีโร พร้อมด้วยคณะศรัทธาได้ช่วยกันรื้อวิหารบูรณะใหม่เสร็จในปี พ.ศ. 2541
พระเจ้าทองทิพย์ เป็นนามของพระพุทธรูปเก่าแก่ เดิมอยู่กรุงศรีสัตนาคนหุต (หลวงพระบาง) ประเทศลาว มีอายุประมาณพันปีเศษแล้ว เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธื์ของนครเชียงทอง ประจำนครมาแต่โบราณกาล สามารถดลบันดาล ให้ผู้ที่ไปขอพรสมความปรารถนาได้ดังที่ขอ
วัดพระเจ้าทองทิพย์ตั้งอยู่ที่ ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย 57180
การเดินทาง
จากเวียงป่าเป้า ประมาณกิโลเมตร 121 ก่อนที่จะข้ามสะพานข้ามธารน้ำ ตรงเชิงสะพานจะมีทางแยกซ้ายเข้าไปยังตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย และจะมีป้ายบอกว่าไปโรงงานเชียงราย ไวน์เนอรี่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
วัดพระเจ้าทองทิพย์ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 053 – 708227
คำยืนยันลูกค้า
คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - กรุ๊ปคุณพีรยุทธิ์ (สมาชิกสหกรณ์องค์การทหารผ่านศึก) กิจกรรมเขาใหญ่ 180 ท่าน Part4
14179 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - Team Building นครนายก (มิยามะ) 25 ท่าน Part 2
6228 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - ทีม บิ้วดิ้ง แก่งกระจาน (โรงเรียนวัดลาดพร้าว) 60 ท่าน Part 1
6233 Views