รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

1 คำแนะนำการเดินทาง พม่า

สารบัญ

กรมศุลกากรมีหน้าที่ป้องกันการนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านสินค้าต้องห้าม ส่วนสินค้าต้องกำกัด กรมศุลกากรมีหน้าที่ต้องตรวจสอบว่า การนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านแดนได้รับอนุญาตและปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ครบถ้วนหรือไม่ สำหรับบัญชีรายชื่อสินค้าต้องห้ามต้องกำกัด สามารถตรวจสอบได้จาก กระทรวงพาณิชย์

เครื่องแต่งกาย
ศาสนสถานในพม่าทุกแห่ง ห้ามสวมกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้นเข้าไป สุภาพสตรีสวมกางเกงขายาวได้ บางแห่งจะมีบริการเช่าผ้าถุงหรือโสร่ง สวมทับกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น รวมทั้งยังต้องถอดหมวก ถอดแว่นดำก่อนที่จะเข้าไปด้วย

รองเท้า
ทุกคนต้องถอดรองเท้าทุกชนิดก่อนเข้าเขตศาสนสถาน ตั้งแต่รั้วด้านนอก ถุงเท้า ถุงน่องก็ห้ามใส่เข้าไป ต้องเดินเท้าเปล่า และเป็นธรรมเนียมที่เคร่งครัดมากแต่สมัยโบราณ หากฝ่าฝืนชาวพม่าจะเข้ามาตักเตือนด้วยความไม่พอใจครับ

การถ่ายรูป วีดีโอ
บางแห่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียม บางแห่งห้ามถ่าย เช่น พิพิธภัณฑ์ย่างกุ้ง ต้องฝากกล้องเอาไว้กับเจ้าหน้าที่ก่อนจะเข้าไป

ศาสนสถาน
บางแห่งอาจห้ามสุภาพสตรีเข้าไปในเขตหวงห้าม เช่น ห้ามขึ้นไปปิดทองที่องค์พระมหามุนี มัณฑะเลย์ หรือที่องค์พระธาตุอินทร์แขวน(ไจก์ทิโย) หรือที่เขตห้ามเข้าองค์พระมหาเจดีย์ชเวดากองและองค์พระเจดีย์ชเวซิกอง

เงินสด
โดยทั่วไปจะไม่รับเงินบาทไทย ให้แลกกับไกด์ท้องถิ่นหรือบริษัททัวร์ได้ และถ้าแลกกับธนาคารจะได้อัตราทางการ แพงกว่าที่แลกกับบริษัททัวร์ หรือร้านค้าใหญ่มากหลายเท่าตัว ข้อควรระวัง อย่าแลกเงินกับชาวบ้านที่เข้ามาขอแลก เพราะอาจจะได้รับเงินปลอม เงินที่ยกเลิกไปแล้ว และถูกตำรวจจับอีก

เครื่องประดับ
ของมีค่าต่างๆควรติดตัวไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพราะจะเกิดความยุ่งยาก ในการแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเวลาเข้าเมือง และต้องแสดงว่าอยู่ครบเวลาจะเดินทางกลับจากพม่า หากอยู่ไม่ครบต้องเสียภาษีทันที เพราะศุลกากรพม่าจะถือว่านำไปขายต่อให้กับคนพม่านอกจากนี้ยังเป็นภาระในการดูแลรักษา ล่อตาล่อใจมิจฉาชีพอีกด้วย

ยารักษาโรค
ควรนำไปให้พร้อมและเพียงพอตามระยะเวลาเดินทาง เพราะในพม่า การแพทย์ สุขอนามัย และยารักษาโรค ยังขาดแคลนและไม่ทันสมัยในกรุงย่างกุ้งมีสถานพยาบาลที่ทันสมัยไม่กี่แห่ง และเหมาะเพียงการรักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น ผู้เดินทางไปพม่าควรเตรียมยา เช่น ยาแก้ไข้หวัด ยาแก้ท้องเสีย และยาประจำตัวไปด้วย และควรเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด

วัตถุโบราณ (Antique)
บางประเภทเป็นสิ่งต้องห้ามจำหน่ายและนำออกนอกประเทศ ควรตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อ และถ้าซื้อต้องมีใบเสร็จและใบอนุญาตนำออกอย่างถูกต้องจากทางร้านค้า รวมทั้งสินค้าอัญมณีบางชนิดด้วย หากไม่แน่ใจ ไม่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญควรงดเว้นการซื้อ

ระบบการจราจร
ในพม่ากำหนดให้ขับรถชิดเลนขวาตรงข้ามกับไทย เพราะฉะนั้นเวลาข้ามถนนต้องดูให้ดีและรอบคอบ

หญิงบริการ
พม่าเป็นประเทศสังคมนิยมปกครองโดยรัฐบาลทหาร ทั้งยังมั่งคั่งไปด้วยศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของชาวบ้านผู้รักสงบและสันโดษ จึงเป็นการไม่เหมาะที่จะถามหาหญิงบริการ เพราะกฎหมายพม่ารุนแรงจับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

ข้อแนะนำพิเศษ:
ทางการพม่าได้กำหนดไว้ว่าห้ามชาวต่างชาติเดินทางไปยังบางเมืองหรือบางพื้นที่ หากนักท่องเที่ยวประสงค์ที่จะเดินทางไปเมืองที่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวของพม่า ควรเช็คข้อมูลให้ดีก่อน

ภายในกรุงย่างกุ้ง มีทั้งรถประจำทางและรถแท็กซี่ไว้คอยบริการ อย่างไรก็ตามคนขับรถแท็กซี่ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้ และราคาจะขึ้นอยู่กับการต่อรองกับคนขับรถเนื่องจากรถแท็กซี่ไม่มีมิเตอร์

ความเป็นอยู่ในพม่า มีความสะดวกเฉพาะอยู่ในกรุงย่างกุ้งและเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้นในกรุงย่างกุ้งมีโรงแรมชั้นดีได้มาตรฐานหลายแห่ง สำหรับผู้ที่จะไปอยู่เพื่อทำงานหรือประกอบธุรกิจมีที่พักให้เลือกทั้งบ้านเช่า หรือ Serviced apartment การอยู่อพาร์ทเมนท์มีข้อดีในแง่ที่ผู้เช่าไม่ต้องกังวลปัญหาไฟฟ้าและน้ำประปา แต่ค่าเช่าค่อนข้างสูง ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคในกรุงย่างกุ้งหาซื้อได้ทั่วไป โดยมีสินค้าที่นำเข้าจากไทยหลายอย่างและในกรุงย่างกุ้งมีร้านอาหารไทยหลายร้าน

การเตรียมของใช้ส่วนตัว
1. ประเภทเครื่องนุ่มห่ม ก้อ เช่นเสื้อ กางเกง ชุดชั้นใน เสื้อกันหนาว เสื้อกันฝน(เฉพาะฤดู) ผ้าเช็ดตัว หมวกถ้าหนาวมากก้อหมวกไอ้โม่ง ถุงเท้า รองเท้าเดินป่า รองเท้าแตะ โดยเฉพาะเสื้อกางเกงและชุดชั้นใน

นอกจากจะเตรียมไว้ครบจำนวนวันแล้ว ให้เตรียมเผื่อไว้สัก 1-2 ชุด (เผื่อเพื่อนที่มันมักง่ายไม่ค่อยจะพกพาไป คอยหายืมเอากับเพื่อนๆที่นิสัยดีดีอย่างพวกเรา ส่วนใหญ่ใครให้ไปก้อมักจะไม่ได้คืนด้วยนะ มักจะทำเป็นหวังดีเอากลับไปซักให้หรือไม่ก้อทำเป็นซึมๆใส่กลับไปเลย) เครื่องนุ่มห่มแต่ละชิ้นควรกระชับตัว ไม่รุ่มร่าม เพื่อความคล่องตัวในการเดินทางท่องเที่ยว

2. พวกเครื่องนอน เช่นเต็นท์ (กรณีไม่ได้พักบ้านหรือโรงแรม ก็จะได้บรรยากาศชีวิตกลางแจ้ง แต่อุทยานฯ ส่วนใหญ่จะมีไว้บริการให้เช่า) หมอน ผ้าห่ม หรือถุงนอน ผ้าสำหรับปูนอน หรือแผ่นยางปูนอน กรณีที่นำรถยนต์ไปอยู่แล้วควรเตรียมไปเผื่อให้เพียงพอ ของเหล่านี้ไม่หนักรถ หากเตรียมไปไม่พอจะเกิดปัญหาและเที่ยวไม่สนุก

3. ยาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำคัญนะ ยาใส่แผลสด แนะนำให้ใช้เบตาดีน จะไม่แสบเมื่อใส่แผลสด ยาปวดลดไข้ จำพวกพาราเซตตามอล ยาแก้แพ้ จำพวกคอลเฟนนิรามีน ยาแก้ท้องเสีย Lexinor ยาธาตุ ยาลดกรด ยาทาแก้-ลดพิษหรือผดผื่นคัน ยานวดแก้เมื่อย หรือกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้ออักเสบ ยาหม่อง แอมโมเนีย สำลี ผ้าพันแผล พลาสเตอร์ปิดแผล สำลีพันก้าน และยาประจำตัว

ชุดยาต่าง ๆ ควรมีกล่องใส่เพื่อสะดวกในการหยิบใช้ โดยจัดลงในกล่องอุปกรณ์เบ็ดตกปลาก็ได้ เพราะมีช่องแบ่งไว้ซึ่งจะอยู่เป็นระเบียบ และง่ายต่อการตรวจว่าสิ่งไหนขาดหาย ถ้าจะให้ดี ควรจะหาเพื่อนเป็นพยาบาลแล้วซะเลย

4. เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ขันน้ำ ถังน้ำ แก้วน้ำ กระติกน้ำ ไฟแช็ก เทียนไข ดินสอ เข็มเย็บผ้า เข็มกลัดซ่อนปลาย ถุงพลาสติก เชือก มีดอเนกประสงค์ ช้อน จาน ชาม หม้อ เตาแก๊ส(กรณีประกอบอาหารเอง) ที่เปิดกระป๋อง ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย(ควรตรวจสอบขนาดที่ใช้ให้ตรงกับไฟฉายที่นำไปด้วย) กระดาษชำระ ยากันยุงแบบทาและตะเกียง ฯลฯ

การเตรียมตัวท่องเที่ยวโดยรถยนต์โดยส่วนใหญ่สามารถนำข้าวของติดไปได้เยอะ แต่ต้องคำนึงถึงด้วยว่าน้ำหนักรวมของรถมีผลกับค่าใช้จ่ายน้ำมันในการเดินทางด้วยนะครับ น้ำหนักน้อยกินน้ำมันน้อย น้ำหนักมากินน้ำมันมาก

สิ่งของบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องใช้หรือต้องเผื่อ ก็ควรเก็บไว้ที่บ้าน และในการนำสัมภาระไปหลายๆรายการนั้น ขอแนะนำให้จัดทำบัญชีรายการสิ่งของเพื่อการสะดวก ในการตรวจสอบว่าของครบหรือไม่ทั้งขาไปและขากลับ

การเตรียมยานพาหนะสำหรับเดินทาง
รถยนต์ใช้สำหรับเดินทางนั้นจำเป็นต้องตรวจสอบให้เป็นพิเศษ นอกเหนือจากการตรวจสอบ ประจำวัน เพราะถ้ารถยนต์ของคุณเกิดเสีย หรือมีปัญหาระหว่างทางแล้ว การเดินทางครั้งนั้นจะหมดสนุกอย่างน่าเสียดาย การตรวจและเตรียมยานพาหนะ ทำตามนี้ละกัน ช่วยได้ไม่มากก็น้อย

1. ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่อง ให้อยู่ในระดับขีดสูงสุด เปลี่ยนน้ำมันเครื่องถ้าหมดอายุการใช้งาน หรือจำนวนระยะการเดินทาง ถ้าเกินจากระยะเปลี่ยนน้ำมันมาก ๆ ให้เปลี่ยนก่อนอย่าเสียดาย

2. ตรวจดูระดับน้ำมันเบรค น้ำมันคลัส น้ำมันสำหรับระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ น้ำหล่อเย็นทั้งหม้อน้ำและหม้อพักน้ำ และน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ ถ้ามีระดับลงลงจากระดับปกติ ให้เติมถึงขีดสูงสุด

3. ตรวจดูสภาพยางทั้ง 4 ล้อ และยางอะไหล่ ถ้ามีบาดแผลใหญ่ ๆ หรือหมดอายุให้เปลี่ยน ตรวจระดับแรงลมยาง ให้อยู่ในค่ากำหนดของขนาดยางที่ใช้ (สังเกตที่ขอบประตูด้านคนขับจำมีคำชี้แจงติดอยู่)

4. ตรวจดูไฟทุกดวงว่าทำงานหรือไม่ ที่ปัดน้ำฝน ยางที่ปัดน้ำฝนควรเปลี่ยนเมื่อปาดน้ำฝน ในกระจกไม่หมด

5. ตรวจดูมาตรวัดต่าง ๆ เข็มไมล์และไฟเตือนทุกดวงบนหน้าปัด ว่าแสดงอยู่ที่ การใช้งานปกติ

6. ดูอุปกรณ์แม่แรง และเครื่องมือประจำรถให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะแม่แรงต้องดูให้ดี ว่าสามารถรับน้ำหนักรถของคุณได้แน่ ถ้ายังไม่เคยใช้ทดลองซะเลย จะได้ไม่ฉุกละหุกจนทำอะไรไม่ถูก

7. ควรมีสายไฟสำหรับพ่วงแบตเตอรี่ สลิงค์ลากรถ และสปอตไลท์ติดรถยนต์

8. ตรวจสอบรอยรั่วซึมใต้ท้องรถยนต์ สังเกตุได้จาก เวลาที่เราจอดนาน มีอะไรหยดลงมาจากตัวรถมั๊ย อาจจะเป็นน้ำมันหรือน้ำจากแอร์ ถ้าไม่แน่ใจหรือว่าแน่ใจแล้ว ให้แก้ไขหรือถ้าไม่ไหว ยากไปก็ส่งซ่อมทันที อย่ามองข้ามความปลอดภัย

9. ตรวจดูน้ำมันเชื้อเพลิงให้เต็ม และควรจะเติมให้เต็มในกรณีที่เข้าเส้นทางที่ไม่รู้จัก หรือเส้นทางที่เปลี่ยว หากมีถังน้ำมันสำรองก็ควรเติมให้เต็มเช่นกัน ถ้าให้ดี ตรวจสอบด้วยว่า ช่วงหลักกิโลเมตรไหน มีปั๊ม ไม่มีปั๊ม โดยดูจากในแผนที่หรือสอบถามผู้ที่เคยใช้เส้นทาง

10. ศึกษาแผนที่การเดินทางของคุณ จะได้ไม่เสียเวลาไปผิดเส้นทางและเพื่อจะกำหนดเวลาสถานที่แวะพักทั้งรถและคน ในกรณีที่เดินทางไกลมากๆ ส่วนใหญ่จะแวะปั๊มน้ำมัน เพราะมีบริการที่เราต้องการอย่างครบถ้วน (ปัจจุบันมีทราบมาว่ามีร้านทำผม

ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว
พม่ามีศูนย์ที่ให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอยู่หลายที่ด้วยกัน ดังนี้

สำนักงานใหญ่ Tourist Information
77 - 91 Sule Pagoda Rd; Yangon
โทร. 95 – 1 – 252859

สาขาย่อยพุกาม
โทร. 95 – 0 – 6270217

สาขาย่อยมัณฑะเลย์
โทร. 95 – 2 – 22540

สาขาย่อยตองยี
โทร. 95 – 081 - 21611, 95 - 081 – 21302

ตลอดจนศูนย์ฯ ที่ให้บริการตามช่องทางเข้าประเทศต่าง ๆ ได้แก่ เมืองเกาะสอง (Kauthaung) เมืองท่าขี้เหล็ก (Tachilek) เมืองมูเซ (Muse) และภายในสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง

แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา เมียนมาร์ หน้า 39 – 40 . หน้า 67 – 69

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2400 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์