รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

1 คำแนะนำการเดินทาง พม่า

สารบัญ

3. การนำเงินตราเข้า-ออกประเทศ
ผู้โดยสารสามารถนำเงินตราไทย-เงินตราต่างประเทศหรือปัจจัยการชำระเงินตราต่างประเทศเข้ามา หรือออกไปนอกราชอาณาจักรไทยได้ตามมูลค่าที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้

1 เงินไทย ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวเดินทางไปต่างประเทศได้ คนละไม่เกิน 50,000 บาท ยกเว้นนำออกไปยังประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย เช่น พม่า สปป ลาว เขมร มาเลเซียและเวียดนาม นำออกได้คนละไม่เกิน 500,000 บาท ในกรณี การนำเข้า ผู้โดยสารสามารถนำเงินตราไทยนำเข้าได้ไม่จำกัดมูลค่า

2 เงินตราต่างประเทศหรือปัจจัยการชำระเงินตราต่างประเทศ ผู้โดยสารสามารถนำติดตัวไปต่างประเทศหรือนำเข้ามาได้ไม่จำกัดมูลค่าและ ผู้เดินทางผ่านหรือผู้ที่เข้ามาในราชอาณาจักรชั่วระยะเวลาที่กำหนด ในตั๋วเดินทางผ่านหรือตั๋วเดินทางไปกลับก็สามารถนำเงินตราต่างประเทศ ติดตัวเข้ามาในประเทศไทยไม่จำกัดมูลค่าเช่นกัน

3 หากผู้โดยสารต้องการนำเงินตราไทยออกนอกราชอาณาจักรมูลค่าเกินกว่า ที่กฎหมายกำหนด ต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย และ นำหลักฐานการได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธต.5) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศในขณะเดินทางออกนอกประเทศ

4. การสำแดงกระเป๋าและสัมภาระในการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
1. ผู้โดยสารต้องกรอกรายการในแบบสำแดงสิ่งของติดตัวผู้โดยสาร (แบบ 211) และยื่นแบบฟอร์มดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรขณะนำกระเป๋า สัมภาระผ่านเจ้าหน้าที่ศุลกากร

2. ผู้ไม่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัดให้ยื่นแบบสำแดงสิ่งของติดตัวผู้โดยสารแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากร ในช่องเขียวซึ่งมีป้ายเขียนไว้ว่า"ไม่มีของสำแดง"

3. ผู้ที่มีของต้องเสียภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัด หรือไม่แน่ใจว่าของที่นำเข้ามานั้น ต้องเสียภาษีอากรหรือไม่ ให้ยื่นแบบสำแดงสิ่งของติดตัวผู้โดยสารแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรในช่องแดง ซึ่งมีป้ายเขียนไว้ว่า "มีของต้องสำแดง"

5. การชำระอากรปากระวาง
ของทุกชนิดที่นำเข้ามาในประเทศไทยต้องชำระค่าภาษีอากรและปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับการชำระอากรปากระวางสำหรับ ของติดตัวผู้โดยสารมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
-เป็นของที่นำเข้ามาใช้เอง และมีจำนวนเห็นได้ชัดว่ามิใช่เพื่อการค้า
-ของมูลค่าไม่เกิน 80,000 บาท
-ผู้โดยสารสามารถชำระค่าภาษีอากรได้เป็นเงินสด ณ วันนำเข้า

กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งของทั้งหมด ไปปฏิบัติพิธีการศุลกากรที่งานของติดตัวผู้โดยสารฝ่ายตรวจสินค้า ขาเข้าที่ 1 ส่วนการนำเข้า โดยผู้โดยสารจะได้รับใบส่งของ (แบบ 466) ไว้เป็นหลักฐาน

6. การยกเว้นภาษีอากรขาเข้าของติดตัวผู้โดยสาร ของดังต่อไปนี้ที่ผู้โดยสารนำติดตัวเข้ามาจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
-บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือซิการ์และยาเส้น น้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม
-สุรา 1 ลิตร
-ของใช้ส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพและ จำนวนพอสมควรแก่ฐานะและมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท และไม่มีลักษณะเป็นการค้า เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง เครื่องประดับ รองเท้า นาฬิกา แว่นตา น้ำหอม เป็นต้น ทั้งนี้ผู้โดยสารต้องมี เอกสารใบเสร็จรับเงินมาแสดงเป็นหลักฐานประกอบด้วย หากไม่มีเอกสารใบเสร็จรับเงิน เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้ หลักฐานอื่นประกอบ
-ของใช้ในบ้านเรือนเก่าใช้แล้วที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเนื่องจาก การย้ายภูมิลำเนาและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ

7. การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
ผู้โดยสารที่นำสัตว์เลี้ยงติดตัวเข้ามาพร้อมกับตนโดยไม่มีลักษณะทางการค้า หรือนำสุนัขและแมวเข้ามาในราชอาณาจักร ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพและภูมิภาค ทั้งแบบที่ไม่นำติดตัวเข้ามา (UNACCOMPANIED BAGGAGE) แต่นำเข้ามาในระวางบรรทุก (CARGO FREIGHT) และแบบนำติดตัวเข้ามา (ACCOMPANIED BAGGAGE) มีข้อแนะนำในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ดังนี้

7.1 เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
(1) ใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ (กศก.102)

(2) หนังสือเดินทาง (PASSPORT)

(3) ต้นฉบับใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (AIR WAYBILL)ในกรณีที่ยังไม่ได้รับต้นฉบับ AWB ให้ใช้เอกสารอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
-สำเนา AIR WAYBILL ฉบับผู้โดยสาร หรือ
-สำเนา AIR WAYBILL ฉบับที่บริษัทตัวแทนสายการบินรับรอง หรือ
-สำเนา AIR WAYBILL ฉบับ SHIPPER หรือ
-HEALTH CERTIFICATE หรือ
-PEDIGREE หรือ
-ใบเสร็จค่าระวางบรรทุก หรือ
-หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงความเป็นเจ้าของ

(4) ใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร (ร.6) และ/หรือใบอนุญาตนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร(ร.7) ในกรณีที่ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศด่านศุลกากรทางอากาศกองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์ ได้ออกเฉพาะใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าและผ่านราชอาณาจักร (ร.6) เท่านั้น กรมศุลกากรจะตรวจปล่อยและส่งมอบสัตว์มีชีวิตให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำด่าน กักกันสัตว์ระหว่างประเทศ

(5) คำร้องขอยกเว้นอากร (กรณีนำเข้าชั่วคราว)

(6) สัญญาประกันทัณฑ์บน (กรณีนำเข้าชั่วคราว)

7.2 ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรการนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
(1) ผู้โดยสารหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องยื่นต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้าพิเศษฯ (กศก.102) และเอกสารประกอบตามข้อ 11.1 พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุดต่อฝ่ายตรวจสินค้าขาเข้าของสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานที่นำเข้า

(2) กรณีการนำเข้าชั่วคราว กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเอกสารเสนอขอยกเว้นอากร ตรวจสอบการคำนวณราคาของ และค่าภาษีอากรเพื่อวางประกันและทำสัญญาประกันทัณฑ์บนไว้หากถูกต้อง จะออกเลขที่ยกเว้นอากรและสั่งการตรวจ หลังจากนั้นจะมอบเอกสารทั้งหมดคืนให้ผู้นำเข้า

(3) กรณีการนำเข้าถาวร กรมศุลกากรทำการตรวจสอบเอกสาร การคำนวณราคาของ หากถูกต้องจะออกเลขที่ใบขนสินค้า และมอบเอกสารทั้งหมดคืนให้ผู้นำเข้าเพื่อนำไปชำระภาษีอากรที่ฝ่ายบัญชีและอากร

(4) ผู้นำของเข้านำใบขนสินค้าฯ พร้อมเอกสารและหลักฐานการชำระอากร หลักฐานการชำระประกันค่าภาษี (แล้วแต่กรณี) ไปแสดงที่ส่วนตรวจสินค้าเพื่อขอรับของออกจากอารักขาศุลกากร

(5) กรณีการนำเข้าชั่วคราว เมื่อกรมศุลกากรทำการการตรวจปล่อยเรียบร้อยแล้วจะมอบสำเนาใบขนสินค้าขาเข้า พิเศษและสำเนาสัญญาประกันทัณฑ์บนแก่ผู้โดยสารหรือตัวแทน เพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานประกอบการส่งออก

7.3 ข้อควรทราบในการนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิต
(1) การนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิตชั่วคราว ผู้โดยสารหรือตัวแทนต้องทำสัญญาประกันและทัณฑ์บนกับกรมศุลกากรว่าจะส่งออกไปภายใน 6 เดือนนับแต่วันนำของเข้าตามแบบที่กำหนดโดยให้ระบุด่านศุลกากร ที่จะส่งกลับออกไปและใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือบุคคลที่เชื่อถือได้

(2) การไม่นำสัตว์ที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราวกลับออกไป ผู้นำของเข้าต้องชดใช้เงินตามสัญญาประกันที่ให้ไว้ และอาจถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากร และ/หรือ หลีกเลี่ยงข้อกำกัดของกฎหมายอันมีโทษปรับ หรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับตามกฎหมายศุลกากรอีกด้วย

8. การลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผู้โดยสารที่นำของต้องชำระค่าภาษีอากร ของต้องห้าม ของต้องกำกัดเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่สำแดงหรือสำแดงไม่ถูกต้อง จะได้รับโทษตามกฎหมายศุลกากร ดังนี้

1 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาขณะอยู่ในช่องเขียว (Green Channel) จะถูกปรับ 1 เท่าของราคาของบวกค่าภาษีอากรกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย (ถ้ามี) และผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน

2 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบและจับกุมผู้ต้องหาภายหลังผ่านพ้นช่องเขียว (Green Channel) และขณะที่ นำของผ่านออกไปนั้นมิได้เข้ามาในลักษณะซุกซ่อนเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตรวจพบผู้ต้องหาจะถูกปรับ 2 เท่าของของราคาของบวกค่าภาษีอากรกับอีก 1เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีสรรพสามิตภาษีเพื่อมหาดไทย(ถ้ามี)แล ะผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดินในกรณีที่นำเข้ามาในลักษณะซุกซ่อนให้ปรับ 4 เท่าของของราคาของบวกค่าภาษีอากรและผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน

3 ในกรณีของที่ลักลอบนำเข้ามาเป็นของที่ไม่ต้องชำระอากรศุลกากร ไม่ว่าจะตรวจพบในช่องเขียว (Green Channel) หรือผ่านพ้นช่องเขียวไปแล้วก็ตาม ถือเป็นของซึ่งมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ผู้ต้องหาต้องยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน

9. ของต้องห้าม
หมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะ มีความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าต้องห้ามในการนำเข้า-ส่งออก มีดังนี้

1 วัตถุลามก การนำเข้าและส่งออกวัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุลามกอื่น ๆ

2 สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ

3 ยาเสพติดให้โทษ

4 เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลง เหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริต ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการอันเป็นของปลอม

5 สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

6 สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า

10. ของต้องกำกัด
หมายถึงสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ กระทรวงพาณิชย์ จัดระเบียบเพื่อควบคุมการนำเข้าหรือส่งออก มีดังนี้

1 เงินตราไทยและเงินตราต่างประเทศ
2 พันธุ์ยางและยางธรรมชาติ
3 ยาสูบ รวมถึงต้นยาสูบและใบยาเส้น
4 สัตว์และซากสัตว์
5 เครื่องวิทยุคมนาคม และส่วนแห่งเครื่องวิทยุคมนาคม
6 อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
7 วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
8 ยา เชื้อโรค และพิษจากสัตว์
9 สุรา
10 สินค้าประเภทอาหารที่มีความหวานเจือปน
11 เครื่องชั่ง ตวง วัด

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2537 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์