รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ภาพรวมตามวิถีชาวบ้าน อุบลราชธานี

สารบัญ

tour-folkways-overview-ubon-ratchathani

ภาพรวมตามวิถีชาวบ้าน
ฮีตคองกับความเชื่อในงานบุญก่อนประเพณีแห่เทียนพรรษาของอีสาน
ชาวจังหวัดอุบลราชธานียังคงยึดถือฮีตสบสองคองสิบสี่ อันมีพื้นฐานทางความคิดมาจากศาสนาพุทธ เป็นหลักแนวทางและข้อปฏิบัติจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ทั้งในฐานะชาวบ้าน กระทั่งผู้ปกครองทั้งนี้คำว่าฮีตสิบสอง นั้นมาจากคำว่า“ จารีต ”ซึ่ง หมายถึง ประเพณีที่จะต้องปฏิบัติภายใน ๑๒ เดือนของทุกปี และถือเป็นจรรยาของสังคม ซึ่งหากฝ่าฝืนจะถือเป็นความผิดในการตั้งข้อรังเกียจและไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วยที่เรียกว่า“ ผิดฮีต” นั่นเอง นอกจากนี้ ข้อดีของการปฏิบัติตามฮีตสิบสอง ยังนับเป็นการสร้างความสนิทสนมกันทั้งในชุมชนและต่างชุมชน ผ่านพิธีกรรมของทุกหกเดือนในรอบปี ส่วนคองสิบสี่นั้นมาจากคำว่ “คลองธรรม” หมายถึง แนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง หรือระหว่างคนธรรมดาพึงปฏิบัติต่อกันโดยมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๔ ข้อ ทั้งนี้สรุปความสำคัญได้ดังต่อไปนี้

๑) ฮีตสิบสอง
๑.๑) บุญเดือนอ้าย (เดีอนเจียง) หรือบุญเข้ากรรม อยู่ในช่วงเดือนธันวาคม โดยมากนิยมทำวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นหลัก ทั้งนี้เชื่อกันว่าเป็นเดือนที่พระสงฆ์อยู่ปริวาสกรรม (เข้ากรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิดสารภาพต่อหน้าพระสงฆ์ อันเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่งปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยต่อไป ทางด้านฆราวาสจะมีการทำบุญเลี้ยงผีมด ผีหมอ ผีฟ้า ผีแถน และพระภิกษุสงฆ์ เพราะถือกันว่าจะได้บุญมาก นอกจากนึ้ ในเดือนนี้เป็นช่วงเวลาที่ข้าวในนาสุกจึงต้องลงแขกเกี่ยวข้าว การทำปลาร้า ปลาแดก เพื่อเป็นเสบียงตลอดปีอีกด้วย

๑.๒)บุญเดือนยี่ หรือ บุญคูณลาน อยู่ ในช่วงเดือนมกราคม เป็นการทำบุญหลังจากชาวบ้านได้ทำการเก็บเกี่ยวข้าว และนำขึ้นยุ้งฉาง เป็นที่เรียบร้อย ดังนั้น จึงต้องทำบุญเพื่อสู่ขวัญข้าว การทำบุญคูณลานนึ้ มีความประสงค์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวเสร็จ และจะนำไปใช้สอยต่อไป ในงานบุญนี้จะมีการตักข้าวในยุ้งออกมาเป็นปฐมฤกษ์เพื่อนำมาเลี้ยงพระ นอกจากนี้ ชาวบ้านยังถือเป็นช่วงของการเตรียมสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้านต่อไปอีกด้วย ทั้งนี้หากชาวบ้านที่ร่วมทำบุญเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยปลูกปะรำพิธีต่างหากจะเรียกว่า“บุญคุ้ม” แต่ถ้าชาวบ้านร่วมกันทำเป็นจำนวนมากโดยนำข้าวไปกองรวมกันที่ศาลากลางบ้าน หรือศาลาโรงธรรมจะเรียกว่า “ บุญกุ้มข้าวใหญ่”ซึ่งเชื่อกันว่าจะได้บุญมากที่สุดอีกด้วย

๑.๓)บุญเดือนสาม หรือบุญข้าวจี่ และบุญมาฆบูชา อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นงานบุญที่ชาวบ้านจะตักบาตรข้าวจี่ในเวลาเช้า นอกจากนี้ ยังมีการลงขันผลผลิตไว้ที่วัดซึ่งเรียกว่า พิธีบุญประทายข้าวเปลือก นั่นเอง นอกจากนี้ ประเพณีในงานบุญเดือนสามยัง ได้แก่ งานบุญมาฆบูชา ซึ่งคล้ายคลึงกับภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศอีกด้วย

tour-folkways-overview-ubon-ratchathani

๑.๔) บุญเดือนสี่ หรือบุญเผวส อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม เป็นงานบุญเทศน์มหาชาติ เนื่องจากความเชื่อที่ว่า ผู้ใดฟ้งเทศน์มหาชาติ หรือเรื่องพระเวสสันดรครบ ๑๓ กัณฑ์ ในวันเดียว จะไปเกิดในยุคพระศรีอาริยเมตไตรอันเป็นยุคที่มีความอุดมสมบูรณ์ นั่นเอง ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำของมาถวายพระซึ่งเรียกว่า “กัณฑ์หลอน ” หรือ ถ้าจะเจาะจงถวายพระที่ตนนิมนต์จะเรียกว่า “กัณฑ์จอบ ” (จอบภาษาอีสานและว่าซุ่มดู) เพราะต้องซุ่มดูพระที่ตนจะถวายให้แน่ใจก่อน นอกจากนี้ ในงานบุญยังมีการอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษ และมีการจัดขนมจีนเลี้ยงกันอีกด้วย

๑.๕) บุญเดือนห้า หรือบุญสงกรานต์ หรือบุญสรงน้ำอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ถือเป็นงานเริ่มต้นปีใหม่ โดยการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ ตลอดจนผู้ใหญ่ เช่น เจ้าเมือง พ่อแม่ และ ปู่ ย่า ตา ยาย นอกจากนี้ ยังมีการสรงน้ำเครื่องค้ำของคูณ เช่น เขา นอ งา เขี้ยว หมูตัน ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคล รวมถึง การก่อพระทราย (กองปะทาย) อุทิศส่วนกุศลแก่ผู้เสียชีวิตอีกด้วย อนึ่งการทำบุญสรงน้ำกำหนดในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “งานบุญเดือน ๕”

๑.๖) บุญเดือนหก หรือบุญบั้งไฟ อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูฝน ดังนั้นชาวบ้านจึงมีการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพระยาแถน และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล งานบุญบั้งไฟนับว่าพระสงฆ์มีส่วนร่วมเป็นอย่างมาก เนื่องจากพระสงฆ์สามเณรได้ร่วมทำบั้งไฟแข่งกับชาวบ้านอีกด้วย นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีการจัดอาหารเหล้ายามาเลี้ยงกันตลอดจนมีการเซิ้งและการเส็งกลอง (แข่งตีกลอง) ในงานอีกด้วย นอกจากนี้ ในเดือนหกยังมีงานบวชนาคเพื่อสืบต่อพุทธศาสนา และการทำบุญวันวิสาขบูชา โดยมีประเพณีเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ เนื่องจากพึ่งนำเข้ามาจากราชสำนักกรุงเทพฯในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๒

๑.๗) บุญเดือนเจ็ด หรือ บุญซำฮะ หรือ บุญเบิกบ้าน อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน เป็นงานบุญบูชาบรรพบุรษมีการ เซ่นบวงสรวง หลักเมือง หลักบ้าน ปู่ตา ผีเมือง ผีนาตาแฮก อีกทั้งชาวบ้านจะพร้อมใจกันปัดกวาดทำความสะอาดคุ้มบ้านและ ข้าวของเครื่องใช้เพื่อ ป้องกันเสนียดจัญไร งานบุญนี้ ชาวบ้านจะทำสังฆทานพร้อมกับสวดคาถาไล่ผี และปัดรังควาน ต่อจากนั้น มีการเตรียมตกกล้าแฮกนาและทำไร่

๑.๘) บุญเดือนแปด หรือบุญเข้าพรรษา อยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ งานบุญนี้นับว่าเป็นประเพณีทางศาสนาพุทธ โดยตรง จึงคล้ายกับภาคอื่นๆในประเทศไทย อาทิ การทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหาร การหล่อเทียนใหญ่แล้วนำไปถวายพระสงฆ์เก็บไว้ตลอดพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝนและการฑงธรรมเทศนา

๑.๙) บุญเดือนเก้า หรือบุญข้าวประดับดิน อยู่ในเดือนสิงหาคม จัดขึ้นในวันแรม ๙ ค่ำเดือน ๙ เป็นพิธีรำลึกถึงคุณแผ่นดินที่มนุษย์ได้อาศัยทำมาหาเลี้ยงชีพ และเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ งานบุญข้าวประดับดินมักทำในวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๙ โดยหลังจากการทำบุญที่วัดแล้วจะนำข้าวปลาอาหารหมากพลู บุหรี่นำไปฝ้งดินหรือวางไว้ให้ต้นไม้พร้อมทั้งเชิญวิญญาณผู้ล่วงลับมารับอาหารไป เนื่องจากเชื่อว่าในเดือนเก้าคนตายจะถูกปลดปล่อยให้มาท่องเที่ยวนั่นเอง ต่อมาพิธีกรรมนี้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นไม้ หรือการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแทน

๑.๑๐) บุญเดือนสิบ หรือบุญข้าวสาก หรือสลากภัต อยู่ในช่วงเดือนกันยายน จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ เป็นงานบุญที่ถือว่าเป็นการส่งคนตายที่ออกมาเที่ยวในเดือนเก้ากลับไปสู่แดนของตน ในเดือนสิบ งานบุญข้าวสากจะทำกันในวันเพ็ญเดือนสิบ โดยชาวบ้านจะเขียนชื่อของตนลงในพา (สำรับ) ใส่ข้าวฉลาก (ข้าวห่อใหญ่) หรือของที่จะนำถวายพระสงฆ์และเขียนชื่อของตนอีกใบใส่บาตร เมื่อพระสงฆ์จับชื่อใครในบาตรได้เจ้าของชื่อจะนำของของตนไปถวาย ในงานบุญนี้จะมีการอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วและจะมีการนำห่อข้าวน้อยมาแขวนไว้ตามเสาต้นไม้ หรือเจดีย์เรียกว่าการ “แจกข้าวสาก” พร้อมกับตีโป่งเพื่อส่งลัญญาณให้เทวดาผี และ เปรต ซึ่งเป็นบรรพบุรุษมารับเอาไปด้วย

๑.๑๑) บุญเดือนสิบเอ็ด หรือบุญออกพรรษา อยู่ในช่วงเดือนตุลาคมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นงานบุญที่พระสงฆ์จะมีการแสดงอาบัติทำการปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในพิธีนี้เวลาเช้าชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรเทโวที่วัด ตกเย็นชาวบ้านจะนำดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระและถวายผ้าบังสุกุล นอกจากนี้ มีการกวนข้าวทิพย์กรอกน้ำมันปั่นฝ้ายและการ “ตามประทีปโคมไฟ” โดยชาวบ้านและพระสงฆ์จะทำต้นกล้วยเป็นร้านสูงมีหัวและท้ายคล้ายเรือสำเภา ในเวลากลางคืนของวันงานชาวบ้านจะมาจุดธูปเทียนถวายพระสงฆ์ตามร้านที่ทำไว้ ในงานบุญออกพรรษายังมีการไหลเรือไฟในแม่น้ำการส่วงเฮือ (แข่งเรือ) ตลอดจนการเส็งกลอง (แข่งตีกลอง) อีกด้วย

๑.๑๒) บุญเดือนสิบสอง หรือบุญกฐิน หรือบุญข้าวเม่า อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ข้าวตั้งท้องและเปลี่ยนเป็นเมล็ดข้าวแล้ว จึงมีการเก็บข้าวทำเป็นข้าวเม่าถวายพระและเก็บเอาไว้กินเอง พิธีกรรมในเดือนนี้ชาวบ้านจะมีการทำบุญทอดกฐินเหมือนกับทุกภาคทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการส่วงเฮือ หรือแข่งขันเรือในแม่น้ำ การไหลเรือไฟ การลอยกระทง และการทำบุญดอกฝ้าย เพื่อใช้ทอเป็นผ้าห่มกันหนาวถวายพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีการจุดพลุ ตะไล และในสมัยโบราณจะมีการโกนจุกบุตรสาวอีกด้วย

 

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1106 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์