รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

การอนุรักษ์สืบสานและการพัฒนาภายใต้วัฒนธรรมร่วมสมัย อุบลราชธานี

การอนุรักษ์สืบสานและการพัฒนาภายใต้บริบทของสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย

tour-heritage-conservation-and-development-contemporary-cultural-ubon-ratchathani tour-heritage-conservation-and-development-contemporary-cultural-ubon-ratchathani

จังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองอุบลคือหัว เมืองประเทศราช ที่มีเจ้าปกครองเช่นเดียวกับ เมืองหลวงพระบาง และเมืองเวียงจันทน์ ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็มีการตั้งมณฑลขึ้น เมืองอุบลและเมืองจำปาศักดิ์ก็ถูกรวมเข้าด้วยกัน เป็น “มณฑลลาวกาว” โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร เสด็จมาดำรงตำแหน่งข้าหลวง ประทับอยู่ ณ เมืองอุบล แต่ดำรงตำแหน่งอยู่ได้สองปี ก็ทรงย้ายกลับพระนคร โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ดำรงตำแหน่งแทน ช่วงนี้เองที่มีการรับประเพณีทางวัฒนธรรมของทางกรุงเทพฯ เข้าไปผสมผสาน จมนทำให้สังคมของชาวเมืองอุบลมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมขื้นหลายอย่าง เมื่อเทียบกับสังคมของเมืองอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวม โดยเฉพาะในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา มีปัจจัยแวดล้อมสำคัญ ซึ่งเป็นตัวแปรหนี่งที่เป็นปฐมเหตุของการเปลี่ยนแปลง อันได้แก่ การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของกระแส โลกาภิวัตน์ และสังคมแบบทุนนิยมถึงบริโภคนิยม ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ล้วนเข้ามาท้าทายระบบโครงสร้างของสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่น รูปแบบจารีตประเพณีนิยม ทั้งในกลุ่มวัฒนธรรมหลวง และวัฒนธรรมราษฏร์ (ชาวบ้าน)

เมื่อกล่าวถึงการอนุรักษ์สืบสาน และการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในที่นี้จะพิเคราะห์มุ่งเน้นไปในเรื่องของรูปแบบทางศิลปกรรมงานเทียนพรรษาของเมืองอุบล ซึ่งจะกล่าวถึงการอนุรักษ์สืบสาน และการพัฒนาโดยพิเคราะห์พิจารณาร่วมกันทั้งสองมิติ ทั้งในด้านการอนุรักษ์แบบจารีตนิยม และการพัฒนาในเชิงร่วมสมัย งานออกแบบสร้างสรรค์ทางศิลปะทางงานช่าง ไม่ว่าจะเป็นสาขาใดล้วนแล้วแต่มีรากฐานที่สำคัญคือ วัฒนธรรมประเพณี ทั้งจากวัฒนธรรมภายใน ซึ่งเป็นรากฐานของตนเองและอิทธิพลวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ผ่านระบบการเมืองการปกครองตามบริบทของห้วงเวลานั้น ๆ เป็นสำคัญก่อให้เกิดพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงสร้างสรรค์และทำลาย หรืออาจจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งก็คือ สังคมเป็นอย่างไร ก็จะสะท้อนตัวตนออกมาในงานศิลปะเช่นนั้น กล่าวคือ มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาจนถึงขีดสุด และตกต่ำในที่สุดโดย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวแปรของสังคมในยุคนั้น ๆ ว่าจะอยู่ภายใต้นิยามความเจริญรุ่งเรืองในด้านใด สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสัจธรรมของทุกสรรพล่ง อันเป็นธรรมดาสามัญ ไม่เว้นแม้แต่ศิลปะงานช่างในงานเทียนพรรษาของเมืองอุบลก็เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าตั้งแต่พัฒนาการขั้นแรกจากเทียนประเภทมัดรวมติดลาย ที่สะท้อนให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ มุ่งเน้นการใช้งานได้จริงตามบริบทของสังคม ที่เทคนิควิทยาการด้านเทคโนโลยี ยังไม่เจริญเทียนมัดรวมติดลายถือได้ว่ามีความจำเป็นอย่างมาก ในการบูชาพระรัตนตรัยในพิธีสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ต่อมามีการพัฒนาเทคนิคการทำเทียนเป็นลักษณะแบบเทียนติดพิมพ์และเทียนแกะสลักด้วย แนวคิดสร้างสรรค์ของช่างด้วยรูปแบบที่วิจิตรบรรจง ในรายละเอียดของการประดับตกแต่ง ดังที่ได้กล่าวถึงแล้วในเรื่องวิวัฒนาการของเทียนในบทต้น ๆ

tour-heritage-conservation-and-development-contemporary-cultural-ubon-ratchathani tour-heritage-conservation-and-development-contemporary-cultural-ubon-ratchathani

มูลเหตุของปัญหา
ที่มาของรูปแบบลวดลาย และเนื้อหาการแกะสลักของช่างเทียนเมืองอุบล ถูกหล่อหลอมขี้นจากอิทธิพลของวัฒนธรรมหลวง แต่สิ่งที่ควรจะเป็นภายใต้บริบทของสังคมวัฒนธรรมราษฏร์ (ชาวบ้าน) ย่อมมีมิตใหม่ในการสร้างสรรค์ร่วมกัน จึงเป็นผลให้อาจมีมูลเหตุแห่งแรงบันดาลใจร่วมกัน โดยลักษณะร่วม ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยังไม่มีการศึกษาค้นคว้า ซึ่งต้องพิจารณา จากภูมิปัญญาและการปฏิบัติการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาในภาพกว้าง อันจะนำไปสู่การค้นพบมิติใหม่ในการสร้างสรรค์ศิลปะเทียนพรรษาของเมืองอุบล ซึ่งในภาพรวมอาจวิเคราะห์ศิลปะงานช่างเทียนตามวิถีแห่งบริบทปัจจุบัน โดยมีรูปแบบที่มีระดับการสร้างสรรค์เอกลักษณ์พื้นถิ่นเมืองอุบลที่ต่างกัน โดยมีเหตุปัจจัยาือื่นๆ ประกอบ เช่น

๑ กรอบประเพณี หรือกติกา ทำให้ช่างเทียนนิยมสร้างสรรค์รูปแบบที่มีเนื้อหาที่ซ้ำ ๆ กัน โดยเฉพาะเนื้อหาด้านพุทธประวัติที่ใช้ในการแกะสลักต้้นเทียนที่อยู่บนรถขบวนแห่

๒ ต้นเทียนรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะประเภทติตพิมพ์และแกะสลัก จะมุ่งเน้นในเรื่องขนาด และความอลังการใหญ่โต อีกทั้งทักษะฝีมือจนละเลย เรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นหัวใจสำคัญของงานช่างพื้นถิ่นอีสาน

๓ หลายต้นเทียน และองค์ประกอบส่วนประดับตกแต่งอื่น ๆ ขาดเอกลัษณพื้นถิ่น เช่น ลักษณะลวดลายแบบพื้นถิ่นอีสาน อีกทั้ง องค์ประกอบของสัตว์หิมพานต์ไม่มีความเป็นพื้นถิ่น

๔ นอกจากเรื่องรูปแบบความงามทางศิลปะแล้ว เรื่องของประโยชน์ใช้สอยก็ถูกละเลยมองข้าม อาทิเช่น เทียนพรรษารูปแบบต่าง ๆ ที่เข้าประกวดของเมืองอุบลไม่มีไส้เทียน และที่สำคัญคือไม่สามารถใข้งานได้จริง (จุดไฟไม่ได้) เป็นเทียนเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมไม่ต่างอะไรกับประติมากรรมเทียนนานาชาติ เพียงแต่มีรูปแบบขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เป็นศิลปะแบบจารีตนิยม และมีจิตวิญญาณทางวัฒนธรรม และคติความเชื่อด้านพุทธประวัติเข้ามาเกี่ยวข้อง

ดังนั้น จึงกล่าวไดัว่า รูปแบบศิลปะต้นเทียนเมืองอุบลนั้นขาดเอกลักษณ์พื้นถิ่น โดยเฉพาะจิตวิญญาณด้านรูปแบบทางศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย รูปทวยเทพ รูปสัตว์หิมพานต์ องค์ประกอบส่วนประดับตกแต่งปราศจากลักษณ์เฉพาะที่มีความเป็นพื้นถิ่นอีสาน (เมืองอุบล) ไม่สอดคล้องกับบริบทิท้องถิ่น ขาดการผสมผสานทางวัฒนธรรม ซึ่งปัจจุบันถูกตีกรอบแนวความคิดทั้งจากกติกาการประกวด จารีตในเชิึงช่างที่ถูกครอบงำจากวัฒนธรรมหลวง ทั้งในส่วนของการปกครอง (ทั้งฆราวาสและพระสงฆ์) อีกทั้งระบบการศึกษาโดยเฉพาะวิชางานช่างทางศิลปะลวดลายต่าง ๆ ที่ถูกตกแต่งอยู่ในองค์ประกอบ

tour-heritage-conservation-and-development-contemporary-cultural-ubon-ratchathani tour-heritage-conservation-and-development-contemporary-cultural-ubon-ratchathani

เหตุปัจจัยที่ทำให้ไม่เกิดการสร้างสรรค์รูปแบบเทียนพรรษาแบบสมัยใหม่
ประเด็นเรื่องของการพัฒนารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่นอีสาน (เมืองอุบล) ยังไมได้้รับความสนใจในหมู่ช่าง หรือผู้คนในท้องถิ่นทั่วไปมากนัก โดยมากมักถกเถีียงกันเพียงในเรื่องของ “ลวดลายแบบอีสาน” ว่ามีรูปแบบอย่างไร แตกต่างจากลวดลายที่ใช้้อยู่อย่างไร และมีความพยายามผลักดันให้วิธีการทำเทียนพรรษาของ เมืองอุบล เข้าไปอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอน ในระดับอุดมศึกษา ในลักษณะของการ “อนุรัภษ์” ซึ่งในทางวิชาการวิธีการอาจไม่มีอะไรใหม่ นอกจากการศึกษาค้นคว้าภาคเอกสารในทางวิชาการด้าน “ประวัติศาสตร์” และรูปแบบวิธีการทำ (ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลเดิมๆ) ซึ่งไม่สามารถชี้นำสังคมท้องถิ่นในเชิงพัฒนา ดังมูลเหตุปัญหาที่ทำให้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด อันได้แก่

๑ ช่างผู้รังสรรค์ส่วนมากตีกรอบแนวความคิดอยู่เพียงแค่ เรื่องราวของพระพุทธศาสนาแบบอุดมคติตามเเบบอยางวัฒนธรรมหลวง ซึ่งมีความแตกต่างกับปรัชญาของช่างอีสานในอดีตที่มีความหลากหลาย เช่น ในเนึ้อหาชาดกต่าง ๆ ของท้องถิ่นอีสานหรือจะเป็นนิทานม่วนซื่น โดยมีการผสมผสานเรื่องราวในวิถีชีวตต่าง ๆ ของผู้คนในท้องถิ่นนั้นเข้าไปผสมผสานอีกทั้งการสอดแทรกคติธรรม ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว

๒ ช่างผู้ออกแบบมีความคิิดที่อิงติดอยู่กับครู จนไม่สามารถสร้างรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง จนกลายเป็นลักษณะสกุลช่าง ซึ่งจะมีลักษณะที่เหมือนหรือคล้ายกัน โดยจะเห็นได้ึ้จากกระบวนการออกแบบลวดลายต่าง ๆ ที่ถูกครอบงำทางศิลปะจากส่วนกลาง โดยยังไม่มีใครกล้าที่จะปฏิวัติเอาลวดลายพื้นถิ่นอีสาน หรือรูปแบบศิลปะพื้นถิ่นอีสานเมืองอุบล มาปรับประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์

๓ ระบบของการศึกษาแบบ “สำเร็จรูป” ที่ตำราองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางด้้านศิลปะงานช่างอิงติดอยู่กับรูปแบบวัฒนธรรม ศูนย์กลางจนทำลายรากฐานองค์ความรู้ศิลปะพื้นถิ่น จนไม่สามารถที่จะต้านทาน เฉกเช่นการนำลวดลายองค์ประกอบของจิตรกรเลื่องชื่อ เช่น อาจารย์ เฉลิมชััย โฆษิตพิพัฒน์ มาเป็นต้นแบบขยายขนาดและปรับเปลี่ยนวัสดุเป็นเทียน ดังนั้นจะ เห็นได้ว่า “สำนึกท้องถิ่น” ด้านศิลปะงานช่างอยู่ในขั้นวิกฤติ ช่างในวิชาชีพและนักศิลปะวิชาการยังละเลยมองข้าม “มูนมัง” ของเจ้าของ

๔. มูลเหตุปัญหาต่าง ๆ เกิดจากการที่ไม่มีการศึกษาวิจัยด้านศิลปะพื้นถิ่นเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่าฐานความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของเยาวชนคนรุ่นใหม่นั้นมีน้อยมาก และที่สำคัญคือ การพัฒนาที่ฉาบฉวย เช่น การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ไม่เข้าใจจิตวิญญาณความเชื่อ และวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยเฉพาะงานแกะสลักประติมากรรมเทียนนานาชาติ ที่พยายามสร้างเป็นจุดขายเพื่อจะเชื่อมโยงประเพณีพื้นถิ่นไปสู่ความเป็นสากล โดยอิงโลกตะวันตกเป็นศูนย์กลางที่ฝังรากลึกในระบบการศึกษาทุกระดับของสังคม โดยทั้งนี้มองได้เป็นสองด้าน ทั้งด้านบวกและด้านลบ คือในด้านบวกเป็นการสร้างสีสันให้กับงาน ในลักษณะของแปลก โดยสำหรับผู้คนในท้องถิ่น งานประติมากรรมลักษณะนี้

ในวิถีชาวบ้านก็ไม่มีโอกาสจะได้ดูชมอยู่แล้ว กลุ่มคนที่จะได้เสพงานศิลป์ลักษณะนี้ต้องอยู่ในแวดวงศิลปะหรือกลุ่มชนชั้นกลางที่สนใจเท่านั้น อนึ่งด้านบวกงานช่างประติมากรรมเทียนดังกล่าวได้มีผู้ท้วงติงถึงรูปแบบการสร้างสรรค์ของศิลปินต่างชาติ ที่ไม่เข้าใจถึงกาลเทศะในเรื่องความเหมาะสม กับขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมพื้นถิ่น แต่ทั้งนี้มิใช่ว่างานที่สร้างสรรค์ทั้งหมดจะทำลายบรรยากาศของงานในทางตรงกันข้ามกลับเรียกร้องความสนใจ ถามหาแนวความคิด (Concept) เพื่อให้ทราบถึงที่ไปที่มา แม้จะเป็นงานนอกรีต แต่ได้จุดชนวนความคิดที่ทำให้เห็นถึงวิธีการคิดของต่างชาติ (ซึ่งมีความกล้า) ที่เน้นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ที่เป็นจุดแข็งของโลกตะวันตกก่อเกิดนวัตกรรมการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ซึ่งมากกว่าทักษะฝีมือเหมือนช่างไทย ดังนั้น หากเรารวมทั้งสองคุณลักษณะได้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีีในการพัฒนาภูมิปัญญาสร้างสรรค์งานช่างแขนงนี้

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1245 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์