รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ตลาด ดารา ลาว

ตลาดดารา

หัวมุมถนนเชษฐาธิราช และถนนนาวัง ตรงข้ามตลาดสด ท่ารถเวียงจันทน์

สินค้า มีหลากหลายให้เราเลือกซื้อ ทั้งกระเป๋า ผ้าพันคอ ปลอกหมอน จนถึงผ้าปูที่นอน สร้อย แหวน กำไล หรือ ธูปหอม ฯลฯ ....น่าซื้อไปเสียหมด ส่วนราคาก็ต้องต่อรองเอาเอง แนะนำว่า ควรสอบถามราคา หลายๆร้าน บางร้านอยู่ไกลหน่อย ราคาก็ถูกลง ถนนนี้ มีคำพูดเล่นๆ ว่า เมืองไทยมี ถนนข้าวสาร ถนนนี้ เป็น พี่น้องกัน ชื่อ ถนนข้าวเหนียว

สินค้าเด่น : เป็นสินค้าจากชาวเขาเผ่าม้งของลาว เช่น ผ้าทอปักลวดลายต่างๆ เช่น ปลอกหมอน ผ้าห่ม ย่าม กระเป๋า เสื้อชาวเขา และมีเครื่องเงินอยู่บ้าง ตรงข้ามฝั่งถนนเป็นที่ตั้งของร้านมินิโพสต์ จำหน่ายโปสการ์ดและแสตมป์ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมมาซื้อหากันมากที่สุดในหลวงพระบาง

ดอนโขง ลาว

ดอนโขง หรือเมืองโขง (Don Khong)

ดอนโขงเป็นดอนที่มีขนาดใหญ่สุดในลำน้ำโขง ส่วนกว้างที่สุดวัดได้ 6 กิโลเมตร ยาว 12 กิโลเมตร มีถนนรอบเกาะระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร เป็นบ้านเกิดของท่านคำไต สีพันดอน อดีตประธานประเทศลาว นับว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทั้ง ไฟฟ้า น้ำประปา มีโรงแรมและเกสต์เฮาท์เปิดให้บริการ ส่วนใหญ่ปรับปรุงมาจากวิลล่าสมัยฝรั่งเศส รวมทั้งร้านอาหารริมน้ำโขงบรรยากาศดี

สถานที่ที่น่าสนใจได้แก่ วัดพวงแก้ว วัดใจกลางเมืองโขงที่มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางนาคปรกขนาดใหญ่ ถัดขึ้นมาทางเหนือจะพบวัดจอมทอง ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตดอนโขง สร้างในสมัยเจ้าอนุวงศ์ ตลอดจนวิถีชีวิตริมน้ำของชาวลาวในเขตภาคใต้ให้เที่ยวชม

เซียงควน ลาว

เซียงควน หรือเชียงควน (Xiang Khouang)

หรือที่เรียกกันว่า สวนพุทธ ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าโขงในเขตเมืองท่าเดื่อ ห่างจากนครเวียงจันทน์ไปทางใต้ประมาณ 24 กิโลเมตร ออกแบบและสร้างโดยหลวงปู่บุญลือศุลีรัตน์โยคีพราหมณ์ผู้เลื่อมในในศาสนาพุทธเมื่อปีพ.ศ 2501 ภายในสวนกลางแจ้งจัดแสดงพระพุทธรูปคอนกรีตขนาดและปางต่างๆ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู พระอาโลกิเตศวร ฯลฯ

อาคารภายในหลากรูปทรงจัดแสดงเรื่องราวทางศาสนาปัจจุบันสวนพุทธเป็นสวนสาธารณะเปิดทุกวัน ยกเว้นวันจันทน์ เวลา 08.00 -16.00 น.การเดินทาง สามารถทำได้โดยรถตุ๊กตุ๊กหรือรถโดยสารสาย 14 ออกจากสถานีรถโดยสารสายใต้ทุก 20 - 30 นาที

เซโปน ลาว

เซโปน

อยู่ทางทิศตะวันออกของสะหวันนะเขต มาตามทางหลวงหมายเลข 9 ประมาณ 190 กิโลเมตร

เซโปนเป็นเมืองที่ถูกสงครามทำลายจนยับเยิน เป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบจากภัยปฏิวัติเมื่อครั้งเกิดสงครามทำลายลงมากที่สุด เพราะในอดีตเซโปนเป็นเมืองผ่านเส้นทางสายโฮจิมินห์อันเป็นเส้นทางรบที่มีชื่อเสียงมากในสงครามอินโดจีน เป็นเครือข่ายของถนนทุรกันดารที่ซับซ้อนเลียบชายแดนลาว – เวียดนาม ตั้งต้นจากโพนสะหวันนะเขตลงมาถึงอัตตะปือและมีทางต่อไปยังกัมพูชาได้

จุดเด่น เซโปนยังคงร่องรอยของอดีตไว้อย่างชัดเจน ถนนรอบเมืองที่มีซากปรักหักพัง ซากอาวุธยุทโธปกรณ์ ทิ้งหลงเหลือไว้ได้เห็นได้ชินตา ในอดีตเส้นทางนี้พวกเวียดมินห์สร้างไว้เพื่อลำเลียงพลสู้กับทหารฝรั่งเศส พ.ศ. 2506 – 2517 ช่วงสงครามอินโดจีน กองทัพเวียดนามเหนือใช้เป็นเส้นทางลำเลียงพล และอาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาพยายามทำลายเส้นทางนี้โดยการทิ้งระเบิดอย่างหนัก จนทิ้งร่องรอยแห่งสงคราม และความพังพินาศปรากฏอยู่ชัดเจน ปัจจุบันยังคงมีกับระเบิดและซากอาวุธยุทโธปกรณ์ ทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก เป็นเครื่องยืนยันเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างโหดเหี้ยมตลอดเส้นทางให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก

แขวง อุดมไซย ลาว

แขวงอุดมไชย

สถานที่ตั้ง
แขวงอุดมไชยตั้งอยู่ในวงล้อมของแขวงพงสาลี หลวงพระบาง ไซยะบูลิ บ่อแก้ว หลวงนํ้าทา และ เมืองเมิงลา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมืองหลวง : อุดมไชย (Udomxai) หรือ เมืองไชย (Muang Xai)

เมืองปากแบ่งเมืองท่องเที่ยวของแขวงอุดมไชย เป็นจุดแวะพักที่สำคัญของทั้งคนและเรือ จากหลวงพระบางหากนั่งเรือทวนสายน้ำมาถึงปากแบ่งใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง ถ้าออกเดินทางตอนเช้าจะถึงที่ท่าเรือค่ำพอดี แต่ถ้านั่งเรือตามสายน้ำจากห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ตรงข้ามกับท่าเรือเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะใช้เวลาน้อยกว่า แต่ก็ต้องมาแวะพักค้างคืนที่ปากแบงเช่นกัน ถ้าได้แวะที่นี่ตอนเช้าสามารถตื่นขึ้นมาชมทะเลหมอกของสายน้ำโขง ล้อมรอบด้วยผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ สายน้ำจะคดเคี้ยวมีแก่งอยู่กลางลำน้ำตลอด ตรงท่าเรือจะมีเรือจอดอยู่เรียงรายเต็มไปหมด ทั้งเรือส่งสินค้า เรือเร็ว เรือช้า ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเดินเรือ ถ้าต้องการไปยังหลวงพระบาง สามารถไปด้วยเรือเร็ว จะเป็นเรือท้องแบนนั่งได้ 6 คน ต้องสวมเสื้อชูชีพด้วยและหมวกกันน็อก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หรือถ้านั่งเรือช้าจะใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง

อุดมไชย หรือ เมืองไชย เป็นเมืองหลวงของแขวงอุดมไชย ตั้งอยู่ในวงล้อมของแขวงพงสาลี หลวงพระบาง ไชยบุรี และหลวงน้ำทา สมัยสงครามกู้ชาติและเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางหลวงหมายเลข 1 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4 เคยเป็นศูนย์กลางที่จีนใช้ส่งความช่วยเหลือผ่านไปยังขบวนการประเทศลาวในช่วงปี พ.ศ. 2513 แต่ในปัจจุบัน อาคารกงสุลเก่าของจีนได้เปลี่ยนแปลงเป็นโรงแรมไปแล้ว รัฐบาลลาวตอบแทนจีนที่ยอมเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างถนนด้วยการให้สัมปทานไม้ในเขตหุบเขาแขวงอุดมไชย ส่งผลให้ป่าไม้บริเวณนี้ถูกทำลายลง จีนให้ความช่วยเหลือในหลายด้าน ตัดถนนอย่างดี ผ่านชายแดนเมืองเมิงลา ผ่านอุดมไซไปจนถึงปากแบ่ง ถนนสายนี้ สมัยก่อนใช้ขนอาวุธยุทโธปกรณ์ ปัจจุบันเป็นถนนขนส่งสินค้าและเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว ปัจจุบันจีนมีอิทธิพลในรูปของการค้า มีตลาดใหญ่ๆ ขายของมากมาย

แต่ปัจจุบัน ดูแห้งแล้งมีแต่ตึก ศูนย์กลางของเมืองคือ พูไซ ซึ่งเป็นที่ตั้งพระธาตุหลักเมือง สถานที่น่าสนใจมีเพียงตลาดขนาดใหญ่กลางเมือง ชาวบ้านหลากเผ่าจากทุกมุมแขวงจะนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันที่ตลาดนี้ นอกเมืองออกไปมีตาดสิบเอ็ด (ทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณกิโลเมตรที่ 11) นํ้า จากนํ้าตกไหลลงสู่แม่นํ้าทา จากอุดมไซ 28 กิโลเมตร (เส้นทางไปพงสาลี) เป็นที่ตั้งของเมืองหล้า ริมฝั่งแม่นํ้าพาก ซึ่งเป็นสายนํ้าที่ไม่ธรรมดา บางช่วงเป็นนํ้าร้อนที่ชาวเมืองใช้บำบัดโรค ในเมืองหล้ายังมีวัดโบราณเป็นที่ประดิษฐานพระแซกคำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เล่ากันว่ายามบ้านเมืองมีศึก มีคนเห็นนํ้าไหลจากพระเนตรของพระแซกคำ

เมื่อมาถึงตัวเมืองจะเห็นอนุสาวรีย์ของท่านไกรสร ตรงนี้จะเป็นจุดนัดพบของชาวลาวเป็นที่พักผ่อน มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จะเห็นยอดพระธาตุสีทองสุกตั้งอยู่บนเนินเขาใจกลางเมือง ชื่อว่า พูพระธาตุ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวลาวและเป็นจุดที่สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้รอบเมือง ท่ามกลางการถูกล้อมรอบด้วยทิวเขาสลับซับซ้อน
ด้านนอกเมืองบนทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณกิโลเมตรที่ 11 มีน้ำตกที่สวยงามชื่อว่า ตาดสิบเอ็ด เป็นน้ำตกที่ไหลผ่านโขดหินลงสู่แม่น้ำทาระหว่างทางจะพบกับวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม หมู่บ้านชาวเขา เช่น ลาวสูง เผ่าอาข่า ม้ง เย้า
ถ้าเส้นทางพงสาลีจะผ่านบ่อน้ำร้อนที่ชาวลาวเชื่อว่าสามารถรักษาโรคภัยได้ มายังเมืองหล้า ริมฝั่งแม่น้ำพาก ภายในเมืองมีวัดโบราณเป็นที่ประดิษฐานพระแซกคำ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ยามศึกสงครามจะมีชาวบ้านเห็นน้ำตาไหลจากดวงตาของพระแซกคำ

อุดมไชยแม้จะมีสถานที่ท่องเที่ยวให้ชมน้อย แต่ก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเดินทางของชาวลาว เพราะมีสถานีขนส่งขนาดใหญ่อยู่นอกเมือง สามารถไปเมืองอื่นๆได้สะดวก ได้แก่ เวียงจันทน์ หลวงพระบาง หลวงน้ำทา พงสาลี หรือไปยังบ่อเต็นซึ่งเป็นชายแดนในเขตยูนนานประจีนก็ได้

ปากแบ่งเป็นเมืองเล็กๆ แต่น่าอยู่ ตัวเมืองอยู่เนินเขา ณ จุดที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแบ่งไหลมาบรรจบกัน เป็นศูนย์กลางของการเดินเรือที่สำคัญของแม่น้ำโขง อยู่ระหว่าง

เส้นทางเดินเรือของหลวงพระบาง-ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว และเส้นทางเดินเรือไปยังแขวงอุดมไชยและหลวงน้ำทา ชาวบ้านส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บนเนินเขา ดำรงชีวิตที่เรียบง่าย จะมีโรงแรม เกสต์เฮาท์ ร้านค้า ร้านอาหาร มากมายไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว และบริการเรือไปยังหลวงพระบาง

วัดสินจงแจ้ง : ทางตอนเหนือของตัวเมืองมีวัดสินจงแจ้งที่นักท่องเที่ยวน่าจะไปเที่ยวชมอีกที่หนึ่ง มีพระพุทธรูปหลายสมัย จุดเด่นอยู่ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด้านนอกของอุโบสถเป็นภาพวาดของชาวคอเคเชียน ผู้ชายจมูกโตมีหนวดเครา น่าจะเป็นคนฝรั่งเศสหรือไม่ก็ฮอลันดาที่เข้ามาอยู่ในลาวในยุคแรกๆ

ปัจจุบันปากแบ่งนับเป็นเมืองท่องเที่ยวใหม่ของลาวที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว เพราะการเดินทางไปตามสายน้ำโขงสามารถเดินทางได้ตลอดปี ตั้งแต่ในช่วงฤดูฝนถึงกลางฤดูหนาว ระดับน้ำค่อนข้างสูงสองฟากฝั่งจะเขียวชอุ่มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ถ้ามาช่วงปลายฤดูหนาวอากาศจะเย็นสบาย น้ำเริ่มลดระดับลง จะทำให้เห็นเกาะแก่งมากมายใช้เวลาเดินทางนานกว่า แต่จะได้เห็นหาดทรายของสองฟากฝั่งที่สวยงามด้วย

บริเวณปากแบงจะเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในแขวงอุดมไชย เพราะเป็นจุดกึ่งกลางของการเดินเรือจากห้วยทรายแขวงบ่อแก้ว มาถึงเมืองหลวงพระบาง ที่พักส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณท่าเรือ จะเป็นเกสต์เฮาส์เล็ก ๆ อยู่แบบเรียบง่าย ราคาย่อมเยา แต่ถ้าต้องการความสะดวกสบายขึ้นก็ต้องใช้บริการของหลวงไซลอด์จ ภายในห้องจะตกแต่งด้วยไม้ทั้งหลัง มีบานหน้าต่างที่ออกแบบมาให้เปิดรับลมธรรมชาติได้ สามารถชมทิวทัศน์ของลำน้ำโขงได้ มีอาหารให้บริการทั้งอาหารเช้าและอาหารเย็นมื้อค่ำมีการแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ ด้วย

แขวงอัดตะปือ ลาว

แขวงอัตตะปือ

สถานที่ตั้ง :
อยู่ติดชายแดนกัมพูชา ถัดไปจากแขวงเซกอง เมืองหลวง เมืองสามัคคีชัยหรือเมืองใหม่

อัตตะปือ เป็นแขวงทุรกันดารและด้อยพัฒนา ความแร้นแค้นและดูไม่เจริญเหมือนแขวงอื่นๆ ทำให้แขวงนี้กลับกลายเป็นจุดเด่นสำหรับนักท่องเที่ยวที่แสวงหาดินแดนใหม่ๆ แขวงนี้อยู่ไกลสุดอยู่ชายแดนกัมพูชา ถัดไปจากแขวงเซกอง ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพกสิกรรมและหาของป่า เมืองหลวงชื่อ “สามัคคีชัย” แม้สภาพเศรษฐกิจของผู้คนอาจดูไม่ดีนัก แต่ธรรมชาติก็เยี่ยมจนได้รับฉายาว่าเป็นเมืองสวน ที่อยู่ในวงล้อมของขุนเขามีแม่น้ำเซโดนไหลผ่าน เงียบสงบ และน่าเที่ยวมากแขวงหนึ่ง แม้ที่พักจะไม่เยอะเท่าแขวงอื่นๆแต่ก็พอเพียงกับนักท่องเที่ยว

กิจกรรมท่องเที่ยวอยู่ที่การไปชมวัดฟางแตง อยู่ในเมืองเก่า วัดเดียวที่ระเบิดอเมริกาทิ้งไม่โดน และเดินเล่นที่สะพานเซกองชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม มีถ้ำผาอยู่เชิงเขาปลายที่ราบสูงบอละเวน

ด้วยชัยภูมิในวงล้อมของขุนเขามีแม่น้ำเซกองและเซกะมานไหลผ่านนำความชุ่มชื้นมาให้ ทั่วทั้งเมืองเต็มไปด้วยต้นไม้พุ่มไม้เขียวครึ้มระหว่างเมืองสามัคคีไซไปเมืองไซเสดถา (ไชยเชษฐา) มีวัดโบราณสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาอยู่ 2 แห่ง คือ วัดหลวง และวัดฟางแตง หรือวัดธาตุ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของชาวบ้าน อันเนื่องมาจากสมัยสงคราม สหรัฐอเมริกาพยายามทิ้งระเบิดใส่วัดหลายลูก แต่ทุกลูกที่ตกในเขตวัดทั้ง 2 กลับไม่ทำงานถ้ำผา อยู่ที่เชิงเขาปลายที่ราบสูงบอละเวน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่สามัคคีไซมีสำนักงานท่องเที่ยวตั้งอยู่ที่ศาลาประชาคม ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง เป็นที่ชุมนุมไกด์และบริการนำเที่ยวสถานที่ต่างๆ

ภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่ของแขวงอัตตะปือเป็นป่าและภูเขา โดยเฉพาะทางทิศตะวันออกที่ติดกับประเทศเวียดนาม มีที่ราบเป็นส่วนน้อย การคมนาคมลำบาก ชาวบ้านส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามภูเขา มีประชากร 112,171 คน ประกอบด้วย ชาวไท เวียดนาม กัมพูชา ส่วย และข่า
มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงต่างๆ และประเทศใกล้เคียงคือ ทิศเหนือติดกับแขวงสาละวัน ทิศใต้ติดกับประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับแขวงจำปาสัก

อัตตะปือมีเมืองหลวงคือสามัคคีชัย หรือเมืองใหม่ อดีตเมืองหลวงเก่าคือเมืองไชยเชษฐา สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐา มีสัญลักษณ์ทางศาสนาแสดงถึงความเป็นเมืองหลวงทั้ง 2 แห่ง คือ เมืองสามัคคีชัยมีวัดหลวงลัตตะมาลาม (วัดหลวงเมืองใหม่) เป็นที่เคารพบูชาของคนเมืองสามัคคีชัย ส่วนเมืองไชยเชษฐา มีวัดหลวงเมืองเก่าวะราราม หรือวัดธาตุ (วัดหลวงเมืองเก่า) เป็นที่สักการบูชาของคนไชยเชษฐาเช่นกัน

นอกจากความโดดเด่นในเรื่องความสงบ วิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ้าน ที่เป็นเสน่ห์และความน่ารักของเมืองแห่งนี้แล้ว สภาพภูมิศาสตร์ที่โอบล้อมด้วยขุนเขา มีแม่น้ำเซกองและเซกะมานไหลผ่านเป็นแม่น้ำสายหลักที่นำพาความชุ่มชื่น และสร้างธรรมชาติให้เมืองสามัคคีชัยได้รับการขนานนามว่า เมืองสวนไม้สีเขียว เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็จะเห็นความเขียวชอุ่มของพุ่มไม้รายล้อมบ้านเรือน บรรยากาศบริสุทธิ์

แขวงหัวพัน ลาว

แขวงหัวพัน

ตามประวัติศาสตร์ไทย เมืองหัวพันคือเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก เคยเป็นเมืองขึ้นของไทยมาช้านาน เป็นดินแดนแห่งทิวเขาสลับซับซ้อน หุบเหวลึก และดอยสูง พื้นที่ 75 เปอร์เซ็นต์เป็นป่าไม้ ทำให้การคมนาคมลำบาก ประชากรประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ อาทิ ไทขาว ไทแดง ไทเหนือ ไทน้อย ม้ง ขมุ ยูนนาน เวียดนาม เป็นต้น พ.ศ 2532 สหรัฐอเมริกาเริ่มให้การสนับสนุนพัฒนาการศึกษา คมนาคมสาธารณสุข ชลประทาน และสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า สิ่งที่น่าสนในของแขวงหัวพันคือ เมืองเวียงไซ อดีตศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนลาว หมู่บ้านชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ และผ้าทอแบบซำเหนือ โดยเฉพาะที่มาจากเมืองซอนและสบหาวถือว่าดีที่สุด

แขวง หลวงน้ำทา ลาว

แขวงหลวงน้ำทา

สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแขวงบ่อแก้ว ติดกับประเทศพม่าและประเทศจีน
เมืองหลวง : เมืองสิงห์

หลวงน้ำทา : เดิมชื่อว่าแขวงหัวซอง ซึ่งถูกประกาศเป็นเขตสวนอุทยานแห่งชาตินํ้าฮาเมื่อปีพ.ศ 2536 เนื้อที่รวม 2,224 ตารางกิโลเมตร เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ที่ชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆ หลวงน้ำทามีทั้งการให้ชมวิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ ร่องรอยจากสงครามกองทัพขบวนการประเทศลาวกับกองโจรม้ง เยี่ยมชมเมืองสิงห์ ซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เที่ยวชมวัดหลวงบ้านเชียงใจ สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาแบบไทลื้อ เรือนพญาเซกอง มรดกของอาคารยุคอาณานิคม

ในช่วงสงครามอเมริกา พ.ศ. 2498-2518 พื้นที่แถบนี้เคยเป็นสมรภูมิรบ ระหว่างขบวนการประเทศลาวและกลุ่มกองโจรของพวกชาวเขา ส่วนใหญ่เป็นม้ง ที่ได้รับการหนุนหลังจากหน่วยงานซีไอเอของสหรัฐฯ ส่งผลให้ตัวเมืองถูกทำลายโดยไม่สามารถซ่อมแซมได้ ผลจากสงครามทำให้หลวงนํ้าทาได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศในหลายด้านสงครามระหว่างกองทัพขะบวนกานปะเทดลาวกับกองโจรม้งทำให้ตัวเมืองหลวงนํ้าทาเสียหายมาก ต้องย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ริมฝั่งแม่น้ำทา ห่างจากที่ตั้งเดิมมาทางเหนือ 7 กิโลเมตร ใกล้กับทางหลวงที่ใช้ไปยังเมืองสิงห์ อุดมไชย และบ่อเต็น ประกอบด้วยคนหลายชนเผ่า แม้ว่าทางการจะย้ายเมืองหลวงใหม่มาแล้วก็ตาม แต่สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองเก่า ชาวหลวงน้ำทาเรียกเขตนี้ว่า เมือง และเรียกเขตที่สร้างใหม่ว่าแขวง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเข้ามาแวะพักเพื่อเดินทางต่อไปยังบ่อแก้ว หรือไม่ก็ไปจีน หรือไปยังเมืองสิงห์ ภายตัวเมืองหลวงน้ำทามีที่พักแบบเกสต์เฮาท์ค่อนข้างเยอะ

ปัจจุบันหลวงน้ำทามีถนนสายกว้าง ถ้าเดินมาทางเชิงสะพานด้านตะวันออกของถนนสายหลักในยามเช้า จะเห็นผู้คนออกมาจับจ่ายซื้อของที่ตลาดซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสถานีรถขนส่ง ถัดจากเมืองประมาณ 2 กิโลเมตรไปตามเส้นทางเมืองสิงห์ จะพบศูนย์หัตถกรรมหลวงน้ำทาซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้ออกเงินสร้างเพื่อให้มีที่จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมของชาวบ้าน

ภูมิประเทศ พื้นที่ 75 เปอร์เซ็นต์เป็นภูดอย แต่ทางตอนใต้มีป่าร้อนชื้นอยู่ระหว่างนํ้าฮากับนํ้าทา เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน จึงเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ ม้ง ขมุ ไทเหนือ ไทดำ ไทแดง ไทขาว ไทยวน ไทลื้อ ละวิด ละเมด สีดา อีก้อ มูเซอ กะลอม ไทยใหญ่

แขวง สาละวัน ลาว

แขวงสาละวัน

สถานที่ตั้ง
อยู่ระหว่างแขวงสะหวันนะเขต แขวงเซกองและแขวงจำปาสัก

เมืองหลวง เมืองสาละวัน
จากแขวงจำปาสักขึ้นไปทางเหนือจะถึงแขวงสาละวัน แขวงนี้ไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไรนัก แต่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ มีภูเขาใหญ่ จัดเป็น 1 ใน 4 แขวงแห่งที่ราบสูงบอละเวน พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงสภาพป่าไม้ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ อากาศเย็นสบาย ที่ได้รับการยกย่องว่ามีธรรมชาติที่ดีมาก เมืองหลวงชื่อ “สาละวัน” ถ้ามาเที่ยวน้ำตกตาดฟานและตาดเยือง จะเดินทางต่อไปอีกไม่ไกลก็ถึงแล้ว
สาละวันเป็นเมืองสำคัญหนึ่งของลาวใต้ แม้จะเป็นเมืองที่มีขนาดเล็กใจกลางของป่าทึบและภูเขาสูง แต่ก็อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารมีที่ราบอยู่ริมแม่น้ำโขง ทิศเหนือติดกับแขวงสะหวันนะเขต ทิศใต้ติดกับปากเซและเซกอง ทิศตะวันออกมีภูเขาเป็นพรมแดนกั้นกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกตรงข้ามกับจังหวัดอุบลราชธานี
แขวงสาละวันมีประชากร 260,000 คน มีเชื้อชาติมอญ-เขมร ตะโอย ละไว กะตัง อาลัก ละเวน งาย ตง ปากอ คะไน กะตู และกะโด เป็นต้น
แขวงสาละวันมีเมืองเอกชื่อเดียวกับแขวง สาละวัน เดิมชื่อ เมืองมำ เป็นเมืองชายแดนของอดีตอาณาจักรจำปาสัก ได้รับผลกระทบเสียหายร้ายแรงสมัยสงครามอินโดจีน และจากการสู้รบระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาของลาว

การเดินทาง
ปัจจุบันไม่มีการคมนาคมใดๆ มุ่งหน้าไปถึงแขวงสาละวันได้โดยตรง จะต้องผ่านปากเซก่อน จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 24 ไปถึงอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 629 กิโลเมตร ขับรถไปตามเส้นทางหมายเลข 207 ไปยังด่านพรมแดนช่องเม็ก ไปสู่เมืองปากเซ จะเลือกนั่งรถโดยสารหรือรถแท็กซี่ไปยังเมืองปากเซก็ได้ ระยะทาง 42 กิโลเมตร เมื่อถึงปากเซต้องต่อรถโดยสารสายใต้เข้าแขวงสาละวัน มีรถ 4เที่ยว/วันคือ 07.30, 09.00, 12.15 และ 14.00 น. ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง

แขวง สะหวันนะเขต ลาว

แขวงสะหวันนะเขต

มีประชากรอาศัยมากสุดถึง 824,662 คน ประมาณ 15 เปอร์เซนต์ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาวลาวลุ่ม ไทดำ กะเลิง กะตัง ลาเว้ ปาโก ส่วน เป็นแขวงที่มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 2 ของ สปป.ลาว รองจากเมืองหลวงกำแพงพระนครเวียงจันทน์ สะหวันนะเขตตั้งอยู่ห่างจากเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน มาทางทิศใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของแขวงสาละวัน โดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ

ที่ตั้งแขวงอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหารของไทยเป็นเมืองหลวงของแขวง ชื่อทางการคือเมืองคันทบุลี แต่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่าเมืองสะหวันนะเขต หรือสะหวันเฉยๆ

ประวัติศาสตร์เมืองสะหวันนะเขตเริ่มในสมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนี้มีชื่อว่า สุวันนะพูมประเทศ (สุวรรณภูมิประเทศ) เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2120 ท้าวหลวงและนางสิมได้อพยพผู้คนจากภาคเหนือลงมาตั้งหมู่บ้านชื่อว่าหลวงโพนเมืองสิม ห่างจากตัวเมืองปัจจุบันประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางเดียวกับไปพระธาตุอิงฮัง ครั้นถึง พ.ศ. 2185 ท้าวสิมพะลีบุตรชายได้พาชาวบ้านหลายสิบครอบครัวแยกออกไปตั้งเมืองใหม่ในเขตสะหวันนะเขตเรียกกันว่า บ้านท่าแร่ เพราะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุและทองคำจนถึงปี พ.ศ. 2462 เมื่อลาวตกเป็นประเทศอาณานิคม ฝรั่งเศสได้ตั้งสำนักงานผู้ว่าราชการแผ่นดินประจำแขวงที่ท่าแร่ และตั้งชื่อใหม่เป็น สะหวันนะเขต แต่นั้นมาจากเมืองสะหวันนะเขตมีทางหลวงหมายเลข  9 ตัดตรงไปยังชายแดนเวียดนามที่ลาวบาว ถนนสายนี้ช่วยให้การค้าระหว่างไทยกับเวียดนามเป็นไปโดยสะดวก

การเดินทาง
การเดินทางไปสะหวันนะเขต มีหลายรูปแบบ ถ้าต้องการขับรถส่วนตัวไปให้มุ่งหน้าไปยังจังหวัดมุกดาหารระยะทางประมาณ 642 กิโลเมตร หาที่ฝากรถจังหวัดมุกดาหาร เพราะสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ แล้วให้นั่งรถสองแถวหรือรถสามล้อมาด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร จากนั้นให้มาติดต่อทำหนังสือเดินทางและซื้อตั๋วเรือข้ามแม่น้ำโขงที่นี่ โดยใช้เวลาประมาณ 25 นาที ก็จะถึงเมืองแขวงสะหวันนะเขตหรือมาโดยรถโดยสารประจำทาง ที่หมอชิต 2 มีรถโดยสารไปจังหวัดมุกดาหารทุกวัน โทรศัพท์ 02 936 2841-8, 0 2936 2852-66 เมื่อมาถึงสถานีขนส่ง แล้วให้นั่งรถสองแถวหรือรถสามล้อมาด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร จากนั้นให้มาติดต่อทำหนังสือเดินทางและซื้อตั๋วเรือข้ามแม่น้ำโขงที่นี่ ก็จะถึงเมืองแขวงสะหวันนะเขต

ดังนั้นในโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร - สะหวันนะเขต จึงมีแผนสร้างทางต่อจากชายแดนของลาวไปยังเมืองดองฮาและดานังในเวียดนาม นอกจากเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าแล้ว ยังเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลสายแรกของลาวอีกด้วย

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 867 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์