รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

1 คำแนะนำการเดินทาง พม่า

สารบัญ

ธงชาติ พม่าคำแนะนำการเดินทาง ประเทศพม่า

ข้อควรทราบก่อนเดินทาง
การขอวีซ่า:
คนไทยที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดาจะต้องยื่นขอวีซ่า จากสถานทูตพม่าก่อนเดินทาง โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ประเภท คือ
Tourist Visa: อยู่ในพม่าได้เป็นเวลา 4 สัปดาห์
Business Visa: อยู่ในพม่าได้นานถึง 10 สัปดาห์ และ
Entry Visa: จะอยู่ในพม่าได้ 4 สัปดาห์เช่นกัน

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะอยู่ในพม่าเกิน 4 สัปดาห์ ท่านจะต้องยื่นเรื่องขอ Stay Permit จากกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง ของพม่าก่อนทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ที่อยู่ในพม่าเกินกว่า 4 สัปดาห์จะต้องยื่น Departure Form ต่อทางการพม่าก่อนที่จะเดินทางออกนอกพม่า

การขอวีซ่า
นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปประเทศพม่า ต้องขอวีซ่าก่อนการเดินทาง โดยหลักฐานประกอบการขอวีซ่ามีดังนี้

1. พาสปอร์ตปัจจุบันที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือนก่อนออกเดินทาง

2. รูปถ่ายขนาดเดียวกันและแบบเดียวกัน จำนวน 3 รูป

3. ค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่า 810 บาท (สำหรับนักท่องเที่ยว) และ 1,440 บาท (สำหรับนักธุรกิจ)

4 นักท่องเที่ยวสามารถขอวีซ่าเข้าประเทศได้เป็นเวลา 28 วัน แต่จะมีการยืดเวลาในการต่อวีซ่าออกไปอีก 14 วัน (สำหรับท่องเที่ยว)และ 3 เดือน (สำหรับนักธุรกิจ)

5. สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางเข้าบริเวณชายแดนพม่าสามารถทำวีซ่าผ่านแดนได้ที่บริเวณชายแดน

ศุลกากร
ข้อกำหนดด้านศลกากรนั้น สามารถนำเข้ามาได้โดยไม่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้ามีดังนี้ บุหรี่ 400 มวน ซิการ์ 100 มวน เหล้า 2 ลิตร และน้ำหอมไม่เกินครึ่งลิตร สำหรับสิ่งของต่าง ๆ ที่จะทำการนำเข้ามาในพม่าจะต้องแจ้งให้กับศุลกากรทราบ และแสดงใบรายละเอียดสินค้าแก่ศุลกากรทุกครั้งที่จะเดินทางออกนอกประเทศ มิฉะนั้นอาจจะต้องเสียค่าปรับได้ถ้าทำใบแสดงรายละเอียดสินค้าสูญหาย

กรมศุลกากรมีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลการนำเข้า - ส่งออกสินค้า ป้องกันการลักลอบสินค้า ดูแลของต้องห้ามต้องกำกัดตามกฎหมายต่างๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่อผู้ประสงค์จะเดินทางเข้า-ออก นักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไป กรมศุลกากรจึงมีความยินดีที่จะให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางเข้า-ออกซึ่งควรทราบในเว็บไซต์นี้เป็นความรู้

สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมและขอวีซ่าได้ที่
สถานเอกอัครราชทูตสหภาพเมียนมาร์ ประจำประเทศไทย
(The Embassy of Union of Myanmar)
เลขที่ 132 ถนนสาทรเหนือ
เขตบางรัก กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 0 – 2234 – 0278, 0 – 2233 - 2237 (แผนกวีซ่า)
แฟกซ์ 0 – 2236 - 6898

สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหภาพพม่า
(Royal Thai Embassy)
No.73 , Manawhari Street , Dagon Township , Yangon , Myanmar
Tel. (951) 224647, 224550, 224507
Fax. (951) 225929

ข้อแนะนำสำหรับผู้เดินทางเข้า - ออกนอกราชอาณาจักรมีดังนี้
ก่อนการเดินทางท่านจะต้องเตรียมเอกสารการเดินทางให้พร้อม พึงสนใจศึกษาระเบียบศุลกากร เรื่องของด่านกักกันโรค การตรวจคนเข้าเมือง ชนิดของเงินตราของประเทศที่จะเดินทาง ไปและอัตราแลกเปลี่ยนตลอดจน ชนิดและปริมาณของที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับยกเว้น ภาษีอากรเมื่อนำเข้ามา

หากมีของเกินกว่าปริมาณที่ได้รับยกเว้นภาษีอากร ให้สำแดงต่อศุลกากรเพื่อชำระภาษีอากรให้ถูกต้อง ในกรณีที่ท่านสงสัยในชนิดและปริมาณของที่ได้รับยกเว้นอากรที่แจ้งไว้ในแบบสำแดงการนำเข้า ซึ่งท่านจะได้รับก่อนเดินทางเข้าถึงประเทศ โปรดสอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำการ

อย่ารับฝากของใดๆจากบุคคลอื่น เนื่องจากท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบถ้าเป็นของผิดกฏหมาย

พึงสังวรว่าโทษในการครอบครองเป็นเจ้าของยาเสพติดมีโทษหนักมาก ทั้งค่าปรับ การถูกจำคุก หรืออาจถึงขั้นประหารชีวิต

ข้อมูลน่ารู้ก่อนไปเมียนมาร์
ประชากร
ประชากรในประเทศพม่าประกอบด้วย ชาวพม่าประมาณ 65% ชาวไทใหญ่ 10% ชาวกะเหรี่ยง 7% ชาวยะไข่ 4% ชาวฉิ่น คะฉิ่น และมอญ 2.3% นอกนั้นจะเป็นชาวอินเดีย จีน อัสสัม และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ โดยมีประชากรทั้งหมดประมาณ 49 ล้านคน กระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ โดยมีประชากรหนาแน่นที่สุดอยู่ในเมืองย่างกุ้งประมาณ 4.8 ล้านคน และเมืองมัณฑะเลย์ประมาณ 1 ล้านคน

คำแนะนำต่าง ๆ
- เวลาทำการของสถานที่ราชการ จะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.30 -1 6.30 น. หยุดวันเสาร์และวันอาทิตย์ ส่วนบริษัทเอกชนจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. และหยุดวันอาทิตย์

- ไม่ควรถ่ายรูปในบริเวณสนามบิน สถานีรถไฟ และสถานที่ราชการที่มีีทำการของทหารอยู่ใกล้เคียง เมื่อจะถ่ายรูปกับชาวพม่าก็ควรขออนุญาตก่อนทุกครั้ง อีกเรื่องหนึ่งคือควรเตรียมฟิล์มไปให้พร้อม เพราะในหลาย ๆ สถานที่อาจจะไม่มีฟิล์มถ่ายรูปจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว หรือหากมีจำหน่ายก็อาจจะเป็นฟิล์มที่หมดอายุหรือตากแดดจนเสียคุณภาพไปแล้วก็ได้

- สถานที่ท่องเที่ยวในตอนกลางคืนนั้น พม่าเริ่มเปิดให้มีร้านจำพวกคาราโอเกะมากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ ขอแนะนำให้นักท่องเที่ยวใช้บริการบาร์ในบริเวณโรงแรมจะสะดวกกว่ามากและปลอดภัยกว่าด้วย

- การท่องเที่ยวในประเทศพม่า ควรเตรียมเสื้อที่ใส่สบายและไม่อึดอัดจนเกินไปนัก เสื้อแบบผ้าฝ้ายน่าจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ควรเตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วย ถ้าต้องการไปเที่ยวบริเวณเทือกเขาตอนเหนือในช่วงฤดูหนาว

- ประเทศพม่าเป็นประเทศเมืองพุทธเช่นเดียวกับประเทศไทย นักท่องเที่ยวควรให้ความเคารพแก่สถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นโบราณสถาน หรือวัดวาอารามอย่างเคร่งครัด

- การซื้อของจำพวกเครื่องเพชรพลอยต่าง ๆ  หรือสินค้าจำพวกวัตถุโบราณ ควรเลือกซื้อจากร้านที่มีใบรับรองจากภาครัฐ หรือร้านที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง มิฉะนั้นจะไม่สามารถนำออกนอกประเทศได้

- นักท่องเที่ยวชาวไทยอาจจะสับสนเรื่องระยะทางได้ ควรจำไว้ว่าประเทศพม่าใช้หน่วยในการวัดระยะทางเป็นไมล์ไม่ใช่กิโลเมตร ส่วนรถยนต์นั้นก็ขับชิดขวาไม่ได้ขับชิดซ้ายเหมือนประเทศอังกฤษที่เคยเป็นอาณานิคม

- ร้านขายสินค้าปลอดภาษีมีให้บริการทั้งในอาคารผู้โดยสารขาเข้าและขาออกของสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง

กฎหมายและระเบียบพิธีการศุลกากรที่ผู้เดินทางเข้า–ออกประเทศไทย ทางท่าอากาศยานระหว่างประเทศควรทราบ มีดังต่อไปนี้
1. การเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ถ้าผู้โดยสารต้องการนำของใช้ส่วนตัวติดตัวออกไประหว่าง การเดินทาง เช่น นาฬิกา สร้อยคอ แหวน กล้องถ่ายวีดีโอ กล้องถ่ายรูป วิทยุเทป คอมพิวเตอร์สำหรับพกพา ฯลฯ และประสงค์จะนำกลับมาภายในประเทศโดยได้รับยกเว้นอากร ผู้โดยสารจะต้องนำของดังกล่าว พร้อมบัตรที่นั่งบนเครื่องบิน (Boarding Pass) หนังสือเดินทาง และตั๋วโดยสาร มาแสดงแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนเดินทางเพื่อบันทึกรายละเอียดและรับสำเนาเอกสารไว้ สำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำช่องตรวจสีแดงในวันเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทย ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
-เป็นของเก่าใช้แล้วและมีจำนวน / ปริมาณพอสมควรแก่ฐานะ
-มีเครื่องหมาย เลขหมายให้ตรวจสอบได้ง่าย

หากผู้โดยสารมีของที่มิใช่ของใช้ส่วนตัว แต่มีลักษณะเป็นสินค้า โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรล่วงหน้าเพื่อแนะนำไปปฏิบัติพิธีการศุลกากรก่อนการเดินทาง

2. ของต้องห้ามต้องกำกัด
2.1 ของต้องห้าม หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น
-ยาเสพติดให้โทษ
-วัตถุระเบิด
-สิ่งพิมพ์หรือวัตถุลามก
-สัตว์ป่าสงวน

2.2 ของต้องกำกัด หมายถึงของบางชนิดที่มีกฎหมายควบคุมการนำเข้าและส่งออกผู้ที่ประสงค์จะนำเข้าหรือส่งออกไป ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและนำมาแสดง ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรในขณะนำเข้าและส่งออกด้วยเช่น
-พระพุทธรูป ศาสนาวัตถุ โบราณวัตถุ (กรมศิลปากร)
-สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์เลี้ยง เช่น นก ลิง แมว ฯลฯ(กรมป่าไม้หรือกรมปศุสัตว์)
-สัตว์มีชีวิตและซากสัตว์ (กรมปศุสัตว์)
-พันธุ์พืช เช่น ทุเรียน ลำไย ฯลฯ (กรมวิชาการเกษตร)
-อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ กระทรวงกลาโหม)
-ยาและเคมีภัณฑ์บางชนิด (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2277 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์