รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เชียงใหม่

tour queen sirikit botanical garden chiang mai

สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ตั้ง อยู่ในพื้นที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม บริเวณชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ทางเข้าอยู่ด้านซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 12 สายแม่ริม-สะเมิง สวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2536 มีพื้นที่ประมาณ 6,500 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่สูงสลับกันเป็นชั้นๆ ในระดับ 300-970 เมตร จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะการจัดสวนของที่นี่จะแบ่งพันธุ์ไม้ตามวงศ์และความเหมาะสมของสภาพ พื้นที่ รวบรวมพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมได้

สวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2536 ตั้งอยู่บริเวณชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บนพื้นที่ประมาณ 6,500 ไร่ และในปี พ.ศ.2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อสวนพฤกษศาสตร์สากล แห่งแรกของประเทศไทยแห่งนี้ว่า"สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์" หรือ Queen Sirikit Botanic Garden

ภายในสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนหลักก็คือ พื้นที่เพื่อการศึกษาวิจัย และส่วนพื้นที่สวนและการจัดแสดง สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไป จุดทีดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากก็คือกลุ่มอาคารเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งหมด 12 โรงเรือน เป็นแหล่งแสดงพืชพรรณที่น่าสนใจ โดยเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดคือ เรือนแสดงไม้ป่าดงดิบ ที่ได้จัดสภาพไว้เหมือนกำลังเดินอยู่ท่ามกลางป่าดงดิบจริง ด้วยการจัดตกแต่งพื้นที่เป็นเนินเขาและน้ำตกเพื่อเพิ่มความหลากหลายของภูมิทัศน์ พืชพรรณที่จัดแสดงอาทิ พืชจำพวกหมาก ปาล์ม และเรือนแสดงไม้ป่าดงดิบแห่งนี้ยังเป็นเรือนกระจกที่มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในเอเชียอีกด้วย

นอกจากเรือนไม้ดงดิบแล้ว เรือนพืชแล้ง ก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่น่าตื่นตาตื่นใจ ภายในเรือนพืชแล้งได้รวบรวมพืชสกุลกระบองเพชรต่างๆจากทั่วโลกทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่และยังออกดอกสีสันสวยงาม และพืชสกุลศรนารายณ์ กุหลาบหิน เสมา นอกจากนี้ยังมีโรงเรือนกระจกที่จัดแสดงพรรณไม้อีกหลายชนิดอาทิเรือนไม้น้ำ เรือนรวมพรรณบัว เรือนแสดงพันธุ์สัปปะรดสี เรือนแสดงไม้ดอกไม้ประดับ เรือนแสดงพืชสมุนไพร เป็นต้น

เรือนรวมพรรณกล้วยไม้ไทยก็เป็นอีกจุดที่น่าสนใจ โดยในปัจจุบันทางสวนได้ทำการรวบรวมและเพาะเลี้ยงไว้กว่า 350 ชนิด นอกจากนี้ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้เดินเที่ยวชมหลายเส้นทาง อาทิ เส้นทางสวนหิน-เรือนรวมพรรณกล้วยไม้ไทย เป็นเส้นทางเดินเท้าเลียบไปตามห้วยแม่สาน้อยผ่านไปทางสวนหิน ซึ่งเป็นแหล่งรวมพืชแล้งนานาชนิด และไปสิ้นสุดที่เรือนรวมพรรณกล้วยไม้ไทย เส้นทางสวนรุกขชาติ เริ่มจากศูนย์สารนิเทศเดินไปตามถนนสู่สวนรุกขชาติ ผ่านวงศ์กล้วยไม้ ปาล์ม เตย บอน ราชพฤกษ์ เข้าสู้สวนเฟิน จากนั้นผ่านวงศ์ขิง-ข่า ปรง และสนเขา

ทางสวนพฤกษศาสตร์ยังมีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ อาคารหอพรรณไม้ และร้านขายของที่ระลึกที่มีสินค้าจากธรรมชาติ และพันธุ์พืช หรือไม้ดอกไม้ประดับจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจอีกด้วย

จุด ที่แวะชมได้ คือ 1. อาคารศูนย์สารนิเทศ เป็นสถานที่อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว รวมถึงเป็นสถานที่จัดนิทรรศการ 2.กลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติ ขนาดต่างๆ 12 โรงเรือน รวบรวมพรรณไม้ประเภทต่างๆจากทั่วประเทศมาปลูกแสดงไว้ในโรงเรือน เช่น ไม้ป่าดงดิบ ไม้น้ำ กล้วยไม้ ไม้แล้ง บัว ไม้ดอกไม้ประดับ บอน ไม้ไทยหายาก ไม้สกุลสัมกุ้ง สมุนไพร 3.ศูนย์วิจัยพัฒนาสง่า สรรพศรี เป็นศูนย์ข้อมูลวิชาการโดยมีนักพฤกษศาสตร์ประจำอยู่ตลอดเวลา 4. เรือนพรรณกล้วยไม้ไทย 5.โรงเรือนอนุบาลพรรณไม้ 6.อ่างเก็บน้ำแม่สาวารินทร์ 7.แปลงรวมพันธุ์ไม้ดอกขาว ซึ่งได้จัดปลูกไปแล้วกว่า 120 ชนิด

และมีเส้น ทางศึกษาธรรมชาติที่จัดไว้ 4 เส้น คือ 1.เส้นทางน้ำตกแม่สาน้อย-สวนหิน-เรือนรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทย (Waterfall Trail) ระยะทาง 300 เมตร 2.เส้นทางสวนรุกชาติ (Arboretum Trail) ระยะทาง 600 เมตร 3. เส้นทางวลัยชาติ (Climber Trail) ระยะทาง 2 กม. 4. เส้นทางพันธุ์ไม้ประจำจังหวัด ระยะทาง 800 เมตร เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30-16.00 น. ค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท รถรวมทั้งคนขับ 50 บาท

ต้อง การข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ที่ ตู้ ปณ. 7 อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ 50180 โทร. (053) 298171-5 ต่อ 4736, 4739 โทรสาร 299754 กรุงเทพฯ ติดต่อได้ที่ อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 280-2907

สวนกล้วยไม้และฟาร์มผีเสื้อ เชียงใหม่

tour orchid garden and butterfly farm chiang mai

สวนกล้วยไม้และฟาร์มผีเสื้อ
ตาม เส้นทางนี้มีอยู่หลายแห่งที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม ได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ที่แปลกและหาดูได้ยากไว้ด้วย อาทิ สายน้ำผึ้งพิพิธภัณฑ์กล้วยไม้ไทย ไปตามถนนสายแม่ริม - สะเมิง 2 กิโลเมตร และแยกซ้ายอีก 1 กิโลเมตร เป็นสวนกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ มีฟาร์มผีเสื้อ แมวไทย และสัตว์อื่นๆ ให้ชมด้วย โทร. 0 5329 7152, 0 5329 8771-2 ตรงกันข้ามเป็น สวนกล้วยไม้เมาท์เท่น ออร์คิด โทร. 0 5329 7343 ออร์คิด ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 5.5 มีการปลูกพันธุ์กล้วยไม้นานาชนิด สาธิตการปลูกกล้วยไม้ และจัดเป็นฟาร์มผีเสื้อด้วย จำหน่ายสินค้าที่ระลึกประเภทเครื่องประดับ เช่น เข็มกลัด ต่างหู สร้อย ซึ่งทำจากกล้วยไม้ ใบไม้ และแมลงต่างๆ โทร. (053)298801-2

สวนกล้วยไม้แม่แรม เชียงใหม่

tour mae ram orchid garden chiang mai

สวนกล้วยไม้แม่แรม
ตั้งอยู่ประมาณกิโลเมตรที่ 5.5 เป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เนื่องจากมีการปลูกพันธุ์กล้วยไม้นานาชนิด ตลอดจนการสาธิตและจำหน่ายสินค้าที่ระลึกประเภทเครื่องประดับ จำพวกเข็มกลัด ต่างหู สร้อย ซึ่งทำจากกล้วยไม้ ใบไม้ และแมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังจัดเป็นฟาร์มผีเสื้อ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท
รายละเอียดติดต่อ โทร. (053) 297982

สวนกล้วยไม้เมาท์เท่น ออคิด เชียงใหม่

tour mountain orchid garden orchid chiang mai

สวนกล้วยไม้เมาท์เท่น ออคิด จ.เชียงใหม่
อยู่ตรงข้ามสวนสายน้ำผึ้ง เป็นสวนกล้วยไม้ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร (053) 297343

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เชียงใหม่

tour lung ang khang agricultural station chiang mai

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ดอยอ่างขางดอยอ่างขาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 137 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีก 25 กม. ดอยอ่างขางเป็นเทือกดอยสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเที่ยวชมดอกไม้เมืองหนาวภายโครงการฯ สถานีเกษตรดอยอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นและหยุดการทำลายป่า ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนท้องกะทะหรือเหมือนอ่าง อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตร ภายในโครงการมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาก เช่น แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้ง แปลงปลูกไม้ในร่ม แปลงทดลองกุหลาบ แปลงปลูกผัก แปลงปลูกผักในร่ม สวนท้อ สวนบ๊วย ป่าซากุระ ป่าเมเปิล พระตำหนักอ่างขาง รายละเอียดและจุดเด่นของแต่ละสถานที่ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ เชียงใหม่

tour-huai-hong-krai-royal-development-study-center-chiang-mai

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริจัดตั้งบริเวณป่าขุนแม่กวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ พื้นที่ประมาณ 8,500 ไร่ ให้เป็นศูนย์การศึกษาทดลอง วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองต่อไป โดยศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง 3 วิธี เพื่อประโยชน์ 4 อย่างคือ มีไม้ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนความชุ่มชื้นเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างที่ 4 และพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก โดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร และปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ปศุสัตว์และโคนม รวมทั้งเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ฯ และนำไปใช้ปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป ดังพระราชดำริว่า "ให้ศูนย์ศึกษาพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต"

ผู้ที่สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. หากต้องการวิทยากรนำชมติดต่อล่วงหน้าที่ โทร. 0 5338 9228-9 และผู้ที่ต้องการใช้บ้านพักรับรอง หรือกางเต็นท์พักแรมต้องนำอุปกรณ์มาเองโดยติดต่อขออนุญาตล่วงหน้า เว็บไซต์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้

การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย ประมาณ 23 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าศูนย์อีกประมาณ 1 กิโลเมตร

ศูนย์ศิลปะการแสดงกาดสวนแก้ว เชียงใหม่

tour kan sadang kad suan kaw art center chiang mai

ศูนย์ศิลปะการแสดงกาดสวนแก้ว
ตั้ง อยู่ในอุทยานการค้ากาดสวนแก้ว สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม โรงละครกาดสวนแก้วเป็นโรงละครที่มีการออกแบบ และใช้อุปกรณ์ทางเทคนิคที่ทันสมัย เปิดแสดงละครทั้งของไทยและต่างประเทศ สอบถามรายการการแสดงได้ที่ โทร. (053) 224333 ต่อ กาดศิลป์

ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาว เชียงใหม่

tour chiang dao elephant training center chiang mai

ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาว
ศูนย์ฝึกช้างเชียงดาว ตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่-ฝางประมาณกิโลเมตรที่ 56 มีการแสดงการชักไม้ ลากซุงจากป่า วันละ 2 รอบ คือ09.00 น. และ 10.00 น. ทุกวัน ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท และยังมีการขี่ช้างตามความต้องการของนักท่องเที่ยวด้วย รายละเอียดติดต่อได้ที่ (053) 298-553

เวียงท่ากาน เชียงใหม่

tour wiang tha kan chiang mai tour wiang tha kan chiang mai 2

เวียงท่ากาน
เป็น เมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งในสมัยหริภุญชัย เชื่อว่าเมืองนี้คงจะเริ่มสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 สมัยพระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ผู้ครองแคว้นหริภุญชัยสืบต่อมาจนถึงสมัยพญามัง รายช่วงก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ โบราณสถานที่สำคัญอยู่บริเวณกลางเมืองในเขตโรงเรียน วัดท่ากาน และวัดต้นกอก โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระพุทธรูปหินทราย พระพุทธรูปดินเผา พระพิมพ์จำนวนมาก ไหเคลือบสีน้ำตาลบรรจุกระดูก และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1823-1911) ปัจจุบัน เวียงท่ากานอยู่ในเขตท้องที่บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง ห่างจากเมืองเชียงใหม่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 108 ประมาณ 34 กิโลเมตร ผ่านอำเภอสันป่าตองแล้วเลี้ยวซ้ายที่บ้านทุ่งเสี้ยว เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร หรือโดยสารรถประจำทางสายโรงวัว-ท่าวังพร้าว คิวรถอยู่ข้างประตูเชียงใหม่

เวียงกุมกาม เชียงใหม่

tour wiang kum kam chiang mai

เวียงกุมกาม
เป็น เมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้านเพื่อไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22

ปัจจุบันเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก การเดินทาง เข้าทางตู้ยามหนองหอยและตรงมาจนทะลุแยกเกาะกลางป่ากล้วย ตรงต่อไปจนถึงตู้ยามเจดีย์เหลี่ยม

tour wiang kum kam chiang mai 2

ชาวบ้านจัดบริการรถราง และรถม้า เพื่อพานักท่องเที่ยวชมโบราณสถานเวียงกุมกามจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดธาตุน้อย วัดช้างค้ำ วัดธาตุขาว วัดพญามังราย วัดพระเจ้าองค์ดำ กู่ป้าด้อม วัดปู่เปี้ย วัดหนานช้าง และวัดอีก้าง ใช้เวลานำชมประมาณ 45 นาที ค่าบริการรถม้า 250 บาท รถรางคนละ 15 บาทหรือเหมาคันประมาณ 400 บาท นอกจากนี้ยังรับจัดกิจกรรมเลี้ยงขันโตกและสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านบริเวณ

เวียงกุมกาม สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 08 6193 5049, 08 1027 9513

เวียงกุมกาม
เรื่องราวของผู้คนและบ้านเมืองในภาคเหนือตอนบนนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏอยู่ในหนังสือพงศาวดารหรือตำนานทางพุทธศาสนา หรือไม่ก็เป็นนิทานพื้นบ้านปรัมปรา แฝงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ความศักดิ์สิทธิ์ของผู้มีบุญมาเกิด เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทวยราษฎร์ให้เล่าขานสืบต่อกันมา เรื่องราวที่จะกล่าวต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของ พญามังราย ซึ่งมีมูลเหตุที่น่าเชื่อคือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ณ์ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองในดินแดนแถบนี้



เรื่องราวของผู้คนและบ้านเมืองในภาคเหนือตอนบนนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏอยู่ในหนังสือพงศาวดารหรือตำนานทางพุทธศาสนา หรือไม่ก็เป็นนิทานพื้นบ้านปรัมปรา แฝงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ ความศักดิ์สิทธิ์ของผู้มีบุญมาเกิด เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทวยราษฎร์ให้เล่าขานสืบต่อกันมา เรื่องราวที่จะกล่าวต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของ พญามังราย ซึ่งมีมูลเหตุที่น่าเชื่อคือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ณ์ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองในดินแดนแถบนี้

เชื่อกันว่า พญามังราย บรรพกษัตริย์ผู้ครอบครอง และสืบทอดราชวงศ์ลวจังกราช เหนือราชบัลลังก์เมืองหิรัญนครเงินยาง แห่งแค้วนโยนโบราณอันกว้างใหญ่ แถบลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำสาย และแม่น้ำกก ได้เสด็จพร้อมด้วยไพร่พลมาที่ดอยจอมทอง ซึ่งตั้งอยู่ตรงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ริมแม่น้ำกกที่ไหลมาแต่เทือกเขาสูงทางทิศเหนือ ณ ดอยแห่งนี้ พระองค์โปรดให้ สร้างเวียง* แห่งใหม่ขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๖ มีนามว่า เชียงราย หรือ เวียงแห่งพญามังราย

เพื่อเป็นการแสดงแสนยานุภาพและขยายอาณาเขตพระองค์จึงเสด็จขึ้นไปทางเหนือไป รวบรวมรี้พล และสร้างเวียงฝางไว้เป็นเมืองหน้าด่าน อีกทั้งยังได้สำรวจเส้นทางในลุ่มน้ำแม่ระมิงค์หรือสายน้ำแห่งชาวรามัญเพื่อ ขยายดินแดนลงมาทางใต้เพราะทรงทราบถึงเกียรติศัพท์อันร่ำลือว่า หริภุญไชยเป็นแค้วนใหญ่ร่มเย็นด้วยพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบสุขมั่งคั่ง มีศิลปะวิทยาการเจริญรุ่งเรืองแต่อดีตกาลครั้งพระนางจามเทวี จึงทรงปรารถนาที่จะรวมแค้วนหริภุญไชยให้อยู่ในเขตขัณฑสีมาแห่งพระองค์ ในที่สุด พระองค์ก็ยกกำลังพละข้ายึดครองหริภุญไชยได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๔

อีก ๒ ปีต่อมา ทรงดำริว่า หริภุญไชยเป็นเวียงศูนย์กลางทางพุทธศาสนา มีความคับแคบเกินไป การจะขยายเวียงเพื่อรองรับชุมชนจำนวนมากทำได้ยาก จึงทรงมอบเวียงหริภุญไชยให้อ้ายฟ้าดูแล แล้วนำกำลังรี้พลพร้อมด้วยราษฎรไปตั้งมั่นอยู่ที่ บ้านแซว หรือ ชแว เพื่อพิจรณาทำเลที่เหมาะสมสำหรับสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้าขาย ตลอดจนมีพื้นที่เหมาะสมกับการเกษตรกรรม ทางเลือกพี้นที่บ้านกลาง บ้านลุ่ม และบ้านแห้ม โปรดให้สร้างเวียงใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๒๙ ณ บริเวณที่แม่น้ำปิงหรือน้ำแม่ระมิงค์ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก ด้วยพิเคราะห์ว่าแม่น้ำปิงสายนี้จะเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างดินแดนทางทิศเหนือและทิศใต้ ทรงให้ขุดคูเวียง ๓ ด้าน ใช้น้ำแม่ระมิงค์เป็นคูเวียงธรรมชาติด้านทิศเหนือ ก่อกำแพง ๔ ด้าน มีสัณฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พร้อมสร้างที่ประทับเรือนหลวงภายในเวียงด้วยฐานะที่เป็นเมืองหลวงควบคุมดูแลการเมืองการปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เวียงนี้จึงได้ชื่อเรียกขานกันทั่วไปว่า “เวียงกุ๋มก๋วม” หรือ “เวียงกุมกาม” ในเวลาต่อมา

อาจด้วยเพราะเวียงกุมกามตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มบริเวณคุ้งน้ำเมื่อย่างเข้าหน้าฝน พื้นที่โดยรอบก็จะชุ่มแฉะ คราวใดที่แม่น้ำปิงมีปริมาณน้ำสูงมาก ก็จะถาโถมเข้าท่วมเวียงได้ง่าย หลักฐานจากชั้นดินในการขุดค้นทางโปราณคดีและการขุดแต่งโบราณสถานในเวียงกุมกาม ยืนยันความจริงว่าเวียงกุมกามประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม ทั้งนี้เห็นได้จาก โบราณสถานวัดร้างหลายแห่งพบอยู่ทั้งในเวียงและนอกเวียงนั้น ถูกดินเหนียวร่วนปนกรวดทราย ซึ่งเป็นตะกอนน้ำพัดพา กลบฝังอยู่ลึกประมาณ ๑.๕๐ – ๒.๐๐ เมตร ส่งผลเสียหายแก่บ้านเมืองอยู่เป็นประจำ เป็นเหตุให้พญามังรายทรงย้ายมาสร้างเวียงใหม่

ณ บริเวณที่พระองค์พร้อมด้วยพระสหาย คือ พ่อขุนรามคำแหง แห่งเมืองสุโขทัย และพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา พิจารณาร่วมกันว่าบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม มีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกอยู่ระหว่างอุสุจบรรพตหรือดอยสุเทพทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กับแม่น้ำปิงซึ่งไหลผ่านมาทางด้านทิศตะวันออกนั้น เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงโปรดให้สร้างเวียงแห่งใหม่ มีขื่อว่า “นพบุรีศรีนครงพิงค์เชียงใหม่” ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาแทนเวียงกุมกาม เมืองปี พ.ศ. ๑๘๓๙

แม้ศูนย์กลางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การปกครอง เศรษฐกิจ ศิลปะ และวิทยาการต่าง ๆ จะย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่แล้วในช่วงเวลานั้น เวียงกุมกามก็ยังคงความสำคัญโดยเฉพาะกับราชวงศ์มังราย มีผู้คนอยู่อาศัยสืบต่อกันมา เห็นได้จากเมื่อครั้งที่ มีงานอภิเษกแต่งตังพระนางปายโคขึ้นเป็นราชเทวี และงานฉลองยศอุปราชเจ้าพญาไชยสงครามราชโอรสพญามังรายโปรดให้มีการเฉลิมฉลองทั้งเวียงเชียงใหม่และเวียงกุมกามถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน เมื่อครั้งประชวรก็โปรดที่จะเสด็จมาประทับพักผ่อนที่เวียงกุมกาม เมื่อครั้นสิ้นสมัยของพญามังรายแล้ว มีเรื่องเล่ากันว่า นางจีมคำ พระราชเทวีของพญาแสนภู ได้เสด็จเยี่ยมเวียงกุมกามโดยข้ามน้ำแม่โทอยู่บ่อยครั้ง จนได้เรียกบริเวณนี้ว่า ขัวจีมคำ หรือสะพานจีมคำ ล่วงมาถึงสมัยพญากือนาซึ่งมีความกล่าวไว้ในศิลาจารึกพบที่วัดพระยืนว่า มีผู้คนจำนวนมากจากหริภุญไชยเชียงใหม่ และเวียงกุมกาม ร่วมกันเป็นศรัทธาทำบุญถวายทาน แด่พระสุมนเถระที่พญากือนาอาราธนามาแต่เมืองสุโขทัย เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา จนถือได้ว่าเป็นการเริ่มยุคทองของพุทธศาสนาในอาณาจัตรล้านนา ต่อมาในสมัยพญาแสนเมืองมา พระองค์เสด็จมาเวียงกุมกามเพื่อหล่อพระพุทธรูปเจ้าสิกขี ๑ พระองค์ แล้วให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดการโถมช้างค้ำกลางเวียง

เวียงกุมกาม เริ่มประสบปัญหาความยุ่งยาก เมื่อท้าวมหาพรมเจ้าเมืองเชียงราย ได้นำกำลังพลจำนวนหนึ่งเข้ามากวาดต้อนผู้คนที่เวียงกุมกาม เพื่อเข้าตีเวียงเชียงใหม่ แต่ไม่สามารถต้านทานกำลังรบของพญาแสนเมืองมาได้ จึงยกทัพกลับไป เวียงกุมกาม ใช่จะมีความสำคัญเพราะเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของเวียงเชียงใหม่เท่านั้น แต่ชื่อ กุมกามดูเหมือนจะเป็นชื่อที่คุ้นเคย ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อราชบุตรของพญาแสนเมืองมา คือ ท้ายยี่กุมกามด้วย อย่างไรก็ตามในสมัยพญาติโลกราช เวียงกุมกาม มีฐานะเป็นเพียงพันสาหนึ่งของเวียงเชียงใหม่ โดยมี หมื่นกุมกาม เป็นผู้ปกครองดูแลต่อมา ในสมัยพระเมืองแก้ว พระองค์เสด็จมาบำเพ็ญกุศลสร้างวิหาร และอัญเชิญพระประติมาทองสำริด มาประดิษฐานบนแท่นชุกชีที่วัดกุมกามที่ปาราม หรือ วัดเกาะกุมกามด้วย

ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ เชียงใหม่เสียแก่พม่า ผลของสงครามและฐานะของความไร้อิสรภาพ ประกอบกับอุทกภัยทางธรรมชาติหลายครั้งหลายหน อาจมีส่วนทำให้บทบาทของเวียงกุมกามหมดความสำคัญสูญหายใปจากหน้าประวัติ ศาสตร์ตลอดสมัยการปกครองของพม่าที่ยึดครองล้านนาอยู่ ๒๑๖ ปี แม้ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เวียงกุมกามคงเป็นแค่ตำนานของผู้คนในเวียงเชียงใหม่ ครั้งเมื่อ พระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมด้วยพระยาจ่าบ้าน ได้ยกทัพมาต่อสู้กับพม่าที่

ท่าวังตาล ยังไม่ปรากฏว่ามีการกล่าวถึงชื่อ กุมกาม ตราบจนตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองเวียงเชียงใหม่พระองค์แรก ได้ฟื้นฟูบ้านเมืองโดยใช้นโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ทำให้ผู้คนมาตั้งถิ่นฐานในเวียงเชียงใหม่มากขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงบริเวณเวียงกุมกามด้วย ในสมัยรัชการที่ ๕ มีบันทึกชึดเจนว่า ผู้คนเข้าไปอยู่อาศัยเป็นชุมชนขนาดเล็กที่ “บ้านช้างค้ำท่าวังตาล” กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา กรมศิลปากร สำรวจและขุดค้น พบโบราณสถาน วัดร้างหลายแห่ง มิติของเมืองในตำนานเริ่มฉายภาพเด่นชัดขึ้น จนกระทั่งเป็นข้อยุติว่า ท่าวังตาล คือ ที่ตั้งแห่ง “เวียงกุมกาม รุ่งอรุณแห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”

 

tour wiang kum kam chiang mai 3

เวียงที่สูญหายและหวนคืน
เวียงกุมกามปัจจุบัน อยู่ในเขตการปกครองท้องถิ่งขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังตาล องค์การบริหารส่วนตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหอย อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๕ กิโลเมตร

จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศ และการสำรวจทางโบราณคดี มีร่องรอยแนวกำแพงเวียงทางทิศใต้คูเวียงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก สันนิษฐานตามสภาพว่า เวียงมีลักษณะสี่เหลี่ยมผีนผ้า ขนาดกว้าง ๖๐๐ เมตร ยาว ๘๕๐ เมตร โดยประมาณ สำนักงานศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ กรมศิลปากร ดำเนินการขุดค้นขุดแต่ง และอนุรักษ์โบราณสถาน ที่อยู่ทั้งภายใน และภายนอกเวียงเล้ว จำนวน ๔๒ แห่ง ยืนยันว่า ฐานโบราณสถานทุกแห่งถูกทับถมด้วยตะกอนน้ำท่วม ในระดับ ๑ – ๒ เมตร เวียงกุมกามในปัจจุบัน จึงมีสภาพดังเช่น “นครโบราณใต้พิภพ” ที่ถูกเปิดเผยออกมาให้สาธารณชนได้รับรู้ ศิลปกรรมในเวียงกุมกาม

โบราณสถานที่โดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรม ล้วนเป็นศาสนาสถานเนื่องในพุทธศาสนา ได้แก่ เจดีย์เหลี่ยม ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขี้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยถ่ายแบบสถาปัตยกรรมมาจาก เจดีย์กู่กุดวัดจามเทวี จังหวัดลำพูน องค์เจดีย์มีฐานสี่เหลี่ยม ประดับซุ้มพระโดยรอบ ซ้อนชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ มีการบูรณะซ่อมแซมใหญ่ โดยช่างชาวพม่าทำให้ลวดลายปูนปั้น และประติมากรรมพระพุทธรูปในซุ้มเป็นศิลปะแบบพม่า

เจดีย์ที่วัดหัวหนอง มีช้างหมอบคู้ขาหน้าล้อมรอบฐานเจดีย์ลักษณะเดียวกันกับช้างล้อมที่เจดีย์รุวันเวลิ ในประเทศศรีลังกา เป็นอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมในเวียงกุมกาม ได้พัฒนาเป็นศิลปะล้านนาอย่างแท้จริง โดยสร้างเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีเรือนธาตุสูง ประดับลูกแก้วอกไก่และชุดมาลัยเถามียอดเป็นองค์ระฆังขนาดเล็ก เช่น เจดีย์ที่วัดกู่ไก่ไม้ซ้ง วัดธาตุขาว วัดอีก้าง วัดกู่ขาว เป็นต้น เจดีย์บางองค์มีเรืองธาตุสูง และประดับซุ้มพระ ๔ ด้าน โดยมีชุดมาลัยเถารองรับองค์ระฆังขนาดเล็ก เช่น เจดีย์ที่วัดปู่เบี้ย

วัดวาอารามบางแห่งที่เพิ่งถูกค้นพบในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ไม่ปรากฏยอดเจดีย์ แต่มีฐานเจดีย์ วิหาร กำแพงแก้ว ฝังจมอยู่ใต้พื้นดิน ๑ – ๒ เมตร ยังคงรักษางานลวดลายปูนปั้นที่วิจิตร งดงามไว้เป็นอย่างดี เช่น

หัวบันไดมกรคายนาค ลายประดับสิงห์ เหมราช กิเลน ที่วัดหนานช้าง หงส์ ที่วัดหัวหนอง เทวดาปูนปั้นแบบนูนสูงและลวดลายปูนปั้นมกรคายมังกร ที่วัดกู่ป้าด้อม เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชย เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ หมิง – ชิง และชิ้นส่วนพระพุทธรูป ซึ่งข้อมูลโดยละเอียด รับทราบได้จาก “ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม”

วิถีชีวิตของผู้คนในเวียงกุมกาม ย่อมหนีไม่พ้นกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่ด้วยจารีตประเพณี อันสืบเนื่องมาจากข้อกฎหมายโบราณที่เรียกว่า “มังรายศาสตร์” ซึ่งเป็นหลักยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนมาแต่โบราณกาล ทำให้กลิ่นอายของล้านนายังคงอบอวลอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้คนที่เรียกตนเองว่า “คนเมือง”

ประจักษ์พยานเห็นได้จาก งานรื่นเริง และงานบุญในเทศกาล สำคัญทางพุทธศาสนา ที่ประกอบด้วยพิธีกรรม การแต่งกาย ศิลปะการแสดง และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยความร่วมมือของฝ่ายการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น กำลังดำเนินการฟื้นฟู และอนุรักษ์เวียงกุมกาม ให้คืนสู่บรรยากาศในอดีตที่รุ่งเรืองของ รุ่งอรุณแห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เป็น “เมืองประวัติศาสตร์” ที่มีวิถีชีวิตของผู้คนอยู่ร่วมกันกับโบราณสถานอย่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1069 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์