รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง เชียงใหม่

หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง

ผลิตภัณฑ์ มีหลายอย่างเช่น หม้อแกง หม้อน้ำ แจกัน โดยเฉพาะน้ำต้น (คนโทใส่น้ำที่ชาวเหนือนิยมวางไว้หน้าบ้านให้ผู้ผ่านไปมาได้ดื่มดับกระหาย) นั้นเป็นที่นิยมทั่วไปแก่คนที่พบเห็น ปัจจุบันได้มีการพัฒนากรรมวิธีในการผลิต และรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสันสดขึ้น แต่มีการทำเครื่องปั้นดินเผาในบางครัวเรือนเท่านั้น การเดินทาง บ้านเหมืองกุงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามเส้นทางเชียงใหม่-หางดง ประมาณ 10 กิโลเมตร และระยะทางห่างจากถนนสายวงแหวน (ทางหลวงหมายเลข 11 สนามบิน) ประมาณ 6 กิโลเมตร โดยอยู่ก่อนถึงทางแยกตัดใหม่สายหางดง-สะเมิงเพียงเล็กน้อย

หน่วยพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 6 เชียงใหม่

หน่วยพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 6 (แม่โถ)

ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 160 กม. อยู่ ต.บ่อสลี อ.ฮอด ตามเส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ถึง กม.ที่ 55 แล้วแยกเข้าเส้นทางไปแม่โถอีก 16 กม.สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ บ่อน้ำแร่ (ตรงทางแยกเข้า อำเภอแม่แจ่ม) สวนสนบ่อแก้ว (กม.ที่ 36) หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) และกะเหรี่ยง ทัศนียภาพโดยรอบ และแปลงทดลองปลูกไม้ดอกเมืองหนาว ฯลฯ

สถานีทดลองปลูกพรรณไม้บ่อแก้ว เชียงใหม่

สถานีทดลองปลูกพรรณไม้บ่อแก้ว (สวนสนบ่อแก้ว)

ตามเส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง กิโลเมตรที่ 36 สถานีฯเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจวัตถุดิบเพื่อทำเยื่อกระดาษ เป็นแปลงทดลองปลูกพืชจำพวกสน และยูคาลิบตัส ในเนื้อที่ทั้งหมด 2,072 ไร่ อากาศของที่นี่ชื้นและเย็นตลอดปี งามด้วยทิวสนที่ปลูกอย่างเป็นระเบียบงามตา จึงทำให้บริเวณสถานีกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง

สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง เชียงใหม่

สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง

บ้านมุ้งขุนแม่วาง หมู่ที่6 ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม พืชพันธุ์ที่นำมาวิจัยที่นี่ต่างมีฤดูกาลติดดอกและพักตัวผลัดเปลี่ยนกันตลอดทั้งปี ไม่ว่าวันหยุดพักผ่อนจะเป็นเดือนไหนเมื่อมาที่นี่เป็ไม่นเสียเที่ยว เพราะถึงจะพลาดชมความงามของดอกซากุระนักท่องเที่ยวก็จะได้ชิมสตรอว์เบอร์รี่ปลอดสารพิษสดจากไรแทนหรือ ถ้ามาไม่ทันช่วงท้อติดผล ก็จะได้เห็นความงามของดอกสาลี่สีขาว และไม้ดอกเมืองหนาวนานาพัน์พร้อมกับนั่งจิบชาทอดอารมณ์ ชมวิวบนยอดดอย ยิ่งบนดอยสูงอย่างที่แม่จอนหลวงนี้มีการปรับแต่งพื้นที่แบบขั้นบันได ช่วยขยายมุมมองทัศนียภาพโดยรอบได้กว้างยิ่งขึ้น

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง เชียงใหม่

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง)

หมู่ที่ 10 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง เป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ซึ่งอยู่ในวงล้อมของแนวเทือกเขาอินทนนท์ เหมาะสำหรับผู้ต้องการศึกษาธรรมชาติ หรือท่องเที่ยวเชิงการเกษตร มีพันธุ์ไม้เมืองหนาวนานาชนิดที่พร้อมใจกันออกดอกบานสะพรั่งยามหน้าหนาว ออกผลเต็มต้นให้เด็ดชิมในฤดูร้อน และยังมีนกในเทือกเขาอินทนนท์นานาชนิดให้ศึกษา รวมทั้งมีทิวทัศน์ที่เขียวชอุ่มโอบล้อมโดยรอบด้วยไม้ใหฯเปลี่ยนสีสันตามฤดูกาล นักท่องเที่ยวสามารถเลือกชม/ศึกษาแปลงทดลองการเกษตรภายในศูนย์ได้ โดยมีเจ้าหน้าที่นำชมตามเส้นทางที่กำหนด พาหนะที่ใช้ในการเดินทางภายในศูนย์ ควรเป็นรถปิกอัพ หรือ รถขับเคลื่อนสี่ล้อ และจักรยาน โดยจุดที่น่าสนใจต่างๆ ได้แก่ แปลงไม้ผลเมืองหนาว แปลงกาแฟ โรงกะเทาะเปลือกกาแฟ และแปลงทอสอบพันธุ์แมคคาเดเมีย นักท่องเที่ยวสามารถทอลองเก็บผล และชิมเนื้อสดๆซึ่งมีรสชาติหอมหวานมัน หรือจะชิมแบบอบคั่วเกลือทางศูนย์ก็มีให้ชิมและยังมีการทดลองสกัดน้ำมันจากผลไปทำเครื่องสำองด้วย

ศูนย์วัฒนธรรม เชียงใหม่

ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

ตั้งอยู่บนถนนสายเชียงใหม่-หางดง เป็นที่รวมศิลปะและวัฒนธรรมของล้านนา เป็นหมู่เรือนไทยไม้สัก ประตูหน้าต่างประดับด้วยไม้แกะสลักอย่างสวยงาม มีร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายร้าน และมีหมู่บ้านชาวเขาให้เที่ยวชม ส่วนในตอนกลางคืนมีบริการอาหารเย็นแบบ“ขันโตก” ซึ่งประกอบด้วยอาหารเหนือ เช่น แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง แคบหมู เป็นต้น โดยนักท่องเที่ยวจะรับประทานอาหาร และชมการแสดงฟ้อนพื้นเมืองไปพร้อมๆ กัน เมื่อเสร็จสิ้นการแสดงฟ้อนรำ พื้นเมืองแล้ว นักท่องเที่ยวจะได้ชมการแสดงของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ม้ง (แม้ว) อีก้อ มูเซอ เย้า และลีซอ อีกทั้งแต่ละเผ่ามีการแสดงที่ไม่เหมือนกัน โดยแสดงทุกวันตั้งแต่เวลา 19.00-22.00 น. รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. (053) 274540, 275097 นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแห่งที่ จัดกิจกรรมแบบนี้ เช่น คุ้มแก้วพาเลซ โทร. 214315 ขันโตกบ้านร้อยจันทร์ โรงแรมปางสวนแก้ว โทร. 224444 เป็นต้น

วัดพันเตา เชียงใหม่

วัดพันเตา

ตั้งอยู่บนถนนพระปกเกล้า ติดกับวัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นหอคำหรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ ซุ้มประตูทำเป็นรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์

สร้างขึ้นในพุทธศวรรตที่ 19 ประมาณปลายปี พ.ศ. 1934 มีความเก่าแก่ร่วมสมัยเดียวกันกับวัดเจดีย์หลวง สร้างขึ้นเพื่อเป็นบริวารล้อมรอบเขตพุทธาวาสของวัดเจดีย์หลวงซึ่งมีอยู่ด้วย กัน ๔ วัด ในทิศอันเป็นมงคลทั้ง 4 มุม แต่เดิมมีชื่อเรียกว่าวัดปันเต้า ต่อมาในปี พ.ศ. 1954 ได้มีการเททองหล่อพระอัฏฐารส พร้อมทั้งพระสาวกพระโมคคัลลานะ และ พระสารีบุตร ได้ใช้วัดปันเต้านี้ที่เททองสำริด ในการเททองนั้นจะต้องเทอย่างต่อเนื่อง เตาที่ใช้จึงมีถึงพันเตา แล้วพิธีเททองแล้วเสร็จในเวลาต่อมาจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดพันเตา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2101 เมืองเชียงใหม่ตกอยู่ใต้การยึดครองของพม่าเป็นเวลาถึง 216 ปี วัดต่างๆ จึงถูกปล่อยทิ้งร้าง ผู้คนในเมืองเชียงใหม่ถูกต้อนไปยังพม่า จึงกระทั่งกองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรีส่งกำลังมาขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จจึง ตั้งเจ้ากาวิละขึ้นเป็นเจ้าปกครองนครเชียงใหม่ วัดพันเตาจึงได้รับการบูรณะขึ้น ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ได้โปรดให้รื้อคุ้หลวงของพระเจ้ามโหตรประเทศฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่๕ สร้างเป็นวิหารถวายวัดพันเตาเป็นวิหารไม้สักทั้งหลัง นับว่าเป็นคุ้มหลวงที่เหลืออยู่เพียงหลังเดียวของล้านนาในปัจจุบัน

โรงงานไทยศิลาดล เชียงใหม่

โรงงานไทยศิลาดล

เป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบดินเผาแบบโบราณ ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร โรงงานเปิดจันทร์-เสาร์ เวลา 8.00-17.00 โทร. (053) 213245, 213541อยู่ในอำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ เป็นโรงงานผลิตเครื่องเคลือบดินเผาแบบโบราณ ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร โรงงานเปิดจันทร์-เสาร์ เวลา 8.00-17.00 น. โทร. 0 5321 3245, 0 5321 3541

โรงงานทำเครื่องเขิน เชียงใหม่

โรงงานทำเครื่องเขิน

เชียงใหม่มีโรงงานทำเครื่องเขินอยู่ที่บริเวณ ถนนนันทราม และถนนเชียงใหม่ - สันกำแพง เครื่องเขินเป็นสินค้าพื้นเมือง ที่เป็นหน้าเป็นตาของจังหวัดเชียงใหม่ มีความสวยด้วยลวดลายต่าง ๆ นักท่องเที่ยวนิยมซื้อไปใช้และประดับบ้านสวยงามยิ่ง ส่วนมากแล้ว ในบริเวณตอนเหนือของไทย รอบๆ เมืองเชียงใหม่ นับเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเครื่องเขินที่รูปแบบแตกต่างจากภาคพื้นเอเซีย เช่น จีน และญี่ปุ่นที่โดยมากมักจะทำเป็นรูปภาชนะเบาๆ เช่นถ้วย ขัน กล่องบุหรี่ ถาด แจกัน เป็นต้น

รุ่งอรุณน้ำพุร้อน เชียงใหม่

รุ่งอรุณน้ำพุร้อน

เป็นสวนดอกไม้นานาพรรณ ประดับด้วยก้อนหินขนาดใหญ่รูปร่างเหมือนสัตว์ชนิดต่างๆ มีบ่อน้ำแร่อุณหภูมิสูงถึง 105 องศา เซลเซียส มีห้องอาบน้ำแร่และบ้านพัก การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับน้ำพุร้อนสันกำแพง รายละเอียดติดต่อ โทร (053) 248475 หรือกรุงเทพฯ โทร 3740245-8ค่าผ่านทาง ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 931 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์