รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ดอยปู่หมื่น เชียงใหม่

ดอยปู่หมื่น

ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย ระยะทางห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 174 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง มีทัศนียภาพอันสวยงามรอบๆ หน่วยงานขนบธรรมเนียมของชาวเขาเผ่ามูเซอ ชมยอดดอยผ้าห่มปกที่สวยงามแปลงดอกไม้ และแปลงทดลองปลูกพืชเมืองหนาวพร้อมทั้งบ้านพักทั้งหมด 6 หลัง รับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50

คนการเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง ประมาณ 140 กิโลเมตร ฝาง-แม่อาย 9 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าหน่วยงานอีก 14 กิโลเมตร ติดต่อที่พักได้ที่ ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ โทร. 0 2579 7586-7

จุลกฐิน เชียงใหม่

จุลกฐิน

หลังจากผ่านเทศกาลออกพรรษาแล้วยังมีกฐินที่เรียกว่าจุลกฐิน หรือ ที่คนโบราณเรียกว่า"กฐินแล่น"ที่มีลักษณะพอเศษ คือ ไม่ใช่ถึงเวลาก็สามารถไปทอดที่วัดได้ หากแต่คิดจะร่วมจุลกฐินแล้วต้อวเตรียมตัวก่อนเข้าพรรษาด้วยซ้ำไป โดยเริ่มตั้งแต่ ปลูกฝ้าย ดูแลรักษาให้งอกงามจนต้นฝ้ายโตแตกเป็นปุยพอดีเมื่อถึงเวลาทอดกฐิน สาวพรมจรรย์ 6 นาง นุ่งขาว ห่มขาว ฟ้อนรำจากวิหารออกไปสู่ไร่ฝ้าย เพื่อเก็บมาให้ชาวบ้านช่วยกันดีดฝ้ายจนฟู นำมาปั่นเป็นหลอดเป็นเส้นใย แล้วทอย้อมสีให้เสร็จ ผึ่งแดดให้แห้ง รีดให้เรียบเพียงชั่วข้ามคืนตอนบ่ายตั้งขบวนด้วยความเริงรื่น ปลื้มใจที่ถวายกฐินเสร็จจากนั้นแห่ผ่านทุ่งนา ด้วยกลองสะบัดชัย ตามด้วยการฟ้องเจิง ศิลปะเก่าแก่ของพ่อเฒ่า มาถวายที่วัดยางหลวง วัดเก่าแก่ของ อ.แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่

งานร่มบ่อสร้าง เชียงใหม่

งานร่มบ่อสร้าง

จัดขึ้นประมา เดือนมกราคมของทุกปีที่บริเวณศูนย์หัตถกรรมร่อบ่อสร้างมีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ทำจากกระดาษสา โดยเฉพาะร่มบ่อสร้างมีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ประเพณีพื้นบ้าน และการประกวดต่างๆ

งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ เชียงใหม่

งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ

จัดขึ้นเดือนกุมภาพันธ์ในงานจัดให้มีการประกวดสวนหย่อมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับภาคเช้าของงานจะจัดให้มีขบวนรถบุปผชาติ    แห่จากบริเวณหน้าสถานีรถไฟ ผ่านสะพานนวรัฐไปสู่สวนสาธารณะหนองบวกหาด

งานประเพณีสงกรานต์ เชียงใหม่

งานประเพณีสงกรานต์

จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดงานประเพณีสงกรานต์ขึ้นเป็นประจำทุกปี ในระหว่างวันที ่13-15 เมษายนในวันที่ 13 จะเป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธ-สิหิงค์ และขบวนแห่นางสงกรานต์ โดยเริ่มจากวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร แห่ไปรอบเมืองเชียงใหม่แล้วมีพิธีสรงน้ำพระ การก่อพระเจดีย์ทราย การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และการเล่นสาดน้ำกัน

งานประเพณียี่เป็ง เชียงใหม่

งานประเพณียี่เป็ง

จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปีเป็นงานประเพณีที่น่าสนใจยิ่งของเชียงใหม่ จะมีการปล่อยโคมลอยเพื่อเป็นการบูชาประธาตุจุฬามณีบนสวรรค์มีการจุดดอกไม้ไฟ ประกวดกระทงขบวนแห่นางนพมาศ

โครงการหลวงห้วยผักไผ่ เชียงใหม่

โครงการหลวงห้วยผักไผ่ (สวนกุหลาบหลวง)

ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ฮะ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง บนเส้นทางสายสะเมิง-หางดง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 17 แยกเข้าไปประมาณ 300 เมตร สามารถเดินทางจากเชียงใหม่ได้สองทาง คือ ตามทางสายเชียงใหม่-แม่ริม-สะเมิง-หางดง ระยะทาง 32 กิโลเมตร และเส้นทางสายเชียงใหม่-หางดง-สะเมิง ระยะทาง 43 กิโลเมตร งานหลักของโครงการฯ คือ การรวบรวม ศึกษา และขยายพันธุ์กุหลาบชนิดต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจคือ “สวนกุหลาบหลวง” ซึ่งเป็นแปลงกุหลาบในเนื้อที่12 ไร่ ปลูกไล่ไปตามไหล่เขา มองดูสวยงาม นับเป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์กุหลาบที่มากที่สุด ช่วงฤดูที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว คือ เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ตามเส้นทางสายนี้มีรีสอร์ท หลายแห่งที่มีการตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับอย่างสวยงาม และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม หรือไปแค้มป์ปิ้งได้ เช่น กฤษดาดอย อุทยานล้านนา ดูรายละเอียดในข้อมูลที่พัก

โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ เชียงใหม่

โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์

สภาพโดยทั่วไป หมู่บ้านวัดจันทร์ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่บ้านเด่น หมู่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อ. แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 960 เมตร รวม 19 หมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีความลาดชันสูงกว่า 35 เปอร์เซนต์ มีที่ราบแคบ ๆ ตามหุบเขา มีสภาพป่าทั่วไปเป็นป่าสนเขา,สนสองใบ, สนสามใบ, เต็งและ รัง พื้นที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 19 องศาเซลเซียส สูงสุด 37.4 องศา ต่ำสุด 4 องศาเซลเซส และแหล่งน้ำที่สำคัญคือ ห้วยแจ่มหลวง, ห้วยฮ้อม, ห้วยแม่อุบ, ห้วยนาเกล็ดหอยและห้วยยาเป็นแหล่งต้นน้ำแม่แจ่ม

ปัจจุบันโครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ดำเนินการปลูกสร้างเสริมป่า โดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ปลูก 100 ไร่ เป็นแปลงสาธิต และจัดสรรให้ราษฎร ในพื้นที่โครงการฯ ปลูกปีละ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นครอบครัวๆละ 40 ไร่และดูแลรักษาเป็นระยะเวลา 5 ปี จนถึงปัจจุบัน ได้รับอุดหนุนรัฐบาลดำเนินการปลูกป่าไปแล้ว ราว 9,400 ไร่และได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ไปด้วย

การเดินทาง แผนที่วัดจันทร์

การเดินทางจาก อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอนเป็นเส้นทางที่สะดวกและใช้เวลาน้อยที่สุด เส้นทางอื่นเป็นทางลูกรัง

เส้นแรกทางหมายเลข 107 ตรงตลาดแม่มาลัยเลี้ยวซ้าย เข้าเส้นทาง 1095 (ตลาดแม่มาลัย - ปาย) และก่อนถึงอำเภอปายประมาณ 13 กิโลเมตรตรงด่านป่าไม้ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปยังเส้นทางหมายเลข 1265 ตรงป้ายบอกทางเข้าบ้านวัดจันทร์ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร สภาพถนนราดยางตลอดสาย สามารถขับรถเก๋งยังวัดจันทร์ได้สบาย ตลอดเส้นทางท่านจะได้เห็นทิวทัศน์ของป่าสน รวมระยะทาง 160 กิโลเมตร ระยะเวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง เส้นทางที่สองสามารถเดินทางจากหมายเลขทางหลวง107 (แม่ริม-สะเมิง-บ่อแก้ว-วัดจันทร์) สามารถเดินทางจากหมายเลขทางหลวง 107 เข้าอำเภอแม่ริมแล้วมุ่งไปยังทางหลวงหมายเลข 1096 ผ่านอำเภอสะเมิงไปบ้านแม่สาบ บ้านบ่อแก้ว แจ่มน้อย และเข้าหมู่บ้านวัดจันทร์ จากหมู่บ้านไปทางเส้นทางวัดจันทร์ปายประมาณ 3 กิโลเมตร โครงการฯจะอยู่ทางซ้ายมือของท่าน รวมระยะทาง 154 กิโลเมตร เส้นทางลูกรังสลับยางดำ เดินทางประมาณ 4-5 ชั่วโมง

แนะนำให้อ่าน กระทู้บ้านวัดจันทร์ แนะนำให้อ่าน โครงการเกษตรที่ราบสูงบ้านวัดจันทร์ เลยจากที่นี่ไปอีก 2 กม. สุดทางหลวงแผ่นดิน (ณ ปี พ.ย. 50) ที่ต้องเขียนไว้อย่างนี้เพราะผมทราบมาว่าทางการฯกำลังเตรียมตัดถนนจากที่นี่ไปอ.แม่แจ่ม

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เชียงใหม่

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2520 เสร็จในปี พ.ศ. 2528 จุดประสงค์สร้างเพื่อประโยชน์ของการชลประทาน ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่แตง อยู่ที่หลักกม.ที่ 41 บนถนนสายเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงหมายเลข 107) เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติศรีลานนา มีที่พักและร้านอาหารบนเรือนแพไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวและมีเรือหางยาวพาเที่ยวชมทัศนียภาพเหนือเขื่อน

เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เชียงใหม่

เขื่อนแม่กวงอุดมธารา

เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เป็นเขื่อนดินถมบดอัดแน่น สูง 68 เมตร สันเขื่อนยาว 610 เมตร สร้างปิดกั้นลำน้ำแม่กวง นอกจากนั้นยังได้ก่อสร้างเขื่อนดินปิดช่องเขาขาดด้านฝั่งขวาสูง 42 เมตร สันเขื่อนยาว 640 เมตร และ เขื่อนดินปิดช่องเขาขาดด้านฝั่งซ้ายอีกแห่งหนึ่งสูง 54 เมตร สันเขื่อนยาว 655 เมตร สามารถเก็บกักน้ำในอ่างด้านเหนือเขื่อนได้ประมาณ 263 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 186 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูก 13 ตำบล ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนประมาณ 175,000 ไร่

เกิดจากแผนพัฒนางานชลประทานในลุ่มน้ำแม่กวง ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2472 โดยได้ก่อสร้างฝายผาแตก ขึ้นที่ดอยลอง บ้านผาแตก เมื่อ พ.ศ. 2478 ต่อมากรมชลประทานได้ปรับปรุงฝายใหม่ สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกได้ 72,750 ไร่ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธาราแห่งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทาน ศึกษาการพัฒนาลำน้ำสาขาของลำน้ำแม่กวง และจัดหาที่ดินทำกินใหม่ให้แก่ราษฎร ซึ่งพื้นที่ทำกินดังกล่าวจะถูกน้ำท่วมหลังการก่อสร้างเขื่อน คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมชลประทานเริ่มงานเบื้องต้น เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 กรมชลประทานจึงได้ขอความช่วยเหลือกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการศึกษาโครงการออกแบบและก่อสร้าง และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมชลประทานก่อสร้างเขื่อนแม่กวงอุดมธาราเมื่อ พ.ศ.2529 งานก่อสร้างตัวเขื่อนและอาคารประกอบจึงได้เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2531 และเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการใน พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ เขื่อนเก็บกักน้ำโครงการชลประทานแม่กวงให้กับกรมชลประทาน ทรงพระราชทานชื่อ ว่า “ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา” เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

ที่ตั้ง อยู่ที่อำเภอแม่แตง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 956 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์