การละเล่นพื้นบ้าน กระบี่
การละเล่นพื้นบ้าน
ลิเกป่า เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ดัดแปลงมาจากลิเกสิบสองภาษา เริ่มต้นจะเล่นเรื่องราวของแขกแดงว่ามาจากเมืองลักกะตา (กัลกัตตา) มาค้าขายบนฝั่งทะเลตะวันตก แล้วมาได้ภรรยาเป็นคนพื้นเมืองชื่อ ยายี หรือ ยาหยี และพากลับบ้านเมือง จากนั้นจะแสดงเรื่องอื่นต่อไป ลิเกป่าเป็นการแสดงที่ประสานวัฒนธรรมหลากหลายเข้าด้วยกัน อาทิ ดนตรีจะใช้รำมะนา ทับโหม่ง กลอง ฉิ่ง บทกลอนจะมีการประสมทำนองมโนราห์กับเพลงบุรันยาวา ศิลปินลิเกป่าในกระบี่มีจำนวนมาก เพราะนิยมเล่นกันมาช้านาน และน่าจะเกิดขึ้นครั้งแรกในดินแดนบริเวณนี้ ปัจจุบันลิเกป่ายังมีหลายคณะ เช่นนายตรึก ปลอดฤทธิ์ ซึ่งได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม หนังตะลุง แสดงให้เห็นการผสมผสานกับวัฒนธรรมอินเดีย ในจังหวัดกระบี่ มีศิลปินหนังตะลุงหลายคณะ มโนราห์ การแสดงพื้นบ้านของจังหวัดทางภาคใต้ที่ขึ้นชื่อที่แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวภาคใต้ได้เป็นอย่างดี รองเง็งและเพลงตันหยง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากมลายู ซึ่งดัดแปลงมาจากโปรตุเกสอีกทอดหนึ่ง เดิมเพลงรองเง็งนิยมแสดงในบ้านขุนนาง ภายหลังชาวบ้านนำมาเล่นและพัฒนาดัดแปลงมาเป็นเนื้อร้องภาษาไทย เรียกว่าเพลงตันหยง
คำยืนยันลูกค้า
คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - กรุ๊ปคณะคาทอลิก แห่งประเทศไทย แสวงบุญพนมเปญ เสียมเรียบ 34 ท่าน Part3
15696 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - ทีมบิ้วดิ้ง เขาใหญ่ (ลิฟท์สตาร์) 20 ท่าน Part 3
6591 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - CSR นครนายก (เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส) 75 ท่าน Part 2
5409 Views