พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สารบัญ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
ตั้งอยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช เป็นอาคารปั้นหยาชั้นเดียว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 เดิมใช้เป็นศาลากลางจังหวัด ต่อมาทางจังหวัดได้มอบอาคารหลังนี้ให้กรมศิลปากร เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
ภายในมีการจัดแสดงเรื่องราวท้องถิ่น ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติการตั้งเมือง โบราณวัตถุซึ่งเป็นหลักฐานทางด้านศิลปโบราณคดี หัตถกรรมพื้น บ้าน การละเล่นพื้นเมือง และเครื่องใช้ของเจ้าเมืองอุบล
ลักษณะอาคาร
เป็นตึกชั้นเดียวยกพื้นสูง ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงปั้นหยา แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลาง มีระเบียงทางเดินและห้องขนาดเล็กอยู่โดยรอบ เหนือกรอบประตูและหัวเสารับชายคา ที่ระเบียงประดับด้วยไม้ฉลุลายพันธุ์พฤกษา
เดิมเป็นอาคารศาลากลางจังหวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑ บนที่ดินซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ทรงขอมาจากทายาทของราชบุตร(สุ่ย) เพื่อใช้เป็นที่สาธารณะประโยชน์สำหรับสิ่งก่อสร้างสถานที่ราชการมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ มีลักษะอาคารเป็นตึกชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูนพื้นฐานหลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องว่าวแผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลาง มีระเบียงทางเดิน และห้องขนาดเล็กอยู่โดยรอบเหนือกรอบประตูและหัวเสารับชายคาที่ระเบียงมีการประดับด้วยไม้ฉลุลายพันธุ์พฤกษา
ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเติบโตขึ้น อาคารศาลากลางหลังนี้มีสภาพคับแคบไม่เพียงพอกับหน่วยงานราชการที่เพิ่มขึ้น จึงสร้างอาคาศาลากลางหลังใหม่ทางด้านตะวันตกของทุ่งศรีเมืองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ส่วนอาคารศาลากลางหลังเก่าได้ใช้เป็นสำนักงานของหน่วยงานราชการต่างๆ มาโดยตลอด
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบอาคารศาลากลางเก่าให้กรมศิลปากรทำการบูรณะและใช้ประโยชน์จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยการจัดแสดงเรื่อง ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้าน และชาติพันธุ์วิทยา โดยแบ่งหัวข้อเรื่องเป็น ๑๐ ห้องจัดแสดง ต่อมา กรมศิลปากร ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒