10 ชุมชนอนุรักษ์เทียนพรรษา อุบลราชธานี
สารบัญ
ชุมชนวัดบูรพา
ตั้งอยู่ที่ ถ.พโลรังฤทธิ์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในอดีตเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมต้นกำเนิดวัดสายวิปัสสนากรรมฐานเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อเหมือนของพระอาจารย์วิปัสสนา 5 องค์ คือ พระอาจารย์สีเทา ชัยเสโน,พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล, พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระญาณวิศิษย์และพระสิทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากราบไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคล
สำหรับชุมชนวัดบูรพา มีนายแก้ว อาจหาญ เป็นช่างทำต้นเทียน (ประเภทติดพิมพ์) พร้อมด้วยนายยุทธเกียรติ โกศัลวิตร์, นายจันทร ป้องทอง มีผลงานประสบการณ์เริ่มทำต้นเทียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2550 รวม 15 ครั้ง รางวัลรองชนะเลิศ 5 ครั้ง รวมทั้งต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ขนาดเล็กในนาม อ.ศรีเมืองใหม่ได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกัน 5 ปี (พ.ศ.2545-2549)
ชุมชนวัดทุ่งศรีเมือง
ตั้งอยู่ถนนหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี สร้างสมัยปลายรัชกาลปลายรัชกาลที่ 3 มีพระเจ้าใหญ่ศรีเมือง เป็นพระประธานในวิหารศรีเมือง ภายในวัดยังมีหอไตรกลางน้ำ แหล่งสืบค้นและโบราณสถานที่สำคัญสำหรับชุมชนวัดทุ่งศรีเมือง มีส่วนร่วมในงานประเพณีแห่งเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีอย่างต่อเนื่อง โดยพระครูสมุห์สำลี ทิฎธมโม และคณะทำงานร่วมกับชุมชนออกแบบและจัดทำต้นเทียนเพื่อสืบสานงานบุญประเพณีแห่งเทียนให้มีความยั่งยืน โดยเฉพาะการทำเทียนพรรษาจะมีเยาวชนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนสนใจได้ศึกษาและเรียนรู้ร่วมฝึกปฏิบัติการหลอมใจ ทำบุญจากการทำเทียนพรรษา โดยมีความเชื่อว่าการทำบุญ ทำเทียนพรรษาถวายเป็นพุทธบูชา แล้วชีวิตจะมีความรุ่งโรจน์ปัญญาสว่างไสวดุจแสงเทียน
บ้านคำปุน
ตั้งอยู่ถนนวาริน-ศรีสะเกษ ใกล้โรงเรียนวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีความโดดเด่นในการผลิตและแหล่งเรียนรู้การทอผ้าไหมของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนางคำปุน ศรีไส และนายมีชัย แต้สุริยา ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี กำกับดูแลและอำนวยความสะดวกและเป็นการคิดค้นลายกาบบัวมาประยุกต์เป็นลายผ้าพื้นเมืองอุบลจนมีชื่อเสียงระดับประเทศ
สำหรับบ้านคำปุน เป็นอาคารทรงไทยแบบอีสาน รอบๆ อาคารหลังใหญ่จะมีอาคารหลังเล็กๆ สำหรับทอผ้าและผลิตภัณฑ์จากไหม ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมประทับใจกับความพยายามของช่างทอผ้าซึ่งทอด้วยฝีมือประณีต ที่สำคัญแหล่งเรียนรู้บ้านคำปุนยังได้สืบสานภูมิปัญญาของท้องถิ่นให้ยั่งยืนตลอดไป
โดยแต่ละชุมชนต่างมีเทคนิค รูปแบบ วิธีการและเคล็ดลับภูมิปัญญาพื้นบ้านในการประดิษฐ์ต้นเทียนและความสมัครสมานสามัคคีของผู้คนในชุมชนที่จะต้องร่วมมือในการตกแต่งต้นเทียนที่เป็นเอกลักษณ์
กบนอกกะลา แห่เทียนพรรษา ศิลปะแห่งความศรัทธา
กว่าจะมาเป็นต้นเทียนพรรษาและรถแห่เทียนที่สวยงามตระการตานั้นเขาทำกันอย่างไร ใครเป็นคนทำต้นเทียน ต้นเทียนพรรษามีกี่ชนิดกี่แบบ ทำไมถึงต้องมีประเพณีแห่เทียนพรรษาทั้งที่ปัจจุบันเกือบทุกวัดก็มีไฟฟ้า และความหมายที่แท้จริงของประเพณีแห่เทียนพรรษานั้นคืออะไร
ทุกๆปีในช่วงเข้าพรรษาหรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ณ แดนดินถิ่นอีสานเมืองดอกบัว จังหวัดอุบลราชธานี จะมีงานประเพณีที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ นั่นก็คือ งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานประเพณีที่มีชื่อเสียงและสามารถเรียกผู้ชมทั้งชาวไทยชาวต่างชาติให้ไปชมความสวยงามของต้นเทียนพรรษาและขบวนแห่ต่างๆ แต่กว่าจะมาเป็นต้นเทียนพรรษาและรถแห่เทียนที่สวยงามตระการตานั้นเขาทำกันอย่างไร ใครเป็นคนทำต้นเทียน ต้นเทียนพรรษามีกี่ชนิดกี่แบบ ทำไมถึงต้องมีประเพณีแห่เทียนพรรษาทั้งที่ปัจจุบันเกือบทุกวัดก็มีไฟฟ้า และความหมายที่แท้จริงของประเพณีแห่เทียนพรรษานั้นคืออะไร
กบนอกกะลาเดินทางไปยังจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อตามหาเรื่องราวต้นทางของต้นเทียนพรรษาและได้พบกับปราชญ์เมืองอุบล ทำให้เราได้รู้ว่าประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบล ราชธานีนั้นมีความเป็นมายาวนานกว่าร้อยปี ซึ่งเกิดจากเจ้าเมืองสมัยก่อนนั้นเห็นว่าเมืองอุบลเป็นเมืองพุทธศาสนา มีวัดเยอะและยังมีช่างที่มีฝีมืออยู่มากมาย จึงให้ชาวบ้านแต่ละคุ้มวัดช่วยกันทำเทียนพรรษาแล้วแห่ถวายเข้าวัด ซึ่งต้นเทียนในสมัยก่อน เรียกว่า เทียนโบราณ จะเรียบง่ายทำขึ้นด้วยเทียนแท่งเล็กๆ มามัดรวมกันและตกแต่งด้วยกระดาษสีต่างๆ ยังไม่ได้มีความยิ่งใหญ่อลังการเท่าปัจจุบัน ซึ่งต้นเทียนที่อยู่ในขบวนแห่นั้น นอกจากเทียนโบราณแล้วก็ยังมีเทียนแกะสลักและเทียนติดพิมพ์
ซึ่งการทำเทียนก็จะทำกันที่วัด แต่ด้วยปริมาณต้นเทียนที่เพิ่มขึ้นทุกปีทำให้มีร้านที่รับทำต้นเทียนพรรษาอีกด้วย จากนั้นเราจึงเดินทางแยกย้ายไปตามหาการทำเทียนพรรษาทั้งแบบติดพิมพ์และแกะสลัก ซึ่งเทียนติดพิมพ์เราเดินทางไปที่คุ้มวัดบูรพาและก็ได้พบกับลุงแก้วมัคทายกวัด ซึ่งลุงแก้วบอกว่าการทำเทียนติดพิมพ์นั้นส่วนใหญ่จะต้องทำกันที่วัด เพราะจะต้องใช้คนช่วยทำเยอะ ซึ่งคนที่มาช่วยทำก็จะเป็นชาวบ้านในคุ้มวัดบูรพานั่นเอง เรียกได้ว่า เป็นงานบุญของชุมชนเลยก็ว่าได้ ซึ่งการทำเทียนติดพิมพ์นั้นจะต้องใช้วัตถุดิบในการทำ ก็คือ ขี้ผึ้ง ซึ่งต้องใช้หลายร้อยกิโลกรัมและต้องเอามาจากรังผึ้งร้างเท่านั้น
ส่วนเทียนแกะสลักเราเดินทางไปที่ร้านดาราศิลป์ ซึ่งเป็นร้านที่รับทำเทียนแกะสลักแบบครบวงจรและก็ได้พบกับพี่ตุ้ย ช่างทำเทียนแกะสลัก ซึ่งพี่ตุ้ยบอกว่า ต้นเทียนพรรษาที่รับทำนั้นนอกจากลูกค้าในจังหวัดอุบลแล้วก็ยังมีลูกค้าจากต่างจังหวัดสั่งให้ทำ เรียกได้ว่า ต้นเทียนจากอุบลเดินทางไปทั่วประเทศ ซึ่งการทำเทียนแกะสลักนั้นไม่ต้องใช้คนเยอะ แต่ต้องใช้ฝีมือการแกะสลักและความอดทนในการแกะสลักอย่างมาก ทำให้ในปัจจุบันเหลือช่างที่มีฝีมือในการแกะ สลักเทียนอยู่ไม่กี่ราย