รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

แขวงหลวงพระบาง ลาว

tour-luang-prabang-laos

แขวงหลวงพระบาง
ประวัติและเหตุการณ์สำคัญ
นับแต่ก่อนยุคประวัตศาสตร์พื้นที่บริเวณหุบเขาอันมีสายน้ำสำคัญสามสาย คือ น้ำโขง น้ำคาน และน้ำอู แห่งนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาเก่าก่อนมีการขุดพบกลองมโหระทึกหรือกลองกบในบริเวณริมน้ำดงทางใต้ของเมือง อันแสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมดองซอนซึ่งค้นพบในแถบเวียดนามภาคเหนือ

ชาวข่าหรือลาวเทิงเข้ามาอยู่อาศัยในหุบเขานี้ก่อนที่ชนชาติลาวจะอพยพมาอยู่ ตำนานชนชาติลาวกล่าวถึง “ขนลอ” โอรสองค์แรกของขุนบรมหรือบูลมบรรพกษัตริย์ในตำนานของชนชาติไทย-ลาวได้อพยพผู้คนมาหาดินแดนใหม่ เมื่อมาถึงบริเวณที่ปากน้ำคานไหลออกสบแม่น้ำโขงได้หยุดพักไพร่พลลง ตำบลนั้นจึงเรียกว่า “บ้านเซา” ซึ่งหมายถึงหยุดพัก คำว่า “เซา” นี้ บางครั้งออกเสียงเป็นซัวจึงกลายเป็น “บ้านซัว” หรือเมืองซัวไปในที่สุด

ชุมชนในหุบเขาแห่งนี้จึงเริ่มเติบโตขึ้น ทั้งโดยชาวข่าเจ้าของถิ่นเดิม และคนลาวผู้อพยพเข้ามาใหม่ เกิดเป็นบ้านเมืองขึ้นสองแห่งอยู่บริเวณริมแม่น้ำดงแห่งหนึ่งเรียกว่า “เมืองเชียงดง” (ปัจจุบันคือบริเวณบ้านสังคโลก) และอยู่ตรงปากน้ำคานไหลลงแม่น้ำโขงอีกแห่งหนึ่งเรียกว่า “เมืองเชียงทอง” เพราะมีต้นทองยักษ์ (ไทยเรียกต้นงิ้ว) ขึ้นอยู่ เมืองซัวจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่าเมือง “เชียงดง-เชียงทอง”

ต่อมาขุนลอได้ขับไล่พวกข่าออกไปแล้วตั้งบ้านเมืองขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า “เมืองศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานี” แต่เรียกกันทั่วไปว่าเมืองเชียงดง-เชียงทองเช่นเดิม ในแง่ประวัติศาสตร์ยุคสร้างชาติลาวเริ่มขึ้นตั้งแต่ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ เมื่อเจ้าฟ้างุ้มรวบรวมบ้านเมืองเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันภายใต้ชื่อ “กรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว”ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงดง-เชียงทอง

tour-luang-prabang-laos

สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๔) ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านช้าง ในช่วง พ.ศ. ๒๐๘๙-๒๐๙๐ พระองค์ได้ขึ้นครองบัลลังก์นครเขียงใหม่สืบแทนพระเจ้าตา คือพระเจ้าพรหมราช ต่อมาเมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์พระองค์จึงทรงกลับมาครองนครหลวงพระบางอีกแห่งหนึ่ง ยุคนี้จึงถือได้ว่าแผ่นดินล้านช้างและล้านนาเป็นปฐพีแผ่นเดียวกัน เป็นยุคสมัยที่ศิลปะการช่างเจริญรุ่งเรือง มีช่างฝีมือมากมายจากเชียงใหม่ถูกนำมาหลวงพระบางเกิดการถ่ายทอดศิลปวิทยาการระหว่างกัน เหตุที่งานศิลปะสกุลช่างหลวงพระบางและเชียงใหม่มีความละม้ายคล้ายคลึงกัน ก็สืบเนื่องมาแต่รัชกาลของพระเจ้าไชยเชษฐาราชนี่เอง

ในยุคสมัยนี้พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า ได้แผ่อานุภาพครอบคลุมไปทั่วอาณาจักรใกล้เคียง พม่าตีได้เชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๑oo พระเจ้าไชยเชษฐาฯเห็นว่าพม่ามีกำลังกล้าแข็ง นครหลวงพระบางก็อยู่ใกล้กับล้านนาทางผ่านของพม่าเกินไป ปี ๒๑๐๓ จึงทรงย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาสร้างเมืองหลวงใหม่ที่เวียงจันทน์ ขนามนามว่า “กรุงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีร่มขาว” และทรงผูกไมตรีกับพระมหาจักรพรรดิกษัดริย์อยุธยาเพื่อรวมกำลังต่อสู้พม่า มีการสร้างพระธาดุศรีสองรัก(อยู่ในอำเภอด่านซ้ายปัจจุบัน) ขึ้นเป็นประจักษ์พยานถึงไมตรีระหว่างสองอาณาจักรในปีเดียวกันนี้ด้วย

สมัยพระเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๘๑-๒๒๓๘) เป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของล้านช้าง ทรงขึ้นครองราชย์ภายหลังจากยุควุ่นวายแห่งการแย่งชิงราชบัลลังก์ล้านช้างซึ่งยาวนานถึง ๑๐ปี เป็นสมัยที่บ้านเมืองสงบสุข มีการเปิดการค้าขายและเจริญไมตรีกับประเทศตะวันตก เช่น ฮอลันดา เอกสารฝ่ายลาวกล่าวว่าในรัชกาลนี้ได้ส่งราชทูตไปกับเรือของ อาเบล ทัสมัน (AbeI Tasman) นักสำรวจขื่อดังชาวฮอลันดาด้วย

นอกจากนี้มีการทำสัญญาแบ่งปันดินแดนระหว่า่งล้านช้างกับอันนัม (ญวน) อย่างชัดเจน โดยกำหนดให้แม่น้ำดำและภูแดนแกวไม้ล้ม เป็นเส้นแบ่งพรมแดน พงศาวดารลาวกล่าวว่า

ดินตอนใดเฮือนมีเสา เป่าแคนแห้นข้าวเหนียว เคี้ยวปาแดกแม่นของลาว ส่วนดินตอนใด เฮือนซูดิน กินไม้ทู่ โส้งลั้ว หัวขอด แม่นของแกว...

ครั้นสิ้นรัชกาลพระเจ้าสุิริยะวงศาฯ แล้ว กรุงศรีสัตนาคนหุตก็แตกแยกกันเป็นสามอาณาจักร คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก ทำให้นครรัฐของชาวลาวมีขนาดเล็กและอ่อนแอ ยากจะต้านทานอำนาจของรัฐใหญ่ที่รายล้อมอยู่รอบด้าน ช่วงนี้อาณาจักรทั้งสามจึงมักตกเป็นประเทศราชของรัฐรอบข้าง คือไทย พม่า และอันนัม (ญวน) อาณาจักรหลวงพระบางก็เช่นกัน ต้องส่งบรรณาการให้แก่รัฐให่รัฐหนึ่งเสมอ และบางช่วงถึงกลับส่งให้พร้อมๆ กันถึงสามรัฐก็มี บางครั้งจึงเรียกอาณาจักรหลวงพระบางในยุคนี้ว่า “เมืองสามฝ่ายฟ้า” นั่นคือถูกปกครองจากรัฐอื่นพร้อมกันถึงสามรัฐ

ทางทิศตะวันออกของอาณาจักรหลวงพระบางคือ เมืองพวนหรือปัจจุบันได้แก่บริเวณแขวงเชียงขวางและดอนใต้ของซำเหนือ เป็นหัวเมืองชายขอบราชอาณาจักรสยามสมัยนั้น อยู่ติดกับแผ่นดินญวนในแคว้นตังเกี๋ย ซึ่งเวลานั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสแล้ว ทำให้เกิดปัญหายุ่งยาก เนื่องจากมีกองโจรฮ่อจากยูนนานได้มาตีเมืองพวน เกิดเป็น “ศึกฮ่อ” ที่ไทยต้องส่งทัพไปปราบหลายคราวทั้งที่เวียงจันทน์และหลวงพระบาง กินเวลายืดเยื้อนับสิบปี และชักนำให้ฝรั่งเศสเข้ามาเกี่ยวข้องในข้ออ้างว่าพวกฮ่อได้ปล้นสะดมเมืองในปกครองของฝรั่งเศสและนำไปสู่ข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จนกระทั่งฝรั่งเศสเข้าอ้างสิทธิเหนือดินแดนประเทศราชหลายแห่งของไทย ตั้งแต่ดินแดนสิบสองจุไท (เมืองแถง-เดียนเบียนฟู) ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ และครั้งสำคัญที่สุดคือปี พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) ซึ่งทำให้ไทยด้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง หรืออาณาจักรหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสักให้แก่ฝรั่งเศส ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ของไทยและพระเจ้ามหินทรเทพ (เจ้าอุ่นคำ) เป็นเจ้าครองนครหลวงพระบาง

นับจากนั้นหลวงพระบางก็อยู่ให้อาณัดิการปกครองของฝรั่งเศสและต่อมากลายเป็นประเทศ เอกราชในนามของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ดังปัจจุบัน

tour-luang-prabang-laos

มรดกโลก
องค์การยูเนสโกเข้ามาสำรวจหลวงพระบางตามข้อเสนอให้เมืองนี้ได้เป็นมรดกโลกในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๗ และมีรายงานกล่าวถึงหลวงพระบางว่าเป็นเมืองที่ “รักษาความเก่าแก่ดั้งเดิมเอาไว้ได้ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (The best preserved city in south-East Asia

บริเวณเมืองเก่าหลวงพระบางระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำคานบนพื้นที่ ๒ ตร.กม. ซึ่งรวมวัดเชียงทอง หอพิพิธภัณฑ์ วัดใหม่สุวันนะพูมาราม และพระธาตุพูสี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๑๙ ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ ๒๕๓๘

การพิจารณาให้สถานที่แห่งหนึ่งแห่งใดเป็นมรดกโลกนั้น คณะกรรมการมรดกโลกมีเกณฑ์การพิจารณาหกข้อ โดยสถานที่นั้นต้องผ่านเกณฑ์อย่างน้อยหนึ่งข้อ แต่เมืองหลวงพระบางผ่านเกณฑ์พิจารณาถึงสามข้อ ได้แก่

- เกณฑ์ที่ ๒ หลวงพระบางถือเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านช้างมานับแต่อดีต จวบจนปัจจุบันเมืองนี้ยังนับเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศลาวอยู่ และเป็นแหล่งศิลปะรวมทั้งสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างที่โดดเด่นชัดเจน

- เกณฑ์ที่ ๔ หลวงพระบางมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรนยุคโคโลเนียลซึ่งยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์อยู่ ถือเป็นแบบอย่างของเมืองซึ่งประกอบด้วยสถาปัตยกรรมยุคนี้ที่ชัดเจน

- เกณฑ์ที่ ๕ ทำเลของเมืองหลวงพระบางแสดงถึงภูมิปัญญาในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และสะท้อนวัฒนธรรมในการจัดสรรทรัพยากรซึ่งยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องมากระทั่งปัจจุบัน

ความเป็นมรดกโลกของเมืองหลวงพระบางที่เห็นเป็นรูปธรรมที่สุดคือ สถาปัตยกรรมของวัด และอาคารบ้านเรือนแบบโคโลเนียล

tour-luang-prabang-laos

ตักบาตรข้าวเหนียว
เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพุทธนับเป็นสาระและหัวใจสำคัญของการมาเที่ยวเมืองหลวงพระบาง ไม่ว่าวัดวาอารามและวิถีชีวิตของผู้คนซึ่งผูกพันแนบแน่นกับพุทธศาสนา แม้ว่า สปป. ลาวจะเป็นประเทศสังคมนิยมก็ตาม จนมีคนขนานนามว่าหลวงพระบางเป็นเมือง “ธรรมิกสังคมนิยม” แห่งสุดท้าย ฝรั่งหลายคนมาเที่ยวหลวงพระบางเพื่อชมภาพการใส่บาตรของชาวบ้านในยามเช้าตรู่ ขณะที่พระสงฆ์หลายร้อยรูปเดินแถวเรียงรายไปทั่วทุกซอกถนนในเมือง โดยมีชาวบ้านแทบทุกบ้านเฝ้าเตรียมใส่บาตรกัน

ในฐานะที่เป็นชาวพุทธเหมือนกัน ชาวไทยหลายคนซึ่งได้มาเที่ยวเมืองนี้จึงนิยมใส่บาตรร่วมกับชาวหลวงพระบาง บางคนเรียกการตักบาตรแบบชาวหลวงพระบางว่า “ตักบาตรข้าวเหนียว” เหตุเพราะสังเกตเห็นว่าคนหลวงพระบางใส่บาตรแต่ข้าวเหนียวเปล่า โดยไม่มีกับข้าวเหมือนในเมืองไทย

การใส่บาตรของชาวหลวงพระบางนั้นจะเปลี่ยนเวลาไปตามฤดูกาล ให้สังเกตจากเสียงกลองของวัดหากมีเสียงย่ำกลองเมื่อใดแสดงว่าพระสงฆ์เตรียมตัวจะออกบิณฑบาตแล้ว ชาวบ้านจะรีบปูเสื่อตรงริมทางที่พระจะเดินผ่าน ผู้หญิงต้องนุ่งซิ่นและมีแพรเบี่ยงหรีอผ้าสไบพาดใหล่ไว้เสมอสำหรับเป็นผ้ากราบพระ ส่วนผู้ชายต้องนุ่งกางเกงขายาวและมีผ้าพาดเช่นกัน

พระจะออกเดินตามเส้นทางประจำของวัดตน สุดแต่วัดจะอยู่ย่านไหนของเมือง บางเส้นทางมีพระจากสามวัด แต่บางเส้นมีถึงเจ็ด แปดวัด แต่ละเส้นทางจะไม่เดินตัดหรือปะปนกัน

tour-luang-prabang-laos

เวลาใส่บาตรผู้หญิงจะนั่งคุกเข่า ส่วนผู้ชายจะยืน ตามปกติชาวหลวงพระบางใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะว่าเมื่อพระกลับวัดแล้ว พอถึงเวลาฉัน แต่ละวัดจะเคาะเกราะไม้ไผ่เป็นสัญญาณให้ชาวบ้านรับูร้ ชาวบ้านที่เป็นโยมอุปัฏฐากก็จะยกพาข้าวหรือสำหรับกับข้าวที่เตรียมไว้แต่เช้าไปถวายพระที่วัด ซึ่งเรียกว่าการ“ถวายจังหัน”

ดังนั้นการตักบาตรข้าวเหนียวจึงมิได้หมายความว่าต้องการให้พระฉันแต่ข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว

tour-luang-prabang-laos

ปัจจุบันมักมีแม่ค้าหาบข้าวเหนียวมาขายให้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่รอใส่บาตร ขอแนะนำว่าไม่ควรซื้อ เพราะราคาแพงจนน่าตกใจ และบางครั้งก็มีปัญหาเรื่องต่อรองราคากัน ดังนั้นผู้ที่ประสงค์จะทำบุญตักบาตร ควรสั่งข้าวเหนียวจากโรงแรม บ้านพัก หรือร้านอาหารไว้ล่วงหน้า

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2765 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์