น้ำตกโป่งน้อย เชียงใหม่
น้ำตกโป่งน้อย
อ. แม่วาง จ. เชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่วาง อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลเป็นจำนวนมากและตลอดทั้งปี เป็นน้ำตก 3 ชั้น มีความสูง 35 เมตร กว้าง 25 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่
รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683
น้ำตกโป่งน้อย
อ. แม่วาง จ. เชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่วาง อยู่ในตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง เป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลเป็นจำนวนมากและตลอดทั้งปี เป็นน้ำตก 3 ชั้น มีความสูง 35 เมตร กว้าง 25 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่
น้ำตกตาดหมอก
เป็นน้ำตกขนาดกลาง แทรกตัวอยู่กลางป่าเบญจพรรณอันร่มรื่น อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย เป็นต้นลำน้ำแม่แรม น้ำตกจากหน้าผาสูง 20 เมตร เป็นฟุ้งละอองสีขาว ราวกับสายหมอกจะมีน้ำน้อยในฤดูแล้ง
การเดินทาง ใช้ทางหลวงแม่ริม-สะเมิง เลี้ยวขวาที่ กม.5 เข้าไปประมาณ 9 กม. เป็นถนนลาดยางอย่างดี จากที่จอดรถ แล้วเดินเท้าเข้าไปประมาณ 250 เมตร
เที่ยวสวนส้มฝาง
อำเภอฝางเป็นแหล่งปลูกส้มสายน้ำผึ้งที่ใหญ่และที่นี่เป็นต้นกำเนิดของส้มพันธ์สายน้ำผึ้งส้มสายน้ำผึ้งเป็นส้มพันธุ์ดีมีรสหวาน เปลือกบาง ชานนุ่ม ผลมีสีสวย ด้วยจุดเด่นของส้มสายน้ำผึ้งทำให้ได้รับนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ส้มสายน้ำผึ้งมีราคาแพง เกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกส้มบริเวณฝางและพื้นที่ใกล้ ๆ เคียงได้ขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นจนกระทั่งส้มเป็นพืชเศรษฐกิจหลังของฝางไปซะแล้ว ส้มสายน้ำผึ้งจะติดผลดกมากอีกทั้งผลยังมีสีสวย เมื่ออยู่รวมกันในแปลงปลูกทำให้ดูสวยงาม จนในระยะหลังสวนส้มสายน้ำผึ้งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวในความสนใจไปเยี่ยมชม นักท่องเที่ยวก็ได้มีโอกาสเข้าไปชมสวนส้มกันถึงในสวนจริงๆ ชาวสวนก็ได้ขายผลิตให้นักท่องเที่ยว แต่ก่อนนั้นนักท่องเที่ยวสามารถเด็ดส้มทานจากต้นได้เลย แต่มีปัญหาที่ส้มมีกิ่งที่เปราะในบางครั้งนักท่องเที่ยวเด็ดส้มแล้วทำให้กิ่งหักเสียหาย ในระยะหลังจึงไม่อนุญาตให้เด็ดส้มทานจากต้น แต่ก็สามารถชิมได้ที่หน้าสวน หากถูกใจก็ซื้อกลับบ้านได้โดยมีลังกระดาษบรรจุให้อย่างสวยงามเหมาะที่จะหิ้วกลับไปเป็นของฝากก็เหมาะซื้อกลับไปทานเองก็ดี มีหลายสวนที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว เช่น
สวนส้มเวียงคำ อยู่ที่บ้านหนองยาว ต. แม่สูน อ. ฝาง โทร 053-883640-1 เสียค่าเข้าชมท่านละ 100 บาท
สวนส้ม 13 เหรียญทอง ต. แม่สูน อ. ฝาง โทร 053-457132 ไม่เสียค่าเข้าชม
สวนส้มทรายทอง ต. เวียง อ. ฝาง เป็นสวนส้มที่ใหญ่ที่สุดของไทย โทร 053-382888 เสียค่าเข้าชมท่านละ 100 บาท
สวนส้มธนาทร ริมเขื่อนบ้านลาน อ. ฝาง สวนนี้เป็นต้นกำเหนิดของส้มสายน้ำผึ้งในไทย เสียค่าเข้าชมท่านละ 100 บาท
ท่าตอน
ท่าตอนเป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตอำเภอแม่อาย เป็นที่ซึ่งแม่น้ำกกไหลผ่านลงไปถึงตัวอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แม่น้ำกกนี้เป็นแม่น้ำสายสำคัญในการคมนาคมระหว่าง 2 จังหวัด ปกติแล้วจะมีเรือหางยาวบริการรับส่งผู้โดยสารจากท่าตอนล่องไปตามแม่น้ำกกจนถึงเชียงราย จะเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฟากฝั่งแม่น้ำกก ซึ่งเรือดังกล่าวออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ไปถึงเชียงรายประมาณ 16.00 น. (ค่าโดยสารเรือหางยาวคนละ 200 บาท เหมาลำละ1,600 บาท) สอบถามรายละเอียด โทร. (053) 459427 นอกจากนี้ยังมีทัวร์ล่องแพพาแวะเที่ยวบ่อน้ำพุร้อน บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอ นั่งช้างชมรอบหมู่บ้านและเดินป่าบริเวณใกล้เคียง ติดต่อที่ร้านจันทร์เกษม โทร. (053) 459313 คุณตาบทิพย์ วรรณรัตน์ โทร. (053) 459138 และท่าตอนทัวร์ โทร. (053) 373143
ทะเลสาบดอยเต่า
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนเชียงใหม่-ฮอด-ดอยเต่า ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร ที่ดอยเต่ามีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล เคยใช้ในการเกษตรกรรมการประมงในบริเวณอ่างเก็บน้ำ หากมีน้ำมากพอ (โดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน) จะมีบริการแพพัก ราคา 1,000-1,500 บาท และเรือนำเที่ยวไปยังเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ค่าเช่าเหมาเรือประมาณ 3,000-4,000 บาท รายละเอียดติดต่อ บริษัท เพชรสุวรรณ โทร. 469069 หรือ บริษัท ท่องนที จำกัด โทร. (02) 457-6873-4, 457-3428 นำเที่ยวจากเขื่อนภูมิพล มายังอ่างเก็บน้ำดอยเต่า
ถ้ำห้วยบอน
ตั้งอยู่ภายในสำนักสงฆ์ถ้ำห้วยบอน เป็นถ้ำขนาดใหญ่ลึกประมาณ 300 เมตร เคยมีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับของคนในสมัยโบราณ ลักษณะถ้ำเป็นถ้ำทะลุจากด้านหนึ่งไปสู่ด้านหนึ่ง ภายในถ้ำมีอากาศถ่ายเทไม่อับและเย็นสบาย ภายในห้องโถงกลางถ้ำมีขนาดใหญ่จุดคนได้เป็นจำนวนมาก หินงอกหินย้อยภายในถ้ำมีความสวยงามและยังเป็นหินงอกหินย้อนที่ยังเจริญเติบโตอยู่ถ้ำนี้นักท่องเที่ยวชาวไทยไม่ค่อยเข้าไปเที่ยวเพราะไม่รู้จักและอีกอย่างทางขึ้นสู่ปากถ้ำก็ค่อนข้างชันนักท่องเที่ยวประเภทคุณหนู๋ไม่ชอบ แต่ถ้ามีโอกาสน่าแวะไปเที่ยวเพราะอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองฝาง
การเดินทาง จากตัวเมืองฝางใช้เส้นทางสายอ้อมเมือง ขับไปจนถึงทางแยกซ้ายป้ายบอกไปดอยผ้าห่มปก ขับตรงเข้าไปตามทางลูกรังประมาณ 3 กิโลเมตรก็จะถึงด่านที่มีคานเหล็กกั้นขวางเพื่อกันรถที่จะแอบขึ้นดอยผ้าห่มปก ณ จุดนี้แยกซ้ายเข้าไปในสำนักสงฆ์ ทางเดินขึ้นปากถ้ำอยู่ทางซ้ายมือ เดินผ่านป่าไผ่ขึ้นไปประมาณ 300 เมตร ก็ถึงปากถ้ำ ควรนำไฟฉายไปด้วยและควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางจากที่ทำการอุทยานแม่ฝางไป ด้วยเพื่อความปลอดภัยไม่หลงทางและยังได้ความรู้ อย่าเน้นเรื่องประหยัดนัก ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ก็ไม่แพง
ถ้ำเมืองออน
มีหินงอนคล้ายมีนมผา เป็นพระธาตุตั้งอยู่กลางลานในถ้ำ ผนังถ้ำเป็นหินงอกหินย้อย สดใสแวววาวสกาวพร่างยามต้องแสงไฟ เย็นชื้น สบายใจ อยู่ในเขตหมู่บ้านสหกรณ์ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เดินทางได้ทางรถยนต์สะดวกตลอดปี ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 40 กม.
เป็นถ้ำขนาดใหญ่บนเทือกเขาหินปูนโดด ๆ โดยรอบเป็นเทือกเขาที่มีโครงสร้างหินหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นหินชั้นและหินแปร ทางเข้าถ้ำเป็นบันไดลึกลงสู่เบื้องล่างมีโถงถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยที่งดงาม ตรงกลางโถงถ้ำเป็นหินงอก " พระธาตุนมผา " เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำถ้ำ ผนังถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิและพระนอน ภายในถ้ำแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ของครูบาศรีวิชัยและบริเวณปากถ้ำมีรูปปั้นครูบาศรีวิชัย และสถูปอัฏฐิของท่าน รวมทั้งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ด้วย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยประมาณวันละ 50 - 60 คน
อยู่ในความรับผิดชอบของวัดถ้ำเมืองออน และหมู่บ้านสหกรณ์ อยู่ในเขตพื้นที่ อบต. บ้านสหกรณ์
การเดินทาง จากทางหลวง เส้นสันกำแพง - น้ำพุร้อน ห่างจากอำเภอ สันกำแพง ประมาณ 17 กิโลเมตร มีทางแยกเข้า ถนนคอนกรีต ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร
ถ้ำเชียงดาว
อยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว การเดินทางจากเชียงใหม่ไปยังอำเภอเชียงดาว ระยะทาง 72 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตรงทางแยกเข้าไปจนถึงถ้ำอีก 5 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางจนถึงบริเวณถ้ำ มีบริเวณจอดรถกว้างขวาง ทางเข้าถ้ำเป็นบันไดมีหลังคามุงสังกะสี หน้าถ้ำมีธารน้ำไหลผ่านเต็มไปด้วยปลาหลายชนิด นักท่องเที่ยวสามารถให้อาหารปลาได้ หากต้องการชมบริเวณถ้ำ ติดต่อคนนำทางได้บริเวณหน้าถ้ำด้านขวามือตรงกลางสระเป็นเรือสำเภาหิน เสียค่าเข้าชมคนละ 5 บาท หรือหากต้องการชมบริเวณถ้ำทั้งหมด ติดต่อคนนำทางได้บริเวณหน้าถ้ำโดยเสียค่าบริการพิเศษ
ดอยอินทนนท์
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยอ่างกา” ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา
ดอยอินทนนท์นี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขา หิมาลัยซึ่งพาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า และมาสิ้นสุดที่นี่ สิ่งที่น่าสนใจของดอยนี้ไม่เพียงแต่เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศเท่านั้น แต่สภาพภูมิประเทศและสภาพป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมเกือบทั้งวัน และบางครั้งน้ำค้างยังกลายเป็นน้ำค้างแข็ง สิ่งต่าง ๆเหล่านี้เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนที่นี่อย่างไม่ขาดสาย
ป่าเมฆสูงสุดในสยาม อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ดอยอินทนนท์ ยอดดอยสูงที่สุดของไทย ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) เดิมทีดอยนี้ชื่อว่า ดอยหลวง ซึ่งชื่อนี้ซ้ำกับดอยหลวงที่อำเภอเชียงดาว จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นดอยอินทนนท์ เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ด้วยความที่พระองค์มีความรักในผืนป่าแห่งนี้มาก มีความผูกพันกับดอยนี้ถึงกับสั่งว่าเมื่อสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้น ไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ซึ่งก็คือกู่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ บนยอดดอยอินทนนท์นั่นเอง
ดอยอินทนนท์ ยอดดอยสูงเสียดฟ้าแห่งนี้คือปลายสุดของเทือกเขาที่ทอดยาวต่อเนื่องมาจากเขา หิมาลัยในดินแดนไกลโพ้นของประเทศอินเดียและเนปาล ที่ทอดตัวต่อเนื่องมาถึงตอนเหนือของไทย ด้วยความสูงถึง 2,565 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จึงได้มสภาพอากาศหนาวเย็นและชุ่มชื้น ส่วนยอดสุดถูกปกคลุมไว้ด้วยม่านหมอกและ ไอเย็นอยู่ชั่วนาตาปี สภาพโดยรวมของป่ามีความร่มครึ้มเป็นป่าดิบดึกดำบรรพ์ มีพืชพวกมอสส์ ฝอยลม ไลเคน เฟิน และกล้วยไม้เกาะเกี่ยวเลื้อยพันตามลำต้นของแม่ไม้ใหญ่อย่างหนาแน่น บนพื้นดินมีข้าวตอกฤาษีเขียวสดปูเป็นพรมธรรมชาติ ส่วนหนึ่งของยอดดอยอินทนนท์มีสภาพเป็นแอ่งน้ำซับที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ”อ่างกาหลวง” ซึ่งปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่มีความพิเศษไม่ เหมือนเส้นทางอื่นๆ โดยจัดทำเป็นสะพานไม้ทอดยาวไปในป่าดิบเขาเพื่อศึกษานิเวศธรรมชาติ พร้อมกับชมพรรณไม้หลากหลายจากเขตหิมาลัย เช่น กุหลาบพันปี กุหลาบขาว กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ และพืชกาฝากอย่างกระโถนพระฤาษี เป็นต้น รวมถึงสัตว์จากเขตหิมาลัย เช่น กวางผา หนูผีอ่างกา หนูน้ำดอยอ่างกา หนูผีหางยาวฟันแดง หนูผีป่าหางจู๋ ซาลแมนเดอร์ หรือ กะท่าง ฯลฯ
ดอยอินทนนท์ เป็นพื้นที่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นแหล่งดูนกที่สำคัญ เนื่องจากมีนกอาศัยอยู่กว่า 370 ชนิด ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพมาในฤดูหนาว ไม่ว่าจะเป็นนกกินปลีหางยาวเขียวชนิดยอดดอยอ่างกา นกศิวะหางสีตาล นกศิวะปีกสีฟ้า นกกะรองทองแก้มขาว นกอีแพรดท้องเหลือง ฯลฯ ส่วนแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอื่นๆที่น่าไปเยือน เช่น น้ำตกแม่ยะ น้ำตกสิริภูมิ น้ำตกวชิรธาร และน้ำตกแม่ปาน อันยิ่งใหญ่และงดงาม รวมถึงเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ที่อุดมไปด้วยพรรณไม้บนยอดดอย
ดอยอ่างขาง
ตั้งอยู่ที่ตำบลอ่างขาง อำเภอฝาง ห่างจากเขตแดนไทยพม่าเพียง 5 กิโลเมตร การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า
อ่างขาง เป็นภาษาเหนือ หมายถึง อ่างสี่เหลี่ยม ซึ่งได้ชื่อมาจากลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร ทำให้อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว
อ่างขาง ภาษาทางเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลียม ลักษณะของดอยอ่างขางนั้นเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวๆ ล้อมรอบไปด้วยเขาสูงทุกด้าน อ่างขาง เป็นชื่อตำบลๆ หนึ่ง ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรีติดกับเขตแดนพม่า คือ ห่างกันเพียง 5 กิโลเมตร เท่านั้น สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1400 เมตร อยู่ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอ่างขางมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปีโดยเฉพาะตอนกลางคืนจะหนาวเย็นจัดที่สุด แห่งหนึ่งของประเทศ ประกอบกับมีการทำไร่เลื่อนลอยของชาวไทยภูเขา ในที่สุดก่อให้เกิดผลกระทบขึ้น เมื่อป่าไม้บนภูเขาเหลือน้อย ฝนตกลงมา น้ำฝนก็ชะหน้าดินไหลลงสู่หุบเขา ดินไม่สามารถอุ้มน้ำเอาไว้ได้ ทำให้ธาตุอาหารในดินลดน้อยลง เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินหมดไปชาวไทยภูเขาก็หาพื้นที่ทำไร่ใหม่ต่อไป ซึ่งได้ส่งผลให้ดอยอ่างขางมีสภาพเป็นดอยหัวโล้น มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการ หลวง เรื่องกำเนิดของสถานีฯ แห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมา เห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้ แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2512มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง
พรรณไม้ที่ปลูก
- ไม้ผล เช่น บ๊วย ท้อ พลัม แอปเปิล สาลี่ พลับ กีวี องุ่น ราสป์เบอร์รี กาแฟพันธุ์อาราบิกา นัตพันธุ์ต่างๆ - ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส เยอบีราพันธุ์ยุโรป สแตติส ยิบโซฟิลลา คาร์เนชั่น อัลสโตรมีเรีย ลิลี ไอริส แดฟโฟดิล - ผัก เช่น ซูกินี เบบีแครอต กระเทียมต้น หอมญี่ปุ่น ผักกาดฝรั่ง แรดิช เฟนเนล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง และถั่วพันธุ์อื่นๆ
ในพื้นที่ดอยอ่างขางยังมีการฟื้นฟูสภาพป่าโดยตรง ด้วยการปลูกป่าด้วยพรรณไม้หลายชนิด ละการทิ้งพื้นที่แนวป่าให้พรณไม้เกิดและเติบโตเองโดยธรรมชาติ มีทั้งพรรณไม้ท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้ก่อ แอปเปิลป่า นางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระ และพรรณไม้โตเร็วจากไต้หวัน 5 ชนิด คือ กระถินดอย เมเปิลหอม การบูร จันทน์ทอง และเพาโลเนีย
ที่สถานีฯ ยังเป็นแหล่งเที่ยวชมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านชาวไทยภูเขาต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ รวมทั้งชมความงามตามธรรมชาติของผืนป่า กิจกรรมดูนกซึ่งมีนกทังนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่น พร้อมผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย งานส่งเสริมเกษตรกรจำหน่ายใต้ตราสินค้า "ดอยคำ" และที่พักทั้งในรูปแบบรีสอร์ท บ้านพักแบบกระท่อมและลานกางเต็นท์พร้อมอาหารและเครื่องดื่มบริการ
สวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
หมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า
หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่า มูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มี โอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วน ตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อ ช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย
หมู่บ้านหลวง ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมา จากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่
กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง มีหลายอย่างที่สามารถทำได้เช่น เดินเท้าศึกษาธรรมชาติ ขี่ล่อล่องไพร เป็นต้น
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โทร. 0 5345 0107- 9 หรือ www.angkhang.com
มี 1472 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์
Copyright © 2015 newviewtour. All Rights Reserved.