วัดอัครเทวดาราฟาเอล สุราษฎร์ธานี
สารบัญ
ในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.1969 มีการฉลองต้อนรับพระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต ซึ่งเดินทางมาเป็นประมุขสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีเป็นองค์แรก ในโอกาสนี้มีพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษมาร่วมฉลองและแสดงความยินดีกับพระคณะเจ้า
วัดอัครเทวดาราฟาเอล ได้เลื่อนฐานะเป็นอาสนวิหารเป็นวัดศูนย์กลางของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี
คุณพ่อสนิท ลุลิตานนท์ เป็นอธิการบ้าน
ในปี ค.ศ.1972 คุณพ่อสนิท ลุลิตานนท์ เป็นอธิการบ้านซาเลเซียน สุราษฎร์ธานี คุณพ่อเยลิชี ย้ายไปอยู่ที่ อำเภอร่อนพิบูลย์ คุณพ่อยอแซฟ วีตาลี เป็นเจ้าอาวาสอาสนวิหาร ต่อมาในปี ค.ศ.1973 คุณพ่อยอแซฟ ฟอร์ลัสซินี เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสอาสนวิหาร
คุณพ่อซันนา เป็นอุปสังฆราช และ เจ้าอาวาส
ในปี ค.ศ.1974 – 1984
ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ.1974 คุณพ่ออูโก ขันนา มาประจำที่สุราษฎร์ในตำแหน่งอุปสังฆราช และเจ้าอาวาส
ในปี ค.ศ.1975 เมื่อคุณพ่อสนิท ลุลิตานนท์ ย้ายไปที่อื่น คุณพ่อสนม วีระกานนท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการ ในต้นปี 1975 มีพายุร้ายพัดถล่มจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เกาะสมุย ทำให้มีคนตายหลายร้อยคน พระคุณเจ้าในฐานะประธานมูลนิธิ ได้รับความช่วยเหลือจากสังฆมณฑลต่าง ๆ เพื่อนำไปแจกจ่ายแก่ผู้ที่เคราะห์ร้าย
วันที่ 28 กันยายน คจศ.1975 มีพิธีเสกอาสนวิหาร อัครเทวดาราฟาเอล หลังจากที่ได้ขยายปีกวัดทั้ง 2 ข้าง และต่อหน้ามุขใหม่ ในโอกาสเดียวกันนี้มีการวางศิลาฤกษ์สำนักฝึกธรรม นักบุณดอมินิก ซาวีโอซึ่งจะก่อสร้างในบริเวณวัด
คุณพ่ออูโก ซันนา ได้รับตำแหน่งเป็นอธิการในปี ค.ศ.1977 เพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่ง
ในปีต่อไป ค.ศ.1976 เมื่อมีการเปิดบ้านเณรสันติธรรมซาวีโอ คุณพ่ออูโก ซันนา ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบ้านเณร ด้วย
คุณพ่อประธาน ศรีดารุณศีล เป็นอธิการ คุณพ่อเลโอ เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาส คุณพ่อซันนา ยังเป็นอุปสังฆราช ในปี ค.ศ.1980 นี้คุณพ่อประธาน ศรีดารุณศีล ได้มาเป็นอธิการบ้านและอธิการบ้านเณร คุณพ่อกุสต๊าฟ โรเซนส์ (Fr.Roosens Gustav) เป็นเหรัญญิกสังฆมณฑลและเจ้าอาวาส ค.ศ.1981 – 1989 ท่านได้ดำเนินการปรับปรุงวัดแล้วสร้างที่เก็บน้ำฝน นอกนั้นท่านก็ได้สร้างบ้านเจ้าอาวาสใหม่ทางทิศตะวันออกของสนามฟุตบอล เพราะว่าสำนักพระสังฆราชคับแคบและไม่มีที่สำหรับกิจการของเจ้าอาวาสบ้านเจ้าอาวาสใหม่นี้ยังได้เป็นสำนักงานขององค์กรบางอย่างของสังฆมณฑลด้วย
คณพ่ออูโก ซันนา เป็นอธิการ ในปี ค.ศ.1982 คุณอูโก ซันนา ได้มารับตำแหน่งอธิการบ้านและอุปสังฆราชที่สุราษฎร์ธานีเป็นวาระที่ 2 คุณพ่อประพนธ์ ชัยเจริญ เป็นอุปสังฆราชในปี ค.ศ.1984 และเป็นอธิการบ้านด้วย คุณพ่อได้เอาใจใส่เรื่องบ้านเณรของสังฆมณฑลเป็นพิเศษ นอกนั้นโดยร่วมมือกับคุณพ่อกุสต๊าฟ โรเซนต์ คุณพ่อได้ทำโครงการขยายการศึกษาของโรงเรียนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และเปิดโรงเีรยนอาชีวะดอนบอสโกด้วย คุณพ่อสมชาย กิจนิชี ทำหน้าที่เป็นอธิการในปี ค.ศ.1988 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1988 คุณพ่อประพนธ์ ชัยเจริญ ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆราชแทนพระคุณเจ้าคาเร็ตโต คุณพ่อสมชาย กิจนิชี ได้ทำหน้าที่เป็นอธิการบ้านและโรงเีรียน ในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ 1988 อาสนวิหารราฟาเอล ได้จัดพิธีอภิเษกพระสังฆราชประพนธ์ ชัยเจริญ เป็นประมุขของสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี โดยมีพระสังฆราชทุกสังฆมณฑลในประเทศไทย ให้เกียรติมาร่วมในงานบวชนี้ มีพระสงฆ์ ซิสเตอร์ และสัตบุรุษจำนวนมากจากวัดต่าง ๆ มาร่วมพิธี คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ (Fr.John visser) เป็นเหรัญญิกสังฆมณฑล - เจ้าอาวาส ในปี ค.ศ.1989 – 1992 ในปีนี้ คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ มารับตำแหน่งเจ้าวัด และเหรัญญิกสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี แทนคุณพอโรเซนส์ท่านได้ปรับปรุงสุสานของวัดบ้านดอนให้เหมาะสม ในระหว่างปี ค.ศ.1990 - 2000 ทางสังฆมณฑล ระดมกำลังบุคลากร เพื่อเตรียมฉองปี ค.ศ.2000 ในทุกระดับ คือ ระดับสังฆมณฑล ระดับโรงเรียน และระดับวัดในเขตสังฆมณฑล เพื่อปลุกจิตสำนึกของคาทอลิก ถึงความสำคัญของการไถ่กู้ การกลับใจ และการฟื้นฟูจิตใจของคาทอลิก เพื่อเตรียมตัวรับพระพรอย่างเต็มเปี่ยมในปี ปีติมหาการุญปี ค.ศ. 2000 ที่จะมาถึง คุณพ่อมารีโอ ซาลา เป็นเหรัญญิกสังฆมณฑล - อธิการบ้าน-เจ้าอาวาส ค.ศ.1992 – 1994 ในปี ค.ศ.1992 ทางสังฆมณฑล ได้อนุมิต Master plan ของบริเวณโรงเีรียนเทพมิตรศึกษา เพื่อสร้างอาคาร 6 ชั้น ที่จะทำในระยะ 10 ปีข้างหน้า คุณพ่อศักดิ์ชัย ตรัสว่าอุดม เป็นอธิการ-เจ้าอาวาส ค.ศ.1994 – 1997 ในปี ค.ศ.1994 ทางสังฆมณฑล ได้จัดงานฉลอง 25 ปีของสังฆมณฑล และเนื่องจากว่าอยู่ในทศวรรษเตรียมปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ.2000 พระคุณเจ้าประพนธ์ และทีมงานได้ตั้งโครงการให้ทุกวัดมีหนังสือพระคัมภีร์ตั้งไว้ในที่ดีเด่น นอกนั้นให้ครอบครัวคริสตังทุกครอบครัวได้หาหนังสือพระคัมภีร์มาไว้ที่บ้านและอ่านเป็นประจำ พระคุณเจ้าและทีมงานยังพยายามให้มีการตั้งกลุ่มคริสตชนแห่งการภาวนาโดยใช้พระวาจาของพระเจ้า
คุณพ่อสุพจน์ ริ้วงาม มารับตำแหน่งพ่อเจ้าอาวาส และเหรัญญิกสังฆมณฑล ในปี ค.ศ.1997 ในปี ค.ศ.1999 สำนักพระสังฆราชสร้างเสร็จ และทำพิธีเปิด ในวันที่ 12 กันยายน ย้อนกลับไปปี ค.ศ.1959 คนในสมัยนั้น ตอนเริ่มโรงเรียนเทพมิตรศึกษา อย่างง่ายๆ คงไม่มีใครคาดได้ว่ากิจการคาทอลิกจะมีการขยายตัวมากขนาดนี้ในระยะเวลาเพียง 40 ปี อนึ่ง คณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ ที่พระคุณเจ้าปาซอตตี ได้ตั้งคณะขึ้นมาในปี ค.ศ.1937 ได้เป็นกำลังสำคัญของวัดอัครเทวดาราฟาเอลและสังฆมณฑลใหม่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินงานโรงเรียนต่าง ๆ ของสังฆมณฑล ทั้งในสมัยของพระคุณเจ้าคาเร็ตโต และพระคุณเจ้าประพนธ์
LIST OF THE PARISH PRIESTS – SURATTHANI
ลำดับที่ รายชื่อ จาก ถึง
1 คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ 1959 1963
2 คุณพ่อนาตัล มาเน 1963 1968
3 คุณพ่อเปโตร เยลลิชี 1968 1972
4 คุณพ่อยอแซฟ วิตาลี 1972 1973
5 คุณพ่อยอแซฟ ฟอร์ลัสซินี 1973 1974
6 คุณพ่อฮูโก ซันนา 1974 1981
7 คุณพ่อกุสต๊าฟ โรเซ่นส์ 1981 1989
8 คุณพ่อยอห์น วิสเซอร์ 1989 1992
9 คุณพ่อมารีโอ ซาลา 1992 1994
10 คุณพ่อศักดิ์ชัย ตรัสว่าอุดม 1994 1997
11 คุณพ่อสุพจน์ ริ้วงาม 1997 2002
บ้านเณรของสังฆมณฑล สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ (ตามการรายงานโอกาส 25 ปี สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ)
บ้านเณรเป็นสถาบันที่จำเป็นที่สุดของสังฆมณฑล เพื่อเตรียมบุคคลากรสำหรับการประกาศพระวรสาร ดำเนินงานและการอภิบาลในสังฆมณฑล ผู้ที่พระเจ้าทรงเรียกมาเป็นพระสงฆ์ ต้องใช้เวลาหลายปีในการเรียนและศึกษากระแสเรียก จึงจะพร้อมตัดสินใจสมัครเป็นพระสงฆ์ เมื่อพระคุณเจ้าคาเร็ตโต ได้มาอยู่ประจำที่สุราษฎร์ธานี ในปี ค.ศ.1969 ท่านได้ตั้งโครงการที่จะเปิดบ้านเณรของสังฆมณฑล เมื่อทางสังขมณฑลมีความพร้อม
ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1975 โอกาสฉลองอัครเทวดาราฟาเอล พระคุณเจ้าคาเร็ตโต ได้เสกอาสนวิหารราฟาแอล ขยายปีกวัด 2 ข้าง ขยายหน้ามุขใหม่ ในโอกาสเดียวกันนี้ ท่านได้เสกศิลาฤกษ์สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอที่จะสร้างขึ้นมาในบริเวณวัด ในวัน 20 มิถุนายน ค.ศ.1976 โอกาสฉลองหิรัญสมโภชน์ของการบวชเป็นสังฆราชของพระคุณเจ้าคาเร็ตโต และวันฉลองแห่ศีลมหาสนิท ได้เสพและเปิดสำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ มอบหมายให้คณะนักบวชซาเลเซียนเป็นผู้รับผิดชอบการอบรมและให้การศึกษาแก่สามเณร คุณพ่ออูโก ซันนา เป็นอธิการคนแรกของสำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ และซิสเตอร์เทเรส สวิง ทัพศาสตร์ เป็นผู้ดูแลครัว ในปีแรกมีเณรทั้งหมด 13 คน เณรเิ่รมมีบทบาทในวัดทำให้พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ในอาสนวิหารมีความสง่างามมากขึ้น ในปี ค.ศ.1980 ได้มีการเปลี่ยนแปลงคุณพ่ออธิการเป็นครั้งแรก เนื่องจากคุณพ่ออูโก ซันนา ย้ายไปอยู่ที่อื่นระยะหนึ่ง คุณพ่อเจ้าคณะซาเลเซียนจึงส่งคุณพ่อประธาน ศรีดารุณศีล มาเป็นอธิกา่ร เณรมีจำนวนเฉลี่ยระหว่าง 35-45 คน เป็นประจำ
ในปี ค.ศ.1982 คุณพ่อซันนา กลับมาเป็นอธิการอีกต่อมาในปี ค.ศ 1984 มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคุณพ่ออูโก ชันนา ย้ายไปเป็นอธิการที่บ้านซาเลเซียนสามพราน ดังนั้น คุณพ่อประพนธ์ ชัยเจริญ จึงมารับหน้าที่แทน โดยมีคุณพ่อศักดิ์ชัย ตรัสว่าอุดม มาช่วยบริหารงานบ้านเณร ช่วยคุณพ่ออธิการอีกแรงหนึ่งและในวันเสาร์ที่ 27 กันยายน ค.ศ.1987 โอกาสฉลองครบรอบ 75 ปี ของพระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต และฉลองอาสนวิหารดาฟาเอล ก็มีพิธีเสกบ้านเณรที่ได้ขยายต่อเติมและปรับปรุงใหม่ พระสมณฑูตอัลแบร์โต ตรีการีโก ทำพิธีเสก เณรมีบทบาทมากขึ้นในวัด ในโรงเรียน และในการสอนคำสอนตามวัดต่าง ๆเฉพาะอย่างยิ่งในภาคฤดูร้อน วันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1988 คุณพ่อประพนธ์ ชัยเจริญ ได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราช สืบตำแหน่งแทน พระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต ดังนั้นคุณพ่อตอมินิก อากุส จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอธิการแทน ปี ค.ศ.1993 คุณพ่อสุขสันต์ ชาวปากน้ำ ซึ่งเป็นเลขานุการของพระสังฆราช เข้ารับตำแหน่งอธิการแทนคุณพ่ออากุส เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ.1994 สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ ต้องสูณเสยปูชนียบุคคลที่สำคัญ นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้ง แก่คณะผู้ใหญ่ และบรรดาเณร ของสังฆมณฑลฯนั่นก็คือ พระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต ผู้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ อีกหนึ่งปีต่อมา คุณพ่อยุทธการ ยนปลัดยศ ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์จากพระสังฆราช ไมเกิ้ล ประพนธ์ ชัยเจริญ ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ.1995 ที่วัดแม่พระฟาติมา บ้านแสงอรุณ และเป็นผลผลิตแรกของสำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ นับตั้งแต่เปิดบ้านเณรมา และในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ.1996 คุณพ่อนทีธี รานุวรรัตน์ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์จากพระสังฆราชไมเกึ้ล ประพนธ ชัยเจิรญ ณ วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์พนม ซึ่งนับเป็นพระสงฆ์องค์ที่สองของสำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ ปีเดียวกันนี้เอง บ้านเณรก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคุณพ่อสุพจน์ ริ้วงาม มาดำรงตำแหน่งอธิการแทน คุณพ่อสุขสันต์ ชาวปากน้ำ คุณพ่อยุทธการ ยนปลัคยศ เป็นรองอธิการครั้งถึงปี ค.ศ.1998 ประวตศาสตร์หน้าใหม่ ของสำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งเมื่อ คณพ่อยุทธการ ยนปลัดยศ ซึ่งเป็นพระสงฆ์องค์แรกของบ้านเณร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการของสำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ แทนคุณพ่อสุพจน์ รี้วงาม ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ดำเนินมาจนกระทั่งวันนี้ สำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ ได้รับการพัฒนาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเ่รื่อยมาตลอดทั้งในด้านอาคารสถานที่ การอบรม และบุคคลากร ที่ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาทำหน้าที่ เพื่อช่วยให้สถาบันแห่งนี้ ได้เป็นแหล่งเพาะเมล็ดพันธ์แห่งกระแสเีรียก และผลิตบุคคลากรสงฆ์ที่มีคุณค่า และคุณภาพ ให้พระศาสนจักร และตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เด็ก ๆ และเยาวชน ทั้งหมด 200 ชีวิตได้ที่ผ่านเข้ามา ณ สถาบันแห่งนี้ แม้ว่าผู้ได้รับเรียกมีมาก แต่ผู้ที่ได้รับเลือกสรรจะมีน้อยก็ตาม นั่นหาใช่สิ่งสำคัญไม่ที่สำคัญคือ สิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นได้รับการปลูกฝัง อบรม และขัดเกลาจากบ้านเณรจนทำให้พวกเขาได้กลายเป็น คนที่มีคุณค่าของสังคม เป็นคิรสต์ชนที่ดี มีความหมายต่อพระศาสนจักร อันเป็นพลังสำคัญของสังคมและพระศาสนจักร จวบจนปัจจุบันในขวบปีที่ 25 สำนักฝึกธรรมดอมินิก ซาวีโอ มีคุณพ่อยุทธการ ยนปลัดยศ เป็นอธิการ มีจำนวนสามเณร ทั้งสามเณรเล็ก และสามเณรใหญ่ ของสังฆมณฑล จำนวน 36 คน จากวันนั้น...ที่ผ่านมา 25 ปี คือ... 25 ปี แห่งการสรรเสริญ และขอบพระคุณพระเป็นเจ้าที่ทรงเมตตาประทานพระพรนานับปการแก่สถาบันแห่งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คือ... 25 ปี แห่งความกตัญญูรู้คุณ จากดวงใจทุกดวงที่ได้เคยสัมผัสบ้านเณรหลังนี้ ต่อคณะผู้ใหญ่ และผู้มีอุปการะคุณทุก ๆ ท่าน ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน คือ... 25 ปี แห่งความภาคภูมิใจ ของพระศาสนาจักรในประเทศไทย ที่ได้เห็นความก้าวหน้า และมั่นคงของสถาบันนี้ ในการผลิตบุคลากรสงฆ์ให้มีคุณภาพ คือ... 25 ปี แห่งอัศจรรย์ความรักของพระเป็นเจ้า ที่เฝ้าปกปักดูแลทำนุบำรุง สำนักฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ ให้ยืนอยู่ ณ ที่นี้ในวันนี้ คือ... 25 ปีแห่งพลังชีวิตที่จะต้องก้าวเดินต่อไปด้วยกัน ในการยืนหยัคความดีต่าง ๆ เฉกเช่น 25 ปีที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาความดีต่าง ๆ นั้นสืบไป และด้วยมโนสำนึก... แห่งความกตัญญู ต่อผู้ได้ก่อตั้งสถาบันแห่งนี้คือ พระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต ผู้ซึ่งบากบั่นพากเพียร สร้างสรรค์ ผลงานชิ้นโบแดง จากสถานฝึกอบรมเล็ก ๆ บัดนี้ได้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นสถาบันที่ผลิตบุคคลากรสงฆ์ให้แก่พระศาสนาจักร และได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมและพัฒนา จึงเปรียบดังการปลูกต้นไม้... ที่ได้รับการดูแล รดน้ำ พรวนดิน จนหมู่ไม้เจริญเติบโต ผลิดอกออกผล เป็นที่น่าชื่นชม แม้เวลาจะผ่านพ้นไป... แต่ผลงานที่ฝากไว้.. ยังมิได้สิ้นสุดลง ด้วยรากฐานที่หยั่งรากลึกนี้... สำนึกฝึกธรรม ดอมินิก ซาวีโอ ถือเป็นภารกิจอันสำคัญที่จะสานต่อเจตนารมย์ และปณิธานที่ได้ตั้งไว้นี้สืบไป.. ในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ.2001 ในโอกาสฉลอง 25 ปี ของบ้านเณรสำนักฝึกธรรมซาวีโอ ได้มีการบวชพระสงฆ์อีก 2 องค์ คือ คุณพ่ออรรคเดช ทับปิง และคุณพ่อทรงราชย์ ศรีระหงส์ ในปี คศ.2003 ได้มีการบวชพระสงฆ์อีกองค์หนึ่งคือคุณพ่อสุวัฒน์ เหลืองสอาด ที่อาสนวิหารอัครเทวดาราฟาเอล ในปี ค.ศ.2004 คุณพ่อแพทริก มัชโชนี (Maccioni patrick) พระสงฆ์ซาเลเซียน ได้มาบริหารสำนักฝึกธรรมซาวีโอ อีกครั้งหนึ่ง แต่น่าเสียดายว่าในปลายปีการศึกษา ทางสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีได้ตัดสินใจที่จะปิดบ้านเณรชั่วคราว เพื่อปรับปรุงสถานการณ์เสียใหม่ นิคมเกษตรสมหวังและท่าทอง นิคมสมหวังเป็นนิคมเกษตรขนาดเล็กที่เกิดจากความร้อนรน ด้านงานอภิบาล และประสบการณ์ของคุณพ่อนาตัล มาเน เมื่อคุณพ่อนาตัล มาเนอยู่ที่หาดใหญ่ระหว่างปี ค.ศ.1947-1954 และเดินทางไปเยี่ยม คริสตชนที่กระจัดกระจายใน 14 จังหวัดภาคใต้ ท่านได้เห็นที่ดินที่เหมาะแก่การเกษตรหลายแห่งทีว่างเปล่า ในปี ค.ศ.1949 ขณะที่คุณพ่ออยู่ที่หาดใหญ่ คุณพ่อได้ไปพูดที่วัดบางนกแขวก และที่วัดเพลงเกี่ยวกับที่ดินที่ว่างทางภาคใต้ใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ตามเสันทางที่กำลังเปิดใหม (สายเพชรเกษม) ระหว่างหัวหินถึงชุมพร มีบางครอบครัวได้ไปจับจองอยู่แล้ว ที่ทุ่งประดู่ ใกล้ทับสะแกหลังจากที่คุณพ่อพูด ที่วัดทั้งสองแห่งนี้แล้ว ก็มีหลายครอบครัวสนใจ และบ้านแสงอรุณก็เกิดขึ้น เมื่อคุณพ่อได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสที่บ้านดอน ท่านก็เป็นห่วงถึงครอบครัวคริสตัง ที่กระจัดกระจายและห่างจากวัด ในปี ค.ศ.1964 ท่านเชิญชวนครอบครัวเหล่านั้นมารวมกัน ที่คลองสมหวัง ตำบลวัตประดู่ ท่านได้ขออนุญาตพระคุณเจ้าคาเร็ตโต และอาศัยความช่วยเหลือของท่าน และผู้ใจบุญอีกหลายท่าน คุณพ่อก็สามารถช่วยเหลือหลายครอบครัว ให้มาอยู่รวมกันที่นิคมสมหวัง จุดประสงค์เพื่อให้พวกเขาอยู่รวมกันจะได้มีวัดของเขาเอง เพื่อจะได้มีโอกาสร่วมพิธีมิสซาและรับศีลบ่อย ๆ และลูก ๆ จะได้เีรียนในโรงเรียนคาทอลิกและเรียนคำสอน เนื่องจากว่าในสมัยนั้นระยะทาง 10 กิโลเมตรเพื่อไปตลาดยังไม่สะดวก ไม่มีถนนหนทาง คุณพ่อได้สนับสนุนให้มีการเปิดร้านสหกรณ์ ในบ้านของ นายเซ่ กิจเจริญ ทุกครอบครัวมีฟ้ทธิ์ซื้อของในราคาถูก แต่ส่วนมากคุณพ่อต้องการให้สัตบุรุษไปร่วมพิธีที่วัดบ้านดอนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เมื่อไปวัดที่บ้านดอนชาวบ้านจะต้องข้ามคลองฉิมหวัง ไปขึ้นรถประจำทางที่สะพานท่ากูบ หรือนั่งเรือประมาณ 4 กิโลเมตร ถึงสะพานมะขามเตี้ย ต่อมา นายเซ่ กิจเจิรญ สร้างบ้านที่ปากคลองใหม่เทพรักษ์เสร็จแล้ว มีพระสงฆ์มาถวายมิสซาที่บ้านนั้นทุกวันอาทิตย์ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1967 พระสมณฑูตอันเยโล เปโดรนี ไปเยี่ยมสัตบุรุษบ้านสมหวัง พร้อมกับพระสังฆราชเปโตร คาเร็ตโต โอกาสนั้น ฯพณฯ ท่าน ได้ตั้งชื่อสถานที่ถวายมิสซานั้นว่า “บ้านเทพรักษ์”(อัครเทวดามีคาเอล) และได้ถวายูรปปั้น “เทวดารักษา”่ หนึ่งูรป นามของ ฯพณฯท่าน “อันเยโล” แปลว่า “เทวดา” คลองเทพรักษ์ ชาวสมหวัง หลังจากที่ได้ถากถางป่าเรียบร้อยแล้ว โดยมีนายชู แก้วมหา ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้น่า ได้ร่วมมือร่วมแรงกันขุดคลองเชื่อมหนองขุนทะเลกับคลองฉิมหวัง ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร คุณพ่อเจ้าวัดได้ช่วยเหลือปัจจัยส่วนหนึ่ง และอาหารตลอดเวลาที่มีการขุดคลอง จนกระทั่งงานสำเร็จ เมื่อได้น้ำจากคลองใหม่เทพรักษ์แล้ว ชาวสมหวังจึงได้เลิกที่ขุดร่อง ในแปลงของตน พวกเขามีน้ำพอใช้ตลอดปี ในปี ค.ศ.1968 มีคริสตังอยู่ที่สมหวังประมาณ 80 คน พอดีคุณพ่อมาเน ย้ายไปอยู่หาดใหญ่และคุณพ่อเกรสปีมาอยู่สุราษฎร์ธานี ท่านคิดว่าบางทีนิคมสมหวังอาจจะเป็นที่เหมาะสมที่จะทำเป็นนิคมเกษตรใหญ่ แต่พระคุณเจ้าคาเร็ตโตแนะนำท่านว่าทางสังฆมณฑลต้องการที่ดินผืนใหญ่กว่านี้และที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ ถนนเทพรักษ์ ในปี ค.ศ.1977 กรมทางหลวงได้เปิดทางสายท่ากูบ - บ้านดอนเกลี้ยง ทางใหม่นี้อยู่ห่างจากคลองเทพรักษ์ 2 กิโลเมตร ชาวสมหวังภายใต้การนำของ นายถวิล เดชจินดา ผู้ใหญ่บ้านได้ช่วยกันสร้างถนนเพื่อเชื่อมทางสายใหม่กับคลองเทพรักษ์ ยาว 2 กิโลเมตร และกว้าง 4 เมตร แล้วสร้างถนนเชื่อมคลองเทพรักษ์กับคลองฉิมหวัง ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ถนนสายที่สองนี้ ผ่านที่ดินแปลงที่มี 11วัดอัครเทวดามีคาเอลจในปี ค.ศ.1980 พระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต ประธานมูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี ได้ออกทุนสร้างสะพานชั่วคราวข้ามคลองเทพรักษ์ และบริจาคเงินหมื่นบาทช่วยสร้างสะพานข้ามคลองฉิมหวังตั้งแต่นั้นมาพระสงฆ์ที่ไปถวายมิสซาที่สมหวัง นั่งรถยนต์ตลอดทาง คือ จากวัดบ้านดอนไปถึงสมหวัง โดยไม่ต้องนั่งเรืออีกดังที่เคยทำตลอดมา วัดอัครเทวดามีคาแอล ในปี ค.ศ.1978 - 1980 คุณพ่อเลโอ โอโชวา ได้ย้ายสถานที่ถวายมิสซาจากบ้าน นายเซ่ กิจเจิรญ มาที่บ้านนายไพโรจน์ แซ่โล้ว เพราะสะดวกกว่าเป็นเวลาหลายปีแล้วที่สัตบุรุษบ้านสมหวังปรารถนาที่จะมีวัดสวยงาม สมกับเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ความปรารถนานั้นได้กลายเป็นความจริง ในปี ค.ศ.1980 คุณพ่อมาเน กลับมาอยู่ที่สุราษฎร์ธานี และดำเนินการสร้างวัด เพราะพระพรของพระเจ้า เงินก้อนใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของงบประมาณการก่อสร้างได้มีผู้ใจบุญจัดหาให้ คือ บราเดอร์ อัลโด โรมีเตลลี ผู้จัดวัดพระหฤทัยที่กรุงโรม พระคุณเจ้าจึงได้อนุมัติให้ลงมือสร้างวัดทันที นอกจากนั้นยังมีสัตบุรุษใจศรัทธาจากวัดหลายแห่งในประเทศไทย ได้บริจาคเงินสมทบทุนด้วยใจกว้างขวาง จึงมีทุนสำหรับสร้างสร้างวัด โรงพละ ห้องคำสอน และสนามบาสเก็ตบอลด้วย และได้ทำพิธีเปิดใน วันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.1981
ท่าทอง “บ้านพระหฤทัย” กลางเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1968 ชาวท่าทองกลุ่มหนึ่งได้ขอร้องคุณพ่อนาตัล มาเน ให้ไปสอนคำสอนแก่คริสเตียน ที่ท่าทองบ้าง ตั้งแต่นั้นมา คุณพ่อกับบราเดอร์สนั่น วาทนเสรี และซิสเตอร์คณะผู้รับใช้ฯได้ไปที่ท่าทองทุกเย็นวันเสาร์ คุณพ่อสอนคำสอนให้แก่ผู้ใหญ่ ซิสเตอร์สอนคำสอนและฝึกขับร้องแก่เด็กส่วนบราเดอร์สนั่น พอตกค่ำก็ฉายหนังและภาพนิ่งที่กลางตลาด
ในปี ค.ศ.1972 คุณพ่อเซซาร์ คัสเตลลิโน จากกรุงโรม ส่งเงินมาหมื่นบาทเพื่อสร้าง บ้านพระหฤทัย พระสังฆราช เปโตร คาเร็ตโต ออกทุนสร้างบ้าน 2 ชั้น ให้ครอบครัวคริสตังครอบครัวหนึ่งอยู่ด้านล่างโล่ง ใช้เป็นที่ชุมนุมเมื่อคุณพ่อหรือซิสเตอร์มาสอนคำสอน
ในปี ค.ศ.1982 มีการปรับปรุงบ้าน 2 ชั้น และบริเวณให้สวยงามขึ้น และได้กลายเป็นที่พักของซิสเตอร์คณะอัสสัมชัญ ชาวฟิลิปินส์ระยะหนึ่ง ขณะที่เขาช่วยงานสังคมพัฒนาของสังฆมณฑล