รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

สวนโมกขพลาราม สุราษฎร์ธานี

tour-suan-mok-kha-pla-ram-surat-thani

สวนโมกขพลาราม
สถานศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรมที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งในพุทธศาสนจักร กำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2502โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ภิกษุผู้ประกาศตนขอเป็นทาสแห่งพุทธองค์ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกและทดลองปฏิบัติอย่างแน่วแน่จนก่อเกิดปัญญารู้แจ้งในพระธรรมคำสอนกระทั่งแยกแยะได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไรและหัวใจของคำสอนคืออะไรท่านพุทธทาสได้ใช้ความรู้ความเข้าใจที่ได้สร้างสรรค์เป็นคำสอนที่เข้าใจง่ายๆถ่ายทอดแก่พุทธศาสนิกชนทั้งยังเผยแพร่เป็นภาษาต่างๆและได้รับการยอมรับกันทั่วโลก ภายในสวนโมกข์มีการจัดภูมิสถาปัติที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรม จิตรกรรมและวรรณกรรมทั้งหมดสอดรับกลมกลืนกับธรรมชาติและแสดงพุทธธรรมที่ลึกซึ้งแต่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ

tour-suan-mok-kha-pla-ram-surat-thani tour-suan-mok-kha-pla-ram-surat-thani

อยู่บริเวณเขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข ๔๑ บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๓๔ เดิมชื่อวัดธารน้ำไหล มีท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ. ศ. ๒๕๐๒ เพื่อเป็นสถานที่แสวงหาความสงบและศึกษาธรรม มีโรงมหรสพ ทางวิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยภาพศิลป์ บทกวี คติธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ภาพพุทธประวัติ ภาพจำลองจากภาพหินสลัก เรื่องพุทธประวัติในอินเดีย รอบบริเวณร่มรื่นเหมาะสำหรับเป็นที่ฝึกอบรมจิตใจและศึกษาพุทธศาสนา มีการสอนฝึกสมาธิแก่ชาวต่างประเทศ ทุกวันที่ ๑- ๑๐ ของเดือน และสำหรับคนไทย ทุกวันที่ ๒๐– ๒๗ ของทุกเดือน ตั้งแต่เวลา ๘. ๓๐– ๑๗. ๐๐ น.

tour-suan-mok-kha-pla-ram-surat-thani

เดิมชื่อวัดธารน้ำไหล มีเพื่อเป็นสถานที่แสวงหาความสงบและศึกษาธรรม มีโรงมหรสพทางวิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยภาพศิลป์ บทกวี คติธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ภาพพุทธประวัติ ภาพจำลองจากภาพหินสลัก เรื่องพุทธประวัติในอินเดีย รอบบริเวณร่มรื่นเหมาะสำหรับเป็นที่ฝึกอบรมจิตใจและศึกษาพุทธศาสนา

สถานที่ฝึกลิง สุราษฎร์ธานี

tour-monkeys-training-surat-thani

สถานที่ฝึกลิง
ตั้งอยู่ที่๒๔หมู่๔ตำบลทุ่งกงห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ใช้เส้นทางสายสุราษฎร์ธานี- นครศรีธรรมราช ทางหลวงหมายเลข ๔๐๑ ประมาณ ๗ กิโลเมตร และมีทางแยกด้านขวามือเป็นถนนลูกรังไปศูนย์ฝึกลิง อีก ๒ กิโลเมตร จะเห็นป้าย “ วิทยาลัยฝึกลิงเพื่อการเกษตร” อยู่ด้านขวามือ มีการสาธิตและบรรยายหลักสูตรการฝึกลิงกัง จากเริ่มต้นจนสามารถทำงานได้จริง

ศาลเจ้าแม่กวนอิม สุราษฎร์ธานี

tour-san-chaomae-kuan-im-surat-thani

ศาลเจ้าแม่กวนอิม
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ บ้านโฉลกหลำ ระยะทางจากท้องศาลาประมาณ ๙ กิโลเมตร สร้างเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๖ เมื่อขึ้นไปถึงหน้าศาลจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเกาะพะงัน นับเป็นจุดชมวิวที่สวยงามจุดหนึ่ง การเดินทาง สามารถติดต่อรถสองแถวสายท้องศาลา- บ้านโฉลกหลำ

วัดหลง สุราษฎร์ธานี

tour-wat-long-surat-thani

วัดหลง
เป็นโบราณสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีแห่งหนึ่ง ชื่อวัดหลง บางท่านเชื่อว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า วัดหลวง ปัจจุบันเป็นวัดร้างเหลือแต่เจดีย์ ซึ่งมีสภาพเป็นซากอาคารขนาดใหญ่อยู่องค์หนึ่ง เหลือเพียงส่วนฐาน กรมศิลปากรได้ประกาศให้เป็นโบราณสถานสำหรับชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 ต่อมากองโบราณคดี กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 - 2527 ใช้งบประมาณในการบูรณะรวมทั้งสิ้น 1,650,000 บาท ซึ่งการขุดแต่งนั้นได้กระทำอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะไม่เหมือนโบราณสถานอื่นๆ การขุดแต่งเจดีย์วัดหลงก็เพื่อหาหลักฐานทางสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ภายหลังการขุดแต่งบูรณะปฏิสังขรณ์ ทำให้สภาพของรูปทรงเจดีย์ชัดเจนขึ้น เผยให้เห็นฐานอาคาร ที่มีรูปแบบแผนผัง ทรงกากบาท คล้ายคลึงกับโบราณสถานที่วัดแก้ว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 14-15 และถูกสร้างทับอีกครั้ง ในราวพุทธศตวรรษที่ 18-22

เจดีย์วัดหลง มีลักษณะทรวดทรงทางสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยที่สำคัญในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าเจดีย์วัดหลงสร้างร่วมสมัยกับพระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์ที่ทิ้งร้างมานานจนชำรุดเหลือแต่ซากอิฐ และฐานราก สันนิษฐานว่าโบราณสถานวัดหลงเป็นหนึ่งในจำนวนปราสาท 3 หลัง ที่พระเจ้ากรุงศรีวิชัยในศิลาจารึกหลักที่ 23 สั่งให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานรูปเคารพในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เมื่อปี พ.ศ.1318

tour-wat-long-surat-thani

เจดีย์วัดหลงเดิมปกคลุมด้วยดินและต้นไม้ใหญ่ ๆ หนาทึบ เมื่อกรมศิลปากรได้ขุดแต่ง และได้พิจารณารูปทรงเห็นว่าเป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมศรีวิชัย สมัยเดียวกับวัดแก้ว ลักษณะของเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบก่ออิฐไม่ถือปูน ฐานเป็นรูปกากบาท มีซุ้มทั้งสี่ทิศ มีประตูเข้าสู่ห้องกลางทางทิศตะวันออกเพียงด้านเดียวที่ห้องกลางก่ออิฐเป็น ผนังกรุทั้ง 4 ด้าน ตรงทางด้านทิศตามแนวทิศทั้งสี่ ผนังกรุด้านทิศตะวันออกกว้าง 3.50 เมตร ผนังกรุด้านทิศตะวันตกกว้าง 3.49 เมตร ผนังกรุด้านทิศเหนือ กว้าง 3.46 เมตร และผนังกรุด้านทิศใต้กว้าง 3.50 เมตร มีความลึกจากระดับพื้น ปูอิฐตอนบนถึงระดับอิฐปูพื้นล่างสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 2.59 เมตร

tour-wat-long-surat-thani

ในการขุดค้นทางวิชาการของกรมศิลปากร พบแต่เพียงเศษกระเบื้องดินเผาในห้องกลาง แต่มีไม่มาก แต่บริเวณฐานและบริเวณภายนอกใกล้กับกำแพงกั้นดิน พบศิลปโบราณวัตถุจำนวนมากได้แก่ เครื่องถ้วยสุโขทัย และเศษภาชนะดินเผาแบบพื้นบ้าน บรรดาเศษภาชนะดินเผา เหล่านี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ไม่ทราบชั้นดินแน่นอน ที่สำคัญได้พบพระพิมพ์ดินดิบปางสมาธิ และสถูปดินดิบ อยู่ที่พื้นตอนล่างข้างตัวอาคารศาสนสถาน ลักษณะรูปแบบศิลปะศรีวิชัย อาจเป็นวัตถุมงคล ที่เคยบรรจุ อยู่ภายในห้องมาก่อน ซึ่งต่อมาสิ่งที่บรรจุในห้องกรุได้ถูกค้นพบ และเคลื่อนย้ายออกไปหมด โบราณวัตถุทั้งหมดปัจจุบันแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร สุราษฎร์ธานี

tour-wat-phra-borom-that-chai-ya-ratcha-worawihan-surat-thani

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระบรมธาตุไชยา ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง และเป็นหนึ่งในสามของโบราณสถานอันศักสิทธิ์ของภาคใต้ อันประกอบด้วย พระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ถ้ำคูหาภิมุขจังหวัดยะลา องค์พระบรมธาตุเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียวที่ยังคงสภาพที่ดีที่สุด เข้าใจว่าสร้างในสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตรรษที่ 13-14 ไม่ปรากฏประวัติของผู้สร้าง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ 4 ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ทั้ง 4 ด้าน นับเป็นปูชนียสถานทางพุทธศาสนาที่สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดพระบรมธาตุไชยาฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอไชยา จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ภาพของเจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด ในธงและผ้าพันคอลูกเสือ ซึ่งถือกันว่าหากนักท่องเที่ยวยังไม่ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุไชยา ก็เหมือนยังไปไม่ถึงสุราษฎร์ธานีที่แท้จริง

tour-wat-phra-borom-that-chai-ya-ratcha-worawihan-surat-thani

อยู่ตำบลเวียง ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ ๕๔ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๔๑ และแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๐๑๑ เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ ๑๓๗ องค์พระเจดีย์เป็นโบราณสถาน ที่สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยรุ่งเรือง รอบองค์พระธาตุมีเจดีย์เล็กๆ ๔ ทิศ ล้อมรอบด้วยวิหารคด ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ขนาดต่างๆ โดยรอบทั้ง ๔ ด้าน พระธาตุไชยานับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

tour-wat-phra-borom-that-chai-ya-ratcha-worawihan-surat-thani tour-wat-phra-borom-that-chai-ya-ratcha-worawihan-surat-thani

วัดทุ่งกง สุราษฎร์ธานี

tour-wat-thung-kong-surat-thani

วัดทุ่งกง
มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ สร้างมานานแล้ว เป็นที่เคารพสักการะบูชาของชาวบ้านตำบลทุ่งกงและชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง

วัดถ้ำคูหา สุราษฎร์ธานี

tour-wat-tham-kuha-surat-thani

วัดถ้ำคูหา
ศาสนสถานในพุทธศาสนาที่สืบเนื่องกันมานับพันปี ในระยะแรกคงเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน โดยดูจากพระพุทธรูปดินดิบที่ปั้นประดับอยู่บนผนังและเพดานถ้ำด้านบน กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีชุมชนโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในบริเวณลุ่มน้ำคลองท่าทองมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นและคงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนภายนอก ในย่านชายฝั่งทะเลตั้งแต่อ่าวบ้านดอนไปถึงแหลมญวน อันเป็นแหล่งอารยธรรมที่รุ่งเรืองในพื้นถิ่นลุ่มน้ำสำคัญต่างๆของไทยไล่ไปตั้งแต่ลุ่มน้ำหลวง ลุ่มเจ้าพระยา ไปจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะเห็นได้จากศิลปกรรมของพระพุทธรูปดินดิบที่ถ้ำคูหาได้รับอิทธิพลศิลปจาม ในประเทศเวียดนาม ผสมผสานกับอิทธิพลศิลปทวารวดี ที่แผ่ขยายอยู่ในแถบตอนกลางของไทย ส่วนภาพปูนปั้นรูปซุ้มพญานาคและพระพุทธรูปนาคปรกปางมารวิชัย เป็นศิลปขอมมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นและพระพุทธรูปศิลาทรายที่สร้างตามศิลปกรรมแบบอยุธยา ที่บอกถึงเวลาสร้างว่าเป็นช่วงศตวรรษที่ 20 และก็พัฒนาต่อมาเป็นอารามตามสมัยปัจจุบัน

วัดถ้ำคูหา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขาคูหา เขาหินปูนขนาดย่อมลูกโดดในพื้นที่ มีโพรงถ้ำที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำใต้ดิน และน้ำฝนที่ไหลมาตามแนวถ้ำ มีทางเข้าถ้ำหันไปทางทิศตะวันออก เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีทางเดินเข้าไปด้านในต่อเนื่องกับปล่องด้านบนได้ ห้องโถงใหญ่ของถ้ำคูหามีขนาดถ้ำยาวประมาณ 17 เมตร กว้าง 8 เมตร ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออก ภายในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีทั้งพระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปศิลาทราย และพระพุทธรูปดินดิบ ในปางต่างๆกัน พระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิประดิษฐานเรียงราย เป็นแถวชิดผนังถ้ำด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีประมาณ 50 องค์ โดยมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางไสยยาสน์ ยาวประมาณ 8 เมตร ประดิษฐานไว้สุดผนังด้านในฝั่งตรงข้ามปากทางเข้าถ้ำ มีพระพุทธรูปดินดิบ เป็นพระพุทธรูปดินปั้นนูนสูง ประกอบด้วยภาพพระพุทธเจ้า และภาพเล่าเรื่องตามคัมภีร์ สัทธรรมปุณฑริกสูตรในพุทธศาสนามหายาน ปั้นปะติดบนผนังและเพดานถ้ำ เดิมมีผู้เล่าว่าภาพดินปั้นเหล่านี้มีเต็มตลอดเพดานถ้ำ แต่ได้หลุดร่วงไปเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันเหลือภาพดินปั้นอยู่สองตำแหน่ง ได้แก่ บริเวณผนังและเพดานตรงปากทางเข้าถ้ำและบริเวณมุมซอกเพดานด้านตะวันออกเฉียงใต้ กรมศิลปกรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อ 3 มกราคม 2480

tour-wat-tham-kuha-surat-thani

วัดถ้ำคูหามีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองยอ ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รูปเคารพในพุทธศาสนาที่ปรากฏในวัดถ้ำคูหา นอกจากมีความสำคัญในเชิงศิลปกรรมทางศาสนาแล้ว ยังเป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญให้ชนรุ่นหลังได้สืบค้นย้อนกาลเวลา เพื่อรู้จักรกรากชนพื้นถิ่นบรรพบุรุษของชาวกาญจนดิษฐ์ ที่เรารู้ว่าเป็นชุมชนโบราณที่มีวิวัฒนาการในย่านลุ่มน้ำคลองท่าทอง และมีอดีตยาวนานมาเป็นพันปี ร่วมสมัยกับแหล่งอารยธรรมอื่นในคาบสมุทรแห่งนี้ ที่มีการใช้ถ้ำเป็นศาสนสถาน ซึ่งจะเห็นได้จากพระพุทธไสยาสน์วัดคูหาแห่งนี้ คล้ายคลึงกับพระพุทธไสยาสน์ วัดคูหาภิมุข ที่จังหวัดยะลาเป็นวัดสมัยทวารวดีคาบเกี่ยวกับศรีวิชัยเช่นกัน

tour-wat-tham-kuha-surat-thani tour-wat-tham-kuha-surat-thani

วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี

tour-wat-kao-su-wan-na-pradit-surat-thani

วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
อยู่ห่างจากชุมชนอำเภอดอนสัก ๑ กิโลเมตร ตามเส้นทางสุราษฎร์ธานี- นครศรีธรรมราช ( ทางหลวงหมายเลข ๔๐๑) พระครูสุวรรณประดิษฐ์การ หรือหลวงพ่อจ้อย เกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคใต้เป็นผู้บุกเบิกสร้างขึ้น และมรณภาพเมื่อปี พ. ศ. ๒๕๓๖ แต่ยังคงอยู่ในโลงแก้วภายในอุโบสถ บนยอดเขายังเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้มาจากวัดพระเกียรติ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ รถสามารถขึ้นถึงบนยอดเขาได้

วัดแก้ว สุราษฎร์ธานี

tour-wat-keaw-surat-thani

วัดแก้ว หรือ วัดรัตนาราม
เป็นวัดที่มีความเก่าแก่และมีชื่อเสียง เป็นโบราณสถานตั้งอยู่ในเมืองโบราณไชยา เป็นแหล่งโบราณที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างสมัยเดียวกับเจดีย์วัดพระบรมธาตุไชยา ซึ่งบริเวณเมืองโบราณแห่งนี้ มีสิ่งก่อสร้างที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยความรุ่งโรจน์ของอารยธรรมโบราณ ครั้งอาณาจักรศรีวิชัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในอาณาจักรทางภาคใต้ของไทยในอดีต และมีวัฒนาการต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จาก เจดีย์โบราณที่วัดหลง เจดีย์โบราณที่วัดแก้ว เจดีย์วัดพระบรมธาตุไชยา และรอยอารยธรรมยุคถัดมเช่นที่วัดเวียงเป็นต้น

tour-wat-keaw-surat-thani

วัดแก้ว หรือ วัดรัตนาราม ตั้งอยู่ที่บ้านวัดแก้ว เลขที่ 124 หมู่ที่ 2 ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่เศษ วัดแก้วตั้งอยู่บนแนวสันทรายของชุมชนไชยาโบราณ อันมีโบราณสถานใกล้เคียงคือที่วัดหลงและวัดเวียง ไม่ปรากฏหลักฐานที่บอกถึงประวัติได้อย่างแน่ชัดว่าวัดแก้วสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้อความจากจารึกหลักที่ 23 ในศิลาจารึกวัดเสมาเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งจารึกด้วยอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ที่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธุ์ของโบราณสถานกลุ่มนี้ ที่พอจะทำให้สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทอิฐ 3 หลังนี้สร้างขึ้นด้วยจุดหมายที่ต่างกัน เจดีย์ที่วัดเวียงสร้างเพื่อประดิษฐานพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ เจดีย์วัดหลงสร้างเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ส่วนเจดีย์ที่วัดแก้วสร้างเพื่อประดิษฐานพระโพธิสัตว์วัชรปาณิ(พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร)

tour-wat-keaw-surat-thani

เจดีย์วัดแก้ว เป็นเจดีย์ทรงปราสาท โครงสร้างก่ออิฐไม่สอปูน ขัดผิวหน้าอิฐเรียบ อยู่ในผังรูปกากบาท ฐานชั้นล่างสุด เป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัวอาคารเรือนธาตุเป็นอาคารทรงจัตุรมุขขนาดประมาณ 18 x 18 เมตร มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน ระหว่างมุขทำเป็นย่อมุมไม้สิบสอง มุขทางด้านตะวันออกเป็นทางเข้าสู่ห้องโถงกลาง มีพระประธานปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐสอปูน มีสภาพชำรุดมาก ส่วนมุขที่เหลืออีก 3 ด้าน เป็นคูหาเล็กๆไม่สามารถเดินถึงกันได้ ส่วนยอดของอาคารได้พังทลายลงมา แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่า ส่วนยอดของเจดีย์วัดแก้วน่าจะคล้ายกับยอดของเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ที่มีการประดับเรือนชั้นลดหลั่นกัน กล่าวกันว่าภายใต้องค์เจดีย์มีลายแทงบันทึกไว้ว่า “เจดีย์วัดแก้ว ศรีธรรมโศกสร้างแล้ว ขุดแล้ว เรืองรอง สี่เท้าพระบาท เหยียบปาก พะเนียงทอง ผู้ใดคิดต้อง กินไม่รู้สิ้นเอย” ศาสนสถาน องค์นี้จึงเป็นประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าทางสถาปัตยกรรมในสมัยศรีวิชัยมาก เนื่องจากโบราณสถานสมัยนี้ส่วนใหญ่มักพังทลายเกือบหมดแล้ว

tour-wat-keaw-surat-thani

เจดีย์วัดแก้ว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเมืองไชยา เท่าที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบเดิมจนถึงปัจจุบัน กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479 กองโบราณคดีกรมศิลปากร ได้ขุดแต่งบูรณะในปี พ.ศ. 2519 -2522

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา สุราษฎร์ธานี

tour-chaiya-national-museum-surat-thani

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา
เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช ขึ้นตรงต่อสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางทิศตะวันออกของวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตำบลเวียง อำเภอไชยา จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี มีหน้าที่สำคัญตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 คือ มีหน้าที่ในการเก็บรักษาโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ได้ริเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2478 โดย พระครูโสภณเจตสิการาม อดีตเจ้าคณะอำเภอไชยาได้รวบรวมศิลปะโบราณวัตถุมาเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ พระวิหารหลวงและพระระเบียง ต่อมากรมศิลปากร ได้พิจารณารับเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรียกชื่อในขนาดนั้นว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี” โดยจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม ครั้นถึง พ.ศ. 2493 พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ได้เริ่มสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบไทยประยุกต์อาคารใหม่หลังแรก เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมา พ.ศ. 2499 ได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็นหลังที่สอง ด้านทิศเหนือ ใหญ่กว่าหลังแรก สร้างด้วยเงินงบประมาณของกรมศิลปากร และเงินงบประมาณการจร ซึ่ง พ.ต.อ.พัฒน์ นีลวัฒนานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้จัดหา อาคารหลังนี้ต่อมาได้มีชื่อว่าศาลานีลวัฒนานนท์ ต่อมาเมื่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับพระวิหารหลวงชำรุดทรุดโทรมและทางวัดจะรื้อสร้างใหม่ จึงได้ย้ายศิลปวัตถุทั้งหมดจากวิหารหลวงนำไปเก็บและตั้งแสดงในอาคาร พิพิธภัณฑ์ที่สร้างใหม่ เมื่อวันที่ 28 – 31 มกราคม พ.ศ. 2500

ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประเภทประวัติศาสตร์และโบราณคดี อาคารหลังแรกด้านหน้าจัดแสดงประติมากรรมศิลาและสำริดที่ค้นพบในเมืองไชยาเก่า ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ส่วนอาคารที่สอง เป็นที่จัดแสดงหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา นอกจากนี้ยังจัดแสดงงานประณีตศิลป์ต่าง ๆ อีกมากมาย

กิจการพิพิธภัณฑ์ได้เจริญก้าวหน้าตามลำดับมาประจวบกับในวาระสมโภชกรุงรัตน โกสินทร์ 200 ปี กรมศิลปากรเห็นเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะปรับปรุงกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากล จึงก่อสร้างเพิ่มเติมตัวอาคารขึ้นอีกหลังหนึ่งใน พ.ศ. 2524-2525 รวมเป็นอาคาร 3 หลัง และปรับปรุงการจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ โดยใช้สิ่งที่มีอยู่เดิม ตลอดจนที่ได้รับบริจาคและได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี งานทั้งปวงนี้ได้สำเร็จเรียบร้อยลงแล้ว จึงได้ประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา โดยได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑแห่งชาติ ไชยา และทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2525 เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2525 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยานี้ ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกภายในบริเวณวัดพระบรมธาตุไชยา

การเดินทาง จากตัวเมืองสุราษฎร์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลขที่ 41 ประมาณ 50 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายบริเวณ ก.ม. ที่ 134 จะถึงสวนโมกขพลาราม ส่วนวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารตั้งอยู่ห่างจากสวนโมกขพลาราม 3 กิโลเมตร สำหรับรถโดยสารประจำทางที่ผ่านมาแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวได้แก่ รถโดยสารสายสุราษฎร์ธานี-ระนอง และสุราษฎร์ธานี-ชุมพร นอกจากนี้ยังมีรถแท็กซี่บริการในเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ไชยา อีกด้วย

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1192 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์