รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา สุราษฎร์ธานี

tour-chaiya-national-museum-surat-thani

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา
เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช ขึ้นตรงต่อสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางทิศตะวันออกของวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ตำบลเวียง อำเภอไชยา จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี มีหน้าที่สำคัญตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 คือ มีหน้าที่ในการเก็บรักษาโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ได้ริเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2478 โดย พระครูโสภณเจตสิการาม อดีตเจ้าคณะอำเภอไชยาได้รวบรวมศิลปะโบราณวัตถุมาเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ พระวิหารหลวงและพระระเบียง ต่อมากรมศิลปากร ได้พิจารณารับเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรียกชื่อในขนาดนั้นว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี” โดยจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม ครั้นถึง พ.ศ. 2493 พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ได้เริ่มสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบไทยประยุกต์อาคารใหม่หลังแรก เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมา พ.ศ. 2499 ได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็นหลังที่สอง ด้านทิศเหนือ ใหญ่กว่าหลังแรก สร้างด้วยเงินงบประมาณของกรมศิลปากร และเงินงบประมาณการจร ซึ่ง พ.ต.อ.พัฒน์ นีลวัฒนานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้จัดหา อาคารหลังนี้ต่อมาได้มีชื่อว่าศาลานีลวัฒนานนท์ ต่อมาเมื่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับพระวิหารหลวงชำรุดทรุดโทรมและทางวัดจะรื้อสร้างใหม่ จึงได้ย้ายศิลปวัตถุทั้งหมดจากวิหารหลวงนำไปเก็บและตั้งแสดงในอาคาร พิพิธภัณฑ์ที่สร้างใหม่ เมื่อวันที่ 28 – 31 มกราคม พ.ศ. 2500

ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประเภทประวัติศาสตร์และโบราณคดี อาคารหลังแรกด้านหน้าจัดแสดงประติมากรรมศิลาและสำริดที่ค้นพบในเมืองไชยาเก่า ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ส่วนอาคารที่สอง เป็นที่จัดแสดงหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา นอกจากนี้ยังจัดแสดงงานประณีตศิลป์ต่าง ๆ อีกมากมาย

กิจการพิพิธภัณฑ์ได้เจริญก้าวหน้าตามลำดับมาประจวบกับในวาระสมโภชกรุงรัตน โกสินทร์ 200 ปี กรมศิลปากรเห็นเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะปรับปรุงกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากล จึงก่อสร้างเพิ่มเติมตัวอาคารขึ้นอีกหลังหนึ่งใน พ.ศ. 2524-2525 รวมเป็นอาคาร 3 หลัง และปรับปรุงการจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ โดยใช้สิ่งที่มีอยู่เดิม ตลอดจนที่ได้รับบริจาคและได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี งานทั้งปวงนี้ได้สำเร็จเรียบร้อยลงแล้ว จึงได้ประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา โดยได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารพิพิธภัณฑแห่งชาติ ไชยา และทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2525 เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2525 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยานี้ ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกภายในบริเวณวัดพระบรมธาตุไชยา

การเดินทาง จากตัวเมืองสุราษฎร์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลขที่ 41 ประมาณ 50 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายบริเวณ ก.ม. ที่ 134 จะถึงสวนโมกขพลาราม ส่วนวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารตั้งอยู่ห่างจากสวนโมกขพลาราม 3 กิโลเมตร สำหรับรถโดยสารประจำทางที่ผ่านมาแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวได้แก่ รถโดยสารสายสุราษฎร์ธานี-ระนอง และสุราษฎร์ธานี-ชุมพร นอกจากนี้ยังมีรถแท็กซี่บริการในเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ไชยา อีกด้วย

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1600 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์