2 ช่องทางและวิธีการเดินทาง แผนที่ ภูมิอากาศ สุราษฎร์ธานี
สารบัญ
ช่องทางและวิธีการเดินทาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 4 โดยผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 41 จนถึงสุราษฎร์ธานี รวมระยะทาง 685 กิโลเมตร
รถไฟ
จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มีบริการเดินรถทุกวัน ระยะทาง 650 กิโลเมตร ผู้โดยสารต้องไปลงที่สถานีรถไฟอำเภอพุนพิน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถประจำทางหรือแท็กซี่เข้าตัวจังหวัด ระยะทาง 13 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน โทร. 0 7731 1213 www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ทุกวัน ใช้เวลาเดินทาง 11 ชั่วโมง รถออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 2434 5557-8 (รถธรรมดา) และ 0 2435 1199, 0 2435 1200 (รถปรับอากาศ) www.transport.co.th หรือบริษัทเอกชน โสภณทัวร์ โทร. 0 2435 5023 กรุงสยาม โทร. 0 2435 5024 นอกจากนี้ยังมีบริการรถโดยสารปรับอากาศ กรุงเทพฯ-เกาะสมุย
อีกด้วย
เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีบริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานีทุกวัน ใช้เวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 สำนักงานสุราษฎร์ธานี โทร. 0 7727 2610, 0 7727 3710 ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี โทร 0 7725 3500 ต่อ 262 www.thaiairways.com นอกจากนี้ บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด เปิดบริการเที่ยวบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-เกาะสมุย ทุกวัน ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 10 นาที สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2265 5555 หรือ เกาะสมุย โทร. 0 7742 2512-8 www.bangkokairways.com
การคมนาคมภายในตัวจังหวัด
รถโดยสารประจำทาง
จากสุราษฎร์ธานีมีรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช หาดใหญ่ กระบี่ ภูเก็ต และรถโดยสารธรรมดาไปจังหวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัดทางภาคใต้ รายละเอียดติดต่อที่สถานีขนส่ง ถนนสุราษฎร์ธานี-พุนพิน โทร. 0 7720 0032-3
รถไฟ
จากสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน มีรถไฟไปจังหวัดนราธิวาส ตรัง นครศรีธรรมราช ยะลา ไชยา ชุมพร หัวหิน รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 7731 1213
การเดินทางจากอำเภอเมืองสุราษฏร์ธานีไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอพุนพิน | 12 กิโลเมตร |
อำเภอกาญจนดิษฐ์ | 18 กิโลเมตร |
อำเภอท่าฉาง | 37 กิโลเมตร |
อำเภอบ้านนาสาร | 41 กิโลเมตร |
อำเภอบ้านนาเดิม | 50 กิโลเมตร |
อำเภอคีรีรัฐนิคม | 55 กิโลเมตร |
อำเภอดอนสัก | 61 กิโลเมตร |
อำเภอเคียนซา | 61 กิโลเมตร |
อำเภอไชยา | 68 กิโลเมตร |
อำเภอพระแสง | 68 กิโลเมตร |
อำเภอเวียงสระ | 68 กิโลเมตร |
อำเภอวิภาวดี | 70 กิโลเมตร |
อำเภอบ้านตาขุน | 71 กิโลเมตร |
อำเภอท่าชนะ | 78 กิโลเมตร |
อำเภอพนม | 80 กิโลเมตร |
อำเภอเกาะสมุย | 84 กิโลเมตร |
อำเภอเกาะพะงัน | 100 กิโลเมตร |
อำเภอชัยบุรี | 112 กิโลเมตร |
แผนที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ภูมิอากาศ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สภาพอากาศโดยทั่วไปของจังหวัด ร้อนชื้น มีฝนตกชุก ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวเกาะ คือช่วงปลายเดือนมีนาคม-ปลายเดือนพฤษภาคม เนื่องจากจะไม่มีมรสุมเข้า
ลักษณะทั่วไป
จังหวัดสุราษฎร์ธานีอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจำเป็นฤดู 2 ชนิด คือ ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไป มีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป แต่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปกลับมีฝนตกชุก เพราะลมมรสุมนี้พัดผ่านอ่าวไทยจึงพัดพาเอาไอน้ำไปตกเป็นฝนทั่วไปตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป อากาศจึงไม่หนาวเย็นดังเช่นภาคอื่น ๆ ที่อยู่ทางตอนบนของประเทศและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันออกได้รับอิทธิพลของลมนี้เต็มที่ จึงมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ปานกลางและมีอากาศหนาวเย็นเป็นครั้งคราว ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย จึงพาเอาไอน้ำและความชุ่มชื้นมาสู่ประเทศไทย แต่เนื่องจากเทือกเขาตะนาวศรี ด้านตะวันตกปิดกั้นกระแสลมไว้ ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีฝนน้อยกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลม
อุณหภูมิ
เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในคาบสมุทรที่เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมอย่างเต็มที่ คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดียและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดผ่านอ่าวไทย ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยจึงไม่สูงมากนัก และอากาศไม่ร้อนจัดในฤดูร้อนจะอบอุ่นในช่วงฤดูฝน ส่วนในฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นได้ในบางครั้ง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 26.3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.1 องศาเซลเซียส เคยตรวจอุณหภูมิสูงสุดได้ 39.0 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2501 และวันที่ 6 เมษายน 2501 เคยตรวจอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 12.4 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2500
ความชื้นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์สัมพันธ์กับมวลอากาศและอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญ ตลอดทั้งปีจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะมีความชื้นสัมพัทธ์สูง เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากมรสุมทั้งสองฤดู คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มรสุมทั้งสองนี้ก่อนที่จะพัดเข้าสู่บริเวณจังหวัด ได้พัดผ่านทะเลและมหาสมุทรจึงได้พาเอาไอน้ำและความชุ่มชื้นมาด้วย ทำให้บริเวณจังหวัดมีความชื้นสัมพัทธ์สูงเป็นเวลานาน ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีประมาณ 83 % ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 96 % ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ย 62 % เคยตรวจความชื้นสัมพัทธ์ต่ำที่สุดได้ 20 % ในเดือนมีนาคม
ฝน
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก จัดเป็นจังหวัดที่มีฝนตลอดทั้งปี ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกชุกมากว่าในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เพราะอยู่ทางด้านตะวันออก ไม่มีภูเขาสูงปิดกั้นจึงได้รับกระแสจากมรสุมเต็มที่ ทำให้มีฝนชุกโดยเฉพาะเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ส่วนในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีฝนตกน้อยกว่าฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะภูมิประเทศมีแนวเทือกเขาตะนาวศรีเป็นเทือกยาวปิดกั้น ทำให้ได้รับกระแสลมจากมรสุมนี้ไม่เต็มที่ ปริมาณฝนเฉลี่ยของจังหวัดสุราษฎร์ธานีอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1710.0 มิลลิเมตร และฝนตกเฉลี่ย 165 วัน เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือเดือนพฤศจิกายน มีฝนเฉลี่ย 340.5 มิลลิเมตร ฝนตกประมาณ 20 วัน ฝนสูงสุดใน 24 ชั่วโมงเคยตรวจได้ 457.1 มิลลิเมตร เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2507
จำนวนเมฆ
ตลอดทั้งปีจะมีจำนวนเมฆเฉลี่ยประมาณ 6 ส่วนของจำนวนเมฆ 8 ส่วนในท้องฟ้า โดยในฤดูร้อนจะมีเมฆเฉลี่ยประมาณ 4 ส่วน ในฤดูฝนจะมีเมฆเฉลี่ยประมาณ 7 ส่วน ส่วนในฤดูหนาวจะมีเมฆเฉลี่ยประมาณ 6 ส่วน
หมอก ฟ้าหลัวและทัศนวิสัย
โดยเฉลี่ยและจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะมีโอกาสเกิดหมอกได้ทุกเดือนเกือบตลอดทั้งปี แต่เดือนที่มีหมอกเกิดได้มากที่สุด คือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเมษายน อาจมีหมอกเกิดได้ในเดือนหนึ่งประมาณ 10 – 17 วัน ในวันที่เกิดหมอกทัศนวิสัยจะเลว เห็นได้ไกลไม่เกิน 1 กิโลเมตร ส่วนฟ้าหลัวก็เช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยจะเกิดได้ทุกเดือนตลอดปี แต่ช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายนมีฟ้าหลัวเกิดขึ้นมากที่สุดประมาณ 10 – 25 วัน โดยเกิดมากที่สุดในเดือนมีนาคม วันที่มีฟ้าหลัวทัศนวิสัยจะเห็นได้ไกลประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร และเฉลี่ยเวลา 07.00 น. จะเห็นได้ไกลประมาณ 6 กิโลเมตร เฉลี่ยตลอดวันเห็นได้ไกลประมาณ 8 – 9 กิโลเมตร
ลม
ระบบหมุนเวียนของลมในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความชัดเจนดี ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว ลมส่วนใหญ่จะพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคมเป็นลมอ่อน ความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 4 – 6 กม./ ชม. ช่วงว่างของฤดูมรสุมคือในฤดูร้อนเดือนกุมภาพันธ์ ลมจะพัดจากทิศตะวันออกเปลี่ยนกลับเป็นลมทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกในเดือนมีนาคมและเมษายน ความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 5 – 6 กม./ ชม. เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มพัดปกคลุมจะเปลี่ยนเป็นลมทิศตะวันตกเฉียงใต้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมดึงตุลาคม ความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 4 – 6 กม./ ชม. กำลังลมสูงที่สุดในแต่ละฤดูมีดังนี้ ฤดูร้อนเคยตรวจลมสูงที่สุดได้ 76 กม./ชม.