ทัวร์ธิเบต
เขตตะนาวศรี พม่า
สารบัญ
ประชากร
ชาวไทยพลัดถิ่นมุสลิม หรือที่พม่าเรียกว่า ฉ่าปะซู หรือไทยมลายู
ประชากรมี 1.2 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพลัดถิ่น ในอดีตเมืองมะริด หรือทวาย เมื่อกว่า 100 ปีก่อน จะมีคนเชื้อสายไทยอาศัยกันอยู่ แต่แต่งกายแบบพม่า และพูดภาษาพม่า แต่ถ้ามีคนพูดไทยด้วยก็จะพูดภาษาไทย แต่ปัจจุบันนี้คนกลุ่มได้ถูกพม่ากลืนไปหมดแล้ว ส่วนพวกที่ถือตัวเป็นชาวไทยส่วนใหญ่จะอาศัยทางใต้ของเขตตะนาวศรี ส่วนที่เหลือเป็นพวกที่เข้ามาทีหลังและตั้งนิคมของตนเองขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นได้แก่ พม่า กะเหรี่ยง มอญ ไทใหญ่ ยะไข่ ปะซู ซะโลน
หลังจากการเสียดินแดนบริเวณเขตตะนาวศรี ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จึงกลายเป็นประชาชนชาวพม่าไป ขณะที่ทางการพม่าเองก็ไม่ยอมรับว่าบุคคลเหล่านี้เป็นสัญชาติพม่า ชาวไทยกลุ่มนี้จึงได้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน กดขี่ข่มเหง โดยในปลายปี พ.ศ. 2549 ได้มีคนเชื้อสายไทยกว่า 3,000 คน อพยพเข้าสู่ฝั่งไทย แต่อย่างก็ตามพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่ได้รับสัญชาติไทย และใช้ชีวิตเช่นเดียวกับแรงงานชาวพม่าทั่วไป
ภาษา
ในอดีตนั้น ประชากรส่วนใหญ่ในดินแดนแถบนี้ ใช้ภาษาไทย ภาษามอญ ภาษากะเหรี่ยง และภาษามลายู จากหนังสือ Imperial Gazetteer of India ได้กล่าวถึงการใช้ภาษาของผู้คนในแถบนี้ พบว่าภาษาพม่าได้เลือนหายไปโดยสิ้นเชิง แต่จะใช้ภาษาสยาม (ภาษาไทย)กัน อย่างมะริดในตอนต้นศตวรรศที่ 20 แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล (Township) คือ มะริด ปะลอ (Palaw) ตะนาวศรี ปกเปี้ยน (Bokpyin) และมะลิวัลย์ (Maliwun) ปกเปี้ยนมีประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2444 ราว 7,255 คน ร้อยละ 18 พูดภาษาพม่า ร้อยละ 53 พูดภาษาสยาม ร้อยละ 20 พูดภาษามลายู ตำบลมะลิวัลย์มีประชากรประมาณ 7,719 คน ประกอบไปด้วยชาวสยาม ชาวจีน และมลายู และคนพม่าแทบหาไม่พบ ตำบลตะนาวศรีตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของอำเภอมะริด และอยู่ติดแดนสยาม ประชากรปี พ.ศ. 2434 มีประมาณ 8,389 คน เพิ่มขึ้นเป็น 10,712 คน ในปี พ.ศ. 2444 ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 พูดภาษาสยาม
แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของเขตตะนาวศรีใช้ภาษาพม่าในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม และเป็นภาษาราชการ ส่วนทางใต้จะมีกลุ่มคนพูดภาษาไทย ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษามลายูอยู่บ้าง ส่วนกลุ่มคนเชื้อสายไทยภาคตอนบนของเขตตะนาวศรี ได้ถูกวัฒนธรรมพม่าดูดกลืนเข้าไป จนลืมรากเหง้าเดิมของตน
ศาสนา
ศาสนาพุทธ, ศาสนาอิสลามศาสนาพุทธ, ศาสนาอิสลามประชากรส่วนใหญ่ของตะนาวศรีส่วนมาก นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งจะมีแบ่งแยกเป็นแบบพม่า และแบบไทย โดยแบบพม่าจะนุ่งจีวรสีเข้มไปทางสีแดง และไม่โกนคิ้ว ส่วนแบบไทยนั้นโกนคิ้ว นุ่งห่มจีวรสีออกเหลือง และนิยมเข้ามาบวชในประเทศไทย ส่วนศาสนาอิสลาม อยู่ในกลุ่มของชาวพม่าเชื้อสายมลายู, ชาวไทยมุสลิม, ชาวโรฮิงยา และชาวพม่าเชื้อสายอินเดียบางส่วน โดยเฉพาะทางตอนใต้ของเขตตะนาวศรีซึ่งมีอาศัยอยู่หนาแน่น ส่วนศาสนาคริสต์นั้นแม้จะมีประวัติศาสตร์มานานในดินแดนนี้ ตั้งแต่ก่อนสมัยอาณานิคม แต่ก็มีจำนวนน้อย
ประเพณีท้องถิ่น
ศาสนาพุทธ, ศาสนาอิสลามลุจา (Lukya) ที่มะริด
ลอบบาตร ที่ทวาย
ฝังไห ที่เมืองเย (Ye)
แห่พระเจ้า 28 องค์ ที่ ทวาย มะริด และปะลอ (Palaw)