รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ยุทธศาสตร์แนวทางการออกแบบสร้างสรรค์ อุบลราชธานี

ยุทธศาสตร์แนวทางการดำเนินการออกแบบสร้างสรรค์

tour-approach-strategic-creative-design-ubon-ratchathani tour-approach-strategic-creative-design-ubon-ratchathani

๑. วางเป้าหมายงานออกแบบสร้างสรรค์เทียนพรรษาสมัยใหม่ให้เป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของสังคมยุคใหม่

๒. ไม่คิดแก้ปัญหาใหม่ในกรอบความคิดแบบเดิม

๓. การอนุรักษ์สืบสานเอกลักษณ์ท้องถิ่น ต้องมีการศึกษาวิจัยรากฐานภูมิปัญญาเดิมในลักษณะต่อยอด

๔. มีการปรับผสมผสานกับภูมิปัญญาเดิม อันจะนำมาซึ่งรูปแบบเทียนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานให้มีการเคลื่อนไหว หรือเทคนิคแสง-สี-เสียง อื่น ๆ ที่เหมาะสมในทางสร้างสรรค์

๕. ต้องใช้เวลาในการปรับฐานแนวความคิด รูปแบบของเทียนสมัยใหม่ปรับทัศนคติเดิม ๆ เสนอทางเลือกใหม่ที่สะท้อนวิถีวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่สอดคล้องกับมิติของเวลา สถานที่ วิถีชีวิตแห่งสังคมใหม่

๖. ผลักดันให้สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีมีวิชาอันเกี่ยวเนื่องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องเทียนพรรษา โดยเฉพาะการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านการออกแบบ มิใช่การวิจัยในระดับปริญญาโท ที่ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์อย่างเดียว โดยเน้นการอนุรักษ์ในเชิงทฤษฎีีวิธีการวิจัยหรือการอนุรักษ์ในแนวการเรียนแบบท่องจำของเก่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์เพียงด้านเดียวเฉพาะการอนุรักษ์ แต่ในเชิงพัฒนานั้นต้องสอดแทรกลงไปในวิชาปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์ นอกเหนือจากวิชาบรรยายเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการศึกษาอย่างแท้จริง

๗. พัฒนาแบบเทียนพรรษาโบราณ (แบบมัดรวมติดพิมพ์) ให้มีการพัฒนาต่อยอดในรูปแบบร่วมสมัยเหมือนกับประเภทอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการอยู่ การแบ่งแยกประเภทประติมากรรมจากเทียน นับเป็นสิ่งที่ถูกต้องน่าชื่นชม แต่ทั้งนี้ต้องมีการให้ความรู้เรื่องประเพณีวัฒนรรรมท้องถิ่น และทั้งในเรื่องความเหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น มิใช่จะออกแบบอะไรก็ได้โดยมิได้คำนึงความเหมาะสมในเรื่องของกาลเทศะ ซึ่งเป็นสิ่งที่คณะกรรมการสามารถพูดคุยสร้างความเข้าใจกับศิลปินผู้ออกแบบ เพื่อมิให้เกิดข้อท้วงติงตามมานอกจากนี้ ควรแปรรูปจุดขายเรื่องเทียนพรรษาสูู่การออกแบบทางเลือกอื่น ๆ ที่ส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าวในลักษณะที่ยั่งยืน เช่น ที่ผ่านมาได้มีการประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเทียน ในลักษณะงานออกแบบที่เน้นในเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมเดิม และส่วนส่งเสริมที่ถูกใจคนรุ่นใหม่ในแง่ของรูปลักษณ์ใหม่ที่ทันสมัย เป็นต้น

tour-approach-strategic-creative-design-ubon-ratchathani tour-approach-strategic-creative-design-ubon-ratchathani

บทสรุปและข้อเสนอแนะ : การออกแบบสร้างสรรค์เทียนพรรษาในสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย
การนำเสนอข้อคิดเกี่ยวกับมิติใหม่ในการออกแบบสร้างสรรค์เทียนพรรษาเมืองอุบลนี้มิได้มีเจตนาจะลบหลู่แนวทางปฏิบัติของบรมครูช่างพื้นถิ่นที่ผ่านมาหรือโจมตีการดำเนินงานประเพณีแห่เทียนอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นของเมืองอุบล หากแต่การนำเสนอครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการปลุกจิตสำนึกในการสืบสานเอกลักษณ์ศิลปะพื้นถิ่นภายใต้กรอบแห่งรากเหง้าของวัฒนธรรมพื้นถิ่นให้คงอยู่และดำเนินไปในทิศทางที่ควรจะเป็น เพื่อมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่แห่งบริบททางสังคมร่วมสมัย มิใช่การอนุรักษ์แบบสุดโต่งที่ขาดการพินิจพิเคราะห์ถึงที่ไปที่มา และแนวทางการพัฒนาแก้ไข ฝั่งที่ขาดตกบกพร่องในอดีต โดยมีความพยายามมุ่งสร้างจิตสำนึกแห่งปรัชญางานช่างอีสานที่มีความโดดเด่นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นอิสระภายใต้กรอบบริบทของสภาพแวดล้อมนั้น ๆ และความพอดีในวิถีแห่งตน

ซึ่งทั้งนี้ต้องการกระตุ้นเตือนให้ช่างและผู้คนท้องถิ่นได้เข้าใจ และปรับเปลึ่ยนทัศนคติทางศิลปะที่มีต่องานช่างแขนงนี้ ให้มีทางเลือกมากขึ้นบนฐานแห่งความเหมาะสมของกาลเวลา และสถานที่ที่เปลี่ยนแปลงไปสร้างความเข้าใจใหม่ในเรื่องภูมิปัญญาว่า ไม่ใช่สิ่งที่ตายแล้ว หรือเรื่องของอดีตที่หยุดนิ่ง แช่แข็ง ขาดชีวิต แต่ในทางตรงกันข้าม ภูมิปัญญาเป็นเรื่องของการต่อสู้ หรือการผสานเพื่อการดำรงอยู่ภายใต้แรงขับเคลื่อนแห่งการเปลี่ยนแปลงของมิติแห่งช่วงเวลานั้นเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นรูปแบบของเทียนพรรษาซึ่งเป็นนฤมิตรกรรมงานช่างภูมิธรรมทางวัฒนธรรมจึงต้องมีการปรับตัวให้ล้อไปกับการเปลี่ยนแปลง ทางโครงสร้างสังคมใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนรูปแบบทางศิลปะเป็นจุดที่ต้องมีการทบทวนศึกษาค้นคว้าหารากเหง้าทางศิลปะเดิม และเพิ่มเติมผสมผสานสิ่งใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มช่างผู้รังสรรค์ แต่รูปแบบจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับภูมิธรรมความรู้พวกเราในวันนี้ว่าจะสร้างมรดกแห่งภูมิปัญญาในยุคสมัยเราให้ลูกหลานได้เจริญลอยตามในทิศทางใดที่จะบังเกิดคุณประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงต้องมีตัวแปรสำคัญคือ คนท้องถิ่นมิใช่มาจากปัจจัยภายนอกไม่ว่าจะเป็น ทั้งของภาครัฐ และเอกชน ที่เข้ามาในรูปประโยชน์ทางธุรกิจ การเมือง หรือ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของท้องถิ่น

ดังนั้น แม้บทบาททางสังคมของเทียนพรรษาจะเปลี่ยนแปลงไป จากอดีตที่มุ่งเน้นไปที่การรับใช้พระพุทธศาสนา มาสู่สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นสัญญะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองนักปราชญ์ ที่มีอริยสงฆ์หลายรูปที่เป็นที่เคารพนับถือ เป็นแหล่งผลิตช่างที่มีฝีมือ เป็นศูนย์กลางการศึกษาของพระสงฆ์ที่สำคัญ และเป็นที่ตั้งของดงอู่ผึ้ง ซึ่งมีทรัพยากรสำคัญในการทำเทียนพรรษา ซึ่งเห็นได้จากการที่สำนักพระราชวังจะนำขี้ผึ้งของเมืองอุบล เพื่อนำไปทำเทียนพระราชทานถวายแด่พระอารามหลวงทั่วประเทศ จนเป็นที่มาของการสร้างจุดขายทางวัฒนธรรม ดังตัวอย่างของอนุสาวรีย์ต้นเทียน (เทียม) ณ บริเวณสนามทุ่งศรีเมือง หรือแม้แต่การแบ่งแยกประเภทเทียน เพื่ออธิบายความต่าง เช่น การเข้าร่วมของศิลปิน ช่างแกะสลักประติมากรรมชาวต่างชาติ ที่กลุ่มนักอนุรักษ์พยายามแยกออก ด้วยลักษณะที่ปรากฏอยู่ทางวาทกรรมที่ว่าประติมากรรมเทียน เพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างการอนุรักษ์แบบจารีตนิยม กับทางเลือกรูปแบบใหม่ที่แปรรูปูแตกหน่อออกไปจากต้นเทียนพรรษา (ด้านวัสดุ) แต่โดยเนื้อแท้แล้ว งานเทียนทั้งสองกลุ่มก็คือ งานประติมากรรมจากเทียนเหมือนกัน (เพราะไม่ใช่เทียนที่มีประโยชน์ใช้สอยในเรื่องของการให้แสงสว่างตามนิยามความหมายของคำว่าเทียน แต่เป็นเขียนในเชิงสัญลักษณ์ที่ตกแต่งอย่างวิจิตร เพื่อเป็นพุทธบูชาและบูรณาการทางวัฒนธรรมท้องถิ่น) เพียงแต่ว่าเทียนพรรษาแบบจารีตมีความได้เปรียบในการช่วงชิงนิยามความหมายได้ก่อน

ด้วยเหตุปัจจัยทางด้าน มิติทางสังคม และวัฒนธรรม ความเชื่อพื้นถิ่น และรูปแบบของลวดลายปราณีตศิลป์ ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่ประติมากรรมเทียนนานาชาติไม่มี หรือที่อื่น ๆ ทีมีประติมากรรมอนุสาวรีย์ในลักษณะเดียวกัน เช่น โปงลางยักษ์ บั้งไฟยักษ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการสร้างจุดขาย ในทางสัญลักษณ์เชิงผูกขาด แล้วกดดันสร้างฐานกำลังผลิตในเชิงปริมาณ ความยิ่งใหญ่อลังการ เพื่อดำรงคงสถานภาพของสัญญะเหล่านั้น จนลืมแก่นสารสาระในสิ่งที่บรรพชนสร้างไว้ให้ โดยเฉพาะมิติทางสังคมวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับตนเองและท้องถิ่นอย่างพอเพียง เฉกเช่น บทกวีที่ รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร ครูใหญ่ด้านศิลปวัฒนธรรมอีสาน ได้รจนาฝากเป็นข้อคิดสะกิดเตือนใจไว้อย่างน่าฟังว่า..
“งานแห่เทียนเปลี่ยนไปตามงานขานเล่า รูปวันเก่าดูเรียบง่ายไร้จริต เทียนมีไส้ใช้จุดพุทธอุทิศ เทียนบ่ติดเพราะมันกลวง..หลอกลวงใคร”

ดังนั้น แท้จริงแล้วของทุกสิ่งสามารถมองและตีความได้หลายนัย ทั้งด้านบวกและด้านลบ เฉกเช่น ประเด็นเรื่องของทียนพรรษาของเมืองอุบล “จุดไฟไม่ได้” (โดย เฉพาะเทียนประเภทติดพิมพ์และประเภทแกะสลัก) เพราะไม่ใช่เทียนที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานจริง “ทั้งนี้อย่าว่าแต่ใช้งาน (จุดไฟเพื่อให้แสงสว่าง) เพียงแค่จะนำเข้าโบสถ์ยังเข้าไม่ได้เลย (เพราะขนาดที่ใหญ่โต)” ดังนั้น เมื่อมาพิเคราะห์พิจารณาในเชิงสัจจนิยมด้านประโยชน์ใช้สอย เทียนในยุคนี้ล้วนแล้วแต่ตอบสนองคุณค่าในแง่ของ “สัญลักษณ์ทางความเชื่อและความศรัทธา” เป็นหลัก และจุดขาย ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยปฐมเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปะวิทยาการด้านเทคโนโลยีที่พลังงานไฟฟ้าได้เข้ามาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต รวมถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ทั้งของพระสงฆ์ และฆราวาส ดังนั้น เราควรยอมรับความจริงต่อการเปลี่ยนเเปลง ทั้งนี้ ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องปฏิเสธเทคโนโลยี และบีบคั้นตัวเองให้จมปลักอยู้ในอดีต (การอนุรักษ์แบบแช่แข็งอยู่กับทีj) โดยเฉพาะวัดต่าง ๆ ที่อยู่ในเมือง (ซึ่งใกล้ชิดกับเทคโนโลยี) ดังนั้น เรื่องของเทียนพรรษาที่จุดไฟไม่ได้ หรือจุดไม่ติด จึงอาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่ากับเรื่องของปรัชญา และรูปแบบศิลปะท้องถิ่นที่ได้กล่าวไว้แล้วในเนื้อหา เห็นควรที่ต้องมีการรื้อฟื้นพัฒนึ้นมาใหม่ เพื่อพลิกหน้าประวัติศาสต์ท้องถิ่น อันจะแสดงให้เห็นถึงความเจริญ และความเสื่อมในแต่ละยุคณสมัย

ทั้งนี้อาจมีคำถามขึ้นมาว่า ศิลปะพื้นถิ่นไท-ลาวนั้น (สิ่งที่เราต้องการเรียกร้องกลับมาอนุรักาษ์และพัฒนา) เป็นยุคสมัยที่ดินแดนแถบนี้อยู่ภายใต้อิทธิิพลศิลปะล้านช้าง โดย เฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และจะผิดอะไรเมื่อดินแดนนี้ (อีสานภายใต้การปกครองของราชสำนักกรุงเทพฯ) จะรับเอารูปแบบศิลปะจากรัฐศูนย์กลางอำนาุจทางการเมืองการปกครอง มาเป็นแบบฉบับการสร้างสรรค์ผลงานแขนงต่างๆ เฉกเช่น เรื่องเทียนพรรษาเมืองอุบลที่นอกจากลวดลาย และองค์ประกอบต่างๆ เป็นรูปแบบอย่างราชสำนักกรุงเทพฯ แม้แต่องค์ต้นเทียนประธานเองก็ถูกสร้างสรรค์จนคล้ายกับ “เสาหลักเมือง” เข้าไปทุกขณะ ส่วนองค์ประกอบตกแต่งขบวนรถเทียนเป็นกาจำลองภาพคติเชิงสัญลักษณ์ สื่อถึงความเป็นศูนย์กลางจักรวาลของเขาพระเสาเมรุ ซึ่งหมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นคติความเชื่อของประเทศในแถบนี้ ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรจะเลือกเอาสิ่งที่เหมาะสมกับบริิบททางวัฒนธรรมของตนเอง เพื่อความพอเพียง และเพียงพอที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

tour-approach-strategic-creative-design-ubon-ratchathani tour-approach-strategic-creative-design-ubon-ratchathani

tour-approach-strategic-creative-design-ubon-ratchathani tour-approach-strategic-creative-design-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1222 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์