หลวงพระบาง ลาว
ที่ตั้ง :
หลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางเหนือของนครเวียงจันทน์ เป็นแขวงทางตอนเหนือของประเทศระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร เชื่อมต่อถึงกันด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางราว 8 – 10 ชั่วโมงด้วยกันด้วยถนนที่ไม่ดีนัก มีเครื่องบินจากนครเวียงจันทน์ถึงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที
สมัยโบราณดินแดนนี้เป็นถิ่นฐานของชาวข่าเชื้อสายเขมร ขุนลอแห่งเมืองแถง (เดียนเบียนฟู) ทรงเห็นว่ามีชัยภูมิเหมาะที่จะตั้งเป็นเมือง จึงขับไล่ชาวข่าออกไปแล้วตั้งเมืองเช่าขึ้น ต่อมาพบแหล่งแร่ทองคำในเมือง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเซียงดง - เซียงทอง ถึงสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมแผ่นดินตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างได้สถาปนาเซียงดง - เซียงทองเป็นเมืองหลวง ให้ชื่อว่าเมืองศรีสัตนาคนหุตมะราชธานี
ลาว...ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณห้าล้านคน แม้จะน้อยนักแต่หากว่าลาวมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่กว่า 236,800 ตารางกิโลเมตร เป็นอาณาจักรแห่งขุนเขาและสายน้ำที่ยังสมบูรณ์ดังเช่นครั้งหนึ่งไทยเราเคยมีนานมาแล้วที่นักเดินทาง นักท่องเที่ยวใฝ่ฝันถึงหลวงพระบางหรืออาณาจักรล้านช้าง ในอดีตเดิมทีหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของลาวมาก่อน เมื่อองค์การยูเนสโก้ยกให้หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ชื่อของหลวงพระบางจึงขจรขจายไปไกล การท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบางจึงมีชื่อเสียงมากที่สุดของลาวก็ว่าได้ ตัวเมืองอันสงบ อบอุ่นด้วยรอยยิ้มและมิตรไมตรี" ตัวเมืองหลวงพระบางนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขงช่วงที่คดโค้งสวยงาม หันไปทางไหนแลเห็นแต่สีเขียวจากป่าดงพงไพร
นานมาแล้วที่เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง พระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาวในเขตลุ่มน้ำโขง แม่น้ำคาน แม่น้ำอู ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ณ ดินแดนริมน้ำโขงซึ่งคือหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 1896 – 1916 โดยการช่วยเหลือของกษัตริย์ขอม (เพราะมเหสีของเจ้าฟ้างุ้มคือพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมในขณะนั้น) พร้อมๆกับการรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาแทนการนับถือผีลาว เป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวมีชนกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซนต์เท่านั้น ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ที่ราบริมน้ำโขง ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา
แรกทีเดียวอาณาจักรล้านช้างมีชื่อเรียกวาส “เมืองชวา” อันเนื่องมาจากมีชาวชวาอาศัยอยู่มากกว่ากลุ่มอื่น ในปี พ.ศ. 1900 เปลี่ยนมาเป็นชื่อ เมืองเชียงทอง กระทั่งกษัตริย์ขอมได้พระราชทานพระพุทธรูปองค์หนึ่ง มีชื่อว่า พระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหล เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “หลวงพระบาง”
เมื่อปีพ.ศ 1896 ในรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าแผ่นดินเขมรพระราชทานพระบางให้คณะธรรมทูตอัญเชิญมายังล้านช้าง แรกประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำเหนือ นครเวียงจันทน์ ครั้นพระเจ้าวิซุนนะลาด (วิชุลราช) เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้อัญเชิญมายังเมืองเซียงดง - เซียงทอง และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นหลวงพระบาง แปลว่า เมืองที่ประดิษฐานของพระบาง
ปี พ.ศ. 2088 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้า โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ แม้หลวงพระบางจะไม่ได้เป็นเมืองหลวงต่อไป แต่เจ้ามหาชีวิตยังคงประทับที่หลวงพระบาง
นับตั้งแต่นั้นมาหลวงพระบาง เป็นเมืองเอกของแขวง มีชื่อเป็นทางการว่า นครหลวงพระบาง แต่ประชาชนทั่วไป เรียกว่า เมืองหลวง เพราะเป็นอดีตราชธานีเก่าของอาณาจักรล้านช้าง และที่ประทับของเจ้าชีวิต (พระเจ้าแผ่นดิน) ก่อนที่ลาวงจะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ ตัวเมืองหลวงพระบางตั้งอยู่ระหว่างแม่นํ้าคานและแม่นํ้าโขง เต็มไปด้วยวัดวาอารา อาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่ยังคงรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างผสมยุโรป ผู้คนมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและพุทธศาสนา เป็นเหตุให้บ้านเมือง สงบร่มเย็นและงดงาม จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกเมื่อปีพ.ศ 2540
อาณาจักรล้านช้างแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ
1.อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
2.อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
3.อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง ยังคงสืบทอดราชบัลลังก์กระทั่งถึงยุคสิ้นสุดของราชวงศ์อันมีสาเหตุหลักมาจากตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม เวียตนามและฝรั่งเศส เหตุนี้เองหลวงพระบางจึงมาความเป็นมายาวนาน เป็นราชธานีเก่าแก่ วัดวาอารามมากมาย และมีธรรมชาติที่วิเศษหลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือมีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรืออันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมือง ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเชียงใต้
ชาวลาวในเมืองหลวงพระบาง เป็นชนเผ่าที่เรียกว่า "กาว" เดิมเมืองนี้ชื่อ "ชวา" การที่เรียกว่า "หลวงพระบาง" นั้น เป็นเพราะเมืองดังกล่าวเป็นเมืองหลวงของลาวในยุคก่อน จึงได้ชื่อว่า"เมืองหลวง" และการที่มีพระพุทธรูปยืนชื่อ "พระบาง" เป็นสัญลักษณ์ของเมือง จึงรวมชื่อเป็น "เมืองหลวงพระบาง" ชนเผ่ากาวนี้ส่วนใหญ่ปัจจุบันอาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของลาว ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตามริมแม่น้ำโขงและหลายหมู่บ้านในเขตจังหวัด เชียงราย โดยรวมกันอยู่เป็นจำนวนมากที่อำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ และอพยพเข้ามาก่อนกรณีพิพาทอินโดจีนหลายสิบปี แต่เป็นจำนวนน้อย
การอพยพครั้งที่สองเมื่อกรณีพิพาทระหว่างไทย-อินโดจีน และครั้งหลังเมื่อประเทศลาวประกาศเป็นประเทศอิสระภาพและยกกำลังเข้าต่อสู้ ฝรั่งเศสแต่ปราชัยลง ชาวลาวดังกล่าวได้พากันอพยพเข้ามาเขตไทยเป็นจำนวนมาก ถิ่นที่อยู่เดิม คือ บริเวณเมือง"ศรีสตนาคนหุต" หลวงพระบาง หรือ "แคว้นล้านช้างร่มขาว" เมืองหลวงพระบางเคยเป็นนครหลวงของลาว มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองมะม่วงรู้หาว มะนาวรู้โห่" ภูมิประเทศในแคว้นลาวเหนือนี้ เป็นภูเขาล้อมรอบ หาที่ราบได้ยากแม้แต่กลางเมืองหลวงพระบางเองก็มีภูเขาชื่อพูสีอยู่กลางเมือง เพราะฉะนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารที่นำมาบำรุงเลี้ยงชาวหลวงพระบาง จึงได้มาจากไร่ทั้งสิ้น ในอดีตมีผืนนาอยู่แห่งเดียวเป็นของพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางเรียกว่า "นาหลวง" ตามปรกติ ข้าว เกลือ เสื้อผ้า ไม้ขีดไฟ น้ำมัน เป็นสินค้าขาข้าวของเมืองนี้
ชาวเมืองหลวงพระบางขอบตั้งหมู่บ้าน อยู่ริมชายฝั่งแม่น้ำ เพราะชอบค้าขายทางน้ำ และหาสัตว์น้ำขาย เช่น ปลา เป็นพวกที่ชำนาญทางว่ายและดำน้ำทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เมืองหลวงพระบางมีจำนวนหมู่บ้านและหลังคาเรือนประมาณ ๘-๙ พันหลังคาเรือน ตัวเมืองล้อมรอบไปด้วยภูเขา ที่กลางใจเมือง มีภูเขาอยู่ลูกหนึ่งชื่อพูสี บนเขาลูกนั้นมีสถูปเจดีย์และรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ในศาลา มองซิเออร์ปาวี ชาวฝรั่งเศส คลุกคลีตีสนิทกับชาวหลวงพระบางเมื่อครั้งหลวงพระบาง ขึ้นกับไทย โดยการนุ่งผ้าโจงกระเบนและกินหมากเที่ยวแจกยาควินิน จนทำให้แคว้นหลวงพระบางตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ปัจจุบันยังมีรูปอนุสาวรีย์ของ ม.ปาวี หล่อด้วยทองแดงขนาดเท่าตัวจริง ตั้งไว้ริมถนนในย่านเจริญ ชาวลาวสูบบุหรี่กันแทบทุกคน และมีคนจำนวนไม่มากนักชอบสูบฝิ่น
ผู้หญิงชาวหลวงพระบางโดยมาก มีผิวขาว รูปร่างเพรียวระหง ในจำนวนหญิง ๘๐ % เป็นหญิงสวยงามจนได้ชื่อว่าเป็นเมืองนางเมรี ตามนิยายเรื่องพระรถนางเมรี ปัจจุบันยังมีสิ่งประกอบเรื่องนี้อยู่หลายอย่าง เช่น สวนพระรถ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ป่า มีผลไม้นานาชนิด ภูท้าว ภูนาง ถ้ำนางเมรี ฯลฯ ชาวหลวงพระบางรักความสนุกรื่นเริงอยู่เป็นนิตย์ จะได้ยินเสียงฆ้องดังไม่ขาดระยะจากเมืองหลวงพระบางในบางวัน ผู้หญิงทุกคนสวยงามตามธรรมชาติ มีความอิสระในเรื่องรักใคร่ ด้วยเหตุนี้ จึงมีนักท่องเที่ยวชาวไทยไปเที่ยวเมืองหลวงพระบางแล้วไม่อยากกลับบ้าน ที่เป็นพ่อค้าเร่ร่อนมีภรรยาตามรายทางก็มีอยู่หลายคน การเที่ยวสาวเที่ยวบนบ้านที่ระเบียง โดยมากชอบไปหาสาวเวลากลางคืน ถ้าพอใจกันทั้งสองฝ่ายก็ได้เสียกันก่อนแต่งงาน ถ้าสาวไม่พอใจหนุ่มมาเที่ยวบ้านจะหลบเข้าห้องโดยไม่โผล่หน้าออกมาให้หนุ่ม เห็น แต่หากชอบพอก็จะออกมานั่งสนทนาด้วย
ชาวหลวงพระบางนับถือศาสนาพุทธ ในระหว่างเข้าพรรษาทุกวันพระมีการไปวัดตักบาตร ตอนบ่ายฟังเทศน์ ถ้าคนเฒ่าคนแก่ที่ศรัทธาทางศาสนามาก ก็มีการนอนวัดด้วยกัน ขนบธรรมเนียมไม่ผิดทางไทยในเรื่องศาสนา เมืองหลวงพระบาง เป็นเมืองที่รักษาวัฒนธรรมของตนไวได้อย่างดียิ่ง ถ้าเราไปถึงถิ่นจะเห็นวัดวาอารามและขนบธรรมเนียมยังอยู่ในเมืองนี้อย่าง พร้อมมูล การศาสนาก็เคร่งครัด ผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธาทางพุทธศาสนามากไม่มีวัดหรือโบสถ์ศาสนาอื่น ทั้งนี้ มีชาวต่างประเทศเข้าไปเผยแพร่ศาสนาด้วยวิธีการต่าง ๆ ก็หามีผู้นิยมนับถือศาสนาอื่นไม่
เดินเที่ยวในหลวงพระบาง
ตัวเมืองหลวงพระบางนั้น หากมองจากเครื่องบินจะเห็นว่าเป็นแหลมแคบๆ ที่ขนาบด้วยแม่น้ำโขงทางทิศตะวันตก และแมน้ำคานทางทิศตะวันออก ส่วนกว้างอยู่ทางด้านทิศใต้ แถวสี่แยกกลางเมือง แล้วค่อยๆ สอบแคบเข้าไปจนถึงปากคาน ตรงกลางของแหลมนี้เป็นเนินเขาย่อมเรียกว่า จอมพูสี หรือภูสี แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งหลายแหล่นั้นล้วนอยู่บนแหลมนี้นี่เอง
หลวงพระบางจึงสมควรใช้การเดินเที่ยวเป็นดีที่สุด ก่อนเิ่ริ่มออกตระเวนชมวัดในเมืองหลวงพระบาง สิ่งสำคัญที่ควรรับรู้ไว้เป็นเบื้องต้นคือ วัดส่วนใหญ่ในหลวงพระบางนั้นถูกเผาทำลายในสมัยศึกฮ่อจนหมดสิ้น มีเพียงวัดเชียงทองแห่งเดียวที่ไม่ถูกเผาหรือทำลายเพื่อหาสมบัติ เนื่องจากพวกฮ่อใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งทัพ ดังนั้นบรรดาสิ่งก่อสร้างของวัด รวมถึงลวดลายประดับต่าง ๆ ทั้งรูปควักสลักหรือลายประดับดอกดวง ล้วนสร้างขึ้นในสมัยหลัง ตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าสักกะรินจนถึงพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา อย่างไรก็ตามตัวอุโบสถหรือสิมซึ่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ต่างก็สร้างอยู่บนโครงสร้างเก่า และพยายามสร้างให้เหมือนของเดิมตามความทรงจำของคนเฒ่าคนแก่ที่เคยเห็น วันในหลวงพระบางจึงมักมีศิลปะหลายแบบ ประกอบอยู่ด้วยกัน เช่น เราอาจพบศิลปะทั้งแบบไทยลื้อ เชียงขวาง และล้านช้าง ผสมอยู่ในสิมหลังเดียวกัน
หลวงพระบางมีวัดอยู่มากมาย เฉพาะในเขตชุมชนตัวเมืองอยู่ถึง ๒๖ วัด หลายแห่งเป็นสถานที่ซึ่งผู้มาเยือนเมืองมรดกโลกแห่งนี้ไม่ควรพลาด การเดินเที่ยวในหลวงพระบางให้สะดวก ควรวางแผนทีละส่วนเป็นย่าน ๆ ไป ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๕ ย่าน ได้แก่
ย่านที่ ๑ ย่านสี่แยกกลางเมืองถึงพูสี
ย่านที่ ๒ ย่านบ้านเจ๊ก
ย่านที่ ๓ ย่านวัดเชียงทอง
ย่านที่ ๔ ย่านวัดวิชุุนและตัวเมืองด้านใต้
ย่านที่ ๕ เมืองเชียงแมน ฝั่งตรงถ้ามนลวงพระบาง (ไม่มีแผนที่ื)
เที่ยวรอบนอกเมืองหลวงพระบาง
นอกจากในเขตตัวเมืองหลวงพระบางอันมีชื่อเสียงในด้านประวิตศาสตร์วัฒนธรรม และวิถีชีวิตผู้คนแล้ว รอบนอกเมืองหลวงพระบางยังมีแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้มาเยือนได้เดินทางไปสัมผัสอีกหลายแห่ง บางแห่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ผูกพันกับเมืองหลวงพระบางมาแต่โบราณ บางแห่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันสวยงาม ซึ่งนักเดินทางมักไม่พลาดไปเที่ยวชม แหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ล้วนอยู่ในระยะทางที่สามารถเดินทางไป-กลับจากหลวงพระบางได้ภายในวันเดียวทั้งสิ้น
รถรับจ้างในหลวงพระบาง
หลวงพระบางเป็นเมืองเล็ก นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวเองได้ทั่วเมืองโดยไม่ต้องใช้รถ แต่ถ้าจะใช้บริการรถรับจ้างในหลวงพระบางก็มีให้เลือกสามแบบได้แก่ รถสี่ล้อเล็กเรียกว่า “จัมโบ้” รถสามล้อเครื่องดัดแปลงมาจากรถมอเตอรไซค์คล้ายรถสกายแลปของอีสาน แต่เล็กกว่าึ และสุดท้ายคือรถมอเตอร์ใชค์พ่วงข้าง เป็นรถสามล้อเครื่อง ซึ่งค่าโดยสารถูกที่สุด รถรับจ้างเหล่านี้หากวิ่งอยู่ในเมืองหลวงพระบางจะไปจุดใดก็แล้วแต่ค่าโดยสารเฉลี่ย ๓,๐๐๐ กีบต่อคน
หากจะเหมารถจัมโบ้ไปเที่ยวนอกเมือง เช่น เส้นทางบ้านช่างไฮ่-ปากอูตรงข้ามถ้ำติ่ง ราคาอยู่ประมาณ ๒ แสนกีบ (ทั้งวัน) โดยขากลับสามารถแวะบ้านผานมได้ด้วย ส่วนเส้นทางไปน้ำตกกวางซีราคาจะแพงกว่า เนื่องจากระยะทางไกลและสภาพถนนไม่สู้ดี ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามต่อรองราคาได้ตามสมควร แหล่งเช่ารถจัมโบ้อยู่เบริเวณตลาดเช้าริมแม่น้ำโขง
สำหรับรถจักรยานสามารถหาเช่าได้ตามเกสต์เฮาส์หลายแห่งในตัวเมืองส่วนรถตู้เช่าสามารถติดต่อผ่านบริษัททัวร์ต่าง ๆ ได้ ราคาค่าเช่าวันละ ๕๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ หากออกนอกเมืองต้องเพิ่มอีก ๑๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ