วัดอัครเทวดาราฟาเอล สุราษฎร์ธานี
สารบัญ
วัดอัครเทวดาราฟาเอล บ้านเณร สำนักฝึกธรรมซาวิโอ นิคมสมหวังจังหวัด สุราษฎร์ธานี
ตัวเมืองสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ทิ่ริมแม่น้ำตาปี ห่างจากกรุงเทพประมาณ 700 กิโลเมตร ตรงกับหมู่เกาะอ่างทองในอ่าวไทย เดิมชื่อว่า บ้านดอน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้้พระราชทานชื่อเสียใหม่ว่า สุราษฎร์ธานี ในราวปี ค.ศ. 1915
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เหมือนกับชุมพร นครศรีธรรมราช และสงขลา มีคนอาศัยตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ตามชายฝั่งที่มีพื้นที่ปลูกข้าว และมีน้ำ
ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย คือคริสต์ศตวรรษที่ 6-12 พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีชุมชนสำคัญ อาทิเช่น เมืองไชยา เมืองท่าทอง (บ้านดอน) และคีรีรัตน์ ซึ่งปัจจุบันนี้ยังพบโบราณสถานและโบราณวัตถุเกี่ยวกับสมัยนั้นอยู่ ต่อมาในสมัยอาณาจักรสยามปกครองพื้นที่นี้ ชุมชนในจังหวัดสุราษฏร์ธานีอยู่ใต้การปกครองของพระยานคร ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 สมัยปฏิรูปการปกครองมีการตั้งมณฑลไชยา ต่อมาย้ายที่ตั้งไปอยู่ที่สุราษฎร์ธานี
บ้านดอนได้เริ่มขยายตัวมากขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 6 ทรงตั้งชื่อจังหวัดว่า สุราษฎร์ธานีในปี ค.ศ. 1915เมื่อมีทางรถไฟผ่านอำเภอพุนพิน และมากกว่านั้นอีก เมื่อมีถนนหนทางเชื่อมชุมพรกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีทำใน้สุราษฎร์ธานีเริ่มเป็นจังหวัดเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนบน มีอุตสาหกรรมการเกษตร และมีการท่องเที่ยวมากขึ้นทุกที เมืองสุราษฎร์ธานีอยู่กึ่งกลางระหว่างระยะทางขาขึ้นไปถึงกรุงเทพฯ และล่องใต้ไปสุดแดนสยาม ด้วยเหตุนี้สุราษฎร์ธานีเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์สังฆมณฑลของภาคใต้
คริสตชนสมัยเยี่ยมเยียน
ก่อนที่ซาเลเซียนจะมาประเทศไทย ไม่มีหลักฐานอะไรที่แสดงว่าเคยมีพระสงฆ์คาทอลิก ใปเยี่ยมเยียนคริสตังที่เมืองบ้านดอนเลย
คุณพ่อมารีโอ รูเซ็ดดู (Fr. Mario Ruzzeddu) พร้อมกับคุณพ่อย็อบ การ์นินี (Fr. Job carnlni) ได้รับมอบหมายจากพระคุณเจ้าปาซอตตีให้เป็นผู้ไปเยี่ยมเยียนครสตชนที่กระจัดกระจายในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงจังหวัดนราธิวาสในเดือนตุลาคม ค.ศ.1935 พระคุณเจ้าปาซอตตี ได้พาคุณพ่อมาีรโอ รูเซ็ดดู ไปเยี่ยมเมืองสำคัญในภาคใต้ตามเส้นทางรถไฟจนถึงหาดใหญ่ ปัตตานี และไปถึงเบตงโดยผ่านทางมาเลเซีย เพื่อให้คุณพ่อมารีโอรู้จักสถานที่สำคัญ ๆ และต่อไปท่านจะได้เดินทางไปเอง (ดูภาค 6 หมวดที่ 1 บทที่ 2 การเยี่ยมเยียนภาคใต้)
ในการเดินทางครั้งแรกนี้พระคุณเจ้าและคุณพ่อมารีโอได้มาถึงพุนพิน ในวันที่ 15 ตุลาคมค.ศ.1935 เวลา 13.00 น. ท่านลงเรือไปถึงบ้านดอน ในระหว่างนั้นบ้านดอนกำลังมีงานประเพณีกินเจ คุณพ่อได้เข้าพักที่บ้านพักเล็ก ๆ ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ.1935 ท่านได้เข้าพบข้าหลวงเพื่อคารวะและขออนุญาตเยียมสถานที่ในเมืองสุราษฎร์ธานี แล้วท่านก็ไปเยี่ยมโรงเรียน 2 แห่ง และท่านก็พบครอบครัวคริสตชนที่ไม่ได้ทำพิธีแต่งงานอย่างสมบูรณ์ ในเช้าวันรุ่งขึ้นของวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ.1935 พระคุณเจ้าได้ทำพิธีมิสซาตามปกติและได้มีการโปรดศีลสมรสให้กับคริสตชน 4 คน และได้มีการโปรดศีลล้างบาอีก 1 คนให้ด้วย เมื่อเสร็จพิธีแล้วคุณพ่อก็เดินทางต่อไปจังหวัดนครศรีธรรมราช
ในเดือนมีนาคม - เมษายน ค.ศ.1936 คุณพ่อมารีโอพร้อมกับคุณพ่อการหนีนี่ได้เดินทางไปเยี่ยมคริสตชนที่กระจัดกระจายทางภาคใต้เป็นครั้งสำคัญและใช้เวลาหลายวัน และได้แวะที่สุราษฎร์ธานีด้วย (ดูภาค 6 หมวดที่ 1 บทที่ 2 การเยี่ยมเยียนภาคใต้) ภายหลังคุณพ่อการ์นินีมักจะเดินทางมาเยี่ยมคริสตชนทางภาคใต้ในเทศกาลปัสกา มีแต่ไม่มีหลักฐานบันทึกไว้นอกจากข่าวสั้นๆ ในการบันทึกบ้านเณรบางช้าง)
ในปี ค.ศ.1937 คุณพ่อมาริโอ ได้เดินทางไปใต้ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นโอกาสให้ครอบครัวคริสตชนที่กระจัดกระจายได้ฉลองคิรสต์มาส ถึงแม้ว่าจะล่าช้า ท่านได้ออกเดินทางจากราชบุรีในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ.1937 เดินทางไปหัวหินต่อไปชุมพร ในวันที่ 24 ธันวาคม 1937 นั้นคุณพ่ออยู่ที่บ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปีนั้นคุณพ่อได้ฉลองคริสต์มาส (เราทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางครั้งนี้จากสมุดบันทึกที่ท่านได้เขียน และจากจุดหมายที่ท่านได้เขียนถึงพระคุณเจ้าปาซอตตี สำหรับลงในนิตยสารอุดมพันธ์)
ในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1937 ขณะที่คุณพ่อมารีโอ อยู่ที่นครศรีธรรมราชแล้วท่านได้เขียนจดหมายถึงพระคุณเจ้าปาซอตตี เพื่อให้ท่านสามารถลงในนิตยสารอุดมพันธ์ ท่านเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับสุราษฎร์ธานีว่า ในวันที่ 24 ธันวาคม ท่านได้ถึงที่บ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายริชาร์ด ได้รับรองท่านที่บ้าน ในตอนบ่ายมีคริสตังบางคนได้มาพบท่าน ในคืนวันที่ 24 คุณพ่อได้ทำพิธีมิสซาในห้องทำงานของมิสเตอร์ริชาร์ด ขณะที่ภายนอกมีฝนตกหนักพอสมควรเป็นเวลา 3 วัน คืนนั้นเป็นขั้นแรกที่มีการฉลองคริสต์มาสตรงวันที่สุราษฎร์ธานี มีผู้ที่รับศีลมหาสนิท 18 คน ในวันที่ 25 คุณพ่อยังได้ทำมิสซาที่บ้านดอนอีกครั้งหนึ่ง และเดินทางไปเยี่ยมบ้านของคริสตังด้วย ตอนเย็นของวันนั้นก็มีการรับประทานอาหารร่วมกัน มีมิสเตอร์รัสช์ จอห์นสัน (Rush Johnson) ซึ่งเป็นอดีตนักมวย มาร่วมด้วย
ในวันที่ 17 มกราคม ศ.ศ.1939 คุณพ่อมารีโอ (หลังจากที่ได้ตระเวนเยี่ยมเกือบทุกจังหวัดในภาคใต้แล้วโดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน) ก็เดินทางมาถึงบ้านดอนซึ่งทั้งนี้มีคริสตชน อยู่ประมาณ 20 คน อาทิ เช่นนางเชียงเส็ง นางกี่ เฉลียว และคุณหมอชาวญวนคนหนึ่ง คุณสงวน ป้าล้วน ชูประยูร ซึ่งทั้งสองคนอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
คุณพ่ออยู่ที่บ้านดอนเป็นเวลา 3 วัน เพื่อสอนคำสอนและทำพิธมิสซาใหแก่ชาวบ้าน สองสามครั้ง(หมายเหตุ ไม่นานมานี้มีผู้มาสัมภาษณ์ป้าล้วน ถามว่าเธอมาจากไหน ถ้ามาอยู่ที่สุราษฎร์ธานีเมื่อไหร่ เธอตอบว่า “ป้าเป็นคนสมุทรสงคราม สัตบุรุษวัดบางนกแขวก แต่งงานแล้วไปอยู่สามพราน มีคนที่ลงมาที่นี่บอกว่าหากินง่าย ลุงและป้าจึงย้ายมาอยู่ที่สุราษฎร์ธานี ขายข้าวสาร น้ำปลา ฯลฯ ในตลาด..ป้ามาอยู่ที่สุราษฎร์ธานีก่อนสงครามญี่ปุ่น มีคริสตังไม่มากนัก มีครอบครัว นายจันทร์ คือ พ่อของนายสมุทร นายบุณมั่น สิริติกิจ แล้วมีครอบครัวฝรั่ง แม่เริ่ม ประชาบาล แม่มาลัย เดชศิริเจริญชัย และมีครอบครัวของนายเฉลียว ลูกของขุนประธาน เป็นคนมาจากกรุงเทพฯ จำได้ว่า พบสังฆราชปาซอตครั้งเดียว สังฆราชมาที่บ้านป้านี่แหละ หลังจากนั้นก็มีกลุ่มพ่อมารีโอ รูเซ็ดดูมาหลายครั้ง มาทำมิสซาที่บ้านดอน หากมีสัตบุรุษมากก็ไปใช้ที่โรงแรม”)
ในวันที่ 30 มกราคม ท่านได้ขึ้นรถด่วนกลับไปที่ราชบุรี ในปี ค.ศ.1941 คุณมารีโอ รูเซ็ดดู ไปอยู่ประจำที่หาดใหญ่ หาดใหญ่จึงกลายเป็นศูนย์อภิบาล 14 จังหวัดภาคใต้ รวมสุราษฎร์ธานีด้วย แต่ว่าสงครามญี่ปุ่นเริ่มขึ้นทำให้การเยี่ยมเยียนคริสตชนชะงักไปบ้าง เพราะมีอุปสรรคมากมายในการเดินทางเมื่อสงครามสงบลงแล้วและความเสียหายจากสงครามซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว ในปี ค.ศ.1947 คุณพ่อย๊อบการ์นินี (Fr.Job carnlni) และคุณพ่อนาตัล มาเน (Fr.Natale Mane) ได้รับมอบหมายให้ไปอยู่ประจำที่หาดใหญ่เพื่องานอภิบาลโดยเฉพาะ คุณพ่อทั้ง 2 ได้เอาใจใส่ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนไปเยี่ยมคริสตชนทั่ว 14จังหวัดเหมือนที่คุณพ่อมารีโอเคยทำ ท่านก็ได้มาที่สุราษฎร์ธานีด้วย อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ในปี ค.ศ.1952 พระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต (Mons.Pietro carretto) ได้จัดระบบงานอภิบาลในภาคใต้เสียใหม่ ให้สุราษฎร์ธานีอยู่ในความรับผิดชอบของวัดแม่พระฟาติมาบ้านแสงอรุณ ซึ่งเพิ่งเปิดได้ในปีนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ.1953 จนถึงปี ค.ศ.1958 คุณพ่อเตลฟีโน เกรสปี (Fr.Delflno crespl) รับผิดชอบเดินทางจากบ้านแสงอรุณไปทำมิสซาที่สุราษฎร์ธานีเป็นครั้งคราวมีวัดและมีพระสงฆ์ประจำวัดอัครเทวดาราฟาเอล ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 317 ถนนตลาดใหม่ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ ธานี
การเริมต้นในระยะนี้จังหวัดสุราษฎร์ธานีกำลังขยายตัวและทางราชการได้วางแผนการตัดถนน เพื่อให้การคมนาคมในภาคสะดวก อันดับแรกมีการสร้างถนนต่อเนื่องจากชุมพรไประนอง ตะกั่วป่า พังงา ตรัง พัทลุงและหาดใหญ่ ต่อมามีการสร้างถนนจากตะกั่วป่ามาถึงสุราษฎร์ธานีและอีกหลายปีต่อมาก็มีการสร้างเชื่อมชุมพรไปทุ่งสง และพัทลุง ซึ่งทำให้สุราษฎร์ธานีมีการคมนาคมที่สะดวกขึ้นเื่รื่อย ๆ พระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต มองเห็นการณ์ไกลว่าสุราษฎร์ธานีอาจจะสามารถเป็นศูนย์กลางของสังฆมณฑลใหม่ในภาคใต้ ฉะนั้น เมื่อท่านได้พัฒนานิคมเกษตรบ้านแสงอรุณและได้สร้างศูนย์สังฆมณฑลราชบุรีแล้ว ท่านก็หันความสนใจของท่านไปทางภาคใต้มากขึ้น ท่านต้องการ เปิดวัดและโรงเีรียนที่เมืองบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานีในปี ค.ศ.1958 โอกาสต่อมาถึงเมื่อท่านทราบว่า มีสุภาพสตรี ที่ชื่อว่า นางลิ้นจี่ บุราคม พร้อมที่จะถวายที่ดิน จำนวน 3 ไร่ เพื่อกิจการโรงเรียน พระคุณเจ้าเปโตร คาเร็ตโต จึงรับบริจาคและท่านยังซื้อเพิ่มอีก15 ไร่ ในราคาพอสมควรจากนางลิ้นจี่ เธอจึงเป็นบุคคลหนึ่งที่มีอุปการะคุณในการผลักดันการเริ่มต้นกิจการคาทอลิกที่เมืองบ้านดอนในการบันทึกรายงานการประชุมของที่ปรึกษาสังฆมณฑลราชบุรีในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1958
เขียนไว้ว่า สังฆมณฑลราชบุรีมีที่ดิน 18 ไร่แล้วที่บ้านดอน โดยได้รับบิรจาคที่ดิน 3 ไร่ และซื้อเพิ่ม 15 ไรพระคุณเจ้าคาเร็ตโต ยังพูดว่า ถึงเวลาแล้วที่จะเิ่รมลงมือทำอะไรบางอย่างที่สุราษฎร์ธานี (ดูการบันทึกมติของที่ประชุมที่ปรึกษาสังฆมณฑลราชบุรี วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1958) ต่อมาในวันที่ 13 ตุลาคม พระคุณเจ้าคาเร็ตโต รายงานให้กับที่ปรึกษาว่าในวันฉลองนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู (วันที่ 3 ตุลาคม) ได้มีการลงมือก่อสร้างบ้านพักธรรมทูตที่บ้านดอน ฤดูการบันทึกของสังฆมณฑลราชบุรี วันที่ 13 ตุ่ลาคม)การซื้อที่ดินและริเริ่มงานพระศาสนจักรที่เมือ้ใบ้านดอนนี้ได้รับผลสำเร็จ เพราะความเสียสละและความเอื้อเฟื้อของครอบครัวคุณสงวน และคุณนายล้วน ชูประยูร นอกจากนี้ยังมีอีกผู้หนึ่งควรกล่าวถึง คือคุณพ่อชาวอเมริกัน ชื่อคุณพ่อชาร์ลส์ เกเบิล เพราะท่านได้เป็นผู้ออกเงินก้อนใหญ่เพื่อการเริ่มต้นกิจการนี้แต่แรก นอกจากคุณพ่อแล้วยังมีมูลนิธิเบ็นซ์ แห่งรัฐโฮไฮโอ สหรัฐอเมริกา ที่ได้ให้กู้เงินมาสร้างวัด โดยมิไค้คิด ดอกเบี้ยในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1958 ในบ้านของคุณสงวน และคุณนายล้วน ชูประยูร พระสังฆราชเปโตร คารเร็ตโต ได้ทำสัญญาสร้างบ้านพักพระสงฆ์ และอาคารเรียนหลังแรกชั้นเดียวชั่วคราว ในที่ดินที่ได้ซื้อไว้ได้สัญญากับนายสมุทร สรติกิจ ทั้งสองอาคารนี้สร้างเสร็จทันเปิดปีการศึกษา ค.ศ.1959
คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ (Fr. Hector Frigerio )
เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ค.ศ.1959 – 1963
ต้นปี ค.ศ.1959 คุณพ่อมารีโอ รูเซ็ดดู เจ้าคณะแขวง ได้มอบหมายให้คุณพ่อเฮกเตอร์ เรเยริโอ อดีตเจ้าคณะ ผู้เชี่ยวชาญในการบุกเบิกเตรียมตัวลงมาที่สุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบเปิดกิจการ คาทอลิกที่สุราษฎร์ธานี ตอนนั้นคุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ อยู่ที่โรงเรียนดอนบอสโก อุดรธานี ท่านได้ลงมาที่สุราษฎร์ธานีมาดูสภาพทั่วไปและดูการก่อสร้างในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1959 คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ ย้ายจากโรงเรียนดอนบอสโก อุดรานีพร้อมสามเณรวิเชียร สมานจิตร และคูรปรีดา แสงสว่าง มาอยู่ที่สุราษฎร์ธานี ท่านให้คูรปรีดายื่นเรื่องเปิคกิจการ
โรงเรียนในการประชุมที่ปรึกษาสังฆมณฑลราชบุีรในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ 1959 พระคุณเจ้าคาเร็ตโตรายงานว่า คุณพอเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ ได้ไปประจำอยู่ที่บ้านดอน พร้อมสามเณรวิเขียร สมานจิตรแล้ว และโรงเรียนที่บ้านดอนจะมีชื่อว่า “โรงเรียนเทพมิตรศึกษา” พระคุณเจ้ายังรายงานว่าสำหรับกิจการก่อสร้างที่สุราษฎร์ธานีทางสังฆมณฑลได้ลงทุน 300,000 บาทแล้ว (ดูการรายงานประชุมที่ปรึกษาสังฆมณฑลราชบุรี)ดอนนั้นวัดอัครเทวดาราฟาแอล (วัดน้อย) อยู่ในบ้านพักพระสงฆ์ เพราะว่าบ้านพักพระสงฆ์สร้างได้มาตรฐาน แล้วในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1959 มีการเปิดโรงเรียนเทพมิตรศึกษา โดยมีคุณปรีดา แสงสว่าง เป็นครูใหญ่ และสามเณรวิเชียร สมานจิตร เป็นผู้จัดการ (ดูเรื่องโรงเรียนเทพมิตรศึกษา)
เมื่อเปิดโรงเีรยนเทพมิตรศึกษาได้ 2 ปีแล้ว พระคุณเจ้าคาเร็ตโต ได้คิดโครงการที่จะสร้างวัดอัครเทวดาราฟาแอลเป็นตึกถาวร ท่านได้มอบหมายให้วิศวกรชาวอิตาเลียนอาชิเนลลี (Acinelli) เป็นผู้ออกแบบและขอให้แบบนี้สามารถขยายได้โดยไม่เสียรูปแบบเมื่อมีความจำเป็น พระคุณเจ้าได้ตั้งงบประมาณไว้ 150,000 บาท คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ ได้ลงมือสร้างวัดอัครเทวดาราฟาแอล วางศิลาฤกษ์ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1961 สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1962
ในปี ค.ศ.1961 คุณพ่อฟรังซิสต์ ลิขิต ชวประพันธ์ ได้มาอยู่สุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นผู้บริหารโรงเรียนเทพมิตรศึกษา ในปี ค.ศ.1965 คุณพ่อได้เดินทางไปร่อนพิบูลย์เพื่อเปิดโรงเรียนดรุณีศึกษาที่นั่น คุณพ่อนาตัล มาเน เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสองค์ที่สอง
(ค.ศ.1963 - 1968) เป็นอธิการองค์แรก
ในปี ค.ศ.1963 คุณพ่อเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ ผู้ชำนาญในการบุกเบิก ได้ย้ายไปอยู่ที่ยะลา และเิ่ริ่มกิจการงานคาทอลิกที่นั่น คุณพ่อนาตัล มาเน มาเป็นเจ้าวัด ท่านได้ย้ายมาจากหัวหิน หลังจากที่สร้า้งวัดเสร็จที่ปราณบุรี ในปีนี้เองซิสเตอร์คณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของแม่พระ ได้มาเปิดโรงเรียุนธิดาแม่พระที่เมืองบ้านดอน ข้างโรงเรียนเทพมิตรศึกษา เช่นเดียวกัน กิจการคาทอลิกที่เมืองบ้านดอนกำลังเจริญขึ้น เป็นศูนย์อภิบาล 3 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) ชุมพร และนครศรีธรรมราช
คณะซาเลเซียน จึงตั้งบ้านสุราษฎร์ธานีนี้ ให้บ้านซาเลเซียนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ.1964
สุราษฎร์ธานี กำลังเตรียมการเพื่อเป็นศูนย์มิสซังใหม่ในภาคใต้
คุณพ่อนาตัล มาเนและคุณพ่อลิขิต ชวประพันธ์ ขยันและร้อนรนในการเอาใจใส่สัตบุรุษที่บ้านดอนและอาณาบรเวณ ในปี คศ.1963 คุณพ่อมาเนได้เริ่มนิคมเกษตรที่สมหวัง เพื่อให้ครอบครัวคริสตังที่กระจัดกระจายและไม่มีที่ทำกินได้มารวมกันที่นั่นในปี ค.ศ.1968 ในนิคมนี้มีคริสตังประมาณ 80 คน
ที่ชุมพร คุณพ่อมาเน ได้ซื้อห้องแถว 2 ห้อง ในซอยสุจินต์ เพื่อเป็นที่สำหรับประพิธีมิสซา และพิธีต่าง ๆ พร้อมทั้งใช้เป็นบ้านพักเวลาที่คุณพ่อมาเยี่ยมคริสตังที่ชุมพร คุณพ่อนาตัล มาเน ยังเดินทางไปทำมิสซาที่เกาะสมุยปีละครั้ง ที่นั่นคริสตังอยู่ 4 คน
ในปี คศ.1965 ที่ร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช คุณพ่อลิขิต ชวประพันธ์ เิ่ริ่มเปิดกิจการโรงเรียนดรุณีศึกษาขึ้น หมายความว่า สุราษฎร์ธานี เป็นศูนย์อภิบาลที่มีชีวิตชีวา เหมาะที่จะเป็นศูนย์มิสซังใหม่
คุณพ่อเปรโต เยลลิชี (Pietro Jellici)
เป็นอธิการ- เจ้าอาวาส ค.ศ.1968 – 1972
ในปี ค.ศ.1968 คุณพ่อนาตัล มาเน ย้ายไปเป็นอธิการโรงเรียนแสงทอง หาดใหญ่ คุณพ่อเปโตร เยลลิชี (ที่เพิ่งจบวาระเป็นเจ้าคณะ) ได้รับมอบหมายให้มาอยู่ที่บ้านดอน เป็นอธิการและเจา้อาวาส มีคุณพ่อวีตาลี มาแทนคุณพ่อลิขิต ที่โรงเรียนและยังมีคุณพ่อเกรสปี มาช่วยงานอภิบาลรอบนอก เป็นต้น ที่นิคมเกษตรสมหวัง แต่คุณพ่อเกรส ปีนี้ ท่านได้รับมอบหมายให้หาที่ดินผืนใหญ่ เพื่อเปิดนิคมเกษตรใหม่ในอนาคต คุณพ่อเยลลิชี ได้รับมอบหมายให้เตรียมสำนักพระสังฆราชที่บ้านดอน ซึ่งท่านได้ขยายบ้านพักพระสงฆ์เก่าให้เหมาะสมโดยต่อเติมให้ยาวและต่อเติมชั้นที่ 3 เพื่อจะใช้เป็นสำนักพระสังฆราชชั่วคราว