รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

งานบุญปีใหม่ ลาว

สารบัญ


ปู่เยอ – ย่าเยอ
การเต้นของปู่เยอ – ย่าเยอ มีหลายครั้งด้วยกัน เช่น เมื่อแห่ชุดปู่เยอ - ย่าเยอลงจากหอเก็บในวัดอาฮามแล้ว หลังจากกราบพระในสิม ปู่เยอ - ย่าเยอก็จะเต้นถวายพระธาตุหน้าสิมวัดอาฮาม ซึ่งเป็นหลักเมืองของหลวงพระบางตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้างุ้มสร้างเมืองเชียงดง – เชียงทองเมื่อ ๖๐๐ กว่าปีที่แล้ว และเมื่อจะเก็บชุดเข้าหอก็ต้องเต้นถวายพระธาตุหมากโมก่อนด้วย นอกจากนี้เมื่อขบวนแห่วอมาถึงวัดเชียงทอง ปู่เยอ - ย่าเยอจะเต้นที่ลานข้างสิมหน้าโรงเมี้ยนโกศ เพื่อถวายพระเจ้าภายในสิม

***ปู่เยอ – ย่าเยอ
“ปู่เยอ –ย่าเยอ” เป็นเทวดาหลวงหรืออารักษ์เมือง ซึ่งเป็นที่นับถืออย่างสูงของชาวลาวทั่วไป ตามตำนานขุนบรมเล่าว่า ปู่เยอ – ย่าเยอเป็นผู้มีบุญคุณกับคนลาวมาก ครั้งที่ชาวลาวยังอยู่ในบริเวณเมืองแถน ได้เกิดอาเพศมีเครือเขากาดขึ้นสูงบังตะวันมุงบ้านเมืองจนมืดมิด ขุนบรมผู้เป็นเจ้าเมืองได้หาผู้อาสาไปฟันเครือเหล่านี้ จึงมีสองผู้เฒ่าออกไปช่วยกันตัดเครือเขากาดอยู่ ๓ เดือน ๓ วัน จึงขาดหมดสิ้นและล้มทับสองเฒ่าจนตายในทันที ทำให้ชาวบ้านศรัทธาเฒ่าทั้งสองสืบต่อจนถึงทุกวันนี้ เมื่อชาวบ้านจะกินข้าว จะทำการสิ่งใด มักเรียกหาสองเฒ่านี้ด้วยถ้อยคำว่า “ปู่มาเย้อ ย่ามาเย้อ” “ปู่มาเย้อ ย่ามาเย้อ” ก่อนเสมอ

ในขบวนแห่วอจะเห็นชุดปู่เยอ – ย่าเยอมีหน้ากลมๆ ขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้ประดู่ทาสีแดง ตามตัวมีขนยาวรุงรังทำจากปอ และมีตัว “สิงแก้ว” เป็นสัตว์เลี้ยง ชุดปู่เยอ - ย่าเยอและสิงแก้วนี้เป็นของที่ตกทอดคู่เมืองมาแต่โบราณ และมีการซ่อมแซมกันมาตลอด เพราะทุกปีปู่เยอ – ย่าเยอมักถูกชาวบ้านดึงขนออกไปคนละหยิบสองหยิบ คนหลวงพระบางถือเคล็ดว่าถ้าใช้ขนของปู่เยอ – ย่าเยอผูกข้อมือให้เด็ก จะช่วยป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้ายไม่ให้มากล้ำกรายเด็กได้ เด็กคนไหนชอบร้องไห้ พ่อแม่จะหาขนของปู่เยอ – ย่าเยอมาผูกข้อมือให้

ปกติชุดใส่เชิดปู่เยอ – ย่าเยอเก็บรักษาอยู่ที่วัดอาฮาม ติดกับวัดวิชุน และนำออกจากหอเก็บมาใช้เฉพาะช่วงบุญปีใหม่เท่านั้น

ผู้ที่เล่นเป็นปู่เยอ – ย่าเยอและสิงแก้ว ต้องมาจากคนในสายมูลเชื้อเดียวกัน ซึ่งสืบทอดมาแต่อดีต ทั้งยังต้องทำพิธีเซ่นไหว้และครอบครูกันทุกครั้งก่อนสวมชุด ทั้งขาไปวัดเชียงทอง และกลับวัดมะหาทาด ต้องอยู่ในขบวนแห่พระบางออกจากหอพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งเป็นผู้ขึ้นสรงน้ำพระบางเป็นคู่แรกในปะรำ ณ วัดใหม่ ปู่เยอ - ย่าเยอจึงเป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนของบรรพบุรุษชาวลาวทั้งมวล

***พระบาง
พระบางพุทธลาวรรณ หรือเรียกกันทั่วไปว่า “พระบาง” เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ตามตำนานว่า พระเจ้ากรุงอินทรปัตหรือกัมพูชาได้มาจากลังกาทวีป พระอรหันต์นามว่า จุลนาคเถระ ใน พ.ศ. ๔๓๖ เป็นผู้หล่อขึ้น โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานในองค์พระบางถึงหกตำแหน่ง วัตถุที่ใช้หล่อเป็นทองคำ ผสมทองแดงและเงิน โดยมีเนื้อทองคำถึง ๙๐%

เมื่อเจ้าฟ้างุ้มตีได้เมืองเชียงดง – เชียงทองแล้ว ทรงขอพระบางจากพระเจ้ากรุงอินทรปัตร ซึ่งเป็นพ่อตา มาไว้ที่เมืองเชียงดง – เชียงทอง จนถึงปี พ.ศ.๒๑๐๓ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางลงมายังเวียงจันทน์เพื่อหนีศึกพม่านั้น ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมากรุงเวียงจันทน์ด้วย ส่วนพระบางถูกนำไปซ่อนในถ้ำทางฟากเมืองเชียงแมน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงทองเป็นนครหลวงพระบาง

อย่างไรก็ตามพุทธลักษณะของพระบางนั้น เป็นศิลปะแบบเขมรสมัยหลังบายนซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นักประวัติศาสตร์ศิลปะหลายท่านลงความเห็นว่า พระบางน่าจะสร้างโดยฝีมือช่างเขมรโบราณมากกว่าช่างลังกา

พระบางนอกจากถือเป็นพระคู่เมืองหลวงพระบางแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดในประเทศลาวด้วย

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 707 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์