ปราสาทวัดพู ลาว
ปราสาทวัดพู (ปราสาทวัดภู)
เป็นพิพิดทะพันสะถาน (พิพิธภัณฑสถาน) ที่สำคัญที่สุดในจำปาสัก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในอดีตที่ตั้งของวัดพู เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแห่งอารยะธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกัน คือ อาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่ 6 – 8 ค้นพบจารึกกล่าวถึงการฆ่าคนเพื่อบูชาแด่เทพเจ้า ต่อมาเป็นยุคของอาณาจักรขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร ที่เลือกบริเวณนี้เป็นที่สร้างปราสาทหินในราวศตวรรษที่ 9 และสุดท้ายอาณาจักรล้านช้างได้เปลี่ยนเทวาลัยในศาสนาฮินดูให้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ตั้งอยู่บนเนินเขาพูป่าสัก หรือพูควย ห่างจากตัวเมืองไป 9 กิโลเมตร
เป็นเทวสถานของขอมคล้ายกับเขาพระวิหาร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 12 สมัยพระเจ้ามเหนทราวรมัน เพื่อใช้เป็นสถานที่บูชาเทพเจ้าและประกอบพิธีทางศาสนาตามลัทธิพราหมณ์ - ฮินดู ต่อมาลาวได้รับพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศ เทวสถานแห่งนี้จึงเปลี่ยนเป็นวัดพุทธศาสนิกายเถรวาท
สิ่งที่โดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้พบเห็นคือภูเขาด้านหลังปราสาทที่ตั้งเด่นตระหง่านมองเห็นแต่ไกล รูปร่างคล้ายนมของผู้หญิงและคนเกล้ามวยผม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูผาแห่งนี้ว่าเขานมสาว แต่ชาวบ้านนิยมเรียกภูเกล้ามากกว่า อาณาเขตของปราสาทวัดภู เริ่มต้นจากริมฝั่งแม่น้ำโดยมีบันไดทางขึ้นรถหลั่นกันขึ้นมา 3 ชั้น จนถึงองค์ประธานของปราสาทซึ่งอยู่ชั้นบนสุด นอกเขตวัดมีบารายขนาดใหญ่ ซึ่งในสมัยโบราณใช้เป็นที่แข่งเรือและที่สรงน้ำสำหรับพิธีกรรมต่างๆ
เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะเห็นซากวังที่พระราชวงค์สายจำปาสักให้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรงานเทศกาลประจำปี ซึ่งจะจัดขึ้นในวัน 15 ค่ำ เดือน 3 สืบทอดต่อมาจนทุกวันนี้ ถัดมามีบันไดทางขึ้นที่ตัดในแนวตะวันออก – ตะวันตก ทอดผ่านสระน้ำทรงสี่เหลี่ยม 2 แห่ง ตรงขึ้นไปสู่ชาลา (ทางเดิน) ชั้นกลางซึ่งมีปรางค์ 2 หลัง
ขนาบข้าง สันนิษฐานจากภาพสลักรูปเทพเจ้าว่า ปรางค์ด้านขวามือเป็นสถานที่บวงสรวงบูชาสำหรับบุรุษ ส่วนปรางค์ทางซ้ายมือเป็นสถานที่บวงสรวงสำหรับสตรี เหนือโคปุระหรือประตูทางเข้าปรางค์ทั้งสอง เป็นทับหลังแกะสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องราวในศาสนาฮินดู เดินต่อมาผ่านสิ่งปลูกสร้างหลายหลัง มีภาพปรักหักพังจนมองไม่ออกว่าสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด ผ่านบันไดที่มีรูปรางคล้ายเกล็ดนาคมาถึงหินสลักรูปโยนี สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของศาสนาฮินดูที่อยู่ทางขวามือและซ้ายมือของทางเดินหลัก
ถัดมาเป็นบันไดสูงชันที่ทอดสู่ชาลาชั้น 3 ผ่านทิวแถวของต้นจำปาเรียงรายสองข้างทางมาถึงปรางค์ประธานตั้งอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของเทวรูป ทับหลัง และต้นไม้น้อยใหญ่ ในอดีตมีการต่อรางน้ำที่ไหลออกจากหินย้อยในหลืบถ้ำบริเวณด้านหลังมาสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในองค์ประธาน เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งบ่งบอกได้ว่าปราสาทวัดพููแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูไศวนิกาย แต่ปัจุบันศิวลึงค์ได้ถูกนำออกมาและเปลี่ยนไปเป็นพระพุทธรูปแทน ชาวบ้านนิยมนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา และเรียกปรางค์ประธานแห่งนี้ว่า หอไหว้
ส่วนทางด้านหลังซ้ายมือของปรางค์ประธานมีแผ่นหินขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีภาพแกะสลักรูปตรีมูรติขนาดเกือบเท่าคนจริง ซึ่งหมายถึงเทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ผู้เป็นใหญ่ในศาสนาฮินดูได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม เดินถัดมาประมาณ 10 เมตร จะพบก้อนหิน 2 ก้อน แกะสลักเป็นรูปจระเข้และบันไดนาคอยู่ตรงข้ามกัน เชื่อว่าอาจเป็นฝีมือของชาวเจนละในสมัยนั้นที่สลักไว้เพื่อใช้ในพิธีบูชายัญ นอกจากนี้ยังพบก้อนหินรูปร่างกลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขาแกะสลักเป็นรูปหัวช้างเชื่อว่าเป็นหลักฐานชิ้นสุดท้ายสมัยของเรืองอำนาจ
สำหรับงานบุญประเพณีของวัดพูเป็นเทศกาลที่โด่งดัง และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งจากในและต่างประเทศ โดยจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี (วันเพ็ญเดือนสาม) ซึ่งจะจัดติดต่อกัน 3 วัน โดยประชาชนชาวลาวจากทั่วทุกแขวงจะเดินทางนำสิ่งของมาบวงสรวงบูชาตามจุดต่างๆ ในบริเวณองค์ประธาน สำหรับในวันสุดท้ายจะมีพระสงฆ์ออกมาบิณฑบาต พอตกค่ำจะมีพิธีเวียนเทียนไปรอบๆปรางค์ประธาน ภายในงานมีการละเล่น การบันเทิง การออกร้านขายของ ขายอาหารและการแข่งขันต่างๆ เช่น เรือพาย ชนไก่ ชกมวย ฯลฯ เป็นงานรื่นเริงสนุกสนานมากกว่างานทำบุญทางศาสนา
เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะเห็นซากวังที่พระราชวงค์สายจำปาสักให้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรงานเทศกาลประจำปี ซึ่งจะจัดขึ้นในวัน 15 ค่ำ เดือน 3 สืบทอดต่อมาจนทุกวันนี้ ถัดมามีบันไดทางขึ้นที่ตัดในแนวตะวันออก – ตะวันตก ทอดผ่านสระน้ำทรงสี่เหลี่ยม 2 แห่ง ตรงขึ้นไปสู่ชาลา (ทางเดิน) ชั้นกลางซึ่งมีปรางค์ 2 หลังขนาบข้าง สันนิษฐานจากภาพสลักรูปเทพเจ้าว่า ปรางค์ด้านขวามือเป็นสถานที่บวงสรวงบูชาสำหรับบุรุษ ส่วนปรางค์ทางซ้ายมือเป็นสถานที่บวงสรวงสำหรับสตรี เหนือโคปุระหรือประตูทางเข้าปรางค์ทั้งสอง เป็นทับหลังแกะสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องราวในศาสนาฮินดู เดินต่อมาผ่านสิ่งปลูกสร้างหลายหลัง มีภาพปรักหักพังจนมองไม่ออกว่าสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด ผ่านบันไดที่มีรูปรางคล้ายเกล็ดนาคมาถึงหินสลักรูปโยนี สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของศาสนาฮินดูที่อยู่ทางขวามือและซ้ายมือของทางเดินหลัก
ถัดมาเป็นบันไดสูงชันที่ทอดสู่ชาลาชั้น 3 ผ่านทิวแถวของต้นจำปาเรียงรายสองข้างทางมาถึงปรางค์ประธานตั้งอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของเทวรูป ทับหลัง และต้นไม้น้อยใหญ่ ในอดีตมีการต่อรางน้ำที่ไหลออกจากหินย้อยในหลืบถ้ำบริเวณด้านหลังมาสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในองค์ประธาน เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งบ่งบอกได้ว่าปราสาทวัดพููแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูไศวนิกาย แต่ปัจุบันศิวลึงค์ได้ถูกนำออกมาและเปลี่ยนไปเป็นพระพุทธรูปแทน ชาวบ้านนิยมนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา และเรียกปรางค์ประธานแห่งนี้ว่า หอไหว้